โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (ภาคใต้ : ตรัง)

ประชุมการเขียนแผนและโครงการ21 มีนาคม 2567
21
มีนาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย thitichaya6139
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายจังหวัดตรัง ประชุมการทำแผนงาน/โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ตามโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย วันที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลโคกหล่อ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายจังหวัดตรัง ประชุมการทำแผนงาน/โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ตามโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย วันที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลโคกหล่อ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
การพบปะแลกเปลี่ยนกันวันนี้เป็นครั้งที่ 3 ซึ่งกิจกรรมที่ผ่านมาท้องถิ่นทั้ง 10 แห่ง ได้ร่วมเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน 10 ประเด็น เป็นที่เรียบร้อย ครั้งนี้นำข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชนมาร่วมวิเคราะห์จัดทำแผนและโครงการที่จะดำเนินการ ซึ่งได้รับเกียรติจากท่านวิทยากรคุณสมนึก นุ่นด้วง คุณวาลัยพร ด้วงคง และคณะพี่เลี้ยงจังหวัดตรัง ร่วมแลกเปลี่ยนให้ความรู้เรื่องการจัดทำแผนกิจกรรมทางกายและสุขภาพอื่นๆ ในท้องถิ่น

  1. กิจกรรมทางกาย คือ การเคลื่อนไหวหรือการออกแรงของร่างกายในการทำกิจกรรมรูปแบบต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ 1) การทำงาน/งานบ้าน 2) การเดินทาง (เดิน/ปั่นจักรยานไปที่ต่างๆ ในชุมชน ) 3) การมีกิจกรรมนันทนาการ การเล่นกีฬา และการออกกำลังกาย
    “กิจกรรมทางกายจึงมีความหมายมากกว่าการเล่นกีฬาและการออกกำลังกาย”

  2. วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ และเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ร่วมกับท้องถิ่น 10 แห่งในจังหวัดตรัง

  3. ท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่ 1) เทศบาลตำบลย่านตาขาว 2) องค์การบริหารส่วนตำบลหาดสำราญ 3) ทต.นาโยงเหนือ 4) องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ 5) องค์การบริหารส่วนตำบลปากคม 6) เทศบาลตำบลโคกหล่อ 7) องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด 8) องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์ 9) องค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน 10) องค์การบริหารส่วนตำบลคลองลุ

  4. ข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ โดยเน้นแผนงานกิจกรรมทางกายเป็นหลักในการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีประเด็นอื่นๆ ร่วม 10 ประเด็น เพื่อการออกแบบโครงการสามารถเชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆ ไปสู่การแก้ปัญหาอื่นๆ แบบบูรณาการได้ โดย 10 ประเด็นมี คือ 1) แผนงานกิจกรรมทางกาย 2) แผนงานขยะ 3) แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม 4) แผนงานยาสูบ 5) แผนงานสุรา 6) แผนงานสิ่งเสพติด 7) แผนงานอาหารและโภชนการ 8) แผนงานสุขภาพจิต 9) แผนงานความปลอดภัยทางถนน 10) แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่

  5. หลักการทำแผน มี 4 คำ (อยู่ไหน, จะไปไหน,ไปอย่างไร, ไปถึงแล้วยัง) คือ 1) อยู่ไหน : สถานการณ์ 2) จะไปไหน : เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ 3) ไปอย่างไร : แนวทาง วิธีการดำเนินการ โครงการ 4) ไปถึงแล้วยัง : ประเมินผลลัพธ์ (คู่มือการทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย: https://localfund.happynetwork.org/upload/forum/plandoc_pa.pdf)

  6. กระบวนการการจัดประชุม: 1) สร้างความเข้าใจกระบวนการพัฒนาแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและความเชื่อมโยงของโครงการกับแผนงาน 2) ปฏิบัติการพัฒนาโครงการเน้นผลลัพธ์ที่เชื่อมโยงกับแผนงาน โดยใช้เครื่องมือเพื่อการเรียนรู้เว็บไซต์ https://localfund.happynetwork.org 3) แลกเปลี่ยนนำเสนอโครงการเพื่อสร้างการเรียนรู่ร่วมกัน

  7. ผลลัพธ์ที่ได้ คือ ได้แผนสุขภาพตำบล 10 ประเด็น จำนวน 10 ท้องถิ่นนำร่องในจังหวัดตรัง และได้โครงการที่จะดำเนินการในพื้นที่ ในครั้งถัดไป คือ “ขั้นตอนที่ 3) ไปอย่างไร : แนวทาง วิธีการดำเนินการ โครงการ” เป็นการเขียนโครงการที่ดีเพื่อนำไปสู่เป้าหมายการเพิ่มกิจกรรมทางกายในท้องถิ่น การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ และสร้างกลไกความร่วมมือสร้างเสริมสุขภาพและสุขภาวะที่ดีในท้องถิ่นต่อไป