แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ถอดบทเรียนเพื่อจัดทำคู่มือส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน :สวนยางยั่งยืนภาคใต้ 11 ส.ค. 2565 11 ส.ค. 2565

 

กำหนดการ ประชุมถอดบทเรียนเพื่อจัดทำคู่มือส่งเสริมเกษตรกรรมยั่นยืน : สวนยางยั่งยืนภาคใต้ ผ่านระบบ Zoom :  https://happynetwork.org/zoom  (กลไกสร้างภาคใต้ 6818182543)
เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดทำคู่มือส่งเสริมเกษตรกรรมยั่นยืน : สวนยางยั่งยืนภาคใต้ ในวันที่ 11 สิงหาคม พศ.2565    ตั้งแต่เวลา  13.00 – 16.00 น.         เวลา กิจกรรม 13.00 – 13.30 น. ชี้แจงกระบวนการ/วัตถุประสงค์ /เค้าโครงคู่มือส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน โดย นายทวีวัตร เครือสาย/ผศ.ดร.ชุมพล  อังคณานนท์ 13.30 – 15.30 น. แลกเปลี่ยนบทเรียน/ข้อเสนอแนวทางปฎิบัติ -นางสาวรัตนา  มุณีแนม  สำนักงานปฎิรูปที่ดินจังหวัดพัทลุง -นายสุรชิน  จินดาพันธ์    ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยสาขาร่อนพิบูลย์ -นายภิรม    หนูรอด      ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง -นายวิทยา  แท่นรัตน์      คนกล้าคืนถิ่นภาคใต้ -นางสุวณี    สมาธิ          สมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง -นางสาวอรัญญา อุทัยแจ่ม  สำนักงานปฎิรูปที่ดินจังหวัดภูเก็ต 15.30 – 16.00 น. - สรุปนัดหมายประชุมพิจารณาคู่มือฯ และการลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ.ศูนย์ปฎิบัติการ มอ.ทุ่งใสไช อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

 

มีเครือข่ายเข้าร่วมตามเป้าหมายที่วางไว้
เกิดร่างคู่มือการขับเคลื่อนงานเกษตรกรรมยั่งยืน:สวนยางยั่งยืน  ภาคใต้  สู่โมเดล BCG 1.บทนำ
2. ความเป็นมา หลักการและรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืน 5 รูปแบบ
3. นโยบาย ข้อกฎหมาย แผนงานโครงการที่เกี่ยวข้อง
3.1 การส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน และสวนยางยั่งยืน
3.2 การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โมเดลเศรษฐกิจ BCG 4.แนวทางขั้นตอนส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน สู่โมเดล BCG 4.1 คุณลักษณะนักส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน 1. ต้องมีความเชื่อ ว่าสวนยางยั่งยืนนำไปสู่การอยู่รอดของเกษตรกรได้ แล้วก้าวไปสู่ BCG และจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง (สร้างความเชื่อจากประสบการณ์ แปลงต้นแบบ หรือหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชัดเจน)
2. ส่งเสริม อบรม พัฒนาทักษะนักส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เกษตรกรได้อย่างดี ตลอดต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ 3. เป็นนักประสานงาน/นักประสานเครือข่ายที่ดี มีความสามารถ สามารถติดต่อประสานงาน หน่วยงานเพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือมีความรู้เฉพาะด้าน 4. เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจมาใช้ 5. ติดตามงานอย่างต่อเนื่อง 6. มีปฎิสัมพันธ์ที่ดีกับชาวบ้าน รับฟังปัญหาอย่างเป็นกลาง และแก้ปัญหาได้ตรงจุดตามความต้องการ
7. มีชุดความรู้เฉพาะ เช่น การนำเกษตรกรให้กลุ่มเครือข่ายอยากทำและสามารถทำได้
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม นิยาม “การจัดการสวนยางอย่างยั่งยืน” “สวนยางผสมผสาน” “เกษตรยั่งยืนในสวนยาง” เกษตรกรรมยั่งยืน ในบริบทใหม่ของแผน สภาพัฒน์ฯ ที่ขยายกว้างขึ้น (ยึดรูปแบบ/เป้าหมาย)
ข้อห่วงกังวล ผลผลิตที่ได้ จะขายที่ไหน ได้อย่างไร/เน้นบริบทของตลาด เช่น ตลาดสีเขียว ….  ความมั่นคงทางรายได้ (สร้างรายได้สู่การท่องเที่ยว ตัวอย่าง แปลง….(เสนอโดย สปก.ภูเก็ต)) ส่งเสริมสวนยางเป็นแหล่งท่องเที่ยว หน่วยงานภาครัฐต้องช่วยส่งเสริม เช่น ททท. เกษตร กยท. อปท.
ปัจจัยความสำเร็จ คือ พันธุ์ยาง (เดิม)ที่อ่อนแอต่อโรคใบร่วง สร้างความรู้ความเข้าใจโรคยาง/พันธุ์ยาง และการอยู่ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ
นวัตกรรมใหม่ๆ ที่เข้ามาช่วย/ทดแทน, อุปสงค์ อุปทาน ยางไทยเชื่อมโยงกับยางโลกอย่างไร, ไทยขาดการแปรรูปผลผลิตหรือเพิ่มมูลค่ายางพาราสู่เกษตกรอย่างแท้จริง บริบท/หัวข้อ ชุมชนกับ “การสร้างสวนยางยั่งยืน” เกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ มีความเชื่อว่า ผลผลิตที่ได้ค่อนข้างน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด สร้างความมั่นใจให้เกษตรกร มีการตลาดรองรับ อย่างครบวงจร/เป็นระบบ ปัญหาอุปสรรคในระดับบุคคล เช่น ชาวบ้านไม่มีความเข้าใจเรื่องสวนยางยั่งยืนและไม่อินกับเกษตรในสวนยาง การส่งเสริมสวนยางยั่งยืนค่อนข้างยาก จะต้องชี้ให้เห็นภาพวิกฤตเกษตรกรชาวสวนยางในอนาคต  หากจะดำเนินการอาจจะต้องมี 2 แนวทาง สำหรับกลุ่มที่มีความรู้บ้างอยู่แล้ว และกลุ่มที่เพิ่งเริ่มต้น ถอดบทเรียนจากโมเดลต้นแบบ สภาพปัญหาอุปสรรคต่อการดำเนินการที่เหมาะสมแต่ละบริบทพื้นที่ สำหรับกลุ่มที่เพิ่งเริ่มต้น จัดทำหลักสูตรการอบรม โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน บูรณาการองค์ความรู้ร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (หน่วยงานฝ่ายส่งเสริมเข้าร่วมด้วย) เพื่อออกแบบตัวหลักสูตร เช่น วิทยากรโดยปราชญ์ชาวบ้านถ่ายทอดเรื่องราวองค์ความรู้ อบรมแล้วได้รับประกาศนียบัตรที่สามารถนำไปขอทุนกับกยท. ได้ และดึงเยาวชนรุ่นใหม่หรือเกษตรกรหน้าใหม่มาเข้าร่วม การบูรณาการการทำงานร่วมกับท้องถิ่น แรงงานเกษตรกรรุ่นใหม่หรือเกษตรกรหน้าใหม่ที่ค่อนข้างน้อย ที่จะเข้ามาเป็นแรงผลักดันในเรื่องนี้ในอนาคต จังหวัดตรังมีเป้า ต้องการเพิ่มอาหาร “ข้าวไร่” ให้เพิ่มขึ้น ในพื้นที่แปลงยาง, เพิ่มพืชอาหารปลอดภัยแซมในสวนยาง สร้างทีม/แกนนำนักสื่อสาร เครือข่ายเข้มแข็ง เสริมสร้างแรงจูงใจต่อการทำสวนยางยั่งยืน ลดการพึ่งพาหน่วยงานแค่อย่างเดียว ข้อเสนอโดย คุณภิรม หนูรอด (ผอ.กยท.ตรัง) วางเป้า บรรจุหลักสูตร เข้าในแผนปี 2566 –> สร้างรูปธรรมที่ชัดเจนในพื้นที่จังหวัดตรัง
คุณภิรม หนูรอด (ผอ.กยท.ตรัง) ให้ข้อเสนอ นักส่งเสริมจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องดิน การเกษตร การแปรรูปเพิ่มมูลค่าผลผลิต
แผนการผลิต (ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ) ยังขาดการทำพิมพ์เขียวของการผลิต จัดทำแผนร่วมกับหน่วยงานนำเข้าแหล่งตลาด  ขาดการเชื่อมอย่างเป็นระบบ
ส่งเสริม ผลักกัน กลุ่มเกษตรที่อยากทำเป็นหลักก่อนขยายไปยังกลุ่มอื่น
เชื่อมประสานภาควิชาการ/มหาวิทยาลัยต่างๆ

 

ประชุมคณะทำงานกลุ่มอันดามัน สวนยางยั่งยืน 13 ส.ค. 2565 13 ส.ค. 2565

 

กำหนดการ ประชุมถอดบทเรียนเพื่อจัดทำคู่มือส่งเสริมเกษตรกรรมยั่นยืน : สวนยางยั่งยืนภาคใต้ ผ่านระบบ Zoom :  https://happynetwork.org/zoom  (กลไกสร้างภาคใต้ 6818182543)
เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดทำคู่มือส่งเสริมเกษตรกรรมยั่นยืน : สวนยางยั่งยืนภาคใต้ ในวันที่ 11 สิงหาคม พศ.2565    ตั้งแต่เวลา  13.00 – 16.00 น.         เวลา กิจกรรม 13.00 – 13.30 น. ชี้แจงกระบวนการ/วัตถุประสงค์ /เค้าโครงคู่มือส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน โดย นายทวีวัตร เครือสาย/ผศ.ดร.ชุมพล  อังคณานนท์ 13.30 – 15.30 น. แลกเปลี่ยนบทเรียน/ข้อเสนอแนวทางปฎิบัติ -นางสาวรัตนา  มุณีแนม  สำนักงานปฎิรูปที่ดินจังหวัดพัทลุง -นายสุรชิน  จินดาพันธ์    ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยสาขาร่อนพิบูลย์ -นายภิรม    หนูรอด      ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง -นายวิทยา  แท่นรัตน์      คนกล้าคืนถิ่นภาคใต้ -นางสุวณี    สมาธิ          สมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง -นางสาวอรัญญา อุทัยแจ่ม  สำนักงานปฎิรูปที่ดินจังหวัดภูเก็ต 15.30 – 16.00 น. - สรุปนัดหมายประชุมพิจารณาคู่มือฯ และการลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ.ศูนย์ปฎิบัติการ มอ.ทุ่งใสไช อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

 

มีภาคีเกษตรกรรมยั่งยืนกลุ่มอันดามันเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เห็นรูปแบบการจัดการสวนยางยั่งยืน ไผ่ร่วมยางและสวนยางผสมผสานตามศาสตร์พระราชาที่สามารถขับเคลื่อนได้ตามบริบทพื้นที่และเป็นศูนย์เรียนรู้กับเครือข่ายต่างๆ

 

ประชุมจัดทำแผนความร่วมมือเกาตรกรรมยั่งยืนภาคใต้ พื้นที่ กยท.เขตภาคใต้ตอนบน ประจวบฯ/ชุมพร/ระนอง/สุราาฎร์ธานี 29 ส.ค. 2565 29 ส.ค. 2565

 

กำหนดการประชุมจัดทำแผนความร่วมมือเกษตรกรรมยั่งยืนภาคใต้;สวนยางยั่งยืน)
พื้นที่ กยท.เขต ภาคใต้ตอนบน  ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร-ระนอง-สุราษฎร์ธานี วันที่  ๒๙  สิงหาคม พศ.  ๒๕๖๕    ตั้งแต่ เวลา 09.00 – 1๖.๐0 น.
ณ ห้องประชุมการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดชุมพร  อำเภอเมือง  จังหวัดชุมพร
และผ่านระบบ Zoom :  https://happynetwork.org/zoom  ( 6818182543)

เปิดการประชุมโดย  ผอ.การยางแห่งประเทศไทย เขตภาคใต้ตอนบน มีประเด็นการประชุมปรึกษาหารือดังนี้ 1) สรุปทบทวนการขับเคลื่อนความมั่นคงอาหาร:ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ (งานสร้างสุขภาคใต้กับข้อเสนอระบบเกษตรและอาหาร ,ชุมชนสีเขียวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน) - ผลการดำเนินงานเกษตรยั่งยืน:สวนยางยั่งยืน และข้อเสนอสวนยางยั่งยืน ต่อ กยท.-สปก. 2) ผู้แทนจังหวัด กยท.,สปก.,เครือข่ายเกษตรกร  นำเสนอข้อมูลพื้นที่เป้าหมาย และแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน (สวนยางยั่งยืน)
3) ร่วมกันออกแบบการขับเคลื่อนขับเคลื่อนเกษตรยั่งยืนภาคใต้ตอนบน (สวนยางยั่งยืน)  ร่วมกับ  กยท.- สปก.-กษ.- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ (แผนความร่วมมือพัฒนาเกษตรยั่งยืนภาคใต้ตอน:สวนยางยั่งยืน)
4) จัดกลไกติดตามสนับสนุนการดำเนินงานที่เหมาะสมกับภารกิจงาน และผู้รับผิดชอบเชิงพื้นที่และเชิงประเด็น 5) สรุปและความเชื่อมโยงเครือข่ายสมาพันธ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียงแห่งประเทศไทย
  และนัดหมายภารกิจต่อไป

 

เกืดความร่วมมือการขับเคลื่อนสวนยางยั่งยืนและมีการออกแบบการขับเคลื่อนโดยกำหนดการประชุมจัดทำแผนความร่วมมือเกษตรกรรมยั่งยืนภาคใต้;สวนยางยั่งยืน)
พื้นที่ กยท.เขต ภาคใต้ตอนบน ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร-ระนอง-สุราษฎร์ธานี สรุปทบทวนการขับเคลื่อนความมั่นคงอาหาร:ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ (งานสร้างสุขภาคใต้กับข้อเสนอระบบเกษตรและอาหาร ,ชุมชนสีเขียวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน) - ผลการดำเนินงานเกษตรยั่งยืน:สวนยางยั่งยืน และข้อเสนอสวนยางยั่งยืน ต่อ กยท.-สปก. ผู้แทนจังหวัด กยท.,สปก.,เครือข่ายเกษตรกร นำเสนอข้อมูลพื้นที่เป้าหมาย และแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน (สวนยางยั่งยืน)
ร่วมกันออกแบบการขับเคลื่อนขับเคลื่อนเกษตรยั่งยืนภาคใต้ตอนบน (สวนยางยั่งยืน)  ร่วมกับ กยท.- สปก.-กษ.- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ (แผนความร่วมมือพัฒนาเกษตรยั่งยืนภาคใต้ตอน:สวนยางยั่งยืน)
จัดกลไกติดตามสนับสนุนการดำเนินงานที่เหมาะสมกับภารกิจงาน และผู้รับผิดชอบเชิงพื้นที่และเชิงประเด็น สรุปและความเชื่อมโยงเครือข่ายสมาพันธ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียงแห่งประเทศไทย

 

ประชุมสวนยางยั่งยืนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 31 ส.ค. 2565 31 ส.ค. 2565

 

กำหนดการ   ประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกษตรกรรมยั่นยืนรูปแบบใหม่ : สวนยางยั่งยืนภาคใต้ ในวันที่ 31 สิงหาคม พศ.2565 -1 กันยายน 2565    ตั้งแต่เวลา  09.00 – 18.30 น. ณ.อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์และศูนย์เรียนรู้บ้านบุราณ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์         เวลา กิจกรรม 31 สิงหาคม 2565 09.00 – 12.30 น. เดินทางไปพื้นที่ประจวบคีรีขันธ์ 13.30 – 18.00 น. แลกเปลี่ยนบทเรียนการขับเคลื่อนสวนยางผสมผสาน 1 กันยายน 2565 09.00 – 12.00 น. - แนวทางการขับเคลื่อนงานสวนยางยั่งยืน ศูนย์เรียนรู้บ้านบุราณ

13.00-16.00 น -ลงพื้นที่ศูนย์เรียนรู้บ้านบุราณเพื่อศึกษาการปลูกพืชร่วมยาง : สวนผสมผสาน

 

มีรูปแบบการขับเคลื่อนงานสวนยางผ่านกลุ่มเรียนรู้ที่มีการขับเคลื่อนเป็นรูปธรรมทั้งการปลูกผักสวนครัวและสามารถมีรายได้แบบรายวันจากการขายผักกรูด หน่อไม้ ไข่ไก่

 

เวทีประชุมจัดทำแผนความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน (5 รูปแบบ) สวนยางยั่งยืน 8 ก.ย. 2565 8 ก.ย. 2565

 

ประชุมปรึกษาหารือจัดทำแผนความร่วมมือขับเคลื่อน เกษตรกรรมยั่งยืน  ( 5  รูปแบบ) : สวนยางยั่งยืน  กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด หรือกลุ่มจังหวัด เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมมีแผนความร่วมมือขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด ผลลัพธ์ : แผนความร่วมมือเกษตรยั่งยืนระดับจังหวัด/กลุ่มจังหวัด

 

ทวีวัตร  เครือสาย      สืบเนื่องจากปีที่แล้วมีการขับเคลื่อนการทำต้นแบบแปลงสวนยางยั่งยืนใน 3 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ได้แก่ ระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี โดยกำหนดต้นแบบจำนวน 10 แปลง/จังหวัด  ซึ่ง สมาคมประชาสังคมชุมพร ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เครือข่ายสวนยาง ขับเคลื่อนสวนยางยั่งยืน    ในสภาวการณ์ที่ผลผลิตยางพารา ปาล์มน้ำมันราคาตกต่ำ  เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย ลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ทำอย่างไรถึงจะขยับขยายเพิ่มขึ้น  เป็นทางรอดของเกษตรกรรายย่อย  เกิดรายได้เพื่อสร้างแรงจูงใจ แนวทางการขับเคลื่อนสวนยางยั่งยืน(เกษตรกรรมยั่งยืน) ของในอนาคต  ต้องวางแนวทาง และ วางแผน  โดยต้องมี
1.โครงสร้างกลไกที่ขยับได้ดี  ต้องเข้าใจในเรื่องดังกล่าว ใช้สถาบันเกษตรกร ที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. และไม่ขึ้นทะเบียนกับ กยท.  เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนที่นำไปสู่ความสำเร็จ 2. ศูนย์เรียนรู้ / แปลงต้นแบบ  เป็นคีย์สำคัญในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ การขยายการเรียนรู้ ตัวอย่าง 3. คนรุ่นใหม่  ต้องผ่านตัวคนรุ่นใหม่ จะช่วยแก้ปัญหาในแรงงานภาคเกษตรได้ เป็นแนวทางในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ชุมชน(ตลอดห่วงโซ่อาหาร) เป็น 3 เงื่อนไขสำคัญที่จะช่วยให้เกษตรกรรมยั่งยืน 5 รูปแบบ  ขับเคลื่อนไปได้ สมัชชาสวนยางยั่งยืนภาคใต้ร่วมร่างยุทธศาสตร์ WWF    ในอนาคตการส่งออก  จะต้องมีมาตรฐานการจัดการสวนยางยั่งยืน FFC  ที่ทำแล้วในภาคใต้มี จังหวัดสงขลา พัทลุง  สุราษฎร์ธานี  และการจัดทำคู่มือสวนยางยั่งยืน โดย ม.แม่โจ้ ชุมพร แนวทางการขยายผลเกษตรกรรมยั่งยืน โดยการทำแผนที่  ประกอบไปด้วย พื้นที่แปลงต้นแบบ / ศูนย์เรียนรู้  สถาบันเกษตรกร และคนรุ่นใหม่   ซึ่งจากการพูกคุยทำให้เกิดโครงสร้างการขับเคลื่อนงานสวนยางยั่งยืนในระดับพื้นที่ที่ชัดเจนและครอบคลุมในทุกรูปแบบ(ดูจากไฟล์)

 

เตรียมงานสนับสนุนพื้นที่นำร่องเกษตรกรรมยั่งยืน (สวนยางยั่งยืน) 3 จังหวัด 2 พ.ย. 2565 2 พ.ย. 2565

 

*

 

*

 

ลงพื้นที่กรณีศึกษาแผนงานขับเคลื่อนนโยบายสวนยางยั่งยืน จังหวัดชุมพรและจังหวัดระนอง 8 ธ.ค. 2565 8 ธ.ค. 2565

 

*

 

*

 

ลงพื้นที่กรณีศึกษาแผนงานขับเคลื่อนนโยบายสวนยางยั่งยืน จังหวัดนครศรีธรรมราช 12 ธ.ค. 2565 12 ธ.ค. 2565

 

ศึกษาพูดคุยแผนงานขับเคลื่อนนโยบายสวนยางยั่งยืน จังหวัดนครศรีธรรมราช

 

ได้แผนแผนงานขับเคลื่อนนโยบายสวนยางยั่งยืน จังหวัดนครศรีธรรมราช

 

ลงพื้นที่กรณีศึกษาแผนงานขับเคลื่อนนโยบายสวนยางยั่งยืน จังหวัดนราธิวาส 26 ธ.ค. 2565 26 ธ.ค. 2565

 

*

 

*

 

ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนความร่วมมือการส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน : วนเกษตร สวนยางยั่งยืนพื้นที่ภาคใต้ 4 เม.ย. 2566 4 เม.ย. 2566

 

1.ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนความร่วมมือการส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน วนเกษตร สวนยางยั่งยืน พื้นที่ภาคใต้
2.การจัดนิทรรศการ

 

1.ได้แผนความร่วมมือการส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน วนเกษตร สวนยางยั่งยืน พื้นที่ภาคใต้

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนความร่วมมือการส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน : วนเกษตร สวนยางยั่งยืนพื้นที่ภาคใต้ 5 เม.ย. 2566 5 เม.ย. 2566

 

*

 

*

 

ประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อแผนปฏิบัติการเกษตรผสมผสานสวนยางยั่งยืนพื้นที่ภาคใต้ 6 เม.ย. 2566 6 เม.ย. 2566

 

1.ประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อแผนปฏิบัติการเกษตรผสมผสานสวนยางยั่งยืนพื้นที่ภาคใต้

 

ได้แผนปฏิบัติการเกษตรผสมผสานสวนยางยั่งยืนพื้นที่ภาคใต้

 

ประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อแผนปฏิบัติการเกษตรผสมผสานสวนยางยั่งยืนพื้นที่ภาคใต้ 9 เม.ย. 2566 9 เม.ย. 2566

 

*

 

*

 

ประชุมปรึกษาหารือจัดทำแผนความร่วมมือขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน (5รูปแบบ) 11 ก.ย. 2565 11 ก.ย. 2565

 

*

 

*

 

ประชุมปรึกษาหารือการขับเคลื่อนงานสวนยางยั่งยืนจังหวัดสตุล 4 ต.ค. 2565 4 ต.ค. 2565

 

ประสานข้อมูลจาก กยท.รวบรวมข้อมูลและประสานผู้ดข้าร่วมประชุม

 

สถานการณ์ปัญหา :คนมีภาวะเจ็บป่วยด้วยการปนเปื้อนของผัก ผลไม้/ปัจจัยการผลิตทรัพยากรเสื่อม ขาดแรงงาน การผลิต การตลาดนโยบายภาครัฐการค้าเสรีทำให้การเข้าถึงอาหารได้อยากๅเป็นเกษตรกรเชิงเดี๋ยว แนวทางการพัฒนา : ทำการเกษตรที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ ลดการใช้สารเคมี/จัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธ์ประจำถิ่น/ฟื้นฟูระบบนิเวศน์ การจัดการน้ำ การจัดทำฝายมีชีวิต ข้อเสนอเชิงนโยบาย :สร้างความมั่นคงทางอาหารและสนับสนุนการสร้างมาตรฐานให้กับสินค้าทางการเกษตร/เพิ่มการส่งเสริมด้านการตลาดรูปแบบต่างๆให้กับกลุ่มเครือข่าย/สร้า ความร่วมมือกับท้องถิ่นและภาควิชาการ/ยกระดับมาตรฐานสินค้าทางการเกษตรเพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร/มีแผนปฎิบัติการระดับชุมชนในการพัฒนากลไกและสร้างความมั่นคงทางอาหารระดับพื้นที่/มีการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแนยุทธศาสตร์/มีกลไกติดตามข้อเสนอและสนับสนุนการขับเคลื่อนงานอย่างต่อเนื่อง/อปท.ต้องมีแผนการดำเนินงานระบบเกษตร

 

ประชุมปรึกษาหารือพัฒนากลไกความร่วมมือระดับภาคใต้ 2 ธ.ค. 2565 2 ธ.ค. 2565

 

ประสานงาน ปรึกษาหารือผู้ที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัดและภาคใต้เพื่อจัดตั้งคณะทำงาน ด้วยองค์ประกอบ: ภาคประชาชน/ประชาสังคม.,เอกชน-วิชาการ , กยท.,สปก. , กษ.,หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง,สภาเกษตรกร,กองทุนฟื้นฟู,ฯ

 

เพื่อประมวลสังเคราะห์ ยกร่างแผนยุทธศาสตร์สวนยางยั่งยืน สู่เวทีสมัชชาสวนยางยั่งยืน จ.ลำปาง มีผลการประชุมดังนี้ 1) การขับเคลื่อนและผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายเวทีสร้างสุขภาคใต้ ความมั่นคงทางอาหาร:ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ คณะทำงานเครือข่ายระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้  เป็นกลไกความร่วมมือจากภาคประชาสังคม  ภาควิชาการ  ภาคราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมตัวกันแบบไม่เป็นทางการ  ทำงานในแนบราบ ได้ร่วมกันขับเคลื่อนสร้างความมั่นคงทางอาหาร เช่น ส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน  ส่งเสริมพืชร่วมยางหรือป่ายาง การอนุรักษ์พันธุกรรมพื้นเมือง ฯ  ตามกลุ่มประเด็นต่าง ๆ  โดยเฉพาะเครือข่ายเกษตรชาวสวนยางภาคใต้ ซึ่งได้จัดเวทีสมัชชาสวนยางยั่งยืน  (ออนไลน์) ครั้งที่ 2  ในเดือนพฤศจิกายน ปี 63  มีข้อเสนอแนวทางขับเคลื่อนสวนยางยั่งยืน  ซึ่งที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  อาทิ เช่น  การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ในการปรับรูปแบบการสนับสนุนขอการปลูกยางเกษตรผสมผสาน  เป็น กยท.แบบ 3 สวนยางยั่งยืน  การส่งเสริมการผลิตพืชและปศุสัตว์ร่วมยางพาราเดิม  การสนับสนุนเทคโนโลยีการเกษตร  การส่งเสริมแปลงต้นแบบ    และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.)  ก็กำหนดแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืนในแผนปฏิบัติราชการ ปี 66-70  เป็นต้น


2.  (ร่าง)  ยุทธศาสตร์สวนยางยั่งยืน 2.1 วิสัยทัศน์ “สวนยางพารายั่งยืน เป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญต่อเศรษฐกิจ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนของเกษตรกรผู้ทำสวนยางพาราในประเทศไทย”
2.2 เป้าหมายการพัฒนา ระยะ 5 ปี
1) ปรัชญาและแนวทางการทำสวนยางยั่งยืนที่เหมาะสมกับภูมินิเวศท้องถิ่น ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมและขยายผลในทุกภูมิภาคของประเทศ 2) องค์กรและสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืนมีความเข้มแข็ง สามารถดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ 3) เกิดการบูรณาการยุทธศาสตร์และแผนงานร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักในการส่งเสริมและสนับสนุนการทำสวนยางยั่งยืน
4) เกิดการปรับปรุงกฎระเบียบและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา การสนับสนุน และกลไกด้านการตลาดที่เกี่ยวข้องกับการทำสวนยางยั่งยืน
2.3 ประเด็นยุทธศาสตร์และแผนงาน ยุทธศาสตร์ที่ 1 การรวบรวมและถ่ายทอดองค์ความรู้การทำสวนยางยั่งยืน (Collection, documentation and transferring of knowledge) เป้าประสงค์ 1)การจัดการองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำสวนยางยั่งยืนที่ครอบคลุมตั้งแต่แนวคิด รูปแบบที่สอดคล้องกับทุกภูมินิเวศ และตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกรและสนับสนุนความเป็นเอกภาพในการขับเคลื่อนงานสวนยางยั่งยืน
2)การถ่ายทอดความรู้ที่หลากหลายแก่กลุ่มเป้าหมายหลักที่ครอบคลุมทั้งกลุ่มเกษตรกรรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ กลุ่มผู้สนับสนุน และผู้กำหนดนโยบายในระดับต่างๆ และมีกลไกสนับสนุนให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปสู่การปฏิบัติจริง ตัวชี้วัด
-จำนวนและประเด็นองค์ความรู้ที่มีการรวบรวมหรือทำวิจัยมีความครอบคลุมทุกภูมินิเวศ -ความหลากหลายของคู่มือและหลักสูตรการฝึกอบรมที่จัดทำขึ้นสำหรับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม
-จำนวนและความหลากหลายของผู้ผ่านการอบรม และผลการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่หรือในหน่วยงานหรือองค์กร
แผนงาน 1)การรวบรวมและพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับสวนยางยั่งยืนในประเด็นที่สำคัญ ทั้งองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้ว และองค์ความรู้ที่จำเป็นต้องสร้างขึ้นใหม่ผ่านการวิจัย เช่น รูปแบบสวนยางที่มีความเหมาะสมกับแต่ละภูมินิเวศ พันธุ์ยาง ธนาคารน้ำใต้ดิน มิติทางเศรษฐศาสตร์จากสวนยางยั่งยืน ฯลฯ 2)การจัดทำคู่มือหรือแนวทางเกี่ยวกับการทำสวนยางยั่งยืน ที่ครอบคลุมประเด็นและรูปแบบต่างๆ ของการทำสวนยางยั่งยืน สำหรับใช้ในกระบวนการฝึกอบรมและเผยแพร่แก่เกษตรกรที่สนใจผ่านกลไกของสมัชชาหรือหน่วยงานหลักต่างๆ 3)การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมและจัดอบรมในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำสวนยางยั่งยืน สำหรับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ ประกอบด้วย เกษตรกร เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง โดยมีรูปแบบการฝึกอบรมที่หลากหลายขึ้นอยู่กับลักษณะของกลุ่มเป้าหมายและสถานการณ์ ผสมผสานทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากแต่มีคุณภาพ มีกลไกการติดตามหรือสนับสนุนผู้ผ่านการอบรมให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปสู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่หรือหน่วยงานของตนเอง
3)การพัฒนาหลักสูตรและจัดอบรมให้แก่เกษตรกรรุ่นใหม่ โดยคำนึงถึงกระบวนการและรูปแบบการถ่ายทอดความรู้ที่เหมาะสมกับคนรุ่นใหม่ เพื่อสร้างความเข้าใจ แรงบันดาลใจ และแนวทางในการต่อยอดและสืบทอดการทำสวนยางยั่งยืน รวมทั้งมีกลไกการติดตามหรือสนับสนุนผู้ผ่านการอบรมให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปสู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเสริมสร้างความเข้มแข็งองค์กรและสถาบันเพื่อขับเคลื่อนงานสวนยางยั่งยืน (Strengthening of organization and institution) เป้าประสงค์ 1)การตั้งสมัชชาหรือสมาคมสวนยางยั่งยืนระดับชาติที่มีการกำหนดโครงสร้างการดำเนินงาน บทบาทหน้าที่ รวมทั้งกลไกการสื่อสาร การสนับสนุนและติดตามการดำเนินงานร่วมกันอย่างชัดเจน เพื่อความต่อเนื่องและความก้าวหน้าของการขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ 2)มีฐานข้อมูลและกลไกกองทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
ตัวชี้วัด -โครงสร้างและแนวทางขับเคลื่อนงานของสมัชชาในทุกระดับ -ฐานข้อมูลและกลไกกองทุน และการใช้ประโยชน์จากระบบฐานข้อมูลและกองทุน
แผนงาน 1)การพัฒนาสมัชชาหรือสมาคมสวนยางยั่งยืนระดับชาติ ที่มีความชัดเจนทั้งด้านโครงสร้าง บทบาทหน้าที่ และบุคลากรที่เป็นตัวแทนในทุกๆ ระดับ ทั้งนี้เน้นโครงสร้างการดำเนินงานและกลไกการตัดสินใจแบบแนวราบหรือแนวระนาบ
2)การจัดประชุมสมัชชาสวนยางยั่งยืน ทั้งการประชุมใหญ่ประจำปี การประชุมในระดับเขตหรือระดับพื้นที่ เพื่อทบทวนบทเรียนและความก้าวหน้าการดำเนินงาน รวมทั้งการวางแผนดำเนินงานร่วมกัน 3)การจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับสมาชิกสมัชชาฯ รวมทั้งชุดข้อมูลและชุดความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับสวนยางยั่งยืน (เช่น มีพื้นที่ต้นแบบ มีศูนย์เรียนรู้ มีปราชญ์ชุมชนอยู่ที่ไหนบ้าง มีงานวิจัยอะไรบ้าง เป็นต้น) ที่เป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนงานในทุกๆ ระดับ
4)การจัดทำกองทุนสวนยางยั่งยืน/สวนยางสีเขียว ที่ประกอบด้วยองค์กรและบุคลากรเพื่อการบริหารจัดการกองทุนที่ชัดเจนและเป็นกลไกการบริหารจัดการกองทุนที่มีความยั่งยืน เช่น ในรูปแบบของมูลนิธิ หรือองค์กรทางธุรกิจในลักษณะวิสาหกิจเพื่อสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Enhance communication, sharing and learning of stakeholders) เป้าประสงค์ 1)สร้างความตระหนักให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักและคนในสังคมถึงความสำคัญของสวนยางยั่งยืน  และมีความเข้าใจการดำเนินงานของสมัชชาสวนยางยั่งยืน 2)มีเวทีและช่องทางการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การเรียนรู้และถอดบทเรียนร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งในด้านการส่งเสริมสนับสนุนการทำสวนยางยั่งยืนและด้านการตลาด ตัวชี้วัด -ความเข้าใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักและคนในสังคมเกี่ยวกับผลประโยชน์ของสวนยางยั่งยืนทั้งใน ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความเข้าใจแนวคิดและแนวทางการขับเคลื่อนงานของสมัชชาสวนยางยั่งยืน -จำนวนและความหลากหลายของหน่วยงานที่เข้ามาร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และร่วมสนับสนุนการดำเนินงานของสมัชชาสวนยางยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น -เกษตรกรและกลุ่มวิสาหกิจที่เกี่ยวกับสวนยางยั่งยืนที่สามารถเข้าถึงตลาดและกลุ่มผู้ซื้อที่สนับสนุนผลิตภัณฑ์จากระบบสวนยางยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น แผนงาน 1)การจัดทำสื่อและการเผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อการสื่อสารข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เกษตรกร ผู้กำหนดนโยบาย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง แหล่งทุน รวมทั้งคนรุ่นใหม่และสาธารณะชนหรือผู้สนใจทั่วไป ให้เห็นความสำคัญของการทำสวนยางยั่งยืน และเข้าใจแนวคิดและการดำเนินงานของสมัชชาสวนยางยั่งยืน
2)การจัดทำแอปพลิเคชั่นเชิงธุรกิจเกี่ยวกับสวนยางยั่งยืน เพื่อเป็นแพลตฟอร์มกลางทางการตลาด (marketing platform) ที่เชื่อมโยงระหว่างเกษตรกร/ผู้ผลิต กับผู้ซื้อและภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
3)การจัดทำเวทีวิชาการด้านสวนยางยั่งยืน ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ เพื่อเป็นเวทีกลางที่สร้างการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ การถอดบทเรียนและองค์ความรู้ ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทุกๆ ระดับ รวมทั้งกับแลกเปลี่ยนประเด็นด้านการตลาดกับกลุ่มผู้ซื้อ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างพื้นที่ต้นแบบหรือพื้นที่รูปธรรมเกี่ยวกับสวนยางยั่งยืน (Developing best practice model or innovative model)
เป้าประสงค์ 1)สร้างพื้นที่ต้นแบบและศูนย์เรียนรู้ด้านสวนยางยั่งยืนให้ครอบคลุมทุกภูมินิเวศและลักษณะพื้นที่ 2)มีการถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ และแนวทางการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ในสวนยาง ที่พัฒนาขึ้นโดยหน่วยงานต่างๆ ลงสู่ระดับพื้นที่ 3)เกิดแนวทางความร่วมมือระดับพื้นที่เพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนสวนยางยั่งยืน
ตัวชี้วัด -รูปแบบและผลการดำเนินการพื้นที่ต้นแบบและศูนย์เรียนรู้ในแต่ละภูมินิเวศ และรูปแบบของพื้นที่ต้นแบบที่ดำเนินการโดยคนรุ่นใหม่ -จำนวนพื้นที่และจำนวนครัวเรือนที่ได้รับการถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยี และผลจากการนำนวัตกรรมไปดำเนินการในพื้นที่ของเกษตรกร
-จำนวนแผนแม่บทและความหลากหลายของภาคีความร่วมมือที่เข้าร่วมในกระบวนการ -เอกสารสรุปบทเรียนกระบวนการสร้างพื้นที่ต้นแบบ ศูนย์เรียนรู้ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการจัดทำแผนแม่บท เพื่อเป็นข้อมูลสู่การขยายผลหรือจัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายต่อไป แผนงาน 1)การสร้างพื้นที่ต้นแบบและศูนย์การเรียนรู้ด้านสวนยางยั่งยืน ในระดับเขตพื้นที่หรือระดับจังหวัด ให้มีความครอบคลุมทุกภูมินิเวศและทุกลักษณะของพื้นที่ (รวมพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ พื้นที่ในเขตป่าไม้ เช่น คทช.) รวมทั้งมีพื้นที่ต้นแบบที่ดำเนินการโดยเกษตรกรรุ่นใหม่ และเชื่อมโยงเรื่องคาร์บอนเครดิต
2)การถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีลงสู่ระดับพื้นที่ ทั้งนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสวน รวมไปถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากระบบสวนยางยั่งยืน เช่น นวัตกรรมและเทคโยโลยีที่พัฒนาโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสถาบันวิชาการต่างๆ ในระดับภูมิภาคหรือระดับประเทศ 3)การจัดทำแผนแม่บทการขับเคลื่อนสวนยางยั่งยืน ในระดับเขตพื้นที่หรือระดับจังหวัด เพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานและภาคีความร่วมมือในระดับพื้นที่พัฒนาเป้าหมายและแนวทางร่วมกันในการขับเคลื่อนงานสวนยางยั่งยืนในระยะยาว และใช้เป็นเครื่องมือในการบูรณาการความร่วมมือและการสนับสนุนจากหน่วยงานหลักให้มีความต่อเนื่อง ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเพิ่มประสิทธิภาพกลไกสนับสนุนการทำสวนยางยั่งยืน (Increase efficiency of supporting mechanisms) เป้าประสงค์ เกิดกลไกระดับชาติที่มีความเข้มแข็งเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานด้านสวนยางยั่งยืน ตัวชี้วัด -กลไกของภาครัฐที่มีการพัฒนาหรือปรับปรุงเพื่อการส่งเสริมสนับสนุนงานสวนยางยั่งยืนในระยะยาว -ยุทธศาสตร์และแผนงานที่มีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก -สัดส่วนของเกษตรกรรายย่อยที่เข้าถึงและได้รับการรับรองมาตรฐานเพิ่มมากขึ้น แผนงาน 1)การผลักดันกลไกระดับชาติของภาครัฐ ประกอบด้วย ให้มีตัวแทนสมัชชาสวนยางยั่งยืนอยู่ในกลไกของคณะกรรมการระดับประเทศ (เช่น คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.)) หรือมีคณะอนุกรรมการด้านสวนยางยั่งยืนที่ประกอบด้วยตัวแทนจากทุกภาคส่วน รวมทั้งการผลักดันประเด็นสวนยางยั่งยืนเป็นวาระแห่งชาติหรืออยู่ในยุทธศาสตร์ระดับชาติ
2)การบูรณาการยุทธศาสตร์และแผนงานร่วมกับหน่วยงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการสร้างพื้นที่รูปธรรม การวิจัย หรือการพัฒนานวัตกรรม ที่ต้องมีการกำหนดเป้าหมายร่วมและกระบวนการสนับสนุนในระยะยาว
3)การผลักดันให้เกิดการปรับปรุงกฎระเบียบหรือนโยบายที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กฎระเบียบและแนวทางการสนับสนุนจากการยางแห่งประเทศไทย นโยบายที่เกี่ยวข้องของกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และกระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น
4)การพัฒนาและส่งเสริมกลไกรับรองมาตรฐานสำหรับการทำสวนยางยั่งยืน โดยอิงมาตรฐานทั้งที่มีอยู่แล้วภายในประเทศ และมาตรฐานสากล

 

ปรึกษาหารือจัดทำแผนความร่วมมือขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน ( 5 รูปแบบ):สวนยางยั่งยืนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด 21 ธ.ค. 2565 21 ธ.ค. 2565

 

เพื่อให้มีฐานข้อมูลกลุ่มและพื้นที่เป้าหมาย ร่วมกันของภาคีความร่วมมือในระดับจังหวัด คณะทำงานจังหวัด ดำเนินการรวบรวมข้อมูลกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่เป้าหมายในการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน และ  แชร์ ใช้ข้อมูล ร่วมกัน ประสานความร่วมมือ (คน เงิน งาน ) หรือมีเวทีร่วม กับ สปก.  ในระดับภาค

 

สมาคมประชาสังคมชุมพร ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เครือข่ายสวนยาง ขับเคลื่อนสวนยางยั่งยืน    ในสภาวการณ์ที่ผลผลิตยางพารา ปาล์มน้ำมันราคาตกต่ำ  เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย ลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ทำอย่างไรถึงจะขยับขยายเพิ่มขึ้น  เป็นทางรอดของเกษตรกรรายย่อย  เกิดรายได้เพื่อสร้างแรงจูงใจ แนวทางการขับเคลื่อนสวนยางยั่งยืน(เกษตรกรรมยั่งยืน) ของในอนาคต  ต้องวางแนวทาง และ วางแผน  โดยต้องมี
1.โครงสร้างกลไกที่ขยับได้ดี  ต้องเข้าใจในเรื่องดังกล่าว ใช้สถาบันเกษตรกร ที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. และไม่ขึ้นทะเบียนกับ กยท.  เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนที่นำไปสู่ความสำเร็จ 2. ศูนย์เรียนรู้ / แปลงต้นแบบ  เป็นคีย์สำคัญในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ การขยายการเรียนรู้ ตัวอย่าง 3. คนรุ่นใหม่  ต้องผ่านตัวคนรุ่นใหม่ จะช่วยแก้ปัญหาในแรงงานภาคเกษตรได้ เป็นแนวทางในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ชุมชน(ตลอดห่วงโซ่อาหาร) เป็น 3 เงื่อนไขสำคัญที่จะช่วยให้เกษตรกรรมยั่งยืน 5 รูปแบบ  ขับเคลื่อนไปได้ สมัชชาสวนยางยั่งยืนภาคใต้ร่วมร่างยุทธศาสตร์ WWF    ในอนาคตการส่งออก  จะต้องมีมาตรฐานการจัดการสวนยางยั่งยืน FFC  ที่ทำแล้วในภาคใต้มี จังหวัดสงขลา พัทลุง  สุราษฎร์ธานี  และการจัดทำคู่มือสวนยางยั่งยืน โดย ม.แม่โจ้ ชุมพร แนวทางการขยายผลเกษตรกรรมยั่งยืน โดยการทำแผนที่  ประกอบไปด้วย พื้นที่แปลงต้นแบบ / ศูนย์เรียนรู้  สถาบันเกษตรกร และคนรุ่นใหม่

-

แลกเปลี่ยนเรียนรู้สวนยางยั่งยืน 9 ม.ค. 2566 9 ม.ค. 2566

 

คณะทำงานระดับจังหวัด/กลุ่มจังหวัดหรือ  เขต กยท. (ใต้บน-ใต้กลาง-ใต้ล่าง)  จัดประชุมปรึกษาหารือเพื่อจัดทำแผนความร่วมมือเกษตรกรรมยั่งยืนระดับจังหวัด
ทั้งนี้บางจังหวัดหรือเขตพื้นที่ กยท.  อาจบูรณาการร่วมกับกิจกรรมตามแผนงานของหน่วยงานในพื้นที่

 

คอยรายงานพื้นที่

 

การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสร้างสุขภาพภาคใต้ มิติความมั่นคงทางอาหารขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน:สวนยางยั่งยืน(เกษตรผสมผสานสวนยางยั่งยืน ตามแผน กยท.-สปก.และภาคีที่เกี่ยวข้อง) 11 ม.ค. 2566 11 ม.ค. 2566

 

ออกแบบกระบวนการ/ประสานความร่วมมือ/ประสานผู้เข้าร่วมทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน

 

สภาเกษตร : -รายได้หลักชาวเกษตรกรในพื้นที่ จ.ยะลา มี 3 ตัว คือ 1.ยางพารา  2.ทุเรียน  3.ลองกอง ส่วนสถานการณ์ในปัจจุบันจะมีพืชเศรษฐกิจที่ก่อเกิดรายได้ในเฉพาะบางพื้นที่ ของอำเภอในจังหวัดยะลาเช่น  4.มังคุด  5.เงาะ  6.กาแฟ  7.โก้โก้
-และปัจจัยรายได้ของจังหวัดยะลายังมีในส่วนของการเลี้ยงปศุสัตว์ และนโยบายของการผลักดัน การเลี้ยงวัวในพื้นที่
-สภาพที่ผ่านของชาวสวนยางยั่งยืน  ปัจจัยราคา  เรื่องโรค -ในเรื่องน้ำยางทีดีสุดของโลก ในจังหวัดยะลา  เราควรจะมีแผนการพัฒนายุทธศาสตร์ต่อไปอย่างไร
-สิ่งที่น่าสนในการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานภาครัฐ กับสิ่งที่ดีๆมีในพื้นที เช่น การตลาดในพื้นที  ตัวอย่างของเอกชนที่มีการเปิดโรงงานและรับซื้อหมาก •ผอ.กยท.เขตภาคใต้ตอนล่าง (นายสุรชัย บุญวรรโณ) -ปัญหาของอาชีพสวนยางพารา  มีปัญหาเรื่องโรคระบาดใบร่วง และผลผลิตของสวนยางพาราที่ไม่ได้คุณภาพ
-เรื่องของคุณภาพของน้ำยางพาราที่ดีที่สุดของโลก อยู่ในพื้นที จ.ยะลา
-เรื่องกลไกตลาด โรงน้ำยาสด ที่จะช่วยในการดึงราคา ในจ.ยะลา ปัจจุบันมีเหลือใน อ.เบตง -เรื่องการยกระดับรายได้ชองชาวสวนยาง แนวทางปัจจุบัน กยท. คือ การโคนต้นยาง ปลูกพื้นทดแทน  การปลูกพืชอื่นๆแซมในรองสวนยาง
-เรื่องการปลูกต้นทุเรียนแทน  ซึ่งต้องไปดูว่า จีนมีลักษณะอย่างไรในการบริโภค -แนวทางการให้ทุน ส่งเคราะห์ 3 แนวทาง คือ การปลูกยางทดแทน  การปลูกสวนยางยั่งยืน (เหลือ 40ต้น /ไร่)  การปลูกพืชอื่นๆเสริม แนวทางการปลูกพืชร่วมยาง เช่น ต้นหมาก  การปลูกถั่ว  การปลูกไม้ยืนต้นในการใช้ไม้  การสนับสนุนทุนงบประมาณ 16,000 บาท
-การสนับสนุนการมีรายได้ก่อน การตัดยางได้ 8 ปี
-ปัญหาหลักชาวสวนยาง คือ รายได้ไม่เพียงพอ -ปัจจุบัน ทางกยท.เขตได้มีการเชื่อมกับบริษัท ยางมิชลิน ในการรับซื้อน้ำยางสด 7หมืน ตัน/ปี นำรองพื้นที จ.สงขลาและสตูล •สปก.จ.ยะลา ( นายสมบัติ  กลางวัง) -ภารกิจหลัก การจัดการที่ดิน  การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน -ปัญหาปัจจุบัน: การมีพื้นทีกระจัดกระจาย -พื้นทีลักษณ: 1.การยึดพื้นทีเช่าคืน
-การทำงานสนับสนุนที่ผ่านมา : การทำเกษตรอินทรีย์  การทำเกษตรวนเกษตร  การทำเกษตรทฤฎีใหม่ -การทำฐานข้อมูล : เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ในการบูรณการ ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล •อาจารย์ มหาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ( ) -จากการลงพื้นที ในพื้นที 3 จชต. ในชาวเกษตรกร ในพื้นที มีหลายรูปแบบของการดำเนินงาน ในการทำเกษตร  ซึ่งปัญหาหลัก คือ เรื่องการตลาด
-ในประเด็นภาคี ซึ่งยังขาดในการเชื่อมโยง  กลุ่มทีประสบความสำเร็จ ส่วนใหญ่ทำงานเป็นกลุ่ม และเกษตรกรทีมีทุนเยอะในการดำเนินกิจกรรม มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่า ที่กลุ่มทีทุนน้อย

-

ประชุมปรึกษาหารือการจัดทำแผนความร่วมมือขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน 26 ม.ค. 2566 26 ม.ค. 2566

 

เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมมีแผนความร่วมมือขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด ผลลัพธ์ : แผนความร่วมมือเกษตรยั่งยืนระดับจังหวัด/กลุ่มจังหวัด

 

รอรายงานพื้นที่

 

ประชุมความร่วมมือในการขับเคลื่อนงานสวนยางยั่งยืนภาคใต้ 5 มี.ค. 2566 5 มี.ค. 2566

 

ประสานคณะทำงานระดับจังหวัด/กลุ่มจังหวัดหรือ  เขต กยท. (ใต้บน-ใต้กลาง-ใต้ล่าง)  ปรึกษาหารือเพื่อจัดทำแผนความร่วมมือเกษตรกรรมยั่งยืนระดับจังหวัด
ทั้งนี้บางจังหวัดหรือเขตพื้นที่ กยท.  อาจบูรณาการร่วมกับกิจกรรมตามแผนงานของหน่วยงานในพื้นที่

 

เกิดข้อมูลการขับเคลื่อนงานและเรียนรู้ระบบการจัดการสวนยางสวนยางยั่งยืน หรือการเปลี่ยนสวนยางเชิงเดี่ยวให้มีความสมดุลนิเวศ เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ปลูกพืช-ทำปศุสัตว์ร่วมการปลูกยาง ซึ่งเป็นการแก้ไขอย่างยั่งยืน อีกทั้งก็ไม่ใช่ประเด็นใหม่ ทว่า จากวันนั้นจนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีหน่วยงานไหนที่มีความเข้าใจทำให้ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงอย่าง “เกษตรกร” ต้องไม่นิ่งเฉย การปลูกพืชแซมยาง อาทิ ผักพื้นบ้าน กาแฟสายพันธุ์ต่างๆ  พืชที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ อาทิ ไม้สัก จำปาทอง ตะเคียนทอง รวมทั้งหันมาทำเกษตรผสมผสาน เช่น เลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงแพะ ทำฟาร์มเห็ด ฯลฯ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อความอยู่รอด การทำการเกษตรต้องดูความเหมาะสมของพื้นที่ซึ่งทางภาคใต้ควรทำ 3 สิ่ง คือ ปลูกยาง/ปาล์ม/ผลไม้ เพื่อสร้างความมั่นคง โดยการใช้ยางเป็นรายได้รายวัน ปาล์มรายเดือน/ผลไม้รายปี คำว่าเกษตรกรรมยั่งยืนไม่ใช่แค่สวนยางแต่ต้องมีอย่างอื่นเพื่อให้เกิดการพึ่งพิง การทำสวนยางลงทุนครั้งเดียวมีรายได้ตลอดยางคือพืชมหัศจรรย์ในการแก้ปัญหาครอบครัว เช่น หากเรามียางสามารถกรีดขายได้เงินทันทีและขายได้เกือบทุกส่วน ทำอะไรก็ตามให้เขามาขอซื้อ เราอย่าไปขอให้เค้าซื้อ
บำนาญชีวิตของเกษตรกร ต้องเริ่มวางแผนชีวิต ทำอย่างไร อะไรคือความยั่งยืนของชีวิตหากถึงเวลาที่เราอายุมากขึ้นจะได้มีเงิน มีผลตอบแทนจากสิ่งที่ทำ ดุลภาพชีวิตกับธรรมชาติ  ในโลกปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงจึงต้องมี 3 ส่วน คือ  ประสบการณ์/วิชาการ/เทคโนโลยี  การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง คือ การมีแผนที่เป็นของตัวเองและสำคัญคือ การอย่าทำตามกระแส  จริธรรม จริยศาสตร์ ของการดำรงชีวิต
  ยางพาราจะมีราคาไม่คงที่บางครั้งราคาตกต่ำเกษตรกรจึงต้องปลูกพืชผสมผสานโดยได้น้อมนำศาสตร์พระราชามาใช้ในพื้นที่ปลูกยางพารา  การปลูกพืชผสมผสานทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องและการทำผสมผสานต้องมีทั้งเรื่องพืช ประมง ปศุสัตว์ ต้องทำร่วมกันทั้งหมดจึงจะอยู่ได้ หากเอาเฉพาะแต่พืช หรือ ปศุสัตว์หรือ ประมง เพียงอย่างเดียว ไม่ได้ ต้องนำมาผสมผสานทั้งหมดเป็นสวนยาง ปลูกพืชร่วมยาง ทั้งไม้ไผ่  ผักเหรียง และพืช หลายชนิด ผสมผสานกัน ใช้พื้นที่ที่มีอยู่ ให้เกิดประโยชน์ ให้มากที่สุด

 

ประชุมปรึกษาหารือการจัดทำแผนความร่วมมือขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน 13 มี.ค. 2566 13 มี.ค. 2566

 

เตรียมข้อมูล ประสานพื้นที่/หน่วยงานและเครือข่าย ขอบเขตการขับเคลื่อนงานเกษตรของพื้นที่่

 

มีผู้เข้าร่วม 17 คน มาจากแกนนำเกษตรกรในพื้นที่/หน่วยงาน สปก./และภาคีเครือข่ายทหารอากาศ  มีชุดข้อมูลการขับเคลื่อนงานด้านการเกษตรร่วมกับหน่วยงานละภาคีโดยมีศูนย์เรียนรู้การใช้ปุ๋ยฯเป็นแหล่งกระจายข้อมูลองค์ความรู้ในเรื่องของการทำปุ๋ยชีวภัณฑ์/การเพิ่มผลผลิตในสวนยางและการปลูกแบบวนเกษตร

 

ประชุมจัดทำแผนความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน (5รูปแบบ) สวนยางยั่งยืน รูปแบบสหกรณ์ 17 มี.ค. 2566 17 มี.ค. 2566

 

ประสานงานทีมและรวบรวมข้อมูลการขับเคลื่อนงานทำหนังสือเชิญภาคีที่เกี่ยวข้องจัดประชุมตามกำหนดการประชุม

 

1)ผลงาน เป้าหมายและแนวทางการดำเนินงานของสหกรณ์ฯ  ซึ่งมีสมาชิก 700 ราย และมีสมาชิกผู้ที่ร่วมธุรกิจกับสหกรณ์ฯ จำนวน 400 ราย    ซึ่งดำเนินธุรกิจดังนี้ 1)รวบรวมผลผลิต ทั้งยางพารา (ยางแผ่น โดยใช้ระบบประมูลผ่านอิเล็คโทรนิค  และยางก้นถ้วย)  และลานเทปาล์มน้ำมัน  2)จัดการและจำหน่ายปัจจัยการผลิต ทั้งปุ๋ยผสม  น้ำกรดยางพารา  และปัจจัยการผลิตอื่น  3)ร้านค้าสหกรณ์  3)สินเชื่อเพื่อการผลิต  โดยมีสินทรัพย์หมุนเวียน  23.5 ล้านบาทต่อปี      และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดระนอง  ภายใต้โครงการโรงรวบรวมยางก้นถ้วย  และการผลิตน้ำกรดยาง  และโครงการพืชร่วมยาง เมื่อปี 2565 คณะกรรมการสหกรณ์ฯ  มีมติเห็นชอบในการดำเนินงานเกษตรกรรมยั่งยืน ซึ่งต้องมีการจัดทำแผนการดำเนินงาน และนำเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 66 นี้ จะได้แผนปฏิบัติการและกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนต่อไป  รวมทั้ง 2) การส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน:สวนยางยั่งยืน ผ่านกลไกสหกรณ์กองทุนสวนยางคอคอดกระ มีแนวทางสำคัญ โดยข้อสรุปที่ต้องขับเคลื่อนต่อ 1)พัฒนาระบบกลไกสหกรณ์ฯ ให้มีแผนแม่บทการพัฒนาการเกษตร  แผนปฏิบัติการ. เตรียมโครงการสำคัญ เช่น การแปรรูปยางพารา. ต่อยอดจากกิจการรวบรวมยางแผ่น/ยางก้นถ้วย.  ฯ และการมีผู้ประสานงาน/พี่เลี้ยงเกษตรกร. ที่จะทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง. กยท.-กษ....ยกร่างแผนงาน เพื่อนำเข้าสู่การประชุมสามัญประจำปีอีก 3 เดือนข้างหน้า 2)เกษตรกรรมยั่งยืน สวนยางยั่งยืน กับมวลสมาชิก 700 ราย  กับ  2 กลุ่มตามเงื่อนไขการสนับสนุน กยท.    กลุ่มที่ขอสนับสนุนปลูกแทน. กยท.3 สวนยางยั่งยืน.  ไร่ละ 16,000 บาท. และกลุ่มที่ทำพืชร่วมยาง (ไม่โค่นแต่ปลูกพืช ไม้เสริม ร่วมกับประมง/ปศุสัตว์  สร้างอาหารในครัวเรือน
3) การเตรียมความพร้อมสู่มาตรฐานจัดการสวนยางยั่งยืน ffc  และมาตรฐานอื่นๆ  เพื่อยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตร. เชื่อมโยงการตลาด 3)รูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืนสมัยใหม่  (แปลงเกษตร นายอุดม  คำแป้น) คือจัดการผังแปลงและพืชให้เหมาะสม ลดความเสี่ยง. หลากหลายพืชพรรณ และการผลิตพืชสัตว์ด้วยการ
1)ออกแบบวางผังแปลง และสร้างแหล่งน้ำ (สระน้ำ/บาดาล/ลำห้วย-ลำน้ำ. ทำฝายชะลอน้ำ)
2)ขุดคลองใส้ไก่หรือ ร่องน้ำตักตะกอน ซ่วยดูดซับน้ำและตะกอนดิน โดยเฉพาะพื้นที่ลาดชัน
3)ใช้กล้วยปลูกนำ รักษาความชุ่มชื้นและเพิ่มอินทรีย์วัตถุ กับหญ้า 4)ปลูกพืชหลัก. พืชรอง. พืชเสริม. แปลงนี้ ทุเรียนปลูกคู่แบบระยอง. คั่นระหว่างด้วยมะพร้าว. และโกโก้ ทิศทางการรับแสง
5)ลดต้นทุนด้วยผลิตปุ๋ยหมัก คอก จากขึ้หมูหลุม และเป็นรายได้ให้เป็นค่าใช้จ่ายแก่แรงงานในแปลง ปัจจุบัน อ.อุดม คำแป้น. มีรายได้จากกล้วย. และโกโก้. เริ่มเก็บเกี่ยวได้แล้ว พัฒนาการแปรรูปด้วยคนรุ่นใหม่

 

ประชุมปรึกษาหารือและพัฒนากลไกความร่วมมือระดับจังหวัดและภาคใต้ (การจัดทำคู่มือสวนยางยั่งยืน) 27 มี.ค. 2566 27 มี.ค. 2566

 

ประสานงานรวบรวมข้อมูลของ กยท./สปก.และเครือข่ายเกษตร

 

เกิการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การสร้างสวนยางพาราที่มีความหลากหลายนั้น สามารถประยุกต์ใช้หลักการ การปลูกพืชแซมยาง คือ พืชที่ปลูกระหว่างแถวยางในขณะที่ต้นยางอายุไม่เกิน 4 ปี หรือพิจารณาขนาดของ ต้นยางร่วมด้วย (จะให้ผลดีที่ต้นยางอายุไม่เกิน 3 ปี) ซึ่งควรเป็นกลุ่มพืชล้มลุกหรือพืชไร่ และการปลูก พืชร่วมยาง คือ พืชที่ปลูกเพื่อให้ผลผลิตพร้อม ๆ กับยางพารา ซึ่งสามารถขึ้นได้ดีในสภาพร่มเงา โดยพบว่าใน กลุ่มนี้สามารถจำแนกประเภทพืชที่ปลูกได้หลายกลุ่ม ทั้งกลุ่มพืชไร่ พืชผัก ไม้ผล-ไม้ยืนต้น-ไม้ป่า หรือเรียกว่า กลุ่มไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ หรือถ้าแบ่งตามการใช้ประโยชน์อาจจำแนกเป็นกลุ่มพืชอา หาร สมุนไพรและ เครื่องเทศ ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ใช้สอย ไม้ให้ร่มเงา พืชปรับปรุงดิน เป็นต้น นอกจากนี้ เกษตรกรสามารถเลี้ยง สัตว์ในสวนยางได้ เช่น แพะ หมู ไก่ เป็ด เป็นต้น และกลุ่มสัตว์น้ำหรือกิจกรรมประมงในแปลงสวนยาง เช่น ปลา กบ เป็นต้น และเกษตรกรสามารถประกอบอาชีพเสริมรายได้อื่น ๆ เช่น การเพาะเห็ดฟางทะลายปาล์ม ในสวนยาง นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนพื้นที่ยางบางส่วนเพื่อปลูกพืชอื่น ๆ เช่น ปาล์มน้ำมัน กล้วย กาแฟ และ พืชอื่น ๆ เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยสร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกรได้ โดยสามารถการเลือกชนิดพืชที่ปลูก ที่คำนึงถึงการตลาดในพื้นที่ สภาพพื้นที่ ระยะเวลาการให้ผลตอบแทน เช่น มีรายได้เป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี การปลูกพืชในสวนยางแบบหลากหลายต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ คือ (1) ชนิดพืชที่เลือกปลูกควร พิจารณาถึงความต้องการของตลาด ความต้องการใช้ประโยชน์ของครัวเรือน ระบบราก ความทนทานต่อร่มเงา ความเกื้อกูลกัน ความเหมาะสมกับพื้นที่ อายุเก็บเกี่ยว และอายุของยางพารา (2) ความรู้ ความสามารถ ความถนัดในการจัดการของเกษตรกรในการปลูก การดูแล และการเก็บเกี่ยวพืชแต่ละชนิดได้อย่างเหมาะสม (3) อายุและช่วงระยะเวลาการปลูกพืชควรเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมเพื่อให้ได้ผลผลิตและรายได้สูงสุด สำหรับชนิดพืชที่ปลูกไม่ว่าจะโดยหลักการปลูกแซมหรือปลูกร่วมในสวนยางพารา นอกจากจะขึ้นอยู่กับ ความต้องการของเกษตรกรแล้วถ้าจะให้ได้ผลดีควรคำนึงถึงกับสภาพพื้นที่และอายุของยางพารา ความพร้อม บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ค ในเรื่องแหล่งน้ำ และความต้องการของตลาด รวมถึงเทคนิควิธีในการจัดการเพื่อลดปัญหาการแย่งธาตุอาหาร น้ำ และการได้รับแสงแดดของพืช อย่างไรก็ตาม จากกรณีตัวอย่างจะเห็นได้ว่าเกษตรกรสามารถเลือกชนิดพืช ที่ได้หลากหลายชนิดไม่สามารถกำหนดตายตัวเนื่องจากวัตถุประสงค์ในการปลูกแตกต่างกันไป แต่สามารถ ให้ข้อมูลเป็นตัวอย่าง เช่น กรณีการปลูกพืช มีพืชหลายชนิดที่สามารถแยกเป็นกลุ่ม พืชไร่ กลุ่มพืชสมุนไพร และเครื่องเทศ กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ กลุ่มไผ่ กลุ่มไม้ผล กลุ่มเห็ด กลุ่มผักพื้นบ้าน นอกจากนี้เกษตรกร สามารถเลี้ยงสัตว์และประมงร่วมในสวนยางพาราได้เช่นกัน เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนการปลูกยางพาราให้เข้าสู่การทำสวนยางแบบยั่งยืนได้ 2 ลักษณะ คือ (1) การปรับเปลี่ยนพื้นที่บางส่วนปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ร่วม หรือแบบเกษตรผสมผสาน หรือพืชสัตว์เศรษฐกิจอื่น นอกเหนือจากการทำสวนยางไปพร้อมกับการคงพื้นที่ปลูกยางโดยแบ่งสัดส่วนพื้นที่ปลูกยางพาราเชิงเดี่ยวและ ผสมผสานอย่างชัดเจนซึ่งอาจจะแบ่งจากแปลงเดิมหรือแปลงอื่น ๆ ก็ได้ในกรณีเกษตรกรมีที่ดินมากกว่า 1 แปลง (2) การปรับเปลี่ยนทั้งแปลง โดยการปลูกพืชร่วมหรือผสมผสานและทำกิจกรรมอื่นในสวนยางพาราเต็ม แปลง โดยมีตัวอย่างการจัดการที่เสนอไว้หลายรูปแบบ ที่เกษตรกรสามารถปรับตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปเริ่ม จากพื้นที่ขนาดเล็กและเมื่อมีความพร้อมจึงขยายพื้นที่มากขึ้น สำหรับการจัดการระยะปลูกและตำแหน่ง การปลูก สามารถทำได้หลายลักษณะ เช่น ปลูกสลับแถว วิธีปลูกเป็นแนวกันลม วิธีปลูกผสมผสานแบบไม่เป็น แถวเป็นแนวในร่องยางหรือบริเวณที่ยังมีพื้นที่ว่างในสวนยางทั้งภายในแปลงหรือบริเวณขอบแปลง หรือจะ เลือกปลูกแบบไม่กี่ชนิดไปจนถึง ปลูกแบบหลากหลายในลักษณะเกษตรผสมผสานและระบบวนเกษตรที่มี ความซับซ้อนเลียนแบบระบบนิเวศของป่าธรรมชาติซึ่งจะต้องใช้หลักการปลูกพืชหลายระดับชั้นเข้ามา ประยุกต์ใช้ อย่างไรก็ตาม การปลูกพืชเพื่อเพิ่มความหลากหลายในสวนยางพารานั้น ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว แต่ขึ้นอยู่กับการวางแผนจัดการแปลงของเกษตรกรเพื่อให้เกิดผลที่สนองความต้องการของครัวเรือนได้อย่าง เหมาะสม โดยเกษตรกรแต่ละรายจำเป็นต้องกำหนดชนิดและกิจกรรมให้เหมาะสมกับระบบนิเวศของแปลง ที่ดินในแต่ละพื้นที่ ความพร้อมของครัวเรือน (เช่น แรงงาน เงินทุน ความรู้ในตั้งแต่การปลูก จนถึงขาย เป็นต้น) ความต้องการใช้ประโยชน์ของเกษตรกรเอง ความต้องการของตลาด รวมถึงก ารตระหนักถึง ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และควรเริ่มทดลองจากพืชที่ขนาดเล็กก่อน หากได้ผลดีและมีประสบการณ์ใน การจัดการแล้วจึงขยายพื้นที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการปรับเปลี่ยนสวนยางพาราตามแนวทางดังกล่าวข้างต้นนั้น เกษตรกรจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการพื้นที่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด กล่าวคือ เกษตรกรยัง สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตจากยางพาราและเกิดผลผลิตอื่น ๆ จากกิจกรรมอื่น ๆ ด้วย จากการศึกษาพบว่าแม้ว่าผลผลิตรายกิจกรรมในสวนยางพาราที่มีการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ร่วมหรือทำ เกษตรผสมผสาน อาจจะไม่ได้เต็มศักยภาพ แต่เมื่อคิดในภาพรวมของการใช้ประโยชน์ที่ดินแล้วจะได้รับ ประโยชน์มากกว่ายางเชิงเดี่ยวอย่างแน่นอน จะเห็นได้จากผลการศึกษาของนักวิชาการ หน่วยงานของรัฐ และ กรณีตัวอย่างเกษตรกรที่ได้ปฏิบัติแล้ว ยืนยันว่าการสร้างความหลากหลายในสวนยางพาราจะให้ผลดีมากกว่า ผลเสีย โดยเฉพาะประโยชน์ในเรื่องการช่วยลดความเสี่ยง และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเกษตรกรซึ่งประโยชน์และ ระดับความมั่นคงยั่งยืนจะขึ้นอยู่กับทักษะความสามารถในการบริหารจัดการกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อตอบสนอง ง ความต้องการของครัวเรือนโดยเฉพาะความมั่นคงด้านรายได้และอาหาร นอกจากนี้ การฟื้นตัวของระบบนิเวศ ในแปลงเกษตรกรรมที่มีความหลากหลายทางชีวภาพและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ตลอดจนหากเกษตรกร ปฏิบัติตามแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืนในรูปแบบเกษตรผสมผสาน/วนเกษตรและปรับเปลี่ยนการจัดการดิน และสารกำจัดศัตรูพืชมาเป็นรูปแบบเกษตรอินทรีย์หรือเป็นเกษตรที่มิตรกับสิ่งแวดล้อม ก็จะยิ่งส่งผลให้เกิดผล ดีทั้งต่อเกษตรกรชุมชนและระบบนิเวศโดยรวมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาแม้ว่าการยอมรับและปรับตัวของเกษตรกรยังไม่ กว้างขวางนัก แต่การปฏิบัติในกลุ่มเกษตรกรที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทำให้เห็นแนวโน้มที่ดีในการลดปัญหา ความเสี่ยงต่าง ๆ จากการปลูกยางเชิงเดี่ยวได้ ภาครัฐจึงควรให้ความสำคัญกับมาตรการที่สามารถพัฒนา ศักยภาพของเกษตรกรด้านการผลิตและการจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงและยั่งยืนมากขึ้นโดยควรส่งเสริมให้ เกษตรกรลดเนื้อที่ปลูกยางพารา และ/หรือ ปรับระบบการผลิตที่สร้างความหลากหลายมากขึ้น รวมถึงพัฒนา ความรู้และใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยเฉพาะการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ ที่ดิน ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งคือการพัฒนาความรู้และปรับเปลี่ยนแนวคิดของเกษตรกรในเรื่องการ บริหารจัดการเงิน พฤติกรรมการใช้จ่ายและการบริโภค รวมถึงการสร้างวินัยทางการเงินที่เหมาะสมสอดคล้อง กับรายได้ เพื่อให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองและดำรงอยู่ได้แม้ว่าจะเผชิญกับภาวะวิกฤติราคายางพารา และ ปัจจัยจากภายนอกอื่น ๆ ที่เป็นปัจจัยลบและเกิดขึ้นแบบรวดเร็วขั้นวิกฤติ หรือ Shock ในส่วนของ ส.ป.ก. สามารถขับเคลื่อนการส่งเสริมยางพาราแบบยั่งยืนผ่านโครงการที่ดำเนินการอยู่ใน ปัจจุบัน เช่น โครงการส่งเสริมระบบวนเกษตร และการปลูกพืชสมุนไพร โดยควรกำหนดให้เกษตรกรชาวสวน ยางเป็นหนึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตสู่การปลูกพืชร่วมยาง เกษตรผสมผสานและ วนเกษตรตามในสวนยางลำดับ ทั้งนี้ ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาเชิงคุณภาพมากขึ้นโดยเน้นสร้างการ เปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมผ่านเกษตรกรต้นแบบ และสร้างกลุ่มแกนนำและเครือข่ายผู้นำ เพื่อเป็นกลไกใน การขยายผลความรู้และการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ รวมถึงการประสานความร่วมมือกับการยางแห่งประเทศ ไทย กรมป่าไม้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ เครือข่ายภาคประชาชน รวมถึงภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ในระดับพื้นที่ที่มีเป้าหมายร่วมกันในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรลดความเสี่ยงจากการปลูกพืช เศรษฐกิจเชิงเดี่ยว เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับครัวเรือนเกษตรกรในระยะยาว ..... ความเป็นมา หลักการและรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืน 5 รูปแบบ
สถาบันนโยบายสาธารณะ ร่วมกับ ดร.ไชยยะ คงมณี ดร.อริศรา ร่มเย็น เณรานนท์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ศึกษาทางเลือกของระบบเกษตรผสมผสานที่มีความเป็นไปได้ของจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีรูปแบบ 4 ระบบ คือ 1) ระบบยาง - ผสมผสาน (mixed cropping) 2) ระบบยางร่วมไม้เศรษฐกิจหรือพืชอาหาร (intercropping) และ 3) ระบบเกษตรแบบปลูกแยกแปลง (multi cropping) 4. ระบบวนเกษตร (agroforestry)ดร่างชุดคู่มือการขับเคลื่อนงานเกษตรกรรมยั่งยืน

 

ประชุมปรึกษาหารือจัดทำแผนความร่วมมือขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน(5 รูปแบบ)สวนยางยั่งยืนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัดชุมพร/ระนอง 20 เม.ย. 2566 20 เม.ย. 2566

 

คณะทำงานระดับจังหวัด/กลุ่มจังหวัดหรือ  เขต กยท. (ใต้บน-ใต้กลาง-ใต้ล่าง)  จัดประชุมปรึกษาหารือเพื่อจัดทำแผนความร่วมมือเกษตรกรรมยั่งยืนระดับจังหวัด
ทั้งนี้บางจังหวัดหรือเขตพื้นที่ กยท.  อาจบูรณาการร่วมกับกิจกรรมตามแผนงานของหน่วยงานในพื้นที่และพูดคุยการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านยุทธศาสตรืสวนยางยั่งยืน

 

ทิศทางการดำเนินงานเกษตรยั่งยืน โดย ผอ.การยางแห่งประเทศไทย จังหวัดชุมพร การยางแห่งประเทศไทยยินดีที่ทางสมาคมประชาสังคมชุมพร เห็นความสำคัญของเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อให้เกิดการบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องชาวสวนยาง นอกจากนี้ยังมีในเรื่องของการส่งเสริมการปลูกแทน การให้เงินทุนสงเคราะห์ หรือ เงินอุดหนุนต่างๆ  เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับเกษตรกร  กลุ่มและสถาบันเกษตรกร ในการขยายขนาดการผลิต การแปรรูป การตลาด กยท.ก็ให้ความสำคัญ ในการบริหาจัดการต้องให้ความสำคัญกับต้นน้ำ และปลายน้ำคำนึงถึงเรื่องราคาเป็นหลัก แต่ลืมในเรื่องของความเข้มแข็ง พี่น้องเกษตรกรค่อนข้างอ่อนแอ คือ อ่อนแอจากตัวเกษตรกรเอง  จากปัจจัยภายนอก จากต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง การทำเกษตรพึ่งพิงกับสารเคมีมากเกินไป ลืมพื้นฐานวิถีชีวิตเดิมๆ องค์ความรู้ในสมัยอดีตมีอยู่แล้ว แต่ไม่ได้นำมาปรับใช้ให้เข้ากับสภาพของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ถ้านำปรับประยุกต์ใช้ระหว่างข้อมูลพื้นฐานองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมกับปัจจุบัน ปรับประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีสมัยใหม่กับนวัตกรรม ข้อมูลทางวิชาการมาใช้ จะช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับพี่น้องเกษตรกรได้อย่างชัดเจน  ลดต้นทุนการผลิต ปุ๋ย ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน รายได้สามารถซื้อขายผลิตได้เองในครัวเรือน ไม่มีค่าใช้จ่ายสู่ภายนอกจะทำให้เกิดความยั่งยืนต่อเกษตรกร นอกจากนี้ยังสนับสนุนในส่วนวิชาการ กรมวิชาการเกษตร  ซึ่งจะเกิดผลกระทบกับเกษตรกร จึงจำเป็นต้องคิดวิเคราะห์คำนึงถึงหลักการและเหตุผล เป็นเวทีพี่น้องเกษตรจากหลายภาคส่วนมาร่วมคิด การดำเนินการโครงการ และเป็นการขับเคลื่อนในภาพรวมของทั้งภาคใต้ทั้งหมด ให้ความสำคัญในเรื่องของเกษตรกรรมยั่งยืน สร้างความมั่งคั่ง มั่นคงในเรื่องของการตลาด    ปัจจุบัน GDP ของจังหวัดชุมพร ไม่ได้มาจากยาง โดยยางจะอยู่ในอันดับที่ 4  อันดับแรกเป็นทุเรียน เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญซึ่งสร้างรายได้ให้เกษตรกรชาวสวน มีการนำเข้าส่งออกกึ่งมหภาค มีนักธุรกิจภายนอก มีการเคลื่อนย้ายแรงงาน  ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกษตรกรไม่ให้ความสำคัญ เริ่มเปลี่ยนวิถีไป ผลผลิตไทยภาคการเกษตรที่ให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูง ต้นทุนยางกับทุเรียนต่างกัน แต่ผลผลิตระยะยาวมาคำนวณอาจไม่สมดุลกัน  นอกจากคำนึงตัวเองแล้ว ต้องคำนึงการตลาดด้วย ต้องพืชเศรษฐกิจที่เป็นรายได้ รายวัน รายเดือน รายปี  เกษตรกรที่มีความประสงค์จะปลูกแบบเกษตรกรรมยั่งยืน สามารถขอทุนได้ แต่เกษตรกรยังไม่เห็นความสำคัญ ไม่ให้ความสนใจ เป้าหมาย 8000 ไร่ ครึ่งปี (2 ไตรมาส) ได้เพียง 600 กว่าไร่  เกษตรกรรมยั่งยืนเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา 3-5 ปี  ให้ทำการเกษตรด้วยความประณีต ด้วยความระมัดระวัง อย่าทำตามกระแส จะทำให้เกิดผลกระทบกับตัวเกษตรกร ต้องคิดวิเคราะห์ คำนึงเหตุผล เวทีนี้เป็นเวทีที่ดี พี่น้องหลายภาคส่วนมาร่วมคิดแผนกลยุทธ์ ในการจัดทำโครงการเป็นการขับเคลื่อนในภาพรวมทั้งภาคใต้  ซึ่งกยท.มีแผนพัฒนาวิสาหกิจของประเทศไทย ในระยะ 20 ปี เรื่องการทำเกษตรกรรมยั่งยืน แผนตั้งแต่ปี 2560 – 2579 ที่ให้ความสำคัญกับแผนพัฒนาประเทศ การดำเนินการใดที่สามารถยกระดับรายได้ให้กับเกษตรกร และสามารถพึ่งพาตนเองได้ สร้างรายได้เสริม สร้างความมั่นคงยั่งยืนให้กับเกษตรกรได้ สิ่งนั้น กยท. จะดำเนินการ ที่ผ่านให้เงินอุดหนุนในเรื่องของการใช้โซล่าเซลล์ น้ำ อาชีพเสริม ก็มี  ปีมีงบประมาณ 800,000 บาท สนับสนุนเกษตรกร 500,000 บาท ในเรื่องการทำเกษตรกรรมยั่งยืน โดยดูจากเกษตรที่ดำเนินการอยู่แล้ว และคาดว่าจะดำเนินการประสบความสำเร็จ เป็นเกษตรกรต้นแบบให้กับเกษตรกรอื่นๆ ในส่วนของนวัตกรรม เทคโนโลยีต่างๆ สถาบันวิชาการ กยท.จะร่วมกับ มอ. ม.แม่โจ้
สจล. ซึ่ง กยท.ได้ทำ MOU ไว้แล้ว อยากให้เกษตรกรเห็นคุณค่าการทำเกษตรกรรมยั่งยืนให้มากที่สุด ซึ่งที่ผ่านมาอาจเป็นเพราะประชาสัมพันธ์น้อยไป ภาพรวมผลกระทบ นโยบายขาดแรงจูงใจ  2-3 ปี จะเร่งดำเนินการ เร่งให้เกิดผลกระทบเชิงประจักษ์อย่างชัดเจนในเรื่องรายได้ นวัตกรรม เชื่อว่าหน่วยงานในกระทรวงเกษตรทุกภาคส่วนจะให้ความรวมมือกับสมาคม สมาพันธ์ เครือข่าย ในการดำเนินการเกี่ยวกับเกษตรกรรมยั่งยืน  ในส่วนของความช่วยเหลือ กยท.สามารถช่วยได้ในด้านทุนอุดหนุน วิชาการ ความรู้ ยินดีช่วยเป็นอย่างยิ่ง

ตัวองค์ความรู้ ฐานข้อมูลโดนบังคับจากความเคยยินในอดีต มีแต่ยางอย่างเดียวปลูกอะไรไม่ได้ ทักษะการส่งเสริมของตัว กยท. เอง กับตัวภาคียังขาดทักษะเรื่องนี้มาก ภาพเก่าจากระบบเศรษฐกิจในสวนยางเคยมีรายได้สูง มีทางเลือกตัวอื่น จึงมองข้ามที่จะทำเสริมในสวนยาง กลไกกฎหมายตัวระเบียบยังเอื้อ ปัจจุบันนี้ยิ่งขยันยิ่งจน ใช้จ้างแรงงานอย่างเดียว ชี้สั่งงาน  เกษตรบูรณาการ หน่วยงานภาคเกษตรมุ่งไปหมู่บ้านเกษตรสมบูรณ์หมด ทำยังไงจะให้เกษตรกรได้รับรู้ กยท. กำหนดให้แต่ละเขต แต่ละจังหวัดมีคณะกรรมการ แต่ทำไม่มีกรรมการที่เป็นตัวแทนมาจากเกษตรกรชาวสวนยางเลย ควรเอามาเป็นเครื่องมือช่วยในการทำความเข้าใจและขยายฐานการทำเกษตรกรรมยั่งยืน  ทาง มอ. ม.แม่โจ้ จะทำคู่มือทางเลือก คล้ายกับการทำหลักสูตร เพื่อเผยแพร่ทำความเข้าใจในเรื่องเกษตรกรรมยั่งยืน กยท. เสนอกำหนดนโยบายขึ้นไป การเลี้ยงสัตว์ การปลูกพืช สามารถทำร่วมกันได้หมดทุกอย่าง กยท.ก็ให้ความสำคัญ สุดท้ายขึ้นอยู่กับเกษตรกร อย่าสร้างเงื่อนไขหรือเปลี่ยนวิถีชีวิต บริบทกับเกษตรกรมากเกินไป ต้องชี้นำ แนะนำเกษตรกร ให้เห็นความสำคัญ ประโยชน์ และค่าใช้จ่ายๆ ต่าง ก็จะทำให้สามารถขยับไปได้
การทำ Roadmap  จะเป็นเครื่องมือช่วยการคิดเชิงระบบ ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ทำให้เห็นภาพทั้งระบบ ปัจจุบันอยู่ที่ไหน และจะไปทางไหนต่อ ที่เจรจาไว้แล้วว่าจะสามารถไปสอดรับกับเงื่อนไขของหน่วยงานได้หรือเปล่า ได้แก่ เรื่องภายใต้ทรัพยากรที่ กยท. มีอยู่  ภายใต้แผนพัฒนาจังหวัด ต่อกับโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ กระทรวงอว. เรื่องเครดิตคาร์บอน  4 ตัวนี้ จะเป็นตัวตอบว่าพื้นที่ไหน กลุ่มเป้าหมาย ต่อกับแหล่งทุนไหน การทำเกษตรกรรมยั่งยืน มี 5 รูปแบบ เพิ่มแบบสวนยางยั่งยืนอีก 1 รูปแบบ รวมเป็น 6 รูปแบบ คิดให้ตลอดทั้งกระบวนการ ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ  วิธีคิดเชิงระบบเอาจากประสบการณ์บวกกับความรู้ กยท.ควรทำมุมความรู้เพื่อให้ผู้ที่มาติดต่อได้ดูและสร้างความเข้าใจ  การทำสวนยางระบบเกษตรหลากหลายแบบแยกแปลง ระบบพืชร่วม ระบบเกษตรผสมผสาน

สรุปผลการดำเนินงานและทิศทาง -เครือข่ายสวนยางยั่งยืน : นายอดิศักดิ์  ยมสุขี ดำเนินเครือข่ายโครงการสวนยางยั่งยืน  ถือว่าประสบความสำเร็จในการทำสวนยางยั่งยืนถึงจะไม่ทั้งหมด แต่เอาแปลงที่ทำสำเร็จเป็นต้นแบบไปให้กับเกษตรกรอื่นๆ ได้ดู  โดยแปลงของนายฉลองชาติ ยังปักษี เป็นการทำเกษตรแบบวรรณะเกษตร  นายวิเวก อมตเวทย์ เป็นการทำเกษตรผสมผสาน แบบรุ่นใหม่ เริ่มจากการออกแบบวางผังแปลง เป็นแนวทางที่ควรได้รับการพัฒนามากที่สุด  นายอดิศักดิ์ ยมสุขขี ในสวนเป็นยางรุ่นเก่าแล้ว จากการไปสำรวจสอบถามในพื้นที่ แบบนี้จะมีคนทำเยอะที่สุดทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นยางที่มีอยู่แล้ว จะทำอย่างไรให้เกิดการพัฒนา ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จาก -3 แปลงต้นแบบ ก็ขยายเป็น 10 แปลงต้นแบบ และจะขยายผลอีก 10 แปลง ในปีหน้า เพื่อให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด ทำให้เห็นว่า มีประโยชน์ เกิดรายได้เพิ่ม  ยังเครือข่ายที่ครอบคลุมทั้งจังหวัด งาน กยท. คือการตั้งกลุ่มแปลงใหญ่ยางพารา ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดของกลุ่มมากที่สุด รวมแปลงใหญ่ยางพารา มี 34  ราย พื้นที่ 400กว่าไร่ ได้บูรณาการร่วมกับ กยท.  มี 20 กว่าแปลงเริ่มเปลี่ยนตัวเอง  ของนายทวี  มีการปลูกไม้เศรษฐกิจร่วมกับยางพารา อุปสรรคที่เกิด เกษตรกรวิ่งตามกระแส เช่น การปลูกทุเรียน ปัญหาหลักคือ ยางพาราราคาตกต่ำ  ยังยึดติดกับการทำเกษตรแบบดั้งเดิม พยายามทำพื้นที่สวนแตงให้เป็นแปลงต้นแบบให้ได้  ควรแบ่งเป็น ยางพาราอายุ 1-5 ปี  และ ยางพาราที่หลังการเก็บเกี่ยว  การปลูกข้าวไร่ในร่มเงาสามารถปลูกในสวนยางพาราได้ -เครือข่ายข้าวไร่ชุมพร : นายนิพนธ์  ฤทธิชัย
จากการทำข้าวไร่เมื่อปีที่แล้ว ข้าวไร่เป็นข้าวที่ต้องปลูกตามฤดูกาล ปัญหาของลมฟ้าอากาศที่ไม่ตรงตามฤดูกาลจะมีผลพอสมควร ที่ผ่านมาข้าวไร่สุกในช่วงที่ฝนตกทำให้ข้าวเกิดความเสียหาย เรื่องของแรงงานการทำข้าวไร่ลดน้อยถอยลง  เกษตรกรที่ยังทำกันอยู่ในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป ทำให้เกิดปัญหาด้านแรงงานถือว่าหนักพอสมควร  พื้นที่มีจำกัด  การที่ไปขอพื้นที่ทำข้าวไร่เพื่อให้เห็นว่า ตัดต้นยางพารา ปาล์มน้ำมัน ก็สามารถที่จะสร้างประโยชน์ในพื้นที่จากการปลูกข้าวไร่ได้ เกิดรายได้ แต่บางคนมีเงินไม่มีความสนใจ ที่ทำหลักเลยคือ ความมั่นคงทางอาหาร และการอนุรักษ์พันธุกรรมข้าวไร่ การจะอนุรักษ์พันธุ์ไว้ได้ ต้องปลูกทุกปี  ต้องสร้างให้เกิดคุณค่าประโยชน์ เกิดเศรษฐกิจจะเป็นจูงใจในการรักษาพันธุ์ไว้ได้ ต้องหาวิธีการผลิต การแปรรูป เพื่อขายเป็นรายได้เสริม การสร้างมูลค่าเพิ่มการแปรรูปจากข้าวสารให้เป็นผลิตภัณฑ์อื่นให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ได้ผลผลิตที่มาก แปรรูปให้ได้มูลค่ามากขึ้น  การสร้างอาหาร ลดรายจ่าย ต้องมีการสื่อสารให้เห็นถึงทางเลือก ทางรอด การแปรรูปต้องมีตลาดรองรับ มีการคุยกับทางTOGA และ โรงแรม 4 แห่ง ที่ภูเก็ต  การทำเป็นธุรกิจต้องดูพื้นที่ ราคาต้องมีความเหมาะสมคุ้มทุน จะหาพื้นที่ ลดรายจ่ายในการซื้ออาหาร การทำข้าวไร่อินทรีย์เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก จึงทำอยู่ในระดับปลอดภัย การทำตลาดมีเครือข่ายอยู่    สมาพันธ์พกฉ.  วิสาหกิจคนทำธุรกิจ  สมาชิกเครือข่ายที่เดินต่อข้าวไร่  จึงมีช่องทางที่จะไปไม่ใช้ปลูกไว้กินอย่างเดียว แต่สามารถมีรายได้เพิ่ม

 

ปรึกษาหารือจัดทำแผนความร่วมมือขับเคลื่อน เกษตรกรรมยั่งยืน ( 5 รูปแบบ) : สวนยางยั่งยืน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด หรือกลุ่มจังหวัดนครศรีธรรมราชและสัมมนาเชิงปฎิบัติการพัฒนาและขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะด้านยุทธศาสตร์สวนยางยั่งยืน 30 เม.ย. 2566 30 เม.ย. 2566

 

คณะทำงานระดับจังหวัด/กลุ่มจังหวัดหรือ  เขต กยท. (ใต้บน-ใต้กลาง-ใต้ล่าง)  จัดประชุมปรึกษาหารือเพื่อจัดทำแผนความร่วมมือเกษตรกรรมยั่งยืนระดับจังหวัด
ทั้งนี้บางจังหวัดหรือเขตพื้นที่ กยท.  อาจบูรณาการร่วมกับกิจกรรมตามแผนงานของหน่วยงานในพื้นที่

 

(ร่าง) แผนยุทธศาสตร์สวนยางยั่งยืนประเทศไทย พ.ศ....... 1. บทสรุปผู้บริหาร 2. แนวคิดสวนยางยั่งยืนในบริบทประเทศไทย 2.1 สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสวนยางยั่งยืนในประเทศไทย
ยางพาราและผลิตผลจากยางพารามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิของประเทศไทย สร้างรายได้ให้กับประเทศมากกว่าปีละหลายแสนล้านบาท อย่างไรก็ดีความตกต่ำของราคายางพารา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 ส่งผลต่อวิถีชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับสถานการณ์ด้านอื่นๆ ที่เกษตรกรชาวสวนยางกำลังเผชิญ เช่น ต้นทุนและปัจจัยการผลิตมีราคาสูงขึ้น ปัญหาขาดแคลนแรงงานและผู้สืบทอดอาชีพ จึงส่งผลทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมแก่เกษตรกรชาวสวนยางโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกษตรกรที่ปลูกยางแบบเชิงเดี่ยว รวมถึงเกษตรกรรายย่อยและเกษตรกรที่ไม่มีความมั่นคงในพื้นที่ทำกิน นอกจากนี้การทำสวนยางพาราในหลายพื้นที่ยังเชื่อมโยงกับการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพ เชื่อมโยงสู่นโยบายทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศที่มีความเข้มงวดมากขึ้นในการบังคับใช้นโยบายกีดกันทางการค้าสำหรับสินค้าหรือพื้นที่ที่มีความเสี่ยงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น นโยบบายของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า (EU Regulation on Deforestation-free Products) เป็นต้น
ภาครัฐได้มีนโยบายเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การพยุงราคายางพารา การประกันรายได้ รวมไปถึงการส่งเสริมให้เกษตรกรมีการปลูกพืชแซมยางและพืชร่วมยาง ตั้งแต่ปี 2535 โดยการปรับเปลี่ยนระบบการปลูกยางให้สามารถปลูกพืชร่วมได้ โดยการให้การสนับสนุนด้านปัจจัยการผลิตและเงินทุนสงเคราะห์บางส่วน แต่ก็พบว่าเกษตรกรชาวสวนยางส่วนใหญ่ยังคงปลูกยางพาราเชิงเดี่ยวแบบเดิม เนื่องจากเกษตรกรชาวสวนยางไม่มีความรู้ในการปลูกพืชแบบอื่น รวมถึงไม่แน่ใจว่าการปลูกพืชแซมยางและพืชร่วมยางจะทำให้ผลผลิตที่ได้รับลดลงหรือไม่ ประกอบกับความยุ่งยากในการจัดการสวนยางพารา (สมบูรณ์ เจริญจิรตระกูล และคณะ, 2557: อ้างใน หฤทัย อินยอด, 2562) หน่วยงานภาครัฐโดยการยางแห่งประเทศไทยยังคงสนับสนุนรูปแบบการทำสวนยางที่มีการปลูกพืชร่วมยางมากขึ้น เพราะเล็งเห็นว่าจะทำให้เกษตรกรสามารถสร้างรายได้จากรูปแบบการผลิตที่หลากหลาย ช่วยเพิ่มความมั่นคงทางอาหาร มีไม้ใช้สอย และยังประโยชน์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยปัจจุบันมีนโยบายให้เกษตรกรสามารถขอรับการปลูกแทนแบบผสมผสาน โดยสามารถปลูกยางพาราร่วมกับไม้ยืนต้นในระยะปลูกและชนิดพืชที่แนะนำ อย่างไรก็ดียังพบว่ามีเกษตรกรที่ปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวไม่มากนัก ส่วนใหญ่เกิดในส่วนของนักวิชาการและปราชญ์ชาวบ้าน อีกทั้งการส่งเสริมอย่างจริงจังจากหน่วยงานภาครัฐยังมีน้อย และส่วนหนึ่งเกิดจากทัศนคติของเกษตรกรและข้อจำกัดของครัวเรือน เป็นต้น (หฤทัย อินยอด, 2562)
การขับเคลื่อนระบบสวนยางยั่งยืนในส่วนของเครือข่ายเกษตรกร ภาคประชาสังคม และสถาบันวิชาการรวมทั้งหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้ให้ความสำคัญและร่วมผลักดันระบบสวนยางยั่งยืน ไปพร้อมๆ กับการผลักดันทางนโยบายเกี่ยวกับระบบเกษตรกรรมยั่งยืนโดยมุ่งหวังให้เกษตรกรมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ มีสุขภาวะที่ดี และยังต้องการสร้างสมดุลชีวิตให้กับเกษตรกรในระยะยาวทั้งมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยที่ผ่านมามีการขับเคลื่อนให้หลายๆ ด้าน ทั้งการสร้างความตระหนัก การรณรงค์ การรวบรวมองค์ความรู้และขยายผลรูปธรรม การผลักดันด้านการตลาด และการรวมกลุ่ม ฯลฯ นอกจากนี้ได้ร่วมกันจัดงานสมัชชาสวนยางยั่งยืนขึ้นในประเทศไทยเพื่อรวบรวมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ ความก้าวหน้า ความท้าทายและข้อจำกัดในการดำเนินงานเพื่อผลักดันประเด็นสวนยางยั่งยืนในประเทศไทย และจัดทำข้อเสนอทางนโยบายเพื่อนำเสนอกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ภาคีที่ร่วมในสมัชชาสวนยางยั่งยืนเห็นพ้องกันว่าควรมีการจัดทำยุทธศาสตร์สวนยางยั่งยืนขึ้นเพื่อให้เกิดการดำเนินงานที่มีเอกภาพในการดำเนินงานตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึงภาคปฏิบัติในระดับพื้นที่ และเพื่อให้เป็นยุทธศาสตร์ร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในกำหนดเป้าหมายร่วมกัน การสร้างแผนร่วมที่เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและผสานจุดเด่นและจุดแข็งของภาคีต่างๆ ในการขับเคลื่อนงานทุกระดับ รวมไปถึงการติดตามความก้าวหน้าและการประเมินผลความสำเร็จร่วมกันได้อย่างต่อเนื่อง 
2.2 นิยาม ความหมาย และรูปแบบสวนยางยั่งยืนในประเทศไทย สวนยางพารายั่งยืนมีฐานคิดและรูปแบบที่สอดคล้องกับการทำเกษตรกรรมยั่งยืน (Sustainable Agriculture) ทั้งนี้ข้อมูลจากมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืนและระเบียบนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน พ.ศ.2554 ได้กล่าวถึงนิยามและรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืนไว้ว่า
ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน หมายถึง “ระบบการเกษตรที่ครอบคลุมถึงวิถีชีวิตเกษตรกร กระบวนการผลิต และการจัดการทุกรูปแบบ เพื่อให้เกิดความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ ซึ่งนำไปสู่การพึ่งตนเองและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและผู้บริโภค” โดยมีระบบการเกษตรภายใต้เกษตรกรรมยั่งยืน 5 รูปแบบ ประกอบด้วย
1)เกษตรธรรมชาติ (Natural Farming) หมายถึง ระบบการเกษตรที่ยึดหลักการสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ ไม่มีการไถพรวนดิน งดเว้นการใส่ปุ๋ย ไม่กำจัดวัชพืช ไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ตามแนวทางของมาซาโนบุ ฟูกูโอกะ) 2)เกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture) หมายถึง ระบบการเกษตรที่เน้นความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ โดยเน้นการปรับปรุงบำรุงดิน เคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์ และนิเวศเกษตร เกษตรอินทรีย์จึงลดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอกและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีขณะเดียวกันประยุกต์ใช้ธรรมชาติในการเพิ่มผลผลิตและพัฒนาการต้านทานโรค 3)เกษตรผสมผสาน (Integrated farming) หมายถึง ระบบการเกษตรที่มีการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์หลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน โดยที่กิจกรรมแต่ละชนิดเกื้อกูลกันอย่างเป็นวงจร เช่น อาหาร แร่ธาตุ อากาศ พลังงาน เป็นต้น และก่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุดต่อระบบฟาร์ม 4)วนเกษตร (Agroforestry) หมายถึง ระบบเกษตรที่ทำในพื้นที่ป่า เช่น ปลูกพืชแซมในพื้นที่ป่าธรรมชาติ นำสัตว์ไปเลี้ยงในป่า เก็บผลผลิตจากป่ามาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน รวมทั้งการสร้างระบบเกษตรให้มีลักษณะเลียนแบบระบบนิเวศป่าธรรมชาติ คือมีไม้ยืนต้นหนาแน่น มีร่มไม้ปกคลุมและมีความชุ่มชื้นสูง 5)เกษตรทฤษฎีใหม่ (New Theory Agriculture) หมายถึง ระบบการเกษตรที่มีกิจกรรมการผลิตหลายชนิดโดยการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน 1) ขุดสระกักเก็บน้ำ 30% 2) ปลูกข้าว 30% 3) ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น 30% และ 4) สร้างสิ่งปลูกสร้าง เช่น ที่อยู่อาศัย โรงเรือน เลี้ยงสัตว์ ฉาง 10% ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ ลักษณะสำคัญของการเกษตรกรรมยั่งยืน คือ ในแต่ละรูปแบบมีวิธีการจัดการไร่นา เช่น การใช้พืชคลุมดิน การบำรุงดิน และการควบคุมศัตูพืช และการให้ผลประโยชน์ เช่น ความมั่นคงทางอาหาร การจัดการความเสี่ยง มูลค่าเพิ่ม สุขอนามัยผู้ผลิต ที่แตกต่างกันในแต่ละรูปแบบ อย่างไรก็ดีมีจุดเน้นที่เหมือนกันในทุกระบบ คือ เน้นลดผลกระทบการผลิตต่อสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูความสมบูรณ์ของดินและความสมดุลของระบบนิเวศ ทั้งนี้สามารถแบ่งระบบเกษตรกรรมยั่งยืนได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) ระบบที่ไม่ใช้สารเคมี ประกอบด้วย เกษตรธรรมชาติ (เน้นการจัดการระบบนิเวศที่สมดุลในไร่นา) และเกษตรอินทรีย์ (เน้นการจัดการดินให้มีความอุดมสมบูรณ์) 2) ระบบเกษตรที่เน้นการจัดการพื้นที่ ประกอบด้วย เกษตรผสมผสาน (เน้นการจัดการที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด) วนเกษตร (เน้นการจัดการป่าไม้ให้ใช้ประโยชน์ร่วมกับเกษตรกรรมได้) เกษตรทฤษฎีใหม่ (เน้นการจัดการที่ดินและน้ำให้เกิดผลผลิตพอเพียงในครัวเรือน) (สำนักวางแผนการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, สภาพัฒน์ฯ 2554) สำหรับนิยามของ “สวนยางยั่งยืน” นั้นยังไม่มีการกำหนดนิยามที่เป็นเอกภาพ แต่รูปแบบที่กล่าวถึงอย่างกว้างขวาง คือ การปรับเปลี่ยนจากสวนยางเชิงเดี่ยวให้เป็นป่ายางที่มีสมดุลนิเวศและเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ การจัดการให้มีต้นยางเพียง 40-44 ต้น/ไร่ จากรูปแบบเดิมที่มี 76-80 ต้น/ไร่ มีการทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง การลดใช้สารเคมี มีการปลูกพืชร่วมยาง เช่น ผัก ผลไม้ สมุนไพร ไผ่ ไม้ยืนต้น หรือมีการทำเกษตรผสมผสานอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงผึ้ง ทำฟาร์มเห็ด เป็นต้น (สุนทร รักษ์รงค์, 2563) นอกจากนี้มีการกำหนดนิยามเพื่อส่งเสริมการทำสวนยางยั่งยืนในรูปแบบต่างๆ เอาไว้ เช่น วนเกษตรยางพารา หรือ สวนยางพาราแบบวนเกษตร สวนยางแบบผสมผสาน
สมัชชาสวนยางยั่งยืน ได้ร่วมปรึกษาหารือและกำหนดนิยามสวนยางยั่งยืน เพื่อเป็นฐานในการปรึกษาหารือและขับเคลื่อนงานในอนาคต กล่าวคือ
สวนยางยั่งยืน (Sustainable Rubber Plantation) หมายถึง “นวัตกรรมการจัดการสวนยางเพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยาง ที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม” (มติจากการประชุมสมัชชาสวนยางยั่งยืน ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2565) ทั้งนี้ตัวชี้วัดสำคัญในการประเมินความสำเร็จของระบบสวนยางยั่งยืน ตามข้อเสนอของสมัชชาสวนยางยั่งยืน ให้พิจารณา 3 องค์ประกอบหลัก คือ คุณภาพชีวิต รายได้ และความสุข ของเกษตรกร
2.3 พัฒนาการสมัชชาสวนยางยั่งยืนประเทศไทย
3. สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและสนับสนุนสวนยางยั่งยืนในประเทศไทย
4. ยุทธศาสตร์สวนยางยั่งยืน 4.1 วิสัยทัศน์
“สวนยางพารายั่งยืน เป็นนวัตกรรมและกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญต่อเศรษฐกิจ สังคม การพัฒนาคุณภาพชีวิต และการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนของเกษตรกรผู้ทำสวนยางพาราในประเทศไทย”
สวนยางยั่งยืน (Sustainable Rubber Plantation) หมายถึง “นวัตกรรมการจัดการสวนยางเพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยาง    ที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม” (มติจากการประชุมสมัชชาสวนยางยั่งยืน ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2565) 4.2 เป้าหมายการพัฒนา ระยะ 5 ปี
1) ปรัชญาและแนวทางการทำสวนยางยั่งยืนที่เหมาะสมกับภูมินิเวศท้องถิ่น ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมและขยายผลในทุกภูมิภาคของประเทศ 2) องค์กรและสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืนมีความเข้มแข็ง สามารถดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ 3) เกิดการบูรณาการยุทธศาสตร์และแผนงานร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักในการส่งเสริมและสนับสนุนการทำสวนยางยั่งยืน
4) เกิดการปรับปรุงกฎระเบียบและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา การสนับสนุน และกลไกด้านการตลาดที่เกี่ยวข้องกับการทำสวนยางยั่งยืน
4.3 ประเด็นยุทธศาสตร์และแผนงาน ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาองค์ความรู้และจัดการเรียนรู้การทำสวนยางยั่งยืน (Collection, documentation and transferring of knowledge) เป้าประสงค์ 1)การจัดการองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำสวนยางยั่งยืนที่ครอบคลุมตั้งแต่แนวคิด รูปแบบที่สอดคล้องกับทุกภูมินิเวศ และตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกรและสนับสนุนความเป็นเอกภาพในการขับเคลื่อนงานสวนยางยั่งยืน
2)การถ่ายทอดความรู้ที่หลากหลายแก่กลุ่มเป้าหมายหลักที่ครอบคลุมทั้งกลุ่มเกษตรกรรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ กลุ่มผู้สนับสนุน และผู้กำหนดนโยบายในระดับต่างๆ และมีกลไกสนับสนุนให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปสู่การปฏิบัติจริง ตัวชี้วัด
-จำนวนและประเด็นองค์ความรู้ที่มีการรวบรวมหรือทำวิจัยมีความครอบคลุมทุกภูมินิเวศ -ความหลากหลายของคู่มือและหลักสูตรการฝึกอบรมที่จัดทำขึ้นสำหรับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม
-จำนวนและความหลากหลายของผู้ผ่านการอบรม และผลการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่หรือในหน่วยงานหรือองค์กร
แผนงาน 1)การรวบรวมและพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับสวนยางยั่งยืนในประเด็นที่สำคัญ ทั้งองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้ว และองค์ความรู้ที่จำเป็นต้องสร้างขึ้นใหม่ผ่านการวิจัย เช่น รูปแบบสวนยางที่มีความเหมาะสมกับแต่ละภูมินิเวศ พันธุ์ยาง ธนาคารน้ำใต้ดิน มิติทางเศรษฐศาสตร์จากสวนยางยั่งยืน ฯลฯ 2)การจัดทำคู่มือหรือแนวทางเกี่ยวกับการทำสวนยางยั่งยืน ที่ครอบคลุมประเด็นและรูปแบบต่างๆ ของการทำสวนยางยั่งยืน สำหรับใช้ในกระบวนการฝึกอบรมและเผยแพร่แก่เกษตรกรที่สนใจผ่านกลไกของสมัชชาหรือหน่วยงานหลักต่างๆ 3)การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมและจัดอบรมในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำสวนยางยั่งยืน สำหรับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ ประกอบด้วย เกษตรกร (สถาบันเกษตรกร) เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐ (รวมถึงเจ้าหน้าที่ กยท.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง โดยมีรูปแบบการฝึกอบรมที่หลากหลายขึ้นอยู่กับลักษณะของกลุ่มเป้าหมายและสถานการณ์ ผสมผสานทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากแต่มีคุณภาพ มีกลไกการติดตามหรือสนับสนุนผู้ผ่านการอบรมให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปสู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่หรือหน่วยงานของตนเอง
4)การพัฒนาหลักสูตรและจัดอบรมให้แก่เกษตรกรรุ่นใหม่ โดยคำนึงถึงกระบวนการและรูปแบบการถ่ายทอดความรู้ที่เหมาะสมกับคนรุ่นใหม่ เพื่อสร้างความเข้าใจ แรงบันดาลใจ และแนวทางในการต่อยอดและสืบทอดการทำสวนยางยั่งยืน รวมทั้งมีกลไกการติดตามหรือสนับสนุนผู้ผ่านการอบรมให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปสู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเสริมสร้างความเข้มแข็งองค์กรและสถาบันเพื่อขับเคลื่อนงานสวนยางยั่งยืน (Strengthening of organization and institution) เป้าประสงค์ 1)การตั้งสมาคมหรือมูลนิธิสวนยางยั่งยืนระดับชาติที่มีการกำหนดโครงสร้างการดำเนินงาน บทบาทหน้าที่ รวมทั้งกลไกการสื่อสาร การสนับสนุนและติดตามการดำเนินงานร่วมกันอย่างชัดเจน เพื่อความต่อเนื่องและความก้าวหน้าของการขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ 2)มีฐานข้อมูลและกลไกกองทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
ตัวชี้วัด -โครงสร้างและแนวทางขับเคลื่อนงานของสมัชชาในทุกระดับ -ฐานข้อมูลและกลไกกองทุน และการใช้ประโยชน์จากระบบฐานข้อมูลและกองทุน
แผนงาน 1)การพัฒนาสมัชชาหรือสมาคมสวนยางยั่งยืนระดับชาติ ที่มีความชัดเจนทั้งด้านโครงสร้าง บทบาทหน้าที่ และบุคลากรที่เป็นตัวแทนในทุกๆ ระดับ ทั้งนี้เน้นโครงสร้างการดำเนินงานและกลไกการตัดสินใจแบบแนวราบหรือแนวระนาบ
2)การจัดประชุมสมัชชาสวนยางยั่งยืน ทั้งการประชุมใหญ่ประจำปี การประชุมในระดับเขตหรือระดับพื้นที่ เพื่อทบทวนบทเรียนและความก้าวหน้าการดำเนินงาน รวมทั้งการวางแผนดำเนินงานร่วมกัน 3)การจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับสมาชิกสมัชชาฯ รวมทั้งชุดข้อมูลและชุดความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับสวนยางยั่งยืน (เช่น มีพื้นที่ต้นแบบ มีศูนย์เรียนรู้ มีปราชญ์ชุมชนอยู่ที่ไหนบ้าง มีงานวิจัยอะไรบ้าง เป็นต้น) ที่เป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนงานในทุกๆ ระดับ
4)การจัดทำกองทุนสวนยางยั่งยืน/สวนยางสีเขียว ที่ประกอบด้วยองค์กรและบุคลากรเพื่อการบริหารจัดการกองทุนที่ชัดเจนและเป็นกลไกการบริหารจัดการกองทุนที่มีความยั่งยืน เช่น ในรูปแบบของมูลนิธิ หรือองค์กรทางธุรกิจในลักษณะวิสาหกิจเพื่อสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Enhance communication, sharing and learning of stakeholders) เป้าประสงค์ 1)สร้างความตระหนักให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักและคนในสังคมถึงความสำคัญของสวนยางยั่งยืน  และมีความเข้าใจการดำเนินงานของสมัชชาสวนยางยั่งยืน 2)มีเวทีและช่องทางการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การเรียนรู้และถอดบทเรียนร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งในด้านการส่งเสริมสนับสนุนการทำสวนยางยั่งยืนและด้านการตลาด


ตัวชี้วัด -ความเข้าใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักและคนในสังคมเกี่ยวกับผลประโยชน์ของสวนยางยั่งยืนทั้งใน ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความเข้าใจแนวคิดและแนวทางการขับเคลื่อนงานของสมัชชาสวนยางยั่งยืน -จำนวนและความหลากหลายของหน่วยงานที่เข้ามาร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และร่วมสนับสนุนการดำเนินงานของสมัชชาสวนยางยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น -เกษตรกรและกลุ่มวิสาหกิจที่เกี่ยวกับสวนยางยั่งยืนที่สามารถเข้าถึงตลาดและกลุ่มผู้ซื้อที่สนับสนุนผลิตภัณฑ์จากระบบสวนยางยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น แผนงาน 1)การจัดทำสื่อและการเผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อการสื่อสารข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เกษตรกร ผู้กำหนดนโยบาย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง แหล่งทุน รวมทั้งคนรุ่นใหม่และสาธารณะชนหรือผู้สนใจทั่วไป ให้เห็นความสำคัญของการทำสวนยางยั่งยืน และเข้าใจแนวคิดและการดำเนินงานของสมัชชาสวนยางยั่งยืน
2)การจัดทำแอปพลิเคชั่นเชิงธุรกิจหรือแพลตฟอร์มสวนยางยั่งยืน เพื่อเป็นแพลตฟอร์มกลางทางการตลาด (marketing platform) ที่เชื่อมโยงระหว่างเกษตรกร/ผู้ผลิต กับผู้ซื้อและภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
3)การจัดทำเวทีวิชาการด้านสวนยางยั่งยืน ทั้งในระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ เพื่อเป็นเวทีกลางที่สร้างการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ การถอดบทเรียนและองค์ความรู้ ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทุกๆ ระดับ รวมทั้งกับแลกเปลี่ยนประเด็นด้านการตลาดกับกลุ่มผู้ซื้อ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างพื้นที่ต้นแบบหรือพื้นที่รูปธรรมเกี่ยวกับสวนยางยั่งยืน (Developing best practice model or innovative model)
เป้าประสงค์ 1)สร้างพื้นที่ต้นแบบและศูนย์เรียนรู้ด้านสวนยางยั่งยืนให้ครอบคลุมทุกภูมินิเวศและลักษณะพื้นที่ (ให้เกิดชุมชนสวนยางยั่งยืน) 2)มีการถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ และแนวทางการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ในสวนยาง ที่พัฒนาขึ้นโดยหน่วยงานต่างๆ ลงสู่ระดับพื้นที่ 3)เกิดแนวทางความร่วมมือระดับพื้นที่เพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนสวนยางยั่งยืน
ตัวชี้วัด -รูปแบบและผลการดำเนินการพื้นที่ต้นแบบและศูนย์เรียนรู้ในแต่ละภูมินิเวศ และรูปแบบของพื้นที่ต้นแบบที่ดำเนินการโดยคนรุ่นใหม่ -จำนวนพื้นที่และจำนวนครัวเรือนที่ได้รับการถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยี และผลจากการนำนวัตกรรมไปดำเนินการในพื้นที่ของเกษตรกร
-จำนวนแผนแม่บทและความหลากหลายของภาคีความร่วมมือที่เข้าร่วมในกระบวนการ -เอกสารสรุปบทเรียนกระบวนการสร้างพื้นที่ต้นแบบ ศูนย์เรียนรู้ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการจัดทำแผนแม่บท เพื่อเป็นข้อมูลสู่การขยายผลหรือจัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายต่อไป แผนงาน -การสร้างพื้นที่ต้นแบบและศูนย์การเรียนรู้ด้านสวนยางยั่งยืน ในระดับเขตพื้นที่หรือระดับจังหวัด ให้มีความครอบคลุมทุกภูมินิเวศและทุกลักษณะของพื้นที่ (รวมพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ พื้นที่ในเขตป่าไม้ เช่น คทช.) ทั้งแปลงต้นแบบที่กยท.สนับสนุน รวมทั้งมีพื้นที่ต้นแบบที่ดำเนินการโดยเกษตรกรรุ่นใหม่ และเชื่อมโยงเรื่องคาร์บอนเครดิต
-การถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีลงสู่ระดับพื้นที่ ทั้งนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสวน รวมไปถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากระบบสวนยางยั่งยืน เช่น นวัตกรรมและเทคโยโลยีที่พัฒนาโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสถาบันวิชาการต่างๆ ในระดับภูมิภาคหรือระดับประเทศ -การจัดทำแผนแม่บทการขับเคลื่อนสวนยางยั่งยืน ในระดับเขตพื้นที่หรือระดับจังหวัด เพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานและภาคีความร่วมมือในระดับพื้นที่พัฒนาเป้าหมายและแนวทางร่วมกันในการขับเคลื่อนงานสวนยางยั่งยืนในระยะยาว และใช้เป็นเครื่องมือในการบูรณาการความร่วมมือและการสนับสนุนจากหน่วยงานหลักให้มีความต่อเนื่อง


ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเพิ่มประสิทธิภาพกลไกสนับสนุนการทำสวนยางยั่งยืน (Increase efficiency of supporting mechanisms) เป้าประสงค์ 1)เกิดกลไกระดับชาติที่มีความเข้มแข็งเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานด้านสวนยางยั่งยืน 2)มีกลไกการรับรองมาตรฐานสวนยางยั่งยืนที่เหมาะสมกับเกษตรกรรายย่อยในประเทศไทย ตัวชี้วัด -กลไกของภาครัฐที่มีการพัฒนาหรือปรับปรุงเพื่อการส่งเสริมสนับสนุนงานสวนยางยั่งยืนในระยะยาว -ยุทธศาสตร์และแผนงานที่มีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก -สัดส่วนของเกษตรกรรายย่อยที่เข้าถึงและได้รับการรับรองมาตรฐานเพิ่มมากขึ้น แผนงาน 1)การผลักดันกลไกระดับชาติของภาครัฐ ประกอบด้วย ให้มีตัวแทนสมัชชาสวนยางยั่งยืนอยู่ในกลไกของคณะกรรมการระดับประเทศ (เช่น คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.)) หรือมีคณะอนุกรรมการด้านสวนยางยั่งยืนที่ประกอบด้วยตัวแทนจากทุกภาคส่วน รวมทั้งการผลักดันประเด็นสวนยางยั่งยืนเป็นวาระแห่งชาติหรืออยู่ในยุทธศาสตร์ระดับชาติ
2)การบูรณาการยุทธศาสตร์และแผนงานร่วมกับหน่วยงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการสร้างพื้นที่รูปธรรม การวิจัย หรือการพัฒนานวัตกรรม ที่ต้องมีการกำหนดเป้าหมายร่วมและกระบวนการสนับสนุนในระยะยาว หน่วยงานที่สำคัญ เช่น กยท. สปก. รวมทั้งหน่วยงานด้านทรัพยากรน้ำ 3)การผลักดันให้เกิดการปรับปรุงกฎระเบียบหรือนโยบายที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กฎระเบียบและแนวทางการสนับสนุนจากการยางแห่งประเทศไทย นโยบายที่เกี่ยวข้องของกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมทรัพยากรน้ำ และกระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น
4)การพัฒนาและส่งเสริมกลไกรับรองมาตรฐานสำหรับการทำสวนยางยั่งยืน โดยอิงมาตรฐานทั้งที่มีอยู่แล้วภายในประเทศ และมาตรฐานสากล