โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 10

การประชุมเชิงปฏิบัติการ “พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงระดับตำบล เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเขียนแผนการพัฒนาโครงการและติดตามประเมินผลในระบบเว็บไซต์” อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร16 พฤษภาคม 2567
16
พฤษภาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรม/ประชุม: การประชุมเชิงปฏิบัติการ “พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงระดับตำบล เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเขียนแผนการพัฒนาโครงการและติดตามประเมินผลในระบบเว็บไซต์” วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม: เพื่อสรุปผลการดำเนินงานจัดทำแผน และโครงการของกองทุนตำบล ปี 2566 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดทำแผนและพัฒนาโครงการกองทุนตำบล ปี 2566 และเพื่อวางแผนการจัดทำแผน และโครงการของกองทุนตำบล ปี 2567 กิจกรรมนี้เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการข้อที่: ข้อที่ 2
และตัวชี้วัดผลงานของโครงการข้อที่: ข้อที่ 4 ผู้เข้าร่วมกิจกรรม/ประชุม จำนวน 45 คน ประกอบด้วย
1) พี่เลี้ยงกองทุนตำบล อำเภอคำเขื่อนแก้ว 2) วิทยากร 3) คณะทำงาน

รายละเอียดการจัดกิจกรรม - เวลา 08.30 - 09.00 น. กล่าวต้อนรับพร้อมรายงานผลการพัฒนาแผนงานและการพัฒนาโครงการและการนำประเด็นไปสู่แผนของพชอ.กองทุนตำบลปี 2566 (ภาพรวมของอำเภอ) โดย นายพันธ์ทอง  จันทร์สว่าง  สสอ.คำเขื่อนแก้ว - เวลา 09.00 - 09.30 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์ และกระบวนการในการประชุม โดย นางสาวจงกลนี  ศิริรัตน์  คณะทำงานรับผิดชอบโครงการพื้นที่เขต 10 - เวลา 09.30 - 10.30 น. กระบวนการแลกเปลี่ยนบทเรียนการพัฒนาโครงการที่ดีและแผนที่ดีของกองทุน 7 ตำบล ๆ ละ 6 นาทีตัวแทนคณะทำงานพี่เลี้ยงกองทุนตำบลโพนทัน/ทุ่งมน/สงเปือย/ดงแคนใหญ่/กู่จาน/นาคำ/เหล่าไฮ โดยมีประเด็นในการชวนแลกเปลี่ยน คือ 1. ผลการพัฒนาแผน และการเขียนโครงการ ปี 2566 2. แผนและโครงการที่ได้รับการอนุมัติจากกองทุน ในปี 2566 3. ประเมินผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่ 4. การเรียนรู้ การจัดทำแผน และการพัฒนาโครงการ และ5. ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ - เวลา10.30 - 11.30 น. ทบทวนและนำเสนอข้อมูลความคืบหน้าการพัฒนาโครงการและแผนงานติดตามและสรุปผลการพัฒนาโครงการในระบบเว็บไซต์ โดย นายสงกา สามารถ และนายรพินทร์ ยืนยาว พี่เลี้ยงระดับเขต - เวลา11.30 -12.00 น. ร่วมแลกเปลี่ยน/ข้อเสนอแนะการพัฒนาโครงการและแผนงาน โดย คุณจินดาวรรณ  รามทอง คณะทำงานโครงการ จากสถาบันนโยบายสาธารณะ ม.สงขลาฯ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

• ผลที่เกิดขึ้นจากกิจกรรม มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบล และกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ ฯ
        โดย นายพันธ์ทอง  จันทร์สว่าง  สสอ.คำเขื่อนแก้ว ได้รายงานผลการพัฒนาแผนงานและการพัฒนาโครงการ จากการนำประเด็นไปสู่แผนของ พชอ.กองทุนตำบลปี 2566 (ภาพรวมของอำเภอ) ในที่ประชุมรับทราบ และเสนอแนะร่วมกัน คือ อำเภอคำเขื่อนแก้วได้ดำเนินงานการพัฒนาแผนงานกองทุนในระบบเว็บไซต์มาอย่างต่อเนื่อง หลายปี ซึ่งส่วนหนึ่งในการดำเนินงานครั้งนี้ คือพี่เลี้ยงกองทุนตำบล ของเราได้รับการพัฒนาศักยภาพจากทางโครงการ โดย ในปี 2566 กองทุนในอำเภอคำเขื่อนแก้วเป็น อำเภอที่มีประสิทธิภาพการใช้เงินของกองทุน เป็นอันดับที่ 1 ในจังหวัดยโสธร ในขณะเดียวกัน จังหวัดยโสธรเป้นอันดับ 1 ของเขต และในเขต 10 เป็นอันดับ 1 ของประเทศ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่พี่เลี้ยงกองทุนตำบลของเราได้ทุ่มเท จากการที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ จากทางพี่เลี้ยงโครงการ ทางนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร ได้มีการชื่นชม และมีแผนจะมีเวทีในการแลกเปลี่ยนการขับเคลื่อนงานกัน โดย ในปี 2567 นี้ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ได้ประกาศนโยบาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ว่า
1. ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 10 และนโยบาย/แนวทางการขับเคลื่อนระบบสุขภาพจังหวัดยโสธร ให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน
2. มุ่งเน้นพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิเข้มแข็ง ประกอบด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) พัฒนาเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ และสถานบริการผ่านมาตรฐานตามเกณฑ์ 3. พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความเขียวชาญและทำงานอย่างมีความสุข 4. มุ่งเน้นการทำงานเป็นทีมและสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทุกระดับ 5. ขับเคลื่อนการบริหารจัดการอย่างโปร่งใส มีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยยืดหลักธรรมาภิบาล ภายใต้วิสัยทัศน์ เครือข่ายสุขภาพอำเภอคำเขื่อนแก้ว เป็นเครือข่ายแห่งการเรียนรู้ ที่มีเอกภาพและคุณภาพ เพื่อประชาชนโดยยึดหลักธรรมาภิบาล

• จากกระบวนการแลกเปลี่ยนบทเรียนการพัฒนาโครงการที่ดีและแผนที่ดีของกองทุน 7 ตำบล ได้สอดคล้องกับตัวชี้วัดของโครงการ ในข้อ 4 คือ พี่เลี้ยงมีทักษะในการทำแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการ ของกองทุนฯ
        โดย จากกระบวนการแลกเปลี่ยน พี่เลี้ยงกองทุนตำบลทั้ง 7 ตำบลในอำเภอคำเขื่อนแก้ว พี่เลี้ยงได้ทบทวนการพัฒนาแผนงาน ในปี 2566 และการพัฒนาโครงการรวมถึงการร่วมกันประเมินผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงสุขภาวะของประชาชนในระดับพื้นที่ การทบทวนการเรียนรู้การใช้งานระบบเว็บไซต์ และปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินงาน นอกจากนี้ วิทยากรได้ช่วยพื้นที่พัฒนาแผนงาน ปี 2567 ในระบบเว็บไซต์ ดังนี้

  • ตำบลโพนทัน ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 6 แผนงาน แต่ยังไม่มีการพัฒนาโครงการในปี 2566 ในปี 2567 ยังอยู่ในช่วงของการเก็บข้อมูล ยังไม่เกิดแผนงาน เนื่องจากมีการเปลี่ยนผู้รับผิดชอบกองทุน และระบบเว็บไซต์มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบบางส่วน ทำให้ยังไม่ค่อยเข้าใจระบบเท่าที่ควร วิทยากร และพี่เลี้ยงได้ช่วยไขความกระจ่าง ให้เข้าใจการใช้งานมากขึ้น
  • ตำบลทุ่งมน ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 9 แผนงาน แต่ยังไม่มีการพัฒนาโครงการในปี 2566 ในปี 2567 ยังอยู่ในช่วงของการเก็บข้อมูล ยังไม่เกิดแผนงาน เนื่องจากมีการเปลี่ยนผู้รับผิดชอบกองทุน และระบบเว็บไซต์มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบบางส่วน ทำให้ยังไม่ค่อยเข้าใจระบบเท่าที่ควร วิทยากร และพี่เลี้ยงได้ช่วยไขความกระจ่าง ให้เข้าใจการใช้งานมากขึ้น
  • ตำบลสงเปือย ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 19 แผนงาน โดยสอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ทั้ง 8 ประเด็น ได้รับอนุมัติดำเนินโครงการ 9 โครงการ ในปี 2566 ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมา เป็นการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก และการมีกิจกรรมทางกาย ประชาชนตระหนักและเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมโครงการตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และในปี 2567 นี้ ได้มีการพัฒนาแผนงานทั้งสิ้น 15 แผนงาน จากข้อมูลสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ ที่ได้เก็บมาในระบบเว็บไซต์
  • ตำบลดงแคนใหญ่ ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 15 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น โดยได้มีการพัฒนาโครงการ 1 โครงการ คือ โครงการความปลอดภัยทางถนน อุปสรรคที่พบในการดำเนินงานครั้งนี้คือ เรารู้สึกว่า มันเป็นภาระที่มากไปที่เราต้องกรอกข้อมูลลงในเว็บไซต์ 2 เว็บไซต์ คือ เว็บไซต์ของ สปสช. เอง และเว็บไซต์ของโครงการ ทางวิทยากรได้ชี้แจงให้เข้าใจถึงจุดประสงค์ และเสริมพลังใจ ทำให้พื้นที่เกิดความเข้าใจ และในปี 2567 ได้มีการพัฒนาแผนงานจากข้อมูลสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ ไปทั้งหมด จำนวน 10 แผนงาน เพื่อเตรียมพัฒนาโครงการต่อไป
  • ต.กู่จาน ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 10 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น ได้รับการอนุมัติ 6 โครงการ ได้รับการติดตามโครงการแล้ว 2 โครงการ จากที่ได้ดำเนินงานในกองทุน ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุในชุมชน จากการสังเกตในพื้นที่ ผู้ปกครอง หรือกลุ่มเป้ามายที่เข้าร่วมในโครงการ มีความรู้เรื่องกฎจราจรมากขึ้น มีการสวมหมวกกันน็อคมากขึ้น อุบัติเหตุลดลง จากการสำรวจในรพื้นที่ รพ.สต. ปัญหาอุปสรรคที่ผ่านมาพบว่าเราขาดแคลนบุคลากรในการขับเคลื่อนงาน มีการปรับเปลี่ยนงานบ่อย ทำให้ขาดความต่อเนื่อง โครงการที่เสนอเข้ามาก็ไม่ค่อยได้ตรงกับแผน อาจจะต้องมีการพัฒนาผู้เสนอโครงการ มากขึ้น ในส่วนของระบบเว็บไซต์ อยากให้มีการพัฒนาให้เป็นเว็บไซต์เดียวรวมกันไม่ต้องทำหลายเว็บไซต์และ ออโต้มากขึ้น ในเรื่องของการรายงานผลต่าง ๆ  ในสถานการณ์ข้อมูลสุขภาพในพื้นที่ ในปี 2567 ได้มีการพัฒนาแผนงานทั้งสิ้น 10 แผนงาน
  • ตำบลนาคำ ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 15 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น กำลังพัฒนาอยู่ 10 โครงการ ยังไม่ได้รับการอนุมัติในระบบ ได้เรียนรู้การพัฒนาโครงการในระบบ แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจ ในปี 2567 วิทยากรได้ช่วยให้คำแนะนำ และพัฒนาแผนงาน ได้ 11 แผนงาน
  • ตำบลเหล่าไฮ ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 11 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น กำลังพัฒนา โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยเเม่เเละเด็กมหัศจรรย์ อยู่แต่ยังไม่ได้เสนอ ได้เรียนรู้การพัฒนาโครงการในระบบ แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจ ในปี 2567 วิทยากรได้ช่วยให้คำแนะนำ และพัฒนาแผนงาน ได้ 10 แผนงาน จากการดำเนินงานที่ผ่านมา ค่อนข้างมีปัญหาเรื่องโปรแกรมเว็บไซต์ ที่ใช้งานยุ่งยากซับซ้อน จากธรรมชาติของหน่วยงานราชการ มีการปรับเปลี่ยนบุคลากร และความรับผิดชอบงานบ่อย ทำให้ คนใหม่ที่มาเรียนรู้ ค่อนข้างต้องใช้เวลาเรียนรู้นาน การดำเนินงานไม่ต่อเนื่อง อาจจะต้องพัมนาระบบเว็บไซต์ให้ใช้งานง่ายมากกว่านี้