โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

อบรม Health Promotion สสส.29 สิงหาคม 2567
29
สิงหาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

อบรม Health Promotion สสส.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ถอดโมเดลการเรียนรู้หลักสูตรแนวคิดและหลักการสร้างเสริมสุขภาพ จัดโดย สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ (ThaiHealth Academy) เมื่อวันที่ 29-30 สิงหาคม 2567 ทางแผนงานโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สนส.ม.อ. ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้
สรุปการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย Mappingกับโมเดล ThaiHealth Working Model โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วน ดังนี้ 1. การสื่อสาร รณรงค์ และสุขศึกษา - การให้ความรู้ด้านการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย - การพัฒนาศักยภาพการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ท้องถิ่น เป็นการขับเคลื่อนข้อมูลข่าวสารไปยังบุคคลและกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ โดยอาศัยสื่อท้องถิ่นและเครือข่ายพี่เลี้ยงในพื้นที่ ซึ่งเน้นการสื่อสารเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ท้องถิ่น ***ความตระหนักรู้และพฤติกรรม
- การขับเคลื่อนนโยบายและการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมทางกาย ทั้งในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และชุมชน - สนับสนุนปฏิบัติการทดลองกิจกรรมนำร่อง เพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน 2. ชุมชนเข้มแข็ง
- คนในชุมชน/ชมรม/เครือข่ายในระดับพื้นที่ สามารถเขียนโครงการและได้รับทุนสนับสนุนการทำโครงการจากกองทุนสุขภาพตำบล และแหล่งทุนอื่นๆ ในพื้นที่
3. เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ
งานกิจกรรมทางกาย ปี 2567 สร้างความร่วมมือ กับเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ ดังนี้
การกีฬาแห่งประเทศไทย - เครือข่ายอาสาสมัครกีฬาและผู้นำการออกกำลังกาย กระทรวงมหาดไทย - กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
- สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย - สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย - สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย
- กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายสื่อ 3. นโยบายสาธารณะและการขับเคลื่อนเชิงพื้นที่ - ปี 2567 ขับเคลื่อนโยบายขับเคลื่อนพื้นที่สุขภาวะ - มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มติ 10.1 การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น 4. สังคมและสิ่งแวดล้อม: การออกแบบและพัฒนาสภาพแวดล้อมในชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป็นการออกแบบทางสถาปัตยกรรมพื้นที่สาธารณะให้เหมาะสมสำหรับการทำกิจกรรมทางกาย
5. บริการด้านสุขภาพ, สวัสดิการ
- การบูรณาการประเด็นกิจกรรมทางกายในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน - แผนในอนาคตการขยายกลไกการดูแลสุขภาพ เช่น นักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัด แพทย์แผนไทย แผนภาพโมเดล ThaiHealth Working Model นี้แสดงถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ระบบกลไกต่าง ๆ ในการสร้างเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงต่อโรค NCDs โดยใช้ชุมชนเป็นฐานและการสนับสนุนเชิงนโยบาย