โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 10

การประชุมเชิงปฏิบัติการ “พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงระดับตำบล เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเขียนแผนการพัฒนาโครงการและติดตามประเมินผลในระบบเว็บไซต์”อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี15 พฤษภาคม 2567
15
พฤษภาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรม/ประชุม: การประชุมเชิงปฏิบัติการ “พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงระดับตำบล เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเขียนแผนการพัฒนาโครงการและติดตามประเมินผลในระบบเว็บไซต์” วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม: เพื่อสรุปผลการดำเนินงานจัดทำแผน และโครงการของกองทุนตำบล ปี 2566 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดทำแผนและพัฒนาโครงการกองทุนตำบล ปี 2566 และเพื่อวางแผนการจัดทำแผน และโครงการของกองทุนตำบล ปี 2567 กิจกรรมนี้เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการข้อที่: ข้อที่ 2
และตัวชี้วัดผลงานของโครงการข้อที่: ข้อที่ 4

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม/ประชุม จำนวน 45 คน ประกอบด้วย
1) พี่เลี้ยงกองทุนตำบล อำเภอเขื่องใน 2) วิทยากร 3) คณะทำงาน

รายละเอียดการจัดกิจกรรม - เวลา 08.00 - 08.30 น. กล่าวต้อนรับพร้อมรายงานผลการพัฒนาแผนงานและการพัฒนาโครงการและการนำประเด็นไปสู่แผนของพชอ.กองทุนตำบลปี 2566 (ภาพรวมของอำเภอ) โดย ผู้ช่วย สสอ.เขื่องใน นายพีรพล เหนือเกาะหวาย
- เวลา 08.30 - 09.00 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์ และกระบวนการในการประชุม โดย นางสาวจงกลนี  ศิริรัตน์  คณะทำงานรับผิดชอบโครงการพื้นที่เขต 10 - เวลา 09.00 - 10.00 น. กระบวนการแลกเปลี่ยนบทเรียนการพัฒนาโครงการที่ดีและแผนที่ดีของกองทุน 8 ตำบล ๆ ละ 6 นาทีตัวแทนคณะทำงานพี่เลี้ยงกองทุนตำบลสร้างถ่อ/ชีทวน/โนนรัง/บ้านไทย/ยางขี้นก/หนองเหล่า/หัวดอน/สหธาตุ โดยมีประเด็นในการชวนแลกเปลี่ยน คือ 1. ผลการพัฒนาแผน และการเขียนโครงการ ปี 2566 2. แผนและโครงการที่ได้รับการอนุมัติจากกองทุน ในปี 2566 3. ประเมินผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่ 4. การเรียนรู้ การจัดทำแผน และการพัฒนาโครงการ และ5. ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ - เวลา10.00 - 11.30 น. ทบทวนและนำเสนอข้อมูลความคืบหน้าการพัฒนาโครงการและแผนงานติดตามและสรุปผลการพัฒนาโครงการในระบบเว็บไซต์ โดย อาจารย์อภิรดี  ดอนอ่อนเบ้า  มหาวิทยาลัยกาฬสินธิ์ และนายรพินทร์ ยืนยาว พี่เลี้ยงระดับเขต - เวลา11.30 -12.00 น. ร่วมแลกเปลี่ยน/ข้อเสนอแนะการพัฒนาโครงการและแผนงาน โดย คุณจินดาวรรณ  รามทอง คณะทำงานโครงการ จากสถาบันนโยบายสาธารณะ ม.สงขลาฯ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

• ผลที่เกิดขึ้นจากกิจกรรม มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบล และกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ ฯ
        โดย นายพีรพล เหนือเกาะหวาย ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอเขื่องใน  ได้รายงานผลการพัฒนาแผนงานและการพัฒนาโครงการ จากการนำประเด็นไปสู่แผนของ พชอ.กองทุนตำบลปี 2566 (ภาพรวมของอำเภอ) ในที่ประชุมรับทราบ และเสนอแนะร่วมกัน คือ ที่ผ่านมาได้มีการประชุม ณ ที่ว่าการอำเภอ โดยมีนายอำเภอเขื่องในเป็นประธาน โดย ท่านก็ได้มีการกล่าวถึง และขอความร่วมมือไปยัง อปท. ทุก อปท. ในอำเภอได้รับทราบ ถึงโครงการที่ดำเนินการอยู่ ทุกพื้นที่ ก็ให้การตอบรับถึงแนวนโยบายที่จะร่วมดำเนินการในครั้งนี้ เรามีความพยายามที่จะกับเคลื่อนกองทุนต่าง ๆ ในพื้นที่ได้ใช้รูปแบบ การพัฒนาแผนงาน ในระบบเว็บไซต์เป็นตัวอย่าง ซึ่งที่ผ่านมา หลายกองทุนก็ได้เข้าไปติดตามดู หลายตัวอย่าง ที่มันสอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาในพื้นที่ของตัวเอง สำหรับวันนี้เอง สำหรับ ใน 8 ตำบลที่เข้าร่วมประชุมในวันนี้ถือว่าเป็นตำบลต้นแบบ ถือ ว่าเป็นแกนนำ ในการที่นำพากองทุนอื่น ๆ ได้ขับเคลื่อนในการเขียนโครงการ ซึ่งแนวทางทางในปี 2567 – 2568 ก็ได้มีแนวทางตามที่ทีมพี่เลี้ยงโครงการได้พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงตำบล ซึ่งทางเราก็จะมีการขยายให้ครอบคลุมทั้ง 18 อปท. ในรูปแบบการดำเนินการที่พื้นที่ต้นแบบของเราได้ดำเนินการ ในพื้นที่อำเภอเขื่องใน ตามที่ในโครงการ ได้กำหนดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ การพัฒนาสุขภาวะไว้ 8 ประเด็น เราก็นำมาเป็นประเด็นหลักในการแก้ไขปัญหา เพราะถือว่า ในอำเภอเขื่องในเองก็เป้นพื้นที่ที่มีปัญหาตามประเด็นทั้ง 8 ประเด็น ซึ่งในเดือน มิถุนายน ก็จะได้มีการประชุมพิจารณาทบทวนประเด็นการพัฒนา พชอ. ที่จะมีการขับเคลื่อนในปี 2567 – 2568 ก็จะได้นำเอาข้อมูลสถานการณ์ปัญหาที่ พี่เลี้ยงกองทุนตำบลที่รายงานในระบบเว็บไซต์ นำมาวิเคราะห์ถึงประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นของ พชอ. ต่อไป

• จากกระบวนการแลกเปลี่ยนบทเรียนการพัฒนาโครงการที่ดีและแผนที่ดีของกองทุน 8 ตำบล ได้สอดคล้องกับตัวชี้วัดของโครงการ ในข้อ 4 คือ พี่เลี้ยงมีทักษะในการทำแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการ ของกองทุนฯ
        โดย จากกระบวนการแลกเปลี่ยน พี่เลี้ยงกองทุนตำบลทั้ง 8 ตำบลในอำเภอเขื่องใน พี่เลี้ยงได้ชวนทบทวนการพัฒนาแผนงาน ในปี 2566 และการพัฒนาโครงการรวมถึงการร่วมกันประเมินผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงสุขภาวะของประชาชนในระดับพื้นที่ การทบทวนการเรียนรู้การใช้งานระบบเว็บไซต์ และปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินงาน ซึ่งได้มีการอธิบายการใช้งานระบบเว็บไซต์ การกล่าวถึงความสำคัญของข้อมูลสถานการณ์ที่จะนำมาพัฒนาแผนงาน เพื่อแก้ไขปัญหา ให้ตรงจุดตามสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขขึ้น นอกจากนี้ วิทยากรได้ช่วยพื้นที่พัฒนาแผนงาน ปี 2567 ในระบบเว็บไซต์ ดังนี้

  • ตำบลสร้างถ่อ ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 13 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น ได้รับการอนุมัติดำเนินการ 22 โครงการ โดยการดำเนินงานที่ผ่านมาในส่วนของการใช้งานในระบบเว็บไซต์ไม่ได้พบปัญหาอะไร การเก็บข้อมูล ก็เก็บผ่านระบบเลย คณะทำงานกองทุนมีความตระหนักในการใช้ข้อมูลมาจัดทำแผนงานโครงการ เพื่อให้มันสอดคล้อมและแก้ไขตามสถานการณ์ปัญหาได้ตรงจุด และในปี 2567 – 2568  ได้มีการพัฒนาแผนงานสุขภาพปี 2567 10 แผนงาน ปี 2568 10 แผนงาน
  • ตำบลชีทวน ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 12 แผนงาน กำลังพัฒนาอยู่ 1 โครงการ ซึ่งเสนอไม่ทัน ข้อมูลสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ยังไม่เรียบร้อยดี ทำให้ยังไม่สามารถพัฒนาแผนงานในปี 2567 ได้
  • ตำบลโนนรัง ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 13 แผนงาน พัฒนาโครงการ 4 โครงการ แต่ยังไม่ได้ยื่นเสนอ ในปี 2567 การเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพยังไม่ได้เรียบร้อยสมบูรณ์ ยังไม่ได้มีการพัฒนาแผนงาน แต่ได้มีการพัฒนาโครงการอยู่ 3 โครงการ ยังคงต้องปรับ และเรียนรู้การใช้งานระบบ และพัฒนาศักภาพพี่เลี้ยง
  • ตำบลบ้านไทย ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 10 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น พัฒนาโครงการไปทั้งสิ้น 4 โครงการ แต่ยังไม่ได้รับการอนุมัติ ส่วนในปี 2567 ได้เรียนรู้และเข้าใจมากขึ้นจากวิทยากร และได้พัฒนาแผนงานทั้งสิ้น 5 แผนงาน จากการนำเอาข้อมูลสถานการณ์สุขภาพมาพัฒนาแผน
  • ตำบลยางขี้นก ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 13 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น โดยแผนงานในปี 2566 พัฒนาโครงการ 9 โครงการ ได้รับการอนุมัติ 2 โครงการ สำหรับในปี 2567 นี้ ได้มีการพัฒนาแผนงาน 9 แผนงาน
  • ตำบลหนองเหล่า ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 14 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น พัฒนา 10 โครงการ อนุมัติ 8 โครงการ  ในปี 2567 พัฒนาแผนงาน 12 แผนงาน ครอบคลุมประเด็นยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น
  • ตำบลหัวดอน ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 10 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น พัฒนาโครงการ แต่ไม่ได้เสนอ และในปี 2567 นี้ วิทยากรได้มีการทดลองพาพี่เลี้ยงพัฒนาแผนงาน อยู่ 2 แผนงาน เนื่องจากข้อมูลสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ยังไม่สมบูรณ์
  • ตำบลสหธาตุ ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 17 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น พัฒนาโครงการ แต่ไม่ได้เสนอ และในปี 2567 นี้ วิทยากรได้มีการทดลองพาพี่เลี้ยงพัฒนาแผนงาน อยู่ 9 แผนงาน เนื่องจากข้อมูลสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ยังไม่สมบูรณ์

        จากการดำเนินงานในเวทีพบว่าพี่เลี้ยงกองทุนตำบล ทั้ง 8 ตำบลยังมีการพัฒนาโครงการที่ขาดการใช้ข้อมูลมาวิเคราะห์ คณะวิทยากร พี่เลี้ยงระดับเขต และคุณจินดาวรรณ  รามทอง คณะทำงานโครงการ จากสถาบันนโยบายสาธารณะ ม.สงขลาฯ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนกับพี่เลี้ยงตำบล ในการเก็บข้อมูล และการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์