โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 10

การประชุมเชิงปฏิบัติการ “พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงระดับตำบล เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเขียนแผนการพัฒนาโครงการและติดตามประเมินผลในระบบเว็บไซต์” อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ14 พฤษภาคม 2567
14
พฤษภาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรม/ประชุม: การประชุมเชิงปฏิบัติการ “พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงระดับตำบล เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเขียนแผนการพัฒนาโครงการและติดตามประเมินผลในระบบเว็บไซต์” วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม: เพื่อสรุปผลการดำเนินงานจัดทำแผน และโครงการของกองทุนตำบล ปี 2566 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดทำแผนและพัฒนาโครงการกองทุนตำบล ปี 2566 และเพื่อวางแผนการจัดทำแผน และโครงการของกองทุนตำบล ปี 2567 กิจกรรมนี้เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการข้อที่: ข้อที่ 2
และตัวชี้วัดผลงานของโครงการข้อที่: ข้อที่ 4 ผู้เข้าร่วมกิจกรรม/ประชุม จำนวน 40 คน ประกอบด้วย
1) พี่เลี้ยงกองทุนตำบล อำเภอโนนคูณ 2) วิทยากร 3) คณะทำงาน

รายละเอียดการจัดกิจกรรม - เวลา 14.00 - 14.30 น. กล่าวต้อนรับพร้อมรายงานผลการพัฒนาแผนงานและการพัฒนาโครงการและการนำประเด็นไปสู่แผนของพชอ.กองทุนตำบลปี 2566 (ภาพรวมของอำเภอ) โดย นางสาวยุพยงค์  พาหา สาธารณสุขอำเภอโนนคูณ - เวลา 14.30 - 15.00 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์ และกระบวนการในการประชุม โดย นางสาวจงกลนี  ศิริรัตน์  คณะทำงานรับผิดชอบโครงการพื้นที่เขต 10 - เวลา 15.00 - 15.30 น. กระบวนการแลกเปลี่ยนบทเรียนการพัฒนาโครงการที่ดีและแผนที่ดีของกองทุน 5 ตำบล ๆ ละ 6 นาทีตัวแทนคณะทำงานพี่เลี้ยงกองทุนตำบลกองทุนตำบลบก / ต.เหล่ากวาง / ต.โนนค้อ / ต.หนองกุง/ ต. โพธิ์ โดยมีประเด็นในการชวนแลกเปลี่ยน คือ 1. ผลการพัฒนาแผน และการเขียนโครงการ ปี 2566 2. แผนและโครงการที่ได้รับการอนุมัติจากกองทุน ในปี 2566 3. ประเมินผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่ 4. การเรียนรู้ การจัดทำแผน และการพัฒนาโครงการ และ5. ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ - เวลา15.30 - 16.30 น. ทบทวนและนำเสนอข้อมูลความคืบหน้าการพัฒนาโครงการและแผนงานติดตามและสรุปผลการพัฒนาโครงการในระบบเว็บไซต์ โดย อาจารย์อภิรดี  ดอนอ่อนเบ้า  มหาวิทยาลัยกาฬสินธิ์ และนายรพินทร์ ยืนยาว พี่เลี้ยงระดับเขต - เวลา16.30 -17.00 น. ร่วมแลกเปลี่ยน/ข้อเสนอแนะการพัฒนาโครงการและแผนงาน โดย คุณจินดาวรรณ  รามทอง คณะทำงานโครงการ จากสถาบันนโยบายสาธารณะ ม.สงขลาฯ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

• ผลที่เกิดขึ้นจากกิจกรรม มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบล และกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ ฯ
        โดย นางสาวยุพยงค์  พาหา สาธารณสุขอำเภอโนนคูณ ได้รายงานผลการพัฒนาแผนงานและการพัฒนาโครงการ จากการนำประเด็นไปสู่แผนของ พชอ.กองทุนตำบลปี 2566 (ภาพรวมของอำเภอ) ในที่ประชุมรับทราบ และเสนอแนะร่วมกัน คือ ในส่วนท้องถิ่น ในอำเภอโนนคูณนั้น มีทุก อบต.ให้ความสนใจ ในโครงการ ที่จะมาช่วยนบริหารจัดการ การบริหารงานกองทุน ซึ่งที่ผ่านมา การดำเนินงานประเด็นสุขภาพ อาจยังไม่ครอบคลุม กับ ประเด็นยุทธศาสตร์ ทั้ง 8 ประเด็นที่ทางโครงการได้กำหนดเป้าหมายไว้ ในฐานะที่ตนเป็นพี่เลี้ยงกองทุน ทั้ง 5 กองทุนในอำเภอโนนคูณ ก็จะมีการร่วมประชุม และติดตามโครงการที่เกี่ยวข้องของกองทุนทุกแห่ง และได้มีการตรวจสอบการรายงานการเขียนข้อเสนอโครงการในกองทุน ว่ามีแผนงานที่สอดคล้องกันกับแผนพัฒนาสุขภาพในระดับตำบล หรือไม่ เมื่อ ช่วงเช้าวันนี้ พชอ.โนนคูณ นำโดยนายอำเภอ ได้มีการนำประเด็นที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในอำเภอโนนคูณ ภายใต้วิสัยทัศน์ 15 ดี ศรีโนนคูณ โดยมีเป้าหมายการดำเนินโครงการพัฒนาสุขภาวะประชาชน 15 โครงการ คือ โครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน สู่ 2500 วัน, การป้องกันอุบัติเหตุทางถนน, การป้องกันอุบัติเหตุการจมน้ำในเด็ก, การป้องกันปัญหายาเสพติด และการส่งเสริม โครงการ To be number one, โครงการเบาหวานความดันเพื่อชลอไตเสื่อม, โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ, โครงการอำเภอปลอดโรคพิษสุนัขบ้า, โครงการการดูแลระยะยาว(Long–term care) ผู้ป่วยผู้สูงอายุ, โครงการเกษตรปลอดภัย, โครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน, โครงการการส่งเสริมการท่องเที่ยวท้องถิ่นและวัฒนธรรม, โครงการส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรม, โครงการบริหารจัดการการขยะ, โครงการการจัดการสิ่งรบกวนจากการประกอบอาชีพ, โครงการบริหารจัดการน้ำ และโครงการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ลดโรคร้อน ซึ่งโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับระบบสุขภาพจะมีการถ่ายทอดต่อไปยัง รพ.สต. และกองทุนตำบลให้ได้ดำเนินการต่อไป ซึ่งหากจะให้มีความครอบคลุม ให้สอดคล้องกับสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ อาจจะต้องพึ่งพาอาศัยกระบวนการเพิ่มเติมจากทางโครงการต่อไป ทางเรายินดีให้ความร่วมมือ

• จากกระบวนการแลกเปลี่ยนบทเรียนการพัฒนาโครงการที่ดีและแผนที่ดีของกองทุน 5 ตำบล ได้สอดคล้องกับตัวชี้วัดของโครงการ ในข้อ 4 คือ พี่เลี้ยงมีทักษะในการทำแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการ ของกองทุนฯ
        โดย จากกระบวนการแลกเปลี่ยน พี่เลี้ยงกองทุนตำบลทั้ง 5 ตำบลในอำเภอโนนคูณ พี่เลี้ยงได้ทบทวนการพัฒนาแผนงาน ในปี 2566 และการพัฒนาโครงการรวมถึงการร่วมกันประเมินผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงสุขภาวะของประชาชนในระดับพื้นที่ การทบทวนการเรียนรู้การใช้งานระบบเว็บไซต์ และปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินงาน ยังพบว่าพี่เลี้ยงยังขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้งานระบบเว็บไซต์ และการนำข้อมูลมาจัดทำแผน ทางคณะวิทยากรจงได้มีการปรับแผนกระบวนการ ชวนพื้นที่ทบทวนการใช้งานระบบเว็บไซต์ และอธิบาย ข้อมูลสถานการณ์สุขภาพให้พี่เลี้ยงในพื้นที่ ได้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนี้ วิทยากรได้ช่วยพื้นที่พัฒนาแผนงาน ปี 2567 ในระบบเว็บไซต์ ทำให้พี่เลี้ยงเกิดความเข้าใจเพิ่มเติมมากขึ้น และสามารถพัฒนาแผนสุขภาพในปี 2567 ได้ดังนี้ ตำบลเหล่ากวางพัฒนาแผนงานได้ 27 แผนงาน ตำบลโนนค้อพัฒนาแผนงานได้ 10 แผนงาน ตำบลหนองกุงพัฒนาแผนงานได้ 10 แผนงาน ตำบลโพธิ์ พัฒนาแผนงานได้ 10 แผนงาน โดย มีแผนงานที่ครอบคลุมสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ ที่ได้มีการเก็บข้อมูล และครอบคลุมทั้ง 8 ประเด็น เป้าหมายยุทธศาสตร์ การพัฒนาสุขภาวะของโครงการ