โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 9

ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนงานและพัฒนาโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น29 เมษายน 2566
29
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย ผู้รับผิดชอบเขต 9
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. กล่าวต้อนรับและชี้แจงวัตถุ เป้าหมายการดำเนินงาน  โดย รศ.อุทิศ  ทาหอม อาจารย์ประจำสาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  2. สรุปผลการเก็บข้อมูลและจัดทำการบันทึกข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชนลงในระบบเว็บไซต์เพื่อจัดทำแผนงาน  โดย นายสงกา  สามารถ ผู้ประสานงานและพี่เลี้ยงระดับเขต
  3. ชี้แจงขั้นตอนการเติมเต็มข้อมูลแผนงานในระบบเว็บไซต์ให้สมบูรณ์ และแบ่งกลุ่มปฏิบัติการจัดทำข้อมูลแผนงานในระบบเว็บไซต์ให้สมบูรณ์ โดย ดร.สำราญ  ธุระตา อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  4. บรรยาย หลักการเขียนโครงการ “เขียนโครงการอย่างไรถูกใจแหล่งทุน” โดย รศ.อุทิศ  ทาหอม อาจารย์ประจำสาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  5. สรุปผลการดำเนินงานและวางแผนปฏิบัติการกิจกรรมครั้งต่อไป
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นเป้าหมายทั้ง 5 กองทุน ได้คัดเลือกที่จัดทำข้อมูลแผนงานให้ครบถ้วนสมบูรณ์ กองทุนละ 3 แผน และจะพัฒนาโครงการภายใต้แผนงานละ 2 โครงการ ดังนี้
    1.1 กองทุนฯ เทศบาลตำบลบึงเจริญ  อ.บ้านกวาด จ.บุรีรัมย์  จัดทำแผนงานผู้สูงอายุ  แผนงานโรคเรื้อรัง และแผนงานขยะ         1.2 กองทุนฯ อบต.ถลุงเหล็ก อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ จัดทำแผนงานผู้สูงอายุ แผนงานกิจกรรมทางกาย และแผนงานขยะ         1.3 กองทุนฯ อบต.โคกสะอาด อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ จัดทำแผนงานความปลอดภัยทางถนน แผนงานขยะ และแผนงานกิจกรรมทางกาย
            1.4 กองทุนฯ อบต.โคกกลาง อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ จัดทำแผนงานความปลอดภัยทางถนน แผนงานขยะ และแผนงานกิจกรรมทางกาย
            1.5 กองทุนฯ เทศบาลตำบลโนนเจริญ อ.บ้านกวาด จ.บุรีรัมย์ จัดทำแผนงานกิจกรรมทางกาย แผนงานขยะ และแผนงานอาหารและโภชนาการ
  2. คณะทำงานที่รับมอบหมายเป็นแอดมินดูแลระบบกองทุนๆ ละ 2 คน สามารถบันทึกข้อมูลและจัดทำแผนงานในระบบได้ครบถ้วนสมบูรณ์ และวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาสุขภาพจากข้อมูลในแผนงานเพื่อมาจัดทำการพัฒนาโครงการได้
  3. คณะทำงานแต่ละกองทุนได้ช่วยกันวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำโครงการที่ควรจะดำเนินการได้อย่างน้อย 5 โครงการต่อแผนงาน และจะได้นำโครงการที่ควรจะดำเนินการไปพัฒนาเป้นโครงการต่อไป
  4. คณะทำงานทุกคนมีความรู้ความเข้าใจหลักการเขียนโครงการให้ถูกใจแหล่งทุน หรือเขียนโครงการให้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ซึ่งสามารถนำความรู้มาพัฒนาโครงการให้มีคุณภาพในระบบเว็บไซต์ได้