โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ29 พฤศจิกายน 2566
29
พฤศจิกายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย thitichaya6139
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • กิจกรรม การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ในพื้นที่นำร่องของจังหวัดน่านและลำพูน
    วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม
    1) เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ 2) เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย
  1. ตัวชี้วัด 1) ผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรม ทางกายในพื้นที่
    2) ได้แผนการดำเนินงานในการขับเคลื่อนนโยบายการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในจังหวัดตรัง
    3) ได้พื้นที่ดำเนินการจำนวน 10 แห่ง และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะต้นแบบการส่งเสริมกิจกรรมทางกายจำนวน 2 พื้นที่

จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม / รายชื่อ / หน่วยงาน
ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 82 คน - คณะทำงานสนส.มอ. จำนวน 5 คน - การกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดน่าน จำนวน 28 คน - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 39 คน - เครือข่ายสื่อ จำนวน 4 คน - พี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพ จำนวน 6 คน

  • รายละเอียดการจัดกิจกรรม
    เวลา รายละเอียด วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน 2566 08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม 09.00 - 09.30 น. กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุม โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
      รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 09.30 - 10.30 น. แนะนำโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
    โดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 10.30 - 12.00 น. ระดมความคิดเห็นและวางแผนเชิงปฏิบัติการจัดทำ RoadMap ดำเนินงานในการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดย ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน
    ผู้ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 15.00 น. วางแผนและจัดทำ RoadMap การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย
    โดย ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ผู้ดำเนินการประชุม: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ 15.00 – 16.00 น. วางแผนและจัดทำ RoadMap พัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อให้ความรู้เรื่องกิจกรมทางกายและนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
    โดย ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ผู้ดำเนินการประชุม: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ 16.00 – 16.30 น. สรุปผลการประชุมและชี้แจงแนวทางดำเนินการต่อ
    โดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลลัพธ์ (เชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ) 1) ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ จำนวน 82 คน
    2) ได้พื้นที่นำร่อง จ.ลำพูนและน่าน จำนวน 20 ท้องถิ่น ดังนี้
  • จ.ลำพูน ได้แก่ เทศบาลตำบลริมปิง เทศบาลตำบลบ้านแป้น เทศบาลเมืองลำพูน เทศบาลตำบลอุโมงค์ เทศบาลตำบลมะเขือแจ้ เทศบาลตำบลป่าสัก เทศบาลตำบลศรีบัวบาน เทศบาลตำบลบ้านกลาง เทศบาลตำบลเหมืองง่า เทศบาลตำบลเวียงยอง
  • จ.น่าน ได้แก่ เทศบาลเมืองน่าน เทศบาลตำบลดู๋ใต้ องค์การบริหารส่วนตำบลผาสิงห์ องค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุม องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สาคร องค์การบริหารส่วนตำบลเปือ องค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ เทศบาลตำบลพระพุทธบาทเชียงคาน องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงติ๊ด

    3) ได้แผนปฏิบัติการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จำนวน 20 แห่ง
    4) ได้แผนปฏิบัติการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ เทศบาลตำบลริมปิง เทศบาลตำบลบ้านแป้น เทศบาลเมืองน่าน และเทศบาลตำบลดู๋ใต้

  • แผนการดำเนินการต่อ
    1) เก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ ของแต่ละกองทุน 2) สนับสนุน ส่งเสริมให้กองทุนสุขภาพตำบล/ท้องถิ่น มีแผนการเพิ่ม PA
    3) สนับสนุน ส่งเสริมให้ เครือข่าย/กลุ่ม/ชุมชน สามารถเขียนโครงการ PA เพื่อของบประมาณจากแหล่งทุนในพื้นที่ฯ
    4) สนับสนุนให้ท้องถิ่นออกแบบพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมี PA และสนับสนุนปฏิบัติการเพื่อเพิ่ม PA ในชุมชน