task_alt

ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก อำเภอละงู จังหวัดสตูล

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ชุมชน บ้านบ่อเจ็ดลูก ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง 61-ข-058

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 มิถุนายน 2561 ถึง 15 มีนาคม 2562

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กรกฎาคม 2561 ถึงเดือน พฤษภาคม 2562

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ร่วมประชุมรับฟังคำชี้แจงรายละเอียดการดำเนินโครงการ

วันที่ 13 กรกฎาคม 2561 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ทบทวนสถานการณ์ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม ปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินงานท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ปัจจัยที่ 1 คน
ด้านความรู้
• คนในชุมชน o มีการถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาซึ่งกันและกันส่งผลให้วัฒนธรรมได้รับการฟื้นฟู   o มีทักษะในการจัดการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น   o มีการจัดระบบคิดเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น • คนภายนอกชุมชน   o ได้รับการเรียนรู้และประสบการณ์จากการร่วมทำกิจกรรมการท่องเที่ยวในชุมชน   o กลุ่มนักท่องเที่ยวทั่วไปได้รับความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดการปรับตัวระหว่างการท่องเที่ยว และเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเดินทางในครั้งถัดไป • ภาครัฐและเอกชน   o การดำเนินงานในส่วนการพัฒนาและธุรกิจส่งผลให้ภาครัฐและเอกชนมีเข้าใจอัตลักษณ์ชุมชนมากยิ่งขึ้น

ด้านพฤติกรรม พฤติกรรมคนในชุมชนและผู้มาเยือน • คนในชุมชน   o มีการปรับพฤติกรรมในการต้อนรับเพื่อสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวภายใต้วิถีชีวิตดีขึ้น   o เกิดความเห็นแก่ตัวและมองเรื่องผลประโยชน์มากกว่าความสัมพันธ์ที่ดีภายในชุมชน • นักท่องเที่ยว   o กลุ่มเฉพาะ (Need market) ให้ความสนใจและลึกซึ้งกับกิจกรรมการท่องเที่ยวในชุมชน   o กลุ่มทั่วไป (Mass Tourist) ต้องการความสะดวกสบายในด้านบริการ เช่น ห้องพัก ยานพาหนะ เป็นต้น ซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้วิถีชีวิตของชุมชน
• หน่วยงานภาครัฐและเอกชน   o นักธุรกิจแสวงหาผลประโยชน์

ด้านความเชื่อ
• ชาวบ้านมีความเชื่อมั่นในตนเองมากยิ่งขึ้น • บ่อเจ็ดลูก • หลักคำสอนศาสนาอิสลาม

ด้านกลุ่มวัย การดำเนินงานมีหลายกลุ่มและหลากหลายวัย ซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกัน • คนในชุมชน   o กลุ่มผู้สูงอายุ ทำหน้าที่เป็นวิทยากรภูมิปัญญา   o กลุ่มผู้ใหญ่ทำหน้าที่เป็นผู้นำและให้คำปรึกษา
  o กลุ่มเยาวชนทำหน้าที่เป็นผู้นำเที่ยวและพัฒนาแหล่ง • นักท่องเที่ยวเข้ามาสร้างความรับผิดชอบต่อชุมชน (CSR) • หน่วยงานภาครัฐและเอกชน

ปัจจัยที่ 2 สภาพแวดล้อม
ด้านสิ่งแวดล้อม ชายทะเล อุทยานธรณีโลก ด้านวิถีชีวิต ประมงพื้นบ้านและเกษตรกร ด้านการเมืองท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน ด้านกฎกติกา ข้อตกลงร่วมของชุมชน
  • ห้ามแต่งตัวไม่สุภาพ   • ห้ามนำสุราของมนเมา   • ห้ามใช้โฟม   • ห้ามนำพันธ์ไม้ออกจากชุมชน   • ห้ามบุคคลเข้ามาในยามวิกาลก่อนได้รับอนุญาต   • ห้ามนำชู้สาวเข้าพักในรีสอร์ท ด้านเศรษฐกิจ
  1. การท่องเที่ยว   2. ประมงพื้นบ้าน   3. เกษตร ด้านประเพณี วัฒนธรรม  ภายใต้หลักคำสอนศาสนาอิสลาม ด้านการสื่อสาร
  1. Social Media
  2. แสดงนิทรรศการ   3. ออกบูธงานท่องเที่ยวโดยชุมชน ด้านเศรษฐกิจการจ้างงาน รายได้ มีการกระจายรายได้ในกลุ่มอาหาร เรือ นำเที่ยว ที่พัก เป็นหลัก รายได้รอง จากกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ ร้านอาหารและร้านขายของชำ อาหารเข้า ในชุมชน และกลุ่มประมงพื้นบ้าน

ปัจจัยที่ 3 ด้านสังคม
  1.ศักยภาพคนในชุมชนด้านการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพิ่มมากยิ่งขึ้น มีการถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาซึ่งกันและกันส่งผลมีทักษะในการจัดการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น ดังนั้นชาวบ้านในชุมชนที่ดำเนินการท่องเที่ยวจึงมีระบบคิดเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ ชาวบ้าน   2. สร้างการเรียนรู้และประสบการณ์จากกิจกรรมการท่องเที่ยว การจัดกิจกรรมจะให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและฟื้นฟูวัฒนธรรมเพื่อการสร้างการเรียนรู้และประสบการณ์ให้กับคนในชุมชนกันเองและผู้มาเยือน ชาวบ้าน นักท่องเที่ยว หน่วยงานภาครัฐและเอกชน   3. ความเข้มแข็งชุมชนลดน้อยลง เมื่อทุกคนในชุมชนมีความรู้และทักษะเพิ่มมากขึ้นแล้วนำมาแสวงหาผลประโยชน์ส่งผลให้การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานภาพรวมลดน้อยลง ส่งผลโดยตรงในด้านการพัฒนา ชาวบ้าน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน

ปัจจัยที่ 4 ด้านเศรษฐกิจ   1.รายได้เสริม มีรายได้เสริมมากว่ารายได้หลัก กระจายรายได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม   2.ของฝากของที่ระลึก ไม่มีของฝากภายใต้อัตลักษณ์ชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมกลุ่มย่อยเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม ปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินงานท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมกลุ่มย่อยเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม ปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินงานท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล

 

2 10

2. จัดประชุมเพื่อชี้แจงการดำเนินโครงการกับแกนนำของชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก

วันที่ 16 กรกฎาคม 2561 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำรายละเอียดความเชื่อมโยงของ ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนระดับชาติ/ระดับภาคใต้/ระดับโซนอันดามัน/ระดับจังหวัด/ระดับชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

แผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจชาติ ฉบับ 12 มุ่งเน้นการสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำทางด้านสังคม โดยการเสริมศักยภาพด้านเศรษฐกิจชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางการเงินฐานราก ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ชุมชนพึงพาตนเองได้ มีสิทธิ์ในการจัดการทุนที่ดินและทรัพยากรภายในชุมชน อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการเสริมความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ในยุทธศาสตร์ที่ 3 โดยการเสริมสร้างและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันภาคการผลิตและบริการ รวมถึงการท่องเที่ยวและพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนายุทศาสตร์ CBT 59-63 อพท. และแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (2560-2564) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน แผนการพัฒนาระบดับชาติเป็นแนวทางให้กับแผนยุทธศาสตร์ CBT อันดามัน และแผนท่องเที่ยวชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูกที่แผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก ที่ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ในชุมชน /สิ่งอำนวยความสะดวก ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านการให้บริการและความปลอดภัย ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาการตลาดและประชาสัมพันธ์ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน และยุทธศาสตร์ที่ 5 การอนุรักษ์ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ของชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำรายละเอียดความเชื่อมโยงของ โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ความสัมพันธ์ของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนระดับชาติ ระดับภาคใต้ ระดับโซนอันดามัน ระดับจังหวัด ระดับชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

รายละเอียดความเชื่อมโยงของ ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนระดับชาติ/ระดับภาคใต้/ระดับโซนอันดามัน/ระดับจังหวัด/ระดับชุมชน

 

10 10

3. จัดประชุมเพื่อเก็บข้อมูลการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนเพื่อกลั่นกรอง

วันที่ 28 กรกฎาคม 2561 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อวิเคระห์ผลกระทบเบื้องต้นจากยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลกระทบเบื้องต้นจากยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนทั้งระดับชาติ ระดับภาค ระดับโซนอันดามัน ระดับจังหวัด และระดับชุมชน กระทบด้านวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจของชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

• ร่วมวิเคราะห์และคาดการณ์ผลกระทบเบื้องต้นจากยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนทั้งระดับชาติ ระดับภาค ระดับโซนอันดามัน ระดับจังหวัด และระดับชุมชน
• สร้างความเชื่อมโยงของแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนระดับชาติระดับภาค ระดับโซน ระดับจังหวัด ระดับชุมชน และผลการคาดการณ์ผลกระทบเบื้องต้นที่เกิดจากการจัดการท่องเที่ยวชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

• ร่วมวิเคราะห์และคาดการณ์ผลกระทบเบื้องต้นจากยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนทั้งระดับชาติ ระดับภาค ระดับโซนอันดามัน ระดับจังหวัด และระดับชุมชน
• สร้างความเชื่อมโยงของแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนระดับชาติระดับภาค ระดับโซน ระดับจังหวัด ระดับชุมชน และผลการคาดการณ์ผลกระทบเบื้องต้นที่เกิดจากการจัดการท่องเที่ยวชุมชน

 

15 15

4. จัดประชุมเพื่อนำเสนอร่างเครื่องมือการประเมิน

วันที่ 21 กันยายน 2561 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อกำหนดขอบเขตด้านเนื้อหา พื้นที่ ระยะเวลา และจัดทำตัวชี้วัด เครื่องมือในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กำหนดขอบเขตด้านเนื้อหา พื้นที่ ระยะเวลา และจัดทำตัวชี้วัด เครื่องมือในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล
-ด้านเนื้อหาคือ ประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล -ด้านพื้นที่ คือศูนย์การเรียนรู้ ปราสาทหินพันยอด อ่าวมะขาม และบ่อเจ็ดลูก -ระยะเวลา 3 เดือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.ทีมประเมินวิเคราะห์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder analysis) ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล 2.ทีมประเมิน ร่วมกับตัวแทนกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วิเคราะห์ยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการ ของการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล เพื่อพิจารณาถึงผลกระทบของกิจกรรมต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยกำหนดสุขภาพ (ปัจจัยด้านคน สภาพแวดล้อม และระบบกลไก) และผลกระทบทางสุขภาพ สรุปประเด็นปัจจัยกำหนดสุขภาพที่เกิดจากยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล
3.ทีมประเมินสรุปประเด็นปัจจัยกำหนดสุขภาพที่สำคัญจากการดำเนินงานท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล และจัดทำร่างตัวชี้วัด และเครื่องมือในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล
4.ทีมประเมินจัดประชุมกลุ่มย่อย ระหว่างทีมประเมินและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการดำเนินงานท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก เพื่อให้ข้อเสนอแนะและรับฟังความเห็นจากร่างตัวชี้วัดที่กำหนด หลังจากนั้นทีมประเมินปรับปรุงร่างตัวชี้วัด เครื่องมือในการประเมินและนำมารับฟังความเห็นในกลุ่มใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยทีมประเมิน ทีมผู้รับผิดชอบแผนงาน โครงการ ยุทธศาตร์ และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอีกครั้ง
5. ทีมประเมินนำตัวชี้วัดที่ผ่านการพิจารณาจากข้อที่ 3 มาจัดทำรายละเอียดตัวชี้วัด  และพัฒนาเครื่องมือในการประเมินผล โดยกำหนดร่าง ตามประเด็นสำคัญคือ ตัวชี้วัด คำนิยาม เกณฑ์เป้าหมาย ประชากร/กลุ่มตัวอย่างเป้าหมาย วิธีการจัดเก็บข้อมูล แหล่งข้อมูล ระยะเวลาการประเมิน รายละเอียดการประเมิน วิธีการประเมิน เป็นต้น 6.ทีมประเมินจัดทำแผนการประเมิน ตามตัวชี้วัดและเครื่องมือที่กำหนด ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ทีมประเมินวิเคราะห์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder analysis) ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล 2.ทีมประเมิน ร่วมกับตัวแทนกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วิเคราะห์ยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการ ของการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล เพื่อพิจารณาถึงผลกระทบของกิจกรรมต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยกำหนดสุขภาพ (ปัจจัยด้านคน สภาพแวดล้อม และระบบกลไก) และผลกระทบทางสุขภาพ สรุปประเด็นปัจจัยกำหนดสุขภาพที่เกิดจากยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล
3.ทีมประเมินสรุปประเด็นปัจจัยกำหนดสุขภาพที่สำคัญจากการดำเนินงานท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล และจัดทำร่างตัวชี้วัด และเครื่องมือในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล
4.ทีมประเมินจัดประชุมกลุ่มย่อย ระหว่างทีมประเมินและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการดำเนินงานท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก เพื่อให้ข้อเสนอแนะและรับฟังความเห็นจากร่างตัวชี้วัดที่กำหนด หลังจากนั้นทีมประเมินปรับปรุงร่างตัวชี้วัด เครื่องมือในการประเมินและนำมารับฟังความเห็นในกลุ่มใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยทีมประเมิน ทีมผู้รับผิดชอบแผนงาน โครงการ ยุทธศาตร์ และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอีกครั้ง
5. ทีมประเมินนำตัวชี้วัดที่ผ่านการพิจารณาจากข้อที่ 3 มาจัดทำรายละเอียดตัวชี้วัด  และพัฒนาเครื่องมือในการประเมินผล โดยกำหนดร่าง ตามประเด็นสำคัญคือ ตัวชี้วัด คำนิยาม เกณฑ์เป้าหมาย ประชากร/กลุ่มตัวอย่างเป้าหมาย วิธีการจัดเก็บข้อมูล แหล่งข้อมูล ระยะเวลาการประเมิน รายละเอียดการประเมิน วิธีการประเมิน เป็นต้น 6.ทีมประเมินจัดทำแผนการประเมิน ตามตัวชี้วัดและเครื่องมือที่กำหนด ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

 

20 20

5. รายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ

วันที่ 5 ตุลาคม 2561 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรายงานความก้าวหน้าโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

นำเสนอผลการวิจัยของพื้นที่จังหวัดสตูล ผลการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก สามารถสรุปข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถามและข้อมูลเชิงคุณภาพจากแบบสัมภาษณ์ ตามเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และเชิงธรณีวิทยา โดยมีแหล่งท่องเที่ยวประกอบด้วย สถานที่บ่อเจ็ดลูก อ่าวโต๊ะบะ และเกาะเขาใหญ่ โดยการเก็บรวมรวมข้อมูลจากตัวแทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งแกนนำชุมชนด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก รวมถึงนักท่องเที่ยว สามารถสรุปผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนบ่อเจ็ดลูกได้ว่าการดำเนินงานการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูกภายใต้ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนในทุกระดับภาคมีผลกระทบทางสุขภาพมิติด้านสังคม มิติด้านสิ่งแวดล้อม และมิติทางเศรษฐกิจพื้นฐาน ในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ โดยผลกระทบเชิงบวกด้านสังคม มากที่สุด รองลงมาคือผลกระทบด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในชุมชน และสามารถสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้กับชุมชนมีความมั่นคง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

นำเสนอความก้าวหน้าของโครงการฯ

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่วมประชุมหารือกับทีมวิจัยในพื้นที่ อันดามันและรับงฟังการนำเสนอก้าวหน้าของแต่ละพื้นที่

 

2 2

6. รายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ

วันที่ 17 ธันวาคม 2561 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรายงานความก้าวหน้าโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

• ความถูกต้อง และความครบถ้วนของข้อมูลและข้อสรุปในรายงานการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก • รายงานรายงานการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนบ่อเจ็ดลุก และข้อเสนอแนะต่อการปรับปรุงยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวชุมชนบ่อเจ็ดลูกและโซนอันดามัน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

แบบสอบถามประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชน บ้านบ่อเจ็ดลูก อำเภอละงู จังหวัดสตูล แบบแบบสอบถามประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชน
บ่อเจ็ดลูก อำเภอละงู จังหวัดสตูลฉบับนี้ใช้เพื่อจัดเก็บข้อรวบรวมข้อมูลผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชน บ่อเจ็ดลูก อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก อำเภอละงู จังหวัดสตูล ผลการวิจัยครั้งนี้จะนำมาใช้เป็นแนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยกำหนดกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม ดังนี้ แกนนำชุมชนหรือตัวแทนชุมชนที่จัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูกตง ผู้ประกอบการนำเที่ยวหรือตัวแทน นักท่องเที่ยว และเจ้าหน้าที่หรือตัวแทนหน่วยงานภาครัฐซึ่ง พร้อมทั้งนักวิชาการด้านการท่องเที่ยว ดังนั้นผลการตอบแบบสอบถามของท่านจึงมีคุณค่าต่องานวิจัยเป็นอย่างยิ่ง ข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริงและสมบูรณ์จะช่วยให้งานวิจัยดำเนินไปด้วยความถูกต้อง ผู้วิจัยจึงใคร่ขอความอนุเคราะห์จากท่าน โปรดตอบคำถามด้วยความเป็นจริงและผู้วิจัยจะเก็บข้อมูลที่ได้ไว้เป็นความลับ โดยจะนำไปใช้เพื่อสรุปผลการวิจัยในภาพรวมเท่านั้น

คำชี้แจง แบบสอบถามประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้าน บ่อเจ็ดลูก อำเภอละงู จังหวัดสตูล 2 ตอนคือแบบสอบถามและข้อเสนอแนะ โดยการออกแบบสอบถามเกิดการการสังเคราะห์การดำเนินงานการท่องเที่ยวโดยชุมชนกรอปกับแนวคิดทฤษฎีการประเมินผลกระทบเชิงสุขภาพ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ จากการดำเนินการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการ ของการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล เพื่อพิจารณาถึงผลกระทบเชิงสุขภาพจากการดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา ของชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล ซึ่งสามารถจำแนกประเด็นการประเมินผลต่อการเปลี่ยนแปลงสุขภาพของคนในชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล โดยเก็บในพื้นที่เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา เนื่องจากเป็นเส้นทางที่ได้รับความนิยมของนักท่องเที่ยว โดยแบ่งตัวชี้วัดออกเป็น 3 มิติที่มีความสำคัญและซึ่งได้รับการยืนยันจากผู้ดำเนินงานการท่องเที่ยวในพื้นที่บ่อเจ็ดลูก มีรายละเอียดแต่ละมิติดังต่อไปนี้   1. มิติทางสังคม เป็นการประเมินผลกระทบความเข้มแข็งของชุมชนซึ่งเป็นผลมาจากความเชื่อในหลักคำสอนศาสนาอิสลามของชาวบ้าน และนักท่องเที่ยวในชุมชนบ่อเจ็ดลูก อีกทั้งยังเป็นการประเมินการดำเนินการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในทุกกลุ่มวัย รวมถึงการเคารพในกฎ กติกา ข้อตกลงร่วมกันของคนในชุมชน และนักท่องเที่ยว 2. มิติทางสิ่งแวดล้อม เป็นการประเมินการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นทางธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้นในประเด็นระบบการจัดการขยะบนแหล่งท่องเที่ยว ความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลน และการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาให้คงสภาพเดิมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 3. มิติทางเศรษฐกิจพื้นฐาน เป็นการประเมินผลภาวการณ์จ้างงานและการสร้างรายได้เสริมจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน

จากตัวชี้วัดในมิติข้างต้นสามารถแยกประเด็นในการประเมินผลกระทบสุขภาพจากการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล โดยมีเกณฑ์การวัดออกเป็น 6 ระดับโดยมีแนวคิดตามวิธีของลิเคร์ท (Likert) เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 6 ระดับ (Rating Scale) ดังต่อไปนี้ ระดับ 6 หมายถึง ผลกระทบมากที่สุด ระดับ 5 หมายถึง ผลกระทบมาก ระดับ 4 หมายถึง ผลกระทบค่อนข้างมาก ระดับ 3 หมายถึง ผลกระทบน้อย ระดับ 2 หมายถึง ผลกระทบน้อยมาก ระดับ 1 หมายถึง ผลกระทบน้อยมากที่สุด

รายละเอียดตัวชี้วัด และเครื่องมือ ในการประเมินทั้งเครื่องมือเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ และแผนการเก็บรวบรวมข้อมูล ตัวชี้วัดประกอบด้วยมิติทางสังคม จำนวน 16 ข้อ มิติทางสิ่งแวดล้อม จำนวน 15 ข้อ และ มิติทางเศรษฐกิจพื้นฐาน จำนวน 12 ข้อ



ปัจจัยกำหนดสุขภาพ ระดับผลกระทบ ปัจจัยหลัก ปัจจัยย่อย 6 5 4 3 2 1 1. มิติทางสังคม การดำเนินการท่องเที่ยวทำให้ชุมชนเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
ชาวบ้านในชุมชนมีสวนร่วมในการจัดการท่องเที่ยว
การดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนใช้หลักคำสอนศาสนาอิสลามเป็นแนวทางในการจัดการ
การท่องเที่ยวชุมชนทำให้เกิดการฟื้นฟูวัฒนธรรมชุมชน
การท่องเที่ยวทำให้คนในชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเพราะได้รับอิทธิพลจากสังคมภายนอก
ชาวบ้านในชุมชนมีเครือข่ายภายนอกเพิ่มมากขึ้น
ชุมชนมีภาพลักษณ์เชิงบวกมากขึ้น จากในอดีตภาพลักษณ์ชุมชนเป็นเชิงลบ
ชาวบ้านในชุมชนเคารพในกฎ กติกา และข้อตกลงร่วมกันของคนในชุมชน
ชาวบ้านมีความรักและหวงแหนทรัพยากรชุมชนมากยิ่งขึ้น
เปิดโอกาสในเข้าร่วมดำเนินงานให้ผู้สูงวัยหรือคนพิการ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี
เยาวชนมีแนวความคิดในการพัฒนาตนเองดีขึ้น เช่น ศึกษาต่อมากขึ้น กลับมาเรียนนอกระบบมากขึ้น
เยาวชนในชุมชนมีจิตสำนึกรักษ์บ้านเกิด มีการทำกิจกรรมเพื่อส่วนรวมมากขึ้น
การท่องเที่ยวสามารถสร้างงานให้เยาวชนส่งผลให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
การดำเนินงานการท่องเที่ยวโดยชุมชนส่งผลให้ยาเสพติดในชุมชนลดน้อยลง
นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา
นักท่องเที่ยวมีทัศนคติที่ดีต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์

  ปัจจัยกำหนดสุขภาพ ระดับผลกระทบ ปัจจัยย่อย ปัจจัยย่อย 6 5 4 3 2 1 2. มิติทางสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวโดยชุมชนส่งผลให้เกิดปัญหาขยะบนแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา (ปราสาทหินพันยอด อ่าวโต๊ะบ๊ะ)
การท่องเที่ยวโดยชุมชนส่งผลให้เกิดปัญหาขยะบนแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ (บ่อเจ็ดลูก ฐานการเรียนรู้การทำเสื่อเตยปาหนัน ฐานการเรียนรู้การทำหมวกตุดง)
การท่องเที่ยวโดยชุมชนส่งผลให้เกิดปัญหาขยะในชุมชน (รีสอร์ทชุมชนบ่อเจ็ดลูก บ้านเรือน สถานที่สาธารณะในชุมชน ถนนหนทาง)
การท่องเที่ยวส่งผลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าชายเลน ปะการัง ชายหาด พรรณไม้ และซากสัตว์ดึกดำบรรพ์
การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาให้คงสภาพเดิม
ชุมชนใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การท่องเที่ยวโดยชุมชนทำให้โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น
การท่องเที่ยวโดยชุมชนทำให้โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกได้รับการพัฒนาภายใต้ความสอดคล้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชน
การท่องเที่ยวโดยชุมชนทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง
นักท่องเที่ยวเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญกับการรักษาซากดึกดำบรรพ์ให้คงสภาพผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยว
การประกาศอุทยานธรณีโลกสตูลส่งผลให้ชุมชนเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว
การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเปิดโอกาสให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เยาวชนเข้าใจการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชนจากจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน
เยาวชนเกิดการหวงแหนสิ่งแวดล้อมชุมชนโดยเฉพาะซากดึกดำบรรพ์มากยิ่งขึ้น
  ปัจจัยกำหนดสุขภาพ ระดับผลกระทบ ปัจจัยย่อย ปัจจัยย่อย 6 5 4 3 2 1 3. มิติทางเศรษฐกิจพื้นฐาน ชาวบ้านมีรายได้เสริมจากการท่องเที่ยว
ชาวบ้านมีรายได้เสริมจากการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนมากกว่ารายได้หลัก
การจ้างงานในชุมชนเพิ่มมากขึ้น
มีการกระจายรายได้ทั่วทุกกลุ่มในชุมชน เยาวชน คนสูงอายุ
ผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ชุมชนมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น
ชาวบ้านได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น
ชาวบ้านมีพฤติกรรมด้านการใช้จ่ายเงินเปลี่ยนไป ฟุ่มเฟือยขึ้น
ลดอัตราการออกไปขายแรงงานนอกชุมชน
ชาวบ้านสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาชีพหลักของตนเองโดยเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน
เยาวชนมีรายได้เสริมจากการท่องเที่ยวเพื่อใช้จ่ายส่วนตัว
เยาวชนได้รับโอกาสจากการศึกษาในระดับสูงขึ้น
เยาวชนกลับมาทำงานในชุมชนมากยิ่งขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

นำเสนอรายงานความก้าวหน้าผลการกลั่นกรอง

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่วมรับฟังผลการศึกษาของพื้นที่อื่นๆและนำเสนอผลการศึกษาของจังหวัดสตูล

 

2 2

7. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนาม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

• เพื่อกำหนดขอบเขตด้านเนื้อหา พื้นที่ ระยะเวลา และจัดทำตัวชี้วัด เครื่องมือในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนชุมชนบ่อเจ็ดลูก • เพื่อให้ได้รายละเอียดตัวชี้วัด และเครื่องมือ ในการประเมินทั้งเครื่องมือเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ และแผนการเก็บรวบรวมข้อมูล

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูกในมิติทางสังคม พบว่า การดำเนินงานการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูกภายใต้ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนในทุกระดับภาคมีผลกระทบทางสุขภาพด้านสังคมเชิงบวก อยู่ในระดับ มาก (X=4.98) โดย ผลกระทบเชิงบวกที่มีระดับ มากที่สุด คือ การท่องเที่ยวสามารถสร้างงานให้เยาวชนส่งผลให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ (X=5.53) รองลงมาคือผลกระทบเชิงบวกที่มีระดับ มาก ประกอบด้วยผลกระทบในประเด็น นักท่องเที่ยวมีทัศนคติที่ดีต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ (X=5.47) ชาวบ้านในชุมชนมีเครือข่ายภายนอกเพิ่มมากขึ้น (X=5.37) นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา (X=5.33) ชาวบ้านมีความรักและหวงแหนทรัพยากรชุมชนมากยิ่งขึ้น (X=5.33) การท่องเที่ยวชุมชนทำให้เกิดการฟื้นฟูวัฒนธรรมชุมชน (X=5.23) เยาวชนในชุมชนมีจิตสำนึกรักษ์บ้านเกิด มีการทำกิจกรรมเพื่อส่วนรวมมากขึ้น (X=5.23) เปิดโอกาสในเข้าร่วมดำเนินงานให้ผู้สูงวัยหรือคนพิการ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี (X=5.13) เปิดโอกาสในเข้าร่วมดำเนินงานให้ผู้สูงวัยหรือคนพิการ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี (X=5.13) การดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนใช้หลักคำสอนศาสนาอิสลามเป็นแนวทางในการจัดการ (X=5.10) ชาวบ้านในชุมชนมีสวนร่วมในการจัดการท่องเที่ยว (X=5.03) ชาวบ้านในชุมชนเคารพในกฎ กติกา และข้อตกลงร่วมกันของคนในชุมชน (X=4.97) การดำเนินการท่องเที่ยวทำให้ชุมชนเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น (X=4.83) เยาวชนมีแนวความคิดในการพัฒนาตนเองดีขึ้น เช่น ศึกษาต่อมากขึ้น กลับมาเรียนนอกระบบมากขึ้น (X=4.73) และการท่องเที่ยวทำให้คนในชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเพราะได้รับอิทธิพลจากสังคมภายนอก (X=4.67) ตามลำดับ
สุดท้ายคือผลกระทบเชิงบวกที่มีระดับ ค่อยข้างมาก ซึ่งประกอบด้วยประเด็น การสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกให้กับชุมชนให้มีภาพลักที่ดีขึ้นจากในอดีตภาพลักษณ์ชุมชนเป็นเชิงลบด้านโจรกรรม (X=4.27) และ การดำเนินงานการท่องเที่ยวโดยชุมชนส่งผลให้ยาเสพติดในชุมชนลดน้อยลง (X=3.47) ตามลำดับ ผลการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูกในมิติทางส่งแวดล้อม พบว่า การดำเนินงานการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูกภายใต้ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนในทุกระดับภาคมีผลกระทบทางสุขภาพด้านสิ่งแวดล้อมเชิงบวก อยู่ในระดับ มาก (X=4.95) โดย ผลกระทบเชิงบวกที่มีระดับ มากที่สุด คือ เยาวชนเกิดการหวงแหนสิ่งแวดล้อมชุมชนโดยเฉพาะซากดึกดำบรรพ์มากยิ่งขึ้น (X=5.57) รองลงมาคือผลกระทบเชิงบวกที่มีระดับ มาก ประกอบด้วยผลกระทบในประเด็น การประกาศอุทยานธรณีโลกสตูลส่งผลให้ชุมชนเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว (X=5.43) การท่องเที่ยวโดยชุมชนทำให้โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น (X=5.20) การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเปิดโอกาสให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (X=5.20) ชุมชนใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (X=5.07) นักท่องเที่ยวเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยว (X=5.00) นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญกับการรักษาซากดึกดำบรรพ์ให้คงสภาพผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยว (X=5.00) เยาวชนเข้าใจการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชนจากจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน (X=4.97) การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาให้คงสภาพเดิม (X=4.93) การท่องเที่ยวโดยชุมชนทำให้โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกได้รับการพัฒนาภายใต้ความสอดคล้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชน (X=4.90) การท่องเที่ยวโดยชุมชนทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง (X=4.63) ตามลำดับ
สุดท้ายคือผลกระทบเชิงบวกที่มีระดับ ค่อยข้างมาก ซึ่งประกอบด้วยประเด็น การท่องเที่ยวโดยชุมชนส่งผลให้เกิดปัญหาขยะบนแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา (X=4.30) และการท่องเที่ยวส่งผลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าชายเลน ปะการัง ชายหาด พรรณไม้ และซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ (X=4.13) ตามลำดับ ผลการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูกในมิติทางเศรษฐกิจพื้นฐาน พบว่า การดำเนินงานการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูกภายใต้ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนในทุกระดับภาคมีผลกระทบทางสุขภาพด้านสิ่งแวดล้อมเชิงบวก อยู่ในระดับ มาก (X=4.88) โดย ผลกระทบเชิงบวกที่มีระดับ มากที่สุด คือ ชาวบ้านมีรายได้เสริมจากการท่องเที่ยว (X=5.57) รองลงมาคือผลกระทบเชิงบวกที่มีระดับ มาก ประกอบด้วยผลกระทบในประเด็น การจ้างงานในชุมชนเพิ่มมากขึ้น (X=5.33) มีการกระจายรายได้ทั่วทุกกลุ่มในชุมชน เยาวชน คนสูงอายุ (X=5.30) ชาวบ้านสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาชีพหลักของตนเองโดยเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน (X=4.97) ผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ชุมชนมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น (X=4.93) เยาวชนมีรายได้เสริมจากการท่องเที่ยวเพื่อใช้จ่ายส่วนตัว (4.90) เยาวชนได้รับโอกาสจากการศึกษาในระดับสูงขึ้น (X=4.73) ชาวบ้านมีรายได้เสริมจากการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนมากกว่ารายได้หลัก (X=4.70) ชาวบ้านได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น (X=4.63) ลดอัตราการออกไปขายแรงงานนอกชุมชน (X=4.63) และ เยาวชนกลับมาทำงานในชุมชนมากยิ่งขึ้น (X=4.63) ตามลำดับ สุดท้ายคือผลกระทบเชิงบวกที่มีระดับ ค่อยข้างมาก ซึ่งประกอบด้วยประเด็น ชาวบ้านมีพฤติกรรมด้านการใช้จ่ายเงินเปลี่ยนไป ฟุ่มเฟือยขึ้น (X=4.20) สรุปผลการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนชุมชนบ่อเจ็ดลูก เชิงปริมาณ พบว่า การดำเนินงานการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูกภายใต้ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนในทุกระดับภาคมีผลกระทบทางสุขภาพมิติด้านสังคม มิติด้านสิ่งแวดล้อม และมิติทางเศรษฐกิจพื้นฐาน มีผลกระทบเชิงบวก โดยผลกระทบเชิงบวกที่มีค่าคะแนนสูงสุดคือผลกระทบด้านสังคม (X=4.98) รองลงมาคือมิติด้านสิ่งแวดล้อม (X=4.95) และมิติทางเศรษฐกิจ (X=4.88) ตามลำดับ จึงสรุปได้ว่าการยุทธศาสตร์ในภาคส่วนต่าง ๆ ในปัจจุบันที่ส่งเสริมสามารถพัฒนาสังคมได้เป็นอย่างดี และยังสามารถรักษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ รวมถึงสามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิตชาวบ้านในชุมชนโดยการสร้างเสริมเศรษฐกิจฐานราก โดยใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือได้เป็นอย่างดี 3.1.2 ผลการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนบ่อเจ็ดลูกเชิงคุณภาพ การประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนบ่อเจ็ดลูก ดำเนินการโดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีตัวชี้วัดและข้อคำถามประกอบผลกระทบในมิติทางสังคม มิติทางสิ่งแวดล้อม และมิติทางเศรษฐกิจพื้นฐาน โดยการเก็บรวมรวบข้อมูลมีผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบ่อเจ็ดลูกและคณะครู เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่วนตำบล และเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเจ็ดลูก นักวิชาการด้านการท่องเที่ยว ผู้อำนวยการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสตูล ผู้อำนวยการอุทยานธรณีโลกจังหวัดสตูล เยาวชนในชุมชนที่ดำเนินงานการท่องเที่ยวโดยชุมชน และแกนนำชุมชนและกรรมการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จากการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถนำเสนอได้ดังต่อไปนี้ 1) ผลกระทบในมิติทางสังคม ปัจจุบันมีการดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนมากกว่า 15 ปีต่อเนื่อง โดยมีแนวคิดในการทำท่องเที่ยวโดยชุมชนจากการรวมกลุ่มชาวบ้านอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งจากการดำเนินงานพบว่า การท่องเที่ยวส่งผลให้คนในชุมชนมีความเข้มแข็งและพึงพาตนเองได้และสามารถต่อรองการพัฒนาชุมชนกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะในช่วงแรกที่ชาวบ้านในชุมชนเกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวบนพื้นฐานอัตลักษณ์ทรัพยากรธรรมชาติชายฝั่งและวัฒนธรรมภายใต้ประวัติศาสตร์บ่อเจ็ดลูก การบริหารจัดการป่าชายเลน และวิถีชีวิตชาวประมงชายฝั่งที่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวกลุ่มเฉพาะที่ต้องการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับตนเองเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ชาวบ้านเกิดความภาคภูมิใจในชุมชนตนเอง
จากนั้นดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนมาอย่างต่อเนื่องจนมีการประกาศการรับรองอุทยานธรณีโลกจังหวัดสตูล ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวที่อยู่ในพื้นที่ชุมชนบ่อเจ็ดลุกที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมากคือปราสาทหินพันยอดเกาะเขาใหญ่ และแหล่งฟอสซิสที่อ่าวโต๊ะบะ จากประกาศอุทยานธรณีโลกดังกล่าว ส่งผลให้ชุมชนเป็นที่รู้จักและมีนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวส่งผลให้ชาวบ้านในชุมชนมีการปรับตัวเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว พร้อมทั้งสามารถสร้างอาชีพให้กับชาวบ้านและเยาวชนได้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งส่งผลให้ชาวบ้านและเยาวชนเกิดความรักและหวงแหนชุมชนมากยิ่งขึ้น เดินทางออกไปทำงานนอกบ้านน้อยลง อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเข้าใจเรื่องธรณีวิทยาให้นักท่องเที่ยวโดยใช้กิจกรรมการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือ อย่างไรก็ตามจากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวหลังจากการได้รับการรับรองอุทยานธรณีโลกและแหล่งท่องเที่ยวในชุมนได้รับความนิยมกลับทำให้ความเข็มแข็งของชุมชนลดลงเนื่องจากการบริหารจัดการผลประโยชน์ที่ไม่ลงตัว อีกทั้งยังมีความต่างในความคิด ส่งผลให้ชาวบ้านในพื้นที่ยกฐานนะตนเองเป็นผู้ประกอบการการนำเที่ยวในชุมชน แต่อย่างไรก็ตามด้วยพื้นฐานของความรักสามัคคีส่งผลให้ปัญหาดังกล่าวได้รับแก้ไขโดยกำหนดข้อตกลงเพิ่มเติมและมีการแบ่งปันผลประโยชน์เข้ากลุ่มเพื่อใช้ในการประกอบสาธารณะประโยชน์ในชุมชนเหมือนในอดีต ส่งผลให้สามารถขับเคลื่อนและดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนสืบต่อไป
2) ผลกระทบมิติทางสิ่งแวดล้อม จุดเริ่มต้นของการของการดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนในอดีตเมื่อปี พ.ศ. 2547 เกิดจากความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมในชุมชน โดยเฉพาะป่าชายเลนในชุมชนซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำตามธรรมชาติ ชาวบ้านในชุมชนที่มีอาชีพประมงพื้นฐานจึงประสบปัญหาดังนั้นจึงรวมกลุ่มเพื่อบริหารจัดการป่าชายเลนรวมทั้งฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าชายเลนในชุมชน ระหว่างนั้นด้วยความเข้มแข็งของชุมชนและมีงานวิจัย รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐหนุนเสริมการดำเนินงาน ส่งผลให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ที่มีการบริกหารจัดการโดยชุมชน เวลาถัดมาจึงมีการดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างเต็มรูปแบบ
การดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนของบ้านบ่อเจ็ดลูกส่งผลสิ่งแวดล้อมดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนได้จากทรัพยากรที่เป็นสัตว์ทะเลมีจำนวนมากขึ้น อีกทั้งป่าชายเลนก็ยังมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น จนมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาศึกษาสิ่งแวดล้อมพร้อมทั้งเรียนรู้การบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างต่อเนื่อง หลังจากยูเนสโกประกาศรับรองอุทยาธรณีโลกจังหวัดสตูลส่งผลให้การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูกมีนักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีผู้ประกอบการนำเที่ยวนอกชุมชนเข้ามาประกอบธุรกิจมากยิ่งขึ้นส่งผลให้ชุมชนประสบปัญหาขยะในพื้นที่อ่าวโต๊ะบะ และเกาะเขาใหญ่ ชุมชนจึงต้องเร่งดำเนินแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วนเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ยั่งยืน 3) ผลกระทบมิติทางเศรษฐกิจพื้นฐาน ในอดีตของชาวบ้านชุมชนบ่อเจ็ดลูกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน และเกษตรกร เมื่อมีการดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนในช่วงแรกก่อนการประกาศรับรองอุทยานธรณีโลกจังหวัดสตูลพบว่าการท่องเที่ยวเป็นรายได้เสริมจากการใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมที่เสื่อมโทรมของชุมชน หลังจากได้รับประกาศการรับรองอุทยานธรณีโลกจังหวัดสตูล ส่งผลให้แหล่งท่องเที่ยวธรณีวิทยาในพื้นที่ชุมชนบ่อเจ็ดลูกได้รับความนิยมส่งผลให้นักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นเป็นจำนวนมากและมีรายได้หมุนเวียนในรอบปี พ.ศ. 2561ร่วม 20 ล้านบาท ส่งผลให้ชาวบ้านมีการปรับตัวเองจากการทำหน้าที่ตามที่ตนเองถนัดในกลุ่มการท่องเที่ยวโดยชุมชนมาเป็นผู้ประกอบการในชุมชน
การท่องเที่ยวโดยชุมชนของบ้านบ่อเจ็ดลูกหลังจากได้รับการรับรองจากยูเนสโก ส่งผลให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเนื่องจากเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนดีขึ้น มีการจ้างงานในชุมชนเพิ่มมากขึ้นส่งผลลดอัตราการออกไปขายแรงงานนอกชุมชน รวมถึงผลิตภัณฑ์ชุมชนมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นด้วย ในส่วนของเยาวชนสามารถหารายได้เสริมจากการท่องเที่ยวเพื่อใช้จ่ายส่วนตัวอีกทั้งบางส่วนตัดสินใจกลับมาทำงานในชุมชนมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการมีเศรษฐกิจฐานรากที่ดีขึ้นส่งผลให้ชาวบ้านได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น และชาวบ้านบางส่วนมีพฤติกรรมด้านการใช้จ่ายเงินเปลี่ยนไปโดยมีความฟุ่มเฟือยมากขึ้นเนื่องจากได้รับอิทธิพลการลอกเรียนแบบนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในชุมชน ส่วนการกระจายรายได้นั้นการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการกระจายรายได้ให้กลุ่มเยาวชน คนสูงอายุ แต่อย่างไรก็ตามการกระจายรายได้ยังไม่ทั่วทั้งชุมชนขึ้นอยู่กับการปรับตัวของคนในชุมชนและการเปิดรับสิ่งใหม่ในการอาชีพการให้บริการการท่องเที่ยวของคนในชุมชนเอง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ลงพื้นที่นำแบบสอบถามทำความเขาใจกับแกนนำและให้แกนนำเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยว / ทีมวิจัยลงพื้นที่เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวพร้อมสัมภาษณ์

กิจกรรมที่ทำจริง

ลงพื้นที่นำแบบสอบถามทำความเขาใจกับแกนนำและให้แกนนำเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยว / ทีมวิจัยลงพื้นที่เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวพร้อมสัมภาษณ์

 

20 20

8. จัดประชุมเพื่อนำเสนอร่างผลการศึกษาให้ผู้เกี่ยวข้องหาข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

วันที่ 13 มีนาคม 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ทบทวนร่างรายงานผลการศึกษาให้ผุ้เกี่ยวข้องร่วมกันในข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

• ความถูกต้อง และความครบถ้วนของข้อมูลและข้อสรุปในรายงานการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก • รายงานรายงานการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนบ่อเจ็ดลุก และข้อเสนอแนะต่อการปรับปรุงยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวชุมชนบ่อเจ็ดลูกและโซนอันดามัน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

นำเสนอรา่งผลการศึกษา/ให้ผู้เกี่ยวร่วมกันในข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่างรายงานผลการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนบ่อเจ็ดลูก
ผลการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก สามารถสรุปข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถามและข้อมูลเชิงคุณภาพจากแบบสัมภาษณ์ ตามเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และเชิงธรณีวิทยา โดยมีแหล่งท่องเที่ยวประกอบด้วย สถานที่บ่อเจ็ดลูก อ่าวโต๊ะบะ และเกาะเขาใหญ่ โดยการเก็บรวมรวมข้อมูลจากตัวแทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งแกนนำชุมชนด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก รวมถึงนักท่องเที่ยว สามารถสรุปผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนบ่อเจ็ดลูกได้ว่าการดำเนินงานการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูกภายใต้ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนในทุกระดับภาคมีผลกระทบทางสุขภาพมิติด้านสังคม มิติด้านสิ่งแวดล้อม และมิติทางเศรษฐกิจพื้นฐาน ในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ โดยผลกระทบเชิงบวกด้านสังคม มากที่สุด รองลงมาคือผลกระทบด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในชุมชน และสามารถสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้กับชุมชนมีความมั่นคง ซึ่งสามารถสรุปผลกระทบในมิติทางสังคม มิติสิ่งแวดล้อม และมิติเศรษฐกิจพื้นฐาน โดยแยกผลกระทบที่มีต่อชาวบ้านในชุมชน เยาวชนในชุมชน และหน่วยงานภาคและเอกชน รวมถึงนักท่องเที่ยว ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้ ตาราง 4 ผลกระทบที่มีต่อชาวบ้านในชุมชน เยาวชนในชุมชน และหน่วยงานภาคและเอกชน รวมถึงนักท่องเที่ยว มิติผลกระทบ ผลกระทบเชิงบวก ผลกระทบเชิงลบ แนวทางการกำหนดยุทศาสตร์เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน มิติทางด้านสังคม 1. ชุมชนมีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ 2. การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวบนพื้นฐาน อัตลักษณ์ทรัพยากรธรรมชาติชายฝั่ง ธรณีวิทยาและวัฒนธรรมภายใต้ประวัติศาสตร์บ่อเจ็ดลูก
3. ชาวบ้านในชุมชนมีการปรับตัวเรียนรู้เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว
4. ชาวบ้านเกิดความภาคภูมิใจในชุมชนตนเอง
5. สามารถสร้างอาชีพให้กับชาวบ้านและเยาวชน 6. ชาวบ้านและเยาวชนเกิดความรักและหวงแหนชุมชนมากยิ่งขึ้น ชาวบ้านเดินทางออกไปทำงานนอกบ้านน้อยลง
7. กิจกรรมการท่องเที่ยวสามารถสร้างความเข้าใจเรื่องธรณีวิทยาให้นักท่องเที่ยว 8. สร้างภาพลักษณ์เชิงบวกให้กับชุมชน
9. เยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ส่งผลให้ยาเสพติดในชุมชนลดน้อยลง 10. เสริมสร้างศักยภาพด้านการท่องเที่ยวให้เยาวชนในชุมชน 11. เปิดโอกาสให้กับคนชราและคนพิการประกอบอาชีพ 1. การท่องเที่ยวทำให้คนในชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเพราะได้รับอิทธิพลจากสังคมภายนอก 2. การเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวหลังจากการได้รับการรับรองอุทยานธรณีโลกและแหล่งท่องเที่ยวในชุมนได้รับความนิยมกลับทำให้ความเข็มแข็งของชุมชนลดลง 3. ชาวบ้านในพื้นที่ยกฐานนะตนเองเป็นผู้ประกอบการการนำเที่ยวในชุมชนจนละเลยการทำตามกฎ ระเบียบการท่องเที่ยวของกลุ่มชุมชน มุ่งหวังผลกำไรจากการท่องเที่ยวมากกว่าการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชุมชนซึ่งเป็นเป้าหมายหลักในการดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนในอดีต 4. เยาวชนเกิดความเข้าใจและให้ความสำคัญด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนในมิติเศรษฐกิจมากกว่ามิติทางด้านสังคมเนื่องจากขาดการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน 5. นักท่องเที่ยวไม่สามารถสัมผัสและเรียนรู้วิถีชีวิตที่แท้จริงของชุมชน 1. การสร้างการรับรู้สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในชุมชนมีผลต่อระบบสังคมของการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก 2. ความต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ไม่เท่าเทียมกันมีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก 3. ความคิดต่างในการดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนส่งผลให้ชุมชนเกิดความขัดแย้งในชุมชน 4. การสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันส่งผลให้การดำเนินงานง่ายขึ้น มิติทางด้านสิ่งแวดล้อม 1. ทรัพยากรที่เป็นสัตว์ทะเลมีจำนวนมากขึ้น
2. ป่าชายเลนก็ยังมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
3. เป็นแหล่งเรียนรู้การบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่ง 4. เครื่องมือในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาให้คงสภาพเดิม 5. โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกได้รับการพัฒนาภายใต้ความสอดคล้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชน 6. เยาวชนเข้าใจการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชนจากจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน 1. ขยะเพิ่มมากขึ้น
2. ชาวบ้านในชุมชนมีความเป็นส่วนตัวลดน้อยลง 3. มลพิษทางเสียงมีผลต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล 4. ทรัพยากรน้ำจืดขาดแคลน 1. การสร้างการรับรู้ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในชุมชนมีผลต่อการปฏิบัติของผู้เกี่ยวข้อง 2. การสร้างมูลค่าเพิ่มจากการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในชุมชนโดยใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือสามารถสร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้านในชุมชนได้ 3. กฎระเบียบที่ชัดเจนภายใต้บริบทที่เหมาะสมกับชุมชนส่งผลให้สามารถแก้ปัญหาขยะ และภาวะมลพิษ ที่เกิดขึ้นในชุมชนจากการดำเนินงานการท่องเที่ยวโดยชุมชนได้ 4. การสร้างเครือข่ายส่งผลให้มีแนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มิติทางด้านเศรษฐกิจพื้นฐาน 1. สร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้าน 2. ชาวบ้านมีการปรับตัวเป็นผู้ประกอบการการท่องเที่ยวในชุมชน
3. ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเนื่องจากเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนดีขึ้น
4. เกิดการจ้างงานในชุมชนเพิ่มมากขึ้นส่งผลลดอัตราการออกไปขายแรงงานนอกชุมชน
5. ผลิตภัณฑ์ชุมชนมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นด้วย
6. เยาวชนสามารถหารายได้เสริมจากการท่องเที่ยวเพื่อใช้จ่ายส่วนตัวเยาวชนตัดสินใจกลับมาทำงานในชุมชนมากยิ่งขึ้น 1. ชาวบ้านได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น
2. ชาวบ้านบางส่วนมีพฤติกรรมด้านการใช้จ่ายเงินเปลี่ยนไปโดยมีความฟุ่มเฟือยมากขึ้นเนื่องจากได้รับอิทธิพลการลอกเรียนแบบนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในชุมชน
3. การกระจายรายได้ยังไม่ทั่วทั้งชุมชนขึ้นอยู่กับการปรับตัวของคนในชุมชนและการเปิดรับสิ่งใหม่ในการประกอบอาชีพการให้บริการการท่องเที่ยวของคนในชุมชน 1. การเปิดรับการเรียนรู้แนวคิดใหม่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนบทบาทในการดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชน 2. การปรับตัวภายใต้ความเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจในชุมชนอย่างรู้เท่านั้นสามารถเป็นผู้ประกอบการการท่องเที่ยวในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. การดำเนินการท่องเที่ยวภายใต้การให้ความสำคัญมิติสังคม มิติสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจที่ลงตัวจะส่งผลต่อความมั่นคงของตนเอง 4. การสร้างเครือข่ายส่งผลให้เกิดการเชื่อมโยงธุรกิจการบริการในชุมชนกับผู้ประกอบการภายนอกภายใต้แนวคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชนส่งผลให้เกิดความยั่งยืนในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี  
4. ทบทวนร่างรายงานการศึกษา และวิเคราะห์ผลกระทบด้านสุขภาพโดยสาธารณะ (Public Review)
4.1 ผลตรวจสอบความถูกต้อง และความครบถ้วนของข้อมูลและข้อสรุปในรายงานการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก มิติผลกระทบ ผลกระทบเชิงบวก ผลกระทบเชิงบวกเพิ่มเติม ผลกระทบเชิงลบ ผลกระทบเชิงลบเพิ่มเติม แนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ยุทธศาสตร์เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน มิติ ทางด้านสังคม 1. ชุมชนมีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ 2. ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวบนพื้นฐานวัฒนธรรมวิถีชีวิตชุมชนมุสลิม ทรัพยากรธรรมชาติชายฝั่งทะเล และทรัพยากรทางธรณีวิทยา 3. ชาวบ้านในชุมชนมีการปรับตัวเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในชุมชนเพิ่มมากขึ้น โดยผ่านการอบรม การศึกษาดูงาน 4. การท่องเที่ยวสร้างภาพลักษณ์เชิงบกให้กับชุมชนส่งผลให้ชาวบ้านเกิดความภาคภูมิใจในชุมชนตนเอง
5. การท่องเที่ยวสามารถสร้างอาชีพและรายได้ให้กับชาวบ้านและเยาวชนเพิ่มมากขึ้น
6. ชาวบ้านและเยาวชนในชุมชนเกิดความรักและหวงแหนชุมชนมากยิ่งขึ้น ทำให้คนในชุมชนไม่ออกไปทำงานนอกพื้นที่
7. กิจกรรมการท่องเที่ยวสามารถสร้างความเข้าใจเรื่องประวัติศาสตร์ของชุมชนและความรู้ด้านธรณีวิทยาให้กับคนในชุมชนและนักท่องเที่ยวมากขึ้น
8. เยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นส่งผลให้หันไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดน้อยลง 9. โรงเรียนบ้านบ่อเจ็ดลูกได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนนำร่องของจังหวัดสตูลในการจัดทำหลักสูตรภูมิสังคมเพื่อสอนให้เด็กในโรงเรียนรู้จักประวัติศาสตร์วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนซึ่งเป็นการเสริมสร้างศักยภาพด้านการท่องเที่ยวให้เยาวชนในชุมชน 10. การท่องเที่ยวเปิดโอกาสให้กับคนชราและคนพิการได้มีอาชีพและรายได้เสริม 1. ความรู้การท่องเที่ยวได้จากการอบรมควบคู่การศึกษาดูงาน มากกว่าการอบรมแบบการบรรยายเพียงอย่างเดียว 2. การท่องเที่ยวโดยชุมชนสามารถเปลี่ยนจากอาชีพเสริมเป็นอาชีพหลัก 3. เยาวชนได้รับการเรียนหลักสูตรภูมิสังคมในระดับชั้นประถมศึกษา ภายใต้โครงการนำร่องนวัตกรรมการศึกษา โดยมีโรงเรียนบ้านบ่อเจ็ดลุกร่วมดำเนินการ 1. การท่องเที่ยวทำให้วิถีชีวิตของคนในชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงเพราะได้รับอิทธิพลจากสังคมภายนอก เช่น กลุ่มชาวบ้านที่ทำงานให้บริการนักท่องเที่ยวจะมีเวลาให้กับครอบครัวน้อยลง เยาวชนในชุมชนแต่งกายเลียนแบบนักท่องเที่ยวมากขึ้นเช่นการนุ่งกางเกงขาสั้น การกินอาหารนอกบ้าน และการกินอาหารสำเร็จรูปมากขึ้น
2. ผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวทำให้ชาวบ้านบางคนมีความขัดแย้งกันแต่ไม่รุนแรง ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการไม่พูดคุยทำความเข้าใจกันหรือไม่ปฏิบัติตามกฎ กติกาของกลุ่ม
3. ชาวบ้านในพื้นที่ยกฐานนะตนเองเป็นผู้ประกอบการการนำเที่ยวในชุมชนจนละเลยการทำตามกฎ ระเบียบการท่องเที่ยวของกลุ่มชุมชน มุ่งหวังผลกำไรจากการท่องเที่ยวมากกว่าการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชุมชนซึ่งเป็นเป้าหมายหลักในการดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนในอดีต 4. เยาวชนเกิดการเลียนแบบและเกิดค่านิยมในการใช้ชีวิตคล้อยตามนักท่องเที่ยว เช่น การใช้มือถือรุ่นใหม่ ๆ การแต่งกาย การกินอาหาร การพูดจา การให้ความสำคัญในมิติเศรษฐกิจมากกว่ามิติทางด้านสังคมเนื่องจากได้รับรู้กระแสสังคมจากภายนอกมากขึ้น
5. การปฏิบัติตนของนักท่องเที่ยวกระทบต่อวัฒนธรรมและวิถีของมุสลิม เช่น การแต่งกาย การนำเครื่องดื่มที่เป็นของมึนเมาเข้ามาในชุมชน  1. ความสัมพันธ์ของครอบครัวลดน้อยลง เช่นการกินข้าวนอกบ้าน 2. นักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ความเข้มแข็งลดน้อยลง 3. การแต่งการนักท่องเที่ยวผิดหลักศาสนา 4. ร้านขายของชำในชุมชนที่นับถือศาสนาพุทธขายเครื่องดื่มมึนเมา 1. การรับรู้และเรียนรู้สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นด้านการท่องเที่ยวในชุมชนมีผลต่อระบบสังคม วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนในชุมชน 2. การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตด้านการเรียนรู้ และสร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชนบ่อเจ็ดลูก 3. ความคิดต่างในการดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนส่งผลให้ชุมชนเกิดความขัดแย้งในชุมชน 4. การสร้างความเข้าใจด้านค่านิยมและวัฒนธรรมจากภายนอกให้คนในชุมชนจะช่วยให้คนในชุมชนตั้งรับและไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของตน
5. ความเป็นเครือญาติและวัฒนธรรมวิถีมุสลิมทำให้การจัดการด้านการท่องเที่ยวเป็นไปได้ง่ายและมีความขัดแย้งน้อย 1. สร้างความรู้ความเข้าใจด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อให้ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจในระดับเดียวกัน 2. สร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้สามารถพึงพาตนเองได้อย่างยั่งยืน 3. ส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว
4. สร้างการเรียนรู้ภูมิสังคมให้แก่เยาวชนตั้งแต่ระดับการเรียนขึ้นพื้นฐานโดยการบูรณาการกับหลักสูตรของโรงเรียนในพื้นที่   มิติผลกระทบ ผลกระทบเชิงบวก ผลกระทบเชิงบวกเพิ่มเติม ผลกระทบเชิงลบ ผลกระทบเชิงลบเพิ่มเติม แนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ยุทธศาสตร์เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน มิติทางด้านสิ่งแวดล้อม 1. กิจกรรมท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทำให้ทรัพยากรป่าชายเลนและสัตว์ทะเลมีจำนวนมากขึ้น
2. นักท่องเที่ยวและคนภายนอกให้เข้ามาเรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งของชุมชน 3. การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ และธรณีวิทยาให้คงสภาพเดิม 4. โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกได้รับการพัฒนาภายใต้ความสอดคล้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชน 5. คนในชุมชนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชนจากการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน 6. คนในชุมชนร่วมกันช่วยแก้ไขปัญหาด้านการจัดการขยะ โดยร่วมกันธรรมนูญชุมชนด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน 1. ทรัพยากรชุมชนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะปลาทราย และแมงกะพรุน 2. ชาวบ้านในชุมชนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากข้น 3. หน่วยงานทุกภาคส่วนเข้าร่วมส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรชุมชน 1. ขยะในชุมชนและในแหล่งท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น
2. ชาวบ้านในชุมชนมีความเป็นส่วนตัวลดน้อยลง 3. มลพิษทางเสียงจากเรือหางยาวนำเที่ยวมีผลต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล 4. ทรัพยากรน้ำจืดขาดแคลน 5. มีรถยนต์เข้ามาในชุมชนเพิ่มมากขึ้นสร้างเสียงรบกวนและอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุทางถนน 6. มีการปล่อยน้ำเสียจากการแปรรูปแมงกะพรุนลงทะเลในเขตชุมชนทำให้มีกลิ่นเหม็นรบกวนชาวบ้านและนักท่องเที่ยว
7. มีรถเร่เข้ามาขายสินค้าและอาหารในชุมชนมากขึ้น ทำให้มีขยะตามข้างถนนและสถานที่สาธารณะมากขึ้น 1. ผู้ประกอบการและชาวบ้านนอกชุมชนรุกล้ำเข้ามาจับสัตว์น้ำในทะเล 2. แมงกะพรุนเพิ่มขึ้น 3. ชาวบ้านมีความเป็นส่วนตัวลดลง 4. น้ำจืดลดน้อยลง 1. การสร้างการรับรู้ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในชุมชนมีผลต่อการปฏิบัติของผู้เกี่ยวข้อง 2. การสร้างมูลค่าเพิ่มจากการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในชุมชนโดยใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือสามารถสร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้านในชุมชนได้ 3. กฎระเบียบที่ชัดเจนภายใต้บริบทที่เหมาะสมกับชุมชนส่งผลให้สามารถแก้ปัญหาขยะ และภาวะมลพิษ ที่เกิดขึ้นในชุมชนจากการดำเนินงานการท่องเที่ยวโดยชุมชนได้ 4. การสร้างเครือข่ายส่งผลให้มีแนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1. บูรณาการการทำงานร่วมกันขององค์กรเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและฟื้นฟูวัฒนธรรม 2. ยกระดับการอนุรักษ์เพื่อความยั่งยืนโดยการบริหารจัดการโดยชาวบ้านในชุมชน   มิติผลกระทบ ผลกระทบเชิงบวก ผลกระทบเชิงบวกเพิ่มเติม ผลกระทบเชิงลบ ผลกระทบเชิงลบเพิ่มเติม แนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ยุทธศาสตร์เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน มิติทางด้านเศรษฐกิจพื้นฐาน 1. สร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้าน 2. ชาวบ้านมีการปรับตัวเป็นผู้ประกอบการการท่องเที่ยวในชุมชน
3. ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเนื่องจากเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนดีขึ้น
4. เกิดการจ้างงานในชุมชนเพิ่มมากขึ้นส่งผลลดอัตราการออกไปขายแรงงานนอกชุมชน
5. ผลิตภัณฑ์ชุมชนมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นด้วย
6. เยาวชนสามารถหารายได้เสริมจากการท่องเที่ยวเพื่อใช้จ่ายส่วนตัวเยาวชนตัดสินใจกลับมาทำงานในชุมชนมากยิ่งขึ้น 1. สร้างอาชีพใหม่ในชุมชน เช่น รับฝากรถ
2. ผลิตภัณฑ์มีการแปรรูเพื่อเป็นของฝากของที่ระลึก จากผลิตผลการเกษตร 1. ชาวบ้านได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น
2. ชาวบ้านบางส่วนมีพฤติกรรมด้านการใช้จ่ายเงินเปลี่ยนไปโดยมีความฟุ่มเฟือยมากขึ้นเนื่องจากได้รับอิทธิพลการลอกเรียนแบบนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในชุมชน
3. การกระจายรายได้ยังไม่ทั่วทั้งชุมชนขึ้นอยู่กับการปรับตัวของคนในชุมชนและการเปิดรับสิ่งใหม่ในการประกอบอาชีพการให้บริการการท่องเที่ยวของคนในชุมชน 1. สินค้ามีราสูง โดยเฉพาะน้ำดื่ม 2. เกิดการแข่งขันทางธุรกิจกันในชุมชนส่งผลกระทบต่อระบบสังคม 3. ไม่มีการกระจายรายได้อย่างแท้จริง ยังกระจุกอยู่ในเครือญาติ 1. การเปิดรับการเรียนรู้แนวคิดใหม่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนบทบาทในการดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชน 2. การปรับตัวภายใต้ความเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจในชุมชนอย่างรู้เท่านั้นสามารถเป็นผู้ประกอบการการท่องเที่ยวในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. การดำเนินการท่องเที่ยวภายใต้การให้ความสำคัญมิติสังคม มิติสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจที่ลงตัวจะส่งผลต่อความมั่นคงของตนเอง 4. การสร้างเครือข่ายส่งผลให้เกิดการเชื่อมโยงธุรกิจการบริการในชุมชนกับผู้ประกอบการภายนอกภายใต้แนวคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชนส่งผลให้เกิดความยั่งยืนในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี 1. สร้างความรู้ด้าน SME 2. สร้างเครือข่ายด้านธุรกิจ 3. ส่งเสริมอาชีพ 4. ลดความเลื่อมล้ำในชุมชนโดยการกระจายรายได้

 

28 28

9. รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ

วันที่ 4 พฤษภาคม 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรายงานผลการดำเนินโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

• ความถูกต้อง และความครบถ้วนของข้อมูลและข้อสรุปในรายงานการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก • รายงานรายงานการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนบ่อเจ็ดลุก และข้อเสนอแนะต่อการปรับปรุงยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวชุมชนบ่อเจ็ดลูกและโซนอันดามัน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนบ่อเจ็ดลูก และข้อเสนอแนะต่อการปรับปรุงยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวชุมชนโซนอันดามัน การประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนบ่อเจ็ดลูก และข้อเสนอแนะต่อการปรับปรุงยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวชุมชนโซนอันดามันมีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับชาติ ระดับภาค ระดับจังหวัด และระดับชุมชน โดยประเด็นหลักจากการประเมินในครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่า ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาต้องคำนึงถึงประเด็น สร้างความรู้ความเข้าใจด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อให้ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจในระดับเดียวกัน สร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้สามารถพึงพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว สร้างการเรียนรู้ภูมิสังคมให้แก่เยาวชนตั้งแต่ระดับการเรียนขึ้นพื้นฐานโดยการบูรณาการกับหลักสูตรของโรงเรียนในพื้นที่ บูรณาการการทำงานร่วมกันขององค์กรเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและฟื้นฟูวัฒนธรรม ยกระดับการอนุรักษ์เพื่อความยั่งยืนโดยการบริหารจัดการโดยชาวบ้านในชุมชน สร้างความรู้ด้าน SME สร้างเครือข่ายด้านธุรกิจ ส่งเสริมอาชีพ และลดความเลื่อมล้ำในชุมชนโดยการกระจายรายได้ ดังนั้น การปรับปรุงยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวชุมชนโซนอันดามัน จึงควรส่งเสริมการพัฒนาคน พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ ยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มในการบริการการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชน ให้มีความสอดคล้องกับอัตลักษณ์ชุมชนด้านธรรมชาติและวัฒนธรรม ภายใต้ความสมดุลของมิติสังคม มิติวัฒนธรรม และมิติเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วย ยุทธศาสตร์การพัฒนาคน ยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งภายใต้การอนุรักษ์ ยุทธศาสตร์การพัฒนากลไกการบริหารจัดการ ยุทธศาสตร์การสร้างระบบการตลาดและเครือข่าย ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งชุมชนให้สามารถพึงพาตนเองได้ และยุทธศาสตร์การลดความเหลื่อมล้ำของคนในชุมช

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

นำเสนอผลการดำเนินโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

นำเสนอผลการดำเนินโครงการ

 

2 2

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม                    
การใช้จ่ายงบประมาณ 100,000.00 0.00                    
คุณภาพกิจกรรม                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก ( 16 ก.พ. 2562 )

(................................)
นางสาวภัชกุล ตรีพันธ์
ผู้รับผิดชอบโครงการ