โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

การประชุมพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายจัดทำแผนในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานี25 เมษายน 2567
25
เมษายน 2567รายงานจากพื้นที่ โดย thitichaya6139
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การประชุมเชิงปฏิบัติการบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2567 ณ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

กำหนดการ
เวลา รายละเอียด 09.00 - 09.30 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม 09.30 - 10.00 น. กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม และนำเสนอโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
      รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 10.00 - 10.30 น. กล่าววิสัยทัศน์ แผนและนโยบายการพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย
โดย นายอำเภอ 10.30 - 12.00 น. การบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดย นายอำเภอ นายกเทศมนตรีตำบล/นายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 12 แห่ง

12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 16.30 น. การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี โดย คณะทำงานแผน/โครงการ คณะทำงานเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน และคณะทำงานสื่อ จำนวน 12 ท้องถิ่น
ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ และคณะทำงานพี่เลี้ยง จ.อุบลราชธานี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) กับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และเครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นหรือพื้นที่ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี จัดทำบันทึกข้อตกลงขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567 เวลา 08.30 น. ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเขื่องใน
นายเกียรติศักดิ์ บารมี ปลัดอาวุโสอำเภอเขื่องใน เป็นประธานกล่าวแสดงวิสัยทัศน์ แผนและนโยบายการพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อการส่งเสรมิกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย
และมี ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม และนำเสนอโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยการประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่อหน่วยงานกำหนดนโยบายและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย และพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 50 ท่าน ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ท้องถิ่นอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ ผู้บริหารท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่อำเภอเขื่องในนำร่อง 12 แห่ง
ในการจัดทำบันทึกความร่วมมือในครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.มอ.) , ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (MSU UDC) กับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอเขื่องใน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จำนวน 12 แห่ง ของอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเป็นองค์กรสนับสนุน
ในการจัดทำข้อตกลงครั้งนี้ โดยมีรายละเอียดเนื้อหาข้องตกลงร่วมกันดังนี้ 1. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) บูรณาการภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับอำเภอและท้องถิ่น ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย แนวทาง แผนงาน และโครงการสำคัญ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอให้กับประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนการติดตามผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) รับทราบ 2. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) บูรณาการภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันจัดทำระบบข้อมูล พัฒนาแผน และโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ตลอดจนการสร้างพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายในสถานศึกษาหรือชุมชน รวมทั้งการสื่อสารสาธารณะประเด็นกิจกรรมทางกายแก่ชุมชน 3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนงบประมาณทั้งจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ หรืองบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดทำโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่สอดคล้องกับแผนงานทั้งระดับตำบล (เทศบาลและ อบต.) และระดับอำเภอ 4. สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (MSU UDC) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นองค์กรสนับสนุนความรู้ ทักษะ ในการพัฒนาแผน พัฒนาโครงการ และออกแบบพื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับหน่วยงาน ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับตำบลและระดับอำเภอ 5. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และหน่วยจัดการร่วมจังหวัด หรือ โหนด สสส. สำนัก 6 (สำนักสร้างสรรค์โอกาส) เป็นองค์กรสนับสนุนความรู้ ทักษะ งบประมาณและบทเรียน ให้ขยายผลโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายสู่พื้นที่ใกล้เคียง