โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการสื่อสารสาธารณะ (อีสาน,อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ)

ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง 8 อปท.13 มีนาคม 2567
13
มีนาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • กล่าวรายงานความเป็นมาการดำเนินงานประชุมชี้แจงโครงการ  โดย นายอภิศักดิ์ อินทบุตร สาธารณสุขอำเภอ เขื่องใน
  • กล่าวเปิดการประชุมและมอบนโยบายการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย(PA) และการสื่อสารสาธารณะ ระดับตำบล และอำเภอ โดย นายประหยัด คูณมี นายอำเภอหัวตะพาน
  • ชี้แจงรายละเอียดโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการสื่อสารสาธารณะระดับตำบล และอำเภอ” โดย  ดร.เพ็ญ สุขมาก  ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ระดมความคิดเห็นและวางแผนเชิงปฏิบัติการจัดทำ Road Map การดำเนินงานในการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดย นางเสาวนีย์  กิตติพิทยานนท์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • วางแผนการจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพของแต่ละกองทุนเพื่อนำมาจัดทำแผนและเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดย นายญัติพงศ์  แก้วทอง  สถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • วางแผนและจัดทำ Road Map การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย โดย ผศ.กตัญญู หอสูติสิมา คณะสถาปัตย์ฯ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และนายชุนันทร์  วามะขัน นักวิจัย/สถาปนิกศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วางแผนและจัดทำ RoadMap พัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อให้ความรู้เรื่องกิจกรรมทางกายและนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยนายรพินทร์  ยืนยาว คณะทำงานสื่อ เขต 10
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย สาธารณสุขอำเภอ ท้องถิ่นอำเภอ ผู้บริหารท้องถิ่น นายกเทศมนตรี นายก อบต. ปลัดท้องถิ่นทุกแห่ง ผอ.กองการสาธารณสุข ผอ.กองการศึกษา หัวหน้าสำนักปลัด และประธาน อสม.ทุกตำบล จำนวนกว่า 65 คน 2.ได้พื้นที่ดำเนินการในอำเภอเขื่องใน ได้ขับเคลื่อนร่วมกันทั้งอำเภอทั้งหมด 8 ตำบล ได้แก่ ต.หัวตะพาน, ต.คำพระ, ต.เค็งใหญ่, ต.หนองแก้ว, ต.โพนเมืองน้อย, ต.สร้างถ่อ, ต.จิกดู่ และต.รัตนวารี
3.ได้พื้นที่นำร่องในการปรับปรุงพื้นที่สาธารณะ ใน 2 แห่ง ได้แก่ ตำบลหัวตะพาน และตำบลจิกดู่ก่อเอ้
4.ได้แผนการพัฒนาศักยภาพในการเก็บข้อมูล การพัฒนาศักยภาพในการเขียนแผน เขียนโครงการ
5.ได้แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการผลิตสื่อและผลิตสื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายเป็นแผนในระยะต่อไป เช่น การสร้างเพจในเฟสบุ๊ค หัวตะพานมีแฮงเดย์ การสร้าง TiKTok การออกกำลังกาย การเล่นกีฬาในชุมชน การถ่ายคลิปสั้น การทำ Line คณะทำงานสื่อ การสร้างเฟสบุ๊ค Reels
6.ได้ทีมสื่อสารสาธารณะในระดับพื้นที่หรือใน อปท. จำนวน 10 คน