การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดปัตตานี

กิจกรรมถอดบทเรียนตลาดนัดอาหารเพื่อสุขภาพ6 กันยายน 2567
6
กันยายน 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Yadaporn Yimkaew
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ยกระดับโภชนาการเด็กด้วยกิจกรรมสร้างความรอบรู้เรื่องอาหารในมิติต่างๆ โดย ผศ.ดร.ลักษณา ไชยมงคล และ อ.ศรีลา สะเดาะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี นำเสนอผลงานของแต่ละพื้นที่ในรูปแบบต่างๆ สะท้อนรูปแบบกิจกรรมที่ผ่านมาทั้งข้อดีและข้อเสียรวมถึงแนวทางแก้ไข ออกแบบไอเดียยกระดับกิจกรรมตลาดอาหารเพื่อสุขภาพของแต่ละพื้นที่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.กิจกรรมสร้างความรอบรู้ทางอาหารและโภชนาการ ความรอบรู้ด้านสุขภาพคือความสามารถหรือลักษณะของบุคคลในการเข้าถึงเข้าใจข้อมูลสุขภาพตอบโต้สักถามจนสามารถประเมินตัดสินใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเลือกรับบริการเพื่อการจัดการสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสมและสามารถบอกต่อผู้อื่นได้ 1.การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพคุณลักษณะที่สำคัญ 1 เลือกแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพและบริการสุขภาพรู้วิธีการค้นหาและการใช้อุปกรณ์ในการค้นหา 2 ค้นหาข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพที่ถูกต้อง 3 สามารถตรวจสอบข้อมูลจากหลายแหล่งได้เพื่อยืนยันความเข้าใจของตนเองและได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือสำหรับนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพตนเอง 2.ความรู้ความเข้าใจ 1 มีความรู้และจำในเนื้อหาสาระสำคัญด้านสุขภาพ 2 สามารถอธิบายถึงความเข้าใจในประเด็นเนื้อหาสาระด้านสุขภาพในการที่จะนำไปปฏิบัติ 3 สามารถวิเคราะห์เปรียบเทียบเนื้อหาแนวทางการปฏิบัติด้านสุขภาพได้อย่างมีเหตุผล 3.ทักษะการสื่อสาร 1 สามารถสื่อสารข้อมูลความรู้ด้านสุขภาพด้วยวิธีการพูดอ่านเขียนให้บุคคลอื่นเข้าใจ 2 สามารถโน้มน้าวให้บุคคลอื่นยอมรับข้อมูลด้านสุขภาพ 4.ทักษะการตัดสินใจ 1 กำหนดทางเลือกและปฏิเสธหลีกเลี่ยงหรือเลือกวิธีการปฏิบัติเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี 2 ใช้เหตุผลหรือวิเคราะห์ผลดีผลเสียเพื่อการปฏิเสธหลีกเลี่ยงเลือกวิธีการปฏิบัติ3 สามารถแสดงทางเลือกที่เกิดผลกระทบน้อยต่อตนเองและผู้อื่น 5.ทักษะการจัดการตนเองการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 1 สามารถกำหนดเป้าหมายและวางแผนการปฏิบัติ2 สามารถปฏิบัติตามแผนที่กำหนดได้ 3 มีการทบทวนและปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติตนเพื่อให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง 6.การรู้เท่าทันสื่อ"บอกต่อ"1 ตรวจสอบความถูกต้องความน่าเชื่อถือของข้อมูลสุขภาพที่นำเสนอ 2 เปรียบเทียบวิธีการเลือกรับสื่อเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่น 3 ประเมินข้อความสื่อเพื่อชี้แนะแนวทางให้กับชุมชนหรือสังคม สังคมแห่งความรอบรู้ด้านสุขภาพคือสังคมที่มี 1 ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเข้าใจได้และสามารถปฏิบัติได้ 2 สถานบริการสาธารณสุขปรับข้อมูลด้านสุขภาพและการจัดบริการในสถานบริการสาธารณสุขให้เป็นลักษณะประชาชนเป็นศูนย์กลาง 3 สนับสนุนการเรียนรู้การศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิตและมีการพัฒนาทักษะเพื่อก่อให้เกิดการมีสุขภาพที่ดีเพื่อป้องกันโรคเรื้อรังโรคติดต่อและอุบัติเหตุ การจัดกิจกรรมตลาดนัดโภชนาการเพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กในเรื่อง เด็กเตี้ยเด็กผอมเด็กอ้วน สามารถทำได้โดย -หาปัญหาสุขภาพในพื้นที่ -วิเคราะห์ปัญหา -ปัจจัยที่เป็นสาเหตุ -วิธีการแก้ปัญหา ประชาชนในพื้นที่กลุ่มต่างๆจะต้องเข้าถึงข้อมูลเข้าใจปัญหาสามารถวิเคราะห์ปัญหาได้วิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมของแต่ละพื้นที่เพื่อลดการเจ็บป่วยลดการเข้ารักษาพยาบาลโดยไม่จำเป็นลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและคุณภาพของชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น 2.การจัดกิจกรรมตลาดนัดอาหารของแต่ละชุมชนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 1.โรงเรียนวัดโคกหญ้าคาตำบลคลองใหม่ ความคิดเห็นของนักเรียนครูผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่รพ. สต มีดังนี้
-ข้อดีของการจัดตลาดนัดอาหารเพื่อสุขภาพ นักเรียนมีสุขภาพที่ดีแข็งแรง,ทำให้มีการพบกันระหว่างผู้ปกครองและเด็กมีการทำงานร่วมกัน,ในระยะยาวเด็กไม่เจ็บป่วยง่าย,ไดรัยประทานอาหารที่มีประโยชน์สุขภาพแข็งแรง,ได้ฝึกทำอาหารเอง,ได้รับประทานอาหารที่ครบ 5 หมู่,ทำให้เด็กได้รับประทานอาหารเช้าที่หลากหลาย,นักเรียนมีรายได้,ได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์,มีน้ำหนักที่ผ่านเกณฑ์,ได้รู้จักอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากยิ่งขึ้น,ร่างกายเติบโตตามวัยสมส่วนมีความคิดที่ดีมีสมองที่ดี -อุปสรรคในการจัดตลาดอาหารเพื่อสุขภาพ ต้นทุนอาหารค่อนข้างสูงอาหาร,แต่ละชนิดยังไม่ครบ 5 หมู่,มีการจัดการเรื่องการทอนตังยังไม่ดี,นักเรียนบางคนยังไม่รับประทาน,ผักเจ้าหน้าที่ในการดูแลยังไม่เพียงพอ แนวทางแก้ไข -เพิ่มการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง,ลดปริมาณวัตถุดิบ,เลือกใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น,อยากให้มีคูปองในการไปซื้ออาหาร,ผักต้องเป็นชิ้นเล็กๆในการปรุงอาหาร,บอกต่อผู้ปกครองในวันที่จัดกิจกรรมตลาดอาหาร,เพิ่มความใส่ใจในการรับประทานอาหารของเด็กให้มากยิ่งขึ้น,ลดอาหารที่เป็นประเภทสำเร็จรูป,เพิ่มเมนูใหม่ๆในแต่ละสัปดาห์ 2.โรงเรียนบ้านล้อแตกตำบลบางโกระ ข้อดีในการจัดตลาดนัดอาหารสุขภาพ ฝึกการทำงานเป็นทีม,มีอาหารที่หลากหลาย,ได้ความรู้เรื่องโภชนาการเกี่ยวกับอาหาร,ได้ลงมือปฏิบัติจริง,มีความสนุก,เด็กๆได้มีกิจกรรมร่วมกันได้,รู้จักกับทางโรงเรียนอื่น,ได้ทำอาหารรับประทานเอง,อาหารที่เกิดขึ้นเกิดจากความคิดของนักเรียน,ได้ทำขนมที่มีประโยชน์,ได้รับประทานอาหารที่หลากหลาย,เด็กๆได้มีความรู้ในการทำอาหารด้วยตัวเอง,อาหารสะอาดสุขภาพดีร่างกายแข็งแรง,เด็กนักเรียนกล้าแสดงออกในการทำกิจกรรม,มีความสุขสนุกสนาน,เด็กได้รับสารอาหารที่ดีได้กินอาหารที่ปลอดภัย,มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการทำขนม -อุปสรรคในการจัดตลาดอาหารเพื่อสุขภาพ ขาดวิทยากรที่ให้ความรู้เรื่องการทำขนม,มีเวลาเตรียมอุปกรณ์น้อย,เด็กขาดความรู้การคิดคำนวณต้นทุนกำไรขาดทุน,งบประมาณไม่เพียงพอ,มีเวลาขายน้อย,ขาดการประชาสัมพันธ์,พื้นที่แคบเกินไป,ขาดการประชาสัมพันธ์กับชุมชน -แนวทางแก้ไข เพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองและชุมชนทราบและเข้ามามีส่วนร่วม,เพิ่มรายการอาหารที่มีประโยชน์ให้มากขึ้นในทุกๆสัปดาห์,ทำป้ายประชาสัมพันธ์ตลาดนัดติดหน้าโรงเรียน,จัดให้มีหลักสูตรเสริม,เพิ่มกิจกรรมในการทำอาหาร,เพิ่มระยะเวลาในการขายและการเตรียมอุปกรณ์,อยากให้มีสื่อกิจกรรมเกี่ยวกับโภชนาการติดในโรงเรียน,เพิ่มระยะเวลาการจัดกิจกรรม 3.โรงเรียนบ้านควนลังงาตำบลทรายขาว -ข้อดีในการจัดตลาดอาหารสุขภาพ เด็กๆมีอาหารที่มีประโยชน์รับประทาน,มีความสนุกสนาน,ทำให้เด็กๆในโรงเรียนได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน,ทำให้มีความรู้เรื่องเกี่ยวกับอาหารเพิ่มขึ้น,สร้างความสามัคคีในกลุ่มนักเรียน,เด็กๆได้มีสุขภาพที่ดีขึ้น,ได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย,ทำให้ร่างกายสุขภาพแข็งแรง,และนักเรียนได้รับประทานอาหารตอนเช้าที่หลากหลาย -อุปสรรคในการจัดตลาดนัดอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารไม่สามารถไว้นานได้,การจัดเก็บการบริหารเวลาไม่เพียงพอ,การทิ้งขยะไม่ลงถัง,เด็กๆไม่ต่อแถวขณะซื้อ,มีการคำนวณต้นทุนที่ผิดพลาดทำให้ขาดทุน,ขาดความร่วมมือกันในกลุ่ม,ผู้ซื้อบ่นต้องรอคิวนาน,เวลาจัดการขายน้อยเกินไป,อุปกรณ์ทำอาหารไม่เพียงพอ -แนวทางการแก้ไข ต้องเตรียมอาหารที่สดๆใหม่ๆทุกวัน,วัตถุดิบต้องเลี้ยงในโรงเรียนเช่นไก่ปลา,ใช้วัตถุดิบที่สดใหม่ทุกวัน,จัดการการรอคิวมีบัตรคิว,ลดใช้วัสดุที่เป็นมลพิษเช่นโฟมกล่องพลาสติกใช้วัสดุที่ได้จากธรรมชาติเช่นใบตอง,ควรแบ่งหน้าที่ให้ชัดเจนคนซื้อคนขายคนเก็บเงิน,จัดให้ความรู้เรื่องการบริหารเงินให้เพียงพอรายรับรายจ่าย,ประยุกต์ใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ให้เพียงพอ,ควรเก็บอาหารไว้ในตู้เย็นอีกและแสงแดด 4.โรงเรียนบ้านสิเดะตำบลสดาวา -ข้อดีการจัดตลาดอาหารนัดเพื่อสุขภาพ เด็กๆมีความสามัคคีร่าเริงแจ่มใสมีความสุขกับกิจกรรมที่เกิดขึ้น,ได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ดีต่อสุขภาพ,กิจกรรมที่เกิดขึ้นสามารถนำไปเป็นอาชีพได้,มีความรู้เรื่องสูตรอาหารต่างๆ,อาหารที่เลือกมาทำหาวัตถุดิบได้ง่าย,เด็กได้รับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์,เด็กนักเรียนได้รู้จักอาหารและตระกนักถึงคุณค่าของอาหารที่มีประโยชน์,ได้เรียนรู้วิธีการกระบวนการการจัดการเมนูอาหารและการทำตลาด,อาหารตอนเช้ามีประโยชน์ทั้งต่อเด็กและผู้ใหญ่ผู้ปกครองบางท่านก็มาซื้ออาหารรับประทาน,รู้จักการทำรายรับรายจ่าย,ได้รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ -อุปสรรคในการทำตลาดนัดอาหารเพื่อสุขภาพ มีเวลาจำกัดในการเปิดตลาดทำให้ทำอาหารไม่ทัน,วัตถุดิบบางอย่างต้องหาจากนอกพื้นที่,ยังไม่รู้วิธีการจัดการไฟของกระทะทำให้อาหารไหม้,เด็กๆยังใช้วัตถุดิบแปรรูปทางอาหารมาใช้ในการปรุงอาหาร,อาหารหมดเร็วและบางอย่างสุกช้า,อุปกรณ์ในการทำอาหารไม่เพียงพอ,บางร้านอาหารไม่ครบ 5 หมู่,ต้นทุนสูงขายถูกทำให้ขาดทุน แนวทางแก้ไข อยากให้เพิ่มเวลาขยายเวลาในการเปิดตลาด,สร้างความรู้ความเข้าใจเสริมองค์ความรู้ในเรื่องเมนูอาหารเพื่อสุขภาพของเด็กๆให้มากขึ้น,อยากให้ชุมชนจัดทำหรือปลูกผักในพื้นที่เพื่อเป็นการหมุนเวียนใช้ในชุมชนและโรงเรียน,หาวัตถุดิบของใช้ที่ได้จากท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น,ต้องเตรียมอาหารไว้ก่อนล่วงหน้าเช่นสลัดโรล,เพิ่มปริมาณอาหารให้มากขึ้นปริมาณอาหารเหมาะกับราคา,ปรับราคาให้สูงขึ้นเพื่อไม่ให้ขาดทุน,ซื้ออุปกรณ์เพิ่มขึ้น,หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป,ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับอาหารสุขภาพให้กับนักเรียนมากขึ้น 5.โรงเรียนสมเด็จหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ตำบลทุ่งพลา -ข้อดีในการจัดตลาดนัดอาหารเพื่อสุขภาพ เด็กๆชอบมีความสนุกสนานมีสีสัน,มีอาหารที่มีประโยชน์และมีโภชนาการที่ดีรับประทาน,เด็กๆได้รับประทานอาหารครบ 5 หมู่รสหวานมันเค็ม,ได้ความรู้และได้อิ่มท้อง,ได้รับอาหารที่ปลอดภัยครบ 5 หมู่,เด็กๆมีความสุขกับการทำอาหารและมีความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน,ทำให้เด็กมีสมาธิและมีสมองที่ดีขึ้นในระยะยาว,เด็กๆสนุกกับกิจกรรมและมีความรู้ในการประกอบอาชีพ,สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองนักเรียนและโรงเรียน,เด็กๆได้รับประทานอาหารเช้าทุกวันเด็กๆ,ได้มีความรู้เรื่องการทำอาหารที่ปลอดภัย,มีความสามารถความสามัคคีในหมู่คณะ,เด็กบางคนที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาก็มีอาหารเช้ารับประทาน,เพิ่มทักษะชีวิตให้กับเด็กๆ,เด็กบางคนสามารถกินผักได้เพิ่มมากขึ้น,มีทักษะในการทำอาหารเพิ่มมากขึ้น,มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ได้รับมอบหมาย,อาหารที่เลือกมาทำให้ไม่อ้วนและไม่ผอมจนเกินไปในระยะยาวและมีสุขภาพที่แข็งแรง -อุปสรรคในการจัดตลาดนัดอาหารเพื่อสุขภาพ เมนูอาหารบางอย่างเป็นอุปสรรคในการนำมาประกอบที่โรงเรียน,ระยะเวลาในการทำอาหารรอนานทำเนื่องจากอุปกรณ์มีเพียงชุดเดียว,อาหารไม่เพียงพอกับการขาย,วัตถุดิบในการทำต้องให้ผู้ปกครองไปซื้อจึงต้องใช้เวลามาก,เครียดและกังวลกับอาหารที่ไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกค้าจนทำให้เหนื่อยและรู้สึกว่ายากลำบาก -แนวทางแก้ไข ทำเมนูง่ายๆพร้อมนำเสนอขาย,ให้ผู้ปกครองมามีส่วนร่วมในการจำหน่าย,ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการคิดเมนู,จัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำในแต่ละวันเป็นหลายชุด,ในการทำกิจกรรมครั้งต่อไปควรเพิ่มปริมาณอาหารให้มากขึ้น,จัดเตรียมอาหารให้เพียงพอต่อความต่อจำนวนประชากรที่เข้าร่วมกิจกรรม,วางแผนการทำแต่ละขั้นตอนอย่างเป็นระบบจะได้ไม่เหนื่อยจนเกินไป 6.โรงเรียนบ้านคลองช้าง ข้อดีของการจัดกิจกรรมตลาดนัดอาหารเพื่อสุขภาพ เด็กๆได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์,เด็กๆได้รับประทานอาหารเช้าที่เพียงพอเพิ่มพลังสมอง,เด็กๆสนุกกับการเปิดตลาด,ทำให้รู้จักการวางแผนการใช้เงินรู้คุณค่าของเงิน,ฝึกทักษะด้านต่างๆให้กับนักเรียน,เด็กๆมีความคิดสร้างสรรค์,มีรายได้เสริมสามารถนำประกอบอาชีพได้ในอนาคต,เด็กๆรู้จักการนำผักผลไม้และสิ่งต่างๆมาใช้ในการประกอบอาหาร,เด็กๆรู้จักการบริหารเวลา -อุปสรรคของการจัดตลาดนัดอาหารเพื่อสุขภาพ ยังมีการใช้อาหารแปรรูปมาทำอาหาร,ยังมีการใช้กล่องโฟมสำหรับใส่อาหาร,มีการรอคิวที่ซื้ออาหารนาน,ยังมีการใช้ถุงพลาสติก,เด็กๆบางคนยังติดอาหารหวาน,ในการเปิดตลาดอาหารวันแรกมีขยะเยอะเพราะยังไม่สามารถจัดการได้ -แนวทางแก้ไข ให้เด็กๆพากระปุกใส่อาหารมา,รณรงค์ให้ลดใช้อาหารแปรรูป,เน้นการทำอาหารจากวัตถุดิบพื้นบ้าน,อาหารที่สามารถทำไว้ล่วงหน้าได้ต้องทำตั้งไว้ก่อนเพื่อลดเวลาในการเข้าแถวของเด็กๆ,แนะนำให้เด็กๆพาแก้วน้ำหรือกระบอกน้ำมาเอง,การจัดการขยะเด็กที่กินเสร็จแล้วให้เก็บขยะก่อนเพื่อความสะอาดของโรงเรียน,พยายามให้เด็กบางคนที่ติดหวานลดหวานน้อยลงและให้เด็กเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น,จัดเตรียมถุงดำถังขยะให้พร้อมต่อการทิ้งขยะของผู้รับบริการ

3.ออกแบบไอเดียยกระดับกิจกรรมตลาดอาหารเพื่อสุขภาพของแต่ละพื้นที่ 1.โรงเรียนวัดโคกหญ้าคาตำบลคลองใหม่ เพิ่มการประชาสัมพันธ์ในชุมชนผ่านนักเรียนผู้ปกครองและผู้นำในหมู่บ้าน,มีการเล่นเกมต่างๆในวันที่จัดกิจกรรม,พยายามให้ผู้ปกครองมามีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน,ต่อยอดการเลี้ยงนกกระทาเพื่อเพิ่มผลผลิตนำมาบริโภคในโรงเรียนและขายให้กับชาวบ้านบริเวณใกล้เคียง,ปรับปรุงรสชาติให้อร่อย,ช่วยกันส่งเสริมผลผลิตในตำบล,เพิ่มเมนูอาหารเพื่อสุขภาพที่หลากหลาย,เพิ่มร้านค้าที่มีอาหารหลากหลายและมีประโยชน์,ต้องมีการปลูกผักและส่งเสริมให้ทางโรงเรียนเลี้ยงนกกระทาเพิ่มเพื่อต่อยอดและปลูกผักในโรงเรียนปลูกผักเพื่อลดต้นทุน,จัดให้มีการสาธิตการทำอาหารที่มีประโยชน์,จัดกิจกรรมสะสมแต้มซื้อครบแถม 1 ,เปลี่ยนเมนูอาหารทุกอาทิตย์,เปิดตลาดนัดอาหารเป็นเดือนละครั้งและประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง 2.โรงเรียนบ้านล้อแตกตำบลบางโกระ ในวันจัดกิจกรรมให้ผู้ปกครองมามีส่วนร่วมและมีเกมต่างๆให้เด็กๆอนุบาล,เพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น,เพิ่มสินค้า OTOP ที่ทำมาจากสิ่งของในชุมชนออกบูธตามงานต่างๆ,เพิ่มเวลาในการขายจาก 2 อาทิตย์ครั้งเป็นอาทิตย์ละครั้ง,จัดให้ความรู้เรื่องอาหารที่หลากหลายและมีประโยชน์,จัดกิจกรรมสร้างความรู้เกี่ยวกับอาหารท้องถิ่นโบราณโดยให้คนในชุมชนมาสอน,เพิ่มการขายเป็นออนไลน์,ขยายให้เป็นตลาดนัดสุขภาพของตำบล 3.โรงเรียนบ้านควนลังงาตำบลทรายขาว จัดให้มีการออกไปขายในตลาดนัดชุมชนทุกวันศุกร์,ประกวดเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ,เชิญยูทูปเบอร์ชื่อดังมาชิมอาหารและประชาสัมพันธ์สู่โซเชียล,จัดระบบการซื้ออาหารเพิ่มบัตรคิว,จัดประชาสัมพันธ์เสียงตามสายของโรงเรียนและหมู่บ้านโปรโมทร้านค้าของตัวเองในวิธีต่างๆ,ให้ผู้ปกครองช่วยเสนอแนะเมนูเพิ่มขึ้น,หากมีกิจกรรมในโรงเรียนให้เสริมตลาดนัดอาหารเพื่อสุขภาพเข้าไปด้วย,ให้ผู้ปกครองมาส่งวัตถุดิบพืชผักสวนครัวที่มีในบ้านมาใช้ในการประกอบอาหาร,ประกวดอาหารดีมีประโยชน์,ในวันจัดกิจกรรมให้มีการไลฟ์เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมดีๆมีประโยชน์ 4.โรงเรียนบ้านสิเดะตำบลสดาวา จัดตลาดนัดให้ใหญ่กว่าเดิม,ขยายให้มีอาหารที่หลากหลาย,ในวันจัดกิจกรรมให้มีเกมและสันทนาการเพิ่มมากขึ้น,ให้ผู้ปกครองมามีส่วนร่วมในการทำอาหารขายด้วยกัน,จัดประกวดร้านเพื่อสุขภาพอาหารอร่อย,จัดตลาดนัดในชุมชนให้เด็กและผู้ปกครองได้นำอาหารเพื่อสุขภาพไปขาย,เพิ่มอาหารที่แปลกใหม่,จัดทำคูปองซื้ออาหารแล้วชิงโชคในวันจัดเก็บกิจกรรมใหญ่ๆในชุมชนจัดให้มีการนำตลาดนัดของอาหารไปร่วมด้วย,ในโรงเรียนเปิดให้คนนอกมาขายด้วยแต่ต้องเป็นอาหารที่มีประโยชน์ 5.โรงเรียนสมเด็จหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ตำบลทุ่งพลา ขยายเวลาในการจัดกิจกรรมให้มากขึ้น,จัดมหกรรมตลาดนัดเพื่อสุขภาพ,ให้ชุมชนนำสินค้าจากการเกษตรเช่นผักผลไม้ในชุมชนมาขายให้ผู้ปกครองนำพืชผักที่บ้านและไข่มาขายในโรงเรียน,เปิดตลาดนัดวันเว้นวันโดยให้ผู้ปกครองมาทำอาหารขายภายในโรงเรียน,จัดเป็นตลาดนัดของตำบลให้ทุกโรงเรียนมาขายอาหารรวมกัน,จัดให้มีการออกแบบกิจกรรมในตลาดนัดอาหาร,ปรับปรุงอาหารให้มีประโยชน์และสีสันสวยงาม,พัฒนาอุปกรณ์ในการใส่อาหารให้ถูกสุขลักษณะมากยิ่งขึ้น,หากภาคีเครือข่ายมาร่วมในการสนับสนุนของกิจกรรมโครงการอย่างต่อเนื่อง,เพิ่มเมนูเกี่ยวกับไข่ให้มากขึ้น,จัดนิทรรศการประกวดอาหารเมนูอาหารท้องถิ่นถูกหลักโภชนาการ,สร้างกลุ่มไลน์ถามตอบเมนูอาหารสุขภาพสำหรับเด็ก,ประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม,จัดหลักสูตรอาหารให้มีประโยชน์มากยิ่งขึ้น,จัดอบรมให้มีการนำของที่เหลือใช้จากการทำอาหารพวกเศษอาหารไปทำเป็นปุ๋ยแล้วใส่ต้นไม้,ในวันจัดกิจกรรมสร้างความบันเทิงที่หลากหลายให้กับนักเรียน 6.โรงเรียนบ้านคลองช้างตำบลนาเกตุ ขายผลผลิตอื่นๆที่ปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ภายในโรงเรียนเช่นขายผักไข่เพื่อเป็นต้นทุน,จัดโครงการขายขยะเพื่อเพิ่มกิจกรรมและรายได้ให้กับนักเรียน,ผู้ปกครองหรือผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในการเข้ามาร่วมขายอาหารในโรงเรียนอยู่ภายใต้เงื่อนไขของอาหารที่ถูกสุขลักษณะและมีโภชนาการที่ดี,เพิ่มการประชาสัมพันธ์กลุ่มลูกค้าในชุมชนให้ได้รับความรู้ของกิจกรรมนี้ให้มากยิ่งขึ้น,ประชาสัมพันธ์กับร้านค้ารอบโรงเรียนเพื่อดึงเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการตั้งกติกาการขายเช่นไม่ขายอาหารแปรรูป,นำวัตถุดิบที่ได้มาจากชุมชนมาแปรรูปเป็นอาหารหรือน้ำเช่นอัญชันแปรรูปข้าวยำที่ทำจากดอกอัญชันและน้ำอัญชันมะนาว

ทุกพื้นที่ให้การตอบรับกับกิจกรรมเป็นอย่างดีและอยากให้กิจกรรมนี้มีต่อเนื่องไปเรื่อยๆโดยการขยายสู่ชุมชนเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารที่ถูกสุขลักษณะและมีประโยชน์