การพัฒนาศักยภาพและหนุนเสริมการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ใน 33 อำเภอ จังหวัดชายแดนใต้

ประชุมทีมงานหลัก (Core Team) ครั้งที่ 112 กันยายน 2566
12
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย mariya.c
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

โครงการการพัฒนาศักยภาพและหนุนเสริมการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ใน 33 อำเภอ จังหวัดชายแดนใต้ เป็นโครงการต่อเนื่องในระยะที่ 3 เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2566 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 (18 เดือน) โดยมี ดร. ซอฟียะห์ นิมะ ผู้รับผิดชอบโครงการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพและหนุนเสริม พชอ. โดยการนำ พรบ. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 และยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560-2569 สู่การปฏิบัติตามห่วงโซ่คุณค่า

สำหรับ ทีมงานหลัก (Core Team) มีแผนการประชุมร่วมกัน ดังนี้

  • ประชุม ทีมงานหลัก (Core Team) ทุกเดือน ตลอดโครงการ
  • ประชุม BAR-AAR เพิ่มเตรียมการและสรุปผลการจัดอบรม ตลอดโครงการ
  • ประขุมทีมที่ปรึกษาโครงการ (Board) 3 ครั้ง
  • ประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 2 ครั้ง

โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ พชอ. รวมทั้งสิ้น 33 อำเภอ (ทั้งนี้ เพิ่มขึ้น 14 อำเภอ รวมกับอำเภอเดิม 19 อำเภอ) และใช้การจัดโครงสร้างด้วย Buddy Model

สำหรับ โครงการ ระยะที่ 3 มีหน้าที่หลักในการจัดกระบวนการประเมินความพร้อมของ พชอ. 19 อำเภอต่การเพิ่มขีดความสามารถในการแนะนำให้คำปรึกษาแก่อำเภออื่นและประเมินแนวทางในการขยายผลในอำเภอใหม่ 14 อำเภอ เพื่อให้ พชอ. ได้วิเคราะห์ปัญหาและทุนของพื้นที่สู่การออกแบบแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ตามยุทธศาสตร์ 5 ด้าน นำแผนไปสู่การปฏิบัติ โดยเน้นการทำงานบูรณาการ 6 กระทรวงหลัก (ปัจจุบันพบว่างานจะเน้นหนักที่กระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น) รวมทั้ง มีการประเมินผลลัพธ์และคืนข้อมูลให้ พชอ. ผู้ว่าราชการจังหวัด และคณะกรรมการจังหวัด

ข้อเสนอแนะ/ระดมสมอง

  • ควรกำหนดบทบาทของทีมทำงานส่วนต่าง ๆ ให้ชัดเจน ทั้งแม่ข่ายและลูกข่าย ให้พื้นที่ได้รู้เพื่อทำงานได้ตรงตามเป้าหมายที่โครงการวางไว้ เมื่อกำหนดบทบาทได้ชัดเจนแล้วโครงการก็สามารถให้การสนับสนุนได้เต็มที่
  • ควรจัดระบบการประสานงานของสำนักงานกลาง (เจ้าหน้าที่ธุรการและประสานงาน) ให้ชัดเจน เพราะมีทีมทำงานหลากหลาย ทั้งทีมจังหวัดและทีมพื้นที่
  • การดำเนินโครงการที่ผ่านมา มีเอกสารที่เป็นเครื่องมือต่าง ๆ จำนวนมาก ทั้ง 1) แนวทางปฏิบัติงานของวิทยากรรายจังหวัด และ 2) คู่มือหลักสูตรโมดูลต่าง ๆ ควรออกแบบเนื้อหาให้น่าสนใจ ใช้งานได้ง่ายขึ้น
  • ผลลัพธ์ของโครงการฯ ไม่เห็นด้วยที่ สสส. มองว่าศาสนาไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นครรภ์วัยรุ่น เพราะในกระบวนการขับเคลื่อนต้องมีศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง
  • โครงสร้างการทำงาน ในส่วนทีมทำงานหลัก (Core team) 3 จังหวัด ต้องหาพี่เลี้ยงรายจังหวัดเพิ่มอีก 1 คน และทีมโค้ชชิ่งระดับอำเภอ ต้องหาให้ครบทั้ง 8 กลุ่มแม่ข่าย
  • การออกแบบเครื่องมือต่างๆ ที่โครงการฯ เคยทำไปแล้วนั้น เครื่องมือของ 19 อำเภอเดิม มีครบแล้ว ส่วน 14 อำเภอใหม่ ยังไม่มีเครื่องมือ ซึ่งอาจให้มีการสะท้อนการทำงานในเวที Assessment เพื่อเป็นข้อมูลนำเข้า

แผนการทำงานต่อไป (ก.ย.-ต.ค. 2566)

  1. กำหนดวันลงพื้นที่จังหวัดยะลา เพื่อลงนามใน MOU ที่ยังขาดไปให้ครบถ้วน
  2. กำหนดวันพบผู้ว่าราชการจังหวัด และคณะกรรมการระดับจังหวัดทั้ง 3 จังหวัด
  3. กำหนดปฏิทินกิจกรรมตลอดโครงการ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทีมทำงานหลัก (Core Team) จำนวน 10 คน ประชุมร่วมกันเพื่อวางแผนการดำเนินโครงการ