ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ลงพื้นที่เก็บข้อมูลชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก16 กุมภาพันธ์ 2562
16
กุมภาพันธ์ 2562รายงานจากพื้นที่ โดย areeandaman
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนาม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ลงพื้นที่นำแบบสอบถามทำความเขาใจกับแกนนำและให้แกนนำเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยว / ทีมวิจัยลงพื้นที่เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวพร้อมสัมภาษณ์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูกในมิติทางสังคม พบว่า การดำเนินงานการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูกภายใต้ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนในทุกระดับภาคมีผลกระทบทางสุขภาพด้านสังคมเชิงบวก อยู่ในระดับ มาก (X=4.98) โดย ผลกระทบเชิงบวกที่มีระดับ มากที่สุด คือ การท่องเที่ยวสามารถสร้างงานให้เยาวชนส่งผลให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ (X=5.53) รองลงมาคือผลกระทบเชิงบวกที่มีระดับ มาก ประกอบด้วยผลกระทบในประเด็น นักท่องเที่ยวมีทัศนคติที่ดีต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ (X=5.47) ชาวบ้านในชุมชนมีเครือข่ายภายนอกเพิ่มมากขึ้น (X=5.37) นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา (X=5.33) ชาวบ้านมีความรักและหวงแหนทรัพยากรชุมชนมากยิ่งขึ้น (X=5.33) การท่องเที่ยวชุมชนทำให้เกิดการฟื้นฟูวัฒนธรรมชุมชน (X=5.23) เยาวชนในชุมชนมีจิตสำนึกรักษ์บ้านเกิด มีการทำกิจกรรมเพื่อส่วนรวมมากขึ้น (X=5.23) เปิดโอกาสในเข้าร่วมดำเนินงานให้ผู้สูงวัยหรือคนพิการ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี (X=5.13) เปิดโอกาสในเข้าร่วมดำเนินงานให้ผู้สูงวัยหรือคนพิการ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี (X=5.13) การดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนใช้หลักคำสอนศาสนาอิสลามเป็นแนวทางในการจัดการ (X=5.10) ชาวบ้านในชุมชนมีสวนร่วมในการจัดการท่องเที่ยว (X=5.03) ชาวบ้านในชุมชนเคารพในกฎ กติกา และข้อตกลงร่วมกันของคนในชุมชน (X=4.97) การดำเนินการท่องเที่ยวทำให้ชุมชนเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น (X=4.83) เยาวชนมีแนวความคิดในการพัฒนาตนเองดีขึ้น เช่น ศึกษาต่อมากขึ้น กลับมาเรียนนอกระบบมากขึ้น (X=4.73) และการท่องเที่ยวทำให้คนในชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเพราะได้รับอิทธิพลจากสังคมภายนอก (X=4.67) ตามลำดับ
สุดท้ายคือผลกระทบเชิงบวกที่มีระดับ ค่อยข้างมาก ซึ่งประกอบด้วยประเด็น การสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกให้กับชุมชนให้มีภาพลักที่ดีขึ้นจากในอดีตภาพลักษณ์ชุมชนเป็นเชิงลบด้านโจรกรรม (X=4.27) และ การดำเนินงานการท่องเที่ยวโดยชุมชนส่งผลให้ยาเสพติดในชุมชนลดน้อยลง (X=3.47) ตามลำดับ ผลการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูกในมิติทางส่งแวดล้อม พบว่า การดำเนินงานการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูกภายใต้ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนในทุกระดับภาคมีผลกระทบทางสุขภาพด้านสิ่งแวดล้อมเชิงบวก อยู่ในระดับ มาก (X=4.95) โดย ผลกระทบเชิงบวกที่มีระดับ มากที่สุด คือ เยาวชนเกิดการหวงแหนสิ่งแวดล้อมชุมชนโดยเฉพาะซากดึกดำบรรพ์มากยิ่งขึ้น (X=5.57) รองลงมาคือผลกระทบเชิงบวกที่มีระดับ มาก ประกอบด้วยผลกระทบในประเด็น การประกาศอุทยานธรณีโลกสตูลส่งผลให้ชุมชนเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว (X=5.43) การท่องเที่ยวโดยชุมชนทำให้โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น (X=5.20) การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเปิดโอกาสให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (X=5.20) ชุมชนใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (X=5.07) นักท่องเที่ยวเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยว (X=5.00) นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญกับการรักษาซากดึกดำบรรพ์ให้คงสภาพผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยว (X=5.00) เยาวชนเข้าใจการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชนจากจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน (X=4.97) การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาให้คงสภาพเดิม (X=4.93) การท่องเที่ยวโดยชุมชนทำให้โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกได้รับการพัฒนาภายใต้ความสอดคล้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชน (X=4.90) การท่องเที่ยวโดยชุมชนทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง (X=4.63) ตามลำดับ
สุดท้ายคือผลกระทบเชิงบวกที่มีระดับ ค่อยข้างมาก ซึ่งประกอบด้วยประเด็น การท่องเที่ยวโดยชุมชนส่งผลให้เกิดปัญหาขยะบนแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา (X=4.30) และการท่องเที่ยวส่งผลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าชายเลน ปะการัง ชายหาด พรรณไม้ และซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ (X=4.13) ตามลำดับ ผลการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูกในมิติทางเศรษฐกิจพื้นฐาน พบว่า การดำเนินงานการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูกภายใต้ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนในทุกระดับภาคมีผลกระทบทางสุขภาพด้านสิ่งแวดล้อมเชิงบวก อยู่ในระดับ มาก (X=4.88) โดย ผลกระทบเชิงบวกที่มีระดับ มากที่สุด คือ ชาวบ้านมีรายได้เสริมจากการท่องเที่ยว (X=5.57) รองลงมาคือผลกระทบเชิงบวกที่มีระดับ มาก ประกอบด้วยผลกระทบในประเด็น การจ้างงานในชุมชนเพิ่มมากขึ้น (X=5.33) มีการกระจายรายได้ทั่วทุกกลุ่มในชุมชน เยาวชน คนสูงอายุ (X=5.30) ชาวบ้านสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาชีพหลักของตนเองโดยเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน (X=4.97) ผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ชุมชนมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น (X=4.93) เยาวชนมีรายได้เสริมจากการท่องเที่ยวเพื่อใช้จ่ายส่วนตัว (4.90) เยาวชนได้รับโอกาสจากการศึกษาในระดับสูงขึ้น (X=4.73) ชาวบ้านมีรายได้เสริมจากการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนมากกว่ารายได้หลัก (X=4.70) ชาวบ้านได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น (X=4.63) ลดอัตราการออกไปขายแรงงานนอกชุมชน (X=4.63) และ เยาวชนกลับมาทำงานในชุมชนมากยิ่งขึ้น (X=4.63) ตามลำดับ สุดท้ายคือผลกระทบเชิงบวกที่มีระดับ ค่อยข้างมาก ซึ่งประกอบด้วยประเด็น ชาวบ้านมีพฤติกรรมด้านการใช้จ่ายเงินเปลี่ยนไป ฟุ่มเฟือยขึ้น (X=4.20) สรุปผลการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนชุมชนบ่อเจ็ดลูก เชิงปริมาณ พบว่า การดำเนินงานการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูกภายใต้ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนในทุกระดับภาคมีผลกระทบทางสุขภาพมิติด้านสังคม มิติด้านสิ่งแวดล้อม และมิติทางเศรษฐกิจพื้นฐาน มีผลกระทบเชิงบวก โดยผลกระทบเชิงบวกที่มีค่าคะแนนสูงสุดคือผลกระทบด้านสังคม (X=4.98) รองลงมาคือมิติด้านสิ่งแวดล้อม (X=4.95) และมิติทางเศรษฐกิจ (X=4.88) ตามลำดับ จึงสรุปได้ว่าการยุทธศาสตร์ในภาคส่วนต่าง ๆ ในปัจจุบันที่ส่งเสริมสามารถพัฒนาสังคมได้เป็นอย่างดี และยังสามารถรักษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ รวมถึงสามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิตชาวบ้านในชุมชนโดยการสร้างเสริมเศรษฐกิจฐานราก โดยใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือได้เป็นอย่างดี 3.1.2 ผลการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนบ่อเจ็ดลูกเชิงคุณภาพ การประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนบ่อเจ็ดลูก ดำเนินการโดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีตัวชี้วัดและข้อคำถามประกอบผลกระทบในมิติทางสังคม มิติทางสิ่งแวดล้อม และมิติทางเศรษฐกิจพื้นฐาน โดยการเก็บรวมรวบข้อมูลมีผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบ่อเจ็ดลูกและคณะครู เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่วนตำบล และเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเจ็ดลูก นักวิชาการด้านการท่องเที่ยว ผู้อำนวยการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสตูล ผู้อำนวยการอุทยานธรณีโลกจังหวัดสตูล เยาวชนในชุมชนที่ดำเนินงานการท่องเที่ยวโดยชุมชน และแกนนำชุมชนและกรรมการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จากการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถนำเสนอได้ดังต่อไปนี้ 1) ผลกระทบในมิติทางสังคม ปัจจุบันมีการดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนมากกว่า 15 ปีต่อเนื่อง โดยมีแนวคิดในการทำท่องเที่ยวโดยชุมชนจากการรวมกลุ่มชาวบ้านอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งจากการดำเนินงานพบว่า การท่องเที่ยวส่งผลให้คนในชุมชนมีความเข้มแข็งและพึงพาตนเองได้และสามารถต่อรองการพัฒนาชุมชนกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะในช่วงแรกที่ชาวบ้านในชุมชนเกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวบนพื้นฐานอัตลักษณ์ทรัพยากรธรรมชาติชายฝั่งและวัฒนธรรมภายใต้ประวัติศาสตร์บ่อเจ็ดลูก การบริหารจัดการป่าชายเลน และวิถีชีวิตชาวประมงชายฝั่งที่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวกลุ่มเฉพาะที่ต้องการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับตนเองเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ชาวบ้านเกิดความภาคภูมิใจในชุมชนตนเอง
จากนั้นดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนมาอย่างต่อเนื่องจนมีการประกาศการรับรองอุทยานธรณีโลกจังหวัดสตูล ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวที่อยู่ในพื้นที่ชุมชนบ่อเจ็ดลุกที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมากคือปราสาทหินพันยอดเกาะเขาใหญ่ และแหล่งฟอสซิสที่อ่าวโต๊ะบะ จากประกาศอุทยานธรณีโลกดังกล่าว ส่งผลให้ชุมชนเป็นที่รู้จักและมีนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวส่งผลให้ชาวบ้านในชุมชนมีการปรับตัวเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว พร้อมทั้งสามารถสร้างอาชีพให้กับชาวบ้านและเยาวชนได้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งส่งผลให้ชาวบ้านและเยาวชนเกิดความรักและหวงแหนชุมชนมากยิ่งขึ้น เดินทางออกไปทำงานนอกบ้านน้อยลง อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเข้าใจเรื่องธรณีวิทยาให้นักท่องเที่ยวโดยใช้กิจกรรมการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือ อย่างไรก็ตามจากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวหลังจากการได้รับการรับรองอุทยานธรณีโลกและแหล่งท่องเที่ยวในชุมนได้รับความนิยมกลับทำให้ความเข็มแข็งของชุมชนลดลงเนื่องจากการบริหารจัดการผลประโยชน์ที่ไม่ลงตัว อีกทั้งยังมีความต่างในความคิด ส่งผลให้ชาวบ้านในพื้นที่ยกฐานนะตนเองเป็นผู้ประกอบการการนำเที่ยวในชุมชน แต่อย่างไรก็ตามด้วยพื้นฐานของความรักสามัคคีส่งผลให้ปัญหาดังกล่าวได้รับแก้ไขโดยกำหนดข้อตกลงเพิ่มเติมและมีการแบ่งปันผลประโยชน์เข้ากลุ่มเพื่อใช้ในการประกอบสาธารณะประโยชน์ในชุมชนเหมือนในอดีต ส่งผลให้สามารถขับเคลื่อนและดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนสืบต่อไป
2) ผลกระทบมิติทางสิ่งแวดล้อม จุดเริ่มต้นของการของการดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนในอดีตเมื่อปี พ.ศ. 2547 เกิดจากความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมในชุมชน โดยเฉพาะป่าชายเลนในชุมชนซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำตามธรรมชาติ ชาวบ้านในชุมชนที่มีอาชีพประมงพื้นฐานจึงประสบปัญหาดังนั้นจึงรวมกลุ่มเพื่อบริหารจัดการป่าชายเลนรวมทั้งฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าชายเลนในชุมชน ระหว่างนั้นด้วยความเข้มแข็งของชุมชนและมีงานวิจัย รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐหนุนเสริมการดำเนินงาน ส่งผลให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ที่มีการบริกหารจัดการโดยชุมชน เวลาถัดมาจึงมีการดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างเต็มรูปแบบ
การดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนของบ้านบ่อเจ็ดลูกส่งผลสิ่งแวดล้อมดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนได้จากทรัพยากรที่เป็นสัตว์ทะเลมีจำนวนมากขึ้น อีกทั้งป่าชายเลนก็ยังมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น จนมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาศึกษาสิ่งแวดล้อมพร้อมทั้งเรียนรู้การบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างต่อเนื่อง หลังจากยูเนสโกประกาศรับรองอุทยาธรณีโลกจังหวัดสตูลส่งผลให้การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูกมีนักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีผู้ประกอบการนำเที่ยวนอกชุมชนเข้ามาประกอบธุรกิจมากยิ่งขึ้นส่งผลให้ชุมชนประสบปัญหาขยะในพื้นที่อ่าวโต๊ะบะ และเกาะเขาใหญ่ ชุมชนจึงต้องเร่งดำเนินแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วนเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ยั่งยืน 3) ผลกระทบมิติทางเศรษฐกิจพื้นฐาน ในอดีตของชาวบ้านชุมชนบ่อเจ็ดลูกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน และเกษตรกร เมื่อมีการดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนในช่วงแรกก่อนการประกาศรับรองอุทยานธรณีโลกจังหวัดสตูลพบว่าการท่องเที่ยวเป็นรายได้เสริมจากการใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมที่เสื่อมโทรมของชุมชน หลังจากได้รับประกาศการรับรองอุทยานธรณีโลกจังหวัดสตูล ส่งผลให้แหล่งท่องเที่ยวธรณีวิทยาในพื้นที่ชุมชนบ่อเจ็ดลูกได้รับความนิยมส่งผลให้นักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นเป็นจำนวนมากและมีรายได้หมุนเวียนในรอบปี พ.ศ. 2561ร่วม 20 ล้านบาท ส่งผลให้ชาวบ้านมีการปรับตัวเองจากการทำหน้าที่ตามที่ตนเองถนัดในกลุ่มการท่องเที่ยวโดยชุมชนมาเป็นผู้ประกอบการในชุมชน
การท่องเที่ยวโดยชุมชนของบ้านบ่อเจ็ดลูกหลังจากได้รับการรับรองจากยูเนสโก ส่งผลให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเนื่องจากเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนดีขึ้น มีการจ้างงานในชุมชนเพิ่มมากขึ้นส่งผลลดอัตราการออกไปขายแรงงานนอกชุมชน รวมถึงผลิตภัณฑ์ชุมชนมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นด้วย ในส่วนของเยาวชนสามารถหารายได้เสริมจากการท่องเที่ยวเพื่อใช้จ่ายส่วนตัวอีกทั้งบางส่วนตัดสินใจกลับมาทำงานในชุมชนมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการมีเศรษฐกิจฐานรากที่ดีขึ้นส่งผลให้ชาวบ้านได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น และชาวบ้านบางส่วนมีพฤติกรรมด้านการใช้จ่ายเงินเปลี่ยนไปโดยมีความฟุ่มเฟือยมากขึ้นเนื่องจากได้รับอิทธิพลการลอกเรียนแบบนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในชุมชน ส่วนการกระจายรายได้นั้นการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการกระจายรายได้ให้กลุ่มเยาวชน คนสูงอายุ แต่อย่างไรก็ตามการกระจายรายได้ยังไม่ทั่วทั้งชุมชนขึ้นอยู่กับการปรับตัวของคนในชุมชนและการเปิดรับสิ่งใหม่ในการอาชีพการให้บริการการท่องเที่ยวของคนในชุมชนเอง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

นักท่องเที่ยว
ชาวบ้าน แกนนำชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-