การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดยะลา

แลกเปลี่ยนเรียนรู้แปลงต้นแบบเกษตรกรรมยั่งยืน อำเภอเบตง จังหวัดยะลา11 สิงหาคม 2567
11
สิงหาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Yadaporn Yimkaew
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาพตลอดห่วงโซ่ สวนมังคุดในสายหมอก นายสุขสรรค์ วุฒิพิทักษ์ศักดิ์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาพตลอดห่วงโซ่ สวนมังคุดในสายหมอก นายสุขสรรค์ วุฒิพิทักษ์ศักดิ์ บทสัมภาษณ์คุณสุขสรรค์ วุฒิพิทักษ์ศักดิ์ เลขานุการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มมังคุดทุเรียนอินทรีย์ อ.เบตง เริ่มทำเกษตรตั้งแต่ปี 2554 หลังจากที่เขาทำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ ประมาณปีครึ่ง และต้องกลับมาดูแลพ่อที่ป่วยเป็นโรคความดัน ไม่มีใครดูแล เขาจึงตัดสินใจผันตัวกลับมาทำเกษตรในช่วงเวลานั้น ทำเกษตรเกี่ยวกับผลไม้หลักๆ ได้แก่: มังคุด ทุเรียน ลองกอง ในช่วงเริ่มต้นทำเกษตร คุณสุขสันต์เผชิญกับปัญหาหลายอย่าง ทั้งผลผลิตไม่สวยและไม่ตรงตามมาตรฐาน ทำให้ขายได้ในราคาต่ำ การดูแลผลไม้ไม่เพียงพอ ส่งผลให้ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ ราคาผลไม้ในตลาดต่ำ ทำให้ขาดรายได้ จึงแก้ปัญหาโดยรวมกลุ่มมังคุดแปลงใหญ่น้ำทิพย์ กับเกษตรกรคนอื่นๆ เพื่อศึกษาและพัฒนาคุณภาพของมังคุด เรียนรู้วิธีการปลูกและดูแลที่มีประสิทธิภาพ และปรับปรุงวิธีการดูแลผลไม้ให้ดีขึ้น เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงขึ้น การรวมกลุ่มนี้ช่วยให้เขาได้รับความรู้และเทคนิคใหม่ๆ ผลผลิตจึงมีคุณภาพดีขึ้น อีกทั้งศึกษาและเรียนรู้จากการไปเยี่ยมชมแปลงเกษตรที่ประสบความสำเร็จในพื้นที่อื่นๆ เช่น ชุมพร การเรียนรู้จากแหล่งเหล่านี้ช่วยให้สามารถปรับปรุงวิธีการทำเกษตรของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันคุณสุขสรรค์มีพื้นที่ปลูกมังคุดอินทรีย์ จำนวนทั้งหมด 8 ไร่ รวมจำนวนต้นทั้งหมด 155 ต้น อ.เบตง มีการใช้สารเคมีน้อยมากจึงทำให้เกิดแนวความคิดการรวมกลุ่มทำมังคุดอินทรีย์ขึ้นเพื่อที่จะยกระดับคุณภาพ และราคาของมังคุดในพื้นที่ อ.เบตง ให้มีราคาสูงขึ้นกว่าเดิม ซึ่งลักษณะเด่นของมังคุดอินทรีย์เบตง คือ ลูกใหญ่ ผิวมันวาว รสชาติหวานติดเปรี้ยวนิดๆ เทคนิคการปลูก ปัจจุบันในวิสาหกิจชุมชนกลุ่มมังคุดทุเรียนอินทรีย์ ได้มีการให้ความรู้แก่สมาชิกเกี่ยวกับเรื่องของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนปุ๋ยเคมี โดยจะเน้นใช้สารชีวภัณฑ์แทนปุ๋ยเคมีตั้งแต่เริ่มปลูก คือ มีการใช้ปุ๋ยคอกใส่รองก้นหลุมก่อนปลูก มีการใช้สารชีวภัณฑ์แทนปุ๋ยเคมี เพื่อให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตนั้นเป็นที่มีคุณภาพมากที่สุด ซึ่งประกอบด้วย 1.จุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 ลิตร (สูตรหัวเชื้อ) 2. ฮอร์โมนไข่ 1 ลิตร (เป็นฮอร์โมนไข่ที่หมักแล้ว) 3.นมหมัก 1 ลิตร (เป็นนมที่หมักแล้ว) และ 4.แคลเซี่ยมโบรอน 1 ลิตร (แคลเซียมโบรอนที่ทำเรียบร้อยแล้ว) บวกกับจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
การดูแลรักษา เทคนิคการ Top ใบ ช่วยให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดีขึ้น โดยการตัดใบที่ไม่จำเป็นออก ทำให้พืชสามารถใช้พลังงานในการสร้างผลผลิตได้มากขึ้น ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคและแมลงศัตรูพืช เนื่องจากการตัดใบที่มีปัญหาจะช่วยลดแหล่งที่อยู่อาศัยของศัตรูพืช
การฉีดยาต้นทุเรียน จะต้องฉีดรอบต้น เพื่อให้แน่ใจว่าสารเคมีหรือปุ๋ยสามารถเข้าถึงทุกส่วนของต้นได้อย่างทั่วถึง ซึ่งมีข้อดีหลาย
กลยุทธ์ทางการตลาด สินค้าจากกลุ่มได้รับรองมาตรฐาน GIP แล้วจำนวน 20 ราย และก็ยังรอให้ทางกรมวิชาการเกษตรมาตรวจแปลงปลูกเพื่อเข้าสู่มาตรฐาน GIP เพิ่มเติมอีก 19 ราย ทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในการบริโภค สำหรับการทำการตลาดนั้นอีกประการหนึ่ง การให้ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของผลไม้ เช่น การเน้นเรื่องสุขภาพและคุณค่าทางโภชนาการ กลยุทธ์เหล่านี้ช่วยให้เขาสามารถสร้างความน่าสนใจและดึงดูดลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยส่วนมาก สมาชิกจะส่งให้พ่อค้ากลาง และทางพ่อค้ากลางจะส่งต่อไปยังผู้บริโภคที่มาเลเซีย สิงคโปร์อีกทอดหนึ่ง ทางกลุ่มยังมีการทำมังคุดลูกดำบรรจุกล่องเพื่อจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 50 บาท ผ่านช่องทางการจำหน่ายทางโครงการประชารัฐของรัฐบาล รวมทั้งผ่านทางธนาคาร ธกส. เป็นผู้ที่จัดหาช่องทางการตลาดให้ รวมทั้งการเตรียมทำการตลาดในรูปแบบออนไลน์ในฤดูการเก็บเกี่ยวเดือนตุลาคม
การคาดการณ์ราคา: การเก็บเกี่ยวในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำ เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตมากเกินไปในตลาดในช่วงเวลาเดียวกัน คุณสุขสรรค์จึงจัดทำบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวและการผลิต เช่น วันที่เก็บเกี่ยวและปริมาณผลผลิต ออกดอกบานวันไหนเก็บเกี่ยวได้วันไหนบวกลบไม่เกิน 10วัน ต้องใช้แรงงานกี่คน ในช่วงใด และสร้างตารางคาดการณ์การเก็บเกี่ยวที่ระบุวันและช่วงเวลาที่ผลผลิตจะออก เพื่อช่วยในการวางแผนการตลาด ศึกษาความต้องการของตลาดในช่วงเวลาต่าง ๆ เพื่อคาดการณ์ว่าราคาในอนาคตจะเป็นอย่างไร เมื่อเราสามารถคาดการณ์ได้ ก็สามารถใช้กลยุทธ์ต่างๆ เช่น กลยุทธ์การเก็บเกี่ยว คือ การเลื่อนเวลาการเก็บเกี่ยวเพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพสูงขึ้นและราคาดีขึ้น มุมมองการเป็นเกษตรกรของคุณสุขสรรค์ เกษตรกรต้องเปลี่ยนบทบาท ต้องเป็นผู้บริหาร ไม่ใช้แรงงานของตนอย่างเดียว ต้องสามารถการบริหารจัดการต้นทุนได้ เช่น การจ้างแรงงาน และการวางแผนเพื่อให้สามารถควบคุมต้นทุนได้ เกษตรกรจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนจากการทำงานด้วยตนเองมาเป็นการบริหารจัดการและใช้เทคโนโลยีในการทำงานมากขึ้น ซึ่งการใช้เทคโนโลยีที่มีคุณภาพอาจต้องมีการลงทุนสูง แต่สามารถช่วยให้เกษตรกรประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว เช่น การใช้ปั๊มแรงดันสูงช่วยลดเวลาที่ใช้ในการฉีดพ่น ทำให้เกษตรกรสามารถทำงานได้มากขึ้นในเวลาที่น้อยลง