directions_run

โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
(P001001) 1.1.1 รวบรวมองค์ความรู้/ชุดความรู้ นวัตกรรม 3 เม.ย. 2566

 

 

 

 

 

(P002001) 1.1.2 พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายด้านพื้นที่สุขภาวะ และการเพิ่มกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในกลุ่มเด็กและเยาวชน โดยใช้การทำงานด้านวิชาการในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อเสนอนโยบาย 6 เม.ย. 2566

 

 

 

 

 

(P003001) 1.1.3 พิจารณาร่างข้อเสนอ ร่วมกับหน่วยงานกำหนดนโยบายโดยภาครัฐและพรรคการเมือง กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่อสาธารณะ 6 เม.ย. 2566

 

 

 

 

 

(P004001) 1.1.4 เวทีสาธารณะเพื่อนำเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ร่วมกับพรรคการเมืองและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่อสาธารณะ 6 เม.ย. 2566

 

 

 

 

 

(P005001) 1.1.5 การติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 6 เม.ย. 2566

 

 

 

 

 

(P007001) 1.2.2 เครือข่ายสื่อท้องถิ่นเผยแพร่และขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ 6 เม.ย. 2566

 

 

 

 

 

(P013001) 2.2.1.2 ขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบสุขภาพในพื้นที่นำร่อง และจัดทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 6 เม.ย. 2566

 

 

 

 

 

(P022001) ค่าวัสดุสำนักงาน/ วัสดุสิ้นเปลือง 6 เม.ย. 2566

 

 

 

 

 

(P023001) ค่าตรวจบัญชี 6 เม.ย. 2566

 

 

 

 

 

(P024001) ค่าจ้างผู้ช่วยวิจัยและเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ 6 เม.ย. 2566

 

 

 

 

 

(MNT000001) ค่าธรรมเนียมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย 6 เม.ย. 2566

 

 

 

 

 

(P021001) 3.4 การติดตามประเมินผล - การติดตามประเมินผลได้วิเคราะห์แนวทางการขยายผลจากกลุ่มพื้นที่เป้าหมายหรือพื้นที่ต้นแบบ โดยพื้นที่ต้นแบบได้ประเมินผลถอดบทเรียน/โมเดล/กระบวนการ/ความสำเร็จของการขยายผล/ต่อยอด (ผลผลิต/ผลลัพธ์/ผลกระทบ)/ปัจจัยความสำเร็จฯ 6 ก.ย. 2566

 

 

 

 

 

(P006001) 1.2.1 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อให้มีความรู้เรื่องกิจกรรมทางกายและนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 6 พ.ย. 2566

 

 

 

 

 

(P008001) 2.1.1 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและสามารถเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพเพื่อของบกองทุนสุขภาพตำบลและงบอื่นๆ ในพื้นที่ (กกท.) 6 พ.ย. 2566

 

 

 

 

 

(P009001) 2.1.2 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะการจัดการความปลอดภัยจากการออกกำลังกายในลานกีฬาสาธารณะ 6 พ.ย. 2566

 

 

 

 

 

(P010001) 2.1.3 กระบวนการออกแบบปรับปรุงพื้นที่ลานกีฬาสาธารณะให้เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย นำร่องพื้นที่ของ กกท.ระดับจังหวัด รวมทั้งสนับสนุนปฏิบัติการเพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายให้เพียงพอ จำนวน 5 พื้นที่ มีขั้นตอนดังนี้ 6 พ.ย. 2566

 

 

 

 

 

(P011001) 2.1.4 การติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนงานกับเครือข่ายการกีฬาแห่งประเทศไทย 6 พ.ย. 2566

 

 

 

 

 

(P012001) 2.2.1.1 ทำความร่วมมือกับสมาคมสันนิบาต สมาคม อบต. เพื่อหาพื้นที่นำร่องการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย อย่างน้อยจำนวน 10 พื้นที่ (พื้นที่สาธารณะ ลานเด็กเล่นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนสังกัด อปท.) 6 พ.ย. 2566

 

 

 

 

 

(P014001) 2.2.1.3 ติดตามประเมินผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ แผนและปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่นำร่อง 6 พ.ย. 2566

 

 

 

 

 

(P015001) 2.2.1.4 ผลักดันนโยบายมาตรฐานการออกแบบพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย ไปสู่หน่วยงานระดับนโยบาย 6 พ.ย. 2566

 

 

 

 

 

(P016001) 2.2.2.1 พัฒนาศักยภาพเครือข่าย ให้จัดทำแผนและเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพเพื่อของบประมาณในพื้นที่ ประกอบด้วย สมาคมสันนิบาต สมาคม อบต. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนในสังกัด อปท. (อปท.) 6 พ.ย. 2566

 

 

 

 

 

(P017001) 2.2.2.2 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะการจัดการความปลอดภัยจากการมีกิจกรรมทางกายในพื้นที่สาธารณะ และลานเด็กเล่น 6 พ.ย. 2566

 

 

 

 

 

(P018001) 3.1 ปรับปรุงคู่มือออกแบบพื้นที่สาธารณะ (พื้นที่สาธารณะในท้องถิ่น, ลานกีฬาสาธารณะ, พื้นที่ PA ในสถานศึกษา) 6 พ.ย. 2566

 

 

 

 

 

(P019001) 3.2 ปรับปรุงคู่มือทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 6 พ.ย. 2566

 

 

 

 

 

(P020001) 3.3 ปรับปรุงฐานระบบติตดามประเมินผล 6 พ.ย. 2566

 

 

 

 

 

ปรับปรุงเว็บไซต์ 31 พ.ค. 2567 31 พ.ค. 2567

 

ปรับปรุงเว็บไซต์

 

ปรับปรุงเว็บไซต์

 

การประชุมติดตามการจัดทำแผนสุขภาพและการเขียนโครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย ครั้งที่ 3 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ 4 ก.ค. 2567 4 ก.ค. 2567

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การประชุมติดตามการจัดทำแผนสุขภาพและการเขียนโครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย ครั้งที่ 3 วันพฤหัสบดี ที่ 4 กรกฎาคม 2567 เวลา 08.30 – 16.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้จัดทำแผนและเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพเพื่อของบประมาณกองทุนสุขภาพตำบล หรืองบอื่นๆในพื้นที่ 2. เพื่อปรับปรุงกิจกรรมโครงการให้สอดคล้องกับแบบพื้นที่สุขภาวะทางสถาปัตยกรรมเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย กำหนดการ เวลา รายละเอียด 08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม 09.00 - 09.30 น. กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุม 09.30 - 12.00 น. - นำเสนอการออกแบบพื้นที่สุขภาวะทางสถาปัตยกรรมเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
- นำเสนอ และยกตัวอย่างโครงการที่ผ่านการอนุมัติงบประมาณกองทุน - ระดมความคิดจัดทำแผนและเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ 12.00 - 13.00 น. พักเที่ยงรับประทานอาหาร 13.00 - 14.00 น. ระดมความคิดจัดทำแผนและเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ (ต่อ) 14.00 - 15.30 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้/นำเสนอแผนและโครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 15.30 - 16.30 น. สรุปการประชุม

 

ระดมความคิดเห็นกิจกรรมโครงการส่งเสริมการเคลื่อนไหวในพื้นที่สุขภาวะทางสถาปัตยกรรมเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ เน้นการแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรัง หรือ NCD เพิ่มกิจกรรมทางกายและอาหารและโภชนาการที่ดีของประชาชน
ในวันพฤหัสบดี ที่ 4 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.)  ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและจัดทำแผน พร้อมทั้งเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย และปรับปรุงกิจกรรมโครงการให้สอดคล้องกับแบบพื้นที่สุขภาวะทางสถาปัตยกรรมเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
โดยมี นายอำคา สายสมุทร นายกเทศมนตรีรัตนวารีศรีเจริญ เป็นประธานในการกล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดการประชุมฯ “การเพิ่มกิจกรรมทางกายเป็นสิ่งสำคัญมากในปัจจุบัน เพราะเทคโนโลยีทำให้สบาย ทำให้ลักษณะอาชีพ พฤติกรรมทำงานเปลี่ยนไป ทำให้การเคลื่อนไหวต่างๆ ลดลง จากพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปนี้ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคติดต่อไม่เรื้อรัง NCDs ซึ่งการป้องกันความเสี่ยงเหล่านี้ให้ได้ผล คือ การเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง การทำกิจกรรมทางกาย  การออกกำลังกาย หรือการเคลื่อนไหวออกกำลังกายเป็นประจำ ในส่วนของตำบลรัตวลีฯ มีที่สาธารณะ เนื้อที่ 17 ไร่ สามารถที่จะทำสถานที่ออกกำลังกายให้ประชาชนได้ออกกำลังกาย” และนายรพินทร์ ยืนยาว คณะทำงานโครงการเขตสุขภาพที่ 10 ได้กล่าววัตถุประสงค์ของโครงการฯ และเป้าหมายของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้
พร้อมกันนั้น ดร.เพ็ญ สุขมาก  ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ร่วมแลกเปลี่ยน ให้หลักการสำคัญที่จะมีการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ “การประชุมครั้งนี้มาให้กำลังใจ Empower  ทางสถาบันจะช่วยให้ข้อเสนอแนะในกิจกรรมที่เป็นไปได้และสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับกลุ่มเป้าหมาย ข้อเสนอกิจกรรมที่แลกเปลี่ยนเป็นกิจกรรมที่ทำได้จริงมีการถอดบทเรียนแล้ว การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นเรื่องที่สำคัญ การทำกิจกรรมทางกายเรื่องความรู้ยังไม่พอ เพราะเรารุทุกอย่างแล้ว ต้องกินอย่างไร ออกกำลังกายอย่างไร เรารู้ทุกอย่างแล้วแต่เราไม่ได้ทำ เพราะฉะนั้นกิจกรรมที่เราทำ คือ ไปทำสภาพแวดล้อมให้เอื้อให้คนมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ทางทีมในตำบลไปเก็บข้อมูลมาแล้ว จะพบว่ามีสถานการณ์ที่เห็นได้ว่าควรทำกิจกรรมกับกลุ่มนั้นๆ กิจกรรมที่ออกแบบในอนาคต เห็นความยั่งยืนของคน คือ อาจารย์สถาปนิกช่วยออกแบบ แล้วทางท้องถิ่นไปปรับปรุงพื้นที่ คนมาทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง  ถึงแม้โครงการปิดไปแล้ว แต่ประชาชนยังมีกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่อง จากแบบสถาปัตยกรรม จากร่างแผนผังจะมีกิจกรรมอย่างไรบ้าง เช่น ส่งเสริมกิจกรรมเดิน ส่งเสริมสนามเด็กเล่น การไปเชื่อมกับตลาดถนนคนเดิน เชื่อมการท่องเที่ยว”
ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ประกอบด้วย คณะทำงานเขต ระดับจังหวัด, คณะทำงานจากสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะทำงานระดับตำบล เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ จากจำนวน        8 พื้นที่เป้าหมาย ได้แก่  เทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ เทศบาลตำบลหัวตะพาน องค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่
องค์การบริหารส่วนตำบลสร้างถ่อน้อย องค์การบริหารส่วนตำบลคำพระ เทศบาลตำบลเค็งใหญ่  องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแก้ว องค์การบริหารส่วนตำบลโพนเมืองน้อย ประมาณกว่า 30 คน อาจารย์ชุนันทร์ วามะขัน ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้นำผลการออกแบบของ เทศบาลตำบลหัวตะพาน ได้ออกแบบพื้นที่สาธารณะ ดังนี้
พื้นที่ที่ 1 บริเวณใต้ต้นจามจุรี
1. หัวตะพาน ได้พื้นที่สวนเฉลิมพระเกียรติ เดิมพื้นที่เดิมมีทางวิ่งพื้นที่ค่อนข้างใหญ่ จากที่สำรวจพฤติกรรมการใช้งานพื้นที่ที่เกิดขึ้นของสวน ระหว่างวันสวนไม่ได้ถูกใช้งาน จะมีน้อยมากในการใช้งาน
2 บริเวณต้นจามจุรี ตรงนนี้จะมีกิจกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างวันจุดเดียว คือ คุณครูจะพาเด็กๆ ทำกิจกรรมภายนอกศูนย์ระหว่างวัน และมีลานเดิมที่ผู้สูงอายุใช้ออกกำลังกาย
3. ถัดมาจะเป็นศูนย์เด็กและอาคารผู้สูงอายุ ตรงอาคารอาจจะเป็นกิจกรรมใหม่ เป็นการ link ให้กับตัวต้นจามจุรี และมีอุปกรณ์เครื่องเล่นธรรมชาติให้เด็กๆ ได้เล่น เครื่องเล่นธรรมชาติจะใช้งบประมาณไม่มากและเป็นวัสดุที่ชุมชนช่วยกันทำร่วมกันทำสร้างการมีส่วนร่วมของพื้นที่  และการดูแลรักษาระยะยาวได้มากกว่า 4. ทางเดินจากศูนย์เด็กเข้ามาในพื้นที่ได้ อาจจะมีเครื่องเล่นสำหรับเด็กที่เป็นวัสดุธรรมชาติ
พื้นที่ที่ 2 สวนเดิมสวนมีเครื่องออกกำลังกายเดิม แต่มีการเข้าถึงการใช้น้อย อาจจะเป็นเรื่องภูมิทัศน์ที่ปิดกั้นมากเกินไปจากการปลูกต้นไม้ปิดปังมากเกินไป ทำให้ประชาชนคนภายนอกไม่เห็นการเปิดรับการเข้าไป ตรงนี้จะออกแบบปรับปรุงเคลียร์พื้นที่ตรงนี้ให้โล่งมากขึ้น พื้นที่ 3  ทางวิ่งจะอยู่ในสภาพใช้งานได้ อาจจะปรับเพิ่มเรื่องสีสันให้เชื้อเชิญต่อการใช้งาน เช่น ทาสีใหม่ลงพื้นผิวใหม่ สีน้ำเงิน สีเขียว แถบของจักรยาน พื้นที่ที่ 4 พื้นที่ตรงกลางสนาม เป็นพื้นที่โล่งขนาดใหญ่ ตรงนี้ถ้าหากจัดกิจกรรมเปลี่ยนจากตลาดชุมชนตลาดพื้นแข็ง เปลี่ยนเป็นตลาดกิจกรรมกลางแจ้งเป็นร่มผ้าใบสีขาว จัดเป็นหัตถกรรม ในระหว่างสัปดาห์ก็จะเปิดให้พื้นที่ในสวนมีชีวิตมากขึ้น จะมีการปรับแต่งภูมิทัศน์ใหม่   และองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ ได้ออกแบบพื้นที่สาธารณะ
อาคารกำลังดำเนินการก่อสร้างจะเปิดการใช้งานแล้ว ตัวผังจากกองช่าง จะมีทางเข้ามาที่อาคารและมีพื้นที่เปิดโล่งข้างหน้า พื้นที่ตรงสวน จะเป็นพื้นที่เปิดโล่งปรับแต่งภูมิทัศน์ จะมีส่วนสำนักงานกองช่าง และศูนย์ประชุมเดิม และโดมจอดรถ ในส่วนอาคารอื่นๆจะถูกรื้อถอนออก
พื้นที่ที่ 1 พื้นที่สวนเล็กๆ หรือสวนสาธารณะที่ให้ชุมชนและเด็กเข้ามาใช้ประโยชน์ทำกิจกรรมได้ เดิมเป็นที่จอดรถเอาหัวเสียเข้าไป พื้นที่เดิมกองดินหน้าเทศบาล พื้นที่ใต้ร่มค่อนข้างเหมาะ สามารถออกแบบเรื่องเครื่องเล่น และรูปแบบทำกิจกรรม ของสวนผู้สูงอายุและเด็ก ให้เป็นอาคารสินค้าหัตถกรรมชุมชนจะปรับเป็นพื้นที่สาธารณะเล็กๆ ตัวอย่างเครื่องเล่น ตาข่ายให้เด็กปีนป่ายได้ ลักษณะแนวตาข่าย  วัสดุธรรมชาติพวกงานไม้
พื้นที่ที่ 2 ด้านหน้าเทศบาล รพสต.และโรงเรียน
ด้านซ้ายมือเป็นศูนย์เด็กเล็ก ด้านขวามือเป็น สำนักงาน รพสต. และตรงข้ามเป็น เทศบาล ถ้าการทำกิจกรรมสามารถเชื่อมโยงไปยัง รพสต.และโรงเรียนได้ ช่วยให้พื้นที่ใช้งานได้อย่าต่อเนื่อง
ถนนเส้นนี้สามารถทำแทร็กบางอย่างได้ ทำแทร็กจากโรงเรียนผ่าน รพสต.ผ่านสำนักงานได้ป ปรับปรุงพื้นที่ทางเท้าให้เกิดการสัญจรได้ง่าย ให้ดูปลอดภัยและมีการเชื่อมโยงกับพื้นที่ได้ - นักเรียน: ถ้าทางเทศบาลและโรงเรียนมีความต่อเนื่อง จะมีบางวิชาของมัธยม มีการทำกิจกรรม เช่น เรื่องหัตกรรม การละเล่นต่างๆ ดึงมาใช้พื้นที่ตรงนี้ได้
- ผู้สูงอายุ: กิจกรรมของผู้สูงอายุเอง หรือ รพสต. ที่มีชมรมผู้สูงอายุ หรือโรงเรียนผู้สูงอายุ เข้ามาใช้พื้นที่ตรงนี้ได้  แนวทางการออกแบบของผู้สูงอายุ จะมีสวนหินสำหรับผู้สูงอายุ การเดินบำบัดต่างๆ
- เครื่องเล่นเด็กที่เป็นวัสดุธรรมชาติ - รวมถึงกิจกรรมต่อเนื่อง เช่น ตลาดนัด ตลาดชุมชน ทางจิกดู่มีผลิตภัณฑ์ชุมชนค่อนข้างมาก พื้นที่ที่ 3 อาคาร สามารถรีโนเวทได้ เป็นอาคารแสดงสินค้าชุมชนได้เพื่อให้เกิดการใช้งานต่อเนื่อง กิจกรรมที่จะเกิดขึ้น
- ส่วนแสดงสินค้าหัตถกรรม
- ปรับภูมิทัศน์สวนให้เด็กๆและผู้สูงอายุได้มาใช้งาน

นายรพินทร์ ยืนยาว คณะทำงานโครงการได้นำกระบวนการแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลการปรับโครงการให้สมบูรณ์ มีดังนี้ 1 เทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ ดำเนินโครงการ 2 ล้อ 2 น่อง ท่องวัดบูรพา
วัตถุประสงค์เพิ่มกิจกรรมทางกายผู้สูงอายุ กิจกรรม "1. สำรวจข้อมูลผู้สูงอายุในชุมชนบ้านหนองเดิ่นและบ้านโต่งโต้น 2. เขียนโครงการเสนอ เพื่อขออนุมัติ 3. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้สูงอายุให้เข้าร่วมโครงการ 4. เชิญชวนผู้สูงอายุเข้าวัดทำบุญและร่วมทำกิจกรรมทางกายที่วัดบูรพา บ้านหนองเดิ่น หมู่ที่ 5 5. ให้ผู้สูงอายุปั่นจักรยานหรือเดินเท้าไปยังวัดบูรพา เพื่อร่วมกันทำบุญและทำกิจกรรมทางกายร่วมกัน ในทุกวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ 5.1 ผู้สูงอายุปั่นจักรยานหรือเดินเท้าไปยังวัดบูรพา(ไป-กลับ) ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที 5.2 ผู้สูงอายุร่วมกันทำบุญ ฟังธรรม และรับประทานอาหารร่วมกัน 5.3 ผู้สูงอายุพักผ่อนตามอัธยาศัย 5.4 ผู้สูงอายุทำกิจกรรมทางกายร่วมกัน ประมาณ 40-60 นาที เช่น การเดินจงกรม การกวาดลานวัด การตัดแต่งกิ่งไม้ การรำไม้พลอง การละเล่นพื้นบ้านที่เหมาะกับผู้สูงอายุ เป็นต้น 6. สรุปและประเมินผลการดำเนินโครงการ" 2. เทศบาลตำบลหัวตะพาน
ดำเนินโครงการสวน 3 วัยใส่ใจ 3 อ (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย) วัตถุประสงค์เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในกลุ่มสามวัย วัยเด็ก วัยทำงาน วัยผู้สูงอายุ กิจกรรม:  1. จัดตลาดจำหน่ายผักปลอดสารอาหารปลอดภัย 2. ส่งเสริมลานปัญญาเพื่อพัฒนาสุขภาพจิตสุขภาพใจในสวน 3 วัย ส่งเสริมการปั่นจักรยานในวิถีชีวิตประจำวัน และเต้นแอโรบิคส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 3. องค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่
จิกดู่ ดำเนินโครงการ PA จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ 1 โครงการวัยเรียนวัยใส Happy and Healthy ฉลาดเล่น สนุกเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนในพื้นที่ตำบลจิกดู่ พื้นที่ดำเนินการโรงเรียนชุมชนบ้านจิกดู่
โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุตำบลจิกดู่ "เพื่อนชวนเพื่อน เพิ่ม PA สัญจร" 1 โครงการวัยเรียนวัยใส Happy and Healthy ฉลาดเล่น สนุกเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนในพื้นที่ตำบลจิกดู่ พื้นที่ดำเนินการโรงเรียนชุมชนบ้านจิกดู่
วัตถุประสงค์ ในการดำเนินงานให้นักเรียนมีกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพและเพียงพอ และพัฒนาศักยภาพครูให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกาย และใช้เครื่องมือมาช่วยหนุนเสริมการออกแบบและวางแผนกิจกรรมให้มีความสอดคล้องกับผลการเรียนแบบ Active play Active learning และบูรณาการร่วมกับชุมชน สถานศึกษาใกล้เคียง อปท.และเครื่อข่ายด้านสุขภาพในพื้นที่มาร่วมกันออกแบบกิจกรรม และขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายในโรงเรียนและเป็นโรงเรียนต้นแบบ  Active play Active learning และสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้สถานศึกษาในพื้นที่ได้
กิจกรรม
1. การประชุมชี้แจ้งคืนข้อมูลสถานการณ์ 2. ประชุมเชิงปฏิบัติการให้แก่คณะครูเรื่องการเรียนการสอน Active play Active learning 3. การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพครูและผู้ดูแลเด็กเล็ก และจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนแบบ Active Classrooms 4. พัฒนาศักยภาพวัยเรียนวัยใส Happy and Healthy ฉลาดเล่น สนุกเรียน และบันทึกสมุดสุุขภาพกิจกรรมเพิ่ม PA 5. วัยเรียน วัยใส Happy and Healthy รณรงค์ออกกำลังกายสร้างสุขภาพ เดิน - วิ่ง - ปั่น เช็คอินแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ บ่อบักฮุก แลนด์มาร์คตำบลจิกดู่

2 โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุตำบลจิกดู่ "เพื่อนชวนเพื่อน เพิ่ม PA สัญจร"
วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ
กิจกรรม<br />
1. ประชุมชี้แจงโครงการ และจัดตั้งคณะทำงาน
2. การประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ การติดตาม และประเมินผลโครงการ
3. เพื่อนชวนเพื่อนเพิ่ม PA สัญจร การอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ เรื่อง ความสำคัญของกิจกรรมทางกาย PA ในผู้สูงอายุ กิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นักเรียนผู้สูงอายุ ชวน เพื่อนผู้สูงอายุ (ผู้เข้าอบรม) เดิน - ปั่นจักรยาน ไปวัดใกล้บ้านทำบุญในวันพระเทศกาลเข้าพรรษา กิจกรรมเชิงปฏิบัติการออกกำลังกายเพิ่ม PA วิถีไทย ด้วยไม้พลอง/ยางยืด /ผ้าขาวม้า กลุ่มเป้าหมาย ผู้สูงอายุ หมู่ที่ 1 - 12 (ที่ไม่ได้เรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุ)
4. ผู้สูงอายุสุขภาพดี ออกกำลังกายเพิ่ม PA ตามวิถี แบบมีส่วนร่วม ด้วยวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นบ้าน จัดกิจกรรมออกกำลังกายสร้างสุขภาพตามวิถี เพิ่ม PA แบบมีส่วนร่วมของประชาชนทุกกลุ่มวัย ณ พื้นที่สาธารณะส่วนรวม องค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ โดยใช้ดนตรีประกอบเพลงและท่ารำ ร่วมกับอุปกรณ์ออกกำลังกาย เช่น ไม้พลอง ยางยืด หรือผ้าขาวม้า ณ พื้นที่สาธารณะองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 3 เดือน<br />
5. การประเมินผลโครงการ ถอดบทเรียน สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานความสำเร็จของโครงการ

4. เทศบาลตำบลเค็งใหญ่ ดำเนินโครงการปั่นจักรยานแรลลี่รอบบึง พื้นที่ดำเนินการ  ลานหน้าเทศบาล ปั่นไปยังวัดป่าโนนบึงศิลาราม ประมาณ 5 กิโลเมตร สถานการณ์ กลุ่มวัยผู้ใหญ่ 22.52 % ตั้งเป้าเพิ่มเป็น 27.00 % กลุ่มผู้สูงอายุ 57.69 % เป้าหมาย คือ 60 % เป้าหมาย ผู้เข้าร่วม 50 คน บ้านเค็งใหญ่ บ้านดู่และบ้านชาติ นำร่อง วิธีการดำเนินงาน 1. ประชุมชีแจ้งโครงการวางแผนการทำงานร่วมกัน ประชาสัมพันธ์โครงการ ทำหนังสือไปยังกำนันผู้ใหญ่บ้าน Facebook line เว็บไซต์ 2 ผู้เข้าร่วมรวมกลุ่มกันที่เทศบาลแล้วปั่นไปยังวัดป่า 5 กิโลเมตร 3 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าฐานศึกษาต่างๆ
ฐาน 1 แหล่งโบราณสถานใบเสมา 1,000 ปี มีวิทยากรผู้นำชุมชนได้พูดเกี่ยวกับประวัติใบเสมา
ฐาน 2 วัดป่า จะประกอบด้วยป่า บึงน้ำ ก่อนเข้าสู่วัด ให้ศึกษาเรื่องสมุนไพร ต้นไม้ที่อนุรักษ์ไว้ คือ ยางป่า มีวิทยากรปราญช์ชาวบ้าน เชื่อมโยงไปยังโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ฐาน 3 มีโบส์วัดเก่าแก่ นิมนต์เข้าอาวาสเป็นวิทยากร 4. สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรม ผู้บริหารได้รับทราบย
แลกเปลี่ยน
1 การปั่นจักรยานไปเป็นเป็นฐานน่าสนใจ อาจจะเชื่อมไปยังการท่องเที่ยวชุมชน การเชื่อมอาจทำโปสเตอร์แผ่นพับประชาสัมพันธ์ก่อน 2 ปรับชื่อโครงการ "ปั่นสองน่อง ท่องวัดโนนบึง" 3 ปื่นโตสุขภาพ ถวายวัด
4 เชื่อมการท่องเที่ยว ปั่นไปเก็บผัก ถวายวัดได้บุญด้วย

โครงการ ลดพุงขยับกาย ได้รับคำแนะนำให้ขยายไปยังหน่วยงานอื่นด้วย นอกจากเทศบาลเค็งใหญ่แล้ว ยังมีกศน. ศูนย์พัฒนาเด็กเล้กทั้ง 3 ศูนย์ นำร่อง เนื่องจากยังไม่มีการขยับตัวและดื่มน้ำหวาน ปัจจุบันได้ทำเทศบัญญัติเริ่มปีงบประมาณ ปี 2568 มีแผนท้องถิ่นรองรับ กลุ่มเป้าหมายเริ่มจากพนักงงานก่อน ได้แก่ เจ้าหน้าที่เทศบาล คุณครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
เจ้าหน้าที่ภาคสนามมีนักกีฬา นักฟุตบอลของเทศบาลเค็งใหญ่
กิจกรรมทำวัน จันทร์ พุธ ศุกร์ วันละ 1 ชั่วโมง
แลกเปลี่ยน 1 โครงการสนับสนุนให้เข้าแผนท้องถิ่น 2 จากการขยายอาจจะมีการแข่งร่วมกัน
3 ปกติจะมีการแข่งขันกีฬาประชาชนในตำบล มาทุกหมู่เตะฟุตบอลแข่งให้โครงการมีโค้ชจากพนักงานเทศบาล เป็นโค้ชให้ชุมชน ใช้แกนนำ อสม.เป็นโค้ช กลไกผู้ใหญ่บ้าน
4 กีฬาประจำปีของ อบต. แข่งเต้นแอโรบิคประจำปี 5. องค์การบริหารส่วนตำบลคำพระ ดำเนินโครงการจักยานขาไถ Balance Bike วัตถุประสงค์ เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กปฐมวัย กิจกรรม 1 อบรมให้ความรู้พื้นฐานวินัยจราจรให้ครูและนักเรียน 2 กิจกรรมการแข่งขันจักรยานขาไถ Balance Bike แลกเปลี่ยน: เพิ่มกิจกรรมการเรียนรู้วินัยจราจรร่วมกันกับเด็กและผู้ใหญ่ 6. องค์การบริหารส่วนตำบลสร้างถ่อน้อย ที่มาและความสำคัญ ผู้สูงอายุและคนออกกำลังกาย ยังน้อยอยู่ ได้กำหนดการออกกำลังกายแก้ปัญหาผู้สุงอายุออกกำลังกายน้อยด้วยตาราง 9 ช่อง หลักสูตรตาราง 9 ช่อง
กิจกรรมสัปดาห์ละ 1 วัน ทำต่อเนื่อง 12 สัปดาห์ จำนวน 60 คนต่อรุ่น รวม 200 คน / 3 เดือนต่อรุ่น
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ : 1 สถานการณ์ ผู้สูงอายุ 66 เปอร์เซ็น เป้าหมายโครงการ 77 เปอร์เซ็น
2. เพิ่มการเรียนรู้ตารางเก้าช่องที่ถูกต้อง ผ่านสื่อต่างๆ เช่น คลิปวิดีโอ 3. เพิ่มความปลอดภัยในสภาพแวดล้อม 4. เพิ่มความน่าสนใจโครงการ ประกวดแข่งขัน / ประกวดนวัตกรรมตาราง 9 ช่อง ในรูปแบบที่หลากหลาย 5. ลูกหลานช่วยดูแลผู้สูงอายุ ช่วยแนะนำช่วยดูแลความปลอดภัย 6. กลไกโรงเรียนผู้สูงอายุ อาจจะทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่นตารางเก้าช่อง 7. สื่อถ่ายทอดเผยแพร่กิจกรรมดีๆในชุมชน  8. เพิ่มวัยทำงาน เช่น คุณครู อสม. 9. พัฒนายกระดับ (เลเวล) 1 ขั้นพื้นฐาน 2. การเต้นประกอบดนตรี 3. หลักสูตร10. ทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุฝึกที่บ้าน 11. จัดประกวด 7. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแก้ว จัดเก็บข้อมูลสถานการณ์และพัฒนาข้อเสนอโครงการ เช่น การฟื้นฟูการละเล่นไทยให้กลับคืนมา
นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ ผู้ประสานงานระดับเขตสุขภาพที่ 10 ได้สรุปการประชุมที่ผ่านมาได้มีการประชุมชี้แจงโครงการระดับอำเภอ การจัดทำบันทึกความร่วมมือระดับอำเภอ การแต่งตั้งคณะทำงานโดยการแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานระดับตำบล การเก็บข้อมูลสถานการณ์ การนำข้อมูลมาวิเคราะห์และพัฒนาแผนเขียนโครงการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ทั้งนี้ในระยะต่อไป คือ การทำข้อตกลงโครงการและตำบลดำเนินกิจกรรม PA ในพื้นที่ ร่วมทั้งนัดหมายมานำเสนอผลงานในวัน kickoff PA อ.หัวตะพาน ในวันที่ 30 สิงหาคม 2567
การนัดหมายครั้งถัดไปจะเป็น วันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ซึ่งจะไปเยี่ยมเยียนติดตามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ ว่าการอำเภอหัวตะพาน อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ

 

การเข้าร่วมการประชุมพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายจัดทำแผนและเขียนโครงการลงในระบบเว็ปไซต์พื้นที่ จ.อุบลราชธานี และ จ.อำนาจเจริญ 4 ก.ค. 2567 4 ก.ค. 2567

 

-

 

-

 

การประชุมติดตามการจัดทำแผนสุขภาพและการเขียนโครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย ครั้งที่ 3 ณ ห้องประชุมสาธารณสุขอำเภอเขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี 5 ก.ค. 2567 5 ก.ค. 2567

 

การประชุมติดตามการจัดทำแผนสุขภาพและการเขียนโครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย ครั้งที่ 3 วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2567 เวลา 08.30 – 16.00 น. ณ ห้องประชุมสาธารณสุขอำเภอเขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้จัดทำแผนและเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพเพื่อของบประมาณกองทุนสุขภาพตำบล หรืองบอื่นๆในพื้นที่ 2. เพื่อปรับปรุงกิจกรรมโครงการให้สอดคล้องกับแบบพื้นที่สุขภาวะทางสถาปัตยกรรมเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย กำหนดการ เวลา รายละเอียด 08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม 09.00 - 09.30 น. กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุม 09.30 - 12.00 น. - นำเสนอการออกแบบพื้นที่สุขภาวะทางสถาปัตยกรรมเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
- นำเสนอ และยกตัวอย่างโครงการที่ผ่านการอนุมัติงบประมาณกองทุน - ระดมความคิดจัดทำแผนและเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ 12.00 - 13.00 น. พักเที่ยงรับประทานอาหาร 13.00 - 14.00 น. ระดมความคิดจัดทำแผนและเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ (ต่อ) 14.00 - 15.30 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้/นำเสนอแผนและโครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 15.30 - 16.30 น. สรุปการประชุม

 

ระดมความคิดเห็นกิจกรรมโครงการส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรงที่เพียงพอในชีวิตประจำวันในพื้นที่สุขภาวะทางสถาปัตยกรรมเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เน้นการแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรัง หรือ NCD เพิ่มกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและอาหารและโภชนาการที่ดีของประชาชน

ในวันศุกร์ดี ที่ 5 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุมสาธารณสุขอำเภอเขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี  สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและจัดทำแผน พร้อมทั้งเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย และปรับปรุงกิจกรรมโครงการให้สอดคล้องกับแบบพื้นที่สุขภาวะทางสถาปัตยกรรมเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในพื้นที่นำร่อง อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
โดยมี น.ส.จงกลนี ศิริรัตน์ ผู้ประสานงานโครงการเขตสุขภาพที่ 10 ได้กล่าววัตถุประสงค์ของโครงการฯ และเป้าหมายของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ และได้รับการต้อนรับผู้แทนจากสำนักงานสาธารสุขอำเภอเขื่องในโดย นายศรีไพร ปัญญาวิชัย สสอ.เขื่องใน ร่วมแลกเปลี่ยน
พร้อมกันนั้น ดร.เพ็ญ สุขมาก  ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ร่วมแลกเปลี่ยน ให้หลักการสำคัญที่จะมีการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ประกอบด้วย คณะทำงานเขต ระดับจังหวัด, คณะทำงานจากสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะทำงานระดับตำบล เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ พื้นที่เป้าหมาย ได้แก่  เทศบาลตำบลเขื่องใน เทศบาลตำบลบ้านกอก องค์การบริหารส่วนตำบลกลางใหญ่ องค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้ องค์การบริหารส่วนตำบลค้อทอง องค์การบริหารส่วนตำบลแดงหม้อ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าไห องค์การบริหารส่วนตำบลธาตุน้อย องค์การบริหารส่วนตำบลนาคำใหญ่ องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุข องค์การบริหารส่วนตำบลหัวดอน ประมาณกว่า 30 คน อาจารย์ชุนันทร์ วามะขัน ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้นำผลการออกแบบของ เทศบาลตำบลเขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี พื้นที่สาธารณะ: “ย่านตลาดเก่า”ให้เป็นถนนคนเดิน สนามเด็กเล่น ที่พักผู้สูงอายุ พื้นที่กิจกรรมของเด็กวัยรุ่น ลานดนตรี ถนนศิลปะ ถนนอาหาร ร้านกาแฟ ที่ออกกำลังกาย ตลาดนัด และพื้นที่ขายสินค้า และองค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้ อ.เขื่องใน              จ.อุบลราชธานี พื้นที่สาธารณะ: สนามเด็กเล่น ที่ออกกำลังกาย สนามกีฬา สวนสาธารณะ ลานศิลปะ จุด Check In จัดทำลู่วิ่ง ศูนย์เรียนรู้อาชีพ  ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ศาลานั่งเล่น ลานปั่นจักรยาน ห้องคาราโอเกะ ที่จอดรถ

นายรพินทร์ ยืนยาว คณะทำงานโครงการได้นำกระบวนการแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลการปรับโครงการให้สมบูรณ์ มีดังนี้ เทศบาลตำบลเขื่องใน
- โครงการสวนฉำฉาพาสุขสันต์ - วัตถุประสงค์:  เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในวันเด็กและวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยผู้สูงอายุ - กิจกรรม/ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. สนับสนุนเอกลักษณ์วัฒธรรมการละเล่นท้องถิ่น ให้เด็ก เยาวชน และประชาชนในเขตพื้นที่ได้มีลานกิจกรรม แสดงศิลปะได้หลากหลายมากขึ้น 2. จัดกิจกรรมลานถนนดนตรี ให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรรค์ในด้านศิลปะดนตรีเพิ่มมากยิ่งขึ้น 3. พัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มแรงจูงใจในเด็ก เยาวชน ประชนในเขตพื้นที่ ได้มีแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะวัฒนธรรมเพิ่มขึ้น

  • โครงการสานฝันปันรัก
  • วัตถุประสงค์ : เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในวันเด็กและวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยผู้สูงอายุ
  • กิจกรรม/ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อาหาร ดนตรี กีฬา ศิลปะ เพื่อให้เด็ก เยาวชน ประชาชน ในพื้นที่มีศิลปะการแสดง ด้านอาหาร ดนตรี กีฬา ศิลปะ เพิ่มขึ้น
  2. การดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะ ด้านอาชีพ เพื่อให้มีผลิตภัณฑ์เป็นเอกลักษณ์ของทุกกลุ่มวัย
  3. พัฒนาลานสาธิตกิจกรรมที่แปลกใหม่เพื่อพัฒนาทางด้านจิตใจ ร่างกาย สมอง

องค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้
- โครงการหนูน้อยเคลื่อนไหวใส่ใจสุขภาพ
- วัตถุประสงค์ : เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กปฐมวัย  เด็กและวัยรุ่น  ผู้ใหญ่
- กิจกรรม
1. จัดกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายพื้นถิ่น 3 ครั้ง ส่งผลให้เด็กและผู้ปกครองได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อสร้างเสริมพัฒนาการของเด็ก ได้บริหารกล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ 2.  ระดมปัญญาสร้างสนามเด็กเล็กเพื่อพัฒนาการ ส่งผลให้เกิดลานปัญญาสร้างสนามเด็กเล็กเพื่อพัฒนาการ 3. สวนสายใยรัก ปลูกผักพืชสมุนไพร ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายโครงการได้ผักพืชสมุนไพร ได้อาหารสุขภาพรับประทานที่บ้าน 4. กิจกรรมขันหมากเบ็ง ส่งผลให้เยาวชนสืบสานวัฒนธรรมกิจกรรมขันหมากเบ็ง ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3 ช่วงวัย (วัยเด็ก วัยทำงาน ผู้สูงอายุ) เพิ่มขึ้น

องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุข
- โครงการออกกำลังกายปั่นจักรยานปลูกป่า - กิจกรรม: ปั่นจักรยานออกกำลังกายปลูกป่า มีตารางการนัดหมาย ทุกวันพฤหัสบดี เริ่มวันที่ 22 สิงหาคม 2567 ถึงวันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน 2567  จำนวน 5 ครั้ง ในการดำเนินกิจกรรม เริ่มเวลา 14.00 น-16.00 น. จำนวน ผู้เข้าร่วม 80 ท่าน - ส่งผลกับชุมชนดังนี้  เป็นการได้มีความรู้ ความเข้าใจการพัฒนากิจกรรมทางร่างกาย และจิตใจการเสริมสร้างกล้ามเนื้อในการปั่นจักรยาน การหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่

องค์การบริหารส่วนตำบลนาคำใหญ่ - โครงการปั่นสร้างสุข
- วัตถุประสงค์: เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ - กิจกรรม : ปั่นรักษ์โลก(กลุ่ม อถล.ปั่นเก็บขยะตามถนนในชุมชน)  ปั่นรณรงค์ต่างๆ เช่น ปั่นต่อต้านยาเสพติด ป้องรณรงค์ป้องกันโรค ปั่นปันสุข (ปั่นออกเยี่ยม,ให้กำลังใจ กลุ่มเปราะบาง ผู้ด้อยโอกาส ผู้ประสบภัยทางธรรมชาติในพื้นที่ตำบลนาคำใหญ่) ชวนน้องปั่นไปวัด (ทำกิจกรรมต่างๆเนื่องในวันสำคัญทางศาสนา เช่น ทำบุญ สวดมนต์ เวียนเทียน ทำความสะอาด) -ปั่นปลูกป่า ปล่อยปลา (อถล.ปั่นไปทำกิจกกรรมปลูกป่า ปล่อยปลา เนื่องในวันสำคัญต่างๆ)
- ส่งผลกับชุมชนดังนี้  1.ประชาชนในตำบลนาคำใหญ่ได้เพิ่มกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น 2.ประชาชนได้ผ่อนคลายหลังจากการทำงาน 3.ประชาชนมีความตระหนักถึงการมีสุขภาพที่ดี 4. ประชาชนในชุมชนมีความสามัคคี และสัมพันธ์อันดีภายในชุมชน 5.ประชาชนมีความตระหนักและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพ 6.การปั่นจักยานเป็นการประยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าไห
- โครงการ ท่าไห workout on workday - วัตถุประสงค์ : เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กปฐมวัย  ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ
- กิจกรรม:
1. จัดตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ พร้อมวางแผนงาน -จัดตั้งคณะทำงานดำเนินการโครงการ โดยแกนหลักคือข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของอบต. และพิจารณาเชิญชวนตัวแทนหมู่บ้านทั้ง 13 หมู่บ้านๆละ 1 คน ที่เป็นที่ยอมรับนับถือของคนในชุมชนร่วมเป็นคณะทำงาน -คณะทำงานประชุมวางแผน กำหนดกิจกรรมทางกายที่จะดำเนินการโดยเป็นกิจกรรมออกกำลังกายที่คนทุกวัยสามารถทำได้ เช่น การเต้นแอโรบิค .การออกกำลังด้วยเครื่องออกกำลังกายต่างๆ, การออกกำลังกายด้วยไม้พลอง ฯลฯ กำหนดวันและเวลาการทำกิจกรรม อาทิตย์ละ 3 วันๆละ 1-2 ชั่วโมง -วางแผนประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องกิจกรรมทางกาย โดยผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์ของหมู่บ้าน และตัวแทนหมู่บ้านที่เชิญชวนเข้ามา เพื่อสร้างความรับรู้ของชุมชน 2. การดำเนินการกิจกรรมตามโครงการ -จัดทำหนังสือ/บันทึกแจ้งเวียนถึงกลุ่มเป้าหมายของโครงการ เพื่อให้ทราบและเข้าร่วมกิจกรรม -ดำเนินการจัดกิจกรรมออกกำลังกาย สัปดาห์ละ 3 วัน ดังนี้ กำหนดวันดำเนินกิจกรรม คือ วันจันทร์,พุธ,ศุกร์ ช่วงเวลาเวลาทำกิจกรรม 15.30 - 16.30 น. ลักษณะกิจกรรม -การออกกำลังกายด้วยเครื่องออกกำลังกายที่ อบต.จัดหาไว้ สำหรับกลุ่มวัยทำงาน และตัวแทนชุมชน ช่วงอายุ 18-64 ปี -กิจกรรมเต้นแอโรบิค สำหรับกลุ่มวัยทำงาน และเด็ก -กิจกรรมออกกำลังกายด้วยไม้พลอง, การใช้อุปกรณ์ยางยืด สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ -การออกกำลังกายด้วยอุปกรณ์กีฬาต่างๆ เช่นลูกบอล,แบตมินตัน ฯลฯ สำหรับกลุ่มเด็กและวัยทำงาน -จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆที่ดำเนินการลงในช่องทางประชาสัมพันธ์ของ อบต. ในทุกสัปดาห์ เพื่อเพิ่มการรับรู้ของชุมชน -ประชาสัมพันธ์ผ่านตัวแทนชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ 3. สรุปประเมินรายงานผลตามโครงการ -ประเมินผลการดำเนินกิจกรรมด้วยการประเมินผลทางด้านร่างกายของผู้เข้าร่วมโครงการ ว่ามีสุขภาพที่ดีขึ้น เช่น การตรวจสุขภาพเบื้องต้น การประเมินระดับน้ำตาลในเลือด ฯลฯ -ประเมินผลความพึงพอใจ ปัญหา อุปสรรค ด้วยแบบสอบถามความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการ -คณะทำงานรวบรวมข้อมูล สรุปผลการดำเนินโครงการ เพื่อทราบปัญหา อุปสรรค -ประชุมคณะทำงานเพื่อรับทราบผลสรุป และร่วมกันวางแผนและปรับปรุงโครงการในปีต่อๆไป -จัดทำผลการดำเนินโครงการและประชาสัมพันธ์ในประชาชนทราบ

องค์การบริหารส่วนตำบลกลางใหญ่
- โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกลางใหญ่ ร่วมกับชมรมรักสุขภาพตำบลกลางใหญ่
- วัตถุประสงค์: เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น ผู้ใหญ่  และผู้สูงอายุ
- กิจกรรม 1. จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างการรวมกลุ่มคนรักสุขภาพในการออกกำลังกายช่วงเย็น บริเวณ ลานตลาดบ้านกลางใหญ่ ทุกวัน เวลา 16.30 – 18.00 น 2. จัดกิจกรรมปลูกผักสวนครัวบริเวณโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกลางใหญ่
ส่งผลให้ประชาชนกินผักปลอดสารพิษและเพิ่มกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น ผู้ใหญ่  และผู้สูงอายุ

องค์การบริหารส่วนตำบลแดงหม้อ
- โครงการบ้านสวยเมืองสุข - วัตถุประสงค์:เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่ และเพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน
- กิจกรรม: 1.ประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 1-6 หมู่ละ 10 คน จำนวน 60 คน เพื่อชี้แจงโครงการกำหนดแนวทางการทำงานร่วมกันซึ่งประกอบด้วย 1.กิจกรรมปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในชุมชน 2. กิจกรรมกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย 3. กิจกรรมการคัดแยกขยะต้นทางให้ถูกต้อง 4. กิจกรรมปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ - ส่งผลกับชุมชนดังนี้  1.คนในชุมชนมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น 2.ชุมชนมีความปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก 3.ลดการตกค้างขยะภายในชุมชน 4.คนในชุมชนมีสุขภาวะที่ดี 5.ชุมชนมีสภาพแวดล้อมภายในที่ชุมชนที่น่าอยู่

องค์การบริหารส่วนตำบลหัวดอน - โครงการบ้านน่าอยู่หมู่บ้านสะอาดลดขยะในชุมชน - วัตถุประสงค์:เพื่อจัดสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านให้สะอาด สวยงาม, เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธ์เชื้อโรค ป้องกันการเกิดโรคติดต่อในหมู่บ้าน, เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชน - กิจกรรม:รณรงค์ทำความสะอาดพร้อมกันทั้งหมู่บ้าน พร้อมทั้งดูแลบ้านเรือนให้สะอาด สวยงาม น่าอยู่ อสม. ดูแลควบคุมและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย - ส่งผลกับชุมชนดังนี้  1.สิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านสะอาด สวยงาม 2.ไม่มีแหล่งเพาะพันธ์เชื้อโรค 3.ปริมาณขยะในชุมชนลดลง

เทศบาลตำบลบ้านกอก
- โครงการขยับกายขยับใจไทบ้านกอก วัตถุประสงค์:เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายในสถานที่ทำงาน, เพื่อลดความเครียดในกลุ่มผู้ใหญ่ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก - กิจกรรม: กิจกรรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม(PA) และปฏิบัติการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ, รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ตระหนักในการออกกำลังกาย, คณะทำงานโครงการ สัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายในโครงการถึง การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย - ส่งผลกับชุมชนดังนี้  1.บุคลากรในหน่วยงานราชการตระหนักในการออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรค 2.บุคคลากรในหน่วยงานมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ

องค์การบริหารส่วนตำบลธาตุน้อย
- โครงการธาตุน้อยขยับตัว ห่างไกลออฟฟิศซินโดรม - วัตถุประสงค์:เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่, เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายในสถานที่ทำงาน - กิจกรรม: 1.ประชาสัมพันธ์รายละเอียดโครงการเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับกลุ่มเป้าหมายเข้าใจโครงการมากขึ้น โดยการจัดทำป้ายรายละเอียดโครงการ วิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และสื่อสารทางช่องทางกลุ่มไลน์ 2. กลุ่มเป้าหมายทำแบบประเมินโอกาสเสี่ยงโรคออฟฟิศซินโดรม  3. อบรมให้ความรู้เรื่องโรคออฟฟิศชินโดรม และให้ความรู้เรื่องออกกำลังกายที่เหมาะสมกับกลุ่มวัย โดยวิทยากรที่มีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย 4. อบรมฝึกปฏิบัติท่ากายบริหารออกกำลังกายป้องกันออฟฟิศซินโดรม โดยวิทยากรที่มีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย 5. ออกกำลังกายโดยท่าบริหารยึด-เหยียด กล้ามเนื้อ สัปดาห์ล่ะ 3 วัน ๆ ละ 1 ชั่วโมง หลังเลิกงาน (วันจันทร์,วันพุธ,วันศุกร์ ) อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม - ส่งผลกับชุมชนดังนี้  1. มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอให้กับกลุ่มเป้าหมาย 2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลังกายและการจัดการด้านอารมณ์ได้ด้วยตนเอง
3. กลุ่มเป้าหมายมีความเสี่ยงการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรมลดลง

นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ ผู้ประสานงานระดับเขตสุขภาพที่ 10 ได้สรุปการประชุมที่ผ่านมาได้มีการประชุมชี้แจงโครงการระดับอำเภอ การจัดทำบันทึกความร่วมมือระดับอำเภอ การแต่งตั้งคณะทำงานโดยการแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานระดับตำบล การเก็บข้อมูลสถานการณ์ การนำข้อมูลมาวิเคราะห์และพัฒนาแผนเขียนโครงการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ทั้งนี้ในระยะต่อไป คือ การทำข้อตกลงโครงการและตำบลดำเนินกิจกรรม PA ในพื้นที่ ร่วมทั้งนัดหมายมานำเสนอผลงานในวัน kickoff PA อ.หัวตะพาน ในวันที่ 30 สิงหาคม 2567
การนัดหมายครั้งถัดไปจะเป็น วันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ซึ่งจะไปเยี่ยมเยียนติดตามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ ว่าการอำเภอหัวตะพาน อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ

 

สนับสนุน PA ภาคเหนือ จำนวน 12 โครงการ (เดิม) 19 ก.ค. 2567 19 ก.ค. 2567

 

สนับสนุน PA ภาคเหนือ จำนวน 8 โครงการ

 

สนับสนุนกิจกรรม PA ดังนี้

  1. โครงการกิจกรรมทางกายของโรงเรียนตำบลบ้านแป้น/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านแป้น
  2. โครงการรวมพลคนรักษ์สุขภาพ
  3. โครงการอบรมให้ความรู้และส่งเสริมการออกกำลังกายกลุ่มผู้สูงอายุ
  4. โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายและโภชนาการกลุ่มเด็กและเยาวชนตำบลริมปิง
  5. โครงการโรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ เทศบาลเมืองน่าน (บ้านภูมินทร์)

ุ6. โครงการกิจกรรมทางกายเพียงพอด้วยการฟ้อนมองเซิงชุมชนบ้านดอนแก้ว 7. โครงการส่่งเสริมกิจกรรมทางกายผู้สูงอายุบ้านดู่ใต้ 8. โครงการส่งเสริิมกิจกรรมทางกายเด็กปฐมวัยตำบลดู่ใต้

 

สนับสนุนโครงการ PA ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 18 โครงการ 19 ก.ค. 2567 19 ก.ค. 2567

 

(Plan) สนับสนุนโครงการ PA ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 8 โครงการ (เดิม) (รอเบิกจ่าย)

 

(Plan) สนับสนุนโครงการ PA ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 8 โครงการ (เดิม) (รอเบิกจ่าย)

 

(Plan) สนับสนุนโครงการ PA ภาคเหนือ 23 ก.ค. 2567 23 ก.ค. 2567

 

สนับสนุนโครงการ PA ภาคเหนือ จำนวน  4 โครงการ ตอนนี้มี 3 โครงการ

 

สนับสนุนโครงการ PA ภาคเหนือ จำนวน  4 โครงการ  (เพิ่มเติม) (รอเบิกจ่าย)

 

(Plan) สนับสนุนโครงการ PA ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 23 ก.ค. 2567 23 ก.ค. 2567

 

สนับสนุนโครงการ PA ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน  4 โครงการ (เพิ่มเติม) (รอเบิกจ่าย)

 

สนับสนุนโครงการ PA ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน  4 โครงการ (เพิ่มเติม) (รอเบิกจ่าย)

 

(Plan) สนับสนุนโครงการ PA ภาคใต้ (เพิ่มเติม) 23 ก.ค. 2567 23 ก.ค. 2567

 

สนับสนุนโครงการ PA ภาคใต้ จำนวน 4 โครงการ (เพิ่มเติม) (รอเบิกจ่าย)

 

สนับสนุนโครงการ PA ภาคใต้ จำนวน 4 โครงการ (เพิ่มเติม) (รอเบิกจ่าย)

 

ประชุมติดตามแผนและโครงการกิจกรรมทางกาย เพื่อดำเนินกิจกรรม PA อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ 31 ก.ค. 2567 31 ก.ค. 2567

 

ประชุมติดตามแผนและโครงการกิจกรรมทางกาย เพื่อดำเนินกิจกรรม PA อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ - วันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00 – 12.00 น.  ณ ห้องประชุมชั้น 2 ที่ว่าการอำเภอหัวตะพาน อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ - วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม 2567 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 ที่ว่าการอำเภอเขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี

 

  1. ได้โครงการที่รับทุนการสนับสนุนให้สมบูรณ์ และสามารถดำเนินกิจกรรม PA ในพื้นที่ได้
  2. เกิดโครงการนำร่องกิจกรรม PA ในอ.เขื่องใน และ อ.หัวตะพาน จำนวน 20 โครงการ
    ......

 

การประชุมจัดทำแผนและโครงการ PA จ.นครพนม ครั้งที่ 2 กลุ่มเป้าหมายอำเภอเรณูนคร 2 ส.ค. 2567 2 ส.ค. 2567

 

การประชุมจัดทำแผนและโครงการ PA จ.นครพนม ครั้งที่ 2 การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนสุขภาพและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล https://localfund.happynetwork.org วันศุกร์ที่ 2 - เสาร์ที่ 3 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00-16.30 น. ณ หอประชุมจุลณี โรงเรียนธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

 

1) ผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจ ความสำคัญของการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และหลักการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
2) หลักการทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย คู่มือส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 4 คำถาม 1.1 ขณะเราอยู่ที่ไหน: สถานการณ์สุขภาพ/สถานการณ์กิจกรรมทางกาย 1.2 เราต้องการไปที่ใด: กำหนดจุดหมาย/เป้าหมายร่วม 1.3 เราจะไปอย่างไร: ร่วมกันวางแผนและดำเนินงาน 1.4 เราไปถึงหรือยัง: ติดตามประเมินผลและสรุปบทเรียน
3) ได้แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ผ่านเว็บไซต์ระบบกองทุนสุขภาพตำบล https://localfund.happynetwork.org สมาร์ท อสม. แอปพลิเคชันให้ความรู้และคำแนะนำสำหรับอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน
4) มีความเข้าใจการจัดการระบบสุขภาพชุมชน
5) การปฐมพยาบาลฉุกเฉิน และการกู้ชีพพื้นฐาน
6) ผู้เข้าร่วมมีทักษะการเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ปฏิบัติการเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ผ่านระบบเว็บไซต์กองทุนสุขภาพตำบล

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามประเมินผลด้วยกระบวนการ HIA PA 5 ส.ค. 2567 5 ส.ค. 2567

 

การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA Intensive Workshop)
วันที่ 5-9 สิงหาคม 2567 ณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

วัตถุประสงค์: เพื่อเสริมศักยภาพภาคีเครือข่ายมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการประเมินผลกระทบสุขภาพในกระบวนการนโยบายสาธารณะและเรียนรู้เครื่องมือต่างๆ ได้แก่ เครื่องมือทางสังคมการประเมินผลตอบแทนทางสังคม (SROI) เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการติดตามประเมินผลโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ได้

สรุปประเด็นสำคัญ:
1. คณะทำงานโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการประเมินผลกระทบสุขภาพ ดังนี้
- ระบบสุขภาพและปัจจัยกำหนดสุขภาพ - แนวโน้มและทิศทางการพัฒนาที่มีผลกระทบต่อระบบสุขภาพ - แนวคิด หลักการประเมินผลกระทบ และระบบการประเมินผลกระทบที่สำคัญ - การประเมินผลกระทบทางสุขภาพในกระบวนการนโยบายสาธารณะ Overview ขั้นตอนกระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ - การกลั่นกรอง (Screening) - การกำหนดขอบเขตแนวทางการประเมินผลกระทบ (Scoping) - การประเมินผลกระทบ (Assessing) - การจัดทำร่างรายงาน (Reviewing) - การผลักดันสู่การตัดสินใจ (Decision making) - การติดตามและประเมินผล (Monitoring and Evaluation) - การใช้กระบวนการและเครื่องมือการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม (SROI) ในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ - การใช้กระบวนการและเครื่องมือทางสังคมในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ - ความจำเป็นและบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ - แนวทางการบรรลุมาตรฐานระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Environmental Health Accreditation-EHA): ระบบการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (EHA 8000) 2. หลักการการประเมินผลกระทบสุขภาพจะถูกนำไปใช้ในการประเมินผลกระทบสุขภาพต่อใน 3 ภาค รวมกรณีศึกษา 6 จังหวัด
3. ผลการประเมินผลกระทบสุขภาพฯ ข้อมูลจะถูกนำไปใช้วางแผนดำเนินงานและขับเคลื่อนเชิงนโยบายสาธารณะในการเพิ่มกิจกรรมทางกายของประเทศไทยต่อไป

 

ติดตามความก้าวหน้าพื้นที่ อบต.ป่าร่อน 12 ส.ค. 2567 12 ส.ค. 2567

 

-

 

-

 

สำนักวิชาการและนวัตกรรม สสส. ลงพื้นที่ อบต.ปากแพรก สุราษฎร์ 13 ส.ค. 2567 13 ส.ค. 2567

 

สุราษฎร์ธานี// อบต.ปากแพรก ดอนสัก ต้อนรับคณะสำนักวิชาการและนวัตกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เยี่ยมชมพื้นที่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะ

 

วันที่ 13 ส.ค.2567 เวลา 1500 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนบ้านเขาพระอินทร์ อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดร.ณัฐพันธ์ุ ศุภกา รักษาการผู้อำนวยการสำนักวิชาการและนวัตกรรม และคณะ จากสำนักวิชาการและนวัตกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เยี่ยมชมลงพื้นที่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะ โดยมี สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ,นายปราโมทย์ เพชรรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก,คณะผู้บริหาร,ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเขาพระอินทร์ และคณะอาจารย์,สื่อมวลชน และภาคีเครือข่าย ให้การต้อนรับ
สำหรับการเดินทางมาเยี่ยมชมพื้นที่และศึกษาดูงานครั้งนี้ เพราะ อบต.ปากแพรกเป็นพื้นที่ต้นแบบที่มีการพัฒนาเชิงนวัตกรรมเชิงกระบวนการในการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เพื่อฟื้นฟูให้คนไทยทุกกลุ่มทุกคนมีโอกาส และความตระหนักในการเข้าถึงความรู้ พื้นที่สุขภาวะ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้มีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอต่อการป้องกันโรคภัยและมีสุขภาวะที่ดี ทั้งด้านกาย จิตปัญญา และสังคมเพื่อส่งเสริมให้คนไทยร่วมกันออกกำลังกาย เพื่อให้ได้สุขภาพที่ดีกว่าไปด้วยกัน



ประมวลข่าว Cr.ท่าชนะนิวส์และ สื่อพลเมืองอาสาภาคใต้

สสส.เยี่ยมชมพื้นที่อบต.ปากแพรกแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะ

สื่อพลเมืองอาสาภาคใต้ https://www.facebook.com/100062706441596/posts/pfbid02A8XiJTG5vES1jfSBKnuSCi9UmEZmXeTsNaXvHFEe13esWxq6FS4YqFe9nQEzf1qol/

ท่าชนะนิวส์ https://www.facebook.com/100078345048582/posts/pfbid02daV81WPivVnDZgEvi2BJfWDn2JvTVEW4kEN7W9Q67d3PxBkvnMk1ij2K3RqtVG9zl/

สื่อมีเดียทูเก็ทเทอร์ https://www.facebook.com/100042114410231/posts/pfbid0sJC4bNHpTSMvdjpSDknJue4joD86xneD2PDcEtrFtx5x4cjyRTEPE4HzsGF2NbnHl/

ศูนย์ข่าว ทสปช.กอ.รมน.ภาค 4 https://www.facebook.com/100068912842074/posts/pfbid02Pq2tmdKPy3EicsND1FF1re9UK2fHjsuTUMPBEkxVW4Jy7mjBH5WQRQYvtMCv67K6l/

 

ติดตามความก้าวหน้าพื้นที่ อบต.น้ำพุ 13 ส.ค. 2567 13 ส.ค. 2567

 

-

 

-

 

ติดตามประเมินผลถอดบทเรียนโครงการ PA ที่ได้รับทุน จ.สุราษฯ 14 ส.ค. 2567 14 ส.ค. 2567

 

การประชุมปฏิบัติการสรุปผลและถอดบทเรียนโครงการตามโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย วันที่ 14 สิงหาคม 2567 ณ ห้องประชุมโรงแรมร้อยเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

วันที่ 14 ส.ค.2567 เวลา 0900 น. ห้องประชุมโรงแรมร้อยเกาะ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส.มอ.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกลุ่มเครือข่ายภาคีผู้เสนอโครงการขอรับทุน เจ้าหน้าที่กองทุน คณะทำงาน ฯ และสื่อมวลชน ประชุมสรุปผลและถอดบทเรียนรายละเอียดโครงการ และสร้างความเข้าใจรายละเอียดกิจกรรม ผลลัพธ์โครงการ ข้อเสนอแนะระดับกองทุน และระดับนโยบาย ในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ ส่งเสริมกิจกรรมทางกายภายใต้โครงการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในจังหวัดสุราษฎร์ธานี


ประมวลภาพข่าว สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส.มอ.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ประชุมสรุปผลและถอดบทเรียน โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

สื่อมีเดีย ทูเก็ทเทอร์
https://www.facebook.com/100042114410231/posts/pfbid0rcsnDeE45krb6V1Q6NneV9jrAJqDGMoFVhK6mKv3zNLEu49kZP61CD1qEiCPDmM8l/

ท่าชนะนิวส์ https://www.facebook.com/100078345048582/posts/pfbid02DFGnqsM6NKxTp5BeTKQxxEkjTPs29BNWumyibpAZuqeryr6uabzQUXppVVJFvLEQl/

**ศูนย์ข่าว ทสปช.กอ.รมน.ภาค4 https://www.facebook.com/100068912842074/posts/pfbid02dmBvPqdqaj4bb4ACZbzbXZAh6jsR3Dw1XHLVhfUuz59ZbNdX1iCTdUwBzExxTU3Kl/

สื่อพลเมืองอาสาภาคใต้ https://www.facebook.com/100062706441596/posts/pfbid027pkMoRMGWKaKPeUg2B18UBoWAvnZZPcsB6oHN3vkkdSY8iwB9BVGrqgsE28LN3tGl/

วิสัยใต้มีเดีย https://www.facebook.com/share/p/DZngsFcvSZc7A4Aa/?mibextid=oFDknk

สื่อพลเมืองอาสาอำเภอสวี https://www.facebook.com/61555492872211/posts/pfbid025rx7V1H1JfA9TewXGbPXNLezfEWYsTWU6MP3WmQsGDYUXq8HYRcSXwtjq9F6sf5hl/

 

ติดตามประเมินผลโครงการ PA ที่ได้รับทุน จ.ตรัง 16 ส.ค. 2567 16 ส.ค. 2567

 

ประชุมปฏิบัติการสรุปผลและถอดบทเรียนโครงการตามโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
วันที่ 16 สิงหาคม 2567 ณ ห้องประชุมชั้น 2 เทศบาลตำบลโคกหล่อ (ทต. โคกหล่อ) อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

 

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ และเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ร่วมกับสำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอผ่านการสื่อสารและการสนับสนุนจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้ดำเนินการมาตามลำดับ จนถึงการประชุมสรุปผลและถอดบทเรียนโครงการ ในวันที่ 16 สิงหาคม 2567 เวลา 08.30-16.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 เทศบาลตำบลโคกหล่อ (ทต. โคกหล่อ) อำเภอเมืองตรัง ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้ - มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความเข้าใจและพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายประเด็น การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การมีฐานข้อมูลสุขภาพ หลักการทำแผนและโครงการ การบริหารจัดการโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชุมชน
- ได้จัดทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายระดับตำบลใน 10 ท้องถิ่นของจังหวัดตรัง
- มีพื้นที่นำร่องสุขภาวะที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกายใน 2 แห่ง ได้แก่ อบต.ปะเหลียน และ อบต.น้ำผุด โดยโครงการนี้ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในด้านสุขภาพและกิจกรรมทางกายในระดับท้องถิ่นของจังหวัดตรัง โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและการพัฒนาพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายอย่างยั่งยืน - สนับสนุนโครงการกิจกรรมทางกาย จำนวน 9 โครงการ โดยส่งเสริมกิจกรรมทางกายทุกช่วยวัยเด็ก ส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยกีฬา การเดินและปั่นจักรยานในชุมชน ส่งเสริมกิจกรรมทางกายกับวัฒนธรรมท้องถิ่นมโนราห์ เป็นต้น
- แนวคิดการออกแบบเน้นที่การสร้างพื้นที่สุขภาวะที่ปลอดภัยและเอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของและการใช้ประโยชน์พื้นที่ร่วมกัน ส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจ มีทั้งหมด 2 พื้นที่นำร่อง: 1. อบต.ปะเหลียน อ.ปะเหลียน จ.ตรัง: ด้วยจุดเด่นมีน้ำตกหลายแห่ง การออกแบบใช้แนวคิดสายธารน้ำตกออกแบบพื้นที่เป็นสวนหย่อมสุขภาวะ มีลานศาลาเพื่อให้ผู้สูงอายุออกจากบ้านมามีกิจกรรมทางกาย สามารถเดิน วิ่ง และเต้นแอโรบิกได้ จุดเด่นคือการมีพื้นที่รองรับกิจกรรมทั้งในระดับปานกลางถึงหนัก เพื่อส่งเสริมสุขภาพคนในชุมชน 2. อบต.น้ำผุด อ.เมือง จ.ตรัง : ด้วยจุดเด่นเป็นพื้นที่ใกล้ต้นน้ำทำให้มีตาน้ำผุดออกมาจากพื้นที่ การออกแบบจึงใช้แนวคิดตาน้ำผุดเป็นจุดออกกำลังในจุดต่างๆ ให้เป็นสวนหย่อมสุขภาวะ มีเส้นทางลู่เดินวิ่งรอบสระน้ำที่มีจุดเด่นเป็นรูปหัวใจ มีศาลาพักผ่อนกลางสระน้ำและลานกิจกรรมสำหรับชุมชน ส่งเสริมการใช้จักรยานในพื้นที่ และจัดให้มีจุดจอดจักรยานและพื้นที่ยืดเหยียดสำหรับนักปั่น - ทีมงานสื่อสาธารณะจังหวัดตรังทำการสื่อสารโดยจัดทำสื่อเผยแพร่พื้นที่ดีๆ จำนวน 3 คลิปวิดีโอ - โครงการดำเนินกิจกรรมจำนวน 9 โครงการ ดังนี้
1) โครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพขยับกาย สบายชีวา ปี 2567 โดย องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง 2) โครงการเด็กและเยาวชนสุขภาพดี ชีวีสดใสด้วยโนรา ตำบลหาดสำราญ จังหวัดตรัง 3) โครงการกิจกรรมทางกาย สูงวัยบ้านน้ำผุด สุขภาพดี ตำบลน้ำผุด จังหวัดตรัง 4) โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ด้วยกีฬาเปตองเพื่อสุขภาพในเด็กวัยเรียน เทศบาลตำบลย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง 5) โครงการส่งเสริมเด็กเยาวชนให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นด้วยการเล่นฟุตบอล เทศบาลตำบลนาโยงเหนือ  อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง 6) โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ออกกำลังกายด้วยการรำไม้พลอง เพื่อสุขภาพ เทศบาลตำบลโคกหล่อ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง 7) โครงการหนูน้อย พัฒนาการสมวัยด้วยการออกกำลังกาย อบต.ปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง" 8) โครงการอนุรักษ์ความเป็นไทย ออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้าของผู้สูงอายุ อบต.ปากคม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง 9) โครงการ ส่งเสริมการเดิน วิ่งและใช้จักรยานในชุมชน อบต.บ้านโพธิ์ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

 

ประชุมรับฟังความคิดเห็นเพื่อการกลั่นกรองและกำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโครงการฯ 25 ส.ค. 2567 25 ส.ค. 2567

 

-

 

-

 

อบรม Health Promotion สสส. 29 ส.ค. 2567 29 ส.ค. 2567

 

อบรม Health Promotion สสส.

 

ถอดโมเดลการเรียนรู้หลักสูตรแนวคิดและหลักการสร้างเสริมสุขภาพ จัดโดย สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ (ThaiHealth Academy) เมื่อวันที่ 29-30 สิงหาคม 2567 ทางแผนงานโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สนส.ม.อ. ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้
สรุปการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย Mappingกับโมเดล ThaiHealth Working Model โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วน ดังนี้ 1. การสื่อสาร รณรงค์ และสุขศึกษา - การให้ความรู้ด้านการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย - การพัฒนาศักยภาพการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ท้องถิ่น เป็นการขับเคลื่อนข้อมูลข่าวสารไปยังบุคคลและกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ โดยอาศัยสื่อท้องถิ่นและเครือข่ายพี่เลี้ยงในพื้นที่ ซึ่งเน้นการสื่อสารเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ท้องถิ่น ***ความตระหนักรู้และพฤติกรรม
- การขับเคลื่อนนโยบายและการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมทางกาย ทั้งในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และชุมชน - สนับสนุนปฏิบัติการทดลองกิจกรรมนำร่อง เพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน 2. ชุมชนเข้มแข็ง
- คนในชุมชน/ชมรม/เครือข่ายในระดับพื้นที่ สามารถเขียนโครงการและได้รับทุนสนับสนุนการทำโครงการจากกองทุนสุขภาพตำบล และแหล่งทุนอื่นๆ ในพื้นที่
3. เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ
งานกิจกรรมทางกาย ปี 2567 สร้างความร่วมมือ กับเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ ดังนี้
การกีฬาแห่งประเทศไทย - เครือข่ายอาสาสมัครกีฬาและผู้นำการออกกำลังกาย กระทรวงมหาดไทย - กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
- สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย - สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย - สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย
- กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายสื่อ 3. นโยบายสาธารณะและการขับเคลื่อนเชิงพื้นที่ - ปี 2567 ขับเคลื่อนโยบายขับเคลื่อนพื้นที่สุขภาวะ - มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มติ 10.1 การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น 4. สังคมและสิ่งแวดล้อม: การออกแบบและพัฒนาสภาพแวดล้อมในชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป็นการออกแบบทางสถาปัตยกรรมพื้นที่สาธารณะให้เหมาะสมสำหรับการทำกิจกรรมทางกาย
5. บริการด้านสุขภาพ, สวัสดิการ
- การบูรณาการประเด็นกิจกรรมทางกายในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน - แผนในอนาคตการขยายกลไกการดูแลสุขภาพ เช่น นักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัด แพทย์แผนไทย แผนภาพโมเดล ThaiHealth Working Model นี้แสดงถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ระบบกลไกต่าง ๆ ในการสร้างเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงต่อโรค NCDs โดยใช้ชุมชนเป็นฐานและการสนับสนุนเชิงนโยบาย

 

ประชุมกับ ผอ.กกท.ตรัง เรื่องการถอดบทเรียน 5 ก.ย. 2567 5 ก.ย. 2567

 

ประชุมกับ ผอ.กกท.ตรัง เรื่องการถอดบทเรียน

 

ถอดบทเรียนการขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายจังหวัดตรัง

 

ถอดบทเรียนสัมภาษณ์เชิงลึกการขับเคลื่อน PA ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 6 ก.ย. 2567 6 ก.ย. 2567

 

ถอดบทเรียนสัมภาษณ์เชิงลึกการขับเคลื่อน PA ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

  • ถอดบทเรียน สัมภาษณ์บุคคลต้นแบบ หรือ “Active People” ซึ่งเป็นบุคคลที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกายและมีวิถีชีวิตที่เน้นการมีกิจกรรมทางกายอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ เป็นบุคคลสำคัญในการขับเคลื่อนกลไกการทำงานของโครงการให้ประสบความสำเร็จ และได้รับความร่วมมือจากบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนโครงการ PA (Physical Activity) ซึ่งได้ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
  • การขับเคลื่อนในพื้นที่ภาคใต้ ได้แก่ การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายระดับจังหวัดผ่านการกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง  รวมถึงมีการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับท้องถิ่นที่
  • กระบวนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ซึ่งจะถูกนำเสนอในสารคดีถอดบทเรียนในโอกาสต่อไป

 

ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง 8 อปท. อำเภอหัวตะพาน จังหวัด อำนาจเจริญ 12 ก.ย. 2567 12 ก.ย. 2567

 

กำหนดการ ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง 8 อปท. อำเภอหัวตะพาน จังหวัด อำนาจเจริญ
วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ.2567 เวลา 09.00 – 20.00 น.
ณ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ

1) วัตถุประสงค์   1.1) เพื่อสรุปแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่
  1.2) เพื่อสรุปผลการถอดบทเรียนรูปแบบกิจกรรมและพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะ
  1.3) เพื่อสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมในการสร้างกลไกความร่วมมือบันทึกข้อตกลงส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
2) ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 70 คน   2.1) นายกเทศมนตรี/นายกอบต. 8 แห่งๆ ละ 1 คน  จำนวน 8 คน   2.2) ปลัดเทศบาล/ปลัดอบต.  8 แห่งๆ ละ 1 คน  จำนวน 8 คน   2.3) ผอ.กองสาธารณสุข/ผอ.กองการศึกษา/ผอ.กองช่าง 8 แห่งๆ ละ 2 คน จำนวน 16 คน   2.4) หัวหน้าสำนักปลัด 8 แห่งๆ ละ 1 คน      จำนวน 8 คน   2.6) ผู้รับทุนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 8 แห่ง แห่งๆ ละ 2 คน จำนวน 16 คน
3) ภาคีเครือข่าย   3.1) สาธารณสุขอำเภอ/จนท.ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 คน   3.2) ท้องถิ่นอำเภอ จำนวน 1 คน   3.3) คณะทำงานเขต/จังหวัด จำนวน 7 คน   3.4) คณะทำงานจากสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 3 คน   3.5) โหนดจังหวัด (สสส.) จำนวน 1 คน กำหนดการ เวลา รายละเอียด วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ.2567 09.30 – 10.00 น. ลงทะเบียน รับเอกสาร 10.00 – 10.30 น. กล่าวรายงานความเป็นมาการดำเนินงานประชุมชี้แจงโครงการ
โดย นายกเทศมนตรีหัวตะพาน กล่าวเปิดการประชุมและมอบนโยบายการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่ สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย(PA) และการสื่อสารสาธารณะ ระดับตำบล และอำเภอ
โดย นายอำเภอหัวตะพาน
10.30 – 10.50 น. สรุปการดำเนินโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการสื่อสารสาธารณะระดับตำบลและอำเภอ” โดย ดร.เพ็ญ สุขมาก ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 10.50 – 11.10 น. ผลการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย โดย ผศ.กตัญญู หอสูติสิมา คณะสถาปัตย์ฯ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และนายชุนันทร์ วามะขัน
นักวิจัย/สถาปนิกศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 11.10 – 12.00 น. แบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็น สรุปผลการถอดบทเรียนรูปแบบกิจกรรมและพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะ โจทย์การแบ่งกลุ่ม ดังนี้ 1. สรุปภาพรวมแผนกิจกรรมทางกายและโครงการ
2. ผลลัพธ์กิจกรรมโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
3. แนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ 4. แนวทางการดำเนินงานต่อในระยะถัดไป
5. ปัจจัยเอื้อปัจจัยความสำเร็จ ปัจจัยอุปสรรค ข้อจำกัด โอกาสการพัฒนาต่อ
โดย นายรพินทร์ ยืนยาว มูลนิธิประชาสังคม อุบลราชธานี 12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.45 น. นำเสนอผลการถอดบทเรียนรูปแบบกิจกรรมและพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะ
โดย นายรพินทร์ ยืนยาว มูลนิธิประชาสังคม อุบลราชธานี 16.00 – 17.00 น. เวทีสาธารณะ “เสวนาแนวทางการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการสนับสนุนกิจกรรมโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อลดโรค NCDs” 17.00 – 19.00 น. กิจกรรมแลกเปลี่ยนนำเสนอกิจกรรมของชุมชน และเดินทำกิจกรรมตามบูธต่างๆ
โดย ท้องถิ่น 8 อปท. รับชมการแสดง 1. กิจกรรมการแสดงศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลหัวตะพาน 2. กิจกรรมการแสดง รร.ผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลหัวตะพาน 3. กิจกรรมการแสดง รร.ผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ 4. กิจกรรมเยี่ยมชมตลาดจำหน่ายสินค้า 5. กิจกรรมเยี่ยมชมบูธ - บูธตรวจสุขภาพ - บูธใส่ใจสิ่งแวดล้อม - บูธกิจกรรมแสดงผลงาน รร.ผู้สูงอายุ 6. กิจกรรมการละเล่นดนตรี

 

KICK OFF เวทีสาธารณะสวน 3 วัยใส่ใจ 3 อ. (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย)เทศบาลตำบลหัวตะพาน โดยมีนายประหยัด คูณมี นายอำเภอหัวตะพาน เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งมีการจัดแสดงกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมทางกายของกลุ่ม ชมรม เครือข่ายมวลชนในแต่ละชุมชน
และจัดเวทีเสวนาประเด็นสุขภาวะกับกิจกรรมทางกาย ซึ่งผู้ร่วมรายการประกอบด้วย
นายธนิต ชาววัง นายกเทศมนตรีตำบลหัวตะพาน
นายสุธรรม ยืนสุข นายกอบต.จิกดู่
นายเชวงศักดิ์ พุทธโธ ผอ.กองสาธารณสุข อบต.สร้างถ่อน้อย
นายอิทธิพล พิมพบุตร ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอหัวตะพาน
โดยมีนายสมเกียรติ ธรรมสาร ผอ.รพ.สต.สร้างถ่อน้อย ดำเนินรายการ
ซึ่งตอนหนึ่งนายอิทธิพล พิมพบุตร ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอหัวตะพานระบุว่าอำเภอหัวตะพานประสบปัญหาโรคไข้เลือดออกระบาดมาต่อเนื่องจากสถิติผู้ป่วยพบเป็นอันดับ 2 ของจังหวัด
ในขณะที่นายธนิต ชาววัง สะท้อนถึงปัญหางบประมาณในการสร้างภาวะดูแลผู้สูงอายุแต่ด้วยจิตอาสาของคณะทำงานที่จัดตั้งเป็นกลุ่มส่งผลให้การบริหารจัดการของโรงเรียนผู้สูงอายุราบรื่นขจัดอุปสรรคเรื่องงบประมาณไปได้มาก ปัจจุบันโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลหัวตะพานผลิตนักเรียนออกมาปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 8 แล้วซึ่งแต่ละรุ่นมีจำนวน 100 คน
ส่วนนายสุธรรม ยืนสุข นายกอบต.จิกดู่ ยอมรับว่าการดำเนินงานด้านสุขภาวะยังไม่เต็มร้อยเนื่องจากเป็นอปท.ขนาดเล็กมีงบประมาณน้อย อีกทั้งประสบปัญหาการมีส่วนร่วมโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงวัย การจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุจึงเดินหน้าได้เพียง 50 เปอร์เซ็นต์ แต่กระนั้นกิจกรรมด้านนันทนาการอื่นๆเช่น การแข่งขันกีฬาอบต.จิกดู่ได้จัดเป็นประจำทุกปี
ทางด้านนายเชวงศักดิ์ พุทธโธ ผอ.กองสาธารณสุข อบต.สร้างถ่อน้อย ชี้แจงว่าในพื้นที่ตำบลสร้างถ่อน้อยมีผู้สูงอายุราว 1,300 คน ซึ่งมากที่สุดของอำเภอส่วนหนึ่งมีลักษณะนิสัยต้องการอยู่ลำพัง ติดบ้าน ทางอบต.ก็ได้รณรงค์ชักชวนให้กลุ่มเหล่านั้นออกมาร่วมกิจกรรมผ่านโรงเรียนผู้สูงอายุปรับทัศนคติซึ่งทางโรงเรียนรับได้รุ่นละ 40 คนปัจจุบันมีนักเรียนจบไป 2 รุ่นแล้วและได้ย้ำว่าจุดแข็งของอบต.สร้างถ่อน้อยคือทีมผู้บริหารใส่ใจเรื่องนี้เป็นพิเศษโดยได้ประสานและได้รับทุนดำเนินงานกิจกรรมสุขภาวะจากสสส.มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557
ด้านดร.เพ็ญ สุขมาก ผอ.สถาบันนโยบายสาธารณะ ม.สงขลานครินทร์ กล่าวถึงโครงการดังกล่าวว่า มุ่งหวังให้ชุมชนได้ตระหนักถึงสุขภาพที่มีผลต่อโรคNCD (โรคไม่ติดต่อที่เกิดจากพฤติกรรม)ที่เกิดจากการมีกิจกรรมทางกายน้อยไม่เพียงพอซึ่งอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น การทำงาน การเดินทาง ของประชาชนในทุกช่วงวัยซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มสูงขึ้นไม่เป็นไปตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก

 

การเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอำนาจเจริญ 12 ก.ย. 2567 12 ก.ย. 2567

 

-

 

-

 

ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่ นำร่อง 12 อปท. อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี 13 ก.ย. 2567 13 ก.ย. 2567

 

กำหนดการ ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่ นำร่อง 12 อปท. อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ.2567 เวลา 09.00 – 20.00 น.
ณ______________ อำเภอเขื่องใน  จังหวัดอุบลราชธานี

1) วัตถุประสงค์     1.1) เพื่อสรุปแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่
    1.2) เพื่อสรุปผลการถอดบทเรียนรูปแบบกิจกรรมและพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะ
    1.3) เพื่อสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมในการสร้างกลไกความร่วมมือบันทึกข้อตกลงส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
2) ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 98 คน     2.1)  นายกเทศมนตรี/นายกอบต. 12 แห่งๆ ละ 1 คน            จำนวน 12 คน     2.2)  ปลัดเทศบาล/ปลัดอบต.      12 แห่งๆ ละ 1 คน            จำนวน 12 คน     2.3)  ผอ.กองสาธารณสุข/ผอ.กองการศึกษา/ผอ.กองช่าง 12 แห่งๆ ละ 2 คน จำนวน 24 คน     2.4)  หัวหน้าสำนักปลัด 12 แห่งๆ ละ 1 คน                        จำนวน 12 คน     2.6)  ผู้รับทุนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 12 แห่ง แห่งๆ ละ 2 คน จำนวน 24 คน
3) ภาคีเครือข่าย     3.1) สาธารณสุขอำเภอ/จนท.ที่เกี่ยวข้อง  จำนวน 2 คน     3.2) ท้องถิ่นอำเภอ  จำนวน 1 คน     3.3) คณะทำงานเขต/จังหวัด จำนวน 7 คน     3.4) คณะทำงานจากสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  จำนวน 3 คน     3.5) โหนดจังหวัด (สสส.)  จำนวน  1 คน   กำหนดการ เวลา รายละเอียด วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ.2567 09.30 – 10.00 น. ลงทะเบียน รับเอกสาร 10.00 – 10.30 น. กล่าวรายงานความเป็นมาการดำเนินงานประชุมชี้แจงโครงการ
โดย นายกเทศมนตรีเขื่องใน กล่าวเปิดการประชุมและมอบนโยบายการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่ สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย(PA) และการสื่อสารสาธารณะ ระดับตำบล และอำเภอ
โดย  นายอำเภอเขื่องใน 10.30 – 10.50 น. สรุปการดำเนินโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการสื่อสารสาธารณะระดับตำบลและอำเภอ” โดย  ดร.เพ็ญ สุขมาก  ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 10.50 – 11.10 น. ผลการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย โดย ผศ.กตัญญู หอสูติสิมา คณะสถาปัตย์ฯ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และนายชุนันทร์  วามะขัน
นักวิจัย/สถาปนิกศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 11.10 – 12.00 น. แบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็น สรุปผลการถอดบทเรียนรูปแบบกิจกรรมและพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะ โจทย์การแบ่งกลุ่ม ดังนี้ 1. สรุปภาพรวมแผนกิจกรรมทางกายและโครงการ
2. ผลลัพธ์กิจกรรมโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
3. แนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ 4. แนวทางการดำเนินงานต่อในระยะถัดไป
5. ปัจจัยเอื้อปัจจัยความสำเร็จ ปัจจัยอุปสรรค ข้อจำกัด โอกาสการพัฒนาต่อ
โดย นายรพินทร์  ยืนยาว มูลนิธิประชาสังคม อุบลราชธานี 12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.45 น. นำเสนอผลการถอดบทเรียนรูปแบบกิจกรรมและพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะ
โดย นายรพินทร์  ยืนยาว มูลนิธิประชาสังคม อุบลราชธานี 15.00 – 17.00 น. เวทีสาธารณะ “เสวนาแนวทางการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการสนับสนุนกิจกรรมโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อลดโรค NCDs” 17.00 – 19.00 น. กิจกรรมแลกเปลี่ยนนำเสนอกิจกรรมของชุมชน และเดินทำกิจกรรมตามบูธต่างๆ
รับชมการแสดง 1. กิจกรรมการแสดงศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบล 2. กิจกรรมการแสดง รร.ผู้สูงอายุ
3. กิจกรรมเยี่ยมชมตลาดจำหน่ายสินค้า 4. กิจกรรมเยี่ยมชมบูธ     - บูธตรวจสุขภาพ     - บูธใส่ใจสิ่งแวดล้อม     - บูธกิจกรรมแสดงผลงาน รร.ผู้สูงอายุ 5. กิจกรรมการละเล่นดนตรี

 

“เขื่องใน”KICK OFF กิจกรรมทางกาย พาเหรดโชว์ผลงานปิดโครงการ นอภ.ย้ำอยากเห็นอปท.ร่วมPAทั้งอำเภอ ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอเขื่องใน จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2567 คณะทำงานโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย(Physical Activity) หรือ PA และการสื่อสารสาธารณะระดับตำบลและอำเภอ ในพื้นที่นำร่อง ได้จัดการประชุมสรุปผลงานโครงการฯหลังดำเนินกิจกรรมครบตามวาระระหว่างเดือนเมษายน-สิงหาคม 2567โดยมีดร.เพ็ญ สุขมาก ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เปิดการประชุม มีอปท. 12 แห่งร่วมงานเพื่อนำเสนอผลงาน ตลอดจนสะท้อนปัญหา อุปสรรค ความต้องการเพื่อถอดบทเรียนนำไปสู่การเดินหน้าต่อยอดต่อไป สำหรับพื้นที่ของอ.เขื่องใน ที่เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย เทศบาลตำบลเขื่องใน ,อบต.หัวดอน, อบต.ศรีสุข, อบต.ท่าไห ,อบต.แดงหม้อ, อบต.กลางใหญ่, อบต.นาคำใหญ่ ,อบต.ก่อเอ้ , อบต.ค้อทอง, อบต.ธาตุน้อย, เทศบาลตำบลบ้านกอก และเทศบาลตำบลห้วยเรือ การนำเสนอผลงานส่วนใหญ่มุ่งเป้าไปที่สุขภาวะของผู้สูงอายุ โดยมีโรงเรียนผู้สูงอายุเป็นจุดศูนย์กลาง ส่วนใหญ่พบว่ามีโรคฮิตประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิต หลอดเลือดสมอง และมีพฤติกรรมกินอาหารรสจัด ส่วนปัญหาอุปสรรคในบางพื้นที่ เช่น อบต.ท่าให ต้องปรับทัศนคติผู้สูงอายุให้เข้าใจถึงปัญหาสุขภาพจากการใช้ชีวิตประจำวัน เรื่องอาหาร เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงซึ่งยอมรับว่ายากแต่ก็ต้องทำค่อยเป็นค่อยไป ในขณะที่อบต.นาคำใหญ่ ระบุว่าการสร้างแรงตระหนักในการมีส่วนร่วมกิจกรรมทางกายของกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มเยาวชนยังไม่เข้มแข็งพอเนื่องจากระยะเวลากระชั้นชิด และเกรงว่าเมื่อไม่มีงบประมาณมาสนับสนุนจะทำให้แรงขับเคลื่อนแผ่วลงขาดความต่อเนื่อง ในครั้งนี้ได้มีการเสนอแผนปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณที่ว่าการอำเภอรองรับกิจกรรมทางกายโดยทีมนักวิจัย สถาปนิกศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นำโดยผศ.กตัญญู หอสูติสิมา คณะสถาปัตย์ฯมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และนายชุนันท์ วามะขัน เป็นผู้ออกแบบ ผนวกกับเทศบาลจะมีการปรับพื้นที่และย้ายตลาดสดอีกด้วย ส่วนในภาคบ่ายมีกิจกรรมKICK OFF เวทีสาธารณะสวนฉำฉา หน้าหอประชุมที่ว่าการอำเภอเขื่องในโดยมีนายภัทรพล สารการ นายอำเภอเขื่องใน เป็นประธานเปิดงาน นายไพฑูรย์ จิตทวี นายกเทศมนตรีตำบลเขื่องใน กล่าวรายงาน ซึ่งมีการจัดแสดงกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมทางกายของนักเรียน กลุ่ม ชมรม เครือข่ายมวลชนในแต่ละชุมชน และจัดเวทีเสวนา เรื่องสุขภาวะกิจกรรมทางกายชุมชน ซึ่งผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย นายไพฑูรย์ จิตทวี นายกเทศมนตรีตำบลเขื่องใน นายชูวิทย์ ธานี นายแพทย์สาธารณสุขอำเภอเขื่องใน นายสุริยา บุญประทาน นายกอบต.ก่อเอ้ ดต.จำรูญสุข ภูวพงศ์ รองนายกอบต.หัวดอน โดยมีนางเสาวนีย์ กิตติพิทชานนท์ อ.คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ดำเนินรายการ ดต.จำรูญสุข ภูวพงศ์ รองนายกอบต.หัวดอน เผยจุดแข็งของอบต.หัวดอนมีธรรมนูญสุขภาพตำบลแห่งแรกของจังหวัดเมื่อ 22 ก.พ.2560 นับว่าเป็นตำบลเข้มแข็งระดับต้นๆของจังหวัด โรงเรียนผู้สูงอายุจบไปแล้ว 7 รุ่น ปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 8 ส่วนกิจกรรมทางกายได้รับการเสริมข้อมูลจากนางชาดา โพธิ์ขำ ปลัดอบต.หัวดอนว่าได้สร้างแรงตระหนักผ่านเจ้าหน้าที่เป็นแบบอย่าง มีข้าราชการพร้อมด้วยอสม.เป็นแกนนำในการออกกำลังกายเชิงนันทนาการ เช่น เต้นแอร์โรบิค โดยจัดทุกวันพุธ
ส่วนนายสุริยา บุญประทาน นายกอบต.ก่อเอ้ ยืนยันว่าอบต.ก่อเอ้มีมาตรการเฝ้าระวังเรื่องลดอุบัติเหตุ เป็นผลงานที่ภูมิใจจากการรณรงค์อย่างจริงจังและสร้างจิตสำนึกต่อเนื่องจนเห็นผลสัมฤทธิ์ ที่ผ่านมาจำนวนอุบัติเหตุ และจำนวนผู้เสียชีวิตลดมาก ส่วนกิจกรรมทางกายก็ได้จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกันโดยยึดโยงกับโรงเรียนประถม และโรงเรียนผู้สูงอายุ แต่ก็มีข้อจำกัดเพราะทำตามงบประมาณที่จำกัด ด้านนายไพฑูรย์ จิตทวี นายกทต.เขื่องใน ชี้แจงว่าการจัดกิจกรรมทางกายจัดต่อเนื่อง มีการปรับพื้นที่สาธารณะให้เอื้อกับกิจกรรมทางกายและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวด้วย พร้อมรับปากที่จะจัดกิจกรรมลักษณะนันทนาการทุกดือน หรือเดือนละสองครั้ง ตนยืนยันที่ผลักดันอย่างเต็มที่ แต่ยังมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณเป็นเงื่อนไขเชิงบริหารจัดการเนื่องจากเทศบาลมีงบฯจำกัด จึงขอฝากผ่านนักการเมืองรัฐบาลช่วยสนับสนุนงบประมาณด้วย อนึ่งอำเภอเขื่องในมี 19 อปท.เข้าร่วมโครงการกิจกรรมทางกาย หรือPA 12 อปท. ยังเหลือ 7 พื้นที่ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ ในครั้งนี้นายภัทรพล สารการ นายอำเภอเขื่องใน ได้เชิญชวนอบต.ที่เหลืออีก 7 พื้นที่เข้าร่วมโครงการในโอกาสต่อไปเพื่อให้กิจกรรมทางกายมีพลังเต็มทั้งอำเภอ ในครั้งนี้ดร.เพ็ญ สุขมาก ผอ.สถาบันนโยบายสาธารณะ ม.สงขลานครินทร์ กล่าวแสดงความยินดีและพึงพอใจต่อผลงานที่อปท.ร่วมกันสร้าง และหวังว่าโอกาสหน้าโครงการจะได้รับการสนับสนุนผลักดันจากผู้บริหารแต่ละอปท.เพื่อสร้างความมั่นคงในสุขภาพของคนในชุมชน ลดความเสี่ยงความเจ็บป่วยจากโรคNCD ซึ่งแฝงอยู่กับพฤติกรรมอาชีพ การทำงาน การเดินทาง ของแต่ละคนในชีวิตประจำวันนั่นเอง อีกทั้งคาดหวังกับการสร้างกลไกให้เอื้อต่อการการเข้าถึง การรวมกลุ่มเพื่อสร้างกิจกรรมสร้างชุมชนเข้มแข็ง มีระบบ กติกาข้อตกลงร่วมกันกับองค์กร หน่วยงาน และสามารถที่จะเขียนโครงการเพื่อขอรับงบฯสนับสนุนจากองค์กรต่างๆได้ ด้านนางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ ผู้รับผิดชอบโครงการเขต 10 ได้กล่าวย้ำว่าการทำงานร่วมกันที่ผ่านมาอยากให้อปท.นำไปถอดบทเรียนนำไปสู่การต่อยอด แม้วันนี้จะเป็นการสรุปผลปิดโครงการภายใต้นิยาม Kick Off แต่คณะทำงานโครงการต้องการให้อปท.เริ่มบทบาทสานต่อด้วยตนเองKick Off โดยคณะทำงานโครงการจะอยู่เบื้องหลังเป็นพี่เลี้ยงให้ เพื่อต่อยอดสร้างเครือข่ายให้เห็นผลต่อเนื่องต่อไป
ทั้งนี้โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)โดยความร่วมมือระหว่างสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ,มูลนิธิประชาสังคมอุบลราชธานี

.................................สมศักดิ์ รัฐเสรี (ทีมสื่อ PA ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) รายงาน

 

การประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พื้นที่ อบต.น้ำผุด และ อบต.ปะเหลียน จ.ตรัง 14 ก.ย. 2567 14 ก.ย. 2567

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พื้นที่ อบต.น้ำผุด และ อบต.ปะเหลียน จ.ตรัง วันที่ 14 กันยายน 2567 เวลา 09.00-16.00 น.  ณ อบต.น้ำผุด วันที่ 15 กันยายน 2567 เวลา 09.00-16.00 น.  ณ อบต.ปะเหลียน

 

“การประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จ.ตรัง” เมื่อวันที่ 14-15 กันยายน 2567 เวลา 09.00-16.00 น. ณ องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด และองค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน จังหวัดตรัง ได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย” ในพื้นที่ อบต.น้ำผุด และ อบต.ปะเหลียน โดยมีอาจารย์และนักศึกษาปริญญาโทจากสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) เข้าร่วมในการศึกษาวิทยาการการประเมินผลกระทบทางสุขภาพและลงพื้นที่ปฏิบัติจริง การประชุมครั้งนี้เน้นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ ซึ่งครอบคลุมทั้งเด็ก วัยทำงาน และผู้สูงอายุ โดยได้รับความร่วมมืออย่างดีจากผู้บริหารท้องถิ่น บุคลากรท้องถิ่น ประชาชนในพื้นที่ และภาคีเครือข่ายในจังหวัดตรัง กิจกรรมสำคัญในการประชุมเชิงปฏิบัติการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ดังนี้ 1. การทำแผนและโครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย 2. การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่หลากหลายและเหมาะสมกับทุกวัย 3. การสนับสนุนโครงการย่อย ในพื้นที่ผ่านโครงการหลักและกองทุนสุขภาพตำบล

การประชุมได้สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพทั้งในแง่บวกและด้านที่ต้องปรับปรุง ข้อมูลที่ได้รับจากการประเมินครั้งนี้จะถูกนำเสนอคืนแก่ท้องถิ่น เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่อย่างยั่งยืนในอนาคต

 

ประชุมวางแผนถอดบทเรียนและการจัดเวทีสาธารณะเพื่อพัฒนานโยบายและพื้นที่สุขภาวะต้นแบบ / zoom 16 ก.ย. 2567 16 ก.ย. 2567

 

ประชุมวางแผนถอดบทเรียนและการจัดเวทีสาธารณะเพื่อพัฒนานโยบายและพื้นที่สุขภาวะต้นแบบ

 

การประชุมวางแผนเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2567 คณะทำงานพี่เลี้ยง อาจารย์สถาปัตยกรรม เครือข่ายสื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายภาคเหนือ และท้องถิ่นนำร่องในโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ภาคเหนือ จังหวัดน่านและลำพูน มุ่งเน้นการถอดบทเรียนและการจัดเวทีสาธารณะเพื่อพัฒนานโยบายและพื้นที่สุขภาวะต้นแบบ โดยจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างท้องถิ่น 20 แห่ง

กระบวนการถอดบทเรียน แบ่งกลุ่มเพื่อระดมความคิดเห็น โดยแต่ละกลุ่มสรุปผลจากรูปแบบกิจกรรมและการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะ แบ่งโจทย์การถอดบทเรียนเป็น 3 ประเด็นหลัก: 1. เกิดแผนงาน/โครงการ สนับสนุนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่พอเพียงและคำนึงถึงความปลอดภัยใน อปท.
2. มีเครือข่ายที่มีศักยภาพในการพัฒนาแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย 3. เกิดพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย นำร่อง

เวทีเสวนา: “ถอดบทเรียนรูปแบบกิจกรรมและพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะ และแนวทางการพัฒนาต่อ”
ประเด็นการแลกเปลี่ยน: 1. นโยบายในการสนับสนุนให้เกิดแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (Physical activity: PA) ใน อปท.เขตรับผิดชอบของท่าน/หรือไม่ อย่างไร
2. โครงการตามแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายได้รับงบประมาณสนับสนุนไปดำเนินการหรือไม่ /ทำโครงการแล้วเกิดผลลัพธ์อย่างไรบ้าง /หน่วยงาน/กลุ่ม/เครือข่ายใดบ้างได้รับการสนับสนุนงบประมาณ 3. การส่งเสริม PA ในท้องถิ่นท่านมีอะไรทำได้ดี/และไม่ดี เกิดจากปัจจัยเอื้อให้สำเร็จอะไรบ้าง ปัจจัยอุปสรรคอะไรบ้าง
4. พื้นที่นำร่องต้นแบบสุขภาวะ PA เมื่อได้มีแบบทางสถาปัตยกรรมแล้ว จะนำแบบไปปฏิบัติจริงได้หรือไม่ มีแนวทางอย่างไรบ้าง
5. แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย PA แต่ละท้องถิ่นจะดำเนินการอย่างไรต่อ

 

คณะทีมงานสื่อ PA จังหวัดตรัง และพี่เลี้ยงจังหวัดตรัง พัฒนาสื่อสาธารณะในพื้นที่จังหวัดตรัง / zoom 17 ก.ย. 2567 17 ก.ย. 2567

 

วันที่ 17 กันยายน 2567  คณะทีมงานสื่อ PA จังหวัดตรัง และพี่เลี้ยงจังหวัดตรัง  พัฒนาสื่อสาธารณะในพื้นที่จังหวัดตรัง ประเด็นที่หารือ: การจัดทำคลิปสื่อสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายและสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก และเยาวชน

 

"สื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายจังหวัดตรัง: เยาวชนหาดสำราญสืบสานศิลปะการแสดงโนราผสมผสานกับการออกกำลังกาย รองรับสังคมสูงวัยด้วยกิจกรรมที่กระฉับกระเฉงในตำบลน้ำผุดและโคกหล่อ"

วันที่ 17 กันยายน 2567 คณะทีมงานสื่อ PA จังหวัดตรัง และพี่เลี้ยงจังหวัดตรัง พัฒนาสื่อสาธารณะในพื้นที่จังหวัดตรัง ประเด็นที่หารือ: การจัดทำคลิปสื่อสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายและสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก และเยาวชน

สาระสำคัญ: 1: "กิจกรรมทางกาย สูงวัยบ้านน้ำผุด สุขภาพดี"   - เนื้อหา : การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลน้ำผุด ผ่านกิจกรรมออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวทางกาย เดินไปวัด ปลูกผักปลอดสารพิษ รำไม้พลอง ณ พื้นที่สาธารณะ องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด จังหวัดตรัง

  1. "เด็กและเยาวชนสุขภาพดี ชีวีสดใสด้วยโนรา"   - เนื้อหา: การส่งเสริมสุขภาพเด็กและเยาวชนในตำบลหาดสำราญ ด้วยการผสมผสานศิลปะการแสดงโนราเข้ากับการออกกำลังกาย ณ หาดสำราญ องค์การบริหารส่วนตำบลหาดสำราญ จังหวัดตรัง

  2. "ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ออกกำลังกายด้วยการรำไม้พลอง"   - เนื้อหา: การส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการรำไม้พลองสำหรับผู้สูงอายุและการใช้พื้นที่สาธารณะที่มีประสิทธิภาพในชุมชนตำบลโคกหล่อ ณ เทศบาลตำบลโคกหล่อ จังหวัดตรัง

การประชุมได้ข้อสรุปในการพัฒนา 3 คลิปสื่อสาธารณะ เพื่อสื่อสารแนวทางการส่งเสริมสุขภาพและกิจกรรมทางกาย โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายคือผู้สูงอายุและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดตรัง คณะทำงานจะประสานงานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่เพื่อจัดทำสื่อให้เหมาะสมกับบริบทของชุมชน

 

หารือแนวทางการประเมิน SROI การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 21 ก.ย. 2567 21 ก.ย. 2567

 

หารือแนวทางการประเมิน SROI การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย กับ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2567 ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และทีมงาน ได้หารือร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อกำหนดแนวทางการประเมิน Social Return on Investment (SROI) สำหรับโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่สาธารณะและการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชุมชน การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้และแนวทางที่ชัดเจนในการนำ SROI มาใช้ประเมินผลตอบแทนทางสังคมต่อไป

 

การประชุมปฏิบัติการสรุปผลและถอดบทเรียนโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย นำร่องจังหวัดลำพูนและน่าน 21 ก.ย. 2567 21 ก.ย. 2567

 

การประชุมปฏิบัติการสรุปผลและถอดบทเรียนโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย นำร่องจังหวัดลำพูนและน่าน วันเสาร์ 21 กันยายน พ.ศ.2567 เวลา 13.00 – 17.00 น.
และวันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน 2567 เวลา 8.30 – 13.00 น. ณ โรงแรมดิอิมเพรส อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

 

  • วัตถุประสงค์ของการประชุม

    • เพื่อสรุปและแลกเปลี่ยนความรู้: เน้นการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ให้มีความครอบคลุมและสามารถปฏิบัติได้จริง
    • เพื่อสรุปผลการถอดบทเรียน: นำเสนอรูปแบบกิจกรรมที่เคยดำเนินการในพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะและกระบวนการสื่อสารสาธารณะ เพื่อให้ได้แผนงานที่สามารถต่อยอดได้
    • เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ: ส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะในระดับท้องถิ่นโดยสนับสนุนกิจกรรมทางกายที่ปลอดภัยและเหมาะสม โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม
    • ตัวแทนจากเทศบาลและอบต. พื้นที่ต้นแบบและขยายผล
    • ผู้รับผิดชอบโครงการพื้นที่ต้นแบบ
    • ทีมสื่อจาก 2 จังหวัด
    • สถาปนิก และทีมพี่เลี้ยงจากจังหวัดและเขต
    • ทีม สนส. จาก ม.สงขลานครินทร์
  • ผล

    • การดำเนินโครงการ: โครงการนี้ได้ยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ เน้นการสร้างพื้นที่ออกกำลังกายและสุขภาวะที่สอดคล้องกับความปลอดภัยของผู้ใช้ รวมถึงการออกแบบพื้นที่สำหรับกิจกรรมทางกายที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ
    • การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ: การออกแบบพื้นที่สุขภาวะเน้นให้เอื้อต่อกิจกรรมทางกายอย่างปลอดภัย เช่น ลานกีฬาสาธารณะ ลานกิจกรรมของผู้สูงอายุ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และพื้นที่ชุมชน ซึ่งทั้งหมดมีการพัฒนาแบบแปลนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและความต้องการของแต่ละชุมชน
    • การสื่อสารสาธารณะ: ใช้กระบวนการถอดบทเรียนจากกิจกรรมและผลการดำเนินงานเพื่อสะท้อนประสบการณ์ตรงในรูปแบบของกิจกรรมทางกายที่ดำเนินการจริง ช่วยให้เกิดการบูรณาการที่เหมาะสมกับพื้นที่ต่าง ๆ

    • สรุปผลการถอดบทเรียนกิจกรรมในพื้นที่ต้นแบบ:   1. แผนงานและโครงการที่สนับสนุนกิจกรรมทางกายควรเน้นการส่งเสริมความปลอดภัย โดยเฉพาะในพื้นที่ อปท.   2. การพัฒนาเครือข่ายให้มีศักยภาพในการวางแผนและดำเนินโครงการ โดยใช้ทรัพยากรและการสนับสนุนจากหลายฝ่าย   3. พื้นที่ต้นแบบสุขภาวะควรเป็นตัวอย่างสำหรับพื้นที่อื่น ๆ ที่สามารถนำร่องและขยายผลในชุมชนต่าง ๆ ได้

ประเด็นจากเวทีเสวนา: ถอดบทเรียนและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะ - นโยบายสนับสนุน: มีการผลักดันให้อปท.เขตรับผิดชอบจัดทำแผนและโครงการที่เน้นการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (PA) โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและการออกกำลังกายที่ยั่งยืน - การสนับสนุนด้านงบประมาณ: โครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ สามารถนำไปดำเนินการจริงจนเกิดผลลัพธ์ เช่น โครงการที่มีการจัดสรรงบประมาณส่งเสริมเครือข่ายท้องถิ่นและการขยายผลโครงการไปยังกลุ่มเป้าหมาย - ปัจจัยเอื้อและอุปสรรค: การพัฒนากิจกรรมทางกายในท้องถิ่นประสบความสำเร็จได้จากปัจจัยเอื้อ เช่น การสนับสนุนจากหน่วยงานและความร่วมมือของคนในพื้นที่ ในขณะที่อุปสรรคหลักคือทรัพยากรและงบประมาณ - การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ: การออกแบบพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะ PA ด้วยแบบทางสถาปัตยกรรมจะช่วยให้พื้นที่สามารถดำเนินการจริงได้และเป็นแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน - แนวทางการส่งเสริม PA ในแต่ละท้องถิ่น: ท้องถิ่นควรวางแผนการส่งเสริม PA ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่และสามารถดำเนินการต่อเนื่องได้ ทั้งนี้ควรส่งเสริมให้มีความร่วมมือระหว่างเครือข่าย

 

(Plan) รวมสถาปนิกงวด 3 ภาค งวด 2 (ค้างจ่าย) 30 ก.ย. 2567 30 ก.ย. 2567

 

(Plan) รวมสถาปนิกงวด 3 ภาค งวด 2

 

(Plan) รวมสถาปนิกงวด 3 ภาค งวด 2

 

วางแผนงานเรื่องสื่อในงานประชุมนโยบายส่วนกลาง เวทีสาธารณะสร้างเสริมสุขภาวะ PA / zoom 4 11 ต.ค. 2567 11 ต.ค. 2567

 

ทีมงานได้ประชุมเพื่อวางแผนและเตรียมทีมสื่อสำหรับเวทีนโยบายสาธารณะในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่จะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2567

 

ผลผลิตผลลัพธ์:
1. การกำหนดและปรับปรุงแผนใหม่: ได้ทำการกำหนดแนวทางและปรับปรุงแผนงานให้เหมาะสม

2. การทำฐานข้อมูลรายชื่อภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วม (Mapping): ระบุรายชื่อภาคีเครือข่ายต่างๆ ที่จะเข้าร่วมในเวทีครั้งนี้ เพื่อการประสานงานต่อไป

3. การกำหนดประเด็นนโยบายด้านสถาปัตยกรรม: เน้นการสร้างสถาปัตยกรรมที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนานโยบาย

4. การวางแนวทางการสื่อสารสาธารณะ: กำหนดกลยุทธ์การสื่อสารที่มุ่งหวังผลลัพธ์ที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพต่อสาธารณะ - ได้แนวทางการสื่อสาธารณะที่คาดหวังผลลัพธ์ รูปแบบกระบวนการสื่อสารมีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมาย ตัวอย่างของกระบวนการสื่อสารที่พบบ่อย ได้แก่ 1) แถลงข่าว (Press Conference): เป็นการจัดงานเพื่อประกาศหรือให้ข้อมูลแก่สื่อมวลชน โดยมักจะใช้เมื่อต้องการเผยแพร่ข้อมูลสำคัญ เช่น นโยบายใหม่ การเปิดตัวโครงการ หรือการตอบคำถามที่เป็นกระแสในสังคม 2) ประชุม (Meeting): การสื่อสารในรูปแบบการประชุมระหว่างบุคคลหรือกลุ่มคน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หารือ หรือแจ้งข้อมูลภายในองค์กร
3) สัมมนา (Seminar): เป็นกิจกรรมที่มีการบรรยายหรืออภิปรายเพื่อเผยแพร่ความรู้หรือข้อมูลในหัวข้อเฉพาะ โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมานำเสนอและเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 4) การให้สัมภาษณ์ (Interview): การสื่อสารระหว่างผู้ให้สัมภาษณ์ (แหล่งข่าว) กับผู้สัมภาษณ์ (สื่อมวลชน) เพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกหรือแสดงความคิดเห็นในประเด็นเฉพาะ 5.) สื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media Communication): การใช้ช่องทางออนไลน์ เช่น Facebook, หรือ YouTube เพื่อเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะ โดยมีความรวดเร็วและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย 6) ออกอากาศทางวิทยุหรือโทรทัศน์ (Broadcast Communication): การสื่อสารผ่านช่องทางวิทยุหรือโทรทัศน์ โดยเป็นการกระจายเสียงหรือภาพไปยังกลุ่มผู้ชมในวงกว้าง 7) ประชาสัมพันธ์ (Public Relations): การสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสาธารณะและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร 8) เวทีเสวนา (Panel Discussion) : การจัดงานอภิปรายหรือเสวนาที่มีผู้เชี่ยวชาญหลายคนมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นที่น่าสนใจ แต่ละรูปแบบของการสื่อสารจะมีความเหมาะสมในการใช้กับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเป้าหมายและกลุ่มผู้ฟังที่ต้องการสื่อสารถึง

5. รูปแบบการสื่อสารที่กำหนดสำหรับเวทีสาธารณะ PA ครั้งนี้: - วิดีโอสรุปสถานการณ์ PA: นำเสนอความสำคัญของกิจกรรมทางกาย สถานการณ์ปัจจุบัน และผลงานที่ผ่านมาในรูปแบบวิดีโอที่กระชับและน่าสนใจ - เวทีเสวนาผลักดันนโยบาย: จัดเวทีเสวนาที่นำเสนอผลลัพธ์จากพื้นที่ระดับท้องถิ่น เพื่อผลักดันนโยบายสู่ระดับชาติ - การแถลงข่าว: จัดงานแถลงข่าวเพื่อเผยแพร่ข้อมูลสำคัญและสร้างความตระหนักรู้ในวงกว้าง - การประกาศวาระนโยบายร่วมกัน: ภาคีต่างๆ จะร่วมกันประกาศวาระนโยบายเพื่อสร้างความร่วมมือและทิศทางที่ชัดเจน - การมีส่วนร่วมของภาคี 3 ภาคผ่านระบบออนไลน์: เปิดโอกาสให้ภาคีจากทั้งสามภาคส่วนเข้าร่วมและมีส่วนร่วมในการประชุมผ่านระบบออนไลน์ เพื่อเสริมสร้างความหลากหลายและครอบคลุม

 

ประชุมทีมประเมิน HIA PA 3 ภาค 11 ต.ค. 2567 11 ต.ค. 2567

 

ประชุมวางแผนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

 

สรุปการประชุมวางแผนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย วัตถุประสงค์ของการประชุม ชี้แจงรายละเอียดโครงการ วางแผนและกำหนดแนวทางการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมสำหรับการประเมินอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมทุกมิติของโครงการ PA

ผลผลิตและผลลัพธ์ 1. กำหนดเป้าหมายและขอบเขตการประเมิน HIA - กำหนดกรอบแนวทางการประเมิน ทั้งในด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต และผลกระทบต่อสังคม

2. ออกแบบเครื่องมือประเมิน HIA - พัฒนาเครื่องมือและตัวชี้วัดเพื่อวัดผลลัพธ์ด้านสุขภาพ เช่น ระดับความตระหนักรู้ทางสุขภาพ ระยะเวลาในการมีกิจกรรมทางกาย และการเปลี่ยนแปลงของสุขภาวะ
- ใช้ทั้งการสำรวจเชิงปริมาณและการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากกลุ่มเป้าหมาย

3. ปัจจัย (Input) ประกอบด้วยทรัพยากรหลักที่จำเป็นต่อการดำเนินโครงการและการประเมิน HIA ได้แก่: - คน/เครือข่าย: ภาคีจากภาคส่วนต่างๆ ที่มีบทบาทในการสนับสนุนกิจกรรม - งบประมาณ/แหล่งทุน: โครงการ PA และแหล่งทุนจากภาครัฐและองค์กรอื่น - ข้อมูล ระบบ/ทรัพยากรสนับสนุน
- ชุดความรู้

4. กระบวนการ (Process) กระบวนการดำเนินงาน (Process) เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย มีรายละเอียดดังนี้
1) กำหนดผู้รับผิดชอบในระดับภาค การจัดตั้งทีมงานระดับภาคเพื่อดูแลและรับผิดชอบโครงการถูกแบ่งออกเป็น 3 ภูมิภาคหลัก ได้แก่
- ภาคเหนือ: ลำพูน และ น่าน
- ภาคอีสาน: อุบลราชธานี และ อำนาจเจริญ
- ภาคใต้: สุราษฎร์ธานี และ ตรัง
ในขั้นตอนนี้ ทีมภาคมีหน้าที่สำคัญในการสร้างกลไกการทำงาน ได้แก่: 1.1 การพัฒนากลไกพี่เลี้ยง ทีมงานในแต่ละภาคจะพัฒนาพี่เลี้ยง โดยพี่เลี้ยงจะสนับสนุนวิชาการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่
1.2 การวางกลไกการสื่อสาร แต่ละภูมิภาคจะออกแบบระบบการสื่อสารเพื่อให้การประสานงานระหว่างทีมงานในแต่ละภาคเพื่อประชาสัมพันธ์งาน PA และจัดทำคลิปวิดีโอในพื้นที่ต้นแบบ เพื่อถ่ายทอดบทเรียนดีๆให้กับพื้นที่อื่นๆ
1.3 การวางกลไกด้านสถาปนิก การออกแบบเชิงสถาปัตยกรรมที่สนับสนุนกิจกรรมทางกายเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญ โดยทีมภาคจะวางกลไกสนับสนุนด้านการออกแบบพื้นที่เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
1.4 การคัดเลือกพื้นที่เข้าร่วมโครงการ กำหนดเกณฑ์และวิธีการเลือกพื้นที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและเกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม
1.5 การอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ ทีมงานจะจัดอบรมให้กับตัวแทนจาก 60 แห่ง เพื่อพัฒนาทักษะด้านการวางแผนและการเขียนโครงการ
1.6 การปรับปรุงแผนโครงการ: แผนโครงการจะถูกปรับปรุงให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์และข้อเสนอแนะจากชุมชน
2) การออกแบบด้านสถาปัตยกรรม มีการดำเนินงานออกแบบพื้นที่เชิงสถาปัตยกรรมในพื้นที่นำร่องจำนวน 13 แห่ง โดยมุ่งเน้นให้พื้นที่เหล่านี้เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สร้างสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการมีกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่อง
3) การทดลองปฏิบัติการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โครงการทดลองจำนวน 46 โครงการถูกนำมาทดสอบในพื้นที่จริง เพื่อศึกษาผลลัพธ์และหาบทเรียนในการพัฒนานโยบาย ทั้งนี้ การทดลองเหล่านี้จะเป็นต้นแบบที่สามารถนำไปขยายผลในพื้นที่อื่นได้ต่อไป
4) การสื่อสารสาธารณะในระดับพื้นที่ การสื่อสารสาธารณะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการสร้างความตระหนักและกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมจากประชาชน โดยมีการพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายสื่อในระดับท้องถิ่นเพื่อให้สามารถสื่อสารนโยบายและข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เครือข่ายสื่อท้องถิ่นยังมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ โดยเฉพาะใน 3 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ ผ่านการเผยแพร่ข้อมูลและส่งเสริมกิจกรรมทางกายไปสู่ชุมชน
สรุป กระบวนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายนี้ถูกออกแบบอย่างเป็นระบบ เริ่มตั้งแต่การวางแผนระดับภาค การสร้างกลไกสนับสนุน การออกแบบพื้นที่ การทดลองปฏิบัติการในพื้นที่จริง และการสื่อสารสาธารณะ กระบวนการทั้งหมดนี้มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ยั่งยืน ลดปัญหาสุขภาพ และส่งเสริมสุขภาวะของประชาชนในทุกภูมิภาคของประเทศไทย 5) ผลผลิตผลลัพธ์เน้นผลการส่งเสริม 4 ด้านหลัก: 1) Active People: ส่งเสริมความรู้ ความตระหนัก และกิจกรรมในชีวิตประจำวัน 2) Active Environment: พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อกิจกรรมทางกาย 3) Active Society: สร้างความร่วมมือในชุมชนและภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้เกิดการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง 4) Active System: พัฒนาระบบที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมอย่างเป็นระบบ

4. ผลลัพธ์ (Outcome) - กิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น: จำนวนผู้เข้าร่วมและความถี่ของการมีกิจกรรมทางกายมากขึ้น - NCDs ลดลง: การลดความเสี่ยงจากโรคไม่ติดต่อ (Non-Communicable Diseases)

สรุปภาพรวม แผนภาพนี้แสดงให้เห็นกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) ประกอบกับหลักการโมเดล CIPP เป็นแนวทางในการประเมินโครงการหรือกิจกรรม โดย CIPP ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ตั้งแต่ปัจจัยนำเข้า การดำเนินงาน ผลผลิตผลลัพธ์ ดังนี้: 1. C - Context (บริบท): ประเมินความเหมาะสมของโครงการกับบริบท เช่น สภาพแวดล้อมและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย 2. I - Input (ปัจจัยนำเข้า): ตรวจสอบทรัพยากรและแผนงานที่ใช้ เช่น งบประมาณ บุคลากร และเครื่องมือ 3. P - Process (กระบวนการ): ประเมินขั้นตอนการดำเนินงานและวิธีการดำเนินโครงการ เพื่อดูความเหมาะสมและประสิทธิภาพ 4. P - Product (ผลลัพธ์): ตรวจสอบผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยเน้นการเชื่อมโยงระหว่างชุมชน ภาคส่วนต่างๆ และการสนับสนุนจากระบบเพื่อให้เกิดผลสำเร็จอย่างยั่งยืน ทั้งยังมุ่งหวังให้มีการขยายผลไปสู่ระดับนโยบายเพื่อลดปัญหา NCDs ในระยะยาว

แผนการประชุมถัดไป - การทบทวนเครื่องมือการประเมิน
- รวบรวมความคิดเห็นจากภาคีเครือข่าย และลงพื้นที่ติดตามประเมินผล

 

ประชุมทีมสถาปนิกทั้ง 3 ภาค คุยเรื่องงานประชุมนโยบายส่วนกลาง เวทีสาธารณะสร้างเสริมสุขภาวะ PA / zoom 4 11 ต.ค. 2567 11 ต.ค. 2567

 

วันที่ 11 ตุลาคม 2567 เวลา 15.00 น. ประชุมออกแบบเวทีสถาปัตยกรรมเพื่อพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

 

ผล 1. ออกแบบแบล็กดรอปแถลงข่าว   - มีการวางแผนออกแบบพื้นหลัง (Backdrop) สำหรับการแถลงข่าวเกี่ยวกับโครงการที่ดำเนินการ 2. ออกแบบภาพโชว์สถาปัตยกรรม 13 แห่ง   - เตรียมการออกแบบและจัดทำภาพเพื่อแสดงสถาปัตยกรรมของ 13 แห่งที่มีการพัฒนา 3. ออกแบบเวทีเสวนาเพื่อนำเสนอผลงาน   - การวางแผนการออกแบบเวทีสำหรับการเสวนา เพื่อการนำเสนอผลงานและแสดงผลการดำเนินงานที่ผ่านมา 4. ออกแบบแนวทางการให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวคิดการออกแบบ   - วางแผนการให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวคิดในการออกแบบพื้นที่สาธารณะ โดยให้ครอบคลุมความสำคัญและรายละเอียดของการออกแบบ 5. นำแบบสถาปัตย์ไปปรับใช้จริงในพื้นที่   - ผู้บริหารท้องถิ่นในหลายพื้นที่ (อบต.จิกดู่, อบต.ปะเหลียน, อบต.น้ำผุด, ปากแพรก, เทศบาลบ้านแป้นฯลฯ) แสดงความสนใจนำแบบสถาปัตย์ที่ออกแบบไปใช้ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในพื้นที่จริง

แผนงานต่อไป 1. นำแพลตฟอร์มและตีมงานส่งให้ทีมสถาปนิกในแต่ละภาค   - ส่งรูปแบบและธีมการออกแบบให้กับทีมสถาปนิกแต่ละภาค เพื่อนำไปใช้กำหนดรูปแบบการพัฒนาในพื้นที่ของตนเอง 2. เตรียมเนื้อหาสำหรับการเสวนาเวทีสาธารณะด้านสถาปัตยกรรม   - เตรียมข้อมูลและเนื้อหาสำหรับการเสวนาเพื่อแสดงผลงานและแลกเปลี่ยนแนวคิดด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมในเวทีสาธารณะ

 

เวทีรับฟังความคิดเห็นและจัดทำข้อเสนอแนะ น้ำผุดและปะเหลียน จ.ตรัง 12 ต.ค. 2567 12 ต.ค. 2567

 

เวทีรับฟังความคิดเห็นและจัดทำข้อเสนอแนะ
ผลกระทบทางสุขภาพจากโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและ พัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พื้นที่ อบต.น้ำผุด และ อบต.ปะเหลียน จ.ตรัง วันที่ 12 ตุลาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ทาง Zoom

วัตถุประสงค์ เพื่อรับฟังความคิดเห็นและจัดทำข้อเสนอแนะต่อร่างรายงานการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในพื้นที่ อบต.น้ำผุด และ อบต.ปะเหลียน จ.ตรัง กลุ่มเป้าหมาย (พื้นที่ละ 10-15 คน) 1. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล หรือผู้แทน 5. ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ (อบต.น้ำผุด) 2. ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล หรือผู้แทน 6. ครู ผู้ปกครอง ที่เข้าร่วมโครงการ (อบต.ปะเหลียน) 3. เจ้าหน้าที่ อบต. ผู้รับผิดชอบการดำเนินโครงการ 7. พี่เลี้ยงจังหวัด และพี่เลี้ยงในพื้นที่ 4. ผู้นำชุมชน อสม.

กำหนดการ 13.00 - 13.30 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม โดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ 13.30 – 14.00 น. นำเสนอผลการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ พื้นที่ อบต.น้ำผุด
โดย นักศึกษา กลุ่ม อบต.น้ำผุด 14.00 – 14.45 น. แลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็น
14.45 – 15.15 น. นำเสนอผลการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ พื้นที่ อบต.ปะเหลียน โดย นักศึกษา กลุ่ม อบต.ปะเหลียน 15.15 - 16.00 น. แลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็น

ประเด็นแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็น 1. ข้อมูลผลกระทบทางสุขภาพของโครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย ในพื้นที่ อบต.ปะเหลียน / อบต.น้ำผุด ที่นำเสนอไปมีความครบถ้วน สมบูรณ์ ถูกต้องหรือไม่
2. มีประเด็นใดบ้างที่ควรเก็บข้อมูลเพิ่มเติม และเก็บอย่างไร จากใคร 3. จากผลกระทบที่นำเสนอ ท่านมีข้อเสนอเพื่อจัดการผลกระทบ (บวก/ลบ) ในประเด็นอะไรบ้าง อย่างไร ตัวอย่างประเด็น 3.1 ประเด็นการจัดทำโครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย
- การพัฒนาศักยภาพของคนในพื้นที่ในการทำแผน เขียนโครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย - ควรทำกิจกรรมทางกายรูปแบบใด กลุ่มไหน ที่เหมาะสมกับสภาพของชุมชน - แหล่งทุนสนับสนุนการทำโครงการ เช่น กองทุนหลักประกันสุขภาพในพื้นที่ หรือแหล่งทุนอื่น 3.2 ประเด็นการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะเพื่อส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย 3.3 ประเด็นเครือข่าย กลไก ในการดำเนินการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายในพื้นที่ 4. ท่านมีข้อเสนอแนะต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายต่อไป อย่างไรบ้าง 5. ท่านมีข้อเสนอแนะต่อโครงการ (หลัก) ในการดำเนินการระยะต่อไป อย่างไร

 

สรุปการประชุมในวันที่ 12 ตุลาคม 2567 การรับฟังความคิดเห็นและจัดทำข้อเสนอแนะเรื่องผลกระทบทางสุขภาพจากโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ อบต.น้ำผุด และ อบต.ปะเหลียน จังหวัดตรัง ดังนี้

  • วัตถุประสงค์การประชุม เพื่อรับฟังความคิดเห็นและจัดทำข้อเสนอแนะต่อร่างรายงานการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในพื้นที่ อบต.น้ำผุด และ อบต.ปะเหลียน

  • ประเด็นแลกเปลี่ยนและข้อเสนอแนะ

  1. ข้อมูลผลกระทบทางสุขภาพของโครงการ: รับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับความครบถ้วนและความสมบูรณ์ของข้อมูล
  2. ประเด็นที่ควรเก็บข้อมูลเพิ่มเติม: ระบุประเด็นที่ต้องการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมและกำหนดวิธีการเก็บข้อมูล
  3. ข้อเสนอเพื่อจัดการผลกระทบ (บวก/ลบ)
  4. ข้อเสนอแนะต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  5. ข้อเสนอแนะต่อโครงการหลักในระยะต่อไป
  • ข้อเสนอแนะที่ได้จากการประชุมเกี่ยวกับการส่งเสริมกิจกรรมทางกายมีดังนี้:

1. ข้อเสนอแนะในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ - ผลักดันการนำแบบสถาปัตย์ไปสู่การปรับปรุงพื้นที่สาธารณะ เช่น สวนสุขภาพและสนามกีฬา ให้มีความปลอดภัยและเข้าถึงได้ง่าย เหมาะสำหรับคนทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุและเด็ก และจัดหาพื้นที่ที่สามารถทำกิจกรรมทางกายอย่างเป็นประจำ

2. ข้อเสนอแนะในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและชุมชน - จัดฝึกอบรมให้แก่ผู้ดูแลโครงการในพื้นที่ เพื่อเพิ่มทักษะในการวางแผนและการดำเนินโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย - จัดทำแผนการอบรมเพื่อเสริมทักษะและความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้นำชุมชนและ อสม. เพื่อให้มีความเข้าใจและสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมกับพื้นที่ - ควรส่งเสริมกิจกรรมที่มีความเหมาะสมกับลักษณะของพื้นที่ เช่น การเต้นรำพื้นบ้าน การเดินเพื่อสุขภาพ หรือกิจกรรมออกกำลังกายเบา ๆ ที่สามารถทำได้ในกลุ่มผู้สูงอายุและครอบครัว - สนับสนุนการจัดกิจกรรมร่วมกันของคนในชุมชน เช่น กิจกรรมออกกำลังกายทุกวันอาทิตย์ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในชุมชนและส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

4. ข้อเสนอแนะด้านงบประมาณและแหล่งทุน - สนับสนุนให้หน่วยงานท้องถิ่นขอแหล่งทุนจากหน่วยงานรัฐ เพื่อดำเนินโครงการต่อเนื่องและมีความยั่งยืน

5. ข้อเสนอแนะด้านการสื่อสารและการมีส่วนร่วมของชุมชน - ส่งเสริมการสื่อสารในชุมชน โดยให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพผ่านทางสื่อชุมชน เช่น วิทยุชุมชน ป้ายประชาสัมพันธ์ หรือสื่อสังคมออนไลน์ - กระตุ้นการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนและกลุ่ม อสม. ในการประชาสัมพันธ์และชวนประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมและสร้างความเข้าใจในประโยชน์ของการมีกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย

 

(plan)เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2567 17 ต.ค. 2567 17 ต.ค. 2567

 

(plan)เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2567

 

(plan)เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2567

 

(plan)ถอดบทเรียนประเด็น PA จำนวน 44 เรื่อง งวดที่ 2 17 ต.ค. 2567 17 ต.ค. 2567

 

(plan)ถอดบทเรียนประเด็น PA จำนวน 44 เรื่อง งวดที่ 2

 

(plan)ถอดบทเรียนประเด็น PA จำนวน 44 เรื่อง งวดที่ 2

 

(plan) ประชุม SROI 3 ภาค 17 ต.ค. 2567 17 ต.ค. 2567

 

(plan) ประชุม SROI 3 ภาค

 

(plan) ประชุม SROI 3 ภาค

 

ทีมประเมินแลกเปลี่ยนแบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง เพื่อการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโครงการ PA 22 ต.ค. 2567 22 ต.ค. 2567

 

ทีมประเมินแลกเปลี่ยนแบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง เพื่อการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโครงการ PA

 

วันที่ 22 ตุลาคม 2567 ทีมประเมินได้แลกเปลี่ยนแบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง เพื่อใช้ในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ โดยมีเป้าหมายเพื่อติดตามและประเมินผล รวมถึงถอดบทเรียนกระบวนการและโมเดลของโครงการที่มุ่งยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการส่งเสริมกิจกรรมทางกายผ่านการทำแผนและโครงการ และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ รวมทั้งสื่อสาธารณะ ใน 6 จังหวัด พื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ รวมทั้งหมด 60 ท้องถิ่น

 

ภาคเหนือ (อ.สุวิทย์) ติดตามโครงการ 25 ต.ค. 2567 25 ต.ค. 2567

 

(plan)ภาคเหนือ (อ.สุวิทย์) ติดตามโครงการ

 

(plan)ภาคเหนือ (อ.สุวิทย์) ติดตามโครงการ

 

ทีมประเมินชี้แจงกรอบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโครงการ PA กับพี่เลี้ยงภาคเหนือ อีสาน และใต้ 25 ต.ค. 2567 25 ต.ค. 2567

 

ทีมประเมินชี้แจงกรอบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโครงการ PA กับพี่เลี้ยงภาคเหนือ อีสาน และใต้

 

วันที่ 25 ตุลาคม 2567 ทีมประเมินได้ชี้แจงกรอบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพและการประยุกต์ใช้เครื่องมือการประเมินผลกระทบทางสุขภาพกับพี่เลี้ยงในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ เพื่อสนับสนุนการติดตามประเมินผลและถอดบทเรียนกระบวนการและโมเดลโครงการที่มุ่งยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ โดยใช้โมเดล CIPP เพื่อให้สามารถวิเคราะห์หาช่องว่างในการพัฒนา เสริมพลังคนทำงาน ขยายผลการดำเนินงาน และตอบผลลัพธ์ 4 Active ได้แก่: 1. Active People: พัฒนาความรู้ ความตระหนัก และส่งเสริม Lifestyle PA (Physical Activity) ให้แก่บุคคล 2. Active Environment: สนับสนุนการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการมีกิจกรรมทางกายตามบริบทของแต่ละพื้นที่ 3. Active Society: สร้างค่านิยมในการมีกิจกรรมทางกายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตทุกระดับสังคม และเพิ่มความร่วมมือจากทุกภาคส่วน 4. Active System: พัฒนาระบบสนับสนุนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายอย่างมีประสิทธิภาพ

 

ภาคีเครือข่ายจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์และจัดทำแผนในพื้นที่จังหวัดลำพูนและจังหวัดน่าน 1 พ.ย. 2567 1 พ.ย. 2567

 

ภาคีเครือข่ายจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์และจัดทำแผนในพื้นที่จังหวัดลำพูนและจังหวัดน่าน

 

ภาคีเครือข่ายจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์และจัดทำแผนในพื้นที่จังหวัดลำพูนและจังหวัดน่าน

 

ประชุมพัฒนาเอกสารประกอบการประชุมนโยบายส่วนกลาง เวทีสาธารณะสร้างเสริมสุขภาวะ PA 9 พ.ย. 2567 9 ต.ค. 2567

 

สรุปการประชุม วันที่ 9 ตุลาคม 2567  ประชุมพัฒนาเอกสารประกอบการประชุมนโยบายส่วนกลาง เวทีสาธารณะสร้างเสริมสุขภาวะ PA / ผ่าน ระบบ zoom 4

 

สรุปได้ดังนี้:

  1. เป้าหมายเวทีสาธารณะสร้างเสริมสุขภาวะ PA 3 ระยะ คือ:   ระยะที่ 1 การพัฒนาแบบทางสถาปัตยกรรมพื้นที่ต้นแบบส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่: ดำเนินการโครงการนำร่องเพื่อแสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การออกกำลังกาย กิจกรรมทางกายในวิถีชีวิตประจำวันการเดินทางและทำงาน และการฟื้นฟูพื้นที่สาธารณะ   ระยะที่ 2 การขับเคลื่อนนโยบายระดับท้องถิ่นและระดับชาติ: มีการจัดทำข้อเสนอนโยบายและผลักดันให้หน่วยงานท้องถิ่นและระดับชาติมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนนโยบายที่เกี่ยวข้อง โดยมีเป้าหมายให้ท้องถิ่นรับไปดำเนินการจริง   ระยะที่ 3 การส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพที่ยั่งยืน: เน้นให้เกิดการเคลื่อนไหวส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ที่ดูแลอย่างต่อเนื่องและมีการส่งเสริมการออกกำลังกายที่เพียงพอเพื่อช่วยลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ในระยะยาว

  2. การดำเนินเชิงนโยบาย 1) ทีมงานได้ดำเนินการผลักดันการขับเคลื่อนนโยบายระดับท้องถิ่น พบว่าการประสานงานกับหน่วยงานท้องถิ่นยังมีความท้าทาย โดยเฉพาะการทำให้หน่วยงานท้องถิ่นพัฒนาพื้นที่สาธารณะและการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งโครงการมีพื้นที่ต้นแบบ 13 แห่ง กระจายอยู่ 6 จังหวัดใน 3 ภาค ที่เป็นพื้นที่ตัวอย่างในการนำเสนอเชิงนโยบาย และนอกจากนี้มีพื้นที่ต้นแบบของภาคีเครือข่ายสถาปนิก สสส. ที่เป็นพื้นที่ต้นแบบส่งเสริม PA ร่วมผลักดันนโยบายในครั้งนี้
    2) มีการเตรียมแผนที่จะขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายในช่วงปลายเดือนตุลาคม ซึ่งจะต้องมีการจัดทำรายงานและการรีวิวสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการขับเคลื่อนนโยบาย 3) ได้แผนที่จะจัดการประชุมเวทีสาธารณะในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน เพื่อนำเสนอข้อเสนอนโยบายให้แก่หน่วยงานท้องถิ่นและระดับส่วนกลาง โดยจะมีการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และภาคีที่เกี่ยวข้อง 4) การดำเนินงานในพื้นที่ต้นแบบจะต้องเน้นให้เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน เช่น การปรับปรุงพื้นที่สาธารณะให้มีความพร้อมในการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการสนับสนุนจากท้องถิ่นในแง่ของงบประมาณหรือแหล่งทุนเพิ่มเติม 5) ความสำคัญของการใช้ข้อมูลวิชาการในการสนับสนุนข้อเสนอนโยบาย เพื่อแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการพัฒนาพื้นที่สาธารณะและการส่งเสริมสุขภาพ โดยอาจมีการนำตัวอย่างจากต่างประเทศมาใช้ประกอบการนำเสนอ

  3. การจัดการข้อมูลและเอกสาร

- ทีมงานกำลังจัดทำรายงานและการสังเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้ในการทบทวนและปรับปรุงโครงการ โดยเอกสารเหล่านี้จะครอบคลุมถึงสถานการณ์ในประเทศไทย รวมถึงปัจจัยที่เป็นอุปสรรคและโอกาสในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ - มีการกำหนดเวลาสำหรับการส่งรายงานและข้อเสนอต่างๆ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการประชุมและการขับเคลื่อนนโยบายในเดือนพฤศจิกายนได้ทันเวลา

4.การขับเคลื่อนระดับนโยบายและบทบาทของหน่วยงานต่างๆ - หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนนโยบาย ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานระดับท้องถิ่น เช่น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - การผลักดันนโยบายติดตามต่อจากมติ 10.1 มติสมัชชาชาติ PA และมติภาคีเครือข่ายที่เกี่ยว มาขับเคลื่อนต่อในระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม

 

(plan)ภาคเหนือ (อ.สุวิทย์) ติดตามโครงการ 21 พ.ย. 2567 21 พ.ย. 2567

 

.

 

.

 

สมัชชาสุขภาพ บูท สถาปัตยกรรม PA/นโยบายส่วนกลาง ที่ กทม. และถอดบทเรียนโครงการ 26 พ.ย. 2567 26 พ.ย. 2567

 

.

 

.

 

(P001001) ประชุมวางแผนงานและทบทวนreview PAวัยเด็กและพื้นที่สุขภาวะ 8 ก.พ. 2566 8 ก.พ. 2566

 

ประชุมวางแผนงานและทบทวนreview PAวัยเด็กและพื้นที่สุขภาวะ

 

  1. ได้แผนทบทวนเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

- ข้อมูล PA ในเด็กและเยาวชน (รวมปฐมวัย)
- พื้นที่สุขภาวะ 3. ภาพรวม PA ทั้งหมด
-  ทบทวนมติสมัชชชา PA
- ข้อมูลจากงานประชุมวิชาการ PA
2. คณะทำงานได้แบ่งกันทบทวนข้อมูล ซึ่งข้อมูลนี้จะเป็นข้อมูลนำเข้าในการขับเคลื่อนนโยบายต่อไป โดยผ่านขั้นตอน ดังนี้ - ขั้นที่ 1 ทบทวนเอกสารทุติยภูมิ - ขั้นที่ 2 Focus group จากองค์กรหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ขั้นที่ 3 พัฒนาร่างข้อเสนอ / ประชุมกลุ่มหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - ขั้นที่ 4 จัดเวทีสาธารณะ
3. ผลลัพธ์ - ได้องค์ความรู้การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้แก่ การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน
- ได้ข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและส่งต่อหน่วยงานกำหนดนโยบาย

 

ประชุมหารือติดตามมติ PA และแผนเวทีสาธารณะ 22 ก.พ. 2566 22 ก.พ. 2566

 

หารือกับ สช.ติดตามมติ PA และแผนเวทีสาธารณะ

 

ได้แนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย PA

  1. การขับเคลื่อนนโยบาย PA ร่วมกับเวทีฟังเสียงประชาชน
  2. รวมมติที่เกี่ยวข้องกับ PA มาร่วมกันจัดข้อเสนอ ได้แก่ มติพื้นที่เล่นฯ มติการเดินและจักรยานฯ มติพื้นที่สาธารณะฯ
  3. จัดทำ policy brief หัวข้อได้แก่ 1) สถานการณ์/ความสำคัญ (สถานการณ์เชิงตัวเลขสถิติ,ทำไมต้องทำเรื่องนี้) 2) แนวทาง (หลักการแก้ไขปัญหา) 3) ข้อเสนอเชิงนโยบาย (ใครควรทำอะไรเพื่อแก้ไขปัญหา/พัฒนาให้ดีขึ้น)

 

ประชุมพัฒนาข้อเสนอนโยบายกับ สช.และเครือข่าย 4 มติ หารือการจัดทำข้อมูลมติกิจกรรมทางกาย, มติพื้นที่สาธารณะ, มติการเดินและการใช้จักรยาน, มติพื้นที่เล่นเด็ก 24 ก.พ. 2566 24 ก.พ. 2566

 

ประชุมพัฒนาข้อเสนอนโยบายกับ สช.และเครือข่าย 4 มติ หารือการจัดทำข้อมูลมติกิจกรรมทางกาย+พื้นที่สาธารณะ+การเดินและการใช้จักรยาน+พื้นที่เล่นเด็ก

 

ได้ข้อเสนอนโยบาย ดังนี้

  1. “ACTIVE PEOPLE; ACTIVE ENVIRONMENT สร้างคนไทยให้กระฉับกระเฉง มีชีวิตชีวา”
  2. “พื้นที่เล่นสร้างเสริมสุขภาวะของเด็กปฐมวัยและวัยประถมศึกษา”
  3. “สนับสนุนการเดินและการใช้จักรยาน ให้เป็นการสัญจรทางเลือกสำคัญของเมือง”
  4. “แนวทางการพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ 1 เขต 1 สวน”
  5. “ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กและเยาวชน เป็น Active people”
    “Active children, Active people”

 

นำเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเวทีฟังเสียงประชาชน Scenario Thailand จ.สงขลา 10 มี.ค. 2566 10 มี.ค. 2566

 

เข้าร่วมเวที Workshop  Scenario Thailand จ.สงขลา

 

ดร.กุลทัต ผู้รับผิดชอบโครงการได้เข้าร่วมเวที Scenario Thailand จ.สงขลา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นสุขภาพ

 

นำเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเวทีฟังเสียงประชาชน Scenario Thailand จังหวัดปัตตานี 1 เม.ย. 2566 1 เม.ย. 2566

 

เสียงประชาชน “ชายแดนใต้” เลือกอนาคตประเทศไทย ณ วันเสาร์ ที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. ณ ร้านมิตรไมตรี Dinning Café เทศบาลเมืองปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

 

ดร.กุลทัต ดร.เพ็ญ และคณะทำงาน ได้เข้าร่วมเวที เสียงประชาชน “ชายแดนใต้” เลือกอนาคตประเทศไทย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นสุขภาพ ได้แก่ ประเด็นการพัมนาเด็กปฐมวัย การพัฒนาพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อกิจกรรมทางกาย อาหารปลอดภัย
และได้แลกเปลี่ยนแนวทางในประเด็นอื่นๆ

 

หารือทีมสื่อ เรื่องนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 24 เม.ย. 2566 24 เม.ย. 2566

 

หารือทีมสื่อ เรื่องนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

 

แลกเปลี่ยนหารือข้อมูลนโยบาย ดังนี้
1. นโยบาย “1 ตำบล 1 สวนสุขภาพ” เพื่อให้ชุมชนมีพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะ กระจายในทุกพื้นที่ ทุกกลุ่มวัย ทุกกลุ่มเศรษฐานะเข้าถึงได้
2. นโยบาย “เดิน ปั่น เป็นวิถีชีวิตประจำวัน” เพื่อแก้ปัญหาเมือง/ประกาศนโยบายสนับสนุนการเดินและการใช้จักรยาน ให้เป็นการสัญจรทางเลือกสำหรับทุกเมืองใหญ่ของประเทศ
3. นโยบายและสนับสนุนงบประมาณให้สถานพัฒนาเด็ก สถานศึกษาทุกระดับ ทั้งของรัฐและเอกชน เพื่อจัดให้มีหลักสูตร กิจกรรม และการสร้างสภาพแวดล้อมและการดูแลความปลอดภัยที่เอื้อให้เกิดการมีกิจกรรมทางกายของบุคลากร เด็กเล็ก นักเรียน นักศึกษาและชุมชน 4. นโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้สถานประกอบการ จัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย พร้อมทั้งส่งเสริมบุคลากรในองค์กร ให้มีกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ 5. การใช้มาตรการทางภาษี มาตรการทางการเงิน รวมถึงองค์ความรู้อื่น ๆ ในการส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

แนวทางดำเนินการต่อ
1. จัดทำคลิปนโยบายส่งเสริมสุขภาพ นโยบายส่งเสริมกิจกรรมกิจกรรม โดยสัมภาษณ์กลุ่มนักการเมืองพรรคต่างๆ จำนวน 5 ชิ้น 2. เผยแพร่ในสื่อโซเชียลต่างๆ เช่น tiktok facebook Youtube ฯลฯ

 

จัดทำสื่อนโยบายสาธารณะขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 26 เม.ย. 2566 26 เม.ย. 2566

 

จัดทำสื่อนโยบายสาธารณะ "ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการผลักดันนโยบายรัฐ ให้สร้างเสริมสุขภาพประชาชน คนไทย มีคุณภาพชีวิตที่ดีเพิ่มขึ้น กับคำถามสัมภาษณ์ พรรคการเมือง  “ACTIVE PEOPLE; ACTIVE ENVIRONMENT ในการสร้าง คนไทยให้กระฉับกระเฉง มีชีวิตชีวา”

 

จัดทำคลิป คำถาม-ข้อมูลนโยบาย 1) 1 ตำบล 1 สวนสุขภาพเพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทย 2) เห็นด้วยหรือไม่ที่ การเดินเท้า และ ปั่นจักรยาน จะเป็นวิถีชีวิตปกติประจำวัน 3) ทำให้เด็กติดกีฬาดีกว่าบ้าเกมหรือมือถือ 4) สถานประกอบควรจัดพื้นที่สันทนาการหรือกีฬาให้กับคนทำงาน 5) ออกมาตรการหรือให้สิทธิประโยชน์จูงใจคนไทยหันมาออกกำลังกาย


  • ได้คลิปสื่อแนวคิดนโยบาย จำนวน 4 คลิป ดังนี้
    1.https://www.tiktok.com/@publicpolicyinstitute/video/7232126694646238465?isfromwebapp=1&senderdevice=pc&webid=7231768213134198273 2.https://www.tiktok.com/@publicpolicyinstitute/video/7232127489470958849?isfromwebapp=1&senderdevice=pc&webid=7231768213134198273 3.https://www.tiktok.com/@publicpolicyinstitute/video/7232127756279057666?isfromwebapp=1&senderdevice=pc&webid=7231768213134198273 4.https://www.tiktok.com/@publicpolicyinstitute/video/7232236986231311617?isfromwebapp=1&senderdevice=pc&webid=7231768213134198273

 

เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือน พฤษภาคม-กรกฎาคม 2566 (3 เดือน) 1 พ.ค. 2566 1 พ.ค. 2566

 

-

 

-

 

(P001001) ประชุมรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้านการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ และการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน 12 พ.ค. 2566 12 พ.ค. 2566

 

ประชุมรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้านการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ และการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน

 

ภาพรวมสถานการณ์ของการมีกิจกรรมทางกายของคนไทย จากการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์์กิจกรรมทางกายระดับประเทศ โดยสถาบันวิจัยประชากร และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับ สสส. และกระทรวงสาธารณสุข แสดงให้้เห็นว่าทิศทางการมีีกิจกรรมทางกายของประชากรไทยมีีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 66.3 ในปีี พ.ศ. 2555 (ปีีฐานของการสำรวจ) เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 74.6 ในปีี พ.ศ. 2562 (ก่อนสถานการณ์์โควิด-19) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ประชากรไทยมีกิจกรรมทางกายสูงที่สุดในรอบ 10 ปี
ในปี พ.ศ. 2563-2564 ช่วงการแพร่่ระบาดของโควิด-19 ด้วยข้อจำกัดในการใช้ชีวิตดังที่่เคยเป็นตามปกติิ ส่งผลให้้ระดับการมีกิจกรรมทางกายที่่เพียงพอของคนไทยในภาพรวมลดลง โดยการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของคนไทยลดลงเหลือเพียงร้อยละ 54.3 ในปี พ.ศ. 2563 และปรับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 63.0 ในปี 2564 และร้อยละ 62.0 ในปี พ.ศ. 2565

เมื่อพิจารณาการมีกิจกรรมทางกายตามพื้นที่ ในปี พ.ศ. 2564  พบว่า จังหวัดที่ประชาชนมีกิจกรรมทางกายเพียงพอสูงสุด 5 จังหวัด คือ สงขลา มหาสารคาม มุกดาหาร กระบี่ และราชบุรี ส่วนจังหวัดประชาชนมีกิจกรรมทางกายเพียงพอต่ำสุด 5 จังหวัด คือ ปัตตานี ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ สมุทรสาคร และบึงกาฬ โดยพบความแตกต่างระหว่างจังหวัดที่มีกิจกรรมที่เพียงพอสูง มีสัดส่วนประชากรที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอสูงกว่าจังหวัดที่มีกิจกรรมเพียงพอต่ำมากกว่า 3 เท่า ซึ่งความแตกต่างที่เกิดขึ้นอาจเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย เช่น โครงสร้างอายุของประชากรในพื้นที่ ลักษณะอาชีพ โครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย และลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมในเรื่องการมีกิจกรรมทางกาย เมื่อพิจารณาในพื้นที่ภาคใต้ พบว่า จังหวัดที่ประชาชนมีกิจกรรมทางกายเพียงพอสูงสุด 3 จังหวัดแรก คือ สงขลา (91.6%) กระบี่ (83.5%) และชุมพร (80.4%) ขณะที่ จังหวัดที่ประชาชนมีกิจกรรมทางกายเพียงพอต่ำสุด 3 จังหวัด คือ ปัตตานี (31.9%) นราธิวาส (36.8%) และพัทลุง (36.8%)

เมื่อพิจารณาเป็นช่วงอายุและเพศ ซึ่งเป็นปัจจัยกำหนดสำคัญในการมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ พบว่ากลุ่มประชากรที่เสี่ยงต่อการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ คือ กลุ่มเด็กและเยาวชน และผูู้หญิง (ภาพที่ 3 และ 4) โดยทุกกลุ่มอายุมีสัดส่วนการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่ำกว่าเป้าหมายแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ. 2561–2573 ที่ตั้งตัวชี้วัดประชาชนมีกิจกรรมทางกายเพียงพอที่ร้อยละ 75 กลุ่มเด็กและเยาวชน อายุ 6–17 ปี เป็นกลุ่มที่ต้องส่งเสริมเป็นพิเศษ เพราะมีสัดส่วนกิจกรรมทางกายเพียงพอต่ำที่สุดในทุกกลุ่มอายุ ในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มมีมาตรการของโควิด-19 และมาตรการล็อกดาวน์ พบว่ากิจกรรมทางกายเพียงพอลดลงในทุกกลุ่มอายุ เมื่อพิจารณาเกี่ยวกับเพศ พบว่า ผู้หญิงมีกิจกรรมทางกายเพียงพอต่ำกว่าผู้ชายในทุกกลุ่มอายุ

พบว่า ในปี พ.ศ. 2565 กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอเพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 60.6 (จากเดิมร้อยละ 58.6) ขณะที่กลุ่มวัยทำงาน อายุ 18-59 ปี และกลุ่มเด็กและเยาวชนอายุ 5-17 ปี มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอลดลง เหลือร้อยละ 65.8 (จากเดิมร้อยละ 66.8 ) และร้อยละ 16.1 (จากเดิมร้อยละ 24.2) ตามลำดับ

สถานการณ์การมีกิจกรรมทางกาย จำแนกตามสภาพแวดล้อม
การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของประชากรไทย จำแนกตามสภาพแวดล้อม ครอบครัว โรงเรียน ที่ทำงาน และชุมชน สรุปได้ดังนี้ 1. กิจกรรมทางกายในสภาพแวดล้อมครอบครัว ลักษณะครอบครัวมีส่วนสำคัญกับการมีกิจกรรมทางกาย ซึ่งพบว่าการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในแต่ละลักษณะครอบครัวมีสัดส่วนการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่ำกว่าค่าเป้าหมายของประเทศ จากการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2564 พบว่า ลักษณะครอบครัวที่อยู่พร้อมหน้าพ่อแม่ลูก มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอสูงสุด ร้อยละ 62.4 ซึ่งสูงกว่าครอบครัวในลักษณะอื่น ในขณะที่ ผู้ที่อยู่คนเดียวมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอที่ร้อยละ 53.7
2. กิจกรรมทางกายในสภาพแวดล้อมโรงเรียน โรงเรียนที่ให้ความสำคัญกับการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียน เช่น โครงการโรงเรียนฉลาดเล่น ที่ส่งเสริมให้เด็ก ๆ ได้มีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกายตลอดทั้งวัน สามารถเพิ่มสัดส่วนนักเรียนที่มีกิจกรรมทางกายได้เพียงพอ จากการศึกษานักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ในโครงการโรงเรียนฉลาดเล่น ปี พ.ศ. 2562 พบว่านักเรียนในโรงเรียนที่ร่วมโครงการ มีสัดส่วนนักเรียนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอที่ร้อยละ 15.9 ขณะที่ โรงเรียนทั่วไปที่ไม่ร่วมโครงการ มีสัดส่วนนักเรียนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอที่ร้อยละ 0.6
3. กิจกรรมทางกายในสภาพแวดล้อมที่ทำงาน การมีกิจกรรมทางกายในสถานที่ทำงาน พบว่า กลุ่มลูกจ้าง ทั้งในภาคเอกชน ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ เป็นกลุ่มคนทำงานที่มีสัดส่วนของผู้ที่มีกิจกรรมทางกายโดยเฉลี่ยในแต่ละวันที่ไม่เพียงพอสูงกว่ากลุ่มอื่น คิดเป็นร้อยละ 41.7 39.4 และ 39.5 ตามลำดับ ดังนั้น องค์กรที่ทำงานจึงควรมีบทบาทในการสนับสนุนและส่งเสริมสภาพแวดล้อมด้านอาหารในที่ทำงานหรือบริเวณโดยรอบที่ทำงานที่เอื้อต่อการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพของคนทำงาน รวมถึงมีนโยบายหรือมาตรการเพื่อสนับสนุนให้ลูกจ้างหรือคนทำงานได้มีการเคลื่อนไหว มีกิจกรรมทางกายในระหว่างการทำงานและการออกกำลังกายอย่างเพียงพอเพิ่มขึ้น 4. กิจกรรมทางกายในสภาพแวดล้อมชุมชน ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของคนในชุมชน คือ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย ชุมชนที่มีโครงสร้างพื้นฐานให้เดินหรือปั่นจักรยาน มีการบริหารจัดการพื้นที่และกิจกรรมของชุมชน ทั้งการส่งเสริมให้มีการเล่นกีฬา กิจกรรมนันทนาการ การจัดแข่งกีฬาหรือกิจกรรมทางกาย จะส่งผลให้ประชาชนในชุมชนมีระดับกิจกรรมทางกายที่เพียงพอสูงกว่าชุมชนที่ไม่ได้มีการสร้างเสริมสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการมีกิจกรรมทางกาย

กิจกรรมทางกายและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประชากรที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ สามารถลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable Diseases: NCD) ได้ จากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของประชากรปี พ.ศ. 2564 พบว่า กลุ่มประชากรที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอตรวจพบโรคไม่ติดต่อเรื้อรังน้อยกว่ากลุ่มประชากรที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ผู้มีกิจกรรมทางกายเพียงพอตรวจพบการเป็นความดันโลหิตสูงที่ร้อยละ 18.4 โรคเบาหวานที่ร้อยละ 8.9 ขณะที่ผู้มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอพบการเป็นความดันโลหิตสูงที่ร้อยละ 23.4 โรคเบาหวานที่ร้อยละ 11.8 ดังนั้น การส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้เพียงพอในทุกเพศและทุกวัย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในระยะยาว

 

นำเสนอผลข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในงาน Southern Research Expo and Innovation Showcaase 2023 23 มิ.ย. 2566 23 มิ.ย. 2566

 

นำเสนอผลข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในงาน “Innovation for Society and Future” จัดโดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วันที่ 23-24 มิ.ย.66 ณ หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล หาดใหญ่

 

นำเสนอผลข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ดังนี้
กิจกรรมทางกาย (Physical Activity : PA) เป็นการเคลื่อนไหวหรือการออกแรงของร่างกายในการทำกิจกรรมรูปแบบต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ 1) การทำงาน/งานบ้าน 2) การเดินทาง 3) การมีกิจกรรมนันทนา การกีฬา และการออกกำลังกาย  การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอเป็นหนึ่งในปัจจัยสาเหตุหลักนำไปสู่การโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (non-communicable diseases : NCDs) ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมอง ทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรั้ง และโรคมะเร็ง คนไทยเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังปีละเกือบ 400,000 คน คิดเป็น 76% ของการเสียชีวิตทั้งหมด และ 50% เสียชีวิตก่อนวัยอันควร เพื่อการจัดการปัญหาสุขภาพโดยการส่งเสริมป้องกันให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีนั้น วิธีวิจัยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) และกระบวนการนโยบายสาธารณะ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาข้อเสนอนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในระดับชาติผ่านเครื่องมือสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พัฒนากลไกกองทุนสุขภาพตำบลที่มีแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับตำบล รวมทั้งพัฒนาพื้นที่ต้นแบบด้านการปรับสภาพแวดล้อมทางสถาปัตยกรรมให้เอื้อและจูงใจต่อการมีกิจกรรมทางกายในชุมชนท้องถิ่นและเอกชน ผลลัพธ์ 1) ได้มติการส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น จำนวน 9 มติ 2) เกิดการขับเคลื่อนกลไกกองทุนสุขภาพตำบล 12 เขตสุขภาพ มีแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3,068 แผน และมีโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายปฏิบัติการในระดับตำบลจำนวน 8,205 โครงการ 3) เกิดพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายในทางสถาปัตยกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 4 พื้นที่

 

ประชุมเอกสารนำเข้า PA และกำหนดตัวชี้วัดและแผนติดตามขับเคลื่อนต่อหลังงานสร้างสุข PA 18 ก.ค. 2566 18 ก.ค. 2566

 

ประชุมเอกสารนำเข้า PA และกำหนดตัวชี้วัดและแผนติดตามขับเคลื่อนต่อหลังงานสร้างสุข PA

 

  • ได้เอกสารนำเข้า PA
  • ได้กำหนดการ/กระบวนการทำแผน
  • เตรียมวิทยากร

 

(P001001) การประชุมออกแบบกระบวนการนโยบายสาธารณะการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เพื่อรวบรวมองค์ความรู้/ชุดความรู้นวัตกรรม 26 ก.ค. 2566 26 ก.ค. 2566

 

ออกแบบกระบวนการนโยบายสาธารณะการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เพื่อรวบรวมองค์ความรู้/ชุดความรู้นวัตกรรม

 

  1. ได้กระบวนการกลุ่มย่อย ทำแผน 3 ปี เรียงตามมติสมัชชา PA
  2. จัดลำดับ PA ตามแนวคิดปัจจัยกำหนดสุขภาพ (Determinant of Health) คือ 1) Active People  2) Active Environment 3) Active Society 4) Active system

 

เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือน สิงหาคม 2566 31 ส.ค. 2566 29 ก.ย. 2566

 

-

 

-

 

ทีมงานติดตามงานและวางแผนการดำเนินโครงการ 19 ก.ย. 2566 19 ก.ย. 2566

 

ทีมงานติดตามงานและวางแผนการดำเนินโครงการ

 

แผนดำเนินงาน PA ปี 66
- การพัฒนาศักยภาพ 1. แผนการพัฒนาเครือข่ายสื่อ 3 ภาค
2. แผนพัฒนาศักยภาพเครือข่าย กกท./อปท.
3. แผนส่งเสริมกิจกรรม PA ในพื้นที่ต้นแบบ

  • การพัฒนาระดับพื้นที่
  1. คัดเลือกพื้นที่/ยกระดับพื้นที่ ภาคละ 2 จังหวัด รวม 60 ท้องถิ่น
  2. แผนพัฒนาพื้นที่ต้บแบบ PA 12 แห่ง
  • การพัฒนาระดับนโยบายชาติ/ท้องถิ่น
  1. แผนขับเคลื่อนนโยบายระดับชาติ ท้องถิ่น
  2. แผนขับเคลื่อนกับ กกท.และอปท. (สมาคมฯ อบจ./สันนิบาตเทศบาล/อบต.)
  • DATA ฐานข้อมูลสนับสนุน
  1. ทบทวนข้อมูล PA เพื่อจัดทำร่างข้อเสนอนโยบาย
  2. ปรับปรุงคู่มือพื้นที่สาธารณะและคำนึงความปลอดภัย ซึ่งคู่มือพื้นที่สุขภาวะที่ตอบโจทย์พื้นที่ ดังนี้ 1. พื้นที่ลานกีฬา กกท. 2. พื้นที่สาธารณะท้องถิ่น 3. พื้นที่ PA ในโรงเรียน/ศูนยืเด็กเล็ก
  3. ปรับปรุงคู่มือทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายโครงการ
  4. ปรับปรุงเว็บ Pathail.com เป็นสื่อสาธารณะ PA /เป็นฐานข้อมูล PA สนส.ม.อ. /เชื่อมโยงเว็บกองทุนสุขภาพตำบล
  • ระบบกลไกสนับสนุน / ติดตามประเมินผล
  1. แต่งตั้งคณะทำงานวิชาการ PA
  2. สร้างทีมกลไกสื่อ PA 3 ภาค
  3. ยกระดับ/ขยายกลไกพี่เลี้ยง PA
  4. แผนประเมิน CIPP และ SROI

 

ค่าธรรมเนียมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย งวดที่ 1 19 ก.ย. 2566 19 ก.ย. 2566

 

-

 

-

 

เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือน กันยายน 2566 29 ก.ย. 2566 29 ก.ย. 2566

 

-

 

-

 

ประชุมปรับปรุงเว็บไซต์ระบบออนไลน์ การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 14 ต.ค. 2566 14 ต.ค. 2566

 

ประชุมปรับปรุงเว็บไซต์ระบบออนไลน์ การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

 

ประชุมปรับปรุงเว็บไซต์ระบบออนไลน์ การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

 

วางแผนการทำงานการขับเคลื่อนงาน PA กับ กกท.และ อปท. 16/10/66 16 ต.ค. 2566 16 ต.ค. 2566

 

วางแผนการทำงานการขับเคลื่อนงาน PA กับ กกท.และ อปท.

 

  1. กำหนดพื้นที่ให้ กกท.และ อปท.คัดเลือกพื้นที่ ภาคละ 2 จังหวัด รวมทั้งหมด 6 จังหวัด / 60 ท้องถิ่น
  2. ได้แผนปฏิบัติการโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ปี 2566-2567
  3. แผนปฏิบัติการดำเนินการตาม CoO4 แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย นำไปสู่ผลลัพธ์สุขภาพ คือ ลดผลกระทบสุขภาพจากโรคไม่ติดต่อที่เกิดจากการขาดกิจกรรมทางกาย และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ

 

หารือการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จ.ตรัง 17 ต.ค. 2566 17 ต.ค. 2566

 

ประชุมปรึกษาหารือการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

 

วันที่ 17 ตุลาคม 2566 ณ สนามกีฬาเมืองหลักภาคใต้ (พรุค้างคาว) อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา คณะทำงานโครงกายกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นำโดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ หัวหน้าโครงการ นายญัตติพงศ์ แก้วทอง เจ้าหน้าที่วิจัย นางสาวฐิติชญา หนูสอน และมนชนก แก้วชูเชิด ผู้ช่วยวิจัยและผู้ประสานงานโครงการ  เข้าหารือกับนายณรงค์ โสภารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทย จังหวัดตรัง เรื่องการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น นำร่องจังหวัดตรัง จำนวน 10 ท้องถิ่น และยกระดับการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ 2 พื้นที่ รวมทั้งได้รับคำแนะนำจากท่าน ผอ.ณรงค์ โสภารัตน์ เรื่องการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพของคนในพื้นที่ และการคัดเลือกพื้นที่นำร่องในภาคเหนือกับตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่านและจังหวัดศรีสะเกษ

 

ประชุมปรับปรุงเว็บไซต์ Pathailand 17 ต.ค. 2566 17 ต.ค. 2566

 

ประชุมปรับปรุงเว็บไซต์ Pathailand

 

คณะทำงานโครงการ PA สนส.ม.อ. นำโดย ดร.สุวภาคย์ นายญัตติพงศ์ น.ส.ฐิติชญา และนายภวินท์ (นักวิชาการคอมพิวเตอร์) ได้ประชุมปรับปรุงเว็บไซต์ Pathailand เพื่อให้เป็นสื่อสาธารณะ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร บทความ งานวิชาการที่เกี่ยวช้องกับการส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้สังคมต่อไป

 

ประชุมปรึกษาหารือเรื่องการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น 20 ต.ค. 2566 20 ต.ค. 2566

 

ปรึกษาหารือเรื่องการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น

 

วันที่ 20 ตุลาคม 2566 ณ อบต.ท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ หัวหน้าโครงการและคณะทำงาน โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าหารือปรึกษากับ ดร. สินธพ อินทรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม เรื่องการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น และได้รับคำแนะนำจากท่าน ดร. สินธพ อินทรัตน์ เรื่องการขับเคลื่อนงานส่งเสริมกิจกรรมทางกายกับสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย

 

(P001001) การประชุมเพื่อรวบรวมองค์ความรู้/ชุดความรู้นวัตกรรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 24 ต.ค. 2566 24 ต.ค. 2566

 

วันที่ 24 ตุลาคม 2566 เวลา 10.00-11.00 น. ณ ชั้น 10 สนส.ม.อ. และ zoom ออนไลน์
ประชุมเพื่อรวบรวมองค์ความรู้/ชุดความรู้นวัตกรรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

 

สรุปประชุม วันที่ 24 ตุลาคม 2566 เวลา 10.00-11.00 น. ณ ชั้น 10 สนส.ม.อ. และ zoom ออนไลน์ 1. ชื่อกิจกรรม การประชุมเพื่อรวบรวมองค์ความรู้/ชุดความรู้นวัตกรรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2. วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม เพื่อได้ข้อมูลข้อเสนอเชิงนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของคนไทยเสนอต่อหน่วยงานที่กำหนด 3. ตัวชี้วัด ได้องค์ความรู้การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้แก่ 1. การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2. การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน
3. ความปลอดภัยในพื้นที่สวนสาธารณะ

  1. จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม / รายชื่อ
    จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม 5 คน
    หน่วยงาน/รายชื่อ
    คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    1. ดร.ภก. ธนเทพ วณิชยากร

    สถาบันนโยบายสาธารณะ

  2. ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์
  3. นายญัตติพงศ์ แก้วทอง
  4. นางสาวฐิติชญา หนูสอน
  5. นางสาวมนชนก แก้วชูเชิด

  6. รายละเอียดการจัดกิจกรรม

    1. สร้างความเข้าใจภาพรวมโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
    2. Mapping ข้อมูลการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน และความปลอดภัยในพื้นที่สวนสาธารณะ
    3. กำหนดหัวข้อทบทวนเอกสาร
  7. ผลลัพธ์ (เชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ)

    1. ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
    2. ได้หัวข้อทบทวนเอกสาร ได้แก่ 1) การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2) การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน 3) ความปลอดภัยในพื้นที่สวนสาธารณะ
    3. ได้แนวทางการนำข้อมูลต่อหน่วยงานที่กำหนดนโยบาย ผ่านรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายไปปฏิบัติ
    4. ข้อมูลการออกแบบพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การทบทวนเอกสารจะได้ 2 แนวทาง คือ 1. การวัดผลเกณฑ์มาตรฐานการใช้พื้นที่สาธารณะ และ 2. การออกแบบพื้นที่สาธารณะ/ตัวอย่างพื้นที่ออกแบบ
  8. แผนการดำเนินการต่อ

    1. กำหนดวันสุดท้ายการทบทวนเอกสารช่วงเดือนมกราคม 2567
    2. รายงานความก้าวหน้าการทวนเอกสารเดือนละ 2 ครั้ง
    • พฤศจิกายน 2566 จำนวน 2 ครั้ง
    • ธันวาคม 2566 จำนวน 2 ครั้ง
    1. ช่วงเดือนมกราคม 2567 นำข้อมูลจัดเวทีแลกเปลี่ยนและนำข้อเสนอสู่ผู้กำหนดนโยบาย

 

หารือการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายกับการกีฬาแห่งประเทศไทย จ.ตรัง จ.ศรีสะเกษ และจ.น่าน 24 ต.ค. 2566 24 ต.ค. 2566

 

  • กิจกรรม
    หารือการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายกับการกีฬาแห่งประเทศไทย จ.ตรัง จ.ศรีสะเกษ และจ.น่าน
  • วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม เพื่อเชื่อมประสานการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ การทำแผนและโครงการกับกับหน่วยงานการกีฬาแห่งประเทศไทย
  • ตัวชี้วัด ได้รับความร่วมมือในการขับเคลื่อนกิจกรรมของโครงการ

 

  • หน่วยงานเข้าร่วมประชุม การกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง น่าน ศรีสะเกษ และสถาบันนโยบาบสาธารณะ ม.อ.
  • ผลลัพธ์ (เชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ) ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น นำร่องจังหวัดตรัง น่าน และศรีสะเกษ จำนวน 30 ท้องถิ่น และยกระดับการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ 6 พื้นที่ และได้แผนการพัฒนาศักยภาพภาคีการกีฬาแห่งประเทศความรู้ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกาย การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะการทำแผนและโครงการ แผนการดำเนินการต่อ: ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกาย การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะการทำแผนและโครงการ ในจังหวัดนำร่อง ตรัง น่าน และศรีสะเกษ

 

หารือการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่ ร่วมกับสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบล จ.สุราษฎร์ธานี 26 ต.ค. 2566 26 ต.ค. 2566

 

  • กิจกรรม หารือการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายกับการกีฬาแห่งประเทศไทย จ.สุราษฎร์ธานี
  • วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม เพื่อเชื่อมประสานการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ การทำแผนและโครงการกับกับหน่วยงานการกีฬาแห่งประเทศไทย
  • ตัวชี้วัด ได้รับความร่วมมือในการขับเคลื่อนกิจกรรมของโครงการ
  • จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม 5 คน
  • หน่วยงาน เลขาธิการนายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย และสถาบันนโยบายสาธารณะ ม.อ.

 

ผลลัพธ์ (เชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ) ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น นำร่องจังหวัดสุราษฏร์ธานี จำนวน 10 ท้องถิ่น และยกระดับการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ 2 พื้นที่
แผนการดำเนินการต่อ: ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกาย การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะการทำแผนและโครงการ ในจังหวัดนำร่องจังหวัดสุราษฎร์ธานี และขยายผลการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะกับสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย

 

ประชุมวางแผนทำแผนโครงการร่วมกับพี่เลี้ยงในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ 31 ต.ค. 2566 31 ต.ค. 2566

 

  • กิจกรรม หารือการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายกับพี่เลี้ยงโครงการ 3 ภาค (เหนือ อีสาน ใต้)
  • วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม เพื่อเชื่อมประสานการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ การทำแผนและโครงการในพื้นที่ภาคเหนือ อีสาน และใต้
  • ตัวชี้วัด ได้รับความร่วมมือในการขับเคลื่อนกิจกรรมของโครงการ

 

  • จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม / รายชื่อ / หน่วยงาน
    จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม 8 คน
    หน่วยงาน/รายชื่อ
    คณะทำงานภาคเหนือ อีสาน และใต้
    1.นายสุวิทย์ สมบัติ คณะทำงานภาคเหนือ
    1. นางสาวเพชรรุ่ง เชาวกรวัชร์ คณะทำงานภาคเหนือ
    2. นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ คณะทำงานภาคอีสาน
    3. ภก.สมชาย ละอองพันธ์ คณะทำงานภาคใต้
      สถาบันนโยบายสาธารณะ
  1. ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์
  2. นายญัตติพงศ์ แก้วทอง
  3. นางสาวฐิติชญา หนูสอน
  4. นางสาวมนชนก แก้วชูเชิด
  • ผลลัพธ์ (เชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ) ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น นำร่องจังหวัดสุราษฏร์ธานี จำนวน 10 ท้องถิ่น และยกระดับการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ 2 พื้นที่

  • แผนการดำเนินการต่อ: ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกาย การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะการทำแผนและโครงการ ในจังหวัดนำร่องจังหวัดสุราษฎร์ธานี และขยายผลการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะกับสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย

 

เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ ประจำเดือนตุลาคม 2566 31 ต.ค. 2566 31 ต.ค. 2566

 

-

 

-

 

ประชุมติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3 พ.ย. 2566 3 พ.ย. 2566

 

-

 

-

 

ค่าจัดจ้างการทำตรายางหมึกในตัวชื่อโครงการและรหัสโครงการ 3 พ.ย. 2566 3 พ.ย. 2566

 

-

 

-

 

(P001001) ประชุมรวบรวมองค์ความรู้/ชุดความรู้ นวัตกรรมเรื่องพื้นที่สุขภาวะ ความปลอดภัยด้านกิจกรรมทางกายในพื้นที่สาธารณะ การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่อคนไทย 9 พ.ย. 2566 9 พ.ย. 2566

 

-

 

-

 

(P001001) การรวบรวมองค์ความรู้-ชุดความรู้ นวัตกรรม เรื่องพื้นที่สุขภาวะ ความปลอดภัยด้านกิจกรรมทางกายในพื้นที่สาธารณะ การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่อคนไทย งวดที่ 1 13 พ.ย. 2566 13 พ.ย. 2566

 

-

 

-

 

ตรวจสอบบัญชีโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย งวดที่ 1 14 พ.ย. 2566 14 พ.ย. 2566

 

-

 

-

 

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่นำร่องของการกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง 19 พ.ย. 2566 20 พ.ย. 2566

 

  • กิจกรรม การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในพื้นที่นำร่องของการกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง
  • วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม
    1) พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ 2) เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ตัวชี้วัด
    1) ผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่
    2) ได้แผนการดำเนินงานในการขับเคลื่อนนโยบายการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในจังหวัดตรัง
    3) ได้พื้นที่ดำเนินการจำนวน 10 แห่ง และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะต้นแบบการส่งเสริมกิจกรรมทางกายจำนวน 2 พื้นที่

  • จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม / หน่วยงาน
    ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 66 คน

  • คณะทำงานสนส.มอ. จำนวน 5 คน
  • การกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง จำนวน 9 คน
  • เครือข่ายอาสาสมัครกีฬาและผู้นำการออกกำลังกาย(อสก.) และชมรมในพื้นที่ จำนวน 25 คน
  • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 17 คน
  • เครือข่ายสื่อ จำนวน 5 คน
  • พี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพจังหวัดตรัง จำนวน 5 คน

รายละเอียดการจัดกิจกรรม
เวลา รายละเอียด วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2566
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม 09.00 - 09.10 น. กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุม โดย นายณรงค์ โสภารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง 09.10 - 09.40 น. แนะนำโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
โดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 09.40 - 12.00 น. ระดมความคิดเห็นและวางแผนเชิงปฏิบัติการจัดทำ RoadMap ดำเนินงานในการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดย ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน
ผู้ดำเนินรายการโดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ และพี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพจังหวัดตรัง 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 15.00 น. วางแผนและจัดทำ RoadMap การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย
โดย ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ผู้ดำเนินการประชุม: ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ 15.00 – 16.00 น. วางแผนและจัดทำ RoadMap พัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อให้ความรู้เรื่องกิจกรมทางกายและนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
โดย ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ผู้ดำเนินการประชุม: ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ 16.00 – 16.30 น. สรุปผลการประชุมและชี้แจงแนวทางดำเนินการต่อ
โดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์

 

  • ผลลัพธ์ (เชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ) 1) ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ จำนวน 66 คน
    2) ได้พื้นที่นำร่อง จ.ตรัง จำนวน 10 ท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาลตำบลย่านตาขาว เทศบาลนครตรัง เทศบาลตำบลวังวิเศษ อบต.เขาไม้แก้ว อบต.ปะเหลียน อบต.หาดสำราญ อบต.หนองปรือ อบต.ปากคม ทต.นาโยงเหนือ และ อบต.คลองลุ 3) ได้แผนปฏิบัติการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จำนวน 10 แห่ง
    4) ได้แผนปฏิบัติการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ เทศบาลตำบลย่านตาขาว และชุมชนน้ำผุด เทศบาลนครตรัง

  • แผนการดำเนินการต่อ
    1) เก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ ของแต่ละกองทุน 2) สนับสนุน ส่งเสริมให้กองทุนสุขภาพตำบล/ท้องถิ่น มีแผนการเพิ่ม PA
    3) สนับสนุน ส่งเสริมให้ เครือข่าย/กลุ่ม/ชุมชน สามารถเขียนโครงการ PA เพื่อของบประมาณจากแหล่งทุนในพื้นที่ฯ
    4) สนับสนุนให้ท้องถิ่นออกแบบพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมี PA และสนับสนุนปฏิบัติการเพื่อเพิ่ม PA ในชุมชน

 

(P001001) การประชุมติดตามความก้าวหน้าการทบทวนเอกสาร (Progress report) 24 พ.ย. 2566 24 พ.ย. 2566

 

.

 

.

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 26 พ.ย. 2566 29 พ.ย. 2566

 

  • กิจกรรม การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ในพื้นที่นำร่องของจังหวัดน่านและลำพูน
    วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม
    1) เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ 2) เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย
  1. ตัวชี้วัด 1) ผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรม ทางกายในพื้นที่
    2) ได้แผนการดำเนินงานในการขับเคลื่อนนโยบายการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในจังหวัดตรัง
    3) ได้พื้นที่ดำเนินการจำนวน 10 แห่ง และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะต้นแบบการส่งเสริมกิจกรรมทางกายจำนวน 2 พื้นที่

จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม / รายชื่อ / หน่วยงาน
ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 82 คน - คณะทำงานสนส.มอ. จำนวน 5 คน - การกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดน่าน จำนวน 28 คน - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 39 คน - เครือข่ายสื่อ จำนวน 4 คน - พี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพ จำนวน 6 คน

  • รายละเอียดการจัดกิจกรรม
    เวลา รายละเอียด วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน 2566 08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม 09.00 - 09.30 น. กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุม โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
      รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 09.30 - 10.30 น. แนะนำโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
    โดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 10.30 - 12.00 น. ระดมความคิดเห็นและวางแผนเชิงปฏิบัติการจัดทำ RoadMap ดำเนินงานในการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดย ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน
    ผู้ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 15.00 น. วางแผนและจัดทำ RoadMap การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย
    โดย ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ผู้ดำเนินการประชุม: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ 15.00 – 16.00 น. วางแผนและจัดทำ RoadMap พัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อให้ความรู้เรื่องกิจกรมทางกายและนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
    โดย ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ผู้ดำเนินการประชุม: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ 16.00 – 16.30 น. สรุปผลการประชุมและชี้แจงแนวทางดำเนินการต่อ
    โดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์

 

  • ผลลัพธ์ (เชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ) 1) ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ จำนวน 82 คน
    2) ได้พื้นที่นำร่อง จ.ลำพูนและน่าน จำนวน 20 ท้องถิ่น ดังนี้
  • จ.ลำพูน ได้แก่ เทศบาลตำบลริมปิง เทศบาลตำบลบ้านแป้น เทศบาลเมืองลำพูน เทศบาลตำบลอุโมงค์ เทศบาลตำบลมะเขือแจ้ เทศบาลตำบลป่าสัก เทศบาลตำบลศรีบัวบาน เทศบาลตำบลบ้านกลาง เทศบาลตำบลเหมืองง่า เทศบาลตำบลเวียงยอง
  • จ.น่าน ได้แก่ เทศบาลเมืองน่าน เทศบาลตำบลดู๋ใต้ องค์การบริหารส่วนตำบลผาสิงห์ องค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุม องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สาคร องค์การบริหารส่วนตำบลเปือ องค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ เทศบาลตำบลพระพุทธบาทเชียงคาน องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงติ๊ด

    3) ได้แผนปฏิบัติการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จำนวน 20 แห่ง
    4) ได้แผนปฏิบัติการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ เทศบาลตำบลริมปิง เทศบาลตำบลบ้านแป้น เทศบาลเมืองน่าน และเทศบาลตำบลดู๋ใต้

  • แผนการดำเนินการต่อ
    1) เก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ ของแต่ละกองทุน 2) สนับสนุน ส่งเสริมให้กองทุนสุขภาพตำบล/ท้องถิ่น มีแผนการเพิ่ม PA
    3) สนับสนุน ส่งเสริมให้ เครือข่าย/กลุ่ม/ชุมชน สามารถเขียนโครงการ PA เพื่อของบประมาณจากแหล่งทุนในพื้นที่ฯ
    4) สนับสนุนให้ท้องถิ่นออกแบบพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมี PA และสนับสนุนปฏิบัติการเพื่อเพิ่ม PA ในชุมชน

 

เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ ประจำเดือนพฤศจิกายน 2566 30 พ.ย. 2566 30 พ.ย. 2566

 

-

 

-

 

ทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายกับเครือข่ายอีสาน (จ.อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ) 1 ธ.ค. 2566 1 ธ.ค. 2566

 

กิจกรรม: การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานี และศรีสะเกษ
วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม
1) เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ 2) เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย
ตัวชี้วัด 1) ผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่
2) ได้แผนการดำเนินงานในการขับเคลื่อนนโยบายการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในจังหวัดตรัง
3) ได้พื้นที่ดำเนินการจำนวน 10 แห่ง และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะต้นแบบการส่งเสริมกิจกรรมทางกายจำนวน 2 พื้นที่

จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม / รายชื่อ / หน่วยงาน
ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 74 คน - คณะทำงานสนส.มอ. จำนวน 5 คน - การกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 7 คน - เครือข่ายอาสาสมัครกีฬาและผู้นำการออกกำลังกาย(อสก.) และชมรมในพื้นที่ จำนวน - คน - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 55 คน - เครือข่ายสื่อ จำนวน 3 คน - พี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพ จำนวน 4 คน

รายละเอียดการจัดกิจกรรม
เวลา รายละเอียด วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน 2566 08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม 09.00 - 09.30 น. กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุม โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ       รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 09.30 - 10.30 น. แนะนำโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
โดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 10.30 - 12.00 น. ระดมความคิดเห็นและวางแผนเชิงปฏิบัติการจัดทำ RoadMap ดำเนินงานในการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดย ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน
ผู้ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 15.00 น. วางแผนและจัดทำ RoadMap การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย
โดย ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ผู้ดำเนินการประชุม: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ 15.00 – 16.00 น. วางแผนและจัดทำ RoadMap พัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อให้ความรู้เรื่องกิจกรมทางกายและนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
โดย ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ผู้ดำเนินการประชุม: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ 16.00 – 16.30 น. สรุปผลการประชุมและชี้แจงแนวทางดำเนินการต่อ
โดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์

 

ผลลัพธ์ (เชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ) 1) ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ จำนวน 74 คน
2) ได้พื้นที่นำร่อง จ.อุบลราชธานี จำนวน 20 ท้องถิ่น ดังนี้
- จ.อุบลราชธานี
- จ.ศรีสะเกษ
องค์การบริหารส่วนตำบลตระกาจ องค์การบริหารส่วนตำบลกุดเสลา เทศบาลตำบลขุนหาญ เทศบาลตำบลโพธิ์กระสังข์ เทศบาลตำบลยางชุมน้อย องค์การบริหารส่วนตำบลกุง  องค์การบริหารส่วนตำบลเสียว องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแก้ว และองค์การบริหารส่วนตำบลดองกำเม็ด 3) ได้แผนปฏิบัติการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จำนวน 20 แห่ง
4) ได้แผนปฏิบัติการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จำนวน 4 แห่ง

แผนการดำเนินการต่อ
1) เก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ ของแต่ละกองทุน 2) สนับสนุน ส่งเสริมให้กองทุนสุขภาพตำบล/ท้องถิ่น มีแผนการเพิ่ม PA
3) สนับสนุน ส่งเสริมให้ เครือข่าย/กลุ่ม/ชุมชน สามารถเขียนโครงการ PA เพื่อของบประมาณจากแหล่งทุนในพื้นที่ฯ
4) สนับสนุนให้ท้องถิ่นออกแบบพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมี PA และสนับสนุนปฏิบัติการเพื่อเพิ่ม PA ในชุมชน

 

ประชุมหารือการจัดโมดูลพัฒนาศักยภาพสื่อฯ PA 14 ธ.ค. 2566 14 ธ.ค. 2566

 

ประชุมหารือการจัดโมดูลพัฒนาศักยภาพสื่อฯ

 

  1. ได้กำหนดการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การสื่อสารสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ” ระหว่างวันที่ 31 มกราคม 1-2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 ณ ชั้น 14 สนส.ม.อ.
    และทางออนไลน์ระบบ Zoom ลิงก์ https://zoom.us/j/9019029105
  2. กลุ่มเป้าหมาย: สื่อภาคเหนือ ใต้ อีสาน, พี่เลี้ยงทำงาน, นักศึกษา ป.โท และ ผู้สนใจทั่วไป

 

(P001001) รายงานความก้าวหน้าการทบทวนเอกสารพื้นที่สาธารณะ 19 ธ.ค. 2566 19 ธ.ค. 2566

 

รายงานความก้าวหน้าการทบทวนเอกสารพื้นที่สาธารณะ

 

  1. ได้ข้อมูลเอกสารทุติยภูมิและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพื้นที่สาธารณะ
  2. ข้อมูลถูกนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาข้อเสนอนโยบาย

แนวทางการดำเนินการต่อ 1. พัฒนาข้อเสนอนโยบายพื้นที่สาธารณะ 2. ข้อเสนอฯผ่านการแลกเปลี่ยนผู้ทรงคุณวุฒิในสถาบันและนอกสถาบัน 3. ข้อมูลผ่านเวทีสาธารณะเพื่อขับเคลื่อนนโยบายฯต่อไป

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดสุราษฎร์ธานี 20 ธ.ค. 2566 20 ธ.ค. 2566

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดสุราษฎร์ธานี วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม 2566 เวลา 8.30-16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงแรมบรรจงบุรี
ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี

………………………………………………………………………….

  1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ 1.2 เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย

  2. ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 73 คน

- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง จำนวน 20 คน - โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กท้องถิ่น จำนวน 10 คน - อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 10 คน - ชมรมออกกำลังกายในพื้นที่ จำนวน 20 คน - สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 11 สุราษฎร์ธานี จำนวน 2 คน - กลไกสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และกลไกสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในพื้นที่ (กองทุน อบจ./สสส., โหนดจังหวัด สสส.) จำนวน 4 คน - เครือข่ายสื่อ จำนวน 2 คน

กำหนดการ เวลา รายละเอียด วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม 2566
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม 09.00 - 09.10 น. กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุม โดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 09.10 – 09.20 กล่าวเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย
โดย นายปราโมทย์ เพชรรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก จังหวัดสุราษฎร์ธานี เลขาธิการนายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย 09.20 - 09.50 น. แนะนำโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
โดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 09.50 – 10.10 น. - แนะนำกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เขต 11
- แนะนำกลไกสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในพื้นที่ (กองทุน อบจ./สสส., โหนดจังหวัด สสส.) 10.10 - 12.00 น. แบ่งกลุ่ม จำนวน 10 กลุ่ม (10 ท้องถิ่น) และกลุ่มสื่อ 1 กลุ่ม ระดมความคิดเห็นและวางแผนเชิงปฏิบัติการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 1. วิเคราะห์สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกิจกรรมทางกายของแต่ละกลุ่ม 2. วางเป้าหมายร่วมกัน 3. เสนอแนวทางเพื่อจัดทำเป็นโครงการ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ โดย ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน
ผู้ดำเนินรายการโดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 15.30 น. นำเสนอ กลุ่มละ 10 นาที /แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่
โดย ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ผู้ดำเนินการประชุม: ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 15.30 – 16.15 น. สรุปผลการประชุมและชี้แจงแนวทางดำเนินการต่อ
โดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์
16.15 – 16.30 น. กล่าวปิดการประชุม
โดย นายปราโมทย์ เพชรรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก จังหวัดสุราษฎร์ธานี เลขาธิการนายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย

 

  • ผลลัพธ์ (เชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ) 1) ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ จำนวน 73 คน
    2) ได้พื้นที่นำร่อง จ.สุราษฏร์ธานี จำนวน 9 ท้องถิ่น ดังนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก องค์การบริหารส่วนตำบลชลคราม องค์การบริหารส่วนตำบลไชยคราม องค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียนทอง องค์การบริหารส่วนตำบลป่าร่อน องค์การบริหารส่วนตำบลเขาวง องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพุ องค์การบริหารส่วนตำบลตะกุกเหนือ องค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน 3) ได้แผนปฏิบัติการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จำนวน 9 แห่ง
    4) ได้แผนปฏิบัติการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จำนวน 3 แห่ง

  • แผนการดำเนินการต่อ
    1) เก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ ของแต่ละกองทุน 2) สนับสนุน ส่งเสริมให้กองทุนสุขภาพตำบล/ท้องถิ่น มีแผนการเพิ่ม PA
    3) สนับสนุน ส่งเสริมให้ เครือข่าย/กลุ่ม/ชุมชน สามารถเขียนโครงการ PA เพื่อของบประมาณจากแหล่งทุนในพื้นที่ฯ
    4) สนับสนุนให้ท้องถิ่นออกแบบพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมี PA และสนับสนุนปฏิบัติการเพื่อเพิ่ม PA ในชุมชน

 

จัดการประชุมเวทีฟอรั่มการจัดการความรู้ ครั้งที่ 2 ภาคใต้ “ร่วมเปลี่ยนการศึกษา เพื่อเด็กทุกคน” 23 ธ.ค. 2566 23 ธ.ค. 2566

 

-

 

-

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามประเมินผลโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 26 ธ.ค. 2566 26 ธ.ค. 2566

 

-

 

-

 

เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ประจำเดือนธันวาคม 2566 28 ธ.ค. 2566 29 ธ.ค. 2566

 

-

 

-

 

ประชุมการสื่อสารสาธารณะการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กและเยาวชน 13 ม.ค. 2567 13 ม.ค. 2567

 

-

 

-

 

ค่าธรรมเนียมการโอนเงิน ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม 2567 15 ม.ค. 2567 15 ม.ค. 2567

 

.

 

.

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี 16 ม.ค. 2567 16 ม.ค. 2567

 

กำหนดการ 08.00-08.30 ลงทะเบียน 08.30-10.30 ทำความเข้าใจกับแผนการดำเนินงาน บทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน (คณะวิทยากร)
10.30-10.45 พักรับประทานอาหารว่าง 10.45-12.00 แนะนำการใช้เว็บการพัฒนาโครงการกิจกรรมทางกายผ่านเว็บLocalfund (คณะวิทยากร) 12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00-14.30 การสร้างความเข้าใจการเก็บข้อมูลผ่านมือถือ และการเชื่อโยงกับ เว็บ Localfund การสรรหาผู้เก็บข้อมูลตำบลละ 4 คน(คณะวิทยากร) 14.30-14.45 พักรับประทานอาหารว่าง 14.45-16.00 การเข้าถึงแหล่งทุนในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ

 

  1. คณะทำงานรู้ และเข้าใจรายละเอียดโครงการและแผนงานกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการสู่ผลลัพธ์
  2. คณะทำงานรับทราบและรับรองแผนกิจกรรม
  3. ได้ผู้ประสานงาน/คณะกลไกขับเคลื่อนโครงการ 8 คน จาก 8 ตำบล
  4. ได้พื้นที่เป้าหมายออกแบบทางสถาปัตย์เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่สุขภาวะ   4.1 โรงเรียนบ้านเขาพระอินทร์ ตำบลปากแพรก   4.2 ศพด. ไชยคราม ตำบลไชยคราม
  5. ได้พื้นที่โครงการในชุมชน และในสถานศึกษา โครงการละ 35,000 บาท   5.1 พื้นที่โครงการในชุมชนตำบลน้ำพุ   5.2 พื้นที่โครงการในชุมชนตำบลป่าร่อน   5.3 พื้นที่โครงการในสถานศึกษา ศพด. บ้านคราม ตำบลชลคราม   5.4 พื้นที่โครงการในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านท่านหญิงวิภา ตำบลตะกุกเหนือ
  6. ได้คนเก็บข้อมูลจากทั้ง 8 ตำบลๆละ 3-4 คน
  7. ได้รู้จักแหล่งทุนที่จะเสนอของบประมาณ จากหน่วยจัดการ สสส จ.สุราษฎร์ธานี   7.1 โครงการขนาดย่อม 60,000 บาท/โครงการ เข้าได้กับประเด็นลดพติกรรมเสี่ยงของโรค NCDs ด้วยหลัก 2อ. (อาหารและการออกกำลังกาย)   7.2 โครงการทั่วไป 100,000 บาท/โครงการ

 

ประชุมพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายในการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 17 ม.ค. 2567 17 ม.ค. 2567

 

-

 

-

 

ประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนกับภาคเครือข่ายในการพัฒนาแผนกิจกรรมทางกายและตำบลบูรณาการอาหารของท้องถิ่น 26 ม.ค. 2567 26 ม.ค. 2567

 

-

 

-

 

เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ประจำเดือนมกราคม 2567 31 ม.ค. 2567 31 ม.ค. 2567

 

-

 

-

 

ประชุมคณะทำงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ 4 ก.พ. 2567 4 ก.พ. 2567

 

กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง ประชุมสร้างความเข้าใจ เพื่อการเข้าถึงแหล่งทุน การวิเคราะห์ปัญหาชุมชน และการเขียนข้อเสนอโครงการ ผู้เข้าประชุม คณะทำงาน/ผู้ประสาน/ผู้สนใจจากชุมชน 5 คนจาก 8 ตำบล 1. นายคมพจน์ พิกุลทอง    อบต.ตะกุกเหนือ 2. นางสาวทัศณี มนต์แก้ว  อบต.ชลคราม 3. นางสาวศรีสุดา มุสิก    อบต.ชลคราม 4. นางกฤติยาภรณ์ ไทยเสน  อบต.น้ำพุ 5 นางสาวกานต์รวี ศิริทอง  อบต.น้ำพุ 6. นายสมนึก นุ่นด้วง คณะทำงาน/ผู้ประสานงานโครงการฯ กำหนดการ 08.00-08.30 ลงทะเบียน 08.30-10.30 ชี้แจงรายละเอียด/กรอบการสนับสนุนโครงการขนาดย่อม 60,000 บาท และโครงการทั่วไป 100,000 บาท โดย ดร.ดุริยางค์ วาสนา 10.30-10.45 พักรับประทานอาหารว่าง 10.45-12.00 ชี้แจงเงื่อนไข และคุณสมบัติผู้ขอรับทุน โดย ดร.ดุริยางค์ วาสนา 12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00-14.30 การสร้างความเข้าใจวิเคราะห์ปัญหาชุมชนด้วยตัวแบบต้นไม้ปัญหา โดย ดร.ดุริยางค์ วาสนา 14.30-14.45 พักรับประทานอาหารว่าง 14.45-16.00 การเขียนใบเสนอขอรับทุน โดย ดร.ดุริยางค์ วาสนา

 

  1. ผู้เข้าประชุมเข้าใจรายละเอียด วิธีการ เงื่อนไข การเขียนข้อเสนอโครงการขอรับทุน
  2. เขียนใบเสนอขอรับทุน 3 พื้นที่
    2.1 ตำบลตะกุกเหนือ โครงการเพื่อผลิตและบริโภคผักปลอดภัย
    2.2 ตำบลชลคราม โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สุงอายุในชุมชน
    2.3 ตำบลน้ำพุ โครงการลดละเลิกบุหรี่โดยชุมชนเป็นฐาน

 

ประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะฯ ร่วมกับพี่เลี้ยงในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ 6 ก.พ. 2567 6 ก.พ. 2567

 

ประชุมอัปเดทความก้าวหน้างาน PA และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปฏิบัติงาน วันอังคารที่ 6 ก.พ.67 เวลา 13.30-15.00 น. ทาง ZOOM 4 https://zoom.us/j/9019029104#success

ผู้เข้าร่วม จำนวน 10 คน
- สนส.ม.อ. 2 คน - พี่เลี้ยงภาคเหนือ 5 คน - สถาปนิกภาคเหนือ 1 คน
- พี่เลี้ยงภาคใต้ 1 คน - พี่เลี้ยงภาคอีสาน 1 คน

 

ความก้าวหน้า
ภาคเหนือ:
- ได้พื้นที่ส่งเสริมการทำแผนและโครงการ น่าน 11 แห่ง และลำพูน 10 แห่ง
- ได้คัดเลือกพื้นที่ต้นแบบ PA 4 แห่ง (ริมปิง, บ้านแป้น, น่านอีก 2 แห่ง) และได้ลงสำรวจศักยภาพของพื้นที่สำรวจพื้นที่ คุยกับท่านนายกฯ กองช่างและกองสาธารณสุขแล้ว แผนต่อไปคือ สร้างการมีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่โดยมีอาจารย์สถาปัตยกรรมมาช่วยกระบวนการออกแบบกับชุมชน
- แผนปฏิบัติงานถัดไป: วันที่ 12 และ 15 กุมภาพันธ์ 2567 จะมีการจัดประชุมทำแผนและโครงการในจังหวัดลำพูนและน่าน และลงสำรวจข้อมูลสถานการณ์กิจกรรมทางกายและประเด็นสุขภาพอื่นๆ

ภาคใต้: สุราษฯ
- ได้สำรวจสถานการณ์ PA และประเด็นสุขภาพอื่นๆ แล้ว
- ได้ทำแผนและโครงการของจังหวัดสุราษฯในกองทุนสุขภาพตำบล 10 แห่ง
- ได้พื้นที่ต้นแบบ PA 4 แห่ง
- ได้ออกแบบโครงการสนับสนุนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชุมชนและโรงเรียน
- ได้ผลักดันชุมชนขอทุนโครงการระดับจังหวัด
- แผนปฏิบัติงานถัดไป: ประชุมทำแผนและโครงการ PA วันที่ 21-22 ก.พ. 67 และสถาปนิกลงพื้นที่สร้างกระบวนการออกแบบเรียนรู้ และสนับสนุนกิจกรรมโครงการ

ภาคอีสาน:
- เปลี่ยนพื้นที่ดำเนินงานศรีสะเกษ โดยคุยกับ กกท.ศรีสะเกษ เนื่องจากแต่ละอำเภอพื้นที่ห่างไกล โดยเปลี่ยนเป็น อำเภอเมือง 5 แห่ง และอำเภอกันทลักษณ์ 5 แห่ง และอุบลฯ มีอำเภอเมืองและอำเภอวารินฯ 10 แห่ง
- แผนปฏิบัติงานถัดไป: สรุปพื้นที่และทำแผนและโครงการในกิจกรรมถัดไป


แลกเปลี่ยนเรียนรู้ - ขั้นตอนกระบวนการทางสถาปัตยกรรม
1. ได้แบบไกด์ไลน์
2. เอาไกด์ไลน์ไปคุยกับ Stakeholder
3. ได้แบบร่าง 3 แบบ เป็นมาสเตอร์แพลน 3 แบบ ในรูปแบบ 3D และ layout 4. รายงานเชิงโครงสร้าง 5. สถาปัตย์กับทางวิศวกรรม
6. การก่อสร้างจริง
- งาน สนส.ม.อ.ได้กำหนดขอบเขตส่งผลลงานถึงขั้นตอนที่ 3 คือ การออกแบบสถาปัตยกรรมในรูปแบบ 3D และ layout

แนวทางการดำเนินงานถัดไปของ สนส.ม.อ. 1. สนส.ม.อ.จัดประชุมหลักสูตรสื่อ เพื่อพัฒนาศักยภาพทีมงานสื่อ
2. ดูระบบการจัดการเงินสนับสนุนกิจกรรมในพื้นที่
3. ทำแบบเช็คลิสสถาปนิก เวลาสำรวจพื้นที่และการจัดกระบวนการ 4. พี่เลี้ยงส่งแผนปฏิบัติการในไฟล์ excel
5. กำหนดขอบเขตส่งผลงานทางสถาปัตยกรรมในรูปแบบ 3D และ layout 6. จัดทำแบบฟอร์มการสนับสนุนกิจกรรม PA ในพื้นที่

 

คณะทำงานสำรวจสถานที่ เทศบาลเมืองน่าน และเทศบาลตำบลดู่ใต้ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน และจังหวัดลำพูน 9 ก.พ. 2567 9 ก.พ. 2567

 

  1. ชี้แจงเป้าหมาย วัตถุประสงค์ (เพื่อชี้แจงรายละเอียดการจัดเก็บข้อมูลและการรวิเคราะห์ข้อมูลและเพื่อปฏิบัติการจัดเก็บข้อมูลและการจัดทำแผนของกองทุนในพื้นที่จังหวัดลำพูน) แนวทาง การจัดสรรงบประมาณ และขั้นตอนและแผนการหนุนเสริม
  2. แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
  3. การจัดทำแผนสุขภาพชุมชนการจัดทำข้อมูลระบบสุขภาพชุมชน
  4. การออกแบบสภาพแวดล้อมให้เอื้อกับการส่งเสริมกิจกรรมทางการในชุมชน
  5. แนวทางการสื่อสารในพื้นที่
  6. สรุปผลและปิดการประชุม มีทีมประสานเขต พี่เลี้ยงจากการท่องเที่ยวและกีฬาน่าน ทีมสื่อ สถาปนิก และ แกนนำในเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่เป้าหมาย 11 แห่ง เข้าร่วมประชุม

 

  • 9 กุมภาพันธ์ 2567 ประชุมประสานงาน ชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานโครงการและสำรวจสถานที่ 2 พื้นที่ อำเภอเมืองน่าน มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมคือทีมผู้ประสานเขต ผู้บริหารและคณะทำงานเทศบาลน่าน และเทศบาลตำบลดู่ใต้ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน เข้าเยี่ยมสำรวจสถานที่ 2 พื้นที่ อำเภอเมืองน่าน คือ เทศบาลเมืองน่าน และเทศบาลตำบลดู่ใต้ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
  • 19 กุมภาพันธ์ 2567 ประชุมประสานงาน ชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานโครงการและสำรวจสถานที่ 2 พื้นที่ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมคือทีมผู้ประสานเขต ผู้บริหารและคณะทำงานเทศบาลริมปิงและเทศบาลตำบลบ้านแป้น อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน เข้าเยี่ยมสำรวจสถานที่ 2 พื้นที่ อำเภอเมืองเทศบาลริมปิงและเทศบาลตำบลบ้านแป้น อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

 

การประชุมหารือวางแผนการขับเคลื่อนนโยบายสาะารณะ การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดตรัง 9 ก.พ. 2567 9 ก.พ. 2567

 

ประชุมคณะทำงานวางแผนขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย และพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพในจังหวัดตรัง

 

  1. ได้พื้นที่ท้องถิ่นนำร่องดำเนินการ 10 แห่ง
    1. ได้แผนปฏิบัติการ ดังนี้
      2.1 การพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายในการทำแผนและโครงการ PA โดยตั้งเป้าหมายไว้ คือ กองทุนฯ มีแผนการส่งเสริม PA 10 แห่ง และเครือข่าย/กลุ่ม/ชมรม สามารถจัดทำโครงการส่งเสริม PA ที่คำนึงถึงความปลอดภัย 10 แห่ง 2.2 การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริม PA โดยตั้งเป้าหมายไว้ คือ การออกแบบพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริม PA 2 พื้นที่ , สนับสนุนปฏิบัติการเพื่อเพิ่ม PA ในชุมชน 2 โครงการ และในสถานศึกษา 2 โครงการ
  2. ถอดบทเรียน/องค์ความรู้ในการพัฒนาพื้นที่ 1-2 เรื่อง 2.3 การพัฒนาสื่อสาธารณะ โดยตั้งเป้าหมายไว้ คือ อบรมเรื่อง PA และการสื่อสารสุขภาวะ จัดทำชิ้นงานจากกิจกรรมโครงการเผยแพร่สู่สาธารณะ 3 ชิ้น ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ PA และจัดทำชิ้นงาน 3 ประเด็น

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดน่าน 12 ก.พ. 2567 12 ก.พ. 2567

 

  1. ชี้แจงเป้าหมาย วัตถุประสงค์ แนวทาง การจัดสรรงบประมาณ และขั้นตอนและแผนการหนุนเสริ,
  2. การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
  3. ชี้แจงแนวทาง การจัดเก็บ และรายละเอียดในการจัดเก็บข้อมูล สถานการณ์สุขภาพ โดยการจัดเก็บรายบุคคล รายครอบครัว และชุมชน ใน 10 ประเด็น 1. ประเด็นกิจกรรมทางกาย 2. ประเด็นขยะ 3. ประเด็นมลพิษทางอากาศ PM2.5 4. ประเด็นยาสูบ 5. ประเด็นสุรา 6.ประเด็นสารเสพติด 7. ประเด็นอาหาร 8. ประเด็นสุขภาพจิต 9. ประเด็นโรคอุบัติใหม่และ 10. ประเด็นความปลอดภัยทางถนน  4. ฝึกปฏิบัติการการจัดเก็บข้อมูล การจัดเก็บรายบุคคล รายครอบครัว และชุมชน แกนนำพื้นที่ดำเนินการบันทึกในโปรแกรม  5. แนะนำการเพิ่มสมาชิกและการตั้ง USER และ PASSWORD สำหรับผู้จัดเก็บข้อมูล  6.แกนนำพื้นที่ทำแผนเตรียมการจัดเก็บข้อมูลในพื้นที่  7.การจัดทำแผนสุขภาพชุมชนการจัดทำข้อมูลระบบสุขภาพชุมชน  8.สรุปผลตรวจทานการบันทึกข้อมูลในแต่ละกองทุน สาธิตการวิเคราะห์ข้อมูล  9. ซักถาม ข้อเสนอ สรุปผล นัดหมายประชุมครั้งต่อไป ในการการจัดทำแผนสุขภาพชุมชนการจัดทำข้อมูลระบบสุขภาพชุมชน

 

1.มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 31 คน ประกอบด้วย ผู้ประสานงานเขต พี่เลี้ยงพื้นที่จังหวัด ทีมสถาปนิก ผู้รับผิดชอบงานกองทุนตำบลของเทศบาลตำบล/ องค์การบริหารส่วนตำบล ผู้แทนการท่องเที่ยวจังหวัดน่านและทีมสื่อสาร 2.ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลใน 11กองทุนดังนี้ 1. เทศบาลเมืองน่าน อำเภอเมืองน่าน 2. องค์การบริหารส่วนตำบลเปือ อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน 3. เทศบาลตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน 4. องค์การบริหารส่วนตำบลเรือง อำเภอเมืองน่าน 5. เทศบาลตำบลเชียงกลาง อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน 6. องค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน 7. องค์การบริหารส่วนตำบลชนแดน อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน 8. องค์การบริหารส่วนตำบลวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน 9. เทศบาลตำบลบ่อแก้ว อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน 10. องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเกี๋ยน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน=9.6 11. องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฟ้า อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดลำพูน 15 ก.พ. 2567 15 ก.พ. 2567

 

-

 

-

 

ค่าจ้างการสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี งวดที่ 1 20 ก.พ. 2567 20 ก.พ. 2567

 

.

 

.

 

การจัดจ้างกระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดสุราษฎร์ธานี งวดที่ 1 20 ก.พ. 2567 20 ก.พ. 2567

 

.

 

.

 

ค่าจ้างการสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่จังหวัดตรัง งวดที่ 1 21 ก.พ. 2567 21 ก.พ. 2567

 

.

 

.

 

ประชุมทำแผนสุขภาพ พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่/ประชุมพัฒนาโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ ฯพื้นที่สุราษฎ์ธานี 21 ก.พ. 2567 21 ก.พ. 2567

 

กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง 8.00-08.30 ลงทะเบียน คณะทำงาน 08.30-10.30 ตรวจสอบข้อมูลประเด็นกิจกรรมทางกาย และประเด็นที่เป็นประเด็นยุทธศาสตร์ ตามแบบเก็บข้อมูล คณะวิทยากร 10.30-10.45 พักรับประทานอาหารว่าง คณะทำงาน 10.45-12.00 หลักการบริหารแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม เพื่อการพัฒนาศักยภาพกลไกส่งเสริมสุขภาพ คณะวิทยากร 12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน คณะทำงาน 13.00-16.00 ทำแผนสุขภาพตำบลให้ครอบคลุมรายละเอียดสถานการณ์ปัญหา/เป้าหมาย/วัตถุประสงค์-ตัวชี้วัด /แนวทางสู่เป้าหมาย/งบประมาณ /โครงการที่ควรทำ มีผู้เข้าประชุมจำนวน 21 คน ดังนี้ - คณะทำงานระดับพื้นที่ 8 คน - เจ้าหน้าที่กองทุน 7 คน - เจ้าหน้าที่ทีมสื่อ 2 คน - คณะวิทยากร 4 คน

 

มีแผนกิจกรรมทางกาย 8 ตำบล (ประกอบด้วยสถานการณ์/เป้าหมาย/งบประมาณ/โครงการที่ควรดำเนินการ/ผู้รับผิดชอบโครงการ) มีแผนงานประเด็นอื่นๆ

 

ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาโครงการ จ.สุราษฎร์ธานี 22 ก.พ. 2567 22 ก.พ. 2567

 

08.00-08.30 ลงทะเบียน คณะทำงาน 08.30-10.30 สร้างความข้าใจกระบวนการพัฒนาแผนงาน/โครงการส่งเสริม กิจกรรมทางกาย และความเชื่อมโยงของโครงการกับแผนงาน 10.30-10.45 พักรับประทานอาหารว่าง คณะทำงาน 10.45-12.00 ปฏิบัติการพัฒนาโครงการเน้นผลลัพธ์ ที่เชื่อมโยงกับแผนงานโดยใช้เครื่องมือเว็บ Localfund  คณะวิทยากร 12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน คณะทำงาน 13.00-14.30 ปฏิบัติการพัฒนาโครงการเน้นผลลัพธ์ และการออกแบบกิจกรรมสู่ผลลัพธ์ โดยใช้เครื่อมือเว็บ Localfund คณะวิทยากร 14.30-14.45 พักรับประทานอาหารว่าง คณะทำงาน 14.45-16.00 นำเสนอโครงการ เพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน คณะวิทยากร

ผู้เข้าร่วมประชุมพัฒนาโครงการ 46 คน ดังนี้ - คณะทำงานระดับพื้นที่  8 คน - เจ้าหน้าที่กองทุน 8 คน - ผู้เขียนฏโครงการขอรับทุน 24 คน สื่อมวลชน  2 คน คณะวิทยากร  4 คน

 

แผนงานที่สมบูรณ์ / โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ....15....  โครงการ ดังนี้ ตำบลปากแพรก 10 แผนงานที่สมบูรณ์  2 โครงการกิจกรรมทางกาย ตำบลชลคราม.10 แผนงานที่สมบูรณ์  3 โครงการกิจกรรมทางกาย ตำบลไชยคราม..8 แผนงานที่สมบูรณ์  2 โครงการกิจกรรมทางกาย ตำบลป่าร่อน...9 แผนงานที่สมบูรณ์  1 โครงการกิจกรรมทางกาย ตำบลตะเคียนทอง..8 แผนงานที่สมบูรณ์  2 โครงการกิจกรรมทางกาย ตำบลน้ำพุ..9 แผนงานที่สมบูรณ์  2 โครงการกิจกรรมทางกาย ตำบลตะกุกเหนือ..10 แผนงานที่สมบูรณ์  2 โครงการกิจกรรมทางกาย ตำบลอิปัน...10 แผนงานที่สมบูรณ์  1 โครงการกิจกรรมทางกาย

 

การประชุมติดตามการดำเนินงานของพื้นที่โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่จังหวัดน่านและลำพูน 22 ก.พ. 2567 22 ก.พ. 2567

 

• ชี้แจงเป้าหมายโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดย นายญัตติพงศ์ แก้วทอง
• นำเสนอความก้าวหน้าโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (PA) จังหวัดลำพูนและน่าน
โดย นายสุวิทย์ สมบัติ แลกเปลี่ยนทบทวนแผนและปรับกิจกรรมที่สำคัญให้สมบูรณ์ ดังนี้
• แผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนสุขภาพตำบล จ.ลำพูนและน่าน
• การออกแบบพื้นที่ จำนวน 4 พื้นที่ (ลำพูน 2 พื้นที่, น่าน 2 พื้นที่) • พัฒนาโครงการ PA ในชุมชน จำนวน 4 โครงการ (ลำพูน 2 โครงการ, น่าน 2 โครงการ) • พัฒนาโครงการ PA ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน จำนวน 4 โครงการ (ลำพูน 2 โครงการ, น่าน 2 โครงการ) โดย นายสุวิทย์ สมบัติ และผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน • สรุปแผนและกำหนด Time line กิจกรรมที่สำคัญ โดย นายสุวิทย์ สมบัติ

 

• ได้แผนปฏิบัติการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนสุขภาพตำบล จ.ลำพูนและน่าน
• ได้แผนการออกแบบพื้นที่ จำนวน 4 พื้นที่ (ลำพูน 2 พื้นที่, น่าน 2 พื้นที่) • ได้แผนการพัฒนาโครงการ PA ในชุมชน จำนวน 4 โครงการ (ลำพูน 2 โครงการ, น่าน 2 โครงการ) • ได้แผนพัฒนาโครงการ PA ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน จำนวน 4 โครงการ (ลำพูน 2 โครงการ, น่าน 2 โครงการ) • ได้แผนสื่อสาธารณะในพื้นที่

 

กระบวนการออกแบบพื้นที่ทางสถาปัตยกรรม ตำบลตะกุกเหนือ จ.สุราษฎร์ธานี 23 ก.พ. 2567 23 ก.พ. 2567

 

  • วันที่ 23 ก.พ. 2567 เวลา 09.30-15.30 น. ณ  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่านหญิงวิภา  ตำบลตะกุกเหนือ อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส.มอ.) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  นายสมนึก  นุ่นด้วง  คณะทำงานและผู้ประสานโครงการ ประชุมปฏิบัติการสำรวจ/ให้ความเห็นเพื่อการออกแบบพื้นที่สุขภาวะของพื้นที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่านหญิงวิภา
  • การสร้างความเข้าใจกระบวนการเพื่อการออกแบบทางสถาปัตยกรรมพื้นที่สุขภาวะ ส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย โดยมี นางสาวสุธิรา  มุขตา  สถาปนิก และผู้ช่วย สำรวจพื้นที่รับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ชี้แจงรายละเอียดและข้อจำกัดการออกแบบ ปฏิบัติการรังวัดพื้นที่เพื่อการออกแบบ โดยชี้แนะของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
  • หลังจากนั้นได้สรุปผลการสำรวจ รูปแบบและข้อจำกัดแก่ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย คณะทำงาน,ผู้ประสานงานโครงการ, นายกอบต.ตะกุกเหนือและผู้บริหาร,นายช่างโยธา อบต.ตะกุกเหนือ, กำนันตำบลตะกุกเหนือ, ผู้ใหญ่บ้าน,หัวหน้าศพด.บ้านท่านหญิงวิภา,ประธานกรรมการ ศพด.บ้านท่านหญิงวิภา ผู้แทนผู้ปกครอง และสื่อมวลชน เข้าร่วมด้วย จำนวน 19 คน

 

ความเห็นและความต้องการของผู้เกี่ยวข้องเพื่อการออกแบบทางสถาปัตยกรรม ในอาคาร ในรั้วรอบบริเวณ และหลังอาคาร พื้นที่ประมาณ 2 ไร่ “เป็นลานเด็กเล่นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่านหญิงวิภา ให้ครอบครัวพ่อแม่ผู้ปกครองมีกิจกรรมนันทนาการและสนุกสนาน” สรุปความต้องการดังนี้ ภายในอาคาร: กระดานลื่น (Slider) 1 ชุด นอกอาคาร: ทางเดิน คสล ทำรูปรอยเท้าน่านเดิน ลาน/หลุมทรายใต้หลังคา ชิงช้า วงล้อปีนป่าย กระดานลื่น(Slider) สนามหญ้า ซุ้มนั่งพักมีหลังคา หลังอาคาร (ประมาณ 1 ไร่ ) ลานเอนกประสงค์ คสล ทางเดิน-วิ่ง ศาลาพัก ห้องน้ำ เครื่องออกกำลังกาย/ สวนสนุก ไฟส่งสว่าง

 

ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ ส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดตรัง 27 ก.พ. 2567 27 ก.พ. 2567

 

ประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความเข้าใจแผนการดำเนินงาน และกิจกรรมโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จังหวัดตรัง วันพุธ ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ 2. เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย
กำหนดการ เวลา กิจกรรม 08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน 09.00 - 10.30 น. ทำความเข้าใจกับแผนการดำเนินงาน บทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน กำหนดโครงการ และพื้นที่สุขภาวะ 10.30 - 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง 10.45 - 12.00 น. แนะนำการใช้เว็บการพัฒนาโครงการกิจกรรมทางกายและการเก็บข้อมูลผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล https://localfund.happynetwork.org 12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 - 14.30 น. การสร้างความเข้าใจการเก็บข้อมูลผ่านมือถือ และการเชื่อโยงกับเว็บhttps://localfund.happynetwork.org การสรรหาผู้เก็บข้อมูลตำบลละ 4 คน 14.30 – 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง 14.45 - 16.30 น. การกำหนดพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย เพื่อการเก็บข้อมูลและการใช้ข้อมูลจาก HDC on Cloud

 

  1. ผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจกับแผนการดำเนินงาน บทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน กำหนดโครงการและพื้นที่สุขภาวะได้
  2. ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถใช้ระบบพัฒนาโครงการผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล https://localfund.happynetwork.org ได้
  3. ออกแบบการเก็บข้อมูล 3 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลชุมชน 1 ชุด 2) ข้อมูลครัวเรือน 100 ชุด 3) ข้อมูลบุคคล 200 ชุด
  4. ข้อมูลครัวเรือนจำนวน 200 ชุด แบ่งสัดส่วนตามกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้

- กลุ่มอายุ 5-15 ปี จำนวน 50 คน - กลุ่มอายุ 16-25 ปี จำนวน 50 คน - กลุ่มอายุ 65 ปี ขึ้นไป จำนวน 50 คน

 

เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567 29 ก.พ. 2567 29 ก.พ. 2567

 

-

 

-

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการจัดการสุขภาวะด้วยกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม 4 มี.ค. 2567 4 มี.ค. 2567

 

.

 

.

 

กระบวนการออกแบบพื้นที่ทางสถาปัตยกรรม ตำบลไชยคราม ตำบลปากแพรก จ.สุราษฎร์ธานี 6 มี.ค. 2567 6 มี.ค. 2567

 

วันที่ 6 มีนาคม 2567  ณ อบต.ปากแพรก อ.ดอนสัก จ.สุราษฏร์ธานี
09.00-09.30 ลงทะเบียน 09.30-10.30 สร้างความข้าใจกระบวนการเพื่อการออกแบบทางสถาปัตยกรรมพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย การสำรวจพื้นที่ รับฟังความเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง ชี้แจงรายละเอียด และข้อจำกัดการออกแบบ แก่ผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไชยคราม ตำบลไชยคราม 1 นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไชยคราม 2 ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลไชยคราม 3 นายช่างโยธาองค์การบริหารส่วนตำบลไชยคราม 4 หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไชยคราม 5 ผู้แทนครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไชยคราม 6 ประธานกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไชยคราม 7 ผู้แทนกรรมการกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไชยคราม 8 ผู้แทนผู้ปกครองเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไชยคราม 9 กำนันตำบลไชยคราม 10 ผู้ใหญ่บ้านพื้นที่ที่ตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไชยคราม 11    คณะทำงาน/ประสานงานโครงการฯตำบลไชยคราม(นางสาวภัททิยา  โพธิ์ขวาง)

โรงเรียนบ้านเขาพระอินทร์ตำบลปากแพรก 1 นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก 2 ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก 3 นายช่างโยธาองค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก 4 ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเขาพระอินทร์ 5 ผู้แทนครูโรงเรียนบ้านเขาพระอินทร์ 6 ประธานกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านเขาพระอินทร์ 7 ผู้แทนกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านเขาพระอินทร์ 8 ผู้แทนผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านเขาพระอินทร์ 9 กำนันตำบลปากแพรก 10 ผู้ใหญ่บ้านพื้นที่ที่ตั้งโรงเรียนบ้านเขาพระอินทร์ 11.  คณะทำงาน/ประสานงานโครงการฯตำบลปากแพรก(นางสาวณัฐญา  ศรีไสยเพชร)

คณะทำงาน 1. นางสาวไพลิน  ทิพย์สังข์ คณะทำงาน 2. นายสมนึก  นุ่นด้วง คณะทำงาน/ผู้ประสานงานโครงการ 3. นางสาวธีระนุช  มุขตา  สถาปนิกส์ 4. นายเศกศิลป์  ชูศรีอ่อน ผู้ช่วยสถาปนิก 5. นางปุญญิสา  สุวรรณ    สื่อสารมวลชน 10.30-10.45 พักรับประทานอาหารว่าง 10.45-12.00 ปฏิบัติการ รังวัด พื้นที่เพื่อการออกแบบ 12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00-14.30 ปฏิบัติการ รังวัด พื้นที่เพื่อการออกแบบ โดยการชี้แนะของผู้เกี่ยวข้อง 14.30-14.45 พักรับประทานอาหารว่าง 14.45-16.00 สรุปผลการสำรวจ รูปแบบ และข้อจำกัด แก่ผู้เข้าร่วมประชุม /ถาม-ตอบ

 

ผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมตามเป้าหมาย สถาปนิกได้รับข้อมูลเพื่อการออกแบบ “ลานเด็กเล่นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไชยคราม” ดังนี้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไชยคราม ตำบลไชยคราม
ภายนอกอาคาร     1. ลาน คสล+หญ้าเทียมหน้าผา แทมโพลีน หลุมทราย (หน้า 176 ตรม.)     2 ลานกีฬา คสล+หญ้าเทียม แป้นบาส ปต. บอล (หลัง 330 ตรม.)     3 ในโดม(ทางเดิน จราจร ลู่หญ้าเทียม 480 ตรม. ภายในอาคาร     4 โรงอาหาร 70 ตรม.  เครื่องเล่น     5 ในห้องครัว (อ่างล้างจาน)

รร บ้านเขาพระอินทร์  ตำบลปากแพรก ได้ออกแบบ “ลานกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะโรงเรียนบ้านเขาพระอินทร์” 1. ลานออกกำลังกายหลังอาคาร 640 ตรม. (ลานหิน-สนามเปตอง- ทางเดิน PA) 2  หน้าโรงอาหาร  สวนเด็ก หลุมทราย 220 ตรม. 3. ลาน BBL ระหว่างอาคาร 6.5x14 m 90 ตรม. 4. ข้างโรงอาหาร 150 ตรม.  ทางเดินต่างระดับ

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะ เรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ 11 มี.ค. 2567 12 มี.ค. 2567

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง 11 อปท. อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2567 เวลา 08.30 – 16.00 น. ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

1) วัตถุประสงค์   1.1) เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ   1.2) เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึง       ความปลอดภัย 2) ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 73 คน   2.1) นายกเทศมนตรี/นายกอบต. 12 แห่งๆละ 1 คน      จำนวน 12 คน   2.2) ปลัดเทศบาล/ปลัดอบต.  12 แห่งๆละ 1 คน      จำนวน 12 คน   2.3) ผอ.กองสาธารณสุข/ผอ.กองการศึกษา 12 แห่งๆละ2 คน จำนวน 24 คน   2.4) หัวหน้าสำนักปลัด 12 แห่งๆละ 1 คน            จำนวน 12 คน 3) ภาคีเครือข่าย   3.1) สาธารณสุขอำเภอ/จนท.ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2คน   3.2) ท้องถิ่นอำเภอ  จำนวน 1 คน   3.3) คณะทำงานเขต/จังหวัด จำนวน 7 คน   3.4) คณะทำงานจากสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 3 คน



กำหนดการ เวลา รายละเอียด วันอังคารที่ 12 มีนาคม 2567 08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน รับเอกสาร 09.00 – 09.30 น. กล่าวรายงานความเป็นมาการดำเนินงานประชุมชี้แจงโครงการ
โดย นายชูวิทย์ ธานี สาธารณสุขอำเภอ เขื่องใน กล่าวเปิดการประชุมและมอบนโยบายการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่ สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย(PA) และการสื่อสารสาธารณะ ระดับตำบล และอำเภอ
โดย นายภัทรพล สารการ นายอำเภอ เขื่องใน 09.30 – 10.30 น. แนวทางการจัดทำแผนงานโครงการเพื่อพัฒนาพื้นที่สุขภาวะและ
ชี้แจงรายละเอียดโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการสื่อสารสาธารณะระดับตำบล และอำเภอ” โดย ดร.เพ็ญ สุขมาก ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 10.30 – 11.30 น. ระดมความคิดเห็นและวางแผนเชิงปฏิบัติการจัดทำ Road Map การดำเนินงานในการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดย นางเสาวนีย์ กิตติพิทยานนท์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 11.30 – 12.00 น. แนวทางการจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพของแต่ละกองทุนเพื่อนำมาจัดทำแผนและเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดย นายญัตติพงศ์ แก้วทอง  สถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.00 น. วางแผนและจัดทำ Road Map การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/ พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย โดย ผศ.กตัญญู หอสูติสิมา คณะสถาปัตย์ฯ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และนายชุนันทร์ วามะขัน
นักวิจัย/สถาปนิกศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 14.00 – 16.00 น. วางแผนและจัดทำ RoadMap พัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อให้ความรู้เรื่องกิจกรรมทางกาย และนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยนายรพินทร์ ยืนยาว คณะทำงานสื่อ เขต 10

 

วันที่ 12 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเขื่องใน จ.อุบลราชธานี นายภัทรพล สารการ นายอำเภอเขื่องใน เป็นประธานในการประชุมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ และเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะหรือพื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย
กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย สาธารณสุขอำเภอ ท้องถิ่นอำเภอ ผู้บริหารท้องถิ่น นายกเทศมนตรี นายก อบต. ปลัดท้องถิ่นทุกแห่ง ผอ.กองการสาธารณสุข ผอ.กองการศึกษา หัวหน้าสำนักปลัด และประธาน อสม.ทุกตำบล จำนวนกว่า 60 คน เนื่องจากสถานการณ์ปัญหาทั่วประเทศมีภาวะโรค NCD เพิ่มมากขึ้น ด้วยสภาวการณ์ที่คนไทยมีความเนื่องนิ่งไม่ขยับกายหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายที่เพียงทำให้เกิดโรคต่างๆตามมา
สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.มอ.) ได้ร่วมมือกับมูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 10 อุบลราชธานี สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเขื่องใน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ให้ดำเนินการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายในการเก็บข้อมูล การจัดทำแผน การจัดทำโครงการ การค้นหาและพัฒนาพื้นที่สาธารณะ การพัฒนานโยบายสาธารณะ ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย หรือ PA (Physical Activity) ในชุมชนให้มากขึ้น ชุมชนมีการรับรู้ เข้าใจ และตระหนักในการออกกำลังกาย หรือการเคลื่อนไหวที่เพียงพอ
ทั้งนี้พื้นที่อำเภอเขื่องใน ได้ขับเคลื่อนร่วมกันทั้งอำเภอทั้งหมด 12 ตำบล ได้แก่ ต.บ้านกอก, ต.ศรีสุข, ต.กลางใหญ่, ต.ค้อทอง, ต.ก่อเอ้, ต.ท่าไห, ต.นาคำใหญ่, ต.แดงหม้อ, ต.ธาตุน้อย, ต.หัวดอน, เทศบาลตำบลเขื่องใน และ เทศบาล ต.หัวเรือ ขณะนี้ได้พื้นที่นำร่องในการปรับปรุงพื้นที่สาธารณะ ใน 2 แห่ง ได้แก่ ตำบลเขื่องในห และตำบลก่อเอ้ และจะมีการพัฒนาศักยภาพในการเก็บข้อมูล การพัฒนาศักยภาพในการเขียนแผน เขียนโครงการ และพัฒนาศักยภาพการผลิตสื่อ ลำดับต่อไป

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะ เรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ 12 มี.ค. 2567 13 มี.ค. 2567

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง 8 อปท. อำเภอหัวตะพาน จังหวัด อำนาจเจริญ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2567 เวลา 08.30 – 16.00 น. ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอหัวตะพาน อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ

1) วัตถุประสงค์   1.1) เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ   1.2) เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึง       ความปลอดภัย 2) ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 62 คน   2.1) นายกเทศมนตรี/นายกอบต. 8 แห่งๆละ 1 คน      จำนวน 8 คน   2.2) ปลัดเทศบาล/ปลัดอบต.  8 แห่งๆละ 1 คน      จำนวน 8 คน   2.3) ผอ.กองสาธารณสุข/ผอ.กองการศึกษา 8 แห่งๆละ2 คน จำนวน 16 คน   2.4) หัวหน้าสำนักปลัด 8 แห่งๆละ 1 คน            จำนวน 8 คน   2.5) ประธานอสม.8 ตำบลๆละ 1คน                จำนวน 8 คน 3) ภาคีเครือข่าย   3.1) สาธารณสุขอำเภอ/จนท.ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 คน   3.2) ท้องถิ่นอำเภอ  จำนวน 1 คน   3.3) คณะทำงานเขต/จังหวัด จำนวน 7 คน   3.4) คณะทำงานจากสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 3 คน   3.5) โหนดจังหวัด (สสส.)  จำนวน 1 คน


กำหนดการ เวลา รายละเอียด วันอังคารที่ 13 มีนาคม 2567 08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน รับเอกสาร 09.00 – 09.30 น. กล่าวรายงานความเป็นมาการดำเนินงานประชุมชี้แจงโครงการ
โดย สาธารณสุขอำเภอ หัวตะพาน กล่าวเปิดการประชุมและมอบนโยบายการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่ สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย(PA) และการสื่อสารสาธารณะ ระดับตำบล และอำเภอ
โดย นายประหยัด คุณมี นายอำเภอ หัวตะพาน 09.30 – 10.30 น. ชี้แจงรายละเอียดโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการสื่อสารสาธารณะระดับตำบล และอำเภอ” โดย ดร.เพ็ญ สุขมาก ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 10.30 – 11.30 น. ระดมความคิดเห็นและวางแผนเชิงปฏิบัติการจัดทำ Road Map การดำเนินงานในการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดย นางเสาวนีย์ กิตติพิทยานนท์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 11.30 – 12.00 น. วางแผนการจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพของแต่ละกองทุนเพื่อนำมาจัดทำแผนและเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดย นายญัตติพงศ์ แก้วทอง  สถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.00 น. วางแผนและจัดทำ Road Map การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/ พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย โดย ผศ.กตัญญู หอสูติสิมา คณะสถาปัตย์ฯ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และนายชุนันทร์ วามะขัน
นักวิจัย/สถาปนิกศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 14.00 – 16.00 น. วางแผนและจัดทำ RoadMap พัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อให้ความรู้เรื่องกิจกรรมทางกาย และนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยนายรพินทร์ ยืนยาว คณะทำงานสื่อ เขต 10

 

วันที่ 13 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลหัวตะพาน อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ
นายประหยัด คูณมี นายอำเภอหัวตะพาน เป็นประธานในการประชุมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ และเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะหรือพื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย
กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย สาธารณสุขอำเภอ ท้องถิ่นอำเภอ ผู้บริหารท้องถิ่น นายกเทศมนตรี นายก อบต. ปลัดท้องถิ่นทุกแห่ง ผอ.กองการสาธารณสุข ผอ.กองการศึกษา หัวหน้าสำนักปลัด และประธาน อสม.ทุกตำบล จำนวนกว่า 60 คน เนื่องจากสถานการณ์ปัญหาทั่วประเทศมีภาวะโรค NCD เพิ่มมากขึ้น ด้วยสภาวการณ์ที่คนไทยมีความเนื่องนิ่งไม่ขยับกายหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายที่เพียงทำให้เกิดโรคต่างๆตามมา
สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.มอ.) ได้ร่วมมือกับมูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 10 อุบลราชธานี สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหัวตะพาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง ให้ดำเนินการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายในการเก็บข้อมูล การจัดทำแผน การจัดทำโครงการ การค้นหาและพัฒนาพื้นที่สาธารณะ การพัฒนานโยบายสาธารณะ ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย หรือ PA (Physical Activity) ในชุมชนให้มากขึ้น ชุมชนมีการรับรู้ เข้าใจ และตระหนักในการออกกำลังกาย หรือการเคลื่อนไหวที่เพียงพอ
ทั้งนี้พื้นที่อำเภอหัวตะพาน ได้ขับเคลื่อนร่วมกันทั้งอำเภอทั้งหมด 8 ตำบล ได้แก่ ต.หัวตะพาน, ต.คำพระ, ต.เค็งใหญ่, ต.หนองแก้ว, ต.โพนเมืองน้อย, ต.สร้างถ่อ, ต.จิกดู่ และต.รัตนวารี
ขณะนี้ได้พื้นที่นำร่องในการปรับปรุงพื้นที่สาธารณะ ใน 2 แห่ง ได้แก่ ตำบลหัวตะพาน และตำบลจิกดู่ และจะมีการพัฒนาศักยภาพในการเก็บข้อมูล การพัฒนาศักยภาพในการเขียนแผน เขียนโครงการ และพัฒนาศักยภาพการผลิตสื่อ

 

ค่าจ้างการสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ งวดที่ 1 14 มี.ค. 2567 14 มี.ค. 2567

 

.

 

.

 

การจัดจ้างกระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ งวดที่ 1 14 มี.ค. 2567 14 มี.ค. 2567

 

.

 

.

 

การออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่อง อบต.ก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี 20 มี.ค. 2567 20 มี.ค. 2567

 

วันที่ 20 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุม อบต.ก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี  นายสุริยา บุญประภาร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้ เป็นประธานกล่าวต้อนรับและกล่าวเปิด การประชุมออกแบบพื้นที่สาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายตำบลก่อเอ้ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์กตัญญู หอสูติสิมา ทีมออกแบบสถาปนิกโครงการฯ หรือ หัวหน้าศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมทีมงาน ได้ลงพื้นที่ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานี ตามที่สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่ สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้กำหนดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะ เรื่อง แผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความ ปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานี ไปเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา และได้มอบหมายให้ทาง ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นผู้ออกแบบพื้นที่นำร่อง โดยมีตำบลก่อเอ้ เป็นหนึ่งพื้นที่นำร่อง เพื่อให้การออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่อง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้กำหนดให้มีการประชุมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่ฯ

 

  • จากการระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ได้แก่ ผู้บริหารท้องถิ่น นายก อบต.ก่อเอ้ ปลัด อบต.ก่อเอ้ ผู้นำชุมชน ผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ สถานศึกษา นักเรียน อสม. เป็นต้น
  • เสนอพื้นที่ในดวงใจหลายพื้นที่ ได้แก่ ตลาด แก่งอีติ้ง สวนสิริกิตต์ อนามัย(รพ.สต.) ถนนในชุมชน สวนพระใหญ่ และอบต.
  • ตามมติในที่ประชุมเห็นควรสถานที่ องค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้ เป็นพื้นที่สาธารณะในการออกแบบส่งเสริมกิจกรรมทางกายของตำบลก่อเอ้
  • ได้ออกแบบสิ่งที่อยากให้มีในพื้นที่สาธารณะ เช่น ให้เป็นสนามเด็กเล่น ที่ออกกำลังกาย สนามกีฬา สวนสาธารณะ ลานศิลปะ จุด Check In จัดทำลู่วิ่ง และศูนย์เรียนรู้อาชีพ มีตู้ ATM ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ศาลานั่งเล่น ลานปั่นจักรยาน ห้องคาราโอเกะ ที่จอดรถ
  • หลังจากนี้ทีมออกแบบจะมีการดำเนินการออกแบบเพื่อจัดทำเป็นร่างแบบมาเสนอและจัดทำประชาคมแก่คนในชุมชนอีกครั้ง

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี 20 มี.ค. 2567 20 มี.ค. 2567

 

08.30-10.30 ทบทวนกระบวนการพัฒนาโครงการที่เชื่อมโยงกับแผน และการพัฒนาโครงการเน้นผลลัพธ์ 10.30-10.45 พักรับประทานอาหารว่าง 10.45-12.00 ตรวจเอกสารทำข้อตกลง 12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00-14.30 เรียนรู้การเขียนรายงานกิจกรรมผ่าน เว็บ 14.30-14.45 พักรับประทานอาหารว่าง 14.45-16.00 เรียนรู้การจัดทำเอกสารการเงิน และการทำรายงานผ่านเว็บ

 

  1. กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุมตามแผน 18 คน
  2. โครงการได้รับการทำข้อตกลง 5 โครงการ (ในชุมชน 3 โครงการ /ในสถานศึกษา 2 โครงการ)
    2.1 โครงการเพิ่มกิจกรรมทางกายด้วยกีฬาและสันทนาการอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนบ้านท่านหญิงวิภา
    2.2 โครงการส่งเสริมการการออกกำลังกาย ในกลุ่มเสี่ยง NCDs
    2.3 โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายในกลุ่มเสี่ยง NCDs ในตำบลป่าร่อน
    2.4 โครงการพิชิตกายแข็งแรงด้วยกิจกรรมทางกาย
    2.5 โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายผู้สูงอายุตำบลชลคราม

 

การออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่อง เทศบาลตำบลเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี 21 มี.ค. 2567 21 มี.ค. 2567

 

วันที่ 21 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
นายไพฑูรย์ จิตทวี นายกเทศมนตรีตำบลเขื่องใน เป็นประธานกล่าวต้อนรับและกล่าวเปิด การประชุมออกแบบพื้นที่สาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายตำบลเขื่องใน โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์กตัญญู หอสูติสิมา ทีมออกแบบสถาปนิกโครงการฯ หรือ หัวหน้าศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมทีมงาน ได้ลงพื้นที่ตำบลเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานี ตามที่สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่ สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้กำหนดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะ เรื่อง แผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความ ปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานี ไปเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา และได้มอบหมายให้ทาง ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นผู้ออกแบบพื้นที่นำร่อง โดยมีตำบลเขื่องใน เป็นหนึ่งพื้นที่นำร่อง ของอำเภอเขื่องในนั้น เพื่อให้การออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่อง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้กำหนดให้มีการประชุมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่ฯ

 

  • จากการระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ได้แก่ ผู้บริหารท้องถิ่น นายกเทศมนตรีตำบลเขื่องใน ปลัด หัวหน้าสำนัก ผู้นำชุมชน สมาชิกเทศบาลตำบลเขื่องใน ผู้แทน อสม. ผู้นำชุมชน เป็นต้น
  • เสนอพื้นที่ในดวงใจหลายพื้นที่ ได้แก่ เส้นหน้าถนนเสรีภาพ ข้างสภ.เขื่องใน ตลาดเก่า หน้าบ้านนายอำเภอ สนามกีฬาหลัง รพ. ข้างกำแพงวัดบ้านสว่าง ดอนปู่ตา ทางคู่ขนานแถวสะพาน ข้างวัดเขื่องกลาง ตามมติในที่ประชุมเห็นควรสถานที่ที่เหมาะสมเป็นพื้นที่สาธารณะในการออกแบบส่งเสริมกิจกรรมทางกายของตำบลเขื่องใน คือ บริเวณเส้นหน้าเสรีภาพ ข้างสภ.เขื่องใน ย่านตลาดเก่า และข้างบ้านนายอำเภอ โดยได้ออกแบบสิ่งที่อยากให้มีและอยากจะเห็นในพื้นที่สาธารณะ “ย่านตลาดเก่า” นั้น เช่น ให้เป็นถนนคนเดิน สนามเด็กเล่น ที่พักผู้สูงอายุ พื้นที่กิจกรรมของเด็กวัยรุ่น ลานดนตรี ถนนศิลปะ ถนนอาหาร ร้านกาแฟ ที่ออกกำลังกาย ตลาดนัด และพื้นที่ขายสินค้า
  • หลังจากนี้ทีมออกแบบจะมีการดำเนินการออกแบบเพื่อจัดทำเป็นร่างแบบมาเสนอและจัดทำประชาคมแก่คนในชุมชนอีกครั้ง

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะ เรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดตรัง 21 มี.ค. 2567 21 มี.ค. 2567

 

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายจังหวัดตรัง ประชุมการทำแผนงาน/โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ตามโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย วันที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลโคกหล่อ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง

 

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายจังหวัดตรัง ประชุมการทำแผนงาน/โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ตามโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย วันที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลโคกหล่อ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
การพบปะแลกเปลี่ยนกันวันนี้เป็นครั้งที่ 3 ซึ่งกิจกรรมที่ผ่านมาท้องถิ่นทั้ง 10 แห่ง ได้ร่วมเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน 10 ประเด็น เป็นที่เรียบร้อย ครั้งนี้นำข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชนมาร่วมวิเคราะห์จัดทำแผนและโครงการที่จะดำเนินการ ซึ่งได้รับเกียรติจากท่านวิทยากรคุณสมนึก นุ่นด้วง คุณวาลัยพร ด้วงคง และคณะพี่เลี้ยงจังหวัดตรัง ร่วมแลกเปลี่ยนให้ความรู้เรื่องการจัดทำแผนกิจกรรมทางกายและสุขภาพอื่นๆ ในท้องถิ่น

  1. กิจกรรมทางกาย คือ การเคลื่อนไหวหรือการออกแรงของร่างกายในการทำกิจกรรมรูปแบบต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ 1) การทำงาน/งานบ้าน 2) การเดินทาง (เดิน/ปั่นจักรยานไปที่ต่างๆ ในชุมชน ) 3) การมีกิจกรรมนันทนาการ การเล่นกีฬา และการออกกำลังกาย
    “กิจกรรมทางกายจึงมีความหมายมากกว่าการเล่นกีฬาและการออกกำลังกาย”

  2. วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ และเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ร่วมกับท้องถิ่น 10 แห่งในจังหวัดตรัง

  3. ท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่ 1) เทศบาลตำบลย่านตาขาว 2) องค์การบริหารส่วนตำบลหาดสำราญ 3) ทต.นาโยงเหนือ 4) องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ 5) องค์การบริหารส่วนตำบลปากคม 6) เทศบาลตำบลโคกหล่อ 7) องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด 8) องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์ 9) องค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน 10) องค์การบริหารส่วนตำบลคลองลุ

  4. ข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ โดยเน้นแผนงานกิจกรรมทางกายเป็นหลักในการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีประเด็นอื่นๆ ร่วม 10 ประเด็น เพื่อการออกแบบโครงการสามารถเชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆ ไปสู่การแก้ปัญหาอื่นๆ แบบบูรณาการได้ โดย 10 ประเด็นมี คือ 1) แผนงานกิจกรรมทางกาย 2) แผนงานขยะ 3) แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม 4) แผนงานยาสูบ 5) แผนงานสุรา 6) แผนงานสิ่งเสพติด 7) แผนงานอาหารและโภชนการ 8) แผนงานสุขภาพจิต 9) แผนงานความปลอดภัยทางถนน 10) แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่

  5. หลักการทำแผน มี 4 คำ (อยู่ไหน, จะไปไหน,ไปอย่างไร, ไปถึงแล้วยัง) คือ 1) อยู่ไหน : สถานการณ์ 2) จะไปไหน : เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ 3) ไปอย่างไร : แนวทาง วิธีการดำเนินการ โครงการ 4) ไปถึงแล้วยัง : ประเมินผลลัพธ์ (คู่มือการทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย: https://localfund.happynetwork.org/upload/forum/plandoc_pa.pdf)

  6. กระบวนการการจัดประชุม: 1) สร้างความเข้าใจกระบวนการพัฒนาแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและความเชื่อมโยงของโครงการกับแผนงาน 2) ปฏิบัติการพัฒนาโครงการเน้นผลลัพธ์ที่เชื่อมโยงกับแผนงาน โดยใช้เครื่องมือเพื่อการเรียนรู้เว็บไซต์ https://localfund.happynetwork.org 3) แลกเปลี่ยนนำเสนอโครงการเพื่อสร้างการเรียนรู่ร่วมกัน

  7. ผลลัพธ์ที่ได้ คือ ได้แผนสุขภาพตำบล 10 ประเด็น จำนวน 10 ท้องถิ่นนำร่องในจังหวัดตรัง และได้โครงการที่จะดำเนินการในพื้นที่ ในครั้งถัดไป คือ “ขั้นตอนที่ 3) ไปอย่างไร : แนวทาง วิธีการดำเนินการ โครงการ” เป็นการเขียนโครงการที่ดีเพื่อนำไปสู่เป้าหมายการเพิ่มกิจกรรมทางกายในท้องถิ่น การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ และสร้างกลไกความร่วมมือสร้างเสริมสุขภาพและสุขภาวะที่ดีในท้องถิ่นต่อไป

 

ค่าธรรมเนียมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย งวดที่ 2 21 มี.ค. 2567 21 มี.ค. 2567

 

.

 

.

 

การจัดจ้างกระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดน่านและจังหวัดลำพูน งวดที่ 1 22 มี.ค. 2567 22 มี.ค. 2567

 

.

 

.

 

ประชุมเชิงปฏิบัติการเก็บข้อมูลการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและข้อมูลสุขภาพชุมชนผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 25 มี.ค. 2567 25 มี.ค. 2567

 

ประชุมเชิงปฏิบัติการเก็บข้อมูลการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและข้อมูลสุขภาพชุมชนผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล (https://localfund.happynetwork.org/) วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2567 โดยการประชุมผ่านระบบออนไลน์ https://zoom.us/j/9019029104

 

สถาบันนโยบายสาธารณะ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  (สนส.ม.อ.)  ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี และภาคีเครือข่ายท้องถิ่นอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานีและอำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ รวม 20 แห่ง ประชุมเชิงปฏิบัติการเก็บข้อมูลการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและข้อมูลสุขภาพชุมชนผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล (https://localfund.happynetwork.org/) วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2567 โดยการประชุมผ่านระบบออนไลน์ https://zoom.us/j/9019029104

วัตถุประสงค์การประชุมวันนี้ เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถเก็บข้อมูลการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและข้อมูลสุขภาพชุมชน ผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล (https://localfund.happynetwork.org/) และสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมสุขภาพที่มีคุณภาพ โดยได้รับเกียรติจากท่านวิทยากรร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ได้แก่ ดร.เพ็ญ สุขมาก ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ภ.ก.สมชาย  ละอองพันธ์  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา (สปสช.) คุณจงกลนี ศิริรัตน์ มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี คุณธนพนธ์ จรสุวรรณ คณะทำงานพี่เลี้ยง และคณะทำงานเก็บข้อมูลจากท้องถิ่น 20 แห่ง

 

การออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่อง เทศบาลตำบลหัวตะพาน อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ 25 มี.ค. 2567 25 มี.ค. 2567

 

วันที่ 25 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุม เทศบาลตำบลหัวตะพาน อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
นายธนิต ชาววัง นายกเทศมนตรีตำบลหัวตะพาน เป็นประธานกล่าวต้อนรับและกล่าวเปิด การประชุมออกแบบพื้นที่สาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายตำบลหัวตะพาน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์กตัญญู หอสูติสิมา ทีมออกแบบสถาปนิกโครงการฯ หรือ หัวหน้าศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมทีมงาน ได้ลงพื้นที่ตำบลหัวตะพาน อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอำนาจเจริญ ตามที่สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ดำเนินโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่ สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้กำหนดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะ เรื่อง แผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความ ปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอำนาจเจริญ ไปเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา และได้มอบหมายให้ทาง ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นผู้ออกแบบพื้นที่นำร่อง โดยมีตำบลหัวตะพานและตำบลจิกดู่ เป็นสองพื้นที่นำร่องของจังหวัดอำนาจเจริญ นั้น เพื่อให้การออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่อง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้กำหนดให้มีการประชุมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่ฯ

 

  • จากการระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ได้แก่ ผู้บริหารท้องถิ่น นายกเทศมนตรี ปลัด หัวหน้าสำนัก ผู้นำชุมชน ผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ สถานศึกษา ศพด. นักเรียน อสม. เป็นต้น
  • เสนอพื้นที่ในดวงใจหลายพื้นที่เป็นพื้นที่นำร่องในการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย คือ สวนเฉลิมพระเกียรติ ตามมติในที่ประชุมเห็นควรได้เลือกเป็นสวนเฉลิมพระเกียรติดังกล่าว เป็นพื้นที่สาธารณะในการออกแบบส่งเสริมกิจกรรมทางกายของตำบลหัวตะพาน โดยได้ออกแบบสิ่งที่อยากให้มีในพื้นที่สาธารณะ เช่น น้ำพุ สนามเด็กเล่น ลานหรือที่ออกกำลังกายผู้สูงอายุ ที่หรือลานเต้นแอโรบิค เครื่องออกกำลังกาย สวนน้ำ สวนสนุก ถนนเดินนวดเท้า ที่ออกกำลังกายคนพิการ แหล่งเรียนรู้ต้นไม้พืชพรรณ ลานกิจกรรม ศาลาพักผ่อน ห้องน้ำผู้สูงอายุ สวนหย่อม สระว่ายน้ำเด็ก จุดเช็คอิน ร้านตัดผม และต้นไม้ใหญ่ เป็นต้น
    หลังจากนี้ทีมออกแบบจะมีการดำเนินการออกแบบเพื่อจัดทำเป็นร่างแบบมาเสนอและจัดทำประชาคมแก่คนในชุมชนอีกครั้ง

 

การออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่อง องค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ 25 มี.ค. 2567 25 มี.ค. 2567

 

  • วันที่ 25 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ นายสุธรรม ยืนสุข นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ เป็นประธานกล่าวต้อนรับและกล่าวเปิด การประชุมออกแบบพื้นที่สาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายตำบลจิกดู่ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์กตัญญู หอสูติสิมา ทีมออกแบบสถาปนิกโครงการฯ หรือ หัวหน้าศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมทีมงาน ได้ลงพื้นที่ตำบลจิกดู่ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอำนาจเจริญ ตามที่สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่ สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้กำหนดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะ เรื่อง แผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความ ปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอำนาจเจริญ ไปเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา และได้มอบหมายให้ทาง ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นผู้ออกแบบพื้นที่นำร่องอำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ โดยมีตำบลหัวตะพานและตำบลจิกดู่ เป็นหนึ่งพื้นที่นำร่องของอำเภอหัวตะพานนั้น เพื่อให้การออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่อง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้กำหนดให้มีการประชุมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่ฯ

 

  • จากการระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ได้แก่ ผู้บริหารท้องถิ่น นายก อบต.จิกดู่ ปลัด หัวหน้าสำนัก ผู้นำชุมชน สมาชิกอบต.จิกดู่ ผู้แทน อสม. ผู้นำชุมชน ผู้แทนเด็กเยาวชน สภาเด็กเยาวชนตำบลจิกดู่ เป็นต้น
  • เสนอพื้นที่ในดวงใจหลายพื้นที่ คือ ที่ทำการ อบต.จิกดู่ และหนองน้ำสาธารณะ “บ่อบะฮุก” ตามมติในที่ประชุมเห็นควรสถานที่ที่เหมาะสมเป็นพื้นที่สาธารณะในการออกแบบส่งเสริมกิจกรรมทางกายของตำบลหัวตะพาน คือ ที่ทำการ อบต.จิกดู่ โดยได้ออกแบบสิ่งที่อยากให้มีและอยากจะเห็นในพื้นที่สาธารณะ “ที่ทำการ อบต.จิกดู่” นั้น เช่น สนามเด็กเล่น ลานกีฬาวัฒนธรรม สวนหย่อมที่นั่งพักผ่อน สานกีฬาเอนกประสงค์ เวทีแอโรบิก เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ ศูนย์ออกกำลังกาย ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมของดีแต่ละหมู่บ้าน กิจกรรมคาราโอเกะ สวนสุขภาพมีฐานกิจกรรมแต่ละวัย การโชว์สินค้าของดีตำบล เป็นต้น
  • หลังจากนี้ทีมออกแบบจะมีการดำเนินการออกแบบเพื่อจัดทำเป็นร่างแบบมาเสนอและจัดทำประชาคมแก่คนในชุมชนอีกครั้ง

 

การสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒฬฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเะสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่โรงเรียนบ้านท่านหญิงวิภา ต.ตะกุกเหนือ อ.วิภาวดี จ.สุราษฎร์ธานี 25 มี.ค. 2567 25 มี.ค. 2567

 

-

 

-

 

การสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒฬฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเะสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ต.น้ำพุ อ.บ้านนาสารจ.สุราษฎร์ธานี 25 มี.ค. 2567 25 มี.ค. 2567

 

-

 

-

 

การสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒฬฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเะสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ ต.ป่าร่อน อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี 25 มี.ค. 2567 25 มี.ค. 2567

 

-

 

-

 

การสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒฬฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเะสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ ต.ชลคราม อ.ดอนสักจ.สุราษฎร์ธานี 25 มี.ค. 2567 25 มี.ค. 2567

 

-

 

-

 

การสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒฬฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเะสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ศูนย์พัฒนาเด ็กเล็กบ้านคราม ต.ชลคราม อ.ดอนสักจ.สุราษฎร์ธานี 25 มี.ค. 2567 25 มี.ค. 2567

 

-

 

-

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการเก็บข้อมูลการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและข้อมูลสุขภาพชุมชนผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล (https://localfund.happynetwork.org/) 25 มี.ค. 2567 25 มี.ค. 2567

 

.

 

.

 

ประชุมวางแผนการสื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างพลังการเปลี่ยนแปลง 27 มี.ค. 2567 27 มี.ค. 2567

 

วางแผนพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อเพื่อการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะ

 

  1. ปรับกำหนดการใหม่
  2. ได้แผนการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อ
  3. ให้เครือข่ายสื่อทำคอนเทนต์ (Content) มาก่อนถึงวันประชุม

 

เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ประจำเดือนมีนาคม 2567 29 มี.ค. 2567 29 มี.ค. 2567

 

.

 

.

 

คณะทำงานเข้าร่วมประชุมการพัฒนาโครงข่ายพื้นที่สุขภาพดี 1 เม.ย. 2567 1 เม.ย. 2567

 

คณะทำงานเข้าร่วมประชุมการพัฒนาโครงข่ายพื้นที่สุขภาพดี

 

  • ได้แนวทางและความร่วมมือในการพัฒนาโครงข่ายพื้นที่สุขภาพดี

 

ประชุมเชิงปฏิบัติการ การประเมินผลการดำเนินงานของ “แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย” ปี 2564 -2567 4 เม.ย. 2567 4 เม.ย. 2567

 

ประชุมเชิงปฏิบัติการ การประเมินผลการดำเนินงานของ “แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย” ปี 2564 -2567 วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 09.00-17.00 น. ณ ห้อง Executive 1+2, Below Lobby Floor โรงแรมปทุมวันปริ้นเซส ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

 

นำเสนอผลการดำเนินงานของ “แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย” ปี 2564 -2567

 

ค่าจ้างการสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่จังหวัดน่าน งวดที่ 1 5 เม.ย. 2567 5 เม.ย. 2567

 

.

 

.

 

ค่าจ้างการสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่จังหวัดลำพูน งวดที่ 1 5 เม.ย. 2567 5 เม.ย. 2567

 

.

 

.

 

การประชุมพัฒนาโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่จังหวัดตรัง 10 เม.ย. 2567 10 เม.ย. 2567

 

ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ตามโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย วันที่ 10 เมษายน 2567 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลโคกหล่อ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง

เวลา กิจกรรม ผู้ดำเนินการ 08.00-08.30 ลงทะเบียน คณะทำงาน 08.30-10.30 ทบทวนแผนงาน/โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและความเชื่อมโยงของโครงการกับแผนงาน คณะวิทยากร 10.30-10.45 พักรับประทานอาหารว่าง คณะทำงาน 10.45-12.00 ปฏิบัติการพัฒนาโครงการเน้นผลลัพธ์ ที่เชื่อมโยงกับแผนงาน โดยใช้เครื่องมือเว็บ Localfund คณะวิทยากร 12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน คณะทำงาน 13.00-14.30 ปฏิบัติการพัฒนาโครงการเน้นผลลัพธ์ และการออกแบบกิจกรรมสู่ผลลัพธ์
โดยใช้เครื่องมือเว็บ Localfund คณะวิทยากร 14.30-14.45 พักรับประทานอาหารว่าง คณะทำงาน 14.45-16.30 นำเสนอโครงการ เพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน คณะวิทยากร

 

  • ได้ทบทวนข้อมูลสถานการณ์สุขภาพและเป้าหมายแผน 1 ปี ของท้องถิ่น จำนวน 10 แห่ง
    • ได้แผนส่งเสริมกิจกรรมจำนวน 10 แผน
    • ได้โครงการสนับสนุนปฏิบัติการจำนวน 9 โครงการ

 

(P001001) การรวบรวมองค์ความรู้-ชุดความรู้ นวัตกรรม เรื่องพื้นที่สุขภาวะ ความปลอดภัยด้านกิจกรรมทางกายในพื้นที่สาธารณะ การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่อคนไทย งวดที่ 2 22 เม.ย. 2567 22 เม.ย. 2567

 

.

 

.

 

ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ 24 เม.ย. 2567 24 เม.ย. 2567

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย อ.หัวตะพาน    จ.อำนาจเจริญ  วันพุธที่ 24 เมษายน 2567 ณ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ กำหนดการ
เวลา รายละเอียด 09.00 - 09.30 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม 09.30 - 10.00 น. กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม และนำเสนอโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
      รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 10.00 - 10.30 น. กล่าววิสัยทัศน์ แผนและนโยบายการพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย โดย นายอำเภอ 10.30 - 12.00 น. การบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดย นายอำเภอ นายกเทศมนตรีตำบล/นายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 8 แห่ง
12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 16.30 น. การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย อ.หัวตะพาน
จ.อำนาจเจริญ โดย คณะทำงานแผน/โครงการ คณะทำงานเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน และคณะทำงานสื่อ จำนวน 8 ท้องถิ่น
ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ และคณะทำงานพี่เลี้ยง
จ.อำนาจเจริญ

 

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) กับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และเครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นหรือพื้นที่ อำเภอหัวตะพาน  จังหวัดอำนาจเจริญ จัดทำบันทึกข้อตกลงขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย อำเภอหัวตะพาน  จังหวัดอำนาจเจริญ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2567 เวลา 08.30 น. ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอหัวตะพาน นายประหยัด คุณมี นายอำเภอหัวตะพาน เป็นประธานกล่าวแสดงวิสัยทัศน์ แผนและนโยบายการพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อการส่งเสรมิกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย และมี ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม และนำเสนอโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยการประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่อหน่วยงานกำหนดนโยบายและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย และพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 50 ท่าน ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ท้องถิ่นอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ ผู้บริหารท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่อำเภอหัวตะพานนำร่อง 8 แห่ง ในการจัดทำบันทึกความร่วมมือในครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.มอ.) , ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (MSU UDC) กับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอเขื่องใน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จำนวน 8 แห่ง ของอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเป็นองค์กรสนับสนุน
ในการจัดทำข้อตกลงครั้งนี้ โดยมีรายละเอียดเนื้อหาข้องตกลงร่วมกันดังนี้ 1. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) บูรณาการภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับอำเภอและท้องถิ่น ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย แนวทาง แผนงาน และโครงการสำคัญ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอให้กับประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนการติดตามผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) รับทราบ 2. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) บูรณาการภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันจัดทำระบบข้อมูล พัฒนาแผน และโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ตลอดจนการสร้างพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายในสถานศึกษาหรือชุมชน รวมทั้งการสื่อสารสาธารณะประเด็นกิจกรรมทางกายแก่ชุมชน 3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนงบประมาณทั้งจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ หรืองบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดทำโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่สอดคล้องกับแผนงานทั้งระดับตำบล (เทศบาลและ อบต.) และระดับอำเภอ 4. สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (MSU UDC) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นองค์กรสนับสนุนความรู้ ทักษะ ในการพัฒนาแผน พัฒนาโครงการ และออกแบบพื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับหน่วยงาน ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับตำบลและระดับอำเภอ 5. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และหน่วยจัดการร่วมจังหวัด หรือ โหนด สสส. สำนัก 6 (สำนักสร้างสรรค์โอกาส) เป็นองค์กรสนับสนุนความรู้ ทักษะ งบประมาณและบทเรียน ให้ขยายผลโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายสู่พื้นที่ใกล้เคียง

 

การประชุมพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายจัดทำแผนในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานี 25 เม.ย. 2567 25 เม.ย. 2567

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2567 ณ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

กำหนดการ
เวลา รายละเอียด 09.00 - 09.30 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม 09.30 - 10.00 น. กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม และนำเสนอโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
      รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 10.00 - 10.30 น. กล่าววิสัยทัศน์ แผนและนโยบายการพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย
โดย นายอำเภอ 10.30 - 12.00 น. การบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดย นายอำเภอ นายกเทศมนตรีตำบล/นายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 12 แห่ง

12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 16.30 น. การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี โดย คณะทำงานแผน/โครงการ คณะทำงานเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน และคณะทำงานสื่อ จำนวน 12 ท้องถิ่น
ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ และคณะทำงานพี่เลี้ยง จ.อุบลราชธานี

 

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) กับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และเครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นหรือพื้นที่ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี จัดทำบันทึกข้อตกลงขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567 เวลา 08.30 น. ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเขื่องใน
นายเกียรติศักดิ์ บารมี ปลัดอาวุโสอำเภอเขื่องใน เป็นประธานกล่าวแสดงวิสัยทัศน์ แผนและนโยบายการพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อการส่งเสรมิกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย
และมี ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม และนำเสนอโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยการประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่อหน่วยงานกำหนดนโยบายและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย และพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 50 ท่าน ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ท้องถิ่นอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ ผู้บริหารท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่อำเภอเขื่องในนำร่อง 12 แห่ง
ในการจัดทำบันทึกความร่วมมือในครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.มอ.) , ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (MSU UDC) กับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอเขื่องใน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จำนวน 12 แห่ง ของอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเป็นองค์กรสนับสนุน
ในการจัดทำข้อตกลงครั้งนี้ โดยมีรายละเอียดเนื้อหาข้องตกลงร่วมกันดังนี้ 1. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) บูรณาการภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับอำเภอและท้องถิ่น ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย แนวทาง แผนงาน และโครงการสำคัญ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอให้กับประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนการติดตามผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) รับทราบ 2. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) บูรณาการภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันจัดทำระบบข้อมูล พัฒนาแผน และโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ตลอดจนการสร้างพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายในสถานศึกษาหรือชุมชน รวมทั้งการสื่อสารสาธารณะประเด็นกิจกรรมทางกายแก่ชุมชน 3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนงบประมาณทั้งจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ หรืองบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดทำโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่สอดคล้องกับแผนงานทั้งระดับตำบล (เทศบาลและ อบต.) และระดับอำเภอ 4. สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (MSU UDC) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นองค์กรสนับสนุนความรู้ ทักษะ ในการพัฒนาแผน พัฒนาโครงการ และออกแบบพื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับหน่วยงาน ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับตำบลและระดับอำเภอ 5. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และหน่วยจัดการร่วมจังหวัด หรือ โหนด สสส. สำนัก 6 (สำนักสร้างสรรค์โอกาส) เป็นองค์กรสนับสนุนความรู้ ทักษะ งบประมาณและบทเรียน ให้ขยายผลโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายสู่พื้นที่ใกล้เคียง

 

พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพและจัดทำแผนในพื้นที่นำร่อง จ.น่าน และจ.ลำพูน 26 เม.ย. 2567 26 เม.ย. 2567

 

-

 

-

 

ประชุมการทำข้อตกลงเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพ “การยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย” จังหวัดตรัง 29 เม.ย. 2567 29 เม.ย. 2567

 

วันที่ 29 เม.ย.2567 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลโคกหล่อ อ.เมือง จ.ตรัง สนส.ม.อ.และคณะทำงานพี่เลี้ยงได้จัดประชุมการทำข้อตกลงเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพ “การยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย” จังหวัดตรัง

 

  1. จังหวัดตรังมีกองทุนท้องถิ่นนำเข้าร่วมนำร่อง 10 แห่ง
  2. ทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมามีขั้นตอนการทำงาน ดังนี้
        1) ชี้แจงทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ
        2) ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย /เข้าใจหลักการทำงานแผน 4 คำถาม อยุ่ไหน จะไปไหน ไปอย่างไร ไปถึงแล้วยัง     3) อยู่ไหน: คือ การเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพตำบล ได้เก็บข้อมูลครบถ้วน     4) จะไปไหน: การทำแผน ตั้งเป้าหมาย และกำหนดโครงการที่ควรดำเนินการ     5) ไปอย่างไร: การเขียนโครงการ
    จากเวทีที่ผ่านมาได้ดำเนินการถึงขั้นตอนการเขียนโครงการ วันนี้จะทบทวนความสมบูรณ์ของโครงการ และทำข้อตกลงเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพ “การยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย” จังหวัดตรัง
  3. การออกแบบโครงการ คือ 1) ทำอย่างไรให้คนรับรู้ความตระหนักต่อเรื่องกิจกรรมทางกาย 2) การปรับสภาพแวดล้อม 3) ระบบกลไก

  4. ได้โครงการดำเนินกิจกรรมจำนวน 9 โครงการ ดังนี้
    1) โครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพขยับกาย สบายชีวา ปี 2567 องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง 2) โครงการเด็กและเยาวชนสุขภาพดี ชีวีสดใสด้วยโนรา ตำบลหาดสำราญ จังหวัดตรัง 3) โครงการกิจกรรมทางกาย สูงวัยบ้านน้ำผุด สุขภาพดี ตำบลน้ำผุด จังหวัดตรัง 4) โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยกีฬาเปตองเพื่อสุขภาพในเด็กวัยเรียน เทศบาลตำบลย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง 5) โครงการส่งเสริมเด็กเยาวชนให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นด้วยการเล่นฟุตบอล เทศบาลตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง 6) โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยออกกำลังกายด้วยการรำไม้พลองเพื่อสุขภาพ เทศบาลตำบลโคกหล่อ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง 7) โครงการหนูน้อย พัฒนาการสมวัยด้วยการออกกำลังกาย อบต.ปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง" 8) โครงการอนุรักษ์ความเป็นไทยออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้าของผู้สูงอายุ อบต.ปากคม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง 9) โครงการส่งเสริมการเดิน วิ่งและใช้จักรยานในชุมชน อบต.บ้านโพธิ์ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

 

ค่าจ้างเจ้าหน้าที่โครงการ ประจำเดือนเมษายน 2567 30 เม.ย. 2567 30 เม.ย. 2567

 

-

 

-

 

เข้าร่วมการอบรมแกนนำส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำหรับเด็กในชุมชน"Active Kids Summer Camp" 1 พ.ค. 2567 1 พ.ค. 2567

 

.

 

.

 

โครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ขยับกาย สบายชีวี ปี 2567 1 พ.ค. 2567 1 พ.ค. 2567

 

-

 

-

 

โครงการหนูน้อย พัฒนาการสมวัยด้วยการออกกำลังกาย (ต.ปะเหลียน) 1 พ.ค. 2567 1 พ.ค. 2567

 

-

 

-

 

โครงการอนุรักษ์ออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า (ต.ปากคม) 1 พ.ค. 2567 1 พ.ค. 2567

 

-

 

-

 

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยออกกำลังกายด้วยการรำไม้พลองเพื่อสุขภาพ (ต.โคกหล่อ) 1 พ.ค. 2567 1 พ.ค. 2567

 

-

 

-

 

โครงการส่งเสริมการเดิน วิ่ง และใช้จักรยานในชุมชน (ต.บ้านโพธิ์) 1 พ.ค. 2567 1 พ.ค. 2567

 

-

 

-

 

โครงการกิจกรรมทางกาย สูงวัยบ้านน้ำผุด สุขภาพดี (ต.น้ำผุด) 1 พ.ค. 2567 1 พ.ค. 2567

 

-

 

-

 

โครงการเด็กและเยาวชนสุขภาพดี ชีวีสดใสด้วยโนราห์ ต.หาดสำราญ 1 พ.ค. 2567 1 พ.ค. 2567

 

-

 

-

 

โครงการส่งเสริมเด็กเยาวชนให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นด้วยการเล่นฟุตบอล ต.นาโยงเหนือ 1 พ.ค. 2567 1 พ.ค. 2567

 

-

 

-

 

โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยกีฬาเปตองเพื่อสุขภาพในเด็กวัยรุ่น ต.ย่านตาขาว 1 พ.ค. 2567 1 พ.ค. 2567

 

-

 

-

 

การประชุมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ในพื้นที่นำร่อง อบต.ปะเหลียน อ.ปะเหลียน จ.ตรัง 14 พ.ค. 2567 14 พ.ค. 2567

 

การประชุมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ในพื้นที่นำร่องของจังหวัดตรัง ภายใต้โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน อ.ปะเหลียน จ.ตรัง

  • กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม โดย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน
  • ทางแนะนำโครงการและวัตถุประสงค์ของการประชุม
  • การจัดกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการเลือกพื้นที่และกำหนด โปรแกรมในการออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย นำร่อง
  • สรุปผลและปิดการประชุม

 

  • สร้างการมีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่ ผู้เข้าร่วมประชุมได้ลงมติเลือกพื้นที่บริเวณด้านหน้า อบต.ปะเหลียนเป็นพื้นที่สุขภาวะ เนื้อที่ประมาณ 2,000 ตร.ม. เป็นพื้นที่คนในชุมชนสามารถเข้าถึงได้สะดวก
  • การออกแบบเป็นพื้นที่สุขภาวะ ใช้สำหรับการมีกิจกรรมทางกาย และสามารถออกกำลังกายได้ในระดับตั้งแต่ปานกลางถึงหนักได้ เป็นสวนหย่อมพักผ่อนหย่อนใจมีลานศาลาเพื่อรองรับให้ผู้สูงอายุออกจากบ้านมาเพื่อมีกิจกรรมทางกาย สามารถเดินวิ่งได้รอบพื้นที่ และมีลานเต้นบาสโลบ เต้นแอโรบิก
  • การมีส่วนร่วมในการออกแบบตรงกับความต้องการผู้ใช้ประโยชน์ นำไปสู่ความรู้สึกเป็นเจ้าของพื้นที่ร่วมกัน มีการใช้ประโยชน์ร่วมกันเกิดความต่อเนื่องต่อการมีกิจกรรมทางกาย และร่วมกันดูแลรักษาให้พื้นที่สุขภาวะคงอยู่กับพื้นที่ต่อไปอย่างยั่งยืน ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตสุขภาพมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น นำไปสู่การลดโรคเรื้อรังและสร้างชุมชนเข้มแข็งต่อไป
  • ร่างแบบครั้งนี้ จะถูกนำไปสู่กระบวนการทางสถาปัตย์ออกแบบภาพ 3 มิติ แล้วนำร่างแบบดังกล่าวมาคืนข้อมูลให้ชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนสรุปผลการออกแบบครั้งถัดไป และนำสู่กระบวนการจัดทำแผนของตำบลต่อไป

 

การประชุมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ในพื้นที่นำร่อง อบต.น้ำผุด อ.เมือง จ.ตรัง 15 พ.ค. 2567 15 พ.ค. 2567

 

การประชุมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ในพื้นที่นำร่องของจังหวัดตรัง ภายใต้โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย วันพุธที่ 15 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด อ.เมือง จ.ตรัง
กิจกรรม
- กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม โดย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด
- แนะนำโครงการและวัตถุประสงค์ของการประชุม
- การจัดกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการเลือกพื้นที่และกำหนด โปรแกรมในการออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
- สรุปผลและปิดการประชุม

 

  • ผู้เข้าร่วมประชุมได้ลงมติเลือกพื้นที่บริเวณด้านหน้า อบต.นำผุดเป็นพื้นที่สุขภาวะ เนื้อที่ประมาณ  4 ไร่  เป็นพื้นที่คนในชุมชนสามารถเข้าถึงได้สะดวก
  • การออกแบบเป็นพื้นที่สุขภาวะ ใช้สำหรับการมีกิจกรรมทางกาย และสามารถออกกำลังกายได้ในระดับตั้งแต่ปานกลางถึงหนักได้ เป็นสวนหย่อมพักผ่อนหย่อนใจมีเส้นทางลู่เดินวิ่งรอบสระน้ำ ซึ่งสระน้ำมีจุดเด่นเป็นรูปหัวใจ ทุกช่วงวัยสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้ มีศาลาพักผ่อนกลางสระน้ำสามารถเดินไปให้อาหารปลาได้ มีลานกิจกรรมสำหรับเสวนาของคนในชุมชน แรงจูงใจสร้างเป็นจุดเช็คอินในชุมชน พื้นที่ตำบลน้ำผุดเป็นพื้นที่ที่มีเส้นทางการใช้จักรยาน บุคคลภายนอกจะเข้ามาปั่นจักรยานในพื้นที่นี้ พื้นที่สุขภาวะตรงนี้จะสร้างจุดจอดจักรยานและมีพื้นที่ยืดเหยียดให้นักปั่นจักรยานและคนในชุมชน นอกจากนี้สามารถเชื่อมไปพื้นที่หมู่ที่ 9 จะมีแอ่งน้ำ สามารถออกแบบเป็นเส้นทางปั่นจักรยานและเดินวิ่งออกกำลังกายแบบหนักได้
  • การมีส่วนร่วมในการออกแบบตรงกับความต้องการผู้ใช้ประโยชน์ นำไปสู่ความรู้สึกเป็นเจ้าของพื้นที่ร่วมกัน มีการใช้ประโยชน์ร่วมกันเกิดความต่อเนื่องต่อการมีกิจกรรมทางกาย และร่วมกันดูแลรักษาให้พื้นที่สุขภาวะคงอยู่กับพื้นที่ต่อไปอย่างยั่งยืน ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตสุขภาพมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น นำไปสู่การลดโรคเรื้อรังและสร้างชุมชนเข้มแข็งต่อไป
  • ร่างแบบครั้งนี้ จะถูกนำไปสู่กระบวนการทางสถาปัตย์ออกแบบภาพ 3 มิติ แล้วนำร่างแบบดังกล่าวมาคืนข้อมูลให้ชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนสรุปผลการออกแบบครั้งถัดไป และนำสู่กระบวนการจัดทำแผนของตำบลต่อไป
  • นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความสนใจในการเขียนโครงการเพื่อของบกองทุนสุขภาพตำบล ทางคณะทำงานได้แนะนำการจัดทำแผน การเขียนโครงการ และการติดตามประเมินผลให้กับผุ้เข้าร่วม ซึ่งทางท้องถิ่นยินดีให้การสนับสนุนกิจกรรมที่ผู้เข้าร่วมเขียนโครงการเข้ามา พร้อมกันที่ทางคณะทำงานยินดีที่จะมาเสริมศักยภาพในการเขียนโครงการในพื้นที่ต่อไป
  • จะเห็นได้ว่าทางโครงการยกระดับการขับเคลื่อนฯ ได้ ดำเนินการ 1) สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่ และ 2) สร้างกระบวนจัดทำแผนและโครงการ ซึ่งผลลัพธ์จากพื้นที่ออกแบบจะถูกเข้าแผนท้องถิ่นนำไปสู่การทำให้เกิดขึ้นจริงต่อไป และมีกิจกรรมโครงการกองทุนสุขภาพตำบลรองรับสอดรับกับพื้นที่ออกแบบได้ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องยั่งยืนต่อไป เพื่อนำไปสู่ชุมชนมีสุขภาวะที่ดีคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นสุขต่อไป

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพทีมสื่อสุขภาพ เรื่อง การสื่อสารสาธารณะ เพื่อสร้างพลังการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย 18 พ.ค. 2567 18 พ.ค. 2567

 

-

 

-

 

การประชุมรายงานผลการออกแบบพื้นที่สุขภาวะในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี (พี่เลี้ยง) 27 พ.ค. 2567 27 พ.ค. 2567

 

-

 

-

 

การประชุมพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายจัดทำแผนในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ 27 พ.ค. 2567 27 พ.ค. 2567

 

-

 

-

 

ตรวจสอบบัญชีโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย งวดที่ 2 29 พ.ค. 2567 29 พ.ค. 2567

 

-

 

-

 

ค่าจ้างเจ้าหน้าที่โครงการ ประจำเดือนพฤษภาคม 2567 31 พ.ค. 2567 31 พ.ค. 2567

 

.

 

.

 

ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้างานของภาคเหนือ จ.ลำพูน และ จ.น่าน 5 มิ.ย. 2567 5 มิ.ย. 2567

 

วันที่ 5 มิ.ย.2567 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้างานภาคเหนือ จ.ลำพูน จ.น่าน ของโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (PA) • ชี้แจงผลลัพธ์ตัวชี้วัดของโครงการ • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้างาน
1. ข้อมูลสถานการณ์ แผน PA และโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนสุขภาพตำบล
2. ความคืบหน้าการออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3. การสนับสนุนโครงการ PA ในชุมชน จำนวน 4 โครงการ (จังหวัดละ 2 โครงการ) 4. การสนับสนุนโครงการ PA ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน จำนวน 4 โครงการ (จังหวัดละ 2 โครงการ) 5. การสื่อสารสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
• สรุปแผนและกำหนด Time line กิจกรรมที่สำคัญ

 

ผลลัพธ์
1. แผนงาน/โครงการ ได้ข้อมูลสถาณการณ์สุขภาพ เกิดแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และโครงการอยู่ระหว่างเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ และทวนสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลอีกครั้ง
2. ได้เชิญสื่อเข้าร่วมเวที การสื่อสารอย่างไร เรื่องของวิดีทัศน์ คลิป /พื้นที่และกองทุน ทีมสื่อได้นัดหมาย คุยโจทย์ทีมสื่อ โดยขอให้สื่อสารสาธารณะกองทุนฯ ละ 1 เรื่อง ให้พื้นที่ใช้การสื่อสารเพิ่มเติม 3. ความคืบหน้าของสถาปัตยกรรม อาจารย์สถาปนิกได้ลงไปในพื้นที่แล้วทั้งสองจังหวัด ความคืบหน้า ในพื้นที่ของลำพูน ประชุมร่วมกับผู้บริหารท้องถิ่น ได้เริ่มเขียนแบบทางเทศบาลกำหนดให้อาจารย์ได้ออกแบบ อยู่ในขั้นตอนการปรับแบบจะส่งให้ทางเทศบาล ในส่วนของ จ.น่าน ทางอาจารย์สถาปนิกลงไปสำรวจ อยู่ในขั้นตอนของผู้บริหารท้องถิ่นจะเลือกตรงไหนอย่างไร จะเข้าไปเขียนแบบ มีการนัดหมายหลังวันที่ 10 มิถุนายน 67 และชี้พื้นที่
รอทางเทศบาลและชุมชนตัดสินใจ ทางอาจารย์จะประชุมร่วมกันสอง - เดือนมิถุนายน 67 จะได้ (ร่าง) แรก 2 จังหวัด ส่งมอบเทศบาลทั้ง 4 แห่ง ดำเนินการนำเข้าแบบสถาปัตกรรมเข้าแผนขับเคลื่อนต่อไป

  1. การจัดทำโครงการ
    จ.ลำพูน : พื้นที่โรงเรียนอนุบาลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 2 แห่ง
    : ชุมชน ทางพื้นที่ ลำพูน ลงหมดแล้ว 2 พื้นที่เรียนรู้จะเอาโครงการใส่ จะส่งวิธีการบันทึกในพื้นที่
    จ.น่าน จะเทรนให้พื้นที่เขียนโครงการ
    เทศบาลน่าน รอเลือกพื้นที่อีกครั้งหนึ่ง จะเอาในส่วนพื้นที่ไหน

- ทางทีมคณะทำงานได้ลงไปเก็บข้อมูล และข้อมูลและแผน โดยใช้โปรแกรมเป็นตัวชี้วัดในการตรวจสอบความคืบหน้า และ ภายในเดือนมิถุนายน 67 มุ่งเน้นแผนกิจกรรมทางกายเป็นหลักให้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อย
- การพัฒนาโครงการจะดำเนินการออกแบบตอบความคุ้มทุน SROI มากที่สุด เน้นผลลัพธ์ส่งเสริมสุขภาพให้เกิดกับชุมชนและเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางกายสุขภาพ รวมทั้งมีความร่วมมือนำข้อเสนอเชิงนโยบายในพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติอย่างยั่งยืน

 

กระบวนการออกแบบพื้นที่ทางสถาปัตยกรรม จ.สุราษฎร์ธานี งวดที่ 2 11 มิ.ย. 2567 11 มิ.ย. 2567

 

-

 

-

 

ประชุมพัฒนาศักยภาพภาคีเตรือข่ายจัดทำแผนและการเขียนโครงการในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอำนาจเจริญ 16 มิ.ย. 2567 16 มิ.ย. 2567

 

.

 

.

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง ณ อบต.ก่อเอ้ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี 17 มิ.ย. 2567 17 มิ.ย. 2567

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2567 เวลา 08.00 – 16.30 น. ณ อบต.ก่อเอ้ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี

1) วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อนำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่มาวิเคราะห์เพื่อนำมาจัดทำแผนและเขียนโครงการ
1.2. เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ
2) ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 40 คน
2.1) คณะทำงานเก็บข้อมูล/จัดทำแผนและโครงการ 8 แห่งๆ ละ 2-3 คน จำนวน 30 คน
3) ภาคีเครือข่าย
3.1) คณะทำงานเขต/จังหวัด จำนวน 5 คน 3.2) คณะทำงานจากสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 5

กำหนดการ เวลา รายละเอียด 08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม
08.30 - 09.00 น. กล่าวต้อนรับ และมอบหมายแนวนโยบายที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนประเด็นของกิจกรรมทางกาย (PA)
โดย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล 09.00 - 09.30 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดประชุมวันนี้ และ สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
โดยนางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ คณะทำงานระดับเขต 10
09.30 - 12.00 น. นำเสนอแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย แต่ละตำบลๆ ละ 7 นาที
ทต.เขื่องใน/ ทต.ห้วยเรือ/ทต.บ้านกอก/อบต.แดงหม้อ/อบต.ท่าไห/อบต.ธาตุน้อย/อบต.หัวดอน/อบต.นาคำใหญ่/อบต.กลางใหญ่/อบต.ค้อทอง/อบต.ชีทวน/อบต.ก่อเอ้ โดย คณะทำงานเขียนแผนและโครงการ ร่วมแลกเปลี่ยนให้ข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะพร้อมแนวทางให้เกิดแผนและโครงการกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ
โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 16.00 น. แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
โดย นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์/นายรพินทร์ ยืนยาว คณะทำงานพี่เลี้ยงเขต
16.00-16.30 น. สรุปผลการประชุมนัดหมายกิจกรรมต่อไปและปิดประชุม
โดย นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ คณะทำงานพี่เลี้ยงเขต

 

  • พัฒนาศักยภาพคณะทำงานกองทุนตำบล จัดทำแผนและเขียนโครงการที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ เขตสุขภาพพื้นที่ 10 ในวันที่ 17 มิถุนายน 2567 เวลา 08.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลก่อเอ้  ตำบลก่อเอ้  อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุน การ สร้าง เสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอเขื่องใน จังหวัด อุบลราชธานี  เพื่อนำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่มาวิเคราะห์เพื่อนำมาจัดทำแผนและเขียนโครงการและเพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ
    โดยมีนายสุวรรณ จานเขื่องใน รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้ เป็นประธานในการกล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดการประชุมในครั้งนี้ และนางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ ผู้ประสานงานระดับเขตสุขภาพที่ 10 ได้กล่าววัตถุประสงค์ของโครงการฯ และเป้าหมายของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้

  • พร้อมกันนั้น ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ  รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แลกเปลี่ยนประเด็นต่างๆ ได้แก่ 1) ความหมายกิจกรรมทางกาย 2) ความสำคัญกิจกรรมทางกาย 3) ระดับการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 4) การตั้งเป้าหมายโครงการ 5) ตัวอย่างกิจกรรมโครงการ 6) ประเภทการออกแรง การสัญจร ทำงาน นันทนาการ 7) สถานการณ์กิจกรรมทางกายและภาวะเนือยนิ่งของคนไทย 8) แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย  โดยมีรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้ ร่วมแลกเปลี่ยนชี้แจงวัตถุประสงค์การส่งเสริมกิจกรรมทางกายของกลุ่มวัยต่างๆ เช่น กลุ่มวัยเด็ก เยาวชน ควรมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 180 นาที่ต่อสัปดาห์ วัยทำงานและวัยผู้สูงอายุ ควรมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 150 นาทีต่อสัปดาห์ ซึ่งการพัฒนาแผนและเขียนโครงการที่มีคุณภาพควรคำนึงถึงกิจกรรมที่จะส่งเสริมทุกกลุ่มวัยที่มีความเพียงพอของกลุ่มเป้าหมายของโครงการด้วย แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้แก่ 1. สร้างโปรแกรมเด็กในโรงเรีนย เกษตร ปลูกป่า 2. ปรับการเดินทาง 3. ออกแบบเมืองในกระฉับกระเฉง  4. บริการสุขภาพ 5. ให้ข้อมูล 6. กีฬานันทนาการ 7. สถานที่ทำงาน 8. สร้างโปรแกรมที่ครอบคลุมทั้งชุมชน

  • ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ประกอบด้วย คณะทำงานเขต/จังหวัด, คณะทำงานจากสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะทำงานระดับตำบล เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ จำนวน 12 พื้นที่ ได้แก่  เทศบาลตำบลเขื่องใน เทศบาลตำบลห้วยเรือ เทศบาลตำบลบ้านกอก อบต.แดงหม้อ อบต.ท่าไห อบต.ธาตุน้อย อบต.หัวดอน อบต.นาคำใหญ่  อบต.กลางใหญ่  อบต.ค้อทอง  อบต.ชีทวน และอบต.ก่อเอ้ ประมาณกว่า 40 คน

  • นายรพินทร์ ยืนยาว คณะทำงานโครงการได้นำกระบวนการแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ซึ่งกระบวนการเป็นการแลกเปลี่ยนรายละเอียดของโครงการที่มีการพัฒนาในเว็ปไซต์ของกองทุนตำบล จนได้กิจกรรมที่มีคุณภาพ เช่น โครงการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยการออกกำลังกาย โครงการรณรงค์ 1 วันชวนกันขยับร่างกาย โครงการขยับกาย ขยับใจไทบ้านกอก โครงการปั่นชมชี เป็นการปั่นไปทำกิจกรรมปลูกป่า ปล่อยปลาในลำน้ำชี เป็นต้น
    ทั้งนี้ทางอำเภอเขื่องใน จ.อุบลราชธานี ได้พัฒนาพื้นที่สุขภาวะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่องใน 2 แห่ง คือ เทศบาลตำบลเขื่องใน และองค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้ ซึ่งเทศบาลตำบลเขื่องใน ได้ออกแบบพื้นที่สาธารณะ: “ย่านตลาดเก่า”ให้เป็นถนนคนเดิน สนามเด็กเล่น ที่พักผู้สูงอายุ พื้นที่กิจกรรมของเด็กวัยรุ่น ลานดนตรี ถนนศิลปะ ถนนอาหาร ร้านกาแฟ ที่ออกกำลังกาย ตลาดนัด และพื้นที่ขายสินค้า  และองค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้ ได้ออกแบบพื้นที่สาธารณะ: สนามเด็กเล่น ที่ออกกำลังกาย สนามกีฬา สวนสาธารณะ ลานศิลปะ จุด Check In จัดทำลู่วิ่ง ศูนย์เรียนรู้อาชีพ  ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ศาลานั่งเล่น ลานปั่นจักรยาน ห้องคาราโอเกะ ที่จอดรถ

  • การแลกเปลี่ยนโครงการ

  1. ทต.เขื่องใน สนามเด็กเล่นสวนสาธารณะหนองเขื่อง เทศบาลตำบลเขื่องใน - บริบท: มีพื้นที่สาธารณะ 40 ไร่

- กระบวนการ:
การประชุมชี้แจ้งเพื่อวางแผนการดำเนินโครงการ โดยผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์ต่อผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อเกิดความเข้าใจตรงกัน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประมาณ 60 คน กระบวนการ การประชุม 1.นำเสนอสถานการณ์ปัญหากิจกรรมทางกายของตำบลเขื่องใน 2.ระดมวางแผนกิจกรรมทางกายในตำบลเขื่องใน 3.นำเสนอโครงการกิจกรรมทางกาย4.จัดทำแผนปฏิบัติงานร่วมกัน(timeline) 5.สรุปและปิดการประชุม
ข้อเสนอแนะแลกเปลี่ยน
- เป็นพื้นที่นำร่องการออกแบบพื้นที่สาธารณะ
- เพิ่มกิจกรรมนันทนาการในพื้นที่สาธารณะ และสร้างการมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมร่วนกัน
2. ทต.บ้านกอกโครงการขยับกายขยับใจไทบ้านกอก
กระบวนการ 1) จัดประชุมคณะทำงาน ร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย ชี้แจงโครงการ และกิจกรรมที่จะร่วมกันดำเนินการ ในหน่วยงานราชการของ เทศบาลตำบลบ้านกอก 2) จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ โดยการบรรยาย และปฏิบัติ การมีกิจกรรมทางกาย ให้กับกลุ่มเป้าหมายจำนวน 100 คน 3) ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย คณะทำงานโครงการ สัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายในโครงการถึง การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย
4) รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ตระหนักในการออกกำลังกาย 5) สรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการ
- ข้อเสนอแนะ : เพิ่มกิจกรรมทางกายในสำนักงานและสร้างกิจกรรมทางกายลดความเครียดในสำนักงาน

  1. อบต.แดงหม้อ โครงการบ้านสวยเมืองสุข
    กระบวนการ : 1.ประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 1-6 หมู่ละ 10 คน จำนวน60 คน เพื่อชี้แจงโครงการกำหนดแนวทางการทำงานร่วมกันซึ่งประกอบด้วย 2.กิจกรรมปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในชุมชน 3.กิจกรรมกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย 4.กิจกรรมการคัดแยกขยะต้นทางให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ 5.กิจกรรมปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ 6.กิจกรรมสำรวจข้อมูลการจัดการขยะในชุมชน กิจกรรมทางกายเชื่อมโยงกับประเด็นอื่นๆ เช่น การจัดการขยะ การปลูกผักปลอดสารพิษ การแก้ปัญหาลูกน้ำยุงลาย

  2. อบต.ท่าไห โครงการรณรงค์ 1 วัน ชวนกันขยับร่างกาย - กระบวนการ
    1) จัดประชุมชี้แจงการวิธีการทำงาน จัดเตรียมกลุ่มเป้าหมาย กำหนดแผนการดำเนินการ 2) กำหนดวันออกกำลังกายในสถานที่ทำงานอาทิตย์ละ 1 วัน ครั้งละ 1-2 ชม. ผู้เข้าร่วม กลุ่มวัยทำงาน ได้แก่ พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลท่าไห  เด็กวัยปฐมวัย และผู้สุงอายุ 3) สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปปัญหาอุปสรรค ประชุมชี้แจ้งให้คณะทำงานทราบ ข้อเสนอแนะ

- ควรเพิ่มการออกกำลังกาย อย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์
- ควรดึงกลุ่มคนทำงานนอกพื้นที่/พัฒนาศักยภาพแกนนำ

  1. อบต.หัวดอน พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยการออกกำลังกาย - อบต.หัวดอนมีประชากรประมาณ 6,500 คน

- ผู้สูงอายุ 20% - เป้าหมาย เพิ่มกิจกรรมทางกายผู้สูงอายุ จากร้อยละ 97% เป็น 98% , ลดความเครียดผู้สูงอายุ จากร้อยละ 3 % เป็น 1 % , ลดภาวะซึมเศร้า จากร้อยละ 3.57% เป็น 1%
- กลุ่มเป้าหมาย ผู้สูงอายุ 70 คน
- กระบวนการ 1) ชี้แจง/ประชุม กำหนดกติการ่วมกัน 2) ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ ทุกวันพฤหัสบดี
3) กิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ : ร้องรำไม้พลองฯลฯ 4) วัดประเมินผล ควรปรับกิจกรรมโครงการให้สอดรับกับสถานการณ์ปัญหาในพื้นที่ด้วย

  1. อบต.นาคำใหญ่ โครการปั่นชมชี บริบทพื้นที่ : มีปัญหาเรื่องน้ำท่วม , ประชากรประมาณ 3,300 คน มี 8 หมู่บ้าน

- กระบวนการ
1) ประชุมวางแผนวิธีการดำเนินโครงการร่วมกับผูนำชุมชนทั้งตำบลนาคำใหญ่(ผู้ใหญ่บ้าน,สมาชิกสภา,ผู้อำนวยการโรงเรียน,ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล) 2) ดำเนินการอบรมตามโครงการดำเนินการ กลุ่มเป้าหมาย 100 คน ชวนประชาชน/ผู้สูงอายุ ปั่นจักรยานไปปลูกป่า /ปล่อยปลา, ปั่นระยะทาง 10 กิโลเมตร
3) สรุปผลการดำเนินโครงการ
ข้อเสนอแนะ
- ชวนเด็กเยาวชนทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ เช่น จัดการขยะ - การออกแบบเส้นทางความปลอดภัยกับหน่วยงาน - ควรมีระยะทางตามกลุ่มเป้าหมาย
- รณรงค์ปั่นจักรยานเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม
- ควรมีการปั่นซ้อมตามระยะทาง, ปั่นซ้อมรายวัน

  1. อบต.กลางใหญ่ โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกลางใหญ่ ร่วมกับชมรมรักสุขภาพตำบลกลางใหญ่ - สถานการณ์ PA เด็ก 57.35% เพิ่มเป็น 59.35%, วัยทำงาน 55.42% เพิ่มเป็น 58.42%

- กลุ่มเป้าหมาย: 140 คน : เด็ก 40 คน, วัยทำงาน 50 คน, ผู้สูงอายุ 50 คน
- กระบวนการ 1) จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการ ของคณะกรรมการดำเนินโครงการได้แก่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกลางใหญ่ กลุ่ม อสม.ในพื้นที่ และประธานชมรมรักสุขภาพตำบลกลางใหญ่ 2) จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างการรวมกลุ่มคนรักสุขภาพในการออกกำลังกายช่วงเย็น บริเวณ ลานตลาดบ้านกลางใหญ่ ทุกวัน เวลา 16.30 – 18.00 น. ในห้วงระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน – 30 กันยายน 2567 3) จัดกิจกรรมปลูกผักสวนครัวบริเวณโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกลางใหญ่ ในห้วง ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน – 30 กันยายน 2567 4) สรุปผลโครงการ รายงานให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกลางใหญ่ทราบ
ข้อเสนอแนะ - ปรับกลุ่มเป้าหมายกับค่าเป้าหมายให้ตรงกัน
- ควรคำนึงถึงความปลอดภัยการออกกำลังของผู้สูงอายุ - ควรมีการปลูกผักที่บ้าน เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

  1. อบต.ก่อเอ้
    กระบวนการ :

- การประชุมชี้แจงโครงการผู้รับผิดชอบโครงการเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับคณะทำงานให้มีเป้าหมายที่ตรงกัน กระบวนการ เริ่มต้นด้วย 1. แต่งตั้งคณะทำงาน2. ชี้แจงรายละเอียดโครงการ3. แหล่งงบประมาณ4.สรุปการประชุม มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้บริหารท้องถิ่น อสม. ผู้นำชุมชน ครู ผู้ปกครอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประมาณ 70 คน - คณะทำงานโครงการร่วมกันลงพื้นที่ออกแบบเพื่อปรับปรุงพื้นภูมิทัศน์ พื้นที่สาธารณะบริเวณองค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้ เช่น การปรับปรุงบริเวณที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้ มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สถานที่ออกกำลังกาย สนามเด็กเล่น จุดเช็คอิน ลานศิลปะ ศูนย์เรียนรู้อาชีพ เป็นต้น
ข้อเสนอแนะ
- เป็นพื้นที่นำร่องการออกแบบพื้นที่สาธารณะ และจัดกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

  • อาจารย์พงค์เทพ ได้แนะนำตัวอย่างการออกแบบกิจกรรมโครงการส่งเสริม PA และแนวทางจัดทำโครงการ PA ที่สามารถเชื่อมโยงประเด็นอื่นๆ ได้ รายละเอียด ดังนี้
    แนวทางจัดทำโครงการ
    1. ทบทวนสถานการณ์ PA และสถานการณ์ปัญหาอื่นๆ ที่เชื่อมโยง เช่น ขยะ ไข้เลือดออก กับ PA โดยกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
    2. วางวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย (กลุ่มเป้าหมาย และเป้าหมายเชิงปริมาณ) โดยให้ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกำหนด
    • วัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับ PA
    • วัตถุประสงค์ที่บูรณาการกับปัญหาอื่นๆ เช่น ปริมาณขยะ/โรคไข้เลือดออก
    1. ออกแบบกิจกรรม / รูปธรรมที่สามารถบรรลุเป้าหมายได้

ในระยะต่อไปจะเป็นการนำรายละเอียดโครงการนำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนตำบลพิจารณาอนุมัติงบประมาณมาสนับสนุนกิจกรรม การสร้างพื้นที่ต้นแบบหรือนำร่อง ในการออกแบบพื้นที่สาธารณะและการเขียนโครงการให้มีการส่งเสริมกิจกรรมในการออกแบบพื้นที่สาธารณะ
การนัดหมายครั้งถัดไปจะเป็น วันที่ 5 กรกฎาคม2567 เวลา 08.30-16.00 น. ซึ่งจะไปเยี่ยมเยียนติดตามการจัดทำแผนและเขียนโครงการในพื้นที่ ณ ห้องประขุมรพ.สต.บ้านกอก เทศบาลตำบลบ้านกอก อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง ณ อบต.จิกดู่ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี 19 มิ.ย. 2567 19 มิ.ย. 2567

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2567 เวลา 08.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ (อบต.จิกดู่) อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
กล่าวต้อนรับ และมอบหมายแนวนโยบายที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนประเด็นของกิจกรรมทางกาย (PA)
โดย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดประชุมวันนี้ และ สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
โดยนางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ คณะทำงานระดับเขต 10
นำเสนอแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย แต่ละตำบลๆ ละ 7 นาที
โดย คณะทำงานเขียนแผนและโครงการ ร่วมแลกเปลี่ยนให้ข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะพร้อมแนวทางให้เกิดแผนและโครงการกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ
โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รับประทานอาหารกลางวัน
แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
โดย นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์/นายรพินทร์ ยืนยาว สรุปผลการประชุมนัดหมายกิจกรรมต่อไปและปิดประชุม
โดย นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ คณะทำงานพี่เลี้ยงเขต

1) วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อนำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่มาวิเคราะห์เพื่อนำมาจัดทำแผนและเขียนโครงการ
1.2. เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ
2) ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 40 คน
2.1) คณะทำงานเก็บข้อมูล/จัดทำแผนและโครงการ 8 แห่งๆ ละ 2-3 คน จำนวน 30 คน
3) ภาคีเครือข่าย
3.1) คณะทำงานเขต/จังหวัด จำนวน 5 คน 3.2) คณะทำงานจากสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 5 คน

 

การส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพในพื้นที่อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ เน้นการแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรัง หรือ NCD ของประชาชน
ในวันที่ 19 มิถุนายน 2567 เวลา 08.00 น. ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและจัดทำแผน พร้อมทั้งเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
โดยมีนายสุธรรม ยืนสุข นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ เป็นประธานในการกล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดการประชุมฯ และนางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ ผู้ประสานงานระดับเขตสุขภาพที่ 10 ได้กล่าววัตถุประสงค์ของโครงการฯ และเป้าหมายของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้

พร้อมกันนั้น ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ร่วมแลกเปลี่ยน ให้หลักการสำคัญที่จะมีการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอนั้นโดยแยกกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 เด็กวัยเรียน-วัยรุ่น กิจกรรมทางกายที่เพียงพอในระดับปานกลาง-หนัก 1 ชั่วโมงต่อวัน โดยการสัญจรหรือเดินทาง ควรเป็นการเดินหรือการปั่นจักรยานไปโรงเรียน ถ้าเป็นการทำงานหรือการเรียน ควรมีการส่งเสริมกิจกรรม Active Play Active leaning เช่น กิจกรรมการทำเกษตรในโรงเรียน กิจกรรมการท่องเที่ยวเยี่ยมชุมชน เป็นต้น อีกส่วนการสันทนาการ การออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬา ควรมีกิจกรรมเล่นฟุตบอล ฟุตซอล เต้นแอร์โรบิก รำมวยไทย และการละเล่นกีฬาพื้นบ้าน
กลุ่มที่ 2 วัยทำงาน กิจกรรมทางกายที่เพียงพอในระดับปานกลาง-หนัก 30 นาทีต่อวัน โดยการสัญจรหรือเดินทาง ควรเป็นการเดินหรือการปั่นจักรยานไปทำงาน ถ้าเป็นการทำงานควรมีกิจกรรมระหว่างการทำงานคือ การเดินขึ้นบันไดหรือมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ส่วนกิจกรรมนันทนาการ การออกกำลังกายหรือกีฬา ควรเป็นการเล่น Fitness
และกลุ่มที่ 3 ผู้สูงอายุ กิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ระดับปานกลาง-หนัก 30 นาทีต่อวัน โดยการสัญจรหรือเดินทาง ควรมีการเดิน การปั่นจักรยานไปวัด ไปทำประโยชน์สาธารณะ ส่วนการทำงาน ควรมีการทำงานเกษตร การประกอบอาชีพเสริม การทำไม้ดอกไม้ประดับ การจัดการขยะ ส่วนกิจกรรมนันทนาการ การออกกำลังกาย การเล่นกีฬา ควรมีการเล่นโยคะ การรำวง การฟ้อนรำมากขึ้น นี้ก็เป็นรูปแบในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของกลุ่มวัยต่างๆ ที่ต้องเน้นกิจกรรมที่เพียงพอในทุกกลุ่มวัย เช่น กลุ่มวัยเด็ก เยาวชน ควรมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 180 นาที่ต่อสัปดาห์ วัยทำงานและวัยผู้สูงอายุ ควรมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 150 นาทีต่อสัปดาห์ เป็นต้น แต่ทุกอย่างเน้นกิจกรรมที่มีความเหมาะสมและปลอดภัยของวัยตนเองด้วย
ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ประกอบด้วย คณะทำงานเขต ระดับจังหวัด, คณะทำงานจากสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะทำงานระดับตำบล เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ จากจำนวน 8 พื้นที่เป้าหมายเข้าร่วม 5 พื้นที่ ได้แก่ เทศบาลตำบลหัวตะพาน เทศบาลตำบลเค็งใหญ่ อบต.สร้างถ่อน้อย อบต.จิกดู่และเทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ ประมาณกว่า 40 คน

นายรพินทร์ ยืนยาว คณะทำงานโครงการได้นำกระบวนการแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 6 หัวข้อ ดังนี้ 1. สถานกาณณ์สุขภาพ/บริบทพื้นที่ 2. การกำหนดเป้าหมายในการจัดการปัญหา 3. วิธีการหรือกระบวนการจัดการปัญหาตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 4. กลุ่มเป้าหมายที่เราจะไปจัดการ 5. พื้นที่การดำเนินการ จัดการที่ไหนบ้าง 6. ความคาดหวัง

กระบวนการนำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่มาวิเคราะห์เพื่อนำมาจัดทำแผนและเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพโดยการพัฒนาในเว็ปไซต์ของกองทุนสุขภาพตำบล https://localfund.happynetwork.org จนได้กิจกรรมที่มีคุณภาพ เช่น โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายตาราง 9 ช่อง โครงการวัยใส Happy and Happy โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนผู้สูงอายุ โครงการเต้นแอร์โรบิก โครงการลดพุงขยับกาย ใส่ใจสุขภาพ และโครงการส่งเสริมสุขภาพหนูน้อยวัยใส เป็นต้น

  1. อบต.จิกดู่ โครงการวัยใส Happy&Happy - พื้นที่: โรงเรียน + ศพด.+อบต.+ชุมชน+โรงเรียนผู้สูงอายุ

- กลุ่มเป้าหมาย: นักเรียน ครู กรรมการ 114 คน
- กระบวนการ 1) สร้างความเข้าใจ Pa และการออกแบบพื้นที่สาธารณะ
2) การส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยการปั่นจักรยาน 3) สร้างแกนนำนักเรียน และขยายผลโรงเรียนในพื้นที่ 4) ส่งเสริมกิจกรรมทางกายร่วมกับชุมชน (ทำความสะอาดหมู่บ้าน ตรวจสอบลูกน้ำยุงลาย) 5) การออกแบบ สร้างงานกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ : การใช้ภูมิปัญญาทำพานจากใบตอง 6) สรุปแลกเปลี่ยน การขยายผลโรงเรียนใกล้เคียง - กิจกรรมทางกายมีความหลากหลาย - ควรมีการส่งเสริมทางภูมิปัญญาท้องถิ่น ฟ้อนรำพื้นบ้าน เกม์กีฬาการศึกษา กิจกรรมสันทนาการ
- การกำหนดเป้าหมายให้สอดคล้องกลุ่มเป้าหมาย ปรับทัศนคติให้มี PA เป็นนิสัยวิถีชีวิตประจำวัน
- ใช้พื้นที่ดำเนินการให้รอบๆหมู่บ้าน, ชุมชน
- ปรับปรุงข้อมูลสถานการณ์ โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายโรงเรียนผู้สูงอายุ - เป้าหมาย: การออกกำลังอย่างเหมาะสม
- กระบวนการ 1) การออกกำลังตาราง 9 ช่อง
2) การเดินสำรวจชุมชน 3) พัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม
2. เทศบาลตำบลหัวตะพาน โครงการเต้นแอโรบิด - กลุ่มเป้าหมาย: นักเรียนและวัยทำงาน รวม 40 คน
- ระยะเวลา 6 เดือน
- เป้า ลดความเสี่ยงโรค เพิ่ม PA - กระบวนการ
1) ประชาสัมพันธ์
2) การออกแบบพื้นที่ 3) การเต้นแอโรบิก 4) การสอนการเต้นที่เหมาะสม 5) มีกิจกรรมทางกายที่ต่อเนื่อง มีการเต้นทุกวัน จันทร์-ศุกร์ เพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น 3. อบต.สร้างถ่อน้อย โครงการส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ "ตาราง 9 ช่อง" - กลุ่มเป้าหมาย: ผู้สูงอายุ นักเรียน วัยทำงาน - กระบวนการ 1) ประชุมคณะผู้บริหาร พนักงาน แต่งตั้งคณะทำงาน ประชุมคณะทำงาน 2) ออกแบบกิจกรรม ตาราง 9 ช่อง และส่งเสริมประชาชนในชุมชนดำเนินกิจกรรม ตาราง 9 ช่อง 3) สรุปผลการจัดกิจกรรม/ประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้ตาราง 9 ช่อง - ควรส่งเสริมภูมิปัญญา - เน้นความเข้าในเรื่อง PA เพียงพอ (สัญจร การทำงาน) 4. เทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ โครงการส่งเสริมสุขภาพเพิ่มการเคลื่อนไหวของหนูน้อยวัยใส - กลุ่มเป้าหมาย: นักเรียน ศพด.
- กระบวนการ: จัดกิจกรรมแข่งขันรถขาไถ
1.ประชุมคณะทำงาน
2.แต่งตั้งคำสั่งคณะทำงาน 3.ดำเนินงานตามแผนงานที่กำหนดไว้ โดยมีกิจกรรมดังนี้ 3.1 จัดกิจกรรมแข่งขันรถขาไถในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3.2 มีการใช้รถขาไถในกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
4.ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน - เชื่อมโยงกับพ่อแม่ผู้ปกครอง - คำนึงถึงความปลอดภัย - ผลักดันเป็นหลักสูตรท้องถิ่น

  1. เทศบาลตำบลเค็งใหญ่ โครงการลดพุงขยับกายใส่ใจสุขภาพ - กลุ่มเป้าหมาย: พนักงานออฟฟิศ อบต. และนักกีฬา ผู้สนใจ

- กระบวนการ 1) ประชุมชี้แจงโครงการ วางแผนร่วมกัน 2) ทำบันทึกข้อความประชาสัมพันธ์เชิญชวนบุคลากรแต่ละกองเข้าร่วมโครงการ 3) จัดหา ทดสอบเครื่องเสียง ทำหนังสือเชิญวิทยากร 4) ดำเนินการตามโครงการโดยจัดให้มีการออกกำลังกายประกองเพลงในรูปแบบแอโรบิคเป็นประจำ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง จนเสร็จสิ้นโครงการ 5) รายงานผลผู้เข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกาย เสนอคณะผู้บริหาร

  • จัดทำฐานข้อมูล PA พนักงาน
  • การขยายหน่วยงานใกล้เคียง


    ทั้งนี้ทางอำเภอหัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ ได้พัฒนาพื้นที่สุขภาวะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่องใน 2 แห่ง คือ เทศบาลตำบลหัวตะพาน และ อบต.จิกดู่ ซึ่งเทศบาลตำบลหัวตะพาน ได้ออกแบบพื้นที่สาธารณะ ดังนี้ น้ำพุ สนามเด็กเล่น ลานหรือที่ออกกำลังกายผู้สูงอายุ ที่หรือลานเต้นแอโรบิค เครื่องออกกำลังกาย สวนน้ำ สวนสนุก ถนนเดินนวดเท้า ที่ออกกำลังกายคนพิการ แหล่งเรียนรู้ต้นไม้พืชพรรณ ลานกิจกรรม ศาลาพักผ่อน ห้องน้ำผู้สูงอายุ สวนหย่อม สระว่ายน้ำเด็ก จุดเช็คอิน ร้านตัดผม และต้นไม้ใหญ่ และองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ ได้ออกแบบพื้นที่สาธารณะ “ที่ทำการ อบต.จิกดู่” นั้น เช่น สนามเด็กเล่น ลานกีฬาวัฒนธรรม สวนหย่อมที่นั่งพักผ่อน สานกีฬาเอนกประสงค์ เวทีแอโรบิก เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ ศูนย์ออกกำลังกาย ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมของดีแต่ละหมู่บ้าน กิจกรรมคาราโอเกะ สวนสุขภาพมีฐานกิจกรรมแต่ละวัย การโชว์สินค้าของดีตำบล

อาจารย์พงค์เทพ ได้แนะนำปิดท้ายฝากให้คณะทำงานท้องถิ่นเรื่องการจัดทำแผนและโครงการ ด้วย 4 คำถาม คือ 1. อยู่ไหน ชุมชนรู้สถานการณ์สุขภาพตนเอง 2. จะไปไหน คือ การตั้งเป้าหมายที่จัดการปัญหาสุขภาพนั่นๆ 3. ไปอย่างไร เป็นวิธีการจัดการปัญหา 4. ไปถึงแล้วหรือยัง คือ การติดตามประเมินวัดผลเพื่อปรับปรุงแก้ไขพัฒนาต่อไป

นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ คณะทำงานพี่เลี้ยงเขตได้สรุปการประชุมที่ผ่านมาได้มีการประชุมชี้แจงโครงการระดับอำเภอ การจัดทำบันทึกความร่วมมือระดับอำเภอ การแต่งตั้งคณะทำงานโดยการแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานระดับตำบล การเก็บข้อมูลสถานการณ์ การนำข้อมูลมาวิเคราะห์และพัฒนาแผนเขียนโครงการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งนี้ในระยะต่อไปจะเป็นการนำรายละเอียดโครงการนำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนตำบลพิจารณาอนุมัติงบประมาณมาสนับสนุนกิจกรรม การสร้างพื้นที่ต้นแบบหรือนำร่องโดยการออกแบบพื้นที่สาธารณะร่วมกัน การใช้พื้นที่สาธารณะของทุกกลุ่มวัย การเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 และสรุปบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขยายผลโครงการต่อไป การนัดหมายคงถัดไปจะเป็น วันที่ 4 กรกฎาคม2567 เวลา 08.30-16.00 น. ซึ่งจะไปเยี่ยมเยียนติดตามการจัดทำแผนและเขียนโครงการในพื้นที่เทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ อ.หัวตะพาน จ.อุบลราชธานี

 

การประชุมติดตามความก้าวหน้าครั้งที่ 2 จ.สุราษ 21 มิ.ย. 2567 21 มิ.ย. 2567

 

08.00-08.30 ลงทะเบียน คณะทำงาน 08.30-10.30 สร้างความเข้าใจทบทวน แผนงาน/โครงการ/ความก้าวหน้าโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการเขียนรายงานผ่านเว็บ คณะวิทยากร 10.30-10.45 พักรับประทานอาหารว่าง คณะทำงาน 10.45-12.00 ปฏิบัติการเขียนรายงาน กิจกรรม/ผลลัพธ์/งบประมาณ/ภาพกิจกรรม ผ่านเว็บ Localfund คณะวิทยากร 12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน คณะทำงาน 13.00-14.30 ปฏิบัติการเขียนรายงาน กิจกรรม/ผลลัพธ์/งบประมาณ/ภาพกิจกรรม ผ่านเว็บ Localfund คณะวิทยากร 14.30-14.45 พักรับประทานอาหารว่าง คณะทำงาน 14.45-16.00 นำเสนอผลการรายงานโครงการ เพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน คณะวิทยากร มีผู้เข้าร่วมประชุม 15 คน ดังนี้ ไชยคราม 1 คน ปากแพรก 4คน น้ำพุ 3 คน ชลคราม 2 คน ตะกุกเหนือ 5 คน

 

โครงการที่ดำเนินการแล้ว ดังนี้ 1. ตำบลชลคราม 2 โครงการ ดำเนินการแล้วเสร็จ 2. ตำบลตะกุกเหนือ 1 โครงการ ดำเนินแล้ว 3. ตำบลนำพุ 1โครงการ ยังไม่ดำเนินการ 4. ตำบลป่าร่อน ไม่เข้าประชุม (คระทำงานดทรมาขอลา ผู้รับผิดชอบโครงการไม่อยู่) โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่ได้รับอนุมัติจากกองทุน.........โครงการ โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่ได้รับงบประมาณจาก Node flag Ship Suratthani ตำบลตะกุกเหนือ 1 โครงการ 60000 บาท ตำบลไชยคราม 1 โครงการ 60000 บาท

 

ประชุมเตรียมลงพื้นที่จัดทำแผนและโครงการภาคีเครือข่ายจังหวัดนครพนม 25 มิ.ย. 2567 25 มิ.ย. 2567

 

ประชุมเตรียมลงพื้นที่จัดทำแผนและโครงการภาคีเครือข่ายจังหวัดนครพนม - เตรียมกระบวนการจัดทำแผน - กระบวนการเขียนโครงการ - ออกแบบติดตามประเมินผล - การเสริมทักษะด้านที่จำเป็นในชุมชน เช่น การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน , ระบบสุขภาพชุมชน , การเก็บข้อมูลสุขภาพในชุมชน

 

กระบวนการ มีดังนี้
1. ความรู้ความเข้าใจ
1) ความสำคัญของการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
2) หลักการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
หรือ “กองทุนสุขภาพตำบล” 2. หลักการทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
คู่มือส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 4 คำถาม 2.1) ขณะเราอยู่ที่ไหน: สถานการณ์สุขภาพ/สถานการณ์กิจกรรมทางกาย 2.2) เราต้องการไปที่ใด: กำหนดจุดหมาย/เป้าหมายร่วม
2.3) เราจะไปอย่างไร: ร่วมกันวางแผนและดำเนินงาน
2.4) เราไปถึงหรือยัง: ติดตามประเมินผลและสรุปบทเรียน
3. การทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ผ่านเว็บไซต์ระบบกองทุนสุขภาพตำบล https://localfund.happynetwork.org 4. สมาร์ท อสม. แอปพลิเคชันให้ความรู้และคำแนะนำสำหรับอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน 5. การจัดการระบบสุขภาพชุมชน 6. การปฐมพยาบาลฉุกเฉิน และการกู้ชีพพื้นฐาน 7. แนวทางการเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ปฏิบัติการเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ผ่านระบบเว็บไซต์กองทุนสุขภาพตำบล

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนสุขภาพและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล จ.นครพนม 28 มิ.ย. 2567 28 มิ.ย. 2567

 

การประชุมจัดทำแผนและโครงการ PA จ.นครพนม ครั้งที่ 1 การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนสุขภาพและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล https://localfund.happynetwork.org วันศุกร์ที่ 28 - เสาร์ที่ 29 มิถุนายน 2567 เวลา 09.00-16.30 น. ณ หอประชุมจุลณี โรงเรียนธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

 

1) ผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจ ความสำคัญของการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และหลักการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 2) หลักการทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย คู่มือส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 4 คำถาม 1.1 ขณะเราอยู่ที่ไหน: สถานการณ์สุขภาพ/สถานการณ์กิจกรรมทางกาย 1.2 เราต้องการไปที่ใด: กำหนดจุดหมาย/เป้าหมายร่วม  1.3 เราจะไปอย่างไร: ร่วมกันวางแผนและดำเนินงาน  1.4 เราไปถึงหรือยัง: ติดตามประเมินผลและสรุปบทเรียน 3) ได้แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ผ่านเว็บไซต์ระบบกองทุนสุขภาพตำบล https://localfund.happynetwork.org สมาร์ท อสม. แอปพลิเคชันให้ความรู้และคำแนะนำสำหรับอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน 4) มีความเข้าใจการจัดการระบบสุขภาพชุมชน 5) การปฐมพยาบาลฉุกเฉิน และการกู้ชีพพื้นฐาน 6) ผู้เข้าร่วมมีทักษะการเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ปฏิบัติการเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ผ่านระบบเว็บไซต์กองทุนสุขภาพตำบล

 

เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือน มิถุนายน 2567 30 มิ.ย. 2567 30 มิ.ย. 2567

 

-

 

-

 

ประชุมติดตามแลกเปลี่ยนความก้าวหน้าการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ แผนงานโครงการ และการสื่อสาธารณะกิจกรรมทางกาย จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอำนาจเจริญ 1 ก.ค. 2567 1 ก.ค. 2567

 

กำหนดการแลกเปลี่ยน 1. การปรับปรุงคู่มือ “คู่มือแนะนำแนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะขนาดเล็กในท้องถิ่น” https://ppi.psu.ac.th/upload/forum/compressed.pdf 2. การออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย PA 3. การออกแบบกิจกรรมของโครงการ

 

  1. การออกแบบ ระยะสั้น กลาง ยาว
  2. เครื่องเล่นธรรมชาติ
  3. ก่อเอ้ เป็นพื้นที่แรกที่ดำเนินการ เพราะทางท้องถิ่นกันงบไว้แล้ว
  4. ระยะสั้น: เครื่องเล่น อุปกรณ์ กิจกรรมที่ทำได้เลย เครื่องเล่นธรรมชาติ
  5. ระยะกลาง: ส่งไม้ต่อให้ท้องถิ่น/ปรับแก้ผังได้
  6. ระยะยาว: การปรับปรุงโครงสร้าง
  7. กิจกรรมโครงการ

- ทต.เขื่องใน : ลานกิจกรรมกับถนนศิลปะ - อบต.ก่อเอ้ : ศูนย์เรียนรู้อาชีพ ตลาดสีเขียวปลอดภัย กับลานเด็กเล่นศิลปะให้เด็ก กิจกรรมปั่นจักรยานในลานที่ออกแบบเชื่อมพระใหญ่
- หัวตะพาน: ลานถนนเดินด้วยเท้า/ผู้พิการ/ผู้สูงอายุ ลานศิลปะ ลานกิจกรรม ทำกิจกรรมภายนอก - อบต.จิกดู่: ลานเด็กเล่น / ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมหมู่บ้าน / สวนเดินเท้า /ตลาดสินค้าชุมชน

 

ประชุมติดตามตัวชี้วัด PA ภาพรวมโครงการและวางแผนการดำเนินงาน 2 ก.ค. 2567 2 ก.ค. 2567

 

ประชุมติดตามตัวชี้วัด PA ภาพรวมโครงการและวางแผนการดำเนินงาน

 

ข้อมูล ณ วันที่ 1 ก.ค.67 1. ได้ร่างข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและส่งต่อหน่วยงานกำหนดนโยบาย
2. เครือข่ายสื่อสารสาธารณะขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เหนือ ใต้ ผ่านเวทีต่างๆ ดังนี้
- เวที kickoff MOU - เวทีถอดบทเรียน
- เวทีสื่อสาธารณะ 3. มีสื่อสารสาธารณะขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ที่เผยแพร่สู่สาธารณะในวงกว้างที่ได้มาจากกิจกรรมโครงการ ได้จัดทำวิดีโอเผยแพร่กิจกรรมและตัวอย่างโครงการดีๆในพื้นที่ 4. อปท.มีแผน และโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย จำนวน 80 แห่ง 5. มีเครือข่าย กกท.และ อปท. ที่มีศักยภาพในการพัฒนาแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย จำนวน 80 เครือข่าย 6. พื้นที่ต้นแบบสุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย นำร่อง กกท.และ อปท. 13พื้นที่
7. พื้นที่นำร่องขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในสถานศึกษา/ชุมชน 13 พื้นที่ 8. บทเรียน/องค์ความรู้ ในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ 9. คู่มือออกแบบพื้นที่สาธารณะ
10. คู่มือทำแผนและโครงการ pa
11. ฐานข้อมูล PA ระบบเว็บออนไลน์ 12. ข้อมูลติดตามประเมินผลถอดบทเรียน/โมเดล/กระบวนการ อยู่ระหว่างติตามประเมินผล 13. การประเมินผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment (SROI)) อยู่ระหว่างการประเมิน


ได้แผนดำเเนินงานเดือนสิงหาคม และกันยายน ดังนี้
เดือนส.ค. - 31 ก.ค. ติดตามอำนาจเจริญ
- 1 ส.ค. ติดตามอุบลราชธานี
- 23 ส.ค. PA นครพนม
- 5-9 ส.ค.67 HIA PA - 13 ส.ค. สำนักนวัตกรรมลงพื้นที่สุราษ
- 14 ส.ค. ติดตามประเมินผล สุราษฯ
- 16 ส.ค. ติดตามประเมินผล ตรัง - 29
30 ส.ค. อบรม สสส.

เดือนกันยายน
- 46 ก.ย. ติดตาม PA ภาคเหนือ
- 12
13 ก.ย. kickoff pa เขื่องใน/หัวตะพาน
- 15_16 ก.ย.  HIA ตรัง
- 25 ก.ย. PA นโยบาย
- 28 ก.ย. zoom  HIA PA - ก.ย.  ถอดบทเรียนโครงการ -  SROI
- HIA แต่ละภาค

 

ประขุมเตรียมเวทีออกแบบกิจกรรมโครงการที่สอดรับกับแบบสถาปนิก จ.อุบลราชธานี และ จ.อำนาจเจริญ 3 ก.ค. 2567 3 ก.ค. 2567

 

วันที่ 3 กรกฎาคม 2567  ณ มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
การประชุมเตรียมกระบวนการประชุมโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำร่องจังหวัดอุบลราชธานีและอำนาจเจริญ รวม 20 ท้องถิ่น

 

  1. ปรับกำหนดการให้อาจารย์นำเสนอแบบสถาปัตยกรรมกับผู้เข้าร่วมประชุมก่อน
  2. ปรับกิจกรรมโครงการพื้นที่นำร่องให้สอดคล้องกับแบบสถาปัตยกรรม
  3. ปรับปรุงข้อเสนอโครงการ PA ให้สมบูรณ์ขึ้นและพร้อมที่จะรับทุนอนุมัติจากกองทุนสุขภาพตำบล และทุนของโครงการ
  4. ออกแบบกิจกรรม kickoff พื้นที่สุขภาวะต้นแบบการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย นำร่องจังหวัดอุบลราชธานีและอำนาจเจริญ

 

ประชุมติดตามแลกเปลี่ยนความก้าวหน้าการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ แผนงานโครงการ และการสื่อสาธารณะกิจกรรมทางกาย จังหวัดน่าน และจังหวัดลำพูน 8 ก.ค. 2567 8 ก.ค. 2567

 

ประชุมติดตามงาน PA 1. แผนและโครงการ PA ในพื้นที่ 2. ผลการออกแบบสถาปัตย์ 3. การสื่อสารสาธารณะในพื้นที่

 

  1. ได้แผนและโครงการ PA และใีการสนับสนุนกิจกรรม PA จำนวน 10 โครงการ
  2. ได้ร่างแบบทางสถาปัตยกรรมพื้นที่สาธารณะ PA
  3. ได้แผนการติดตามการสื่อสารสาธารณะถอดบทเรียนดีๆในพื้นที่

 

ประชุมติดตามแผนและโครงการกิจกรรมทางกาย เพื่อดำเนินกิจกรรม PA ในพื้นที่ตำบล ปี 2567 ของอำเภอหัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ และอำเภอเขื่องใน จ.อุบลราชธานี และ link: https://zoom.us/j/9019029104 18 ก.ค. 2567 18 ก.ค. 2567

 

  • ประชุมวางแผนติดตามแผนและโครงการกิจกรรมทางกาย เพื่อดำเนินกิจกรรม PA ในพื้นที่ตำบล ปี 2567 ของอำเภอหัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ และอำเภอเขื่องใน จ.อุบลราชธานี
  • ผู้เข้าร่วมประชุมอำเภอหัวตะพาน ได้แก่ คณะทำงานเขียนแผนและโครงการกิจกรรมทางกายอำเภอหัวตะพาน 6 ตำบล ได้แก่ 1.คำพระ 2.หนองแก้ว 3.รัตนวารี 4.สร้างถ่อน้อย 5.เค็งใหญ่ 6.โพนเมืองน้อย
  • ผู้เข้าร่วมประชุมอำเภอเขื่องใน 10 ตำบล ได้แก่ 1.ธาตุน้อย 2.แดงหม้อ 3.นาคำใหญ่ 4.กลางใหญ่ 5.ศรีสุข 6.หัวดอน 7.บ้านกอก 8.ห้วยเรือ 9.คัอทอง 10.ท่าไห

 

  1. ปรับแก้เพิ่มเติมโครงการให้สมบูรณ์ที่จะขอรับงบประมาณสนับสนุนไปดำเนินกิจกรรม ให้แล้วเสร็จพร้อมทั้งกรอกลงในระบบเว็บให้เรียบร้อยภายในวันที 29กค67 คณะทีมงานจากม.สงขลาให้ข้อเสนอแนะแก้ไข วันที่ 30 กค67
  2. ทางคณะทำงานเขตจะนำข้อเสนอแนะมาช่วยปรับแก้ร่วมกับพื้นที่ให้สมบูรณ์ ในวันที่ 30 ก.ค.67 อ.หัวตะพาน และ อ.เขื่องใน วันที่ 1 ส.ค. 67
  3. วันที่ 31 ก.ค. 67 คณะทำงานเขตจะลงพื้นที่อำเภอเขื่องในเพื่อช่วยปรับแก้โครงการให้สมบูรณ์ตามกรรมการให้ข้อเสนอแนะ
  4. วันที่ 1 ส.ค. 67 คณะทำงานเขตจะลงพื้นที่อำเภอเขื่องในเพื่อช่วยปรับแก้โครงการให้สมบูรณ์ตามกรรมการให้ข้อเสนอแนะ
  5. ติดตามโครงการในเว็บ

 

(Plan) ปรับปรุงเว็บ Pathailand (ค้างจ่าย) 19 ก.ค. 2567 19 ก.ค. 2567

 

(Plan) ปรับปรุงเว็บ Pathailand (ค้างจ่าย)

 

(Plan) ปรับปรุงเว็บ Pathailand (ค้างจ่าย)

 

ประชุมวางแผนถอดบทเรียนในรูปแบบบทความ จำนวน 44 ประเด็น 19 ก.ค. 2567 19 ก.ค. 2567

 

ประชุมวางแผนถอดบทเรียนในรูปแบบบทความ จำนวน 44 ประเด็น

 

การดำเนินโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ปี 2567 ได้ดำเนินการตาม CoO4 สสส. เน้นผลลัพธ์ขับเคลื่อน 3 Active ได้แก่ 1. Active people      2. Active Environment 3. Active Society และสโลแกนของโครงการที่เน้น “คน Active ประเทศ Active” รวมจำนวน 44 เรื่อง
นิยามการคัดเลือกกรณีต้นแบบเพื่อนำมาเขียนเป็นบทความ
1. Active people คือ บุคคลต้นแบบเป็นตัวอย่างการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย มีวิถีชีวิตคำนึงถึงกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ รวมถึงเป็นบุคคลที่สร้างกระบวนการขับเคลื่อนกลไกการทำงานของโครงการให้ประสบความสำเร็จ
2. Active Environment คือ พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายต้นแบบที่ผ่านกระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
3. Active Society คือ
3.1 กลไกการขับเคลื่อนงานให้ประสบความสำเร็จ โดยมีกลไกพี่เลี้ยงสนับสนุนการทำแผนและโครงการในระดับตำบล กระบวนการทำงานของสถาปนิกในแต่ละภาคและมุมมองการพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและกิจกรรมทางกาย กระบวนการทำงานสื่อสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและมุมมองการสื่อสารสาธารณะเพื่อส่งเสริมสุขภาพและกิจกรรมทางกาย กลไกการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในประเทศไทย 3.2 โครงการเด่นในพื้นที่ มีการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เป็นนวัตกรรมหรือเป็นกระแสในพื้นที่ สามารถสร้างความตระหนักเรื่องส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่
รายละเอียด ดังนี้

 

ถอดบทเรียนประเด็น PA จำนวน 44 เรื่อง งวดที่ 1 19 ก.ค. 2567 22 ส.ค. 2567

 

ถอดบทเรียนประเด็น PA จำนวน 44 เรื่อง

 

ถอดบทเรียนประเด็น PA จำนวน 44 เรื่อง

 

(Plan) ติตดามประเมินผล HIA PA ภาคเหนือ (ค้างจ่าย) 19 ก.ค. 2567 19 ก.ค. 2567

 

ติตดามประเมินผล HIA PA ภาคเหนือ (ค้างจ่าย)

 

ติตดามประเมินผล HIA PA ภาคเหนือ (ค้างจ่าย)

 

(Plan) ติตดามประเมินผล HIA PA ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ค้างจ่าย) 19 ก.ค. 2567 19 ก.ค. 2567

 

ติตดามประเมินผล HIA PA ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ค้างจ่าย)

 

ติตดามประเมินผล HIA PA ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ค้างจ่าย)

 

(Plan) ติตดามประเมินผล HIA PA ภาคใต้ (ค้างจ่าย) 19 ก.ค. 2567 19 ก.ค. 2567

 

ติตดามประเมินผล HIA PA ภาคใต้ (ค้างจ่าย)

 

ติตดามประเมินผล HIA PA ภาคใต้ (ค้างจ่าย)

 

ค่าตอบแทนคู่สัญญา งวด 3 19 ก.ค. 2567 19 ก.ค. 2567

 

ค่าตอบแทนคู่สัญญา งวด 3

 

ค่าตอบแทนคู่สัญญา งวด 3

 

เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือนกรกฏาคม 2567 31 ก.ค. 2567 31 ก.ค. 2567

 

เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือนกรกฏาคม 2567

 

เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือนกรกฏาคม 2567

 

การประชุมหารือ Bigdata PA เชื่อมโยงฐานข้อมูลกองทุนสุขภาพตำบล 7 ส.ค. 2567 7 ส.ค. 2567

 

  • การประชุมหารือ  Bigdata PA เชื่อมโยงฐานข้อมูลกองทุนสุขภาพตำบล วันพุธที่ 7 ส.ค.67 เวลา 13.00-14.00 น.
    ทาง zoom https://psu-th.zoom.us/j/5637155213?omn=96884751639
  • ผู้เข้าร่วมประชุม 17 คน จาก สนส.ม.อ. และทีมพัฒนาโปรแกรม

 

  • ทางทีมทำงานข้อมูลจะรวบรวมข้อมูล Data จากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
  • ทางฐานข้อมูล “กองทุนสุขภาพตำบล” จะเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการ Input ในระบบเพื่อวิเคราะห์เป็น Dashboard แพลตฟอร์มกิจกรรมทางกายที่แสดงข้อมูล โครงการ PA และงบประมาณที่อนุมัติจัดกิจกรรม ฯลฯ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างพัฒนาข้อมูล
  • ข้อมูลจะเป็นประโยชน์ในการใช้วางแผนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ต่อไป

 

ประชุมทีมงานสื่อสุราษฎร์ธานี 22 ส.ค. 2567 22 ส.ค. 2567

 

ประชุมทีมงานสื่อสุราษฎร์ธานี

 

สรุปประชุมทีมงานสื่อสุราษ 1. เลือกพื้นที่ถ่ายทำวิดีโอ 3 พื้นที่ คือ 1. ปากแพรก 2. ตะกุกเหนือ 3. ชลคราม 2. การถ่ายทอดเรื่องให้สอดคล้องกับ 4 Active คือ People, Environment, Society, System 2.1 Active people คือ บุคคลต้นแบบเป็นตัวอย่างการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย มีวิถีชีวิตคำนึงถึงกิจกรรมทางกายที่เพียง รวมถึงเป็นบุคคลที่สร้างกระบวนการขับเคลื่อนกลไกการทำงานของโครงการให้ประสบความสำเร็จ
2.2 Active Environment คือ พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายต้นแบบที่ผ่านกระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
2.3 Active Society คือ โครงการเด่นในพื้นที่ มีการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เป็นนวัตกรรมหรือเป็นกระแสในพื้นที่ สามารถสร้างความตระหนักเรื่องส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่
2.4 Active System คือ กลไกการขับเคลื่อนงานให้ประสบความสำเร็จ โดยมี กลไกพี่เลี้ยงสนับสนุนการทำแผนและโครงการในระดับตำบล กลไกสถาปนิกขับเคลื่อนนโยบายการออกแบบพื้นที่สาธารณะในพื้นที่ กลไกสื่อสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย กลไก พชอ.ขับเคลื่อนงานในพื้นที่ กลไกขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ 3. การจัดการ
- ทำแผนกิจกรรมเพิ่มเติม - แบ่งงวดการจ่ายเป็น 3 งวด
4. นัดหมายนำเสนอในครั้งถัดไปช่วงต้นเดือนกันยายน


ข้อมูลพื้นที่ถ่ายทำวิดีโอ 1. องค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี - “ผู้นำสร้างการเปลี่ยนแปลง” นายก อบต.มีความสนใจเรื่องกิจกรรมทางกาย และโรงเรียนเขาพระอินทร์ จากโรงเรียนจะร้าง มีผู้นำท้องถิ่นคนก่อน พยายามผลักดันให้ท้องถิ่นเข้าไปดูแลโดยใช้จ่ายงบประมาณของท้องถิ่น และนายกปัจจุบันผลักดันต่อ ตอนนี้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางของชุมชน และทาง ม.อ.ไปออกแบบพื้นที่ด้วย และนายกเองเปลี่ยนวิกฤตสุขภาพส่วนตัว เดินจนหายป่วย เล็งเห็นว่ากิจกรรมทางกายสำคัญ อยู่ในใจของผู้นำด้วย ผู้นำมีศักยภาพระดับประเทศด้วย เป็นเลขาสมาคม อบต.แห่งประเทศไทย มีศักยภาพในการถ่ายทอดงานไปสู่ระดับประเทศได้
- การพัฒนาพื้นที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกายเป็นศูนย์กลางให้ชุมชนเข้ามาใช้ประโยชน์ ที่แน่นอนคือจะมีสระว่ายน้ำแล้ว และพื้นที่ส่วนต่างๆที่ออกแบบให้จะกำลังจะผลักเข้าแผนดำเนินการ
- ผู้นำชุมชน ทุกวันเวลา 05.00 โมง ตอนเช้า จะมาเดินออกกำลังทุกวันที่ตลาด และมีกลุ่มเดินอยู่เป็นระยะหลายปีแล้วประมาณ 10 ปี
2. องค์การบริหารส่วนตำบลตะกุกเหนือ อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี - “PA ในวิถีชีวิตท้องถิ่น” มีการเคลื่อนไหวของงาน สสส.อยู่ และกิจกรรมทางกายไปเชื่อมโยงกับกลุ่มเลี้ยงผึ้ง
และการมีส่วนร่วมของประชาชนดีมาก สามารถเชื่อมต่องาน PA ไปยังวิถีชีวิตเลี้ยงผึ้ง เดินออกกำลังกาย การเกษตรเป็นพื้นที่เขา มีกลุ่มออกกำลังกายในพื้นที่อยู่ เครือข่ายทำให้งานกว้างขึ้น คือเครือข่ายเลี้ยงผึ้ง โรงเรียนยืดหยุ่น มีกิจกรรมทางกายทำหลายเรื่อง และการเสียสละของคนในพื้นที่ทำเป็นลานกีฬาได้
3. องค์การบริหารส่วนตำบลชลคราม อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี - “ความสุขในการทำงาน การมีส่วนร่วมของชุมชน” มีการออกแบบกิจกรรมทางกายกับกลุ่มเด็ก เป็นกิจกรรมเด็กขาไถเป็นกระแสอยู่ การออกแบบวิธีคิดเขาให้สอดรับกับกระแสและสร้างการเคลื่อนไหวในกลุ่มวัยเด็กได้ และมีการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุด้วย การมีส่วนร่วมของท้องถิ่นสามารถทำกิจกรรมเสร็จก่อนพื้นที่อื่นๆ ทำงานอย่างมีความสุขกับการทำงาน มีใจที่จะทำ

 

(Plan) เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือนสิงหาคม 2567 (ค้างจ่าย) 31 ส.ค. 2567 31 ส.ค. 2567

 

เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือนสิงหาคม 2567

 

(Plan) เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือนสิงหาคม 2567

 

(Plan) รวมสื่อสาธารณะ 3 ภาค งวด 2 (ค้างจ่าย) 30 ก.ย. 2567 30 ก.ย. 2567

 

(Plan) รวมสื่อสาธารณะ 3 ภาค งวด 2

 

(Plan) รวมสื่อสาธารณะ 3 ภาค งวด 2

 

(plan) วัสดุ (ค้างจ่าย) 30 ก.ย. 2567 30 ก.ย. 2567

 

วัสดุ (ค้างจ่าย)

 

วัสดุ (ค้างจ่าย)

 

(Plan) ค่าตรวจบัญชี งวด 3 และ 4 (ค้างจ่าย) 30 ก.ย. 2567 30 ก.ย. 2567

 

(Plan) ค่าตรวจบัญชี งวด 3 และ 4

 

(Plan) ค่าตรวจบัญชี งวด 3 และ 4

 

(Plan) เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือนกันยายน 2567 (ค้างจ่าย) 30 ก.ย. 2567 30 ก.ย. 2567

 

เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือนกันยายน 2567

 

(Plan) เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือนกันยายน 2567

 

(Plan) ค่าตอบแทนคู่สัญญา งวด 4 (ค้างจ่าย) 30 ก.ย. 2567 30 ก.ย. 2567

 

(Plan) ค่าตอบแทนคู่สัญญา งวด 4

 

(Plan) ค่าตอบแทนคู่สัญญา งวด 4

 

ประชุมติดตามประเมินผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ แผน และการปฎิบัติการเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่นำร่องจังหวัดสุราษฎร์ธานี 3 ต.ค. 2567 3 ต.ค. 2567

 

.

 

.

 

(Plan) ปรับปรุงคู่มือออกแบบพื้นที่สาธารณะ (ค้างจ่าย) 17 ต.ค. 2567 19 ก.ค. 2567

 

(Plan) ปรับปรุงคู่มือออกแบบพื้นที่สาธารณะ (ค้างจ่าย)

 

(Plan) ปรับปรุงคู่มือออกแบบพื้นที่สาธารณะ (ค้างจ่าย)

 

(Plan) ปรับปรุงคู่มือทำแผนและโครงการ (ค้างจ่าย) 17 ต.ค. 2567 19 ก.ค. 2567

 

(Plan) ปรับปรุงคู่มือทำแผนและโครงการ (ค้างจ่าย)

 

(Plan) ปรับปรุงคู่มือทำแผนและโครงการ (ค้างจ่าย)

 

(Plan) การประเมิน SROI 3 ภาค 17 ต.ค. 2567 19 ก.ค. 2567

 

การประเมิน SROI 3 ภาค (ค้างจ่าย)

 

การประเมิน SROI 3 ภาค (ค้างจ่าย)

 

รวบรวมผลงานสื่อภาคเหนือ จ.น่านและลำพูน 25 ต.ค. 2567 25 ต.ค. 2567

 

รวบรวมผลงานสื่อภาคเหนือ จ.น่านและลำพูน

 

  1. โครงการขับเคลื่อนกิจกรรมทางกาย ขยายผลสู่สถานศึกษา โรงเรียนวัดศรีบังวัน อ.เมือง จ. ลำพูน ขยายฐานการขับเคลื่อนกิจกรรมทางกาย https://youtu.be/i77Dsck5F3Q?si=gIvAB5uETqYPvp9Z

  2. การออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวร่างกายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน เทศบาลตำบลเหมืองง่า จ.ลำพูน ร่วมกลุ่มรักษ์สุขภาพในพื้นที่จัดกิจกรรมเสริมความแข็งแรงให้ร่างกายนำสู่สุขภาพที่แข็งแรงสมบรูณ์ https://youtu.be/x8VOCwnAsfM?si=1HthxVPgI6eD7Gfv

  3. รวมคลิปการเผยแพร่โครงการยกระดับกิจกรรมทางกาย ในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบถึงการขับเคลื่อนกิจกรรมของโครงการฯ คลิป 1 ประชุมชี้แจง เพื่อให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ ส่งต่อข้อมูลกับ เทศบาล ในพื้นที่จังหวัดลำพูนที่เข้าร่วมโครงการฯ https://youtu.be/mNUzdcvR7KI?si=dD-wM1yDmmebl6ed

  4. เวทีประชาคม เทศบาลตำบลบ้านแป้น อ.เมือง จ.ลำพูน เวที กลุ่มศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน รพสต.บ้านแป้น ปัจจัย ต้นทุนของแต่ละองค์กร https://youtu.be/zqFg0mQwoew?si=L8zk4LYZ8sFHt3Eg

  5. เวทีประชาคม เทศบาลตำบลริมปิง รับฟังความคิดเห็น นำสู่การนำแผนเข้าสู่เทศบาลสู่ชุมชน https://youtu.be/lpW2QTrayyY?si=qNuesJ20ODaUTuIr

  6. เวทีประชาคมกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มรักษ์สุขภาพ ในพื้นที่ เทศบาลตำบลบ้านแป้น สะท้อนปัญหา ความต้องการ การสนับสนุน นายกเทศมนตรีพร้อมขับเคลื่อนโครงการ https://youtu.be/EtDrKjQIl1c?si=0rTgiJIGfrt1zIqZ

  7. กิจกรรมส่งต่อเครือข่ายเทศบาลตำบลริมปิง สู่การปฏิบัติในพื้นที่โรงเรียน อันเป็พื้นที่ที่สามารถปลูกฝั่งเด็กเยาวชน ในการออกกำลังกาย https://youtu.be/i77Dsck5F3Q?si=4x2ObBWss8fzG-Le

  8. การส่งเสริมกีฬาไลน์ด๊านซ์ในกลุ่มผู้ใหญ่และสูงอายุ ในพื้นที่ เทศบาลตำบลเหมืองง่า จังหวัดลำพูน ผู้ร่วมกิจกรรมสะท้อนถึงประโยชน์ และผลที่ได้รับในการออกกำลัง ได้ชัดเจนและงดงาม เพื่อส่งต่อผู้คนให้ได้ทราบถึงคุณค่าในการออกกำลังกาย https://youtu.be/x8VOCwnAsfM?si=KDEa6fmvlBsYc80I ในส่วนช่องทางในการเผยแพร่ ผ่านทาง แฟพิเคชั่น ไลน์ เฟซบุ๊ค ยูทูปและติ๊กต๊อก เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มคนในช่องทางต่างๆอย่างกว้างขว้างต่อไป

  9. เผยแพร่ทางยูทูป แผน กิจกรรม เป้าหมาย โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาว กิจกรรมทางกาย https://youtu.be/f3QXgLW37Gw?si=ODj3u47UkrS4j00v

  10. เทศบาลบ้านแป้นลำพูน ส่งเสริมกีฬาผู้สูงอายุเด็กเยาวชน วู๊ดบอล จักรยานขาไถ่ ในโรงเรียนอนุบาล
    โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาว กิจกรรมทางกาย สนับสนุนโดยสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และ สสส. https://youtu.be/6L1zy2AR2yQ?si=TZgxh2zD6a6uQDgs

  11. สูงวัยสร้างสุข บ้านใหม่พัฒนา ม. 4 https://youtu.be/5mcN3UjELAs?si=ftNNftnkKMI1pPkE

  12. กิจกรรมทางกายศูนย์เด็กเล็กฯ https://youtu.be/HcgyS4gf6Jw?si=G1YmUzerZoep6_ZQ

  13. กิจกรรมทางกาย กองร้อย ตชด.ฯ https://youtu.be/evVun1pr5-8?si=8uAzHhWZKM6Nin

  14. กิจกรรมทางกาย โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ https://youtu.be/GXb8V3fz9zc?si=c15cLsus26Efi_w3

  15. เด็กล้านนาหุ่นดี ใส่ใจสุขภาพ https://youtu.be/e8AnhOjPu70?si=uNq2UQBF987Orzfk

  16. กิจกรรมทางกาย สูงวัยสร้างสุข https://youtu.be/qKhrpHHHkMg?si=WaguGOAz088D2pig

  17. การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ PA https://youtu.be/E2k54YbDawM?si=tW8ToL7g7uH-fSdC

 

ประชุม 25 ตค 67 25 ต.ค. 2567 25 ต.ค. 2567

 

.

 

.

 

ค่าธรรมเนียมการโอน 11 พ.ย. 2567 11 พ.ย. 2567

 

.

 

.

 

ค่าธรรมเนียมการโอน 11 พ.ย. 2567 11 พ.ย. 2567

 

.

 

3.

 

ค่าธรรมเนียมการโอน 11 พ.ย. 2567 11 พ.ย. 2567

 

.

 

.

 

ค่าธรรมเนียมการโอน 11 พ.ย. 2567 11 พ.ย. 2567

 

.

 

.