ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก อำเภอละงู จังหวัดสตูล

รายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ17 ธันวาคม 2561
17
ธันวาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย areeandaman
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อรายงานความก้าวหน้าโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ร่วมรับฟังผลการศึกษาของพื้นที่อื่นๆและนำเสนอผลการศึกษาของจังหวัดสตูล

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แบบสอบถามประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชน บ้านบ่อเจ็ดลูก อำเภอละงู จังหวัดสตูล แบบแบบสอบถามประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชน
บ่อเจ็ดลูก อำเภอละงู จังหวัดสตูลฉบับนี้ใช้เพื่อจัดเก็บข้อรวบรวมข้อมูลผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชน บ่อเจ็ดลูก อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก อำเภอละงู จังหวัดสตูล ผลการวิจัยครั้งนี้จะนำมาใช้เป็นแนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยกำหนดกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม ดังนี้ แกนนำชุมชนหรือตัวแทนชุมชนที่จัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูกตง ผู้ประกอบการนำเที่ยวหรือตัวแทน นักท่องเที่ยว และเจ้าหน้าที่หรือตัวแทนหน่วยงานภาครัฐซึ่ง พร้อมทั้งนักวิชาการด้านการท่องเที่ยว ดังนั้นผลการตอบแบบสอบถามของท่านจึงมีคุณค่าต่องานวิจัยเป็นอย่างยิ่ง ข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริงและสมบูรณ์จะช่วยให้งานวิจัยดำเนินไปด้วยความถูกต้อง ผู้วิจัยจึงใคร่ขอความอนุเคราะห์จากท่าน โปรดตอบคำถามด้วยความเป็นจริงและผู้วิจัยจะเก็บข้อมูลที่ได้ไว้เป็นความลับ โดยจะนำไปใช้เพื่อสรุปผลการวิจัยในภาพรวมเท่านั้น

คำชี้แจง แบบสอบถามประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้าน บ่อเจ็ดลูก อำเภอละงู จังหวัดสตูล 2 ตอนคือแบบสอบถามและข้อเสนอแนะ โดยการออกแบบสอบถามเกิดการการสังเคราะห์การดำเนินงานการท่องเที่ยวโดยชุมชนกรอปกับแนวคิดทฤษฎีการประเมินผลกระทบเชิงสุขภาพ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ จากการดำเนินการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการ ของการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล เพื่อพิจารณาถึงผลกระทบเชิงสุขภาพจากการดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา ของชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล ซึ่งสามารถจำแนกประเด็นการประเมินผลต่อการเปลี่ยนแปลงสุขภาพของคนในชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล โดยเก็บในพื้นที่เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา เนื่องจากเป็นเส้นทางที่ได้รับความนิยมของนักท่องเที่ยว โดยแบ่งตัวชี้วัดออกเป็น 3 มิติที่มีความสำคัญและซึ่งได้รับการยืนยันจากผู้ดำเนินงานการท่องเที่ยวในพื้นที่บ่อเจ็ดลูก มีรายละเอียดแต่ละมิติดังต่อไปนี้   1. มิติทางสังคม เป็นการประเมินผลกระทบความเข้มแข็งของชุมชนซึ่งเป็นผลมาจากความเชื่อในหลักคำสอนศาสนาอิสลามของชาวบ้าน และนักท่องเที่ยวในชุมชนบ่อเจ็ดลูก อีกทั้งยังเป็นการประเมินการดำเนินการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในทุกกลุ่มวัย รวมถึงการเคารพในกฎ กติกา ข้อตกลงร่วมกันของคนในชุมชน และนักท่องเที่ยว 2. มิติทางสิ่งแวดล้อม เป็นการประเมินการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นทางธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้นในประเด็นระบบการจัดการขยะบนแหล่งท่องเที่ยว ความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลน และการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาให้คงสภาพเดิมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 3. มิติทางเศรษฐกิจพื้นฐาน เป็นการประเมินผลภาวการณ์จ้างงานและการสร้างรายได้เสริมจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน

จากตัวชี้วัดในมิติข้างต้นสามารถแยกประเด็นในการประเมินผลกระทบสุขภาพจากการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล โดยมีเกณฑ์การวัดออกเป็น 6 ระดับโดยมีแนวคิดตามวิธีของลิเคร์ท (Likert) เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 6 ระดับ (Rating Scale) ดังต่อไปนี้ ระดับ 6 หมายถึง ผลกระทบมากที่สุด ระดับ 5 หมายถึง ผลกระทบมาก ระดับ 4 หมายถึง ผลกระทบค่อนข้างมาก ระดับ 3 หมายถึง ผลกระทบน้อย ระดับ 2 หมายถึง ผลกระทบน้อยมาก ระดับ 1 หมายถึง ผลกระทบน้อยมากที่สุด

รายละเอียดตัวชี้วัด และเครื่องมือ ในการประเมินทั้งเครื่องมือเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ และแผนการเก็บรวบรวมข้อมูล ตัวชี้วัดประกอบด้วยมิติทางสังคม จำนวน 16 ข้อ มิติทางสิ่งแวดล้อม จำนวน 15 ข้อ และ มิติทางเศรษฐกิจพื้นฐาน จำนวน 12 ข้อ



ปัจจัยกำหนดสุขภาพ ระดับผลกระทบ ปัจจัยหลัก ปัจจัยย่อย 6 5 4 3 2 1 1. มิติทางสังคม การดำเนินการท่องเที่ยวทำให้ชุมชนเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
ชาวบ้านในชุมชนมีสวนร่วมในการจัดการท่องเที่ยว
การดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนใช้หลักคำสอนศาสนาอิสลามเป็นแนวทางในการจัดการ
การท่องเที่ยวชุมชนทำให้เกิดการฟื้นฟูวัฒนธรรมชุมชน
การท่องเที่ยวทำให้คนในชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเพราะได้รับอิทธิพลจากสังคมภายนอก
ชาวบ้านในชุมชนมีเครือข่ายภายนอกเพิ่มมากขึ้น
ชุมชนมีภาพลักษณ์เชิงบวกมากขึ้น จากในอดีตภาพลักษณ์ชุมชนเป็นเชิงลบ
ชาวบ้านในชุมชนเคารพในกฎ กติกา และข้อตกลงร่วมกันของคนในชุมชน
ชาวบ้านมีความรักและหวงแหนทรัพยากรชุมชนมากยิ่งขึ้น
เปิดโอกาสในเข้าร่วมดำเนินงานให้ผู้สูงวัยหรือคนพิการ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี
เยาวชนมีแนวความคิดในการพัฒนาตนเองดีขึ้น เช่น ศึกษาต่อมากขึ้น กลับมาเรียนนอกระบบมากขึ้น
เยาวชนในชุมชนมีจิตสำนึกรักษ์บ้านเกิด มีการทำกิจกรรมเพื่อส่วนรวมมากขึ้น
การท่องเที่ยวสามารถสร้างงานให้เยาวชนส่งผลให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
การดำเนินงานการท่องเที่ยวโดยชุมชนส่งผลให้ยาเสพติดในชุมชนลดน้อยลง
นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา
นักท่องเที่ยวมีทัศนคติที่ดีต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์

  ปัจจัยกำหนดสุขภาพ ระดับผลกระทบ ปัจจัยย่อย ปัจจัยย่อย 6 5 4 3 2 1 2. มิติทางสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวโดยชุมชนส่งผลให้เกิดปัญหาขยะบนแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา (ปราสาทหินพันยอด อ่าวโต๊ะบ๊ะ)
การท่องเที่ยวโดยชุมชนส่งผลให้เกิดปัญหาขยะบนแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ (บ่อเจ็ดลูก ฐานการเรียนรู้การทำเสื่อเตยปาหนัน ฐานการเรียนรู้การทำหมวกตุดง)
การท่องเที่ยวโดยชุมชนส่งผลให้เกิดปัญหาขยะในชุมชน (รีสอร์ทชุมชนบ่อเจ็ดลูก บ้านเรือน สถานที่สาธารณะในชุมชน ถนนหนทาง)
การท่องเที่ยวส่งผลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าชายเลน ปะการัง ชายหาด พรรณไม้ และซากสัตว์ดึกดำบรรพ์
การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาให้คงสภาพเดิม
ชุมชนใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การท่องเที่ยวโดยชุมชนทำให้โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น
การท่องเที่ยวโดยชุมชนทำให้โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกได้รับการพัฒนาภายใต้ความสอดคล้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชน
การท่องเที่ยวโดยชุมชนทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง
นักท่องเที่ยวเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญกับการรักษาซากดึกดำบรรพ์ให้คงสภาพผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยว
การประกาศอุทยานธรณีโลกสตูลส่งผลให้ชุมชนเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว
การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเปิดโอกาสให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เยาวชนเข้าใจการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชนจากจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน
เยาวชนเกิดการหวงแหนสิ่งแวดล้อมชุมชนโดยเฉพาะซากดึกดำบรรพ์มากยิ่งขึ้น
  ปัจจัยกำหนดสุขภาพ ระดับผลกระทบ ปัจจัยย่อย ปัจจัยย่อย 6 5 4 3 2 1 3. มิติทางเศรษฐกิจพื้นฐาน ชาวบ้านมีรายได้เสริมจากการท่องเที่ยว
ชาวบ้านมีรายได้เสริมจากการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนมากกว่ารายได้หลัก
การจ้างงานในชุมชนเพิ่มมากขึ้น
มีการกระจายรายได้ทั่วทุกกลุ่มในชุมชน เยาวชน คนสูงอายุ
ผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ชุมชนมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น
ชาวบ้านได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น
ชาวบ้านมีพฤติกรรมด้านการใช้จ่ายเงินเปลี่ยนไป ฟุ่มเฟือยขึ้น
ลดอัตราการออกไปขายแรงงานนอกชุมชน
ชาวบ้านสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาชีพหลักของตนเองโดยเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน
เยาวชนมีรายได้เสริมจากการท่องเที่ยวเพื่อใช้จ่ายส่วนตัว
เยาวชนได้รับโอกาสจากการศึกษาในระดับสูงขึ้น
เยาวชนกลับมาทำงานในชุมชนมากยิ่งขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

นำเสนอรายงานความก้าวหน้าของโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-