การยกระดับนโยบายสาธารณะสู่เป้าหมายภาคใต้แห่งความสุข

ประชุมเตรียมงานสร้างสุขภาคใต้ร่วมกับ อบจ.ปัตตานี12 เมษายน 2566
12
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย wanna
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เข้าร่วมประชุมกับนายก อบจ.ปัตตานี และ ผอ.กองสาธารณสุข ร่วมกับแกนนำจังหวัดปัตตานี เรียนเชิญเป็นเจ้าภาพในการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 13 และนำเสนอการจัดงานสร้างสุขภภาคใต้ที่ผ่านมา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • นายก อบจ.ปัตตานี ตอบรับการเป็นเจ้าภาพาในการจัดงาน และมีข้อเสนอแนะต่อกระบวนการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 13 และมติที่ประชุม ดังนี้
  • 1) รูปแบบการจัดงานสมัชชาสร้างสุขในครั้งที่ 13 อยากให้มีความแตกต่างกว่า 12 ครั้งที่ผ่านมา และต้องทำให้ดีกว่าปีที่แล้ว โดยเฉพาะปีนี้ที่จังหวัดปัตตานีและกลุ่มจังหวัดชายแดนใต้เป็นเจ้าภาพ
  • 2) จัดทำ Roadmap ระยะยาว กำหนดยุทธศาสตร์ และมีตัวชี้วัดของการจัดงานสมัชชาสร้างสุขภาคใต้ โดยตั้งเป้าหมายไว้ 3 - 5 ปี ที่จะทำให้เกิดภาคใต้แห่งความสุข ตัวชี้วัดของการเกิดภาคใต้แห่งความสุขมีอะไรบ้าง
  • 3) ควรจัดทำข้อมูลให้เห็นชัดว่าการจัดงานมา 12 ครั้ง มีพัฒนาที่ดีขึ้นหรือมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างไรบ้าง
  • 4) ธีมหลักของการจัดงานเน้นความเป็นพหุวัฒนธรรม ตามบริบทชายแดนใต้
  • 5) การจัดงานในระดับจังหวัด ไม่จำเป็นต้องเลือกประเด็นทั้ง 4 ความมั่นคงมาขับเคลื่อน จังหวัดเลือกมา 1 ประเด็น เพื่อทำให้คมชัด และสามารถเชื่อมโยงไปยังประเด็นอื่นได้ เพราะทุกเรื่องที่ขับเคลื่อนจะเชื่อมโยงกัน
  • 6) ข้อเสนอที่ได้จากการจัดงานสมัชชาสร้างสุขใน 14 จังหวัด ก่อนประมวลนำมารวมกับภาคใต้ อยากให้แบ่งโซนจังหวัดตามแผนกลุ่มจังหวัด เพื่อให้ข้อเสนอที่เกิดขึ้นมีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ภาคใต้ และสามารถเห็นได้ว่าแต่ละกลุ่มจังหวัดจะมีประเด็นไหนร่วมกัน
  • 7) ทบทวนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนงานและทำข้อเสนอในระดับจังหวัด และเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้จังหวัดได้เน้นว่าแต่ละจังหวัดควรมียุทธศาสตร์อะไรบ้าง
  • 8) ทุกจังหวัดควรดึง อบจ.เข้ามาร่วมทำงานสมัชชาสร้างสุข และทาง อบจ.สามารถพิจารณาตั้งงบประมาณสนับสนุนการจัดงานสมัชชาสร้างสุขได้ ในการจัดงานครั้งต่อไปหรือปีถัดไปควรประสานเข้าพบ อบจ.เพื่อหารือให้ได้รับทราบ ทาง อบจ.จะได้ตั้งบสนับสนุน ซึ่งการจัดงานสมัชชาสร้างสุขภาคใต้ ได้ตอบตัวชี้วัดของ อบจ.ในด้านการได้เครือข่ายใหม่และข้อเสนอเชิงนโยบายสามารถเสนอเป็นแผนยุทธศาสตร์ ทาง อบจ.จึงสามารถจัดตั้งสนับสนุนงบเพิ่มเติมได้
  • 9) การขับเคลื่อนประเด็นภาคใต้ 4 ประเด็น คือ ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางมนุษย์ ความมั่นคงทางสุขภาพ และความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติ เป็นประเด็นหลัก มีข้อเสนอว่าควรจะมีประเด็นรองหรือประเด็นย่อย และวิเคราะห์ประเด็นย่อยขึ้นมา จะทำให้ข้อเสนอที่ได้มีความคมชัด และตรงกับความต้องการของคนใต้
  • 10) การจัดตั้งคณะทำงานสมัชชาสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 13 โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ดำเนินการแต่งตั้งเป็นคำสั่งแล้ว มีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานีเป็นประธานคณะทำงาน คณะทำงานประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 11 และ 12 ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และประธานสมัชชาสร้างสุข 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และดร.เพ็ญ สุขมาก เป็นคณะทำงานและเลขานุการ โดยมติที่ประชุมเสนอให้เพิ่มผู้อำนวยการกองสาธารณสุของค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี เป็นผู้ช่วยเลขานุการ เพิ่มอีก 1 คน