โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง ณ อบต.ก่อเอ้ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี17 มิถุนายน 2567
17
มิถุนายน 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2567 เวลา 08.00 – 16.30 น. ณ อบต.ก่อเอ้ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี

1) วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อนำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่มาวิเคราะห์เพื่อนำมาจัดทำแผนและเขียนโครงการ
1.2. เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ
2) ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 40 คน
2.1) คณะทำงานเก็บข้อมูล/จัดทำแผนและโครงการ 8 แห่งๆ ละ 2-3 คน จำนวน 30 คน
3) ภาคีเครือข่าย
3.1) คณะทำงานเขต/จังหวัด จำนวน 5 คน 3.2) คณะทำงานจากสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 5

กำหนดการ เวลา รายละเอียด 08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม
08.30 - 09.00 น. กล่าวต้อนรับ และมอบหมายแนวนโยบายที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนประเด็นของกิจกรรมทางกาย (PA)
โดย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล 09.00 - 09.30 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดประชุมวันนี้ และ สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
โดยนางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ คณะทำงานระดับเขต 10
09.30 - 12.00 น. นำเสนอแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย แต่ละตำบลๆ ละ 7 นาที
ทต.เขื่องใน/ ทต.ห้วยเรือ/ทต.บ้านกอก/อบต.แดงหม้อ/อบต.ท่าไห/อบต.ธาตุน้อย/อบต.หัวดอน/อบต.นาคำใหญ่/อบต.กลางใหญ่/อบต.ค้อทอง/อบต.ชีทวน/อบต.ก่อเอ้ โดย คณะทำงานเขียนแผนและโครงการ ร่วมแลกเปลี่ยนให้ข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะพร้อมแนวทางให้เกิดแผนและโครงการกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ
โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 16.00 น. แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
โดย นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์/นายรพินทร์ ยืนยาว คณะทำงานพี่เลี้ยงเขต
16.00-16.30 น. สรุปผลการประชุมนัดหมายกิจกรรมต่อไปและปิดประชุม
โดย นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ คณะทำงานพี่เลี้ยงเขต

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • พัฒนาศักยภาพคณะทำงานกองทุนตำบล จัดทำแผนและเขียนโครงการที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ เขตสุขภาพพื้นที่ 10 ในวันที่ 17 มิถุนายน 2567 เวลา 08.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลก่อเอ้  ตำบลก่อเอ้  อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุน การ สร้าง เสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอเขื่องใน จังหวัด อุบลราชธานี  เพื่อนำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่มาวิเคราะห์เพื่อนำมาจัดทำแผนและเขียนโครงการและเพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ
    โดยมีนายสุวรรณ จานเขื่องใน รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้ เป็นประธานในการกล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดการประชุมในครั้งนี้ และนางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ ผู้ประสานงานระดับเขตสุขภาพที่ 10 ได้กล่าววัตถุประสงค์ของโครงการฯ และเป้าหมายของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้

  • พร้อมกันนั้น ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ  รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แลกเปลี่ยนประเด็นต่างๆ ได้แก่ 1) ความหมายกิจกรรมทางกาย 2) ความสำคัญกิจกรรมทางกาย 3) ระดับการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 4) การตั้งเป้าหมายโครงการ 5) ตัวอย่างกิจกรรมโครงการ 6) ประเภทการออกแรง การสัญจร ทำงาน นันทนาการ 7) สถานการณ์กิจกรรมทางกายและภาวะเนือยนิ่งของคนไทย 8) แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย  โดยมีรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้ ร่วมแลกเปลี่ยนชี้แจงวัตถุประสงค์การส่งเสริมกิจกรรมทางกายของกลุ่มวัยต่างๆ เช่น กลุ่มวัยเด็ก เยาวชน ควรมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 180 นาที่ต่อสัปดาห์ วัยทำงานและวัยผู้สูงอายุ ควรมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 150 นาทีต่อสัปดาห์ ซึ่งการพัฒนาแผนและเขียนโครงการที่มีคุณภาพควรคำนึงถึงกิจกรรมที่จะส่งเสริมทุกกลุ่มวัยที่มีความเพียงพอของกลุ่มเป้าหมายของโครงการด้วย แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้แก่ 1. สร้างโปรแกรมเด็กในโรงเรีนย เกษตร ปลูกป่า 2. ปรับการเดินทาง 3. ออกแบบเมืองในกระฉับกระเฉง  4. บริการสุขภาพ 5. ให้ข้อมูล 6. กีฬานันทนาการ 7. สถานที่ทำงาน 8. สร้างโปรแกรมที่ครอบคลุมทั้งชุมชน

  • ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ประกอบด้วย คณะทำงานเขต/จังหวัด, คณะทำงานจากสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะทำงานระดับตำบล เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ จำนวน 12 พื้นที่ ได้แก่  เทศบาลตำบลเขื่องใน เทศบาลตำบลห้วยเรือ เทศบาลตำบลบ้านกอก อบต.แดงหม้อ อบต.ท่าไห อบต.ธาตุน้อย อบต.หัวดอน อบต.นาคำใหญ่  อบต.กลางใหญ่  อบต.ค้อทอง  อบต.ชีทวน และอบต.ก่อเอ้ ประมาณกว่า 40 คน

  • นายรพินทร์ ยืนยาว คณะทำงานโครงการได้นำกระบวนการแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ซึ่งกระบวนการเป็นการแลกเปลี่ยนรายละเอียดของโครงการที่มีการพัฒนาในเว็ปไซต์ของกองทุนตำบล จนได้กิจกรรมที่มีคุณภาพ เช่น โครงการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยการออกกำลังกาย โครงการรณรงค์ 1 วันชวนกันขยับร่างกาย โครงการขยับกาย ขยับใจไทบ้านกอก โครงการปั่นชมชี เป็นการปั่นไปทำกิจกรรมปลูกป่า ปล่อยปลาในลำน้ำชี เป็นต้น
    ทั้งนี้ทางอำเภอเขื่องใน จ.อุบลราชธานี ได้พัฒนาพื้นที่สุขภาวะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่องใน 2 แห่ง คือ เทศบาลตำบลเขื่องใน และองค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้ ซึ่งเทศบาลตำบลเขื่องใน ได้ออกแบบพื้นที่สาธารณะ: “ย่านตลาดเก่า”ให้เป็นถนนคนเดิน สนามเด็กเล่น ที่พักผู้สูงอายุ พื้นที่กิจกรรมของเด็กวัยรุ่น ลานดนตรี ถนนศิลปะ ถนนอาหาร ร้านกาแฟ ที่ออกกำลังกาย ตลาดนัด และพื้นที่ขายสินค้า  และองค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้ ได้ออกแบบพื้นที่สาธารณะ: สนามเด็กเล่น ที่ออกกำลังกาย สนามกีฬา สวนสาธารณะ ลานศิลปะ จุด Check In จัดทำลู่วิ่ง ศูนย์เรียนรู้อาชีพ  ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ศาลานั่งเล่น ลานปั่นจักรยาน ห้องคาราโอเกะ ที่จอดรถ

  • การแลกเปลี่ยนโครงการ

  1. ทต.เขื่องใน สนามเด็กเล่นสวนสาธารณะหนองเขื่อง เทศบาลตำบลเขื่องใน - บริบท: มีพื้นที่สาธารณะ 40 ไร่

- กระบวนการ:
การประชุมชี้แจ้งเพื่อวางแผนการดำเนินโครงการ โดยผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์ต่อผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อเกิดความเข้าใจตรงกัน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประมาณ 60 คน กระบวนการ การประชุม 1.นำเสนอสถานการณ์ปัญหากิจกรรมทางกายของตำบลเขื่องใน 2.ระดมวางแผนกิจกรรมทางกายในตำบลเขื่องใน 3.นำเสนอโครงการกิจกรรมทางกาย4.จัดทำแผนปฏิบัติงานร่วมกัน(timeline) 5.สรุปและปิดการประชุม
ข้อเสนอแนะแลกเปลี่ยน
- เป็นพื้นที่นำร่องการออกแบบพื้นที่สาธารณะ
- เพิ่มกิจกรรมนันทนาการในพื้นที่สาธารณะ และสร้างการมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมร่วนกัน
2. ทต.บ้านกอกโครงการขยับกายขยับใจไทบ้านกอก
กระบวนการ 1) จัดประชุมคณะทำงาน ร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย ชี้แจงโครงการ และกิจกรรมที่จะร่วมกันดำเนินการ ในหน่วยงานราชการของ เทศบาลตำบลบ้านกอก 2) จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ โดยการบรรยาย และปฏิบัติ การมีกิจกรรมทางกาย ให้กับกลุ่มเป้าหมายจำนวน 100 คน 3) ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย คณะทำงานโครงการ สัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายในโครงการถึง การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย
4) รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ตระหนักในการออกกำลังกาย 5) สรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการ
- ข้อเสนอแนะ : เพิ่มกิจกรรมทางกายในสำนักงานและสร้างกิจกรรมทางกายลดความเครียดในสำนักงาน

  1. อบต.แดงหม้อ โครงการบ้านสวยเมืองสุข
    กระบวนการ : 1.ประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 1-6 หมู่ละ 10 คน จำนวน60 คน เพื่อชี้แจงโครงการกำหนดแนวทางการทำงานร่วมกันซึ่งประกอบด้วย 2.กิจกรรมปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในชุมชน 3.กิจกรรมกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย 4.กิจกรรมการคัดแยกขยะต้นทางให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ 5.กิจกรรมปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ 6.กิจกรรมสำรวจข้อมูลการจัดการขยะในชุมชน กิจกรรมทางกายเชื่อมโยงกับประเด็นอื่นๆ เช่น การจัดการขยะ การปลูกผักปลอดสารพิษ การแก้ปัญหาลูกน้ำยุงลาย

  2. อบต.ท่าไห โครงการรณรงค์ 1 วัน ชวนกันขยับร่างกาย - กระบวนการ
    1) จัดประชุมชี้แจงการวิธีการทำงาน จัดเตรียมกลุ่มเป้าหมาย กำหนดแผนการดำเนินการ 2) กำหนดวันออกกำลังกายในสถานที่ทำงานอาทิตย์ละ 1 วัน ครั้งละ 1-2 ชม. ผู้เข้าร่วม กลุ่มวัยทำงาน ได้แก่ พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลท่าไห  เด็กวัยปฐมวัย และผู้สุงอายุ 3) สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปปัญหาอุปสรรค ประชุมชี้แจ้งให้คณะทำงานทราบ ข้อเสนอแนะ

- ควรเพิ่มการออกกำลังกาย อย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์
- ควรดึงกลุ่มคนทำงานนอกพื้นที่/พัฒนาศักยภาพแกนนำ

  1. อบต.หัวดอน พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยการออกกำลังกาย - อบต.หัวดอนมีประชากรประมาณ 6,500 คน

- ผู้สูงอายุ 20% - เป้าหมาย เพิ่มกิจกรรมทางกายผู้สูงอายุ จากร้อยละ 97% เป็น 98% , ลดความเครียดผู้สูงอายุ จากร้อยละ 3 % เป็น 1 % , ลดภาวะซึมเศร้า จากร้อยละ 3.57% เป็น 1%
- กลุ่มเป้าหมาย ผู้สูงอายุ 70 คน
- กระบวนการ 1) ชี้แจง/ประชุม กำหนดกติการ่วมกัน 2) ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ ทุกวันพฤหัสบดี
3) กิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ : ร้องรำไม้พลองฯลฯ 4) วัดประเมินผล ควรปรับกิจกรรมโครงการให้สอดรับกับสถานการณ์ปัญหาในพื้นที่ด้วย

  1. อบต.นาคำใหญ่ โครการปั่นชมชี บริบทพื้นที่ : มีปัญหาเรื่องน้ำท่วม , ประชากรประมาณ 3,300 คน มี 8 หมู่บ้าน

- กระบวนการ
1) ประชุมวางแผนวิธีการดำเนินโครงการร่วมกับผูนำชุมชนทั้งตำบลนาคำใหญ่(ผู้ใหญ่บ้าน,สมาชิกสภา,ผู้อำนวยการโรงเรียน,ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล) 2) ดำเนินการอบรมตามโครงการดำเนินการ กลุ่มเป้าหมาย 100 คน ชวนประชาชน/ผู้สูงอายุ ปั่นจักรยานไปปลูกป่า /ปล่อยปลา, ปั่นระยะทาง 10 กิโลเมตร
3) สรุปผลการดำเนินโครงการ
ข้อเสนอแนะ
- ชวนเด็กเยาวชนทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ เช่น จัดการขยะ - การออกแบบเส้นทางความปลอดภัยกับหน่วยงาน - ควรมีระยะทางตามกลุ่มเป้าหมาย
- รณรงค์ปั่นจักรยานเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม
- ควรมีการปั่นซ้อมตามระยะทาง, ปั่นซ้อมรายวัน

  1. อบต.กลางใหญ่ โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกลางใหญ่ ร่วมกับชมรมรักสุขภาพตำบลกลางใหญ่ - สถานการณ์ PA เด็ก 57.35% เพิ่มเป็น 59.35%, วัยทำงาน 55.42% เพิ่มเป็น 58.42%

- กลุ่มเป้าหมาย: 140 คน : เด็ก 40 คน, วัยทำงาน 50 คน, ผู้สูงอายุ 50 คน
- กระบวนการ 1) จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการ ของคณะกรรมการดำเนินโครงการได้แก่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกลางใหญ่ กลุ่ม อสม.ในพื้นที่ และประธานชมรมรักสุขภาพตำบลกลางใหญ่ 2) จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างการรวมกลุ่มคนรักสุขภาพในการออกกำลังกายช่วงเย็น บริเวณ ลานตลาดบ้านกลางใหญ่ ทุกวัน เวลา 16.30 – 18.00 น. ในห้วงระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน – 30 กันยายน 2567 3) จัดกิจกรรมปลูกผักสวนครัวบริเวณโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกลางใหญ่ ในห้วง ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน – 30 กันยายน 2567 4) สรุปผลโครงการ รายงานให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกลางใหญ่ทราบ
ข้อเสนอแนะ - ปรับกลุ่มเป้าหมายกับค่าเป้าหมายให้ตรงกัน
- ควรคำนึงถึงความปลอดภัยการออกกำลังของผู้สูงอายุ - ควรมีการปลูกผักที่บ้าน เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

  1. อบต.ก่อเอ้
    กระบวนการ :

- การประชุมชี้แจงโครงการผู้รับผิดชอบโครงการเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับคณะทำงานให้มีเป้าหมายที่ตรงกัน กระบวนการ เริ่มต้นด้วย 1. แต่งตั้งคณะทำงาน2. ชี้แจงรายละเอียดโครงการ3. แหล่งงบประมาณ4.สรุปการประชุม มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้บริหารท้องถิ่น อสม. ผู้นำชุมชน ครู ผู้ปกครอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประมาณ 70 คน - คณะทำงานโครงการร่วมกันลงพื้นที่ออกแบบเพื่อปรับปรุงพื้นภูมิทัศน์ พื้นที่สาธารณะบริเวณองค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้ เช่น การปรับปรุงบริเวณที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้ มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สถานที่ออกกำลังกาย สนามเด็กเล่น จุดเช็คอิน ลานศิลปะ ศูนย์เรียนรู้อาชีพ เป็นต้น
ข้อเสนอแนะ
- เป็นพื้นที่นำร่องการออกแบบพื้นที่สาธารณะ และจัดกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

  • อาจารย์พงค์เทพ ได้แนะนำตัวอย่างการออกแบบกิจกรรมโครงการส่งเสริม PA และแนวทางจัดทำโครงการ PA ที่สามารถเชื่อมโยงประเด็นอื่นๆ ได้ รายละเอียด ดังนี้
    แนวทางจัดทำโครงการ
    1. ทบทวนสถานการณ์ PA และสถานการณ์ปัญหาอื่นๆ ที่เชื่อมโยง เช่น ขยะ ไข้เลือดออก กับ PA โดยกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
    2. วางวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย (กลุ่มเป้าหมาย และเป้าหมายเชิงปริมาณ) โดยให้ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกำหนด
    • วัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับ PA
    • วัตถุประสงค์ที่บูรณาการกับปัญหาอื่นๆ เช่น ปริมาณขยะ/โรคไข้เลือดออก
    1. ออกแบบกิจกรรม / รูปธรรมที่สามารถบรรลุเป้าหมายได้

ในระยะต่อไปจะเป็นการนำรายละเอียดโครงการนำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนตำบลพิจารณาอนุมัติงบประมาณมาสนับสนุนกิจกรรม การสร้างพื้นที่ต้นแบบหรือนำร่อง ในการออกแบบพื้นที่สาธารณะและการเขียนโครงการให้มีการส่งเสริมกิจกรรมในการออกแบบพื้นที่สาธารณะ
การนัดหมายครั้งถัดไปจะเป็น วันที่ 5 กรกฎาคม2567 เวลา 08.30-16.00 น. ซึ่งจะไปเยี่ยมเยียนติดตามการจัดทำแผนและเขียนโครงการในพื้นที่ ณ ห้องประขุมรพ.สต.บ้านกอก เทศบาลตำบลบ้านกอก อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี