โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

การประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามประเมินผลด้วยกระบวนการ HIA PA5 สิงหาคม 2567
5
สิงหาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA Intensive Workshop)
วันที่ 5-9 สิงหาคม 2567 ณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วัตถุประสงค์: เพื่อเสริมศักยภาพภาคีเครือข่ายมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการประเมินผลกระทบสุขภาพในกระบวนการนโยบายสาธารณะและเรียนรู้เครื่องมือต่างๆ ได้แก่ เครื่องมือทางสังคมการประเมินผลตอบแทนทางสังคม (SROI) เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการติดตามประเมินผลโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ได้

สรุปประเด็นสำคัญ:
1. คณะทำงานโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการประเมินผลกระทบสุขภาพ ดังนี้
- ระบบสุขภาพและปัจจัยกำหนดสุขภาพ - แนวโน้มและทิศทางการพัฒนาที่มีผลกระทบต่อระบบสุขภาพ - แนวคิด หลักการประเมินผลกระทบ และระบบการประเมินผลกระทบที่สำคัญ - การประเมินผลกระทบทางสุขภาพในกระบวนการนโยบายสาธารณะ Overview ขั้นตอนกระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ - การกลั่นกรอง (Screening) - การกำหนดขอบเขตแนวทางการประเมินผลกระทบ (Scoping) - การประเมินผลกระทบ (Assessing) - การจัดทำร่างรายงาน (Reviewing) - การผลักดันสู่การตัดสินใจ (Decision making) - การติดตามและประเมินผล (Monitoring and Evaluation) - การใช้กระบวนการและเครื่องมือการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม (SROI) ในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ - การใช้กระบวนการและเครื่องมือทางสังคมในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ - ความจำเป็นและบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ - แนวทางการบรรลุมาตรฐานระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Environmental Health Accreditation-EHA): ระบบการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (EHA 8000) 2. หลักการการประเมินผลกระทบสุขภาพจะถูกนำไปใช้ในการประเมินผลกระทบสุขภาพต่อใน 3 ภาค รวมกรณีศึกษา 6 จังหวัด
3. ผลการประเมินผลกระทบสุขภาพฯ ข้อมูลจะถูกนำไปใช้วางแผนดำเนินงานและขับเคลื่อนเชิงนโยบายสาธารณะในการเพิ่มกิจกรรมทางกายของประเทศไทยต่อไป