โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 10
การประชุมเชิงปฏิบัติการ ร่างแผน Check Plan “พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงระดับตำบล เพื่อติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเขียนแผนและโครงการในระบบเว็บไซต์”
วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม: เพื่อสรุปผลการดำเนินงานจัดทำแผน และโครงการของกองทุนตำบล ปี 2566 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดทำแผนและพัฒนาโครงการกองทุนตำบล ปี 2566 และเพื่อวางแผนการจัดทำแผน และโครงการของกองทุนตำบล ปี 2567
กิจกรรมนี้เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการข้อที่: ข้อที่ 1 และข้อที่ 2 และตัวชี้วัดผลงานของโครงการข้อที่: ข้อที่ 4
จำนวนผู้เข้าร่วม 75 คน ประกอบด้วย
1) ทีมวิชาการระดับเขต
2) คณะทำงานมูลนิธิประชาสังคม จังหวัดอุบลราชธานี
3) พี่เลี้ยงอำเภอ 5 อำเภอ ได้แก่
3.1 พี่เลี้ยงอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
3.2 พี่เลี้ยงอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
3.3 พี่เลี้ยงอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
3.4 พี่เลี้ยงอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
3.5 พี่เลี้ยงอำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ
4) พี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบล 10 ตำบล
4.1 พื้นที่อำเภอกันทรลักษ์: ต.สวนกล้วย ต.ตระกาจ ต.น้ำอ้อม, ต.ขนุน, ต.รุง, ต.กุดเสลา, ต.โนนสำราญ
4.2 พื้นที่อำเภอเขื่องใน: ต.สร้าถ่อ, ต.ชีทวน, ต.โนนรัง, ต.บ้านไทย, ต.ยางขี้นก, ต.หนองเหล่า, ต.หัวดอน, ต.สหธาตุ
4.3 พื้นที่อำเภอม่วงสามสิบ: ต.เหล่าบก, ต.ดุมใหญ่, ต.หนองเหล่า. ต.ยางสักกะโพหลุ่ม, ต.ยางโยภาพ
4.4 พื้นที่อำเภอคำเขื่อนแก้ว: ต.โพนทัน, ต.ทุ่งมน, ต.สงเปือย, ต.ดงแคนใหญ่, ต.กู่จาน, ต.นาคำ, ต.เหล่าไฮ
4.5 อำเภอโนนคูณ : ต.บก, ต.เหล่ากวาง, ต.โนนค้อ, ต.หนองกุง, ต.โพธิ์
รายละเอียดกิจกรรม :
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567
เริ่มเข้าสู่กระบวนการ โดย นายอรรถพล ต่องสุพรรณ เตรียมความพร้อม “เรียนรู้ เข้าใจ สุขภาวะชุมชน” ให้ผู้เข้าร่วมผ่านการสร้างความรู้จักสร้างความคุ้นเคย นันทนาการให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกาย และกิจกรรมองค์ประกอบการพัฒนาสุขภาวะ 4 มิติ การจับกลุ่มสภาพปัญหาสุขภาวะว่าอยู่ในมิติใด (สังคม กาย จิต ปัญญา) จากนั้น นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ ชี้แจงวัตถุประสงค์และกระบวนการในการประชุม หลังจากนั้นเข้าสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนาแผนโครงการ โดย ตัวแทนพี่เลี้ยงกองทุนตำบลฯ นำเสนอผลการดำเนินงานจัดทำแผนงาน/โครงการ ซึ่งมีประเด็น/โจทย์ ดังนี้
1) สถานการณ์ด้านสุขภาพในอำเภอของท่านมีสถานการณ์อย่างไรบ้าง
2) ท่านมีแผนในการจัดการสถานการณ์ปัญหาจำนวนเท่าไหร่ อย่างไร
3) มีการจัดทำโครงการ หรือกิจกรรมอะไร เพื่อรองรับแผนในการแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาอย่างไร
4) ผลลัพธ์ หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในภาพรวมระดับอำเภอเป็นอย่างไร
5) กิจกรรมเด่น ๆ ที่ท่านคิดว่าเป็นส่วนสำคัญในความสำเร็จ
6) บทเรียน (ปัญหาอุปสรรค, แนวทางแก้ปัญหา) และข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนแผนงานอำเภอในปี 2567
นำเข้ากระบวนการในช่วงบ่าย นายอรรถพล ต่องสุพรรณ ชวนผู้เข้าร่วม “ผ่อนพัก ตระหนักรู้” โดยการเคลื่อนไหวทางกายเพื่อเตรียมความพร้อม ได้แก่กิจกรรมจีบ-L, กำ-แบ สลับไปมาตามจังหวะ, ปรบมือตามจังหวะ ฯลฯ จากนั้น ทบทวนโครงการบนเว็บไซต์ร่วมกัน โดย อาจารย์สงกา สามารถ ผ่านการบรรยายหลักการ การเก็บข้อมูล เพื่อนำไปจัดทำแผนกองทุนและการพัฒนาโครงการ นำไปสู่โครงการติดตาม พร้อมฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลในระบบเว็บไซต์ “พาดู พาทำ” โดยให้ผู้เข้าร่วมเปิดหน้าเว็บไซต์โครงการตัวเอง เพื่อทบทวน และวิเคราะห์ข้อมูลไปพร้อม ๆ กัน หลังจากนั้น นายรพินทร์ ยืนยาว สรุปผลการพัฒนาแผนงาน และโครงการกองทุนตำบล ปี 2566 โดยระดมความคิดเห็น กลุ่มย่อยตามอำเภอ 4 กลุ่ม ผ่านโจทย์/ประเด็นร่วมดังนี้
1) การเก็บข้อมูลในปีที่ผ่านมา (เช่น คนเก็บข้อมูล กลุ่มเป้าหมาย หลักเกณฑ์การเก็บ การบริหารจัดการ)
2) ผลการพัฒนาแผน และการเขียนโครงการ ปี 2566
3) แผนและโครงการที่ได้รับการอนุมัติจากกองทุน ในปี 2566
4) การประเมินผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงสุขภาวะประชาชนในพื้นที่
5) สิ่งที่ทำได้ดี เพราะอะไร
6) สิ่งที่ยังทำได้ไม่ดี เพราะอะไร
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567
เข้าสู่กระบวนการโดยการทบทวน ผลการเรียนรู้กิจกรรมวันแรก โดย นายอรรถพล ต่องสุพรรณ จากนั้นทบทวนผลการระดมสมอง ในเรื่องของปัญหาอุปสรรค เพื่อหาแนวทางแก้ไขและพัฒนาในปี 2567 โดย นายรพินทร์ ยืนยาว และ ตัวแทนพี่เลี้ยงอำเภอนำเสนอผลการ “สรุปผลการพัฒนาแผนงาน และโครงการกองทุนตำบล ปี 2566 ของแต่ละอำเภอ” และจากนั้นระดมจัดทำแผน และพัฒนาโครงการกองทุนตำบล ปี 2567 โดย อาจารย์วินัย วงศ์อาสา บรรยายและฝึกปฏิบัติการ โดยให้ผู้เข้าร่วมเปิดหน้าระบบเว็บไซต์เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน เริ่มตั้งแต่การวางแผนการจัดเก็บข้อมูลออกแบบ จัดทำแผนสุขภาวะระดับตำบล (การจัดทำแผนที่ดี) พัฒนาโครงการ ให้สอดคล้องกับแผนงาน (การพัฒนาโครงการที่ดี) โครงการที่คาดว่าจะได้รับการอนุมัติ สนับสนุน ปี 2567 การติดตามประเมินผลที่ดี (ประเมินคุณค่า) และแนวทางการขับเคลื่อน แผนตำบลสู่แผนอำเภอ (พชอ.) (Timeline การดำเนินงานแต่ละตำบล สู่แผนอำเภอ) โดยวิทยากรเปิดโอกาสให้พี่เลี้ยงแลกเปลี่ยน ซักถามเพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกัน พร้อมรับความเห็นจากผู้ตรวจกกลาง โดยการให้ดาวสำหรับโครงการเด่น ทั้งนี้ พิจารณาจากโครงการที่แล้วเสร็จ ที่กดรายงานผลการดำเนินงานเข้าระบบ ซึ่งกระบวนการพิจารณาให้ดาวนี้ ส่วนกลางทำหน้าอ่านรายงานในระบบ และพี่เลี้ยงให้ข้อมูลเพิ่มเติมในวงใหญ่ เพื่อนำข้อมูลมาร่วมพิจารณาการให้คะแนน
ผลลัพธ์เชิงปริมาณ
ผู้เข้าร่วมจำนวน 75 คน ประกอบด้วย พี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบลระดับอำเภอและระดับตำบลจากพื้นที่ 5 อำเภอ 3 จังหวัด
ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ
คณะทำงานทีมพี่เลี้ยงกองทุนตำบลได้ทบทวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนาแผนโครงการ การพัฒนาแผน และการเขียนโครงการ ที่มีการดำเนินงานในปี 2566 และได้ทบทวนผลลัพธ์การดำเนินงานจากกระบวนการระดมความเห็นร่วมกัน ทั้งสิ่งที่สามารถดำเนินการผ่านไปได้ด้วยดีและปัญหาอุปสรรคที่ทำให้การดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผนงาน และการฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการพัฒนาแผนงาน/โครงการ ในระบบเว็บไซต์ localfund.happynetwork.org ตามพื้นที่อำเภอ-ตำบล ของทีมพี่เลี้ยง เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และเกิดความรู้ความเข้าใจในการใช้งานโปรแกรมติดตามงานโครงการตามแผนงานของกองทุน และมีการร่วมกันออกแบบการพัฒนาแผนงาน/โครงการที่คาดว่าจะได้รับการอนุมัติ สนับสนุน ปี 2567