โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 10

เวทีชี้แจงทำความเข้าใจเครื่องมือเก็บข้อมูลและจัดทำแผนงานให้กับพี่เลี้ยงกองทุน อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ15 กุมภาพันธ์ 2566
15
กุมภาพันธ์ 2566รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • กล่าวต้อนรับและมอบหมายแนวนโยบายที่เกี่ยวข้องประเด็นในการขับเคลื่อน 8 ประเด็นสุขภาวะกับประเด็นยุทธศาสตร์ ของ พชอ.
    โดยนายศักดิ์สิน กุลบุตรดี สาธารณสุขอำเภอกันทรลักษ์
  • ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดประชุม สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และนำเสนอการเก็บข้อมูลของกองทุนตำบลแต่ละพื้นที่ โดยนายสงกา  สามารถ วิทยากรคณะทำงาน/พี่เลี้ยงระดับเขต
  • วิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหาสุขภาวะของชุมชน แต่ละพื้นที่ โดยนายรพินทร์ ยืนยาว วิทยากรคณะทำงาน/พี่เลี้ยงระดับเขต
  • แบ่งกลุ่ม ฝึกปฏิบัติการ “พัฒนาทักษะการเก็บข้อมูล”โดย นายวินัย วงศ์อาสา วิทยากรคณะทำงาน/พี่เลี้ยงระดับเขต
  • สรุปผลการประชุมนัดหมายกิจกรรมต่อไปและปิดประชุม
    ทีมพี่เลี้ยงสรุป AAR ร่วมกัน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พื้นที่เป้าหมาย 7 กองทุน ได้แก่
1. กองทุนฯองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสำราญ - มี 11 หมู่บ้าน - กลุ่มวัยเด็ก เก็บข้อมูลนักเรียนประถมกับมัธยมต้น  โรงเรียน 2 แห่ง (โรงเรียนละ 20 คน) และอบต.สุ่มเก็บเองบางส่วน - (วัยทำงาน) เก็บข้อมูลระดับบุคคลและครัวเรือนร่วมกับเวทีประชาคม เฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างตามประชากร/ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน
- ผู้สูงอายุ มอบให้ CG เก็บข้อมูล (แบ่งออกเป็น 2 โซน) และอบต.สุ่มเก็บเองบางส่วน
- รวบรวมข้อมูลระดับชุมชน/กองทุน ขอข้อมูลจาก รพ.สต. ชุมชน อบต. (ข้อมูลใหม่ ได้แก่ สุรา บุหรี่) *งานที่ทำมาก่อนแล้ว ได้แก่ การลดอุบัติเหตุทางถนน

  1. กองทุนองค์การบริหารส่วนตำบลกุดเสลา

- มี 16 หมู่บ้าน เฉลี่ยทุกหมู่บ้านๆละ 13 ชุด
- ใช้เวทีประชุมสภา อบต.ชี้แจงการเก็บข้อมูล โดยใช้ทีม
ส.อบต.เป็นทีมเก็บข้อมูล

  1. กองทุนองค์การบริหารส่วนตำบลรุง

- มี 10 หมู่บ้าน เก็บข้อมูลเฉลี่ยหมู่บ้านละ 20 ชุด - แต่งตั้งคณะทำงาน 10 หมู่บ้านๆละ 2 คน (คัดเลือก อสม.) - มีการประชุมชี้แจงการเก็บข้อมูล

  1. กองทุนองค์การบริหารส่วนตำบลตระกาจ

- มี 12 หมู่บ้าน (บ้านม่วง 8 ศรีอุดม 4)
- ทีมเก็บโดย อสม. หมู่บ้านละ 1-2 คน - มีโครงการขยะเปียกในชุมชน (จัดกิจกรรมพร้อมกับเก็บข้อมูลด้วย) - ในกลุ่มวัยเด็ก (สุ่มในโรงเรียนมัธยม)

  1. กองทุนองค์การบริหารส่วนตำบลขนุน

- มี 15 หมู่บ้าน ใช้การสุ่มตัวอย่าง เน้นให้เกิดการกระจายของข้อมูล หมู่บ้านละ 15-20 ชุด
- มี 2 รพ.สต. เลือก อสม.เป็นทีม(5 คน) โดยมีการชี้แจงการเก็บข้อมูล และให้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเป็นทีม

  1. กองทุนองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำอ้อม

- มี 9 หมู่บ้าน เฉลี่ยตามจำนวนประชากร/ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน - เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มในชุมชนและผู้มาติดต่อราชการในอบต.
- ทีมคณะทำงาน 5 คน เป็นทีมเก็บข้อมูล

  1. กองทุนเทศมนตรีตำบลสวนกล้วย

- มี 12 หมู่บ้าน เฉลี่ยตามหมู่บ้านๆละ 20 ชุด
- ทีมเก็บข้อมูลมาจาก 2 รพ.สต. เลือกทีม อสม. 2 คนต่อ รพ.สต. (ลงเก็บข้อมูลเป็นทีม) *สร้างความเข้าใจกับทีมก่อน

  • คณะทำงานกองทุนฯ ได้บันทึกข้อมูลแบบสอบถามเข้าในระบบเว็บไซต์ ซึ่งสามารถดูผลความก้าวหน้าการบันทึกข้อมูล ดังนี้
    ชื่อกองทุน จำนวนการกรอกข้อมูล (ชุด) บุคคล (200) ครัวเรือน (100) ชุมชน (1) กองทุนฯ ทต.สวนกล้วย 193 235 1 กองทุนฯ อบต.โนนสำราญ 104 207 1 กองทุนฯ อบต.กุดเสลา 200 200 - กองทุนฯ อบต.รุง 150 200 1 กองทุนฯ อบต.ตระกาจ 150 200 1 กองทุนฯ อบต.ขนุน 102 204 1 กองทุนฯ อบต.น้ำอ้อม 124 200 1
  • คณะทำงานกองทุนฯ เข้าไปสร้างแผนงานสุขภาพปี 2566  ในระบบเว็บไซต์ จำนวน 10 แผน และได้วิเคราะห์ข้อมูลโครงการที่ควรจะดำเนินงานในแต่ละแผนงาน อย่างน้อย 5 โครงการ เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับการพัฒนาโครงการต่อไป
  • นัดหมายจัดกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชนเพื่อจัดทำแผนงานและโครงการสุขภาวะ วันที่ 29 มีนาคม 2566