งานบริหารกลาง โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ

การติดตามผลการดำเนินงานของพื้นที่15 พฤศจิกายน 2566
15
พฤศจิกายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย mataharee
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

แต่ละเขตรายงานความก้าวหน้า (กิจกรรมที่ทำในรอบปีที่ผ่าน ผลผลิต/ผลลัพธ์ แผนการดำเนินงาน และปัญหาอุปสรรค)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

• เขต 1-6 - ทั้งหมด 90 กองทุน ใช้ทีมกลางและทีมพี่เลี้ยงเขตจังหวัด โดยวิธีการออนไซต์เป็นส่วนใหญ่
- พื้นที่ชัยนาท สรรคบุรี มีปัญหา เนื่องจากพี่เลี้ยง สสอ.โยกย้าย แต่กำลังให้คนใหม่ที่ย้ายเข้ามาศึกษาเรียนรู้ - การลงนาม MOU นายอำเภอนั่งเป็นประธานทุกแห่ง • เขต 7
- พัฒนาแผนปี 2567 อย่างเดียว เดือนธันวาคมจะให้แต่ละกองทุนมาร่วมประชุมเพื่อตรวจสอบข้อมูล - ปัญหา/ อุปสรรคที่พบ คือ การถอนตัวของกลไกคณะทำงาน การมีส่วนร่วมกลไกทุกภาคส่วน ความเข้าใจเรื่องระบบและการใช้ประโยชน์ และคุณภาพของโครงการที่พัฒนา - แนวทางการแก้ไข คือประชุมติดตามการทำงานทุกเดือน และมีระบบหลังบ้านในการตรวจสอบผ่านระบบ • เขต 8 - อำเภอเมืองสกลนคร เป็นพื้นที่กองทุนขยายผล 5 กองทุน ได้มีการพัฒนาโครงการในแผนกิจกรรมทางกาย 6 โครงการ แผนขยะ 3 โครงการ แผนยาสูบ 1 โครงการ แผนสารเสพติด 5 โครงการ แผนโภชนาการและอาหาร 5 โครงการ และแผนสุขภาพจิต 2 โครงการ - 20 ต.ค 66 มีการร่วมมือกับสมัชชาจังหวัดในการทำ MOU บูรณาการร่วมกัน
- ปัญหา/อุปสรรคที่พบ คือ การเข้าร่วมของพี่เลี้ยง ผู้บริหารในท้องถิ่นไม่มีส่วนร่วมในการทำงาน • เขต 9
- เป็นพื้นที่กองทุนขยายผล 5 กองทุน ได้มีการพัฒนาโครงการในแผนกิจกรรมทางกาย 5 โครงการ แผนขยะ 4 โครงการ แผนยาสูบ 1 โครงการ และแผนความปลอดภัยทางถนน 1 โครงการ - แผนปี 2567 อยู่ในช่วงระหว่างการดำนินการ
• เขต 10
- กองทุนศูนย์เรียนรู้ 22 กองทุน กองทุนขยายผล 10 กองทุน มีโครงการพัฒนา 335 โครงการ และโครงการผ่านการอนุมัติ 153 โครงการ • เขต 11
- อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช เป็นกองทุนขยายผล 4 กองทุน ได้แก่ อบต.เกาะขัน แผนปี 2566 มี 6 โครงการ, อบต.ขอนหาด แผนปี 2566 มี 10 โครงการ แผนปี 2567 มี 6 โครงการ, อบต.วังอ่าง ทำแผนแต่ไม่มีโครงการ และเทศบาลตำบลชะอวดจะทำแผนปี 67 เพราะเข้ามาทีหลัง - ข้อจำกัด มองเป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อน
- ข้อดี เห็นการเชื่อมโยงของแผนงาน เห็นเป้าหมาย
• เขต 12 (จ.สงขลา) - จังหวัดสงขลา เป็นกองทุนขยายผล 10 กองทุน มีโครงการที่ผ่านการอนุมัติ 88 โครงการ - อุปสรรค คือเจ้าหน้าที่เขียนโครงการไม่สมบูรณ์
• เขต 12 (จ.พัทลุง) - จังหวัดพัทลุง มี 14 กองทุน เป็นกองทุนศูนย์เรียนรู้ 9 กองทุน กองทุนขยายผล 5 กองทุน
- ผลการดำเนินงาน โครงการพัฒนาผ่านเว็บ 11 กองทุน 103 โครงการ และโครงการผ่านการอนุมัติ 116 โครงการ
- กลไกขับเคลื่อน กองทุน 14 คน พื้นที่/ชุมชน 71 คน พี่เลี้ยง 8 คน
• เขต 12  (จ.ตรัง) - จังหวัดตรัง เป็นกองทุนขยายผล 5 กองทุน
- มีคณะทำงานร่วม 5 คน
- มีกิจกรรมการอบรมพํมนาศักยภาพ การติดตามประเมินผล
• เขต 12 (จ.ปัตตานี) กิจกรรมที่ทำ - กิจกรรม 1 ทำ MOU กับพื้นที่ ทั้ง 3 อำเภอ
- กิจกรรม 2 ประชุมทีมงานพี่เลี้ยงทั้ง 3 อำเภอ
- กิจกรรม 3 ประชุมพัฒนาแผนงานทั้ง 10 แผนงาน
- กิจกรรม 4 รายงานความคืบหน้าให้กับ พชอ. ทั้ง 3 อำเภอ ถึงการดำเนินงานของกองทุน
- กิจกรรม 5 ติดตามและประเมินศักยภาพกองทุน
- กิจกรรม 6 รายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานตลอดทั้งปี 2566 ทั้ง 3 อำเภอ
ผลการดำเนินงาน - อำเภอหนองจิก 13 กองทุน มีโครงการที่ผ่านการอนุมัติ รวม 110 โครงการ จากแผนงานอาหาร 21 โครงการ แผนงานยาเสพติด 20 โครงการ แผนงานกิจกรรมทางกาย 20 โครงการ แผนงานอุบัติใหม่ 10 โครงการ แผนงานสุรา 5 โครงการ แผนงานบุหรี่ 5 โครงการ แผนงานสุขภาพจิต 9 โครงการ แผนงานความปลอดภัยทางถนน 4 โครงการ แผนงานขยะ 18 โครงการ และแผนงานมลพิษทางอากาศ PM2.5 1 โครงการ
- อำเภอยะหริ่ง 9 กองทุน มีโครงการที่ผ่านการอนุมัติ รวม 38 โครงการ จากแผนงานอาหาร 10 โครงการ แผนงานกิจกรรมทางกาย 8 โครงการ  แผนงานบุหรี่  2 โครงการ แผนงานสารเสพติด 2 โครงการ แผนงานสุขภาพจิต 1 โครงการ และแผนงานขยะ 7 โครงการ - อำเภอเมืองปัตตานี 10 กองทุน มีโครงการที่ผ่านการอนุมัติ รวม 38 โครงการ จากแผนงานอาหาร 3 โครงการ แผนงานกิจกรรมทางกาย 5 โครงการ แผนงานบุหรี่ 3 โครงการ แผนงานสารเสพติด 5  โครงการ แผนงานความปลอดภัยทางถนน 1 โครงการ แผนงานสุขภาพจิต 2 โครงการ และแผนงานขยะ 6 โครงการ สรุปจากโครงการที่ได้รับทุนแล้ว อนุมัติโดยคณะกรรมการแต่ละกองทุน
ประเด็นการขับเคลื่อนที่ พชอ. ให้ความสำคัญ - อำเภอหนองจิก มุ่งเน้นประเด็นขยะ กลุ่มเปราะบาง (ผู้สูงอายุ/ ผู้ด้อยโอกาส) อุบัติเหตุทางท้องถนน - อำเภอยะหริ่ง มุ่งเน้นประเด็นขยะ อาหารและโภชนาการเด็ก 1-5 ปี การตั้งครรภ์วัยรุ่น - อำเภอเมืองปัตตานี มุ่งเน้นประเด็นการดูแลกลุ่มเปราะบาง อนามัยเจริญพันธุ์ การตั้งครรภ์วัยรุ่น