การยกระดับนโยบายสาธารณะสู่เป้าหมายภาคใต้แห่งความสุข

การประชุมเพื่อออกแบบกระบวนการห้องย่อยประเด็นความมั่นคงทางทรัพยากรในงานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 13 การเลือกประเด็นขับเคลื่อน การจัดทำเอกสารนำเข้า รวมทั้งการจัดเตรียมเวทีร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง6 มิถุนายน 2566
6
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประเด็นหารือ

  • ก่อนงาน การเตรียมจัดเวทีประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
  • การจัดทำเอกสารนำเข้า ผู้เกี่ยวข้องมีใครบ้างในประเด็นที่เลือก

วันงาน

  • งานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 13 วันที่ 9 – 10 สิงหาคม 2566
  • ห้องย่อยความมั่นคงทางทรัพยากร รูปแบบห้องย่อย การร่างกำหนดการ
  • ผู้เข้าร่วม จำนวน 100 คน แบ่งเป็น onsite 30 คน และ Online 70 คน
  • กำหนดการ และวิทยาที่เชิญเข้าร่วมในวันงาน
  • จัดบูธนิทรรศการ 1 บูธ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พื้นที่รูปธรรมต้นแบบ และผู้รับผิดชอบสังเคราะห์งาน

  • ศาลาด่านโมเดล อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ : การทำปฏิญญาเกาะลันตา /การจัดทำโซนต้นแบบศาลาด่านโมเดล การทำผังทรัพยากรเพื่อการสร้างความมั่นคงทางทรัพยากร : น.ส.ฐิติชญา บุญโสม
  • คลองรัดโนด ต.ม่วงกลวง อ.กะเปอร์ จ.ระนอง : จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจท่องเที่ยวชุมชน จัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลายให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งอาหารของคนในชุมชน : อ.จตุรงค์ คงแก้ว และ อ.วิโรจน์ ภู่ต้อง
  • การท่องเที่ยวฝั่งอ่าวไทย : เชื่อมเครือข่ายกลุ่มจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน “จากภูผาสู่มหานที” มีชุมชนจัดการท่องเที่ยวที่จังหวัดชุมพร เน้นการสร้างความมั่นคงทางอาหาร เช่น ธนาคารปูม้า บ้านปูบ้านปลา การเพาะพันธุ์ม้าน้ำ และใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเข้ามาจัดการ : นายเกียรติคุณ รอดตัว
  • การจัดทำผังทรัพยากรสู่การท่องเที่ยวและการจัดการภัยพิบัติ ต.มะรุ่ย อ.ทัปปุด จ.พังงา : อ.จินดา สวัสทวี
  • การจัดการท่องเที่ยวชุมชนบ้านเกาะยาว : นายไมตรี จงไกรจักร์