นโยบายสวนยางยั่งยืน

ประชุมปรึกษาหารือจัดทำแผนความร่วมมือขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน(5 รูปแบบ)สวนยางยั่งยืนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัดชุมพร/ระนอง20 เมษายน 2566
20
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Kero
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้รูปแบบการจัดทำสวนยางยั่งยืน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานระดับจังหวัด/กลุ่มจังหวัดหรือ  เขต กยท. (ใต้บน-ใต้กลาง-ใต้ล่าง)  จัดประชุมปรึกษาหารือเพื่อจัดทำแผนความร่วมมือเกษตรกรรมยั่งยืนระดับจังหวัด
ทั้งนี้บางจังหวัดหรือเขตพื้นที่ กยท.  อาจบูรณาการร่วมกับกิจกรรมตามแผนงานของหน่วยงานในพื้นที่และพูดคุยการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านยุทธศาสตรืสวนยางยั่งยืน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทิศทางการดำเนินงานเกษตรยั่งยืน โดย ผอ.การยางแห่งประเทศไทย จังหวัดชุมพร การยางแห่งประเทศไทยยินดีที่ทางสมาคมประชาสังคมชุมพร เห็นความสำคัญของเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อให้เกิดการบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องชาวสวนยาง นอกจากนี้ยังมีในเรื่องของการส่งเสริมการปลูกแทน การให้เงินทุนสงเคราะห์ หรือ เงินอุดหนุนต่างๆ  เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับเกษตรกร  กลุ่มและสถาบันเกษตรกร ในการขยายขนาดการผลิต การแปรรูป การตลาด กยท.ก็ให้ความสำคัญ ในการบริหาจัดการต้องให้ความสำคัญกับต้นน้ำ และปลายน้ำคำนึงถึงเรื่องราคาเป็นหลัก แต่ลืมในเรื่องของความเข้มแข็ง พี่น้องเกษตรกรค่อนข้างอ่อนแอ คือ อ่อนแอจากตัวเกษตรกรเอง  จากปัจจัยภายนอก จากต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง การทำเกษตรพึ่งพิงกับสารเคมีมากเกินไป ลืมพื้นฐานวิถีชีวิตเดิมๆ องค์ความรู้ในสมัยอดีตมีอยู่แล้ว แต่ไม่ได้นำมาปรับใช้ให้เข้ากับสภาพของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ถ้านำปรับประยุกต์ใช้ระหว่างข้อมูลพื้นฐานองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมกับปัจจุบัน ปรับประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีสมัยใหม่กับนวัตกรรม ข้อมูลทางวิชาการมาใช้ จะช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับพี่น้องเกษตรกรได้อย่างชัดเจน  ลดต้นทุนการผลิต ปุ๋ย ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน รายได้สามารถซื้อขายผลิตได้เองในครัวเรือน ไม่มีค่าใช้จ่ายสู่ภายนอกจะทำให้เกิดความยั่งยืนต่อเกษตรกร นอกจากนี้ยังสนับสนุนในส่วนวิชาการ กรมวิชาการเกษตร  ซึ่งจะเกิดผลกระทบกับเกษตรกร จึงจำเป็นต้องคิดวิเคราะห์คำนึงถึงหลักการและเหตุผล เป็นเวทีพี่น้องเกษตรจากหลายภาคส่วนมาร่วมคิด การดำเนินการโครงการ และเป็นการขับเคลื่อนในภาพรวมของทั้งภาคใต้ทั้งหมด ให้ความสำคัญในเรื่องของเกษตรกรรมยั่งยืน สร้างความมั่งคั่ง มั่นคงในเรื่องของการตลาด    ปัจจุบัน GDP ของจังหวัดชุมพร ไม่ได้มาจากยาง โดยยางจะอยู่ในอันดับที่ 4  อันดับแรกเป็นทุเรียน เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญซึ่งสร้างรายได้ให้เกษตรกรชาวสวน มีการนำเข้าส่งออกกึ่งมหภาค มีนักธุรกิจภายนอก มีการเคลื่อนย้ายแรงงาน  ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกษตรกรไม่ให้ความสำคัญ เริ่มเปลี่ยนวิถีไป ผลผลิตไทยภาคการเกษตรที่ให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูง ต้นทุนยางกับทุเรียนต่างกัน แต่ผลผลิตระยะยาวมาคำนวณอาจไม่สมดุลกัน  นอกจากคำนึงตัวเองแล้ว ต้องคำนึงการตลาดด้วย ต้องพืชเศรษฐกิจที่เป็นรายได้ รายวัน รายเดือน รายปี  เกษตรกรที่มีความประสงค์จะปลูกแบบเกษตรกรรมยั่งยืน สามารถขอทุนได้ แต่เกษตรกรยังไม่เห็นความสำคัญ ไม่ให้ความสนใจ เป้าหมาย 8000 ไร่ ครึ่งปี (2 ไตรมาส) ได้เพียง 600 กว่าไร่  เกษตรกรรมยั่งยืนเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา 3-5 ปี  ให้ทำการเกษตรด้วยความประณีต ด้วยความระมัดระวัง อย่าทำตามกระแส จะทำให้เกิดผลกระทบกับตัวเกษตรกร ต้องคิดวิเคราะห์ คำนึงเหตุผล เวทีนี้เป็นเวทีที่ดี พี่น้องหลายภาคส่วนมาร่วมคิดแผนกลยุทธ์ ในการจัดทำโครงการเป็นการขับเคลื่อนในภาพรวมทั้งภาคใต้  ซึ่งกยท.มีแผนพัฒนาวิสาหกิจของประเทศไทย ในระยะ 20 ปี เรื่องการทำเกษตรกรรมยั่งยืน แผนตั้งแต่ปี 2560 – 2579 ที่ให้ความสำคัญกับแผนพัฒนาประเทศ การดำเนินการใดที่สามารถยกระดับรายได้ให้กับเกษตรกร และสามารถพึ่งพาตนเองได้ สร้างรายได้เสริม สร้างความมั่นคงยั่งยืนให้กับเกษตรกรได้ สิ่งนั้น กยท. จะดำเนินการ ที่ผ่านให้เงินอุดหนุนในเรื่องของการใช้โซล่าเซลล์ น้ำ อาชีพเสริม ก็มี  ปีมีงบประมาณ 800,000 บาท สนับสนุนเกษตรกร 500,000 บาท ในเรื่องการทำเกษตรกรรมยั่งยืน โดยดูจากเกษตรที่ดำเนินการอยู่แล้ว และคาดว่าจะดำเนินการประสบความสำเร็จ เป็นเกษตรกรต้นแบบให้กับเกษตรกรอื่นๆ ในส่วนของนวัตกรรม เทคโนโลยีต่างๆ สถาบันวิชาการ กยท.จะร่วมกับ มอ. ม.แม่โจ้
สจล. ซึ่ง กยท.ได้ทำ MOU ไว้แล้ว อยากให้เกษตรกรเห็นคุณค่าการทำเกษตรกรรมยั่งยืนให้มากที่สุด ซึ่งที่ผ่านมาอาจเป็นเพราะประชาสัมพันธ์น้อยไป ภาพรวมผลกระทบ นโยบายขาดแรงจูงใจ  2-3 ปี จะเร่งดำเนินการ เร่งให้เกิดผลกระทบเชิงประจักษ์อย่างชัดเจนในเรื่องรายได้ นวัตกรรม เชื่อว่าหน่วยงานในกระทรวงเกษตรทุกภาคส่วนจะให้ความรวมมือกับสมาคม สมาพันธ์ เครือข่าย ในการดำเนินการเกี่ยวกับเกษตรกรรมยั่งยืน  ในส่วนของความช่วยเหลือ กยท.สามารถช่วยได้ในด้านทุนอุดหนุน วิชาการ ความรู้ ยินดีช่วยเป็นอย่างยิ่ง

ตัวองค์ความรู้ ฐานข้อมูลโดนบังคับจากความเคยยินในอดีต มีแต่ยางอย่างเดียวปลูกอะไรไม่ได้ ทักษะการส่งเสริมของตัว กยท. เอง กับตัวภาคียังขาดทักษะเรื่องนี้มาก ภาพเก่าจากระบบเศรษฐกิจในสวนยางเคยมีรายได้สูง มีทางเลือกตัวอื่น จึงมองข้ามที่จะทำเสริมในสวนยาง กลไกกฎหมายตัวระเบียบยังเอื้อ ปัจจุบันนี้ยิ่งขยันยิ่งจน ใช้จ้างแรงงานอย่างเดียว ชี้สั่งงาน  เกษตรบูรณาการ หน่วยงานภาคเกษตรมุ่งไปหมู่บ้านเกษตรสมบูรณ์หมด ทำยังไงจะให้เกษตรกรได้รับรู้ กยท. กำหนดให้แต่ละเขต แต่ละจังหวัดมีคณะกรรมการ แต่ทำไม่มีกรรมการที่เป็นตัวแทนมาจากเกษตรกรชาวสวนยางเลย ควรเอามาเป็นเครื่องมือช่วยในการทำความเข้าใจและขยายฐานการทำเกษตรกรรมยั่งยืน  ทาง มอ. ม.แม่โจ้ จะทำคู่มือทางเลือก คล้ายกับการทำหลักสูตร เพื่อเผยแพร่ทำความเข้าใจในเรื่องเกษตรกรรมยั่งยืน กยท. เสนอกำหนดนโยบายขึ้นไป การเลี้ยงสัตว์ การปลูกพืช สามารถทำร่วมกันได้หมดทุกอย่าง กยท.ก็ให้ความสำคัญ สุดท้ายขึ้นอยู่กับเกษตรกร อย่าสร้างเงื่อนไขหรือเปลี่ยนวิถีชีวิต บริบทกับเกษตรกรมากเกินไป ต้องชี้นำ แนะนำเกษตรกร ให้เห็นความสำคัญ ประโยชน์ และค่าใช้จ่ายๆ ต่าง ก็จะทำให้สามารถขยับไปได้
การทำ Roadmap  จะเป็นเครื่องมือช่วยการคิดเชิงระบบ ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ทำให้เห็นภาพทั้งระบบ ปัจจุบันอยู่ที่ไหน และจะไปทางไหนต่อ ที่เจรจาไว้แล้วว่าจะสามารถไปสอดรับกับเงื่อนไขของหน่วยงานได้หรือเปล่า ได้แก่ เรื่องภายใต้ทรัพยากรที่ กยท. มีอยู่  ภายใต้แผนพัฒนาจังหวัด ต่อกับโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ กระทรวงอว. เรื่องเครดิตคาร์บอน  4 ตัวนี้ จะเป็นตัวตอบว่าพื้นที่ไหน กลุ่มเป้าหมาย ต่อกับแหล่งทุนไหน การทำเกษตรกรรมยั่งยืน มี 5 รูปแบบ เพิ่มแบบสวนยางยั่งยืนอีก 1 รูปแบบ รวมเป็น 6 รูปแบบ คิดให้ตลอดทั้งกระบวนการ ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ  วิธีคิดเชิงระบบเอาจากประสบการณ์บวกกับความรู้ กยท.ควรทำมุมความรู้เพื่อให้ผู้ที่มาติดต่อได้ดูและสร้างความเข้าใจ  การทำสวนยางระบบเกษตรหลากหลายแบบแยกแปลง ระบบพืชร่วม ระบบเกษตรผสมผสาน

สรุปผลการดำเนินงานและทิศทาง -เครือข่ายสวนยางยั่งยืน : นายอดิศักดิ์  ยมสุขี ดำเนินเครือข่ายโครงการสวนยางยั่งยืน  ถือว่าประสบความสำเร็จในการทำสวนยางยั่งยืนถึงจะไม่ทั้งหมด แต่เอาแปลงที่ทำสำเร็จเป็นต้นแบบไปให้กับเกษตรกรอื่นๆ ได้ดู  โดยแปลงของนายฉลองชาติ ยังปักษี เป็นการทำเกษตรแบบวรรณะเกษตร  นายวิเวก อมตเวทย์ เป็นการทำเกษตรผสมผสาน แบบรุ่นใหม่ เริ่มจากการออกแบบวางผังแปลง เป็นแนวทางที่ควรได้รับการพัฒนามากที่สุด  นายอดิศักดิ์ ยมสุขขี ในสวนเป็นยางรุ่นเก่าแล้ว จากการไปสำรวจสอบถามในพื้นที่ แบบนี้จะมีคนทำเยอะที่สุดทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นยางที่มีอยู่แล้ว จะทำอย่างไรให้เกิดการพัฒนา ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จาก -3 แปลงต้นแบบ ก็ขยายเป็น 10 แปลงต้นแบบ และจะขยายผลอีก 10 แปลง ในปีหน้า เพื่อให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด ทำให้เห็นว่า มีประโยชน์ เกิดรายได้เพิ่ม  ยังเครือข่ายที่ครอบคลุมทั้งจังหวัด งาน กยท. คือการตั้งกลุ่มแปลงใหญ่ยางพารา ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดของกลุ่มมากที่สุด รวมแปลงใหญ่ยางพารา มี 34  ราย พื้นที่ 400กว่าไร่ ได้บูรณาการร่วมกับ กยท.  มี 20 กว่าแปลงเริ่มเปลี่ยนตัวเอง  ของนายทวี  มีการปลูกไม้เศรษฐกิจร่วมกับยางพารา อุปสรรคที่เกิด เกษตรกรวิ่งตามกระแส เช่น การปลูกทุเรียน ปัญหาหลักคือ ยางพาราราคาตกต่ำ  ยังยึดติดกับการทำเกษตรแบบดั้งเดิม พยายามทำพื้นที่สวนแตงให้เป็นแปลงต้นแบบให้ได้  ควรแบ่งเป็น ยางพาราอายุ 1-5 ปี  และ ยางพาราที่หลังการเก็บเกี่ยว  การปลูกข้าวไร่ในร่มเงาสามารถปลูกในสวนยางพาราได้ -เครือข่ายข้าวไร่ชุมพร : นายนิพนธ์  ฤทธิชัย
จากการทำข้าวไร่เมื่อปีที่แล้ว ข้าวไร่เป็นข้าวที่ต้องปลูกตามฤดูกาล ปัญหาของลมฟ้าอากาศที่ไม่ตรงตามฤดูกาลจะมีผลพอสมควร ที่ผ่านมาข้าวไร่สุกในช่วงที่ฝนตกทำให้ข้าวเกิดความเสียหาย เรื่องของแรงงานการทำข้าวไร่ลดน้อยถอยลง  เกษตรกรที่ยังทำกันอยู่ในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป ทำให้เกิดปัญหาด้านแรงงานถือว่าหนักพอสมควร  พื้นที่มีจำกัด  การที่ไปขอพื้นที่ทำข้าวไร่เพื่อให้เห็นว่า ตัดต้นยางพารา ปาล์มน้ำมัน ก็สามารถที่จะสร้างประโยชน์ในพื้นที่จากการปลูกข้าวไร่ได้ เกิดรายได้ แต่บางคนมีเงินไม่มีความสนใจ ที่ทำหลักเลยคือ ความมั่นคงทางอาหาร และการอนุรักษ์พันธุกรรมข้าวไร่ การจะอนุรักษ์พันธุ์ไว้ได้ ต้องปลูกทุกปี  ต้องสร้างให้เกิดคุณค่าประโยชน์ เกิดเศรษฐกิจจะเป็นจูงใจในการรักษาพันธุ์ไว้ได้ ต้องหาวิธีการผลิต การแปรรูป เพื่อขายเป็นรายได้เสริม การสร้างมูลค่าเพิ่มการแปรรูปจากข้าวสารให้เป็นผลิตภัณฑ์อื่นให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ได้ผลผลิตที่มาก แปรรูปให้ได้มูลค่ามากขึ้น  การสร้างอาหาร ลดรายจ่าย ต้องมีการสื่อสารให้เห็นถึงทางเลือก ทางรอด การแปรรูปต้องมีตลาดรองรับ มีการคุยกับทางTOGA และ โรงแรม 4 แห่ง ที่ภูเก็ต  การทำเป็นธุรกิจต้องดูพื้นที่ ราคาต้องมีความเหมาะสมคุ้มทุน จะหาพื้นที่ ลดรายจ่ายในการซื้ออาหาร การทำข้าวไร่อินทรีย์เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก จึงทำอยู่ในระดับปลอดภัย การทำตลาดมีเครือข่ายอยู่    สมาพันธ์พกฉ.  วิสาหกิจคนทำธุรกิจ  สมาชิกเครือข่ายที่เดินต่อข้าวไร่  จึงมีช่องทางที่จะไปไม่ใช้ปลูกไว้กินอย่างเดียว แต่สามารถมีรายได้เพิ่ม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

()

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 32 คน จากที่ตั้งไว้ 32 คน
ประกอบด้วย

แกนนำเกษตรกรจังหวัดชุมพร/ระนอง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่