โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 9

ประชุมสรุปบทเรียนการดำเนินงานและทิศทางการพัฒนากองทุนตำบล18 พฤษภาคม 2567
18
พฤษภาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย ผู้รับผิดชอบเขต 9
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ชี้แจงวัตถุประสงค์การสรุปบทเรียน เพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการเกิดผลตามเป้าหมายโครงการมากน้อยเพียงใด ประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนจะที่สามารถพัฒนาเป็นกองทุนต้นแบบ และข้อเสนอแนะในการทำงานหนุนเสริมพัฒนาศักยภาพการจัดทำแผน การพัฒนาโครงการและการติดตามประเมินผลของกองทุนสุขภาพตำบล
  2. กระบวนการสรุปบทเรียน สนทนากลุ่มย่อย
  3. สรุปผลการสรุปบทเรียน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

บทเรียนการพัฒนาขีดความสามารถคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น     1. การประชุมชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการกองทุน และสถานการณ์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของชุมชน ในประเด็น ดังนี้     1.1 ความเข้าใจกับคำว่า สุขภาพ คือ สุข+ภาวะ หมายถึง ภาวะที่เป็นสุข สถานการณ์สุขภาพชุมชนและปัญหาสุขภาพในชุมชนมาจากปัจจัยเสี่ยง (เหล้า บุหรี่ สารเสพติด/อุบัติเหตุ/มลพิษสิ่งแวดล้อม/โรคอุบัติใหม่/สุขภาพจิต) และโรคเรื้อรัง (อาหาร/กิจกรรมทางกาย)
    1.2 แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นหรือพื้นที่ ได้แก่ ส่งเสริมให้กรรมการกองทุนฯ มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในระบบสุขภาพชุมชน ทำให้กองทุนฯ มีแผนการดำเนินงาน รู้สถานการณ์และวางเป้าหมายได้ มีโครงการที่มีคุณภาพสอดคล้องกับแผน มีการติดตามประเมินผลเพื่อปรับปรุงแผน พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนและสอบถามเป้าหมายการดำเนินโครงการกับการหนุนเสริมการบริหารจัดการกองทุนหลักประสุขภาพท้องถิ่น ปี 2566
            1.3 ให้ข้อมูลการดำเนินงานของกองทุนฯ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรของ สปสช.เขต ให้มีการแบ่งกลุ่มจังหวัด 2 กลุ่ม รพ.สต.ที่ถ่ายโอน ยังได้รับงบประมาณสมทบจาก สปสช.เหมือนเดิม โครงการ สสส.จะเข้ามาหนุนเสริมพัฒนางานกองทุน ให้เกิดโครงการที่มีคุณภาพและพัฒนานวัตกรรมของงานกองทุนได้มากขึ้น ระเบียบเกี่ยวกับกองทุนฯที่ปรับใหม่     1.4 ทั้ง 5 กองทุนต้องมีการขออนุมัติแผนการใช้จ่ายงบกองทุน เมื่อ สปสช.อนุมัติแผนแล้วจึงจะโอนงบสมทบและแผนกองทุนต้องเอาปัญหาพื้นที่เป็นตัวตั้ง โดยต้องมีความเชื่อมโยงกับปัญหาของชุมชน(ใช้ข้อมูลจากหน่วยบริการ รพ.สต. และใช้กระบวนการประชาคม นำข้อมูลปัญหาสุขภาพ มาเรียงลำดับความสำคัญ) เพื่อมุ่งให้เกิดการ สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของประชาชนได้จริง ที่สำคัญกองทุนต้องไม่ให้มีเงินค้างเกิน 2 เท่า โดยเพิ่มหมวดที่ 6 ให้จัดสรรงบในการซื้อผ้าอ้อมผู้ใหญ่ได้ (ผู้ป่วยเฉพาะราย) หลังเดือนมีนาคมของทุกปี กองทุนสามารถของบสมทบจาก สปสช.เพิ่มได้ โดยกองทุนต้องสมทบเพิ่ม 100%     1.5 เป้าหมายและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับการเข้าร่วมโครงการ คือ คณะกรรมการกองทุนฯ ได้พัฒนาศักยภาพตนเอง และการเก็บข้อมูลท้องถิ่น เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการพัฒนา ได้นำข้อมูลไปพัฒนาเขียนโครงการ เพื่อตอบสนองท้องถิ่น ตอบโจทย์ตัวชี้วัด สอดคล้องกับความต้องการของแหล่งทุน
    2. การเก็บรวบรวมข้อมูล คณะทำงานได้วางแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนการบูรณาการกลไกสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ
    3. ฝึกปฏิบัติการเขียน คณะผู้ดำเนินโครงการได้ฝึกอบรมปฏิบัติการให้คณะกรรมการทั้ง 5 กองทุน
            3.1 ผู้เขียนโครงการจำเป็นต้องฟังเสียงสะท้อนจากกลุ่มผู้ส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่เกี่ยวกับประเด็นการโครงว่า "มีมุมมองอย่างไร มีศักยภาพอะไร มีปัญหาข้อจำกัดอะไร" ที่ต้องใช้การโครงการเข้ามาช่วยแก้ปัญหา
          3.2 จัดทำข้อเสนอโครงการต่อแหล่งทุน โดยทบทวนแผนยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง (ฉบับปัจจุบัน)
          3.3 เขียนวัตถุประสงค์ โดยนำชื่อโครงการมาแยกย่อยเป็นข้อ ๆ  เช่น เพื่อวิเคราะห์ เพื่อพัฒนา เพื่อสร้าง เพื่อเพิ่ม เป็นต้น เพื่อให้เห็นถึงความเชื่อมระหว่างวัตถุประสงค์ กับ ชื่อโครงการ
          3.4 วิธีการดำเนินงาน ผู้จะทำโครงการ ต้องเข้าใจว่า จะใช้การพัฒนาอะไร รูปแบบใด ใช้เครื่องมืออะไร พัฒนาอะไรบ้าง มีกลุ่มเป้าหมายใครบ้าง มีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร เกิดผลอย่างไร ผู้เขียนโครงการ           3.5 กิจกรรมโครงการต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์โครงการ โดยผู้จัดทำโครงการอาจจะนำ วัตถุประสงค์มาตั้ง จำแนก แยกย่อยออกมาเป็นกิจกรรม หนึ่งวัตถุประสงค์ อาจจะมี 3-4 กิจกรรม เพื่อให้ผู้ประเมิน หรือ ทรงคุณวุฒิ หรือ ผู้พิจารณาทุนได้มองเห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างวัตถุประสงค์กับกิจกรรมโครงการ           3.6 กำหนดผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากโครงการ ผู้เขียนโครงการควรเขียนออกเป็น 5 ประการ 1. ด้านวิชาการได้อะไร (ตีพิมพ์ หนังสือ ตำรา หลักสูตร)  2. ด้านสังคม ชุมชน ได้อะไร (ความสัมพันธ์ คุณภาพชีวิต แหล่งอาหาร รายได้เพิ่ม) 3. ด้านสิ่งแวดล้อมได้อะไร (สิ่งแวดล้อมดีขึ้น การลดการใช้เคมี ปรับตัวเข้ากับปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม) 4. ด้านพาณิชย์ได้อะไร (เกิดการกระจายรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ เกิดผลิตภัณฑ์ที่ขายได้)  5. ด้านนโยบายได้อะไร (ถูกบรรจุไว้ในแผนงบประมาณประจำปีหน่วยงานภาคีภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม)
            3.7 ตอบสนองกลุ่มเป้าหมาย คือ สุดท้ายปลายโครงการที่ดำเนินการนั้น ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะกลับไปตอบกลุ่มผู้ส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ทั้งด้านวิชาการ ด้านสังคมชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านพาณิชย์ ด้านนโยบาย เป็นต้น
    4. ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาการพัฒนากองทุนสุขภาพระดับท้องถิ่นเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพในชุมชน โดยเฉพาะในการทำให้บริการสุขภาพเข้าถึงได้ง่ายและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างตรงจุด คณะทำงานข้อเสนอมุมมองต่อการพัฒนากองทุนในอนาคต             4.1 การศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของชุมชน ควรมีการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้คณะทำงานกองทุนเข้าใจปัญหาของชุมชนทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพผ่านการจัดเวทีระดับตำบล
            4.2 การสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายท้องถิ่น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งการดำเนินการที่ผ่านมายังขาดมิติการสานสัมพันธ์เชิงลึก พร้อมทั้งการทำงานที่ลงไปคลุกคลี่กับพื้นที่อย่างจริงจัง             4.3 การจัดการทุนด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม กองทุนบางก็ทุนมักเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มคนที่คุ้นเลย ทำประเด็นเดิม ๆ ไม่ได้สร้างความแตกต่างที่เกิดขึ้น การแก้ไขปัญหาจึงไม่ได้สร้างมิติใหม่ให้เกิดความแตกต่างจากเดิม
            4.4 การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรสุขภาพให้การสนับสนุนการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพในท้องถิ่น เพื่อให้มีความสามารถในการให้บริการที่ดีขึ้นและตอบสนองความต้องการของประชาชน