โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลา
เจ้าหน้าที่วิจัย โดย น.ส.วรรณา สุวรรณชาตรี และอาจารย์ปราโมทย์ แก้ววงศ์ศรี ได้ลงพื้นที่ดูแหล่งรวบรวมผลผลิต แปลงของกลุ่มเกษตรกรตัวอย่างและจุดวางขายสินค้าในโรงงาน เพื่อหาแนวทางการพัฒนาปัญหาของการทำตลาดในโรงงานอุตสาหกรรม
- จุดรับสินค้า
ข้อค้นพบจากการไปดูตลาด แนวทางการพัฒนา 1.1. ใบส่งสินค้ามีหลายแบบการตรวจทานค่อนข้างยาก
- พัฒนาระบบใบส่งสินค้าให้มีรูปแบบเดียวกันโดยทำเป็นสมุดบันทึก 2 ชุด มีการเขียนชื่อผู้รับและผู้ส่ง แล้วเก็บไว้ฝ่ายละชุด
1.2 การวางสินค้ามีการวางปะปนกัน วางบนพื้นถนน
- จัดจุดวางสินค้าให้สูงจากพื้น เช่น บนแคร่หรือโต๊ะ
- แยกประเภทสินค้าออกเป็นหมวด เช่น ผักพื้นบ้าน ผักยอดนิยม ผลไม้ ขนม อาหาร
-พัฒนากล่องสินค้าให้พร้อมขนส่งที่วางท้ายรถกระบะให้ทับซ้อนกันได้โดยไม่หักช้ำ และเมื่อถึงยกตั้งวางขายที่ตลาดโรงงานให้ได้อย่างรวดเร็วตามหมวดหมู่
1.3 การขนส่งมีการซ้อนสินค้าระหว่างการขนส่ง ไม่มีที่คลุมสินค้าระหว่างขนส่งทำให้ของตกหลนตามทาง สบัดพริ้วทำให้ช้ำเหี่ยวเฉาไว
- เมื่อจัดวางกล่องสินค้าลงท้ายรถกระหมดแล้วให้ใช้สแลนคลุมสินค้าระหว่างการขนส่ง โดยจัดผูกสแลนที่ไว้กับขอบกระบะให้เรียบร้อย ซึ่งจะช่วยลดการช้ำของผักจากแรงลมที่ทำให้เกิดการสบัดได้
2. ตลาดในโรงงาน
ข้อค้นพบจากการไปดูตลาด แนวทางการพัฒนา
2.1 จุดวางสินค้าที่คละกัน
- ตั้งวางโดยแยกประเภทสินค้าให้ได้โดยไวเมื่อมาถึง
- สินค้าแสดงราคาให้ชัดเจน โดยให้ติดราคาที่ตำแหน่งเหมือนกัน
- แบ่งจุดชำระเงิน เพิ่ม 2 จุด จ่ายเงินสด และจ่ายผ่านอแปฯ
2.2 สินค้าบางอย่างไม่ได้ระบุราคา ตอนขายต้องหาบิลราคาทำให้เกิดความสับสนล่าช้า และคอยดูแลบริการลูกค้าได้ไม่ประทับใจ
- ระบุราคาสินค้าติดไว้ให้ชัดเจนที่ตำแหน่งเดียวกัน
3. กลุ่มเกษตรกร
ข้อค้นพบจากการไปดูแปลงของเกษตรกร แนวทางการพัฒนา
3.1 กลุ่มเกษตรกรยังขาดความรู้ความเข้าใจในระบบ เพื่อการสร้างคุณค่าผลผลิต และลดต้นทุนการผลิต เช่น เรื่องเล่ากระบวนการผลิต การใช้วัสดุเหลือทิ้งทางครัวเรือนและการเกษตรมาเป็นปุ๋ย การกินอาหารให้เป็นยา การสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ เป็นต้น
- ทำพื้นที่และระบบการเพาะปลูกให้ได้มาตรฐานสากล เช่น สดาด เป็นกลุ่มหมวดหมู่ วัสดุปลูดและแสงเหมาะสมตามชนิดพืช ให้ปุ๋ยและน้ำตามความต้องการของพืช
- จัดทำปฏิทินการเพาะปลูก เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ของตนเอง ที่สอดคล้องกับชนิดพืชซึ่งต้องการปลูก โดยดูสภาพพื้นที่เป็นหลัก เพาระจะช่วยลดรายจ่ายได้แนวทางหนึ่ง
3.2 สังเกตุพบมีโรคแมลงทุกรายที่ไปเยี่ยมชม เนื่องจากเพราะขาดความอุดมสมบูรณ์ของดินและปุ๋ยปลูกที่ไม่ดีพอหรือเหมาะสม สภาพพื้นที่บางแห่งแสงไม่เพียงพอ
- การจัดการวัสดุปลูกให้เหมาะสมตามชนิดพืช
- วัสดุปลูกเก่าต้องเอามาทำการฟื้นฟูสภาพดินใหม่ โดยนำมาทำการย่อน พักตากแดดกำจัดโรคแมลง แล้วเพิ่มปุ๋ยณาตุอาหารเพื่อนำไปเป็นวัสดุปลูกใหม่
- การจัดการปรับปรุงดิน และการทำปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก
- การปรับแต่งสภาพพื้นที่ให้มีแสงส่องถึงพอเพียงตามความต้องการของชนิดพืช