นโยบายสวนยางยั่งยืน

ถอดบทเรียนเพื่อจัดทำคู่มือส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน :สวนยางยั่งยืนภาคใต้11 สิงหาคม 2565
11
สิงหาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย Kero
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำคู่มือการขับเคลื่อนงานเกษตรกรรมยั่งยืน :สวนยางยั่งยืน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการ ประชุมถอดบทเรียนเพื่อจัดทำคู่มือส่งเสริมเกษตรกรรมยั่นยืน : สวนยางยั่งยืนภาคใต้ ผ่านระบบ Zoom :  https://happynetwork.org/zoom  (กลไกสร้างภาคใต้ 6818182543)
เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดทำคู่มือส่งเสริมเกษตรกรรมยั่นยืน : สวนยางยั่งยืนภาคใต้ ในวันที่ 11 สิงหาคม พศ.2565    ตั้งแต่เวลา  13.00 – 16.00 น.         เวลา กิจกรรม 13.00 – 13.30 น. ชี้แจงกระบวนการ/วัตถุประสงค์ /เค้าโครงคู่มือส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน โดย นายทวีวัตร เครือสาย/ผศ.ดร.ชุมพล  อังคณานนท์ 13.30 – 15.30 น. แลกเปลี่ยนบทเรียน/ข้อเสนอแนวทางปฎิบัติ -นางสาวรัตนา  มุณีแนม  สำนักงานปฎิรูปที่ดินจังหวัดพัทลุง -นายสุรชิน  จินดาพันธ์    ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยสาขาร่อนพิบูลย์ -นายภิรม    หนูรอด      ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง -นายวิทยา  แท่นรัตน์      คนกล้าคืนถิ่นภาคใต้ -นางสุวณี    สมาธิ          สมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง -นางสาวอรัญญา อุทัยแจ่ม  สำนักงานปฎิรูปที่ดินจังหวัดภูเก็ต 15.30 – 16.00 น. - สรุปนัดหมายประชุมพิจารณาคู่มือฯ และการลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ.ศูนย์ปฎิบัติการ มอ.ทุ่งใสไช อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีเครือข่ายเข้าร่วมตามเป้าหมายที่วางไว้
เกิดร่างคู่มือการขับเคลื่อนงานเกษตรกรรมยั่งยืน:สวนยางยั่งยืน  ภาคใต้  สู่โมเดล BCG 1.บทนำ
2. ความเป็นมา หลักการและรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืน 5 รูปแบบ
3. นโยบาย ข้อกฎหมาย แผนงานโครงการที่เกี่ยวข้อง
3.1 การส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน และสวนยางยั่งยืน
3.2 การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โมเดลเศรษฐกิจ BCG 4.แนวทางขั้นตอนส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน สู่โมเดล BCG 4.1 คุณลักษณะนักส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน 1. ต้องมีความเชื่อ ว่าสวนยางยั่งยืนนำไปสู่การอยู่รอดของเกษตรกรได้ แล้วก้าวไปสู่ BCG และจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง (สร้างความเชื่อจากประสบการณ์ แปลงต้นแบบ หรือหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชัดเจน)
2. ส่งเสริม อบรม พัฒนาทักษะนักส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เกษตรกรได้อย่างดี ตลอดต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ 3. เป็นนักประสานงาน/นักประสานเครือข่ายที่ดี มีความสามารถ สามารถติดต่อประสานงาน หน่วยงานเพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือมีความรู้เฉพาะด้าน 4. เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจมาใช้ 5. ติดตามงานอย่างต่อเนื่อง 6. มีปฎิสัมพันธ์ที่ดีกับชาวบ้าน รับฟังปัญหาอย่างเป็นกลาง และแก้ปัญหาได้ตรงจุดตามความต้องการ
7. มีชุดความรู้เฉพาะ เช่น การนำเกษตรกรให้กลุ่มเครือข่ายอยากทำและสามารถทำได้
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม นิยาม “การจัดการสวนยางอย่างยั่งยืน” “สวนยางผสมผสาน” “เกษตรยั่งยืนในสวนยาง” เกษตรกรรมยั่งยืน ในบริบทใหม่ของแผน สภาพัฒน์ฯ ที่ขยายกว้างขึ้น (ยึดรูปแบบ/เป้าหมาย)
ข้อห่วงกังวล ผลผลิตที่ได้ จะขายที่ไหน ได้อย่างไร/เน้นบริบทของตลาด เช่น ตลาดสีเขียว ….  ความมั่นคงทางรายได้ (สร้างรายได้สู่การท่องเที่ยว ตัวอย่าง แปลง….(เสนอโดย สปก.ภูเก็ต)) ส่งเสริมสวนยางเป็นแหล่งท่องเที่ยว หน่วยงานภาครัฐต้องช่วยส่งเสริม เช่น ททท. เกษตร กยท. อปท.
ปัจจัยความสำเร็จ คือ พันธุ์ยาง (เดิม)ที่อ่อนแอต่อโรคใบร่วง สร้างความรู้ความเข้าใจโรคยาง/พันธุ์ยาง และการอยู่ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ
นวัตกรรมใหม่ๆ ที่เข้ามาช่วย/ทดแทน, อุปสงค์ อุปทาน ยางไทยเชื่อมโยงกับยางโลกอย่างไร, ไทยขาดการแปรรูปผลผลิตหรือเพิ่มมูลค่ายางพาราสู่เกษตกรอย่างแท้จริง บริบท/หัวข้อ ชุมชนกับ “การสร้างสวนยางยั่งยืน” เกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ มีความเชื่อว่า ผลผลิตที่ได้ค่อนข้างน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด สร้างความมั่นใจให้เกษตรกร มีการตลาดรองรับ อย่างครบวงจร/เป็นระบบ ปัญหาอุปสรรคในระดับบุคคล เช่น ชาวบ้านไม่มีความเข้าใจเรื่องสวนยางยั่งยืนและไม่อินกับเกษตรในสวนยาง การส่งเสริมสวนยางยั่งยืนค่อนข้างยาก จะต้องชี้ให้เห็นภาพวิกฤตเกษตรกรชาวสวนยางในอนาคต  หากจะดำเนินการอาจจะต้องมี 2 แนวทาง สำหรับกลุ่มที่มีความรู้บ้างอยู่แล้ว และกลุ่มที่เพิ่งเริ่มต้น ถอดบทเรียนจากโมเดลต้นแบบ สภาพปัญหาอุปสรรคต่อการดำเนินการที่เหมาะสมแต่ละบริบทพื้นที่ สำหรับกลุ่มที่เพิ่งเริ่มต้น จัดทำหลักสูตรการอบรม โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน บูรณาการองค์ความรู้ร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (หน่วยงานฝ่ายส่งเสริมเข้าร่วมด้วย) เพื่อออกแบบตัวหลักสูตร เช่น วิทยากรโดยปราชญ์ชาวบ้านถ่ายทอดเรื่องราวองค์ความรู้ อบรมแล้วได้รับประกาศนียบัตรที่สามารถนำไปขอทุนกับกยท. ได้ และดึงเยาวชนรุ่นใหม่หรือเกษตรกรหน้าใหม่มาเข้าร่วม การบูรณาการการทำงานร่วมกับท้องถิ่น แรงงานเกษตรกรรุ่นใหม่หรือเกษตรกรหน้าใหม่ที่ค่อนข้างน้อย ที่จะเข้ามาเป็นแรงผลักดันในเรื่องนี้ในอนาคต จังหวัดตรังมีเป้า ต้องการเพิ่มอาหาร “ข้าวไร่” ให้เพิ่มขึ้น ในพื้นที่แปลงยาง, เพิ่มพืชอาหารปลอดภัยแซมในสวนยาง สร้างทีม/แกนนำนักสื่อสาร เครือข่ายเข้มแข็ง เสริมสร้างแรงจูงใจต่อการทำสวนยางยั่งยืน ลดการพึ่งพาหน่วยงานแค่อย่างเดียว ข้อเสนอโดย คุณภิรม หนูรอด (ผอ.กยท.ตรัง) วางเป้า บรรจุหลักสูตร เข้าในแผนปี 2566 –> สร้างรูปธรรมที่ชัดเจนในพื้นที่จังหวัดตรัง
คุณภิรม หนูรอด (ผอ.กยท.ตรัง) ให้ข้อเสนอ นักส่งเสริมจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องดิน การเกษตร การแปรรูปเพิ่มมูลค่าผลผลิต
แผนการผลิต (ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ) ยังขาดการทำพิมพ์เขียวของการผลิต จัดทำแผนร่วมกับหน่วยงานนำเข้าแหล่งตลาด  ขาดการเชื่อมอย่างเป็นระบบ
ส่งเสริม ผลักกัน กลุ่มเกษตรที่อยากทำเป็นหลักก่อนขยายไปยังกลุ่มอื่น
เชื่อมประสานภาควิชาการ/มหาวิทยาลัยต่างๆ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 19 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

-เจ้าที่ กยท. -เจ้าหน้าที่ สปก -นักวิชาการ -เครือข่ายเกษตร

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่