การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดปัตตานี
ประชุมสร้างความร่วมมือบูรณาการขับเคลื่อนแลกยกระดับต้นแบบเกษตรกรรมยั่งยืนเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส
-ผลการถอดบทเรียนต้นแบบเกษตรกร
-แนวทางการขับเคลื่อนขยายผลในระดับชุมชน
-เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากต้นแบบเกษตรกร
วิทยากร โดย ดร.ไชยยะ คงมณี รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
โดยมีหัวข้อดังนี้
1.รูปแบบระบบการผลิตแบ่งเป็นระบบเกษตรกรรมหลากหลาย,แบบระบบพืชร่วมยาง,แบบระบบเกษตรผสมผสาน
2.รูปแบบเกษตรกรต้นแบบความรู้ความเชี่ยวชาญและผลสำเร็จแบ่งเป็น นวัตกรรมทางการเกษตร,ฟาร์มผลสำเร็จเชิงประจักษ์,smart farm
1.แนะนำเกษตรกรต้นแบบ
1.คุณจิราภรณ์ อินทรสกุล ประสบการณ์ทำเกษตรกร 5 ปีประสบการณ์ทำเกษตรผสมผสาน 3 ปีลักษณะระบบเกษตรผสมผสานปลูกผักยกแคร่เลี้ยงปลาเลี้ยงไก่เลี้ยงเป็ดปลูกไม้เกษตรกิจกล้วยและมะพร้าวน้ำหอม
2.คุณนิภา สุขแก้วมณี ประสบการณ์ทำเกษตร 30 ปีประสบการณ์ทำเกษตรผสมผสาน 10 ปี ลักษณะระบบพืชร่วมยางและระบบเกษตรผสมผสานระบบพืชร่วมยางไม้เศรษฐกิจร่วมยางไม้ตัดใบร่วมยางระบบเกษตรผสมผสานไม้ตัดใบทำนาเลี้ยงปลาผักตะไคร้และมะพร้าว
3.คุณเนตรนภา มณีศรี ประสบการณ์ทำเกษตร 10 ปีประสบการณ์ทำเกษตรผสมผสาน 5 ปี ลักษณะระบบเกษตรผสมผสานผักยกแรกกล้วยเลี้ยงวัวเลี้ยงปลาขายดินปลูกทำนา
4.คุณสวัสดิ์ สังข์สุมล ประสบการณ์ทำเกษตร 65 ปีประสบการณ์ทำเกษตรผสมผสาน 65 ปี ลักษณะระบบพืชร่วมยางและระบบเกษตรผสมผสานระบบพืชร่วมยางยางพาราผักกูดระบบเกษตรผสมผสานทุเรียนเลี้ยงสัตว์ปลาเลี้ยงนกทำนา
5.คุณกัญญาภัค นวลศิลป์ ประสบการณ์ทำเกษตร 4 ปีประสบการณ์ทำเกษตรผสมผสาน 4 ปี ลักษณะระบบเกษตรผสมผสานปลูกแบบยกแค่ผักกินใบพืชกินผลขายดินปลูกกล้าพันธุ์ผักไก่ดำเลี้ยงปลา
6.คุณเจริญ เวชวัฒนาเศรษฐ ประสบการณ์ทำเกษตร 30 ปีประสบการณ์ทำเกษตรผสมผสาน 9 ปี ลักษณะระบบพืชร่วมยางยางพาราไม้เศรษฐกิจไม้ป่า
7.คุณทศพล รุ่งเรืองใบหยก ประสบการณ์ทำเกษตร 20 ปีประสบการณ์ทำเกษตรผสมผสาน 20 ปี ลักษณะระบบเกษตรผสมผสานยางพาราเลี้ยงปลากบทุเรียนมังคุดไม้เศรษฐกิจเนื้อไก่ไก่ไข่
8.คุณสุขสรรค์ วุฒิพิทักษ์ศักดิ์ ประสบการณ์ทำเกษตร 10 ปีประสบการณ์ทำเกษตรผสมผสาน 10 ปี ลักษณะระบบเกษตรผสมผสานแบบแยกแปลงมังคุดร่วมลองกองสะตอและเงาะทุเรียนสวนยาง
9.คุณมานพ จีคีรี ประสบการณ์ทำเกษตร 20 ปีประสบการณ์ทำเกษตรผสมผสาน 5 ปี ระบบเกษตรหลากหลายแบบแยกแปลงสวนปาล์มน้ำมันและวัวส่วนปาล์มน้ำมันร่วมกับโกโก้และชันโรงสวนปาล์มน้ำมัน
10.คุณอับดุลรอแม เจ๊ะยิ ประสบการณ์ทำเกษตร 50 ปีประสบการณ์ทำเกษตรผสมผสาน 20 ปี ลักษณะระบบเกษตรผสมผสานสวนยางพาราร่วมเกษตรผสมผสานเกษตรผสมผสานมะนาวมะพร้าวส้มโอลำใย
ประชุมสร้างความร่วมมือบูรณาการขับเคลื่อนแลกยกระดับต้นแบบเกษตรกรรมยั่งยืนเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระดมความคิดจากผู้เข้าร่วมอบรมจังหวัดปัตตานี กิจกรรมที่ 1 การขยายผลรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืนของกรณีศึกษา ท่านจะสนับสนุนหรือนำไปสู่การปฏิบัติในหน่วยงานหรือชุมชนอย่างไรในจังหวัดปัตตานี -สนับสนุนให้อปท.ในพื้นที่อบรมให้ความรู้เกษตรกร,สร้างเกษตรกรในชุมชนให้เข้มแข็งและเป็นต้นแบบ -โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรมีอาชีพเสริมในสวนยางโดยศึกษาเรียนรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์ -เงินกู้ยืมเพื่อทำอาชีพเสริมรายละ 50,000 บาทดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปีระยะเวลา 2 ปี -ส่งเสริมการสร้างช่องทางการจำหน่ายในรูปแบบการตลาดนำการผลิต -สนับสนุนสินค้าการเกษตรสู่ครัวโรงเรียน -ส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนให้กับนักเรียน -ส่งเสริมองค์ความรู้ในสถานศึกษานำปราชญ์ชาวบ้านมาสนับสนุนการศึกษา -กษ.มีการส่งเสริมมาโดยตลอดตามภารกิจสิ่งที่ขาดคือ 1 ทุน 2 การบริหารจัดการทุกมิติตั้งแต่ต้นน้ำกลางน้ำและปลายน้ำ -แปลงสาธิตโรงเรียนสถานศึกษาพอเพียง กิจกรรมที่2หากจะต้องนำองค์ความรู้ของกรณีศึกษาไปสู่การทำคู่มือการจัดการเชิงระบบทำเกษตรกรรมยั่งยืน ท่านคิดว่าควรมีเนื้อหาในประเด็นใดบ้าง -องค์ความรู้ในการลดต้นทุนของการผลิตและการเพิ่มผลผลิต -องค์ความรู้ในการผลิตแบบอินทรีย์สู่ตลาดคนรักสุขภาพ -ภาพความสำเร็จของเกษตรกรต้นแบบวิธีการทำการเกษตรให้สำเร็จ -การขนส่งในการบริหารจัดการผลผลิตทางการเกษตร -ผลผลิตทางการเกษตรที่ได้มาตรฐานรับรอง -การนำมาใช้ของเกษตรกรทั้ง 3 ระบบให้อยู่ในงบพื้นฐานของอัตลักษณ์ของท้องถิ่นหรือชุมชนเกษตรกรรม 60% อุตสาหกรรมเกษตร 40% -แนวคิดและหลักการของเกษตรกรรมยั่งยืน -กรอบแนวคิดการจัดการเชิงระบบในการเกษตรการวิเคราะห์ระบบการเกษตรด้านการผลิตการตลาดและการจัดการทรัพยากรการบูรณาการระหว่างเทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรมสมัยใหม่ -กรณีศึกษาเกษตรกรรมยั่งยืน -การจัดการทรัพยากรธรรมชาติในระบบการเกษตร -เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเกษตรยั่งยืน -การจัดการแปลงการวางแผนผังแนวทางการจัดการด้านการตลาด -จัดทำคู่มือการทำเกษตรกรรมภายในโรงเรียนเนื้อหาผลผลิตที่ได้จากเกษตรกรในพื้นที่ที่นำมาเป็นอาหารกลางวันที่ทำเป็นอาหารกลางวัน -ให้มีกิจกรรมฝึกผลิตในส่วนที่จะรับประทานปลูกผักกินเองที่เหลือแบ่งจำหน่าย -จัดทำข้อมูลการปลูกพืชผสมผสานจากพื้นที่ขนาดเล็กจนถึงพื้นที่ขนาดใหญ่ภายในโรงเรียน -ส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติปลูกพืชที่มีในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมรายได้ กิจกรรมที่3การนำรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืนไปสู่การขยายผลกับเครือข่ายเกษตรกรนำร่องจำนวน 200 ราย ระบุกลุ่มที่ควรขยายผลในแต่ละอำเภอของท่าน -คัดเลือกคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนเช่นกลุ่มที่สามารถขับเคลื่อนได้ทันทีต่อจากเดิมที่เคยทำอยู่ -เลือกจากจุดเด่นแต่ละพื้นที่
ระดมความคิดจากผู้เข้าร่วมอบรมจังหวัดยะลา กิจกรรมที่ 1 การขยายผลรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืนของกรณีศึกษา ท่านจะสนับสนุนหรือนำไปสู่การปฏิบัติในหน่วยงานหรือชุมชนอย่างไรในจังหวัดยะลา -สนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรกรโดยผลักดันให้เป็นสินค้ามูลค่าสูง -สร้างเครือข่ายโดยใช้วิธีการสร้างแกนนำเกษตรกรเพื่อการขยายฐานสมาชิก -สนับสนุนการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรให้มีมูลค่าสูงโดยการรับรองมาตรฐานสินค้าการส่งเสริมการแปรรูปการพัฒนาบรรจุภัณฑ์การสร้างแบรนด์การพัฒนาคุณภาพสินค้า -สนับสนุนการสร้างเครือข่ายของตลาดตามนโยบายกระทรวงเกษตรการตลาดนำนวัตกรรมเสริมเพิ่มรายได้ -โครงการของเกษตรที่สามารถเข้าไปช่วย support ได้คือการให้เกษตรกรเผยแพร่ผลงานของตัวเองผ่านโครงการต่างๆแต่หากต้องศึกษาดูงานงบประมาณอาจจะไม่เพียงพอ -ส่งเสริมการขยายผลต้นแบบเช่นจัดทำวีดีโอตั้งเป็นแหล่งเรียนรู้จะศึกษาดูงานแต่สามารถเลือกสถานที่ได้ข้ามจังหวัดได้ -จัดอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเกษตรกรรมยั่งยืนแก่ครูบุคลากรทางการศึกษาเพื่อนำความรู้ส่งต่อให้กับผู้เรียน -บูรณาการหลักสูตรในสถานศึกษาจัดทำจัดกิจกรรมเปิดฟาร์มเพื่อให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม -ส่งเสริมให้โรงเรียนมีโครงการเกษตรกรยั่งยืน สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างเกษตรกรต้นแบบชุมชนและโรงเรียน -สนับสนุนให้เกษตรกรขยายสร้างเครือข่ายพัฒนาให้ความรู้ภายในชุมชนและตัวเกษตรกรเองจากหน่วยงานต่างๆ -การผลิตอาหารสัตว์ในการลดต้นทุนด้านปศุสัตว์และการประมงสนับสนุนปัจจัยต่อยอดธุรกิจลดต้นทุนของเกษตรกร -ปลูกจิตสำนึกให้กับเกษตรกรรุ่นใหม่ในการใช้ชีวิตเกษตรกิจพอเพียงอยู่อย่างมีความสุขไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใครไม่มีหนี้สินใช้ชีวิตอย่างมีความสุขทั้งในชุมชนและตัวเราเอง -การใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆในการแก้ปัญหาด้านการประมงและปศุสัตว์ในบริบทการเลี้ยงและดำเนินการในด้านต่างๆ กิจกรรมที่ 2 หากจะต้องนำองค์ความรู้ของกรณีศึกษาไปสู่การทำคู่มือการจัดการเชิงระบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืน ท่านคิดว่าควรมีเนื้อหาในประเด็นใดบ้าง -แนวทางนโยบายภาครัฐในการผลักดันสินค้าเกษตรมูลค่าสูง -การติดตามประเมินผลเพื่อใช้ในการสนับสนุนเครือข่ายที่เข้มแข็ง -แบบแปลนการจัดสวนของเกษตรกรต้นแบบแนวคิดความสำเร็จ -ส่งเสริมให้องค์ความรู้กับนักเรียนให้มีใจรักการเกษตรโดยผ่านกิจกรรมเสริมหลักสูตรการนำหลักปรัชญามาใช้ในชีวิตประจำวัน -ส่งเสริมสมรรถนะของผู้เรียนตามความชอบและลงมือทำ สร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาด้านอาชีพ -หลักการเกษตรกรรมยั่งยืน,การวางแผนผลผลิต,การจัดการทรัพยากร,การจัดการผลผลิต,การตลาดการจำหน่ายผลผลิต,การติดต่อการประสานงานกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง,แหล่งข้อมูลในพื้นที่ กิจกรรมที่ 3 การนำรูปแบบเกษตรกรรมที่ยั่งยืนไปสู่การขยายผลกับเครือข่ายเกษตรกรนำร่องจำนวน 200 ราย ระบุกลุ่มที่ควรขยายผลในแต่ละอำเภอ -ขยายผลทั้งกลุ่มเกษตรกรใหม่และเก่าเพื่อขับเคลื่อนในทุกมิติ -ขยายผลสู่เกษตรกรที่มีความพร้อมด้านผลผลิตเพื่อนำเข้าสู่สินค้าเกษตรมูลค่าสูง -คัดเลือกเกษตรกรอบรมถ่ายทอดความรู้แนะนำตลาดสร้างตลาดสร้างความยั่งยืน -สร้างพื้นที่เกษตรให้กับโรงเรียนที่ไม่มีพื้นที่ทำการเกษตร -นำต้นแบบขยายผลต่อยุวกาชาดเพื่อนำผลที่ได้ไปสู่โรงเรียน -กลุ่มผู้ปลูกดอกไม้รามัญกลุ่มผู้ปลูกผักตำบลลำใหม่ขยายผลโดยให้ไปดูงานเกษตรต้นแบบอำเภอโคกโพธิ์
ระดมความคิดจากผู้เข้าร่วมอบรมจังหวัดนราธิวาส กิจกรรมที่ 1การขยายผลรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืนของกรณีศึกษา ท่านจะสนับสนุนหรือนำไปสู่การปฏิบัติในหน่วยงานหรือชุมชนอย่างไรในจังหวัดนราธิวาส -สร้างเครือข่ายองค์ความรู้การผลิตและการตลาด -เสริมกิจกรรมในแปลงเพิ่มเพื่อเพิ่มรายได้ -ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสม -บูรณาการงบและกิจกรรมในหน่วยงานเพื่อส่งเสริมด้านเนื้อหา -สร้างการมีส่วนร่วมการบูรณาการกับภาครัฐเอกชนและรัฐวิสาหกิจ -สนับสนุนโครงการที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง -ส่งเสริมต่อยอดบรรจุภัณฑ์สินค้าของเกษตรกรต้นแบบ -เพิ่มช่องทางการตลาดสินค้าของเกษตรกร -ส่งเสริมความรู้ในด้านการแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อนำไปต่อยอดและเป็นการเพิ่มมูลค่าเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร -เข้าร่วมการขึ้นทะเบียนการรับรองมาตรฐานต่างๆด้านการแปรรูป -ส่งเสริมองค์ความรู้ในด้านการบริหารจัดการภายในแปลงของกลุ่มเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจ -ทำเกษตรมูลค่าสูงแปรรูปสินค้า กิจกรรมที่ 2 หากจะต้องนำองค์ความรู้ของกรณีศึกษาไปสู่การทำคู่มือการจัดการเชิงระบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืน ท่านคิดว่าควรมีเนื้อหาในประเด็นใดบ้าง -เทคนิคเทคโนโลยีนวัตกรรมการผลิต -องค์ความรู้โรคแมลงศัตรูพืชและการป้องกันการรักษา -องค์ความรู้การเจริญเติบโตของพืชน้ำปุ๋ยแสงดินที่เหมาะสม -ต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ -การคิดต้นทุนการผลิตต่อไร่เพื่อให้เห็นผลกำไร -สภาพปัญหาของแปลงแนวทางการแก้ไขปัญหาวิธีการบริหารจัดการแปลงจนประสบความสำเร็จ -การลดต้นทุนในการผลิต -ข้อมูลกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ กิจกรรมที่ 3 การนำรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืนไปสู่การขยายผลกับเครือข่ายเกษตรกรนำร่องจำนวน 200 ราย ระบุกลุ่มที่ควรขยายผลในแต่ละพื้นที่ -ขยายผลด้วยการจัดกระบวนการเรียนรู้ศึกษาดูงานให้กับเกษตรกรที่สนใจ -จัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชน -เชิญวิทยากรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ความรู้ -ประชาสัมพันธ์บูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ -ขยายผลสู่กลุ่มแม่บ้าน"บ้านเกษตรสมบูรณ์"ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง -กลุ่ม TPMAP ที่มีในพื้นที่ -กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมันในทุกอำเภอหรือผู้ที่ปลูกปาล์ม -กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการกับสำนักงานเกษตรจังหวัด -ขยายผลต่อสำหรับผู้ประกอบการเพื่อเพิ่มความรู้การเป็นผู้ประกอบการการขยายธุรกิจการอบรมเพื่อเป็นวิทยากร