การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดปัตตานี
การอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อการพัฒนาศักยภาพการเจริญเติบโตของเด็กด้วยโภชนาการกลุ่มเป้าหมายตัวแทนอสม. จากอำเภอยะหริ่ง,ยะรัง,ไม้แก่น,อำเภอเมือง ก่อนเข้าอบรมผู้เข้าร่วมจะตอบคำถามผ่านคุณ google form กิจกรรมพลังโภชนาการกับการเติบโตเต็มศักยภาพของเด็กการลงทุนกับทรัพยากรมนุษย์ กิจกรรมพลังอสมกับการพัฒนาศักยภาพเด็ก กิจกรรมสมุดสีชมพูมีคุณค่ามากกว่าที่คิด กิจกรรมโภชนาการที่ดีอยู่ที่การจัดการอาหารที่ดี กิจกรรมเทคนิคการเป็นนักสื่อสารข้อมูลด้านโภชนาการการเฝ้าระวังทางโภชนาการกับผู้ดูแลเด็กในชุมชน
โครงการ (พลังอสม.เพื่อการพัฒนาศักยภาพของเด็กด้วยโภชนาการ)
วันที่24ธันวาคม 2567
กลุ่มเป้าหมายตัวแทนอสม.อำเภอยะหริ่ง,ยะรัง,ไม้แก่น,อำเภอเมือง
กิจกรรมแบ่งออกเป็นดังนี้
กิจกรรมที่ 1 พลังโภชนาการกับการเติบโตเต็มศักยภาพของเด็ก(การลงทุนกับทรัพยากรมนุษย์) บรรยายโดยอาจารย์ลักษณา หัวข้อเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในคุณค่าของโภชนาการกับการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์
กิจกรรมที่ 2 พลังอสม.กับการพัฒนาศักยภาพเด็ก โดยอาจารย์ศรีลา
-รูปแบบกิจกรรมเกมบอลพูดได้สื่อรักจากใจ
กำหนดโจทย์ หากมีเด็กน้อยในพื้นที่ของเรามีภาวะขาดสารอาหารตัวเตี้ยผอมในฐานะที่เราเป็นอสมและสมาชิกในชุมชนเราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยเด็กคนนี้ให้มีโอกาสเติบโตได้เต็มศักยภาพจากโจทย์ข้างต้นแบ่งเป็น 10 กลุ่มดังนี้
กลุ่มที่ 1 สิ่งที่ทำไป แล้วตรวจพัฒนาการเด็ก,เก็บข้อมูลเด็กชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง,ให้ความรู้ด้านโภชนาการเช่นอาหารน้ำหนัก,พอร์ทกราฟน้ำหนักส่วนสูง,วัคซีนตามเกณฑ์,ติดตามพัฒนาการเด็กตรวจฟันและนำเรื่องฟันเด็ก
สิ่งที่จะทำในอนาคต สร้างความร่วมมือกับผู้ปกครองให้ความรู้กับผู้ดูแลเด็กเรื่องการดูแลเด็ก,ติดตามเด็กอย่างต่อเนื่องวัดไอคิวเด็ก,ให้ความรู้ด้านโภชนาการ,จัดกิจกรรมประเมินพัฒนาการตามวัยติดตามหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์
กลุ่มที่ 2 สิ่งที่ทำไปแล้ว ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงทุก 3 เดือน,ติดตามเด็กที่ไม่ได้ตามเกณฑ์,ติดตามเด็กที่ขาดสารอาหารทุก 3 เดือน,แนะนำผู้ปกครองปรุงอาหารให้เสริมเกลือแร่ไอโอดีน,แนะนำให้ดูแลเด็กแรกเกิดกินนมแม่อย่างเดียว,แนะนำอาหารที่มีประโยชน์ให้ผู้ปกครอง,ลงพื้นที่แจกนมแจกไข่ให้เด็กที่ขาดสารอาหาร,แนะนำผู้ปกครองให้เด็กกินอาหารให้ครบ 5 หมู่
สิ่งที่จะทำในอนาคต ติดตามกลุ่มเด็กอายุ 0-1 ปีในการกินนมและอาหาร,ติดตามเด็กทุพโภชนาการเตี้ยผอมทุก 1 เดือน,ในกลุ่มเด็กที่มีน้ำหนักส่วนสูงเพิ่มจะมีการแจกรางวัล,จัดอบรมให้ความรู้โภชนาการเด็กปฐมวัยแก่ผู้ปกครอง,จัดเรียงตามสายในชุมชนเรื่องโภชนาการอาหาร,แนะนำให้เด็กกินยาธาตุเหล็กทุกสัปดาห์,ติดตามให้ผู้ปกครองพาเด็กมาคัดกรองพัฒนาการเด็กอย่างต่อเนื่อง
กลุ่มที่ 3 สิ่งที่ทำไปแล้ว มีการติดตามการตรวจพัฒนาการเด็กชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงตามเกณฑ์อายุเด็ก,มีการทำสื่อเกี่ยวกับการกระตุ้นพัฒนาการ,มีการมอบรางวัลการประกวดเด็กสุขภาพดี,มีโครงการเกี่ยวกับเด็กที่เตี้ยผอมเพื่อให้เด็กมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีมากขึ้น,มีการส่งเสริมด้านการโภชนาการอาหารมีการให้เด็กได้รับอาหารเสริมตามวัย,ติดตามเด็กให้ฉีดวัคซีนให้ครบส่งเสริมไอโอดีนให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับอาหารที่ดีมีประโยชน์เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกในอนาคต
สิ่งที่จะทำในอนาคต ส่งเสริมให้เด็กกินนมแม่อย่างเดียวครบ 6 เดือน,ส่งเสริมให้เด็กกินผลไม้และผักแทนการกินขนมขยะ,ส่งเสริมให้เด็กได้รับอาหารเสริมตามวัย,อยากให้มีหน่วยงานสนับสนุนงบประมาณให้อาหารเสริมแก่เด็กเช่นนมไข่,ส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ฝากท้องทุกคน,อยากให้แม่ทำอาหารให้ลูกกินเองโดยมีเมนูอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ,มีการส่งเสริมให้ทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว
กลุ่มที่ 4 สิ่งที่ทำไปแล้ว แนะนำโภชนาการเรื่องอาหารพูดคุยกับแม่เด็กติดตามชั่งน้ำหนักทุกๆ 3 เดือน,แนะนำโภชนาการเรื่องอาหารครบ 5 หมู่,แนะนำให้เด็กออกกำลังกาย,ติดตามฉีดวัคซีนเด็ก,แนะนำเสริมยาธาตุเหล็ก,แนะนำการฝากครรภ์,แนะนำการพัฒนาทางอารมณ์ของแม่ในระหว่างตั้งครรภ์,แนะนำให้เด็กกินนมแม่แรกเกิดถึง 6 เดือน, สิ่งที่จะทำในอนาคต สอนและลงมือทำคุยกับคนในบ้านในชุมชนติดตามวัดส่วนสูงน้ำหนักรอบหัวทุกๆเดือน,ติดตามวินัยการกินตามวัย,ติดตามกิจกรรมเด็กฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์,แนะนำการกินยาธาตุเหล็กผักเขียวตับ,แนะนำกินยาบำรุงเลือดในส่วนของหญิงตั้งครรภ์,สนับสนุนกิจกรรมกินก่อนเล่นเล่านอน,ตรวจสุขภาพฟันเด็ก
กลุ่มที่ 5 สิ่งที่ทำไปแล้ว ชั่งน้ำหนักว่าส่วนสูง,แนะนำให้แม่ไปฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์,แนะนำให้กินอาหารที่มีประโยชน์เช่นกินไข่สลัดผักเป็นต้น,ให้ข้อมูลเรื่องการดูแลสุขภาพฟันของลูกถ้าฟันเสียลูกไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ส่งผลในการกิน สิ่งที่จะทำในอนาคต
จัดกิจกรรมอบรมผู้ปกครองในการดูแลด้านโภชนาการ,เด็กติดตามพัฒนาการของเด็ก,แนะนำให้แม่ใช้สมุดบันทึกสุขภาพสีชมพู,ติดตามการฉีดวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์,ส่งเสริมธาตุเหล็กในเด็ก
กลุ่มที่ 6 สิ่งที่ทำไปแล้ว ติดตามชั่งน้ำหนักเด็กและพัฒนาการเด็ก,แนะนำการฝากครรภ์,แนะนำการทานอาหารที่มีประโยชน์,ส่งเสริมการทานยาบำรุงในหญิงตั้งครรภ์,ส่งเสริมไอโอดีนธาตุเหล็ก,ติดตามภาวะซีดในเด็ก,ตรวจสุขภาพฟันในเด็ก, สิ่งที่จะทำในอนาคต แนะนำเตรียมความพร้อมในหญิงตั้งครรภ์,แนะนำให้แม่ส่งเสริมโภชนาการให้เด็ก,อบรมผู้สมรสด้านโภชนาการ,แนะนำทานอาหารทะเล
กลุ่มที่ 7 สิ่งที่ทำไปแล้ว ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง,แนะนำแม่ของเด็กด้านโภชนาการอาหารการกินของเด็ก,แนะนำการออกกำลังกายในขณะตั้งครรภ์,แนะนำหญิงตั้งครรภ์ฝากท้องก่อน 3 เดือน,ติดตามหญิงตั้งครรภ์รับประทานยาเม็ดเสริมไอโอดีนและธาตุเหล็ก,ติดตามการฉีดวัคซีนของเด็ก,แนะนำการให้นมแม่อย่างต่อเนื่อง,ติดตามพัฒนาการของเด็ก,ฝึกให้เด็กกินผักและอาหารสะอาดปลอดภัย,ตรวจสุขภาพช่องปากของเด็กการเคลือบฟลูออไรด์,คัดกรองภาวะซีดของเด็ก สิ่งที่จะทำในอนาคต แจกนมและไข่สำหรับเด็กที่ขาดสารอาหารโดยประสานกับหน่วยงานอบตหรือผู้ใหญ่บ้าน,แนะนำหญิงตั้งครรภ์ควรกินอาหารที่มีประโยชน์,แนะนำเรื่องโภชนาการด้านอาหารสำหรับผู้ดูแลเด็ก,จัดกิจกรรมความสัมพันธ์สานสายใยแม่และลูก,จัดกิจกรรมดูแลสุขภาพฟันที่ดี
กลุ่มที่ 8 สิ่งที่ทำไปแล้ว ประเมินพัฒนาการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง,แนะนำฉีดวัคซีนตามเกณฑ์,ติดตามพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี,แนะนำเรื่องโภชนาการในเด็กครบอาหารครบ 5 หมู่,ดูแลสุขภาพช่องปากการเคลือบฟลูออไรด์,แนะนำด้านสุขลักษณะเช่นเล็บผมร่างกายความสะอาด,แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์เมื่อรู้ว่าท้อง,แนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่,แนะนำการรับยาเสริมธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์,เยี่ยมหลังคลอดวัดความดันให้ความรู้ด้านโภชนาการอาหารเด็ก,ชั่งน้ำหนักตรวจเลือดเด็ก, สิ่งที่จะทำในอนาคต อบรมให้ความรู้แม่หรือผู้ปกครองให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีตามเกณฑ์,ส่งเสริมให้เด็กดื่มนมเป็นประจำ,สนับสนุนการตั้งครรภ์ในหญิงวัยเจริญพันธุ์,แนะนำวางแผนครอบครัวก่อนมีบุตรให้ความรู้พ่อแม่ให้เห็นถึงความสำคัญในช่วงอายุเด็ก 0-5 ปีเพื่อกระตุ้นสมองจัดกิจกรรมในชุมชนเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว,อบรมวัยรุ่นให้มีบุตรเมื่อพร้อม,จัดกิจกรรมแม่ลูกกิจกรรมครอบครัวสัมพันธ์ในชุมชน,ส่งเสริมกิจกรรมกอดลูก กินก่อนเล่นเล่า
กลุ่มที่ 9 สิ่งที่ทำไปแล้ว ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง,แนะนำให้เด็กรับวัคซีนตามเกณฑ์,ติดตามเด็กมาเจาะเลือดตรวจความซีด,ติดตามเด็กหลังคลอดแนะนำให้กินนมแม่ครบ 6 เดือน,ติดตามการรับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก,ติดตามการรับประทานอาหารตามวัย,จัดทำโครงการแจกนมไข่ให้เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ,หยอดวัคซีนโปลิโอแรกเกิดถึง 5 ปีในช่วงรณรงค์,ติดตามการตรวจพัฒนาการของเด็กตามกลุ่มเป้าหมาย,เฝ้าระวังสุขภาพช่องปากของเด็ก, สิ่งที่จะทำในอนาคต แนะนำกับผู้ปกครองให้เด็กกินอาหารครบ 5 หมู่,ให้ข้อมูลการจัดเวลาให้ลูกให้เหมาะสมเพื่อห่างไกลจากจอโทรศัพท์,อบรมผู้ปกครองเรื่องพัฒนาการโภชนาการของเด็กอย่างถูกวิธี,แนะนำผู้ปกครองให้เป็นแบบอย่างที่ดี,แนะนำในการกินยาเสริมธาตุเหล็กอย่างถูกวิธี,จัดทำโครงการแจกนมไข่อย่างต่อเนื่อง,ติดตามและประเมินผลทุกปัญหาอย่างต่อเนื่อง,จัดกิจกรรมการออกกำลังกายในวัยเด็ก,จัดกิจกรรมการประกวดเด็กมีพัฒนาการที่สมบูรณ์
กลุ่มที่ 10 สิ่งที่ทำไปแล้ว ติดตามเด็กมาฉีดวัคซีนชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงวัดรอบศีรษะเด็กหยอดโปโล,ให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับสารอาหารที่มีประโยชน์ 0-5 ปี,ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเด็ก 0-5 ปี,ให้ความรู้เกี่ยวกับการกินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน,แนะนำการกินนมแม่ควบคู่กับอาหารเสริมตามวัยแรกเกิดถึง 2 ปี,แนะนำแก่แม่วัยรุ่นเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์, สิ่งที่จะทำในอนาคต ส่งเสริมติดตามให้เด็กฉีดวัคซีนให้ครบ,จัดอาสาสมัครให้มีการติดตามสมุดชมพูให้ต่อเนื่อง,ส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์รู้ว่าเมื่อตั้งครรภ์ให้มาฝากครรภ์ที่รพ. สตทันที
กิจกรรมที่3.สมุดสีชมพูมีคุณค่ามากกว่าที่คิด -แนะนำการใช้สมุดสีชมพูโดยอาจารย์ลักษณาอาจารย์สีลาวิธีการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงที่ถูกต้องการดูแลโภชนาการอาหารฝึกปฏิบัติในการวัดส่วนสูงทดลองให้อสมทุกคนทำการ plot graph
กิจกรรมที่4.โภชนาการดีอยู่ที่การจัดการอาหารที่ดีโดยอาจารย์ลักษณาอาจารย์สีลาฝึกปฏิบัติการจัดเมนูอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสำหรับเด็กโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มกลุ่มที่ 1 วางแผนเมนูอาหาร 5 วันสำหรับเด็ก 6 เดือนถึง 1 ปีกลุ่มที่ 2 วางแผนอาหาร 5 วันสำหรับเด็ก 1-5 ปี
กลุ่มที่ 1 เมนูอาหารเด็ก 1-5 ปี
วันที่ 1 มื้อเช้าข้าวต้มไก่ไข่ข้าวสวยนมกล้วยน้ำว้า-มื้อเที่ยงแกงจืดข้าวสวยตำลึงแครอทฟักทองมะละกอ-มื้อเย็นต้มข่าไก่ข้าวสวยข้าวสุก
วันที่ 2 มื้อเช้าผัดฟักทองใส่ไข่นมแตงโม-มื้อเที่ยงแกงจืดไข่ข้าวสวยเต้าหู้ส้ม-มื้อเย็นข้าวผัดไข่ข้าวโพดสุกนม
วันที่ 3 มื้อเช้าข้าวต้มกุ้งเต้าหู้สาหร่ายฟักทองนึ่ง-มื้อเที่ยงเนื้อสับข้าวสุกแครอทผักแอปเปิ้ล-มื้อเย็นข้าวสวยไข่ตุ๋นกล้วย
วันที่ 4 มื้อเช้าผัดผักปลาทอดข้าวสวย-มื้อเที่ยงก๋วยเตี๋ยวมะม่วงสุก-มื้อเย็นข้าวผัดไข่ดาวนม
วันที่ 5 มื้อเช้าข้าวยำสมุนไพรไข่ต้มนม-มื้อเที่ยงกุ้งอบวุ้นเส้นชมพู่-มื้อเย็นขนมปังชุบไข่นมจืด
กลุ่มที่ 2 เมนูอาหารสำหรับเด็กอายุ 6-12 เดือน
วันที่ 1 เด็ก 6 เดือนมื้อเช้าข้าวต้มบดละเอียดไข่แดงสุก
เด็ก 7-8 เดือนมื้อเช้าเข้าบดปลานมแม่ข้าวต้มผสมเนื้อสัตว์ผักถั่ว
เด็ก 9-12 เดือนมื้อเช้าข้าวสวยบดผสมปลานึ่งฟักทองผลไม้มะละกอ
-มื้อเที่ยงเด็ก 9-12 เดือนข้าวสวยบดผลไม้สุกชิ้นพอคำ-มื้อเย็น 9-12 เดือนเข้าสวยบดหยาบผักสุก
วันที่ 2 เด็ก 6 เดือนกินนมแม่อย่างเดียวมื้อเที่ยงเย็นมีต้มผักเปื่อยเสริมและผลไม้สุกเช่นกล้วยเสริม
-มื้อเที่ยงเด็ก 7-12 เดือนข้าวต้มสุกบดหยาบไข่ต้มสุกฟักทอง-มื้อเย็นข้าวสวยบดหยาบผลไม้สุกชิ้นพอคำ
วันที่ 3 เด็ก 6 เดือนกินนมแม่เวลาหิวกล้วยบดละเอียด -มื้อเที่ยงเด็ก 7-12 เดือนเข้าบดผสมไข่ฟักทองตับไก่ผักใบเขียวผลไม้ตามฤดูกาล-มื้อเย็นข้าวสวยหุงนิ่มบดหยาบไก่สับ
วันที่ 4 เด็ก 6 เดือนกินนมแม่ข้าวต้มสุกบดละเอียด -มื้อเที่ยงเด็ก 7-12 เดือนข้าวสวยบดหยาบข้าวต้มปลาบดผลไม้ชิ้นพอคำ-มื้อเย็นข้าวสวยไก่สับผักสับผลไม้
วันที่ 5 เด็ก 6 เดือนข้าวต้มสุกไข่สุกบดตับไก่ผักต้มเปื่อยผลไม้สุกบด-มื้อเที่ยงเด็ก 7-12 เดือนฟักทองบดผสมไข่ใบตำลึงนมแม่ข้าวสวยบดเนื้ออกไก่-มื้อเย็นข้าวสวยบดไข่ต้มมะละกออกไก่
กลุ่มที่ 3 เมนูอาหารสำหรับเด็กอายุ 1-5 ปี
วันที่ 1 มื้อเช้านมข้าวต้มไก่กล้วยหอมสุก-มื้อเที่ยงก๋วยเตี๋ยวเนื้อผักแตงโม-มื้อเย็นข้าวแกงจืดเต้าหู้ไก่สับน้ำเต้าหู้
วันที่ 2 มื้อเช้าข้าวยำไข่ต้มนมจืด-มื้อเที่ยงแกงจืดผักกาดขาวไก่สับปลาทูทอดแอปเปิ้ล-มื้อเย็นเส้นใหญ่ผัดซีอิ้วใส่ไข่ไก่กุ้ง
วันที่ 3 มื้อเช้าข้าวต้มปลานมจืดผัดผักบุ้ง-มื้อเที่ยงข้าวสวยแกงเนื้อส้มผัดผักรวมมิตร-มื้อเย็นข้าวสวยแกงจืดกุ้งใส่ผักนมจืด
วันที่ 4 มื้อเช้านมจืดข้าวต้มกุ้งใส่เต้าหู้-มื้อเที่ยงข้าวมันไก่น้ำซุปกล้วย-มื้อเย็นข้าวไข่เจียวโหระพาผัดผักนมจืด
วันที่ 5 มื้อเช้านมจืดไข่พะโล้ใส่เต้าหู้-มื้อเที่ยงข้าวผัดทะเลใส่ผักกล้วย-มื้อเย็นข้าวไก่ทอดผัดผักใส่ไข่นมจืด
กลุ่มที่ 4 เมนูอาหารสำหรับเด็กอายุ 6 เดือนถึง 1 ปี
วันที่ 1 มื้อเช้าข้าวบดนมแม่-มื้อเที่ยงไข่ตุ๋นเต้าหู้ไข่-มื้อเย็นกล้วยน้ำว้าสุก
วันที่ 2 มื้อเช้าข้าวบดไข่แดงฟักทอง-มื้อเที่ยงฟักทองผัดไข่บด-มื้อเย็นมะละกอสุกบดละเอียด
วันที่ 3 มื้อข้าวบดบรอกโคลี่ไข่แดง-มื้อเที่ยงไข่น้ำ + ข้าว-มื้อเย็นมะม่วงสุกบดละเอียด
วันที่ 4 มื้อเช้าข้าวปลาต้มตำลึง-มื้อเที่ยงซุปมักกะโรนีไก่-มื้อเย็นแอปเปิ้ลบดละเอียด
วันที่ 5 มื้อเช้าข้าวตับแครอทผักหวาน-มื้อเที่ยงแกงจืดตำลึงไก่ใส่เต้าหู้ไข่-มื้อเย็นแก้วมังกร
กลุ่มที่ 5 เมนูสำหรับเด็กอายุ 1-5 ปี
วันที่ 1 มื้อเช้าข้าวต้มตับไก่ไข่นม-มื้อเที่ยงสปาเก็ตตี้ผัดไข่มะละกอเส้นหมี่วุ้นเส้น-มื้อเย็นข้าวสวยผัดฟักทองใส่ไก่หนุ่มมะละกอนมจืด
วันที่ 2 มื้อเช้าไข่ตุ๋นทรงเครื่องแอปเปิ้ลนม-มื้อเที่ยงข้าวเปล่าปลาทอดผัดไข่ผัดฟักทอง-มื้อเย็นแกงจืดไก่สับไข่น้ำปลาย่างน้ำส้มคั้น
วันที่ 3 มื้อเช้าข้าวต้มปลากุ้งผักตับไข่ตุ๋นไข่ต้ม-มื้อเที่ยงผัดซีอิ้วไก่ไข่ผักมะละกอ-มื้อเย็นข้าวต้มปลาทูแครอทแตงกวากล้วยนมจืด
วันที่ 4 มื้อเช้าข้าวต้มใส่กุ้งนมส้ม-มื้อเที่ยงก๋วยเตี๋ยวผัดกุ้งไก่ไข่ผลไม้-มื้อเย็นก๋วยเตี๋ยวผัดใส่ไก่นมข้าวต้มปลาทู
วันที่ 5 เมื่อเช้าข้าวไก่ปลาทอดนมจืดมะละกอ-มื้อเที่ยงก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กปีกไก่ตุ๋นน้ำส้มคั้นมะม่วง-มื้อเย็นข้าวผัดกุ้งแอปเปิ้ลแตงกวานม
กลุ่มที่ 6 เมนูอาหารสำหรับเด็กอายุ 6 เดือนถึง 1 ปี
วันที่ 1 มื้อเช้าเข้าสวยไข่ต้มฟักทอง-มื้อเที่ยงข้าวต้มสุกบดละเอียดไข่แดงฟักทองใส่น้ำมันพืช-มื้อเย็นกล้วยน้ำว้าสุก
วันที่ 2 มื้อเช้าข้าวสวยบดหยาบไก่ต้มแครอทน้ำมันพืช-มื้อเที่ยงข้าวสวยบดหยาบปลาทูบดหยาบตำลึงน้ำมันพืช-มื้อเย็นข้าวบดไข่แดงผลไม้มะละกอ
วันที่ 3 มื้อเช้าข้าวสวยกุ้งบดผักกาดขาวน้ำมันพืช-มื้อเที่ยงข้าวสวยไข่ตุ๋นปลาทูฟักเขียวต้มน้ำมันกับหอมกระเทียมเจียว-มื้อเย็นข้าวผัดกุ้งแครอทข้าวโพดไข่ฝรั่งนิ่มๆ
วันที่ 4 มื้อเช้าข้าวต้มไข่แดงฟักทอง-มื้อเที่ยงข้าวผัดแครอทตำลึง-มื้อเย็นข้าวต้มกล้วย
วันที่ 5 มื้อเช้าข้าวบดตับไก่ มื้อเที่ยงข้าวบดผัก มื้อเย็นข้าวต้มฟักทองบด
กลุ่มที่ 7 เมนูอาหารสำหรับเด็กอายุ 1-5 ปี
วันที่ 1 มื้อเช้าข้าวต้มไก่สับไข่ผักนม มื้อเที่ยงข้าวสวยผัดผักกุ้งผลไม้ มื้อเย็นข้าวผัดกุ้งนม
วันที่ 2 มื้อเช้าข้าวต้มไก่นม มื้อเที่ยงข้าวแกงจืดฟักทอง มื้อเย็นข้าวผัดกุ้งแตงกวามะละกอ
วันที่ 3 มื้อเช้าข้าวต้มตำลึงปลานมส้ม มื้อเที่ยงข้าวสวยแกงจืดผักกาดขาวมะละกอนม มื้อเย็นข้าวสวยเนื้อสัตว์ต้มทอดผลไม้
วันที่ 4 มื้อเช้าข้าวต้มไก่ผักนมแอปเปิ้ล มื้อเที่ยงข้าวผัดผักไก่ มื้อเย็นข้าวหมกไก่แตงกวานม
วันที่ 5 มื้อเช้าข้าวต้มกับฟักทอง มื้อเที่ยงข้าวสวยแกงจืดแอปเปิ้ล มื้อเย็นโรตีไข่นม
กลุ่มที่ 8 เมนูอาหารสำหรับเด็กอายุ 1-12 เดือน
วันที่ 1 มื้อเช้าไข่ต้มบด มื้อเที่ยงผลไม้สุพรรณพอดีคำ มื้อเย็นไข่แดงสุกตับไก่
วันที่ 2 มื้อเช้านมแม่ไข่ต้มบด มื้อเที่ยงแตงโมบดละเอียด มื้อเย็นข้าวฟักทองบดหยาบเนื้อปลา
วันที่ 3 มื้อเช้าข้าวกับไก่แครอทผักโขมบดหยาบ มื้อเที่ยงกล้วยน้ำว้าสุกบดละเอียด มื้อเย็นข้าวไข่แดงบล็อกโคลี่บดละเอียด
วันที่ 4 มื้อเช้าไข่ตุ๋นผักรวมข้าวบดหยาบ มื้อเที่ยงผลไม้สุกหั่นชิ้นพอคำ มื้อเย็นผลไม้สุกบดละเอียด
วันที่ 5 มื้อเช้าข้าวต้มสุกบดละเอียดผักสุกผลไม้สุกบด มื้อเที่ยงอะโวคาโดข้าวบดหยาบ มื้อเย็นข้าวสวยไก่ตับบดบดหยาบผักสุกผลไม้สุก
กลุ่มที่ 9 เมนูอาหารสำหรับเด็กอายุ 1-5 ปี
วันที่ 1 มื้อเช้าข้าวต้มปลานมจืด มื้อเที่ยงข้าวผัดไก่กล้วย มื้อเย็นข้าวหมกไก่นม
วันที่ 2 มื้อเช้าขนมปังโฮลวีตแครอทด้วยน้ำว้าไข่นม มื้อเที่ยงข้าวผัดไก่บรอกโคลี่กล้วย มื้อเย็นข้าวสวยปลาทอดผัดฟักทองนึ่งแตงโม
วันที่ 3 มื้อเช้าโจ๊กไข่ลวกแครอทนึ่งนม มื้อเที่ยงก๋วยเตี๋ยวน้ำใสผักรวมส้ม มื้อเย็นข้าวสวยไข่ต้มผัดผักน้ำเต้าหู้
วันที่ 4 มื้อเช้าข้าวยำไข่ต้มผลไม้มะละกอนมโจ๊กไข่ลวกน้ำเต้าหู้ มื้อเที่ยงข้าวผัดไก่น้ำส้ม มื้อเย็นข้าวเหนียวไก่ทอดต้ม
วันที่ 5 มื้อเช้าข้าวต้มไก่สับนมจืด มื้อเที่ยงข้าวหมกไก่ทอดมะม่วง มื้อเย็นข้าวแกงจืดกล้วยสุกนม
กลุ่มที่ 10 เมนูอาหารสำหรับเด็กอายุ 6-1 ปี
วันที่ 1 มื้อเช้าไข่แดงสุกครึ่งฟองข้าวสวยหุงนิ่มบดหยาบ มื้อเที่ยงข้าวบดตับไก่ผักหวานกล้วยบดมะละกอบด มื้อเย็นโจ๊กปลาน้ำมันครึ่งช้อนชาคลุกผสมอาหาร
วันที่ 2 มื้อเช้าข้าวต้มสุกบดละเอียด มื้อเที่ยงข้าวบดปลาทูฟักทองแซลมอนย่างบล็อกโคลี่ใส่น้ำมันรำข้าวข้าวผัด มื้อเย็นข้าวผักต้มเปลือยข้าวไก่ต้มใส่ผักใส่ไข่ฟักทอง
วันที่ 3 มื้อเช้าไข่แดงมื้อ เที่ยงข้าวสวยบดหยาบข้าวผัดปลาแซลมอนหยอดน้ำมันมะกอก มื้อเย็นข้าวไข่ขยี้กุ้งตับไก่บรอกโคลี่ฟักทอง
วันที่ 4 ผลไม้รวมบด มื้อเที่ยงผักต้มเปื่อยข้าวต้มสุกไข่เจียวข้าวโพดทอดกรอบ มื้อเย็นข้าวสวยบดใส่ตับผักผลไม้สุกบดหยาบ
วันที่ 5 ผลไม้สุกกล้วยบด มื้อเที่ยงซุปไข่ปูอัดไข่แดงฟักทองก้วยปั่น มื้อเย็นข้าวต้มสุกบดหยาบปลาบดผักบดผลไม้สุกบดหยาบ
กิจกรรมที่ 5. เทคนิคการเป็นนักสื่อสารข้อมูลด้านโภชนาการการเฝ้าระวังโภชนาการกับผู้ดูแลเด็กในชุมชนโดย วิทยากรจากวสส…………
กิจกรรมบรรยายหัวข้อ
เทคนิคการเป็นนักสื่อสารข้อมูลด้านโภชนาการการเฝ้าระวังทางโภชนาการกับผู้ดูแลเด็กในชุมชน
-เทคนิคการใช้คำถามและการฟังอย่างลึกซึ้งเพื่อการค้นหาข้อมูลทางโภชนาการในเด็กการดูแลเด็ก
-เทคนิคการสะท้อนคิดเพื่อการเสริมสร้างกำลังใจและการเสริมสร้างศักยภาพผู้ดูแลเด็ก
กิจกรรมฝึกปฏิบัติการค้นหาข้อมูลสื่อสารโภชนาการให้กับผู้ดูแลเด็กให้คำแนะนำทางโภชนาการสร้างกำลังใจและเสริมสร้างศักยภาพผู้ดูแลเด็ก โดยการแสดงบทบาทสมมุติจากวิทยากรประจำกลุ่มโดยมีโจทย์ดังนี้
โจทย์:ท่านเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ซึ่งได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการติดตามและจัดการแก้ปัญหาโภชนาการเด็ก 0-5 ปีในพื้นที่รับผิดชอบและจากการติดตามเฝ้าระวังผ่านการชั่งน้ำหนักและว่าส่วนสูงที่ผ่านมาพบว่ามี 1 ครอบครัวที่พบเด็กที่มีปัญหาทางโภชนาการและต้องการให้ท่านลงพื้นที่เพื่อดำเนินการค้นหาข้อมูลลักษณะของปัญหาและให้คำแนะนำแก่ผู้ดูแลเด็กซึ่งเป็นผู้สูงอายุโดยมีข้อมูลเบื้องต้นที่ท่านทราบและได้รับเพิ่มเติมจากรพ. สต.แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนที่เป็นอาสาสมัครไปคุยกับผู้ดูแลเด็กจำนวน 2 คนที่เหลือเป็นผู้สังเกตการณ์บันทึกวิธีการพูดคุยการถามตอบของตัวแทนกลุ่มเพื่อวิเคราะห์เทคนิคการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย
บทบาทของการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข
1. การส่งเสริมสุขภาพ: สร้างความตระหนักด้านสุขภาพให้กับชุมชน
2. การป้องกันโรค: สนับสนุนการป้องกันโรคติดต่อและไม่ติดต่อ
3. การดูแลผู้ป่วย: สนับสนุนการดูแลผู้ป่วยในชุมชน
4. การรวบรวมข้อมูลสุขภาพ: รวบรวมข้อมูลสุขภาพของชุมชนเพื่อนำไปวิเคราะห์และวางแผนการดำเนินงาน
5. การเป็นตัวแทนของชุมชน: เป็นตัวแทนของชุมชนในการสื่อสารกับหน่วยงานสาธารณสุข เช่น รพสต.
สมรรถนะของ อสม. ในการลงพื้นที่
การประชุมครั้งนี้เป็นการฝึกปฏิบัติการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านของทีมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อยเพื่อสังเกตและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการสื่อสารกับชาวบ้าน การรวบรวมข้อมูล และการจัดการปัญหาด้านสุขภาพ โดยเฉพาะปัญหาด้านโภชนาการของเด็ก
ประเด็นสำคัญ
ทักษะการสื่อสาร
1. การฟังอย่างตั้งใจ (Active Listening): การรับฟังผู้อื่นอย่างเต็มที่ โดยมีเป้าหมายเพื่อเข้าใจความรู้สึก ความคิด และข้อความที่ผู้พูดต้องการสื่อสารออกมาเพื่อให้เข้าใจบริบทและความต้องการของชาวบ้านอย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่การได้ยินเสียง แต่เป็นการมีส่วนร่วมในการสนทนาอย่างจริงจัง
2. การพูดที่ชัดเจนและตรงประเด็น: ใช้คำพูดที่เหมาะสม การพูดด้วยน้ำเสียงที่สุภาพ และการจัดลำดับคำพูดให้เป็นขั้นเป็นตอน และการให้ความสำคัญในสัดส่วนของวัตถุประสงค์ของการสนทนาและวัตถุประสงค์ของการมาเยี่ยมชุมชน
3. ภาษาที่เหมาะสม: การเลือกใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและเหมาะสมกับผู้ฟัง
4. การสะท้อนพฤติกรรมผู้พูด: สามารถสร้างความเชื่อมโยงทำให้ผู้พูดรู้สึกว่าได้รับการฟังและเข้าใจ ช่วยลดความเข้าใจผิดและความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น
5. การจับประเด็น: ผู้ฟังไม่ควรตั้งคำถามทันที อาจทำให้ผู้พูดที่ยังต้องการสื่อสารอยู่ไม่สามารถสื่อสารได้ครบถ้วน ทำให้ผู้ฟังได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วนเช่นกัน ควรให้ความสนใจกับสิ่งที่กำลังฟังอยู่ โฟกัสไปที่ใจความสำคัญ หลีกเลี่ยงการคิดเรื่องอื่น หรือประเด็นระหว่างสนทนา
6. ภาษากาย: การใช้ท่าทางและสีหน้าที่สื่อถึงความมั่นใจและเปิดใจ
7. การเขียน: การสื่อสารผ่านข้อความหรือรายงาน ต้องมีความชัดเจน ตรงประเด็น และถูกต้องตามหลักภาษา
วิธีการสื่อสารในบทบาทของ อสม. และการพัฒนาทักษะการสื่อสาร
1. การทักทาย แนะนำตัว และขออนุญาตเข้าบ้าน
2. การใช้คำถามปลายเปิดเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้พูด (ชาวบ้าน) เล่ารายละเอียดและไม่ควรตั้งคำถามในประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเล่ารายละเอียดของผู้พูด
3. การฟังอย่างตั้งใจ เพื่อจับประเด็นและความรู้สึกของผู้พูด
4. ฝึกฝนการฟัง: พยายามฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจและไม่ขัดจังหวะ
5. ฝึกฝนการพูด: พูดคุยกับผู้อื่นบ่อยๆเพื่อให้เกิดความมั่นใจ และกล้าแสดงความคิดเห็น
6. เข้าร่วมกิจกรรมที่ส่งเสริมการสื่อสาร: เช่น การสัมมนา การอบรม หรือการทำกิจกรรมกลุ่ม
การรวบรวมข้อมูล
1. ไม่ควรสรุปข้อมูลจากการเดาหรือใช้ประสบการณ์ตนเองเป็นตัวตั้ง
2. พยายามหาข้อมูลให้ครบถ้วนจากการซักถามและสังเกต
3. ระมัดระวังการหลงประเด็นจากสิ่งรบกวนหรือการเปลี่ยนเรื่อง หรือประเด็น
การจัดการปัญหา
1. ไม่ควรบังคับหรือสั่งให้ชาวบ้านปฏิบัติตาม แต่ร่วมหาทางออกด้วยกัน
2. ชี้ให้เห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นหากมีการเปลี่ยนแปลง
3. สร้างเป้าหมายร่วมกันระหว่าง อสม. กับชาวบ้านในชุมชน
กิจกรรมที่ 6 กลับไปฉันตั้งใจจะทำให้เด็กน้อยเติบโตเต็มศักยภาพ จากการมาอบรมในครั้งนี้ผู้เข้าร่วมอบรมเขียนความตั้งใจที่จะนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ต่อให้กับคนในชุมชนเพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็กให้เติบโตสมวัยดังนี้ -ในฐานะอสมกลับไปจะพัฒนาเด็กในหมู่บ้านและลูกๆให้เติบโตอย่างมีศักยภาพที่ดีเยี่ยม -ตั้งเป้าว่าเด็กจะต้องมีสุขภาพแข็งแรงกินอาหารให้ครบ 5 -รณรงค์ให้เด็กงดรับประทานขนมซองที่มีโซเดียม -จะกลับไปปรับปรุงพัฒนาโภชนาการของลูกตัวเองให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อเป็นตัวอย่างให้เด็กๆในชุมชน -แนะนำพ่อแม่ในการดูแลโภชนาการของลูกติดตามวัดส่วนสูงชั่งน้ำหนักเด็กว่าอยู่ในตามเกณฑ์หรือไม่เพื่อแก้ไขต่อไป -จะหาเวลาอยู่กับลูกให้มากขึ้นและจะพยายามคุยอ่านหนังสือให้ลูกฟังพาลูกดูสถานที่ต่างๆและกินอาหารพร้อมหน้าพร้อมตาให้เวลากับลูกให้มากที่สุด -ส่งเสริมพัฒนาการในเรื่องโภชนาการอาหารของเด็กในชุมชนและใส่ใจเรื่องการเล่นของลูกให้มาก -ในฐานะอสมจะเป็นแรงกระตุ้นส่งเสริมโภชนาการที่ดีให้เด็กในชุมชน -จะกลับไปดูแลเด็กๆในชุมชนให้มากกว่าเดิม -การนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาศักยภาพของเด็กในตำบลของตัวเองจะไม่ให้มีเด็กไม่สมส่วนภายในชุมชน -จะส่งเสริมให้เด็กในชุมชนดื่มนมทุกวัน -จะเน้นย้ำให้คำแนะนำกับผู้ปกครองที่มีลูกและกำลังวางแผนที่จะมีลูกในอนาคตด้วยการเตรียมตัวในด้านความพร้อมของร่างกายที่ดีโภชนาการที่ดี -กลับไปจะทำกับข้าวให้ลูกทานของที่มีประโยชน์เพื่อได้มีพัฒนาการที่ดีและสุขภาพที่ดีและการนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้ได้มากที่สุดกับคนในชุมชน -จะติดตามพัฒนาการด้านโภชนาการอาหารของเด็กในพื้นที่เพื่อให้สมส่วนตามอายุและวัยของเด็ก -จะพัฒนาลูกของตนเองโดยการเล่นกอดเหล้านอนพร้อมเตรียมอาหารมื้อเย็นให้ลูกอย่างมีประโยชน์