นโยบายสวนยางยั่งยืน

ประชุมปรึกษาหารือพัฒนากลไกความร่วมมือระดับภาคใต้2 ธันวาคม 2565
2
ธันวาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย Kero
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้มีคณะทำงานขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนในระดับจังหวัดและพื้นที่ภาคใต้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานงาน ปรึกษาหารือผู้ที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัดและภาคใต้เพื่อจัดตั้งคณะทำงาน ด้วยองค์ประกอบ: ภาคประชาชน/ประชาสังคม.,เอกชน-วิชาการ , กยท.,สปก. , กษ.,หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง,สภาเกษตรกร,กองทุนฟื้นฟู,ฯ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เพื่อประมวลสังเคราะห์ ยกร่างแผนยุทธศาสตร์สวนยางยั่งยืน สู่เวทีสมัชชาสวนยางยั่งยืน จ.ลำปาง มีผลการประชุมดังนี้ 1) การขับเคลื่อนและผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายเวทีสร้างสุขภาคใต้ ความมั่นคงทางอาหาร:ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ คณะทำงานเครือข่ายระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้  เป็นกลไกความร่วมมือจากภาคประชาสังคม  ภาควิชาการ  ภาคราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมตัวกันแบบไม่เป็นทางการ  ทำงานในแนบราบ ได้ร่วมกันขับเคลื่อนสร้างความมั่นคงทางอาหาร เช่น ส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน  ส่งเสริมพืชร่วมยางหรือป่ายาง การอนุรักษ์พันธุกรรมพื้นเมือง ฯ  ตามกลุ่มประเด็นต่าง ๆ  โดยเฉพาะเครือข่ายเกษตรชาวสวนยางภาคใต้ ซึ่งได้จัดเวทีสมัชชาสวนยางยั่งยืน  (ออนไลน์) ครั้งที่ 2  ในเดือนพฤศจิกายน ปี 63  มีข้อเสนอแนวทางขับเคลื่อนสวนยางยั่งยืน  ซึ่งที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  อาทิ เช่น  การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ในการปรับรูปแบบการสนับสนุนขอการปลูกยางเกษตรผสมผสาน  เป็น กยท.แบบ 3 สวนยางยั่งยืน  การส่งเสริมการผลิตพืชและปศุสัตว์ร่วมยางพาราเดิม  การสนับสนุนเทคโนโลยีการเกษตร  การส่งเสริมแปลงต้นแบบ    และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.)  ก็กำหนดแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืนในแผนปฏิบัติราชการ ปี 66-70  เป็นต้น


2.  (ร่าง)  ยุทธศาสตร์สวนยางยั่งยืน 2.1 วิสัยทัศน์ “สวนยางพารายั่งยืน เป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญต่อเศรษฐกิจ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนของเกษตรกรผู้ทำสวนยางพาราในประเทศไทย”
2.2 เป้าหมายการพัฒนา ระยะ 5 ปี
1) ปรัชญาและแนวทางการทำสวนยางยั่งยืนที่เหมาะสมกับภูมินิเวศท้องถิ่น ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมและขยายผลในทุกภูมิภาคของประเทศ 2) องค์กรและสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืนมีความเข้มแข็ง สามารถดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ 3) เกิดการบูรณาการยุทธศาสตร์และแผนงานร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักในการส่งเสริมและสนับสนุนการทำสวนยางยั่งยืน
4) เกิดการปรับปรุงกฎระเบียบและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา การสนับสนุน และกลไกด้านการตลาดที่เกี่ยวข้องกับการทำสวนยางยั่งยืน
2.3 ประเด็นยุทธศาสตร์และแผนงาน ยุทธศาสตร์ที่ 1 การรวบรวมและถ่ายทอดองค์ความรู้การทำสวนยางยั่งยืน (Collection, documentation and transferring of knowledge) เป้าประสงค์ 1)การจัดการองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำสวนยางยั่งยืนที่ครอบคลุมตั้งแต่แนวคิด รูปแบบที่สอดคล้องกับทุกภูมินิเวศ และตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกรและสนับสนุนความเป็นเอกภาพในการขับเคลื่อนงานสวนยางยั่งยืน
2)การถ่ายทอดความรู้ที่หลากหลายแก่กลุ่มเป้าหมายหลักที่ครอบคลุมทั้งกลุ่มเกษตรกรรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ กลุ่มผู้สนับสนุน และผู้กำหนดนโยบายในระดับต่างๆ และมีกลไกสนับสนุนให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปสู่การปฏิบัติจริง ตัวชี้วัด
-จำนวนและประเด็นองค์ความรู้ที่มีการรวบรวมหรือทำวิจัยมีความครอบคลุมทุกภูมินิเวศ -ความหลากหลายของคู่มือและหลักสูตรการฝึกอบรมที่จัดทำขึ้นสำหรับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม
-จำนวนและความหลากหลายของผู้ผ่านการอบรม และผลการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่หรือในหน่วยงานหรือองค์กร
แผนงาน 1)การรวบรวมและพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับสวนยางยั่งยืนในประเด็นที่สำคัญ ทั้งองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้ว และองค์ความรู้ที่จำเป็นต้องสร้างขึ้นใหม่ผ่านการวิจัย เช่น รูปแบบสวนยางที่มีความเหมาะสมกับแต่ละภูมินิเวศ พันธุ์ยาง ธนาคารน้ำใต้ดิน มิติทางเศรษฐศาสตร์จากสวนยางยั่งยืน ฯลฯ 2)การจัดทำคู่มือหรือแนวทางเกี่ยวกับการทำสวนยางยั่งยืน ที่ครอบคลุมประเด็นและรูปแบบต่างๆ ของการทำสวนยางยั่งยืน สำหรับใช้ในกระบวนการฝึกอบรมและเผยแพร่แก่เกษตรกรที่สนใจผ่านกลไกของสมัชชาหรือหน่วยงานหลักต่างๆ 3)การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมและจัดอบรมในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำสวนยางยั่งยืน สำหรับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ ประกอบด้วย เกษตรกร เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง โดยมีรูปแบบการฝึกอบรมที่หลากหลายขึ้นอยู่กับลักษณะของกลุ่มเป้าหมายและสถานการณ์ ผสมผสานทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากแต่มีคุณภาพ มีกลไกการติดตามหรือสนับสนุนผู้ผ่านการอบรมให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปสู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่หรือหน่วยงานของตนเอง
3)การพัฒนาหลักสูตรและจัดอบรมให้แก่เกษตรกรรุ่นใหม่ โดยคำนึงถึงกระบวนการและรูปแบบการถ่ายทอดความรู้ที่เหมาะสมกับคนรุ่นใหม่ เพื่อสร้างความเข้าใจ แรงบันดาลใจ และแนวทางในการต่อยอดและสืบทอดการทำสวนยางยั่งยืน รวมทั้งมีกลไกการติดตามหรือสนับสนุนผู้ผ่านการอบรมให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปสู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเสริมสร้างความเข้มแข็งองค์กรและสถาบันเพื่อขับเคลื่อนงานสวนยางยั่งยืน (Strengthening of organization and institution) เป้าประสงค์ 1)การตั้งสมัชชาหรือสมาคมสวนยางยั่งยืนระดับชาติที่มีการกำหนดโครงสร้างการดำเนินงาน บทบาทหน้าที่ รวมทั้งกลไกการสื่อสาร การสนับสนุนและติดตามการดำเนินงานร่วมกันอย่างชัดเจน เพื่อความต่อเนื่องและความก้าวหน้าของการขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ 2)มีฐานข้อมูลและกลไกกองทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
ตัวชี้วัด -โครงสร้างและแนวทางขับเคลื่อนงานของสมัชชาในทุกระดับ -ฐานข้อมูลและกลไกกองทุน และการใช้ประโยชน์จากระบบฐานข้อมูลและกองทุน
แผนงาน 1)การพัฒนาสมัชชาหรือสมาคมสวนยางยั่งยืนระดับชาติ ที่มีความชัดเจนทั้งด้านโครงสร้าง บทบาทหน้าที่ และบุคลากรที่เป็นตัวแทนในทุกๆ ระดับ ทั้งนี้เน้นโครงสร้างการดำเนินงานและกลไกการตัดสินใจแบบแนวราบหรือแนวระนาบ
2)การจัดประชุมสมัชชาสวนยางยั่งยืน ทั้งการประชุมใหญ่ประจำปี การประชุมในระดับเขตหรือระดับพื้นที่ เพื่อทบทวนบทเรียนและความก้าวหน้าการดำเนินงาน รวมทั้งการวางแผนดำเนินงานร่วมกัน 3)การจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับสมาชิกสมัชชาฯ รวมทั้งชุดข้อมูลและชุดความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับสวนยางยั่งยืน (เช่น มีพื้นที่ต้นแบบ มีศูนย์เรียนรู้ มีปราชญ์ชุมชนอยู่ที่ไหนบ้าง มีงานวิจัยอะไรบ้าง เป็นต้น) ที่เป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนงานในทุกๆ ระดับ
4)การจัดทำกองทุนสวนยางยั่งยืน/สวนยางสีเขียว ที่ประกอบด้วยองค์กรและบุคลากรเพื่อการบริหารจัดการกองทุนที่ชัดเจนและเป็นกลไกการบริหารจัดการกองทุนที่มีความยั่งยืน เช่น ในรูปแบบของมูลนิธิ หรือองค์กรทางธุรกิจในลักษณะวิสาหกิจเพื่อสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Enhance communication, sharing and learning of stakeholders) เป้าประสงค์ 1)สร้างความตระหนักให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักและคนในสังคมถึงความสำคัญของสวนยางยั่งยืน  และมีความเข้าใจการดำเนินงานของสมัชชาสวนยางยั่งยืน 2)มีเวทีและช่องทางการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การเรียนรู้และถอดบทเรียนร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งในด้านการส่งเสริมสนับสนุนการทำสวนยางยั่งยืนและด้านการตลาด ตัวชี้วัด -ความเข้าใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักและคนในสังคมเกี่ยวกับผลประโยชน์ของสวนยางยั่งยืนทั้งใน ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความเข้าใจแนวคิดและแนวทางการขับเคลื่อนงานของสมัชชาสวนยางยั่งยืน -จำนวนและความหลากหลายของหน่วยงานที่เข้ามาร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และร่วมสนับสนุนการดำเนินงานของสมัชชาสวนยางยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น -เกษตรกรและกลุ่มวิสาหกิจที่เกี่ยวกับสวนยางยั่งยืนที่สามารถเข้าถึงตลาดและกลุ่มผู้ซื้อที่สนับสนุนผลิตภัณฑ์จากระบบสวนยางยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น แผนงาน 1)การจัดทำสื่อและการเผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อการสื่อสารข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เกษตรกร ผู้กำหนดนโยบาย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง แหล่งทุน รวมทั้งคนรุ่นใหม่และสาธารณะชนหรือผู้สนใจทั่วไป ให้เห็นความสำคัญของการทำสวนยางยั่งยืน และเข้าใจแนวคิดและการดำเนินงานของสมัชชาสวนยางยั่งยืน
2)การจัดทำแอปพลิเคชั่นเชิงธุรกิจเกี่ยวกับสวนยางยั่งยืน เพื่อเป็นแพลตฟอร์มกลางทางการตลาด (marketing platform) ที่เชื่อมโยงระหว่างเกษตรกร/ผู้ผลิต กับผู้ซื้อและภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
3)การจัดทำเวทีวิชาการด้านสวนยางยั่งยืน ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ เพื่อเป็นเวทีกลางที่สร้างการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ การถอดบทเรียนและองค์ความรู้ ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทุกๆ ระดับ รวมทั้งกับแลกเปลี่ยนประเด็นด้านการตลาดกับกลุ่มผู้ซื้อ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างพื้นที่ต้นแบบหรือพื้นที่รูปธรรมเกี่ยวกับสวนยางยั่งยืน (Developing best practice model or innovative model)
เป้าประสงค์ 1)สร้างพื้นที่ต้นแบบและศูนย์เรียนรู้ด้านสวนยางยั่งยืนให้ครอบคลุมทุกภูมินิเวศและลักษณะพื้นที่ 2)มีการถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ และแนวทางการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ในสวนยาง ที่พัฒนาขึ้นโดยหน่วยงานต่างๆ ลงสู่ระดับพื้นที่ 3)เกิดแนวทางความร่วมมือระดับพื้นที่เพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนสวนยางยั่งยืน
ตัวชี้วัด -รูปแบบและผลการดำเนินการพื้นที่ต้นแบบและศูนย์เรียนรู้ในแต่ละภูมินิเวศ และรูปแบบของพื้นที่ต้นแบบที่ดำเนินการโดยคนรุ่นใหม่ -จำนวนพื้นที่และจำนวนครัวเรือนที่ได้รับการถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยี และผลจากการนำนวัตกรรมไปดำเนินการในพื้นที่ของเกษตรกร
-จำนวนแผนแม่บทและความหลากหลายของภาคีความร่วมมือที่เข้าร่วมในกระบวนการ -เอกสารสรุปบทเรียนกระบวนการสร้างพื้นที่ต้นแบบ ศูนย์เรียนรู้ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการจัดทำแผนแม่บท เพื่อเป็นข้อมูลสู่การขยายผลหรือจัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายต่อไป แผนงาน 1)การสร้างพื้นที่ต้นแบบและศูนย์การเรียนรู้ด้านสวนยางยั่งยืน ในระดับเขตพื้นที่หรือระดับจังหวัด ให้มีความครอบคลุมทุกภูมินิเวศและทุกลักษณะของพื้นที่ (รวมพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ พื้นที่ในเขตป่าไม้ เช่น คทช.) รวมทั้งมีพื้นที่ต้นแบบที่ดำเนินการโดยเกษตรกรรุ่นใหม่ และเชื่อมโยงเรื่องคาร์บอนเครดิต
2)การถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีลงสู่ระดับพื้นที่ ทั้งนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสวน รวมไปถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากระบบสวนยางยั่งยืน เช่น นวัตกรรมและเทคโยโลยีที่พัฒนาโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสถาบันวิชาการต่างๆ ในระดับภูมิภาคหรือระดับประเทศ 3)การจัดทำแผนแม่บทการขับเคลื่อนสวนยางยั่งยืน ในระดับเขตพื้นที่หรือระดับจังหวัด เพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานและภาคีความร่วมมือในระดับพื้นที่พัฒนาเป้าหมายและแนวทางร่วมกันในการขับเคลื่อนงานสวนยางยั่งยืนในระยะยาว และใช้เป็นเครื่องมือในการบูรณาการความร่วมมือและการสนับสนุนจากหน่วยงานหลักให้มีความต่อเนื่อง ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเพิ่มประสิทธิภาพกลไกสนับสนุนการทำสวนยางยั่งยืน (Increase efficiency of supporting mechanisms) เป้าประสงค์ เกิดกลไกระดับชาติที่มีความเข้มแข็งเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานด้านสวนยางยั่งยืน ตัวชี้วัด -กลไกของภาครัฐที่มีการพัฒนาหรือปรับปรุงเพื่อการส่งเสริมสนับสนุนงานสวนยางยั่งยืนในระยะยาว -ยุทธศาสตร์และแผนงานที่มีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก -สัดส่วนของเกษตรกรรายย่อยที่เข้าถึงและได้รับการรับรองมาตรฐานเพิ่มมากขึ้น แผนงาน 1)การผลักดันกลไกระดับชาติของภาครัฐ ประกอบด้วย ให้มีตัวแทนสมัชชาสวนยางยั่งยืนอยู่ในกลไกของคณะกรรมการระดับประเทศ (เช่น คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.)) หรือมีคณะอนุกรรมการด้านสวนยางยั่งยืนที่ประกอบด้วยตัวแทนจากทุกภาคส่วน รวมทั้งการผลักดันประเด็นสวนยางยั่งยืนเป็นวาระแห่งชาติหรืออยู่ในยุทธศาสตร์ระดับชาติ
2)การบูรณาการยุทธศาสตร์และแผนงานร่วมกับหน่วยงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการสร้างพื้นที่รูปธรรม การวิจัย หรือการพัฒนานวัตกรรม ที่ต้องมีการกำหนดเป้าหมายร่วมและกระบวนการสนับสนุนในระยะยาว
3)การผลักดันให้เกิดการปรับปรุงกฎระเบียบหรือนโยบายที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กฎระเบียบและแนวทางการสนับสนุนจากการยางแห่งประเทศไทย นโยบายที่เกี่ยวข้องของกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และกระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น
4)การพัฒนาและส่งเสริมกลไกรับรองมาตรฐานสำหรับการทำสวนยางยั่งยืน โดยอิงมาตรฐานทั้งที่มีอยู่แล้วภายในประเทศ และมาตรฐานสากล

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 13 คน จากที่ตั้งไว้ 13 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน/แกนนำระดับพื้นที่

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่