แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)
กิจกรรม | ระยะเวลา | เป้าหมาย/วิธีการ | ผลการดำเนินงาน | ปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ตามแผน | ปฏิบัติจริง | ตามแผน | ปฏิบัติจริง | ตามแผน | ปฏิบัติจริง | ||
วางแผนการดำเนินงาน | 1 ก.ค. 2565 |
|
|
|
|
|
|
ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลและปรับแผนการดำเนินงาน | 1 ส.ค. 2565 |
|
|
|
|
|
|
ดำเนินกิจกรรม | 1 ก.ย. 2565 |
|
|
|
|
|
|
ติดตามและประเมินผล | 1 ก.ย. 2565 |
|
|
|
|
|
|
ประชุมวางแผนการดำเนินโครงการตลาดสีเขียว | 27 ก.ค. 2565 | 27 ก.ค. 2565 |
|
|
|
|
|
ประชุมวางแผนผู้ผลิต : ครัวเรือนเกษตรกร | 1 ส.ค. 2565 | 1 ส.ค. 2565 |
|
|
|
จากการลงพื้นที่ ได้ข้อสรุปว่า สภาพแวดล้อมเบื้องต้นพื้นที่ตำบลเอราวัลไม่มีตลาด ส่วนใหญ่ซื้อขายจากตลาดในตัวอำเภอ ซึ่งอยู่ห่างจากตำบลเอราวัณประมาณ 9 ก.ม. ทำให้คนในพื้นที่มีการเพาะปลูกพืชผักผลไม้ไว้กินเอง โดยเฉพาะผักสวนครัวที่แทบทุกบ้านจะมีการปลูกไว้เพื่อใช้ในครัวเรือน นอกจากนี้ทุกครัวเรือนจะมีสมาชิกประกอบอาชีพเกษตรกรอย่างน้อยครัวเรือนละ 1 คน ทำให้ส่วนใหญ่คนในพื้นที่มีการประกอบอาชีพเกษตรกร ทั้งสวนผัก ผลไม้ ยางพารา ปาล์ม และนาข้าว เกษตรกรในพื้นที่ มีการเพาะปลูกแตงกวา พริกขี้หนู พริกหยวก ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ เป็นต้น ส่วนใหญ่ส่งออกขายในตลาดประจำเภอและพื้นที่ใกล้เคียง บางครัวเรือนยังมีการใช้สารเคมีในการเพาะปลูกเพื่อเร่งการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิต นอกจากการนำไปขายแล้ว ผลผลิตที่ได้จะมารับประทานภายในครัวเรือนและแจกจ่ายให้ครัวเรือนใกล้เคียง |
|
ประชุมวางแผนผู้ผลิต : เกษตรกรฟาร์มตัวอย่างฯ บ้านบาลูกากาปัส | 8 ส.ค. 2565 | 8 ส.ค. 2565 |
|
|
|
จากการลงพื้นที่ ได้ข้อสรุปว่า โครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีการเพาะปลูกผักสวนครัว โดยใช้กระบวนการปลูกผักปลอดสารพิษ และมีการส่งออกวัตถุดิบทั้งในและนอกอำเภออย่างต่อเนื่อง ผักที่ได้ผ่านการดูแลอย่างพิถีพิถันจากเจ้าหน้าที่ทำให้วัตถุดิบมีความสด ใหม่ น่ารับประทานและดีต่อสุขภาพ ไร้สารเคมี ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร มกษ.9001-2556 ปัจจุบันมีการเพาะปลูก แตงร้าน แตงกวา ถั่วฝักยาว บวบเหลี่ยม กระเจี้ยบเขียว ผักบุ้งจีน ผักบุ้งไทย ผักกาดขาว มะเขือเปราะ มะเขือหยดน้ำ ข้าวโหดอ่อน ข้าวโผดหวาน เป็นต้น เนื่องจากฟาร์มตัวอย่างฯมีแผนการเพาะปลูกแบบผสมผสานและมีการส่งออกอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผลผลิตที่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการผู้บริโภค (สถานศึกษา) ต้องมีการสั่งล่วงหน้า นอกจากนี้ผลผลิตที่มีไม่ตรงกับความต้องการของสถานศึกษา เนื่องจากสถานศึกษาต้องการพืชผักที่หลากหลายและต้องการสั่งวัตถุดิบทั้งหมดจากสถานที่เดียวกัน แต่ฟาร์มตัวอย่างมีผลผลิตที่ไม่เพียงพอและครอบคลุมกับความต้องการทั้งหมดของสถานศึกษา ทำให้ที่ผ่านมาสถานศึกษามีการสั่งวัตถุดิบจากนอกพื้นที่เพื่อความสะดวกต่อการบริการจัดการ |
|
ประชุมวางแผนผู้บริโภค : สถานศึกษา | 10 ส.ค. 2565 | 10 ส.ค. 2565 |
|
1.ลงพื้นที่สำรวจสถานศึกษาในพื้นที่ทั้งหมด 14 แห่ง ประกอบด้วย
2.สำรวจการดำเนินงานอาหารกลางวันในสถานศึกษา 3.สำรวจความต้องการในด้านอาหารกลางวันสถานศึกษา 4.สำรวจความคิดเห็นในการออกแบบแผนพัฒนาโครงการ |
|
จากการลงพื้นที่ ได้ข้อสรุปว่า สถานศึกษาในพื้นที่ตำบลเอราวัณมีทั้งหมด 14 แห่ง แบ่งเป็น โรงเรียน 4 แห่ง ตาดีกา 8 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง วัตถุดิบที่มาประกอบอาหารกลางวันเด็กนักเรียน มาจากการซื้อขายในตลาดที่มีการสร้างข้อตกลงทางธุรกิจ มีการเบิกจ่ายย้อนหลังและบางส่วนนำมาจากสวนผักที่มีการปลูกภายในโรงเรียน ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบความปลอดภัยของของผักผลไม้ว่าปลอดภัยหรือมีสารพิษตกค้างหรือไม่ |
|
ประชุมวิเคราะห์ความต้องการผู้ผลิตและผู้บริโภค | 18 ส.ค. 2565 | 18 ส.ค. 2565 |
|
|
|
จากการวิเคราะห์ความต้องการผู้ผลิตและผู้บริโภค ทีมงานตำบลเอราวัณได้วางแผนแผนการดำเนินโครงการในรูปแบบการกระจายอาหารสู่โรงเรียน 4 แห่ง โรงเรียนสอนศาสนา (ตาดีกา) 8 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง รวมทั้งหมด 14 แห่ง ซึ่งวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อส่งเสริมโภชนาการในเด็ก เพื่อส่งเสริมอาหารกลางวันปลอดสารพิษ เพื่อเพิ่มรายได้เกษตรกรและสร้างเครือขายระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค โดยการนำผลผลิตจากเกษตรกรเข้าสู่อาหารกลางวันของนักเรียน |
|
ออกบูธตลาดประชารัฐร่วมกับเกษตรกรฟาร์มตัวอย่าง | 29 ส.ค. 2565 | 29 ส.ค. 2565 |
|
|
|
ทีมตำบเอราวัณได้ออกบูธตลาดประชารัฐร่วมกับเกษตรกรฟาร์มตัวอย่าง มีการเอาผลผลิตจากเกษตรกรไปวางขาย ได้แก่บวบ ผักบุ้ง เห็ด กระเจี๊ยวเขียว พริกขี้หนู มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว แตกกวา เป็นต้น การออกบูธครั้งนี้ ใช้แผนการตลาดโดยการขายทุกอย่าง10 บาท แพ็คเป็นชุดๆไว้ โดยได้รับความสนใจจากคนในงานเป็นอย่างมาก และทางทีมมีแผนว่าจะนำเทคนิคการขายทุกอย่าง10บาทในครั้งนี้ ไปวางจำหน่ายในงานวัฒนธรรมที่จะจัดขึ้นภายในเดือนหน้า จะมีการนำผลผลิตจากเกษตรกรที่เข้าร่วมไปวางขายภายในงานและจะมีการปรับถุงบรรจุเพื่อเป็นการโปรโมทสินค้าภายใต้โครงการ |
|
อบรมพัฒนาศักยภาพเกษตรกร การปลูกผักปลอดสารพิษ | 8 ก.ย. 2565 | 8 ก.ย. 2565 |
|
จัดกิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพเกษตรกร การปลูกผักปลอดสารพิษ มีเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ฟาร์มตัวอย่างเข้าร่วมอบรม โดยเชิญนักวิชาการเกษตรมาให้ความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษ |
|
|
|
ประชุมสร้างข้อตกลงเครือข่ายตลาดสีเขียวเคลื่อนที่ | 9 ก.ย. 2565 | 9 ก.ย. 2565 |
|
|
|
ประชุมสร้างข้อตกลงเครือข่ายตลาดสีเขียว ระหว่างเกษตรกรและสถานศึกษา มีสถานศึกษาเข้าร่วมทั้งหมด 6 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านแขยง โรงเรียนบ้านแอแว โรงเรียนเพลินพิศ ตาดีกานูรฮูดา (บ้านบาลูกากาปัส) ตาดีกานูรุดดีน บ้านตือมายูแลพศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มัสยิดมาดาริยิดตาอาลม |
|
กิจกรรมเปิดบูธประชาสัมพันธ์ตลาดสีเขียว | 10 ก.ย. 2565 | 10 ก.ย. 2565 |
|
|
|
ทีมตำบลเอราวัณ ได้มีการเปิดบู๊ทนำผลผลิตของเกษตรกรไปวางขายในงานสืบสานประเพณีวัฒนธรรม อำเภอแว้ง โดยเน้นการประชาสัมพันธ์โครงการตลาดสีเขียวเคลื่อนที่ผ่านแผ่นพับ ซึ่งจัดขึ้นระหว่าง 6-12 ก.ย. 65 เวลา 16.00-20.00 น. ซึ่งชาวบ้านที่มาร่วมงานให้ความสนใจและรับรู้ถึงความเป็นมาของโครงการ รวมไปถึงมีการอุดหนุนผลผลิตเพื่อนำไปเผยแพร่โครงการต่อไป |
|
ส่งมอบผลผลิต | 13 ก.ย. 2565 | 13 ก.ย. 2565 |
|
|
|
|
|
ประชุมวางแผนการดำเนินโครงการตลาดสีเขียว ครั้งที่ 2 | 19 ก.ย. 2565 | 19 ก.ย. 2565 |
|
|
|
จากการประชุมวางแผนทางทีมได้มีการทำหนังสือเชิญวิทยากรจากสำนักงานเกษตรอำเภอแว้ง บุคลากรทางการศึกษา และเกษตรกรเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ |
|
ติดตามและประเมินผลการเข้าร่วมโครงการของสถานศึกษา | 27 ก.ย. 2565 | 27 ก.ย. 2565 |
|
|
|
จากการลงพื้นที่สำรวจสถานศึกษา มีโรงเรียนบ้านแขยง 1 แห่ง ที่สามารถเข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการโรงเรียนไม่มีสัญญาซื้อขายผูกขาดกับร้านค้า ทำให้สามารถเลือกซื้อวัตถุดิบเอง แตกต่างจากโรงเรียนอื่นที่ไม่สามารถเลือกซื้อเองได้ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของปริมาณการซื้อที่น้อย จึงสามารถหาวัตถุดิบจากแปลงเกษตรที่ปลูกไว้ภายในโรงเรียนและจากชาวบ้านในพื้นที่ |
|
ประชุมวางแผนติดตามการดำเนินงานโครงการตลาดสีเขียว ระหว่างเกษตรและโรงเรียน | 28 ก.ย. 2565 | 28 ก.ย. 2565 |
|
|
|
จากการลงพื้นที่ติดตามผลโครงการ พบว่า โรงเรียนบ้านแขยง มีการสั่งซื้อผลผลิตจากฟาร์มตัวอย่างโดยตรงและเกษตรกรมีการส่งออกผลผลิตไปวางจำหน่ายที่ตลาดและรถเร่ |
|