โครงการการขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยใน ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง

เก็บข้อมูลสถานการณ์ด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย บ้านหูยาน12 มกราคม 2562
12
มกราคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย นายถาวร คงศรี
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเก็บข้อมูลสถานการณ์ด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย บ้านหูยานและของตำบลนาท่อม
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วิธีการดำเนินงาน 1.แต่งตั้งคณะทำงาน 1 ชุด จำนวน 5 คน เป็นพี่เลี้ยงให้ทีมนักศึกษาสัมภาษณ์และเก็บข้อมูลตามแบบฟร์อม 2.เก็บข้อมูลจากแผน ชุมชนทั้ง 8 หมู่บ้าน 3.เก็บข้อมูลจากแผนพัฒนาตำบลนาท่อม 4.เก็บข้อมูลจากพัฒนาที่ดิน จังหวัดพัทลุง 5.เก็บข้อมูลจากเกษตรตำบลนาท่อม 6.เก็บข้อมูลจาก รพสต.บ้านนาท่อม 7.เก็บข้อมูลจากพัฒนาชุมชน อำเภอเมือง     นำข้อมูลที่ได้จากทุกหน่วยงานมารวบรวบสู่การวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม TCNAP และ การวิจัยชุมชนด้วยวิธีวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาแบบเร่งด่วนหรือ RECAP
เป็นกระบวนการศึกษาุถึงกระบวนการค้นห้าทำความเข้าใจศักยภาพชุมชนท้องถิ่นผ่านการรวบรวมข้อมูบงานและกิจกรรมของทุนทางสังคม 6 ระดับ ระดับบุคคลและครอบครัว  ระดับกลุ่มทางสังคม  องค์กรชุมชน  ระดับหน่วยงาน  ระดับชุมชน ระดับตำบล และระดับเครือข่าย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลลิต คือ ได้ข้อมูลสถานการณ์ระบบอาหารของตำบลนาท่อมตามกรอบ 16 ตัวชี้วัด 3 ประเด็น  ความมั่นคงทางอาหาร  อาหารปลอดภัย  โภชนาการสมวัย
  • ผลลัพธ์ ข้อมูลสถานการณ์ ระบบอาหารตำบลนาท่อมทั้ง 3 ประเด็นคณะทำงานได้นำมาเรียบเรียงเพื่อนำเสนอต่อ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อมในการประชุมแต่ละครั้งเพื่อรอการเติมเต็ม
  • ผลกระทบ ต่อการทำงานขับเคลื่อนแผนงานขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารในตำบลนาท่อม ทั้ง 3 ประเด็น เนื่องจากคณะทำงานได้มองเห็นร่วมกัน จำเป็นต้องมีกลไกระดับตำบลในการขับเคลื่อนระบบอาหารปลอดภัย  โภชนาการสมวัย และความั่นคงทางอาหาร เพราะการกลไกระดับชุมชน ได้แก่ กลไกระดับชุมชนของบ้านหูยาน หมู่ที่ 8 ตำบลนาท่อม จะทำงานและขยายตัวได้ช้า และงบประมาณที่นำมาใช้จะมาก  ทางคณะทำงานได้เสนอ กลไก พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล หรือ พชต เป็นกลไกขับเคลือนงานเชิงประเด็น โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นประธาน  ผอ.รพสต.เป็นเลขา ส่วนกำนันเป็นคณะทำงาน พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ทำให้การทำงานของ พชต.ที่มีผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านเป็นกรรมการได้มีการประชุมพูดคุยกันต่อเนื่อง สามารถคุยงาน ติดตามได้ทุกเดือน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย
  • สภาแกนนำบ้านหูยาน 7 คน
  • คณะทำงานโครงการ 3 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปุัญหา -ความไม่เข้าใจกลไก พชต(คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล คือใคร มีบทบาทหน้าที่ทำอะไร) -พบว่ากลไกจำนวนมากในชุมชน ที่มีการตั้งขึ้นมาจากหน่วยงานภายนอกหรือจากนโยบายของรัฐ ตั้งแล้วมีการประชุม 2-3  ครั้งแล้วก็หายไป ทำให้ผู้นำจำนวนมากไม่เข้าใจและไม่รู้เรือ่ง

แนวทางการแก้ปัญหา -มีการประชุมสร้างความเข้าใจอย่างต่อเนื่องกับกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลและระดับอำเภอ -มีการการรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลต่อคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ควรประชุมใหญ่ในระดับตำบล โดยใช้การประชุมกำนัน  ผู้ใหญ่บ้านเป็นหลักแล้วนำวาระ การประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลด้วย  นำผลจากการประชุมนำไปปรับแผนชุมชนในแต่ละหมู่แล้วนำกลับไปปรับแผนพัฒนาตำบลของเทศบาล