โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดสุราษฎร์ธานี20 ธันวาคม 2566
20
ธันวาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย thitichaya6139
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดสุราษฎร์ธานี วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม 2566 เวลา 8.30-16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงแรมบรรจงบุรี
ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี

………………………………………………………………………….

  1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ 1.2 เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย

  2. ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 73 คน

- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง จำนวน 20 คน - โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กท้องถิ่น จำนวน 10 คน - อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 10 คน - ชมรมออกกำลังกายในพื้นที่ จำนวน 20 คน - สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 11 สุราษฎร์ธานี จำนวน 2 คน - กลไกสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และกลไกสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในพื้นที่ (กองทุน อบจ./สสส., โหนดจังหวัด สสส.) จำนวน 4 คน - เครือข่ายสื่อ จำนวน 2 คน

กำหนดการ เวลา รายละเอียด วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม 2566
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม 09.00 - 09.10 น. กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุม โดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 09.10 – 09.20 กล่าวเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย
โดย นายปราโมทย์ เพชรรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก จังหวัดสุราษฎร์ธานี เลขาธิการนายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย 09.20 - 09.50 น. แนะนำโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
โดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 09.50 – 10.10 น. - แนะนำกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เขต 11
- แนะนำกลไกสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในพื้นที่ (กองทุน อบจ./สสส., โหนดจังหวัด สสส.) 10.10 - 12.00 น. แบ่งกลุ่ม จำนวน 10 กลุ่ม (10 ท้องถิ่น) และกลุ่มสื่อ 1 กลุ่ม ระดมความคิดเห็นและวางแผนเชิงปฏิบัติการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 1. วิเคราะห์สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกิจกรรมทางกายของแต่ละกลุ่ม 2. วางเป้าหมายร่วมกัน 3. เสนอแนวทางเพื่อจัดทำเป็นโครงการ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ โดย ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน
ผู้ดำเนินรายการโดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 15.30 น. นำเสนอ กลุ่มละ 10 นาที /แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่
โดย ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ผู้ดำเนินการประชุม: ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 15.30 – 16.15 น. สรุปผลการประชุมและชี้แจงแนวทางดำเนินการต่อ
โดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์
16.15 – 16.30 น. กล่าวปิดการประชุม
โดย นายปราโมทย์ เพชรรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก จังหวัดสุราษฎร์ธานี เลขาธิการนายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลลัพธ์ (เชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ) 1) ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ จำนวน 73 คน
    2) ได้พื้นที่นำร่อง จ.สุราษฏร์ธานี จำนวน 9 ท้องถิ่น ดังนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก องค์การบริหารส่วนตำบลชลคราม องค์การบริหารส่วนตำบลไชยคราม องค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียนทอง องค์การบริหารส่วนตำบลป่าร่อน องค์การบริหารส่วนตำบลเขาวง องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพุ องค์การบริหารส่วนตำบลตะกุกเหนือ องค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน 3) ได้แผนปฏิบัติการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จำนวน 9 แห่ง
    4) ได้แผนปฏิบัติการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จำนวน 3 แห่ง

  • แผนการดำเนินการต่อ
    1) เก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ ของแต่ละกองทุน 2) สนับสนุน ส่งเสริมให้กองทุนสุขภาพตำบล/ท้องถิ่น มีแผนการเพิ่ม PA
    3) สนับสนุน ส่งเสริมให้ เครือข่าย/กลุ่ม/ชุมชน สามารถเขียนโครงการ PA เพื่อของบประมาณจากแหล่งทุนในพื้นที่ฯ
    4) สนับสนุนให้ท้องถิ่นออกแบบพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมี PA และสนับสนุนปฏิบัติการเพื่อเพิ่ม PA ในชุมชน