งานบริหารกลาง โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ

ประชุมวางแผนการทำสื่อนำเสนอบทเรียนที่ดี13 มิถุนายน 2567
13
มิถุนายน 2567รายงานจากพื้นที่ โดย mataharee
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • แนะนำพื้นที่
  • ชี้แจงวัตถุประสงค์ ให้ขับเคลื่อนตามแผนยุทธศาสตร์ 10 ประเด็น
  • ชี้แนะแนวทางการนำเสนอ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ยางขี้นก)
  โครงการที่เน้นคือ การดูแลคุณภาพชีวติพี่น้องในพื้นที่ กว่า 4000 คน เน้นย้ำถึงการดูแลผู้สูงอายุ/เยาวชน  มี 4 องค์กรหลักในการขับเคลื่อนร่วมกัน
- เด็กและเยาวชน มีกิจกรรมทางกายที่สอดคล้องกับโครงการรักโลก “โครงการปั่นรักษ์โลก” เป็นการปลูกฝังให้เยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรในพื้นที่ และสร้างเสริมรายได้ให้กับเด็กโดยอิงจากวัตถุดิบที่มีในพื้นที่ สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตที่ครอบครัวทำร่วมกัน โดยเน้นการปลูกฝังและการอนุรักษ์สิ่งที่มีอยู่ในพื้นที่เพื่อนำมาต่อยอดเป็นรายได้ภายในครอบครัว ทั้งนี้จุดเริ่มต้นเกิดจากการชักชวนของกลุ่ม อสม และเป็นผลที่เกิดขึ้นในช่วงเทศกาลส่วนมาก แต่ในพื้นที่บ้านหนองใหญ่ ยังมีการปั่นจักรยานในพื้นที่ และเป็นวิธีที่เด็กทุกคนยังทำอยู่ สืบเนื่องจากการปลูกฝังจากผู้ใหญ่ในพื้นที่ที่อยากส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้แก่เด็ก และยังอยากปลูกฝังการอนุรักษ์ธรรมชาติและการจัดการขยะในพื้นที่ ซึ่งถือเป็นการบูรณาการให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน
- วัยรุ่น/วัยกลางคน เน้นย้ำเรื่องกิจกรรมทางกาย มุ่งเน้นเรื่องการออกกำลังกาย การเต้นแอโรบิค - ผู้สูงอายุ เน้นเรื่องการออกกำลังกาย กายอุปกรณ์ และเป็นผลที่เกิดขึ้น 3 วัน/สัปดาห์ และมีการใช้กลไกผู้นำในการขับเคลื่อน นอกจากกิจกรรมทางกาย ยังมีการเน้นย้ำเรื่องการจัดการขยะ
พื้นที่อยากให้ช่วยเรื่องกิจกรรมทางกาย และการเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย (สหธาตุ)
    โครงการที่เน้น คือ การจัดการขยะ  มีการทำกองทุนธนาคารขยะ โดยร่วมกัน 7 หมู่บ้าน และผลตัวชี้วัดคือ ไข้เลือดออกที่มีจำนวนผู้ป่วยวลดลง เนื่องจากขยะในพื้นที่จำนวนลดลง
ธนาคารขยะ มีการดำเนินงานมาระยะหนึ่งแล้ว และมีการรับซื้อขยะในทุกเดือน ทำให้หมู่บ้านสะอาดขึ้น
มีเกณฑ์ตัวชี้วัดในการให้คะแนน  5 ตัวชี้วัด
- บ้านต้องปลอดลูกน้ำยุงลาย - จัดการขยะภายใน ภายนอก - ไม่พบผู้ป่วยภายในบ้าน - เลี้ยงปลาห่างนกยูง - ปลูกพืชสวนครัว โดยต้องปลูกผักสวนครัวไม่น้อยกว่า 10 ชนิด
มีการแยกขยะ ภายในและภายนอก มีการจัดการขยะโดยตนเองไม่ต้องมีรถเก็บขยะ ทั้งนี้การประกวดโครงการขยะในครัวเรือน มีระยะเวลา 5 เดือนในการให้คะแนน (สร้างถ่อ)
    เน้นเรื่อง การจัดการขยะ เนื่องจากอบต. เจอปัญหาการจัดการขยะในหมู่บ้าน จึงมีการจัดการขยะโดยประชาชนในพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานรัฐ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัด คือ 1. การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน 2.คนในหมู่บ้านรู้จักการจัดการขยะภายในครัวเรือนมากขึ้น 3. มีการจัดการน้ำขังในหมู่บ้านหรือครัวเรือนโดยตนเอง     เรื่องการส่งเสริมผู้สูงอายุ เริ่มจากการสำรวจข้อมูลของผู้ที่เกษียณราชการแล้ว จึงมีการส่งเสริมบทบาทผู้สูงอายุและมีผลตอบรับดีจึงมีถึง 6 ชมรม ทั้งนี้มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนแต่ละชมรม เพื่อหาข้อต่างแต่ละชมรม นอกจากนี้มีการส่งเสริมการแยกขยะให้แก่ผู้สูงอายุ โดยการแยกขยะและแยกและล้างถุงพลาสติก โดยมีแกนนำคือผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุในชมรม มีการให้กำลังใจกัน ดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย สอดคล้องให้เห็นถึงการจัดการด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในพื้นที่ จึงได้รับการสนับสนุนจากคนรุ่งใหม่เพื่อขับเคลื่อนชมรมและการส่งเสริมผู้สูงอายุต่อไป     กิจกรรมทางกาย มีการให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายตามกำลังของตน และมีกลุ่มอสม เข้ามาขับเคลื่อนให้เกิดผลที่ง่ายขึ้นโดยการผลิตเครื่องออกกำลังกายให้แก่ผลุ่มผู้สูงอายุให้ออกกำลังเหมาะสมตามวัย และสภาพร่างกาย นอกจากนี้ยังมีการทำตารางเดนและกะลามะพร้าวมาปรับใช้ในการออกกำลังกายส่งเสริมด้านการทรงตัวของผู้สูงอายุโดยกิจกรรมทางกายในพื้นที่มีการนำการรำมาปรับใช้ในการทำกิจกรรมทางกายในทุกเดือน
(หัวดอน)
เป็นตำบลแรกที่ทำธรรมนูญตำบล และมีการทำเรื่องการสำรวจ PM 2.5 แต่เรื่องที่เด่นคือเรื่องผู้สูงอายุ (มีการขอข้อมูลเพิ่มเติมหลังประชุม)