โครงการการขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยใน ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง

ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้พื้นที่โซนกลางประเด็นระบบอาหาร(ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย)22 สิงหาคม 2562
22
สิงหาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย นายถาวร คงศรี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้พื้นที่โซนกลางประเด็นระบบอาหาร(ความมั่นคงทางอาหาร  อาหารปลอดภัย  และโภชนาการสมวัย) ในพื้นที่ชุมชนบ้านหูยาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. การกล่าวต้อนรับของกำนันอนุชา  เฉลาชัย ผู้จัดการแผนงานการขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยตำบลนาท่อม
  2. นายถาวร  คงศรี ผู้รับผิดชอบโครงการนำเสนอ ผลการดำเนินงานระบบอาหาร(ความมั่นคงทางอาหาร  อาหารปลอดภัย  และโภชนาการสมวัย) ในพื้นที่ชุมชนบ้านหูยานขยายผลทั้งตำบล  ผลการดำเนินงาน  เกิดผลผลิต  ผลลัพธ์  ผลกระทบ ปัญหาและข้อเสนอแนะ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต (Output)           จำนวนผู้เข้าร่วมการแลกเลี่ยน จำนวน 40 คน รับรู้ผลการดำเนินการขยายผลการระบบอาหารตำบลนาท่อม ประกอบด้วย อาหารปลอดภัย  ความมั่นคงทางอาหาร  โภชนาการสมวัย โดยสะท้อนข้อมูลสถานการณ์ตามตัวชี้วัด ทั้ง 3  ประเด็น (อาหารปลอดภัย  ความมั่นคงทางอาหาร  โภชนาการสมวัย) 16 ตัวชีวัต(รายละเอียดแนบ)

ผลลัพธ์ (Outcome)           เกิดกลไก คณะทำงานอาหารปลอดภัย พชต (คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม)ดำเนินการขับเคลื่อนประเด็นอาหารปลอดภัยและประเด็นการจัดการสิ่งแวดล้อมประเด็นขยะ ระดับตำบล โดยใช้รูปแบบการจัดการของชุมชนหูยานเป็นต้นแบบขยายผลทั้งตำบล โดย พชต.เป็นคณะทำงานที่ร่วมกันยกร่างแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารตำบลนาท่อมและกำหนดกิจกรรมในแผนยุทธศาศาตร์และแผนปฎิบัติการทั้ง 3 ประเด็น  อาหารปลอดภัย  ความมั่นคงทางอาหาร  โภชนาการสมวัย
          คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อมได้ผลักดันแผนเข้าสู่คณะกรรมการพัฒนาแผนตำบลเพื่อปรับแผนกิจกรรมในแผนปฏิบัติการทั้ง 3  ประเด็น เข้าสู่เทศบัญญัติในปีงบประมาณ ปี 2563           เกิดข้อเสนอแนะจากพัฒนาชุมชนและเกษตรตำบล ในการส่งเสริมการรวมกลุ่่ม ส่งเสริมการผลิตอาหารที่ปลอดภัยโดยร่วมปรับแผนให้เกิดการผลิตอาหารปลอดภัยที่มีมาตรฐาน Q  GAP  และเครื่องหมาย อย.           เกิดข้อเสนอแนะจากโรงเรียนวัดนาท่อม และ โรงเรียนวัดโคกแย้ม  สนใจสมัตรเข้าร่วมโปรแกรมอาหารกลางวันเด็ก Thai school  launch
          ศพด.ศูนย์เด็กของเทศบาลเป็นศูนย์นำร่องThai school  launch ระยะก่อตัวเรียนรู้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเมือ  คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หน่วยงานเทศบาล  สถาบันศึกษาในชุมชน  พัฒนาชุมชน  เกษตรตำบล  ปลัดอำเภอเมือง  และภาคประชาสังคม  จำนวน 40  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-ความเข้าใจระบบอาหารตำบลนาท่อม3 ประเด็น  อาหารปลอดภัย  ความมั่นคงทางอาหาร  โภชนาการสมวัย  ของครัวเรือนต้นแบบขยายผลหรือครู ข  ผู้นำในชุมชน รวมทั้ง คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลบางส่วน - แนวทางแก้ไข  การประชุมคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลอย่างน้อย  1 ครั้งต่อเดือนและมีการจัดกิจกรรมสื่อสารเพิ่มขึ้น

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ส่งเสริมการทำกระบวนการยกระดับขยายผลในระดับอำเภอ และระจังหวัดตามศักยภาพ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-การประชุมประจำเดือน  พชต.อย่างน้อย 1 ครั้ง ในการขับเคลื่อนระบบอาหารตำบลนาท่อม และ ประเด็น อื่น ๆ -การประชุมสภาแกนนำขยายผล หรือครู ข ของแต่ละหมู่บ้านเพื่อยกระดับขยายผลเต็มพื้นที่ รวมทั้งการรวมกลุ่มหรือจัดตั้งกลุ่มรวมผลผลิตในการต่อรองและการกระจายผลผลิตของชุมชนที่ได้รับการส่งเสริม