โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 10

เวทีชี้แจงเป้าหมายการดำเนินงานโครงการและลงนามความร่วมมือ (MOU) ระดับอำเภอเขื่องใน จ.อุบลราชธานี16 มกราคม 2566
16
มกราคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ชี้แจงรายละเอียดโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน
  2. แลกเปลี่ยนให้ข้อมูลการบริหารจัดการกองทุนหลักประสุขภาพท้องถิ่น ปี 2566
  3. พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)
  4. วางแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนการบูรณาการกลไกสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ชี้แจงรายละเอียดโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ  สุธีรวุฒิ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครรินทร์

- สุขภาพ คือ สุข+ภาวะ หมายถึง ภาวะที่เป็นสุข
- พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ นิยามคำว่าสุขภาพ ประกอบด้วย โรคทางกาย (สุขภาพกาย+สุขภาพจิต) โรคทางจิตวิญญาณ (สุขภาพทางสังคม+สุขภาพทางจิตวิญญาณ/ปัญญา) - ปัญหาสุขภาพในชุมชน 1. ปัจจัยเสี่ยง (เหล้า บุหรี่ สารเสพติด/อุบัติเหตุ/มลพิษสิ่งแวดล้อม/โรคอุบัติใหม่/สุขภาพจิต)
2. โรคเรื้อรัง (อาหาร/กิจกรรมทางกาย) - ตัวอย่างความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพในพื้นที่ ระดับความรุนแรงของสารเสพติดที่สร้างอันตรายและเสียหายต่อคน พบว่า เหล้ามีคะแนนความรุนแรงสูงที่สุด มากกว่ายาเสพติด
- แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพ 1) กรรมการกองทุนมีความรู้ 2) กองทุนมีแผน (มีข้อมูลสถานการณ์ปัญหาที่ชัดเจน) 3) มีโครงการที่มีคุณภาพ

  1. แลกเปลี่ยนให้ข้อมูลการบริหารจัดการกองทุนหลักประสุขภาพท้องถิ่น ปี 2566 ผู้แทนจากสำนักงาหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 10

- การปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรของ สปสช.เขต ให้มีการแบ่งกลุ่มจังหวัด 2 กลุ่ม - รพ.สต.ที่ถ่ายโอน ยังได้รับงบประมาณสมทบจาก สปสช.เหมือนเดิม - โครงการ สสส.จะเข้ามาหนุนเสริมพัฒนางานกองทุน ให้เกิดโครงการที่มีคุณภาพและพัฒนานวัตกรรมของงานกองทุนได้มากขึ้น
- ระเบียบเกี่ยวกับกองทุนฯที่ปรับใหม่
1) ต้องมีการขออนุมัติแผนการใช้จ่ายงบกองทุน เมื่อ สปสช.อนุมัติแผนแล้วจึงจะโอนงบสมทบ
2) แผนกองทุน ต้องเอาปัญหาพื้นที่เป็นตัวตั้ง โดยต้องมีความเชื่อมโยงกับปัญหาของชุมชน (ใช้ข้อมูลจากหน่วยบริการ รพ.สต. และใช้กระบวนการประชาคม นำข้อมูลปัญหาสุขภาพ มาเรียงลำดับความสำคัญ) เพื่อมุ่งให้เกิดการ สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของประชาชนได้จริง
3) ไม่ให้มีเงินค้างเกิน 2 เท่า
4) เพิ่มหมวดที่ 6 ให้จัดสรรงบในการซื้อผ้าอ้อมผู้ใหญ่ได้ (ผู้ป่วยเฉพาะราย)
5) หลังเดือนมีนาคมของทุกปี กองทุนสามารถของบสมทบจาก สปสช.เพิ่มได้ โดยกองทุนต้องสมทบเพิ่ม 100%


  1. วางแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนการบูรณาการกลไกสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ

    -  แนวทางการสำรวจข้อมูล
      1) คัดเลือกทีมพี่เลี้ยงหลัก จาก 2 ส่วน ได้แก่ อปท.+รพ.สต. (อย่างน้อย 5 คนต่อกองทุน)   2) คัดเลือกทีมเก็บข้อมูล (อย่างน้อย 5 คนต่อกองทุน)   3) กำหนดเก็บข้อมูลให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 10 ก.พ.2566
      4) นัดหมายกรอกข้อมูลในระบบออนไลน์และสร้างแผนงาน วันที่ 13 ก.พ.2566

  2. พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)

- พื้นที่เป้าหมาย 8 กองทุน ได้แก่
1. กองทุนฯ อบต.สร้างถ่อ
2. กองทุนฯ อบต.หัวดอน
3. กองทุนฯ อบต.ยางขี้นก
4. กองทุนฯ อบต.บ้านไทย
5. กองทุนฯ อบต.โนนรัง
6. กองทุนฯ อบต.หนองเหล่า
7. กองทุนฯ อบต.ธาตุน้อย 8. กองทุนฯ อบต.ชีทวน 

5.การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น - อ.เขื่องใน เข้าร่วมขับเคลื่อนตำบลสุขภาวะกับ สสส.สำนัก 3
- ปลัดตำบลหัวดอน มีการขับเคลื่อนประเด็นสิ่งแวดล้อม และประเด็นปัญหาอื่นๆมีความท้าทาย ในการแก้ไขปัญหาแต่ละประเด็นได้ดำเนินการมายาวนาน และเกิดนวัตกรรม คือ ธรรมนูญอยู่ดีมีสุข (ประเด็นงานศพปลอดเหล้าและการจัดการขยะ  เป็นต้น)
- ปลัดตำบลสร้างถ่อ การเก็บข้อมูลที่ผ่านมาอาจมีความน่าเชื่อถือเพียง 50% เท่านั้น ปัญหาสำคัญคือทีมวิชาการสนับสนุนในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปสู่การวางแผนในการแก้ไขปัญหา
- ปัญหาสังคมที่หนักมากที่สุด คือ การแพร่ระบาดของเสพติด(ยาบ้า) - ประเด็นสุรา ถามเฉพาะช่วงอายุ 15-25 ปี หรือไม่?
- แนวทางการประสานงาน ขอให้มีการตั้งกลุ่มไลน์เฉพาะ      8 กองทุนที่ร่วมดำเนินการ