โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

นำเสนอผลข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในงาน Southern Research Expo and Innovation Showcaase 202323 มิถุนายน 2566
23
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นำเสนอผลข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในงาน “Innovation for Society and Future” จัดโดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วันที่ 23-24 มิ.ย.66 ณ หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล หาดใหญ่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นำเสนอผลข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ดังนี้
กิจกรรมทางกาย (Physical Activity : PA) เป็นการเคลื่อนไหวหรือการออกแรงของร่างกายในการทำกิจกรรมรูปแบบต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ 1) การทำงาน/งานบ้าน 2) การเดินทาง 3) การมีกิจกรรมนันทนา การกีฬา และการออกกำลังกาย  การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอเป็นหนึ่งในปัจจัยสาเหตุหลักนำไปสู่การโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (non-communicable diseases : NCDs) ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมอง ทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรั้ง และโรคมะเร็ง คนไทยเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังปีละเกือบ 400,000 คน คิดเป็น 76% ของการเสียชีวิตทั้งหมด และ 50% เสียชีวิตก่อนวัยอันควร เพื่อการจัดการปัญหาสุขภาพโดยการส่งเสริมป้องกันให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีนั้น วิธีวิจัยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) และกระบวนการนโยบายสาธารณะ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาข้อเสนอนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในระดับชาติผ่านเครื่องมือสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พัฒนากลไกกองทุนสุขภาพตำบลที่มีแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับตำบล รวมทั้งพัฒนาพื้นที่ต้นแบบด้านการปรับสภาพแวดล้อมทางสถาปัตยกรรมให้เอื้อและจูงใจต่อการมีกิจกรรมทางกายในชุมชนท้องถิ่นและเอกชน ผลลัพธ์ 1) ได้มติการส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น จำนวน 9 มติ 2) เกิดการขับเคลื่อนกลไกกองทุนสุขภาพตำบล 12 เขตสุขภาพ มีแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3,068 แผน และมีโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายปฏิบัติการในระดับตำบลจำนวน 8,205 โครงการ 3) เกิดพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายในทางสถาปัตยกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 4 พื้นที่