โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 9

ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการเก็บข้อมูลและจัดทำแผนงานสุขภาวะชุมชน กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์4 มีนาคม 2566
4
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย ผู้รับผิดชอบเขต 9
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. กล่าวต้อนรับและแนวทางการสนับสนุนบริการวิชาการมหาวิทยาลัยกับชุมชน
  2. ชี้แจงวัตถุประสงค์การดำเนินงานและทบทวนแผนการดำเนินงานที่ผ่านมา
  3. กองทุนสรุปผลการดำเนินงานเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน
  4. ดำเนินการบันทึกข้อมูลแผนงานสถานการณ์สุขภาพชุมชนและโครงการที่ควรดำเนินการ ในระบบเว็บไซต์
  5. สรุปผลการดำเนินงานและวางแผนปฏิบัติการกิจกรรมครั้งต่อไป
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลที่เกิดขึ้น
1. สรุปผลการดำเนินการเก็บข้อมูลของกองทุนตำบลทั้ง 8 กองทุน ดังนี้
1. กองทุนฯ เทศบาลตำบลบึงเจริญ อ.บ้านกวาด จ.บุรีรัมย์ ดำเนินงานเก็บข้อมูล ดังนี้ 1) ประชุมคณะทำงาน ประกอบด้วย นายก อบต. ปลัด อบต. ผอ.รพ.สต. 2 แห่ง และทีมเลขานุการ เพื่อออกแบบและวางแผนการเก็บข้อมูล กำหนดกลุ่มตัวอย่างเก็บข้อมูลตามช่วงอายุและเขตรับผิดชอบ โดยข้อมูลระดับบุคคลและครัวเรือนจะเก็บข้อมูล ดังนี้ ช่วงอายุ 18 – 64 ปี  และ 65 ปีขึ้นไปเฉลี่ยหมู่บ้านละ 12 ชุด (13 หมู่บ้าน) ส่วนช่วงอายุ 5 – 17 ปี เก็บกับเด็กนักเรียนมีอยู่ 4 โรงเรียนเฉลี่ยโรงเรียนละ 13 ชุด โดยให้ ผอ.โรงเรียนเป็นหลักดำเนินการเก็บข้อมูล  ส่วนข้อมูลระดับชุมชนคณะทำงานจำนวน 5 คนเป็นทีมรวบรวมข้อมูล 2) คณะทำงานรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามและกรอกบันทึกข้อมูลในระบบเว็บไซต์
2. กองทุนฯ อบต.ถลุงเหล็ก อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ดำเนินการเก็บข้อมูล ดังนี้ แบ่งการเก็บข้อมูลระดับบุคคลช่วงอายุ 5 – 17 ปี เก็บข้อมูลช่วงที่มีการอบรมสภาเด็กและเยาวชน จำนวน 50 คน เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ช่วงอายุ 65 ปีขึ้น เก็บกับผู้สูงอายุที่เข้ามาร่วมกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน ส่วนช่วงอายุ 18 – 64 ปี เฉลี่ยเก็บหมู่บ้าน 7 ชุด (16 หมู่บ้าน) โดยมอบให้ประธานชมรมผู้สูงอายุแต่ละหมู่บ้านเป็นคนดำเนินการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างและเก็บข้อมูล
3. กองทุนฯ อบต.โคกสะอาด อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ดำเนินการเก็บข้อมูล ดังนี้ ประชุมคณะทำงานเพื่อออกแบบและวางแผนการเก็บข้อมูล โดยตำบลโคกสะอาดมี 16 หมู่บ้าน จึงให้เจ้าหน้าที่ใน อบต. รับผิดชอบการเก็บข้อมูลหมู่บ้านละ 1 คน เฉลี่ยหมู่บ้านละ 18 – 20 ชุด แบ่งตามเกณฑ์ช่วงอายุ ดังนี้ 5 – 17 ปี หมู่บ้านละ 4 ชุด 18 – 64 ปี หมู่บ้านละ 13 ชุด และ 65 ปีขึ้นไป หมู่บ้านละ 8 ชุด ส่วนข้อมูลระดับชุมชน ทีมคณะทำงานจะเป็นหลักในการเก็บข้อมูล
4. กองทุนฯ อบต.โคกกลาง อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ดำเนินการเก็บข้อมูล ดังนี้ ประชุมทีมคณะทำงานและทีมเก็บข้อมูล เพื่อออกแบบวางแผนการเก็บข้อมูลและชี้แจงทำความเข้าใจแบบเก็บข้อมูลให้กับประธาน อสม.ประจำหมู่บ้าน เพื่อเป็นหลักการเก็บข้อมูลประจำหมู่บ้าน เฉลี่ยชุดเก็บข้อมูลหมู่บ้านละ 13 ชุด (16 หมู่บ้าน) เฉลี่ยตามเกณฑ์อายุที่กำหนด ในส่วนข้อมูลระดับชุมชนมีทีมเจ้าหน้าที่ของ อบต.ดำเนินการจัดเก็บข้อมูล
5. กองทุนฯ เทศบาลตำบลโนนเจริญ อ.บ้านกวาด จ.บุรีรัมย์ ดำเนินการเก็บข้อมูล ดังนี้ ตำบลโนนเจริญมี 11 หมู่บ้าน มีทีมเก็บข้อมูลเป็น อสม. หมู่บ้านละ 1 คน เป็นผู้เก็บข้อมูล โดยได้เฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างการเก็บข้อมูลตามเกณฑ์หมู่บ้านละ 19 ชุด ตามช่วงอายุ ดังนี้
หมู่ 1 – 6  ช่วงอายุ 5-17 ปี 5 ชุด 18 – 64 ปี 14 ชุด 65 ปีขึ้นไป 4 ชุด
หมู่ 7 – 11 ช่วงอายุ 5-17 ปี 4 ชุด 18 – 64 ปี 14 ชุด 65 ปีขึ้นไป 5 ชุด
2. คณะทำงานกองทุนฯ ได้บันทึกข้อมูลแบบสอบถามเข้าในระบบเว็บไซต์ ซึ่งสามารถดูผลความก้าวหน้าการบันทึกข้อมูล ดังนี้
ชื่อกองทุน จำนวนการกรอกข้อมูล (ชุด)
กองทุนฯ ทต.บึงเจริญ บุคคล 204 ชุด ครัวเรือน 100 ชุด ชุมชน 1 ชุด กองทุนฯ ทต.โนนเจริญ บุคคล 203 ชุด ครัวเรือน 100 ชุด ชุมชน 1 ชุด กองทุนฯ อบต.ถลุงเหล็ก บุคคล 200 ชุด ครัวเรือน 100 ชุด ชุมชน - ชุด
กองทุนฯ อบต.โคกสะอาด บุคคล 200 ชุด ครัวเรือน 100 ชุด ชุมชน 1 ชุด
กองทุนฯ อบต.โคกกลาง  บุคคล 202 ชุด ครัวเรือน 192 ชุด ชุมชน 1 ชุด
3. คณะทำงานกองทุนฯ เข้าไปจัดทำโครงการที่ควรจะดำเนินการในแผนงานสุขภาพปี 2566 ในระบบเว็บไซต์ กองทุนละไม่น้อยกว่า 3 แผนงาน และได้วิเคราะห์ข้อมูลโครงการที่ควรจะดำเนินงานในแต่ละแผนงาน อย่างน้อย 5 โครงการ เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับการพัฒนาโครงการต่อไป
4. นัดหมายจัดกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชนเพื่อจัดดทำแผนงานและโครงการสุขภาวะ วันที่ 1 เมษายน 2566