directions_run

โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 10

เวทีชี้แจงทำความเข้าใจเครื่องมือเก็บข้อมูลและจัดทำแผนงานให้กับพี่เลี้ยงกองทุน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร

เวทีชี้แจงทำความเข้าใจเครื่องมือเก็บข้อมูลและจัดทำแผนงานให้กับพี่เลี้ยงกองทุน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร

14 กุมภาพันธ์ 2566
ประชาสังคม-10ประชาสังคม-10
รายงานจากพื้นที่
Project owner
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • กล่าวต้อนรับและมอบหมายแนวนโยบายที่เกี่ยวข้องประเด็นในการขับเคลื่อน 8 ประเด็นสุขภาวะกับประเด็นยุทธศาสตร์ ของ พชอ.
    โดยนายอิสระ ยาวะโนภาส สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
  • ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดประชุม สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และนำเสนอการเก็บข้อมูลของกองทุนตำบลแต่ละพื้นที่ โดยนายสงกา  สามารถ วิทยากรคณะทำงาน/พี่เลี้ยงระดับเขต
  • วิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหาสุขภาวะของชุมชน แต่ละพื้นที่ โดยนายรพินทร์ ยืนยาว วิทยากรคณะทำงาน/พี่เลี้ยงระดับเขต
  • แบ่งกลุ่ม ฝึกปฏิบัติการ “พัฒนาทักษะการเก็บข้อมูล”โดย นายวินัย วงศ์อาสา วิทยากรคณะทำงาน/พี่เลี้ยงระดับเขต
  • สรุปผลการประชุมนัดหมายกิจกรรมต่อไปและปิดประชุม
    ทีมพี่เลี้ยงสรุป AAR ร่วมกัน
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สาธารณสุขอำเภอได้กล่าวต้อนรับและการเชื่อมโยงการทำงานของกองทุนตำบลลกับ พชอ. ดังนี้ประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับจังหวัด (พชจ.) และระดับอำเภอ (พชอ.) ล้วนมีความเชื่อมโยงกัน และอยู่ในกรอบการพัฒนาแผนงานกองทุนสุขภาพตำบล 8 ประเด็น ในปัจจุบันทิศทางการพัฒนางานกองทุนตำบล มุ่งเน้นให้เกิดผลลัพธ์นั่นคือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ส่งผลต่อสุขภาพได้จริง ดังนั้นการทำโครงการต่างๆจะต้องมีข้อมูลสถานการณ์ปัญหาสุขภาพ และมีการติดตามประเมินผลโครงการให้เห็นผลการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน การสร้างทีมงานในแต่ละกองทุนมีความสำคัญมาก แม้จะเกิดการโยกย้ายก็ยังสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับทีมงานคนอื่นๆได้
  2. สรุปผลการดำเนินการเก็บข้อมูลของกองทุนตำบลทั้ง 8 กองทุน ดังนี้
  3. กองทุนฯ อบต.สงเปือย ดำเนินการเก็บข้อมูลดังนี้ ประชุมคณะทำงานเพื่อออกแบบและวางแผนการเก็บข้อมูล โดยคัดเลือกตัวแทน อสม. หมู่บ้านละ 1 เป็นผู้ดำเนินการจัดเก็บ (9 คน) การกำหนดกลุ่มตัวอย่างให้ข้อมูได้คำนวณเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน โดยกลุ่มตัวอย่างระดับบุคคล กับระดับครัวเรือน (แยกกัน) มีรายชื่อบุคคลให้กับทีมเก็บข้อมูล (เพื่อประโยชน์ในการเก็บข้อมูลหลังการดำเนินงาน) ส่วนข้อมูลระดับชุมชน/กองทุน แจกให้กับผู้นำชุมชนช่วยกรอกข้อมูล
  4. กองทุนฯ อบต.เหล่าไฮ ดำเนินการเก็บข้อมูลดังนี้ คณะทำงานกำหนดกลุ่มตัวอย่างให้ข้อมูลเฉลี่ยให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน คัดเลือกตัวแทน อสม. หมู่บ้านละ 1 คนเป็นผู้ดำเนินการเก็บข้อมูลและรวบรวมส่งที่ รพ.สต.เขตพื้นที่รับผิดชอบ
  5. กองทุนฯ อบต.นาคำ ดำเนินการเก็บข้อมูลดังนี้ ตำบลนาคำมี 6 หมู่บ้าน คำนวณกลุ่มตัวอย่างให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน ประมาณหมู่บ้านละ 25 – 28 ชุด เฉลี่ยตามประชาการครอบคลุมทุกหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างช่วงอายุ 18 – 64 ปี และ 65 ปีขึ้นไป จะให้ทีม CG แต่ทุกหมู่บ้านเป็นผู้ดำเนินการเก็บข้อมูล ส่วนช่วงอายุ 5 – 17 ปี ทีมคณะทำงานดำเนินการเก็บข้อมูลในโรงเรียน 3 แห่ง และคณะทำงานเป็นรวบรวมข้อมูลระดับชุมชน/กองทุน
  6. กองทุนฯ อบต.กู่จาน ดำเนินการเก็บข้อมูลดังนี้ ตำบลกู่จานมี 12 หมู่บ้าน ได้คำนวนกำหนดกลุ่มตัวอย่างประชากรเฉลี่ยตามประชาการครอบคลุมทุกหมู่บ้าน คัดเลือกทีมเก็บข้อมูล อสม.หมู่บ้านละ 1 คน เจ้าหน้าที่ อบต.รวบรวมข้อมูลระดับชุมชน/กองทุน โดยเข้าขอข้อมูลจากหน่วยงานราชการในพื้นที่(รร.+ชุมชน+รพ.สต.) และได้มีการกรอกข้อมูลในระบบก่อนแล้ว โดยมีทีมกรอกข้อมูล 4 คน (เจ้าหน้าที่ อบต.) กรอกข้อมูลในระบบเสร็จแล้ว
  7. กองทุนฯ อบต.โพนทัน ดำเนินการเก็บข้อมูลดังนี้ ตำบลโพนทันมี 5 หมู่บ้าน กำหนดกลุ่มตัวอย่างเฉลี่ยตามจำนวนประชาการให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน เฉลี่ยหมู่บ้านละ 50 ชุด โดยมีคณะทำงาน 5 คนเป็นผู้เก็บรับผิดชอบหมู่บ้านละ 1 คน (อบต.+รพ.สต.) ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเองและรวบรวมมาลงข้อมูลในระบบ
  8. กองทุนฯ ทต.ดงแคนใหญ่ ดำเนินการเก็บข้อมูลดังนี้ ตำบลดงแคนใหญ่มี 13 หมู่บ้าน คำนวนกลุ่มตัวอย่างให้ข้อมูลเฉลี่ยหมู่บ้านละ 10 – 14 ชุด (บ้านใหญ่เล็ก) โดยแบ่งเป็นกลุ่มช่วงอายุ 5 – 17 ปี จะเก็บที่โรงเรียน 2 แห่ง (จำนวน 50 ชุด) ส่วนกลุ่มช่วง 18 ปีขึ้นไปเก็บตามที่กำหนดกลุ่มตัวอย่าง โดยมีทีมเก็บข้อมูล คือ เจ้าหน้าที่เทศบาล 5 คน และรวบรวมข้อมูลระดับชุมชน
  9. กองทุน อบต.ทุ่งมน ดำเนินการเก็บข้อมูลดังนี้ ตำบลทุ่งมนมี 9 หมู่บ้าน กำหนดกลุ่มตัวอย่างงให้ข้อมูลโดยเฉลี่ยตามประชาการให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านเฉลี่ยประมาณหมู่บ้านละ 22 – 24 ชุด โดยให้ประธาน อสม. ประจำหมู่บ้านละ 1 คน เป็นผู้ดำเนินการเก็บข้อมูล ในส่วนข้อมูลระดับชุมชนเป็นทีมคณะทำงาน 3 คน เป็นทีมรวบรวมรวบรวมข้อมูลระดับชุมชน/กองทุน
  10. คณะทำงานกองทุนฯ ได้บันทึกข้อมูลแบบสอบถามเข้าในระบบเว็บไซต์ ซึ่งสามารถดูผลความก้าวหน้าการบันทึกข้อมูล ดังนี้
    ชื่อกองทุน จำนวนการกรอกข้อมูล (ชุด) บุคคล (200) ครัวเรือน (100) ชุมชน (1) กองทุนฯ ทต.ดงแคนใหญ่ 201 143 - กองทุนฯ อบต.นาคำ 212 154 1 กองทุนฯ อบต.กู่จาน 202 100 1 กองทุนฯ อบต.ทุ่งมน 139 83 - กองทุนฯ อบต.โพนทัน 204 101 1 กองทุนฯ อบต.สงเปือย 196 71 1 กองทุนฯ อบต.เหล่าไฮ 173 120 -
    1. คณะทำงานกองทุนฯ เข้าไปสร้างแผนงานสุขภาพปี 2566 ในระบบเว็บไซต์ จำนวน 10 แผน และได้วิเคราะห์ข้อมูลโครงการที่ควรจะดำเนินงานในแต่ละแผนงาน อย่างน้อย 5 โครงการ เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับการพัฒนาโครงการต่อไป
    2. นัดหมายจัดกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชนเพื่อจัดดทำแผนงานและโครงการสุขภาวะ วันที่ 28 มีนาคม 2566
รายงานการใช้เงิน
ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆรวมรายจ่ายสถานะ
5,500.00 0.00 9,720.00 0.00 0.00 20,150.00 35,370.00 lock_open