โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 7

ประชุมสรุปบทเรียน และประเมินคุณค่าโครงการในระบบเว็บไซต์กองทุนตำบล (กองทุนขยายผล)16 กรกฎาคม 2567
16
กรกฎาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย อภิรดี ดอนอ่อนเบ้า
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.นำเสนอสรุปผลการดำเนินงานโครงการ
2.ระดมความคิดเห็นสรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลประชุมสรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการ
1.นำเสนอสรุปผลการดำเนินงานโครงการ
1.การขับเคลื่อนโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน ในพื้นที่กองทุนขยายผล ทั้งหมด 5 กองทุน ประกอบด้วย อำเภอเมือง ได้แก่ ทต.เหนือ, ทต.ห้วยโพธิ์, ทต.โพนทอง อำเภอนามน อบต.หนองบัว และ ทต.สงเปลือยทุกกองทุนมีการเก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์สุขภาพใน 10 ประเด็น ทั้งในปี 66 และ 67 ครบทุกกองทุน  และได้นำข้อมูลสถานการณ์สุขภาพของกองทุนมาพัฒนาแผนงาน/โครงการ ได้อย่างน้อยกองทุนละ 3 โครงการ และได้รับการสนับสนุนและติดตามโครงการเป็นที่เรียบร้อย 2.สถานการณ์การพัฒนาแผนงาน/โครงการในระบบเว็บไซต์  พบว่า ทุกกองทุนได้ดำเนินการนำโครงการที่พัฒนาในระบบเว็บไซต์ไปดำเนินการเป็นที่เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว เป็นจำนวนทั้งสิ้น 15 โครงการ 2.ระดมความคิดเห็นสรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการ โดยใช้คำถาม 4 คำถาม ดังนี้
1) ความคาดหวังที่มีต่อโครงการ -คณะกรรมการกองทุนสามารถนำข้อมูลสถานการณ์ไปใช้ในการวางแผนงาน/โครงการ และพัฒนาโครงการเข้าสู่การขอรับการสนับสนุนจากกองทุนตำบล -คณะกรรมการกองทุน/ผู้เข้าร่วมโครงการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกองทุนพื้นที่ศูนย์เรียน และนำมาดำเนินการในพื้นที่กองทุนตนเอง -ได้ตัวอย่างโครงการนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพมาประยุกต์การดำเนินงานในพื้นที่ 2) ผลที่เกิดขึ้นจริง (สิ่งที่เป็นไปตามที่คาดหวัง/สิ่งที่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง) -ได้นำข้อมูลสถานการณ์สุขภาพไปใช้ในการวางแผนงาน/โครงการ เพื่อเสนอเข้าสู่กองทุนสุขภาพตำบลในพื้นที่ตนเอง กองทุนละ 3 โครงการ รวมทั้งสิ้น 15 โครงการและดำเนินการกรอกข้อมูลในระบบเว็บไซต์เป็นที่เรียบร้อย
-ได้เรียนรู้แผนงาน/โครงการสุขภาพจากเขตอื่นๆ จากการเรียนรู้โครงการในระบบเว็บไซต์กองทุนตำบล
3) ปัจจัยความสำเร็จและไม่สำเร็จ -ระบบเว็บไซต์ข้อมูลตำบลมีความละเอียด โดยประกอบด้วยข้อมูลสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ 10 ประเด็น ทำให้คณะกรรมการกองทุนและผู้ที่เสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณกองทุนตำบลสามารถนำข้อมูลไปใช้อ้างอิงในการพัฒนาโครงการได้อย่างเป็นระบบ
-ประเด็นสถานการณ์สุขภาพทั้ง 10 ประเด็น มีความสอดคล้องกับประเด็นการขับเคลื่อนกับกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ทำให้ พชอ.เห็นความสำคัญของการใช้ระบบข้อมูลในเว็บไซต์ขับเคลื่อนแผนงาน/โครงการกองทุนระดับตำบลและแผนอำเภอ - เจ้าหน้าที่กองทุนบางแห่งเคยเข้าร่วมโครงการนี้มาก่อนจึงทำให้มีประสบการณ์และความคล่องตัวในการใช้ระบบเว็บไซต์ได้ดี 4) ข้อเสนอแนะ - ควรบูรณาการระหว่างเว็บไซต์ ทปอ. และเว็บไซต์กองทุนตำบล ให้เป็น 1 ฐานข้อมูลและให้ สปสช.ทุกเขตประกาศใช้ร่วมกัน เพื่อลดความกังวลในด้านการบริหารจัดการของคณะกรรมการกองทุนตำบลต่อการพิจารณาโครงการ และลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน - ควรมีเวทีทำความเข้าใจอาสาสมัครเก็บข้อมูลในการใช้ระบบเว็บไซต์กองทุนในการเก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ และใช้ในการดำเนินงานของกองทุนตำบลอย่างเป็นรูปธรรม - ควรมีมาตรการให้ทุกกองทุนมีการเก็บข้อมูลสถานการณ์เข้าสู่ระบบเว็บไซต์ โดยมีแผนสนับสนุนการสำรวจข้อมูล หรือทบทวนข้อมูลสถานการณ์สุขภาพเป็นประจำทุกปี