โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 10

ประชุมร่วมคณะทำงานเขตและคณะทำงานอำเภอ เพื่อวางแผน/เตรียมการจัดกิจกรรม ติดตามความก้าวหน้า และสรุปผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 323 กรกฎาคม 2566
23
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

• กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมและชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดประชุมโดย น.ส.จงกลนี ศิริรัตน์ มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี (คณะทำงานกองทุนสุขภาพตำบล เขต 10) • ทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมา โดย นายรพินทร์ ยืนยาว มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี (คณะทำงานกองทุนสุขภาพตำบล เขต 10)
o โดยโครงการฯ มีแผนงาน ขั้นตอนและกระบวนการที่ดำเนินการมาแล้วคือ การประชุมร่วมคณะทำงานระดับเขตและคณะทำงานระดับอำเภอ เพื่อวางแผน/เตรียมการจัดกิจกรรม ติดตามความก้าวหน้า และสรุปผลการดำเนินงาน, ชี้แจงเป้าหมายการดำเนินงานโครงการและสานความร่วมมือ (MOU) เพื่อขับเคลื่อนประเด็นสุขภาวะ 8 ประเด็น, ชี้แจงทำความเข้าใจและพัฒนาทักษะการเก็บข้อมูลและจัดทำแผนงานสุขภาวะ 8 ประเด็นให้กับพี่เลี้ยงกองทุน, การสนับสนุนการจัดเก็บข้อมูลและการจัดทำแผน 8 ประเด็นยุทธศาสตร์ คือ 1. การจัดการระบบอาหาร 2. การเพิ่มกิจกรรมทางกาย 3. การจัดการปัจจัยเสี่ยงเหล้า บุหรี่ สารเสพติด 4. การจัดการปัญหาความปลอดภัยทางถนน 5. สุขภาพจิต 6. มลพิษทางอากาศ 7. การจัดการขยะ 8. การป้องกันโรคอุบัติใหม่  และการพัฒนาทักษะพี่เลี้ยงกองทุนเพื่อให้สามารถจัดทำแผนงาน พัฒนาโครงการและเสนอโครงการ  ติดตามประเมินผลโครงการในระบบเว็บไซต์ มาแล้ว 1 ครั้ง ในพื้นที่เขต 10 จำนวน 5 อำเภอ 3 จังหวัด (พื้นที่ดำเนินการ 32 แห่ง) • นำเสนอและร่วมแลกเปลี่ยนความคืบหน้าการเขียนแผนงานและโครงการ ภายหลังจากการพัฒนาทักษะการจัดทำแผนงาน/โครงการ ให้กับพี่เลี้ยงกองทุนและการเขียนข้อเสนอโครงการในระบบเว็บไซต์
ครั้งที่ 1 โดย คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับอำเภอและตำบล o ตำบลโนนสำราญ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ได้แผนงาน  10 ด้าน และนำไปสู่การพัฒนากองทุนสุขภาพตำบล โดยบางเรื่องได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก อบต.โนนสำราญ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ และบางเรื่องเป็นเรื่องที่ทางท้องถิ่นดำเนินการอยู่แล้ว และบางเรื่องต้อของบประมาณจากกองทุนฯ เพื่อดำเนินการในพื้นที่ แต่มีปัญหาอุปสรรคในการกรอกข้อมูลผ่านทางระบบเว็บไซต์ เนื่องจาก ผู้ปฏิบัติงานและผู้ลงข้อมูลในระบบอาจจะเป็นคนละคนกัน และมีข้อเสนอแนะว่าให้สามารถเข้าไปแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบเว็บไซต์ได้ตลอดเวลา เพื่อให้ข้อมูลของโครงการมีรายละเอียดมากขึ้น เพราะเมื่อมีการกดอนุมัติโครงการแล้วจะไม่สามารถเข้าไปแก้ไขได้ o ตำบลหนองเหล่า อำเภอม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี แรกเริ่มได้มีการนำข้อมูลเข้าระบบเว็บไซต์ได้จำนวน 10 โครงการ แต่เมื่อมีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงระดับอำเภอและตำบลเพื่อเขียนแผนและโครงการในระบบเว็บไซต์ ก็ได้ทราบว่าการกรอกข้อมูลเกี่ยวกับโครงการบางส่วนยังไม่ถูกต้องและไม่สอดคล้องตามประเด็นปัญหา และพบปัญหาสรรคในการดำเนินงานคือโครงการที่ได้รับการอนุมัติ แต่ไม่ใช้ประเด็นตามแผนงานสุขภาวะ 8 ประเด็น ก็ไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ ในระบบเว็บไซต์
o ตำบลเหล่าบก อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี แผนงานที่ได้กรอกในระบบเว็บไซต์ มี 8 แผนงาน 15 โครงการ  มีโครงการด้านการจัดการขยะ การป้องกันโรคติดต่อ กิจกรรมทางการโดยการส่งเสริมการออกกำลังกายผู้สูงอายุ การจัดการความปลอดภัยทางถนน โครงการงานบุญปลอดเหล้า โดยได้มีการพัฒนาโครงการและบางกิจกรรมตามโครงการหรือแผนงานที่เราเขียนไปนั้น ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ
o ตำบลสร้างถ่อ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี เนื่องจากผู้บันทึกข้อมูลจะเป็นคณะทำงานจาก อบต.สร้างถ่อ อ.เขื่องใน จ.อุบลฯ แต่ข้อมูลที่บันทึกในโครงการนั้นจะมาจากหลากหลายภาคส่วนร่วมกันเขียนโครงการ เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ อสม. สถานศึกษา (โรงเรียน) รพ.สต. ตำบลสร้างถ่อ มีการพัฒนาแผนงานโครงการ เช่น กิจกรรมทางกาย มีการเขียนโครงการ 17 โครงการ (ดำเนินการทุกหมู่บ้าน) ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสุขภาพตำบล ประเด็นเรื่องยาเสพติด/ยาสูบ/สุรา มี 2 โครงการ ประเด็นความปลอดภัยทางถนน มีการร่วมเขียนโดยกลุ่มประชาชนในพื้นที่ ประเด็นมลพิษทางอากาศ จัดทำในนามหมู่บ้าน และได้รับงบประมาณสนับสนุนเพิ่มเติมจาก อบต.สร้างถ่อ ด้วย ส่วนแผนงานด้านสุขภาพจิต ผู้ดำเนินงานจะมีทีม อสม. และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในพื้นที่ร่วมเขียนโครงการด้วย กิจกรรมทางกาย ส่งเสริมกิจกรรมทางกายผู้สูงอายุ โดยทาง อบค.มีการร่วมสนับสนุนงบประมาณเพื่อให้กิจกรรมต่างๆ ดำเนินการต่อไปได้ รวมถึงการช่วยเขียนแผนงาน โครงการ ทำให้กิจกรรมในพื้นที่มีความหลากหลาย o ตำบลตระกาจ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ พื้นที่ตำบลตระกาจ มีการทำงานที่สอดคล้องกับประเด็นสุขภาวะอยู่แล้ว แต่เมื่อเขียนแผนงาน/โครงการในระบบเว็บไซต์ อาจจะมีชื่อแผนงาน/โครงการที่ไม่สอดคล้องกับประเด็นสุขภาวะทั้ง 8 และ อบต.ตระกาจ ก็มีการกระจายงบประมาณเพื่อสนับสนุนแผนงานตามนโยบายด้วย
o ตำบลกู่จาน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร มีการดำเนินการ 4 แผนงาน คือ แผนงานสุขภาพจิต แผนงานโรคอุบัติใหม่ แผนงานมลพิษและสิ่งแวดล้อม แผนงานความปลอดภัยทางถนน โดยเป็นแผนงานที่ยกระดับจากการสนับสนุนงบประมาณของกองทุนพัฒนาสุขภาพตำบล แต่ในการกรอกข้อมูลทางระบบเว็บไซต์ พบปัญหาเนื่องจากการกรอกข้อมูลชื่อโครงการจะไม่ตรงกับแผนงานของท้องถิ่น จึงแก้ปัญหาโดยการนำแผนงานของท้องถิ่นเข้าสู่ระบบเว็บไซต์ใน เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินการต่อไปได้ และเชื่อมโยงความสอดคล้องแผนงานของพื้นที่และแผนงานที่ขอสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสุขภาพตำบล o ตำบลสงเปือย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร ก่อนที่จะมีการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบเว็บไซต์กองทุนพัฒนาสุขภาพตำบลนั้น ทางท้องถิ่นได้มีการจัดทำแผนสุขภาพก่อน เพื่อให้เห็นว่าในพื้นที่มีประเด็นปัญหาเรื่องใด และจะได้มีการเขียนแผนงาน/โครงการที่สอดคล้องกับปัญหาในพื้นที่ ซึ่งได้แผนที่สอดคล้องกับประเด็นในพื้นที่และประเด็นสุขภาวะ 2 แผน คือ เรื่องปัญหาสุขภาพจิตและประเด็นสิ่งเสพติด
• ข้อเสนอแนะ
o เพื่อให้แผนงาน/โครงการมีความครอบคลุมทั้ง 8 ประเด็นสุขภาวะ เห็นว่าถ้าได้มีการทำงานหรือปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง ท้องถิ่น รพ.สต. จะทำให้เห็นว่ามีโครงการที่สอดคล้องตามประเด็นสุขภาวะอยู่แล้ว และมีการดำเนินการอยู่ แต่ไม่ได้นำมาเป็นแผนงาน/โครงการ ที่ขอสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสุขภาพตำบล ซึ่งถ้าได้มีการประชุมร่วมกันอาจจะได้แผนงาน/โครงการที่สอดคล้องกับประเด็นสุขภาวะ และสามารถนำไปบูรณาการพื่อทำงานร่วมกันได้ o จากการเขียนแผนงาน/โครงการในระบบเว็บไซต์ จะพบมีปัญหาเรื่องการกรอกข้อมูลอยู่  เช่น การกรอกชนาดของปัญหา ซึ่งหลายพื้นที่อาจจะยังไม่เข้าใจในรายละเอียดส่วนนี้ แต่ก็มีหลายพื้นที่ที่สามารถกรอกได้อย่างสมบูรณ์  จึงอยากให้มีโมเดลหรือแผนภาพขั้นตอนการกรอกข้อมูลตั้งแต่เริ่มต้นจนสมบูรณ์ จะสามารถช่วยให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น
• แนะนำขั้นตอน การติดตามโครงการทางระบบเว็บไซต์ โดย นายวินัย วงษ์อาสา (คณะทำงานกองทุนสุขภาพตำบล เขต 10) • ร่วมวางแผนและออกแบบกำหนดการประชุมเขิงปฏิบัติการ : พัฒนาพี่เลี้ยงระดับอำเภอและตำบลเพื่อเขียนแผนและโครงการในระบบเว็บไซต์ ครั้งที่ 2 โครงการ “บูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน” ในพื้นที่เขต10 o เป้าหมาย/วัตถุประสงค์การจัดการประชุม : เพื่อสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและแลกเปลี่ยนบทเรียนการดำเนินงานในการพัฒนาแผนงาน/โครงการปี 2566  และร่วมกันวางแผนงานโครงการระยะต่อปี 2567
o ผู้เข้าร่วม : ประกอบด้วย คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับอำเภอและระดับตำบลในพื้นที่เขต 10 จำนวน 5 อำเภอ 3 จังหวัด (พื้นที่ดำเนินการ 32 แห่ง) o กระบวนการสำคัญ : 1) คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับอำเภอและระดับตำบลรายงานผลการดำเนินงานโครงการฯ ที่ผ่านมาในภาพรวม  2) คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับอำเภอและระดับแลกเปลี่ยนบทเรียนโครงการที่ดีแผนที่ดีของตำบล เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพื้นที่ตำบลอื่นๆ 3) การเติมเต็มข้อมูลและแนวทางการพัฒนาแผนงาน/โครงการ การติดตามแผนงาน/โครงการที่มีคุณภาพของคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับอำเภอและระดับตำบล

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

• ผลลัพธ์เชิงปรอมาณ ผู้เข้าร่วมจำนวน 25 คน ประกอบด้วย พี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบลระดับอำเภอและระดับตำบลจากพื้นที่ 5 อำเภอ 3 จังหวัด • ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ จากการประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมการประชุมเขิงปฏิบัติการ : พัฒนาพี่เลี้ยงระดับอำเภอและตำบลเพื่อเขียนแผนและโครงการในระบบเว็บไซต์ ครั้งที่ 2 โครงการ “บูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน” ในพื้นที่เขต10 พบว่า พื้นที่ดำเนินการพื้นที่เขต 10 จำนวน 5 อำเภอ 3 จังหวัด (พื้นที่ดำเนินการ 32 แห่ง) มีความคืบหน้าในการเขียนแผนงาน/โครงการในระบบเว็บไซต์ โดยมีคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับอำเภอและระดับตำบลช่วยพัฒนาศักยภาพผู้เขียนแผนงาน/โครงการ โดยการมีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วน เช่น ท้องถิ่น สถานศึกษา อสม. ประชาชนทั่วไป และมีการยกระดับศักยภาพคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับอำเภอและระดับตำบลในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการจับคู่ (BUDDY) คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับอำเภอและระดับตำบลใกล้เคียง • ได้กำหนดการประชุมเขิงปฏิบัติการ : พัฒนาพี่เลี้ยงระดับอำเภอและตำบลเพื่อเขียนแผนและโครงการในระบบเว็บไซต์ ครั้งที่ 2 โครงการ “บูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน” ในพื้นที่เขต10 ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 เวลา  08.00 - 16.00 น. ณ ห้องประชุมอิ่มบุญ 1 โรงแรมบ้านสวนคุณตา กอล์ฟ แอนด์ รีสอร์ท อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี