โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 10

ติดตามและสนับสนุนการจัดทำโครงการ การเสนอโครงการ และการรายงานผลในระบบเว็บไซต์ 21 กองทุน30 พฤศจิกายน 2566
30
พฤศจิกายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรม/ประชุม
ประชุมเขิงปฏิบัติการ “พัฒนาพี่เลี้ยงระดับอำเภอและตำบลเพื่อเขียนแผนและโครงการในระบบเว็บไซต์” โครงการ “บูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน” ในพื้นที่เขต 10

วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม
เพื่อยกระดับศักยภาพกลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่เพื่อนำมาจัดทำแผนงาน การพัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการ  ในพื้นที่เป้าหมายการดำเนินงานกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานพี่เลี้ยงกองทุนระดับอำเภอและตำบล

กิจกรรมนี้เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ : ข้อที่  1 และข้อที่ 2 และตัวชี้วัดผลงานของโครงการ : ข้อที่ 4 และข้อที่ 5

• กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมและชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดประชุมโดย น.ส.จงกลนี ศิริรัตน์ มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี (คณะทำงานกองทุนสุขภาพตำบล เขต 10) • สรุปผลการจัดทำแผนงานและโครงการในระบบ และร่วมแลกเปลี่ยน โดย นายรพินทร์ ยืนยาว คณะทำงานกองทุนสุขภาพตำบล เขต 10 o อ้างถึง การขับเคลื่อนที่ผ่านมาภายใต้กองทุนสุขภาพตำบล โดยโครงการฯ มีแผนงาน ขั้นตอนและกระบวนการที่ดำเนินการมาแล้วคือ การประชุมร่วมคณะทำงานระดับเขตและคณะทำงานระดับอำเภอ เพื่อวางแผน/เตรียมการจัดกิจกรรม ติดตามความก้าวหน้า และสรุปผลการดำเนินงาน และการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะพี่เลี้ยงกองทุนเพื่อให้สามารถจัดทำแผนงาน พัฒนาโครงการและเสนอโครงการ  ติดตามประเมินผลโครงการในระบบเว็บไซต์ตั้งแต่การจัดทำแผนงาน การพัฒนาโครงการ และครั้งนี้คือการติดตามประเมินผลและรายงานโครงการ เพื่อขับเคลื่อนประเด็นสุขภาวะ 8 ประเด็น คือ 1. การจัดการระบบอาหาร 2. การเพิ่มกิจกรรมทางกาย 3. การจัดการปัจจัยเสี่ยงเหล้า บุหรี่ สารเสพติด 4. การจัดการปัญหาความปลอดภัยทางถนน  5. สุขภาพจิต 6. มลพิษทางอากาศ 7. การจัดการขยะ 8. การป้องกันโรคอุบัติใหม่
o การดำเนินการที่ผ่านมาเกิดผลลัพธ์ความสำเร็จจากการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงกองทุนระเบตำบลและระดับอำเภอ คือ เกิดความร่วมมือ ลงนามข้อตกลง ความร่วมมือ ในการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและระดับอำเภอ เพื่อกำหนดเป็นเป้าหมายร่วมกันของแต่ละอำเภอ เกิดคณะทำงานระดับเขตและระดับอำเภอจำนวน 20 คน เกิดคณะทำงานระดับพื้นที่ตำบล เพื่อเข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง โดยคัดเลือกตำบลละ 4-5 ท่าน รวมทั้งหมด 160 คน  เกิดพื้นที่กองทุนศูนย์เรียนรู้ 22 แห่ง เกิดพื้นที่กองทุนขยายผล 10 แห่ง และเกิดการจับคู่พี่เลี้ยงระดับตำบลและระดับอำเภอรูปแบบของการเป็นบัดดี้ เพื่อหนุนเสริมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน o การดำเนินงานที่ผ่านมา (ปี 2566) กองทุนฯ สามารถพัฒนาแผนจำนวน 392 แผน พัฒนาโครงการเสนอขอรับงบประมาณจำนวน 336 โครงการ  และมีโครงการที่ได้รับสนับสนุนงบประมาณ 153 โครงการ (ข้อมูล ณ วันที่ 15/11/66) o การดำเนินงานที่ผ่านมา (ปี 2566) พี่เลี้ยงระดับตำบลและอำเภอ ได้สะท้อนถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานที่ผ่านมา เช่น พี่เลี้ยงกองทุนระดับพื้นที่ตำบล มีการเปลี่ยนแปลงรายชื่อ เนื่องจากการโยกย้ายตำแหน่งหน้าที่การงาน จึงส่งผลต่อการเข้าร่วมเพื่อพัฒนาศักยภาพเกิดความไม่ต่อเนื่องและขาดความเข้าใจในภาพรวมของการขับเคลื่อนงาน การเปลี่ยนแปลงแบบฟอร์มเอกสารทาง สปสช. ส่งผลต่อการติดตามโครงการในระบบเว็บไซต์ไม่เป็นปัจจุบัน  การเก็บข้อมูลและการระบุข้อมูล (ขนาดปัญหา) มีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ส่งผลให้การกำหนดค่าเป้าหมายไม่สอดคล้องความจริง จึงได้มีการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการการกำหนดตัวชี้วัดของโครงการฯ ที่เสนอต่อกองทุนฯ เพื่อ ให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหา และความเป็นไปได้จริงของการดำเนินงาน เช่น ระยะเวลา งบประมาณ และงบประมาณที่มีอยู่แล้ว • แลกเปลี่ยนกระบวนการทำงานของกองทุนศูนย์เรียนรู้ เขตสุขภาพที่ 10 (กองทุนตำบลโนนสำราญ อ.กันทรลักษ์, กองทุนตำบลกู่จาน อ.คำเขื่อนแก้ว, กองทุนตำบลสร้างถ่อ อ.เขื่องใน กองทุนตำบลบก อ.โนนคูณ, กองทุนตำบลเหล่าบก อ.ม่วงสามสิบ) o ประเด็นการแลกเปลี่ยน 3 ประเด็น คือ 1) การเรียนรู้ที่เกิดขึ้น คุณค่าจากผลการดำเนินงาน 2) ปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จและที่เป็นอุปสรรค 3) แนวทางการแก้ไขและการพัฒนา o กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โนนสำราญ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ นำเสนอแผนงานการจัดการขยะ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน (Reduce) เพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน เพิ่มครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (Reuse) เพิ่มครัวเรือนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (Recycle) เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ เพิ่มหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการในการจัดการขยะ มีระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 3 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566 (ตามรอบปีงบประมาณ 2566) โดยมีกิจกรรมสำคัญ เช่น การประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการขยะมูลฝอยระดับตำบล เพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินงานการจัดการขยะในพื้นที่ ระดับหมู่บ้าน /ตำบล สอดคล้องกับแผนงาน ระดับอำเภอ และจังหวัด การส่งเสริมและการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน ตามนโยบาย รัฐบาล ภายใต้โครงการ "ถังขยะเปียกลดโลกร้อนของ อปท. ประเทศไทย ตามโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ ตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย โดยเกิดผลสำเร็จจากการดำเนินงานกองทุนฯ คือ อบต.โนนสำราญ ได้แจ้งความประสงค์เสนอซื้อขายคาร์บอนเครดิตจากโครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ
o กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เหล่าบก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี นำเสนอแผนงานการการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ เช่น โครงการโรงเรียนส่งเสริมคุณภาพชีวอตผู้สูงอายุตำบลเหล่าบก โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น o กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สร้างถ่อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี นำเสนอแผนงานมลพิษทางอากาศ โดยยกตัวอย่างกรณีโครงการป้องกัน และดูแลสุขภาพจากภัยฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) เนื่องจากสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ที่แพร่กระจายครอบคลุมพื้นที่อำเภอเขื่องใน โดยส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคระดับตำบลสร้างถ่อ ได้พิจารณาแล้วว่า หากไม่รีบดำเนินการจัดการปัญหาดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ทั้งในระยะสั้น และในระยะยาว จึงเสนอโครงการปี 2567 เพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชนจากอันตรายของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) และให้ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตัวเอง สามารถป้องกันตนเองจากจากอันตรายของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) และเพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่ทันต่อสถานการณ์ โดยกำหนดกิจกรรมสำคัญ เช่น การอบรม สื่อสารประชาสัมพันธ์ สร้างความรอบรู้แก่ประชาชนในพื้นที่
• อภิปราย แลกเปลี่ยน และร่วมกันวางแผนการดำเนินงาน ในระยะต่อไป โดย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ และคณะทำงานกองทุนสุขภาพตำบล เขต 10 o โจทย์แลกเปลี่ยน (โดยการแบ่งกลุ่มตามพื้นที่เพื่อแลกเปลี่ยน และนำเสนอรายอำเภอ) ถ้าจะมีการเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น/ตำบล  ควรทำอย่างไร 1.พัฒนาศักยภาพของคน ควรทำอย่างไรบ้าง (กรรมการกองทุน/ผู้รับผิดชอบกองทุน/ผู้ขอทุนจากกองทุน) 2.การสร้างชุดความรู้ นวัตกรรมต่อการสร้างสุขภาพ ควรทำอะไร อย่างไร
3.การบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพควรทำอย่างไร (การทำแผน/การเขียนโครงการ/การทำโครงการ/การติดตาม ประเมินโครงการ) 4.กลไกสนับสนุน/การขับเคลื่อนงานกองทุน ควรมีกลไกอะไรบ้าง/บทบาท/อย่างไร (กลไกวิชาการ/ กลไกพี่เลี้ยง/ กลไก พชอ.)

1.อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี การพัฒนาศักยภาพของคน - จัดการศึกษาดูงานกรรมการกองทุน ศึกษาดูงานกองทุนต้นแบบ และอบรมเพิ่มศักยภาพระเบียบกฏหมาย ระเบียบการเบิกจ่ายกับกองทุน ให้กับคณะกรรมการกองทุน - ฝึกอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้รับผิดชอบกองทุนแต่ละตำบล - มีการจัดประชุมผู้ขอรับทุนโครงการ ชี้แจงการเขียนโครงการ การขอรับงบประมาณจากกองทุน การสร้างชุดความรู้ นวัตกรรมต่อการสร้างสุขภาพ -จัดทำสื่อความรู้โดยใช้ทรัพยากรในชุมชน (เช่น ลานนวดเท้าจากกะลาไม้ไผ่) การบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ • การวางแผน : ทำแผนสุขภาพให้สอดคล้องกับปัญหาในชุมชน มีการจัดเวทีประชาคมทุกภาคีเครือข่าย • การเขียนโครงการ : ต้องสอดคล้องกับแผน ถูกต้องตามระเบียบสามารถตรวจสอบได้ • การทำโครงการ : ดำเนินงานให้ตรงตามวัตถุประสงค์ ของโครงการ และตรงตามระยะเวลาที่กำหนด • การติดตามและประมินผลโครงการ : แต่งตั้งคณะกรรมการติดตาม ประเมินผลโครงการ และออกติตามเพื่อควบคุมและกำกับตามวัตถุประสงค์ กลไกสนับสนุน/การขับเคลื่อนงานกองทุน • กลไกวิชาการ จัดทำข้อมูลวิชาการโครงการต้นแบบที่เป็นตัวอย่าง พัฒนาต้นแบบที่สามารถนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนอื่น ๆ ได้ • กลไกพี่เลี้ยง ช่วยกำกับ ติดตาม ดูแลให้คำแนะนำโครงการกับกองทุนตำบล • กลไก พชอ. นำประเด็นที่ต้องการมาพัฒนา และแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง เสนอต่อคณะกรรมการ พชอ. ระดับอำเภอ 2.อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี การพัฒนาศักยภาพของคน - จัดเวทีแลกเปลี่ยนระดับอำเภอ เรื่องการบริหารจัดการกองทุนให้กับคณะกรรมการ และผุ้ขอรับทุนกองทุน - จัดอบรมการจัดทำแผนโครงการสำหรับผู้ขอรับทุน การสร้างชุดความรู้ นวัตกรรมต่อการสร้างสุขภาพ -เลือกสื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย จัดเวทีถอดบทเรียนจัดการความรู้ การบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ • การวางแผน : ค้นหาสถานการณ์ปัญหา จัดลำดับความสำคัญ มีการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหา • การทำโครงการ : พิจารณาอนุมัติโครงการให้เร็วขึ้น • การติดตามและประมินผลโครงการ : ลงติดตามผลเป็นระยะ ๆ กลไกสนับสนุน/การขับเคลื่อนงานกองทุน • กลไกวิชาการ เชื่อมประสานกับ สปสช. และส่วนกลาง สร้างเป็นกลไกวิชาการ คอยกลั่นกรองแลควบคุมคุณภาพวิชาการของโครงการ • กลไกพี่เลี้ยง ดึง ผอ. รพ. นายอำเภอ สธ.อำเภอ ท้องถิ่นอำเภอช่วยเป็นพี่เลี้ยงกองทุน
• กลไก พชอ. บูรณาการระดับอำเภอสู่ตำบลขับเคลื่อนนโยบายระดับอำเภอ 3.อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ การพัฒนาศักยภาพของคน - อบรมพัฒนาศักยภาพเพื่อสร้างความเข้าใจปัญหาของพื้นที่ - จัดอบรมผู้รับผิดชอบกองทุนให้มีความรู้ความเข้าใจในการวางแผนโครงการ ให้ความรู้เรื่องระเบียบที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการโครงการ การสร้างชุดความรู้ นวัตกรรมต่อการสร้างสุขภาพ - อบรมพัฒนาศักยภาพเพื่อสร้างความเข้าใจปัญหาของพื้นที่ - จัดอบรมผู้รับผิดชอบกองทุนให้มีความรู้ความเข้าใจในการวางแผนโครงการ ให้ความรู้เรื่องระเบียบที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการโครงการ - วิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย สร้างสื่อที่ทันสมัยและเข้าใจง่ายให้เหมาะกับคนทุกกลุ่มวัย - แสวงหาความร่วมมือในการพัฒนา (ผู้รู้/ผุ้มีความสามารถ) - นำชุดความรู้ที่ได้นำมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ร่วมกัน พัฒนาเป้นชุดความรู้ การบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ • การวางแผน : เขียนแผนให้สอดคล้องกับปัญหา • การเขียนโครงการ : เขียนวัตถุประสงค์ชัดเจน ตรงประเด็น มีเป้าหมายที่ชัดเจน งบประมาณสมเหตุสมผล • การทำโครงการ : ดำเนินโครงการตามแผน • การติดตามและประมินผลโครงการ : มีการติดตามประเมินผล และมีการรายงานต่อคณะกรรมการ กลไกสนับสนุน/การขับเคลื่อนงานกองทุน • กลไกวิชาการ สร้างองค์ความรู้ตามบริบทของพื้นที่ สร้างสื่อวิชาการเพื่อการประชาสัมพันธ์หลากหลายรูปแบบ • กลไกพี่เลี้ยง สร้างช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างพี่เลี้ยงและกองทุนโดยมีการกำหนดผู้รับผิดชอบ (Admin) เพื่อประสาน
• กลไก พชอ. แต่งตั้งคณะทำงานแยกแต่ละด้าน 4.อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ การพัฒนาศักยภาพของคน - พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ขอรับทุนในกองทุน ในการบริหารจัดการโครงการ ให้รู้ถึงการตั้งปัญหา และกำหนดวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับปัญหา ระเบียบการบริหารจัดการการเงินการบัญชี ต่าง ๆ
การสร้างชุดความรู้ นวัตกรรมต่อการสร้างสุขภาพ - การใช้สื่อที่หลากหลายรูปแบบ เช่น สื่อโปสเตอร์แผ่นพับ สื่อออนไลน์ สื่อวิดีโอ เป็นต้น - จัดทำบันทึกข้อตกลความร่วมมือ MOU กับผู้ขอรับทุนในการดำเนินงานโครงการ - ให้ อสม. เป็นสื่อกลางในการถ่ายถอดข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ในชุมชน
การบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ • การวางแผน : จัดทำแผนให้สอดคล้องกับปัญหา และปัญหาต้องมาจากพื้นที่ ชุมชน หรือหน่วยงานในพื้นที่ เป็นผู้นำเสนอ งบประมาณไม่ควรสำรองไว้ 10 % ควรใช้ให้ครอบคลุม • การเขียนโครงการ : ต้องสอดคล้องกับแผนงาน ผู้ที่ขอรับทุนจะต้องเป็นผู้เขียนโครงการ ในโครงกการต้องมีผังกำกับงานที่ชัดเจน ต้องมีการต่อยอดโครงการอย่างต่อเนื่อง • การทำโครงการ : ทำตามผังควบคุมกำกับโครงการ เน้นคุณภาพไม่เน้นจำนวน • การติดตามและประมินผลโครงการ : ตั้งคณะกรรมการประเมินผลอย่างชัดเจน  นำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ คัดเลือกโครงการเด่น สร้างแรงจูงใจ มีการให้รางวัล และต่อยอดโครงการ กลไกสนับสนุน/การขับเคลื่อนงานกองทุน • กลไกวิชาการ เน้น สปสช. อบรมนายก อบต. และปลัด เรื่องกลไกของกองทุน อบรมผู้รับผิดชอบงานกองทุน และอบรมคณะกรรมการกองทุนในเรื่องสุขภาพ
• กลไกพี่เลี้ยง สร้างเครือข่ายวิชาการสำหรับพี่เลี้ยง จัดอบรมให้พี่เลี้ยงกองทุน พี่เลี้ยงไปถ่ายทอดต่อให้คณะกรรมการกองทุน มีการประชุม และสื่อสารกันมากขึ้น (ระหว่างพี่เลี้ยงและสปสช.)
• กลไก พชอ. พัฒนาความรู้และศักยภาพ เลขา พชอ. เรื่องการประสานงานกับกองทุน **ควรมีการจัดสรรงบประมาณให้ พชอ.ในเรื่องกองทุน 5.อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร การพัฒนาศักยภาพของคน - เพิ่มองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องกองทุนให้คณะกรรมการกองทุน ให้รู้บทบาทของตนเอง  มีส่วนร่วมในการจัดแผนงาน และแผนสุขภาพระดับตำบล - พัฒนาศักยภาพ แลอบรมให้ความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ กับผู้รับผิดชอบกองทุน ให้รู้บทบาทหน้าที่ และมีความเสียสละ - สำหรับผู้ขอรับทุน จะมีการเพิ่มศักยภาพในการเขียนโครงการ และระเบียบทางการเงิน และรู้บริบทปัญหาที่แท้จริงของพื้นที่ตนเอง
การสร้างชุดความรู้ นวัตกรรมต่อการสร้างสุขภาพ - จัดทำชุดสื่อประชาสัมพันธ์ด้านสุขภาพผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น Tiktok Facebook - มีการวิเคราะห์ชุดความรู้ร่วมกันก่อนเผยแพร่ การบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ • การวางแผน : เครือข่ายต้องมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนในตำบล (อบต. ผู้นำชุมชน และประชาชน) • การเขียนโครงการ : มีรูปแบบผังการดำเนินงานของกองทุน มีองค์ความรู้ในการเขียนโครงการ
• การทำโครงการ : ทำตามโครงการตามแผนงานอย่างมีขั้นตอนตามกรอบงบประมาณ และระเวลาการจัดการ จัดเตรียม อุปกรณ์ คน ให้พร้อมดำเนินการ • การติดตามและประมินผลโครงการ :ตั้งคณะกรรมการชุดติดตามประเมินผล ตามวัตถุประสงค์โครงการ กลไกสนับสนุน/การขับเคลื่อนงานกองทุน • กลไกวิชาการ มีการประสานงานระหว่างกลุ่มงาน ผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น line เพื่อแจ้งแผนการปฏิบัติงานรายเดือน
• กลไกพี่เลี้ยง มีการติดตาม และมีความรับผิดชอบต่องาน คอยสนับสนุนงาน ให้ความช่วยเหลือ
• กลไก พชอ. ควบคุม กำกับติดตามพื้นที่ แก้ไขปัญหาเพิ่มเติม แจ้งให้ดำเนินงานไปตามวัตถุประสงค์ 6.อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร การพัฒนาศักยภาพของคน - เพิ่มองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องกองทุนให้คณะกรรมการกองทุน ให้รู้บทบาทของตนเอง  มีส่วนร่วมในการจัดแผนงาน และแผนสุขภาพระดับตำบล - พัฒนาศักยภาพ แลอบรมให้ความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ กับผู้รับผิดชอบกองทุน ให้รู้บทบาทหน้าที่ และมีความเสียสละ - สำหรับผู้ขอรับทุน จะมีการเพิ่มศักยภาพในการเขียนโครงการ และระเบียบทางการเงิน และรู้บริบทปัญหาที่แท้จริงของพื้นที่ตนเอง
การสร้างชุดความรู้ นวัตกรรมต่อการสร้างสุขภาพ - จัดทำชุดสื่อประชาสัมพันธ์ด้านสุขภาพผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น Tiktok Facebook - มีการวิเคราะห์ชุดความรู้ร่วมกันก่อนเผยแพร่ การบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ • การวางแผน : เครือข่ายต้องมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนในตำบล (อบต. ผู้นำชุมชน และประชาชน) • การเขียนโครงการ : มีรูปแบบผังการดำเนินงานของกองทุน มีองค์ความรู้ในการเขียนโครงการ
• การทำโครงการ : ทำตามโครงการตามแผนงานอย่างมีขั้นตอนตามกรอบงบประมาณ และระเวลาการจัดการ จัดเตรียม อุปกรณ์ คน ให้พร้อมดำเนินการ • การติดตามและประมินผลโครงการ :ตั้งคณะกรรมการชุดติดตามประเมินผล ตามวัตถุประสงค์โครงการ กลไกสนับสนุน/การขับเคลื่อนงานกองทุน • กลไกวิชาการ มีการประสานงานระหว่างกลุ่มงาน ผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น line เพื่อแจ้งแผนการปฏิบัติงานรายเดือน
• กลไกพี่เลี้ยง มีการติดตาม และมีความรับผิดชอบต่องาน คอยสนับสนุนงาน ให้ความช่วยเหลือ
• กลไก พชอ. ควบคุม กำกับติดตามพื้นที่ แก้ไขปัญหาเพิ่มเติม แจ้งให้ดำเนินงานไปตามวัตถุประสงค์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

• ผลลัพธ์เชิงปริมาณ : ผู้เข้าร่วมจำนวน 126 คน ประกอบด้วย พี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบลระดับอำเภอและระดับตำบลจากพื้นที่ 5 อำเภอ 3 จังหวัด คณะทำงานกองทุนสุขภาพตำบลระดับเขต (เขต 10) และผู้เข้าร่วมผ่านทางระบบ Zoom Meeting จากคณะทำงานกองทุนสุขภาพตำบลระดับเขต (เขต 7, เขต 9) • ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ : คณะทำงานและทีมพี่เลี้ยงกองทุนตำบล ได้รับทราบความก้าวหน้าของโครงการ ได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันถึงปัจจัยที่จะส่งผลต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนงาน จากการนำเสนอการทำงาน 5 พื้นที่ และร่วมกันแลกเปลี่ยนวางแผนการดำเนินงานให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมายการเป็นพื้นที่กองทุนศูนย์เรียนรู้ และเกิดพื้นที่กองทุนขยายผลต่อไป • ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม o น.ส.จงกลนี ศิริรัตน์ (คณะทำงานกองทุนสุขภาพตำบล เขต 10) : จากการจัดประชุมครั้งนี้มีความคาดหวังว่าพี่เลี้ยงระดับตำบลและอำเภอจะสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของพื้นที่ต่างๆ ไปปรับใช้กับการเขียนแผนงาน/โครงการที่มีคุณภาพในระบบเว็บไซต์ สามารถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้เขียนโครงการได้  และมีการติดตามและสามารถขยายผลการดำเนินโครงการภายใต้กองทุนฯ ในปีต่อไป ให้เกิดความยั่งยืน โดยการผลักดันหนุนเสริมประเด็นสุขภาวะ 8 ประเด็น คือ 1. การจัดการระบบอาหาร 2. การเพิ่มกิจกรรมทางกาย 3. การจัดการปัจจัยเสี่ยงเหล้า บุหรี่ สารเสพติด 4. การจัดการปัญหาความปลอดภัยทางถนน  5. สุขภาพจิต 6. มลพิษทางอากาศ 7. การจัดการขยะ 8. การป้องกันโรคอุบัติใหม่ เข้าสู่แผนงานการขับเคลื่อนด้วยกลไกการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ (พชอ.) o ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ (สถาบันนโยบายสาธารณะ ม.สงขลานครินทร์) : จากการสะท้อนปัญหาการดำเนินการจากหลายพื้นที่ มีประเด็นที่สำคัญคือ ความเข้าใจของผู้บริหารหน่วยงาน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในฐานะผู้พิจารณาอนุมัติแผนงาน/โครงการของพื้นที่ ที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนแผนงานให้เกิดความต่อเนื่อง จึงเสนอแนะหากมีการจัดประชุมเพื่อพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงระดับตำบล/อำเภอ หรือ การประชุมเพื่อวางแผนเตรียมการจัดกิจกรรมติดตามความก้าวหน้าและสรุปผลการดำเนินงาน หรือการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการยกระดับศักยภาพของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อยากให้เรียนเชิญระดับผู้บริหารหรือผู้เกี่ยงข้องกับการพิจารณาอนุมัติแผนงงาน/โครงการ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เช่น นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น