อบรมเชิงปฎิบัติการผู้ตรวจและประเมินมูลค่าและคุณค่าต้นไม้ (ถ่ายทอดสดคาร์บอนเครดิต)

อบรมเชิงปฎิบัติการผู้ตรวจและประเมินมูลค่าและคุณค่าต้นไม้ (ถ่ายทอดสดคาร์บอนเครดิต)

18 พฤษภาคม 2566
silaporn_0707silaporn_0707
รายงานจากพื้นที่
Project owner
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

อบรมเชิงปฎิบัติการ ผู้ตรวจและประเมินมูลละค่าต้นไม้เพื่อใช้เป็นหลักประกันและขายคาร์บอนเครดิต 8.00-9.00 ลงทะเบียนและกล่าวต้อนรับโดยสมาพันธ์เกษตรกรรมยังยืนชุมพร 9.00-9.30 น พิธีเปิดโดย ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร 9.30-10.00น การจัดทำใบสมัครสมาชิกธนาคารต้นไม้โดยธนาคารต้นไม้ 10.00-1100น การบันทึกข้อมูลต้นไม้การตรวจประเมินมูลลค่าต้นไม้และการคำนวณปริมาณคาร์บอนเครดิตในระบบOAN โดยผอ.เอกพงศ์มุสิกะเจริญสำนักปลัดกระทรวง อว. 11.15-12.15น การแบ่งกลุ่มไม้ยืนต้นเพื่อใช้ประเมินการดูดซับกักเก็บคาร์บอนโดย ดร.เฉลิมชัยสมมุ่งออดิทเตอร์ธนาคารดอยแบงค์
13.00-14.30 น การขึ้นทะเบียนต้นไม้เพื่อเข้าโครงการรับรองค่าคาร์บอนเครดิตโดย ดร.เฉลิมชัยสมมุ่ง
14.45-17.00น ลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติการประเมินมูลลค่าการดูดซับกักเก็บคาร์บอนเพื่อขายคาร์บอนเครดิตโดย ดร.เฉลิมชัย สมมุ่ง

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มียอดคนชมจำนวน กดไล้ กดแชร์ โครงการอบรมผู้ตรวจประเมินมูลค่าและคุณค่าต้นไม้เพื่อใช้เป็นหลักประกันและขายคาร์บอนเครดิต วันที่ 18-19 พฤษภาคม 2566 ณ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร ​เป้าหมายของโครงการคือ การส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรที่ปลูกต้นไม้ สร้างมูลค่าเพิ่มในช่วงที่ต้นไม้กำลังเจริญเติบโต และขายคาร์บอนเครดิต โดยการเรียนรู้การตรวจประเมินต้นไม้เพื่อขายคาร์บอนเครดิตและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ได้ดำเนินการตามโครงการธนาคารต้นไม้ 6,813 ชุมชนทั่วประเทศ ต่อมารัฐบาลได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจให้สามารถใช้ต้นไม้เป็นหลักประกันหนี้เงินกู้กับสถาบันการเงิน และส่งเสริมการขายคาร์บอนเครดิตเพื่อให้เกษตรกรสร้างมูลค่าเพิ่มจากการปลูกต้นไม้ ซึ่งได้ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร สมาคมเครือข่ายรักษ์ละแม ธนาคารเพื่อการเกษตร และ ออดิเตอร์ ธนาคารดอยซ์แบงก์ ​การสมัครสมาชิกในการตรวจประเมินเพื่อใช้ต้นไม้เป็นหลักประกันของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ จำเป็นต้องสมัครสมาชิกธนาคารต้นไม้เพื่อเข้าระบบของธนาคารก่อน หลังจากนั้นจะมีการตรวจประเมินเพื่อเป็นผู้ตรวจประเมินมูลค่าต้นไม้ และต้องผ่านการอบรมและมีใบประกาศนียบัตรจากธกส. จึงงจะเป็นผู้ตรวประเมินต้นไม้ได้ ซึ่งวันนี้ทุกท่าจะได้รหัสจากกระทรวง อว. ซึ่งจะต่างกันกับระบบของธนาคารธกส. กรณีในพื้นที่ไม่มีธนาคารต้นไม้ ต้องรวบรวมสมาชิกอย่างน้อย 9 คน สมัครเพื่อตั้งเป็นธนาคารต้นไม้ ที่ ธนาคาร ธกส. หากในพื้นที่มีการตั้งธนาคารต้นไม้แล้วก็สามารถดำเนินการขั้นต่อไปได้เลย ​การบันทึกข้อมูล ตรวจประเมินมูลค่าต้นไม้และคำนวณปริมาณคาร์บอนเครดิตในระบบ OAN ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศเครือข่ายเกษตรอินทรีย์พัฒนาขึ้นเพื่อให้เกษตรกรได้มีเครื่องมือในการจัดการข้อมูลระดับแปลงของตัวเองโดยมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อได้แก่ 1.เพื่อให้เกษตรกรมีฐานข้อมูลเป็นของตนเองและสามารถลงบันทึกฟาร์มออนไลน์ ต้นทุนฟาร์มออนไลน์ และแผนการผลิต 2.เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังแปลงที่ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม 3.เพื่อเป็นตัวกลางในการทำตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ล่วงหน้า ในการขึ้นทะเบียนผู้ตรวจต้นไม้ในระบบต้องเข้าสมัครในระบบ OAN(โดยแอดมินเครือข่ายเกษตรอินทรีย์จังหวัด) และทำการขึ้นทะเบียน การบันทึกข้อมูลต้นไม้เข้าสู่ระบบ TUB: 1.เจ้าของแปลงลงข้อมูลผ่านระบบ Farm Management 2.ผู้ตรวจแปลงต้นไม้ลงข้อมูลผ่านระบบ OAN (ผู้ตรวจต้องมีรหัสระบบ OAN) ซึ่งเกษตรกรเจ้าของแปลงจะเป็นผู้กรอกข้อมูลต้นไม้เอง ​ การแบ่งกลุ่มไม้ยืนต้นเพื่อใช้เป็นประเมินการดูดซับกักเก็บคาร์บอน โดยจะแบ่งเป็น 8 ประเภท(กลุ่ม) 1.คัดแยกชนิดไม้ ตามมูลค่าของไม้ในทางการทำไม้ปัจจุบันและสามารถส่งออกได้สะดวก เป็นที่ยอมรับของงทั่วโลก 2.คัดแยกตามชนิดไม้ ที่มีมูลค่าค่อนข้าวสูง: กฤษณา กระถิ่นเทพา มะฮอกกานี ตะเคียน ไม้ป่าชายเลนเช่นโกงกาง 3.คัดแยกตามชนิดไม้ ที่มีมูลค่าปานกลาง: ไม้มะหาด ไม้ตะเคียนทอง ไม้แดง ไม้ประดู่บ้าน ไม้ยมหอม เป็นต้น 4.การคัดยแกตามชนิดไม้ ที่มีมูลค่าน้อยในทางการค้าเป็นเนื้อไม้: ไม้ผลัดใบ้ ไม้ยางทุกชนิดรวมถึงยางนา ไม้สัก ฯลฯ 5.การแยกตามชนิดไม้ ที่จัดอยู่ในประเภทไม้ประดับจัดสวน ตกแต่งสถานที่ ปรับภูมิทัศน์ ฯลฯ 6.คัดแยกไม้ที่ใช้เป็นพลังงานทดแทน พลังงานไฟฟ้า หรือใช้ในอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ 7.ไม้อื่นๆที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ 8.ไม้ไผ่ทุกชนิด ​การใช้ไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันกับ ธกส. การใช้ไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันหนี้เงินกู้ ตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ: สร้างโอกาสให้เกษตรกร และรักษาต้นไม้ไว้ให้ลูกหลาน ​หลักการของการใช้ไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันทางธุรกิจ: เพราะเราเชื่อว่า “ต้นไม้ไม่ได้มีค่าเฉพาะต้นที่ตายแล้วเท่านั้น” ในขณะที่ ต้นไม้ยังมีชีวิตอยู่ ต้นไม้ก็มีมูลค่า มีราคา ประโยชน์ของการใช้ไม้เป็นหลักประกัน: นำมูลค่าของต้นไม้มาแปลงเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้, เกษตรกรมีเงินทุนในการประกอบอาชีพ, มีเงินใช้ในยามจำเป็นเดือนร้อน, เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และช่วยรักษาชีวิตต้นไม้ไว้ได้ ซึ่งธกส.ได้ขับเคลื่อนการใช้ไม้ยืนต้นเป็นหลักประกัน ผ่านโครงการธนาคารต้นไม้ และใช้รายชื่อต้นไม้ และมูลค่าต้นไม้ตามรายชื่อต้นไม้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (BEDO) และศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ ได้ศึกษาไว้ภายใต้โครงการส่งเสริมปลูกต้นไม้เพื่อเป็นทุนระยะยาว ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จเป็นรูปเล่มเมื่อเดือนกันยายน 2552 ​หลักเกณฑ์ในการใช้ไม้ยืนต้นเป็นหลักประกัน: ไม้ยืนต้นต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกค้าผู้กู้ หรือคู่สมรส และปลูกอยู่ในที่ดินแปลงกรรมสิทธิ์ของงลูกค้าผู้กู้หรือคู่สมรส, ที่ดินแปลงกรรมสิทธิ์ของลูกค้าผู้กู้ต้องจดทะเบียนจำนองได้ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมายเหตุ ตามพ.ร.บ. หลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ.2558 ​คุณสมบัติของลูกค้าและหลักประกัน: ลูกค้าจะใช้ไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันหนี้เงินกู้ ต้องเป็นเกษตรกรตามข้อบังคับ ฉบับที่ 44 หรือบุคคล และผู้ประกอบการ, ไม้ยืนต้นที่จะใช้เป็นหลักประกันเงินกู้ ต้องเป็นไม้ที่มีชื่อพรรณไม้กำหนดในเกณฑ์มาตราฐานการประกันมูลค่าต้นไม้ตามราคากลางต้นไม้, ลูกค้าผู้กู้หรือคู่สมรสต้องเป็นเจ้าของไม้ยืนต้น และปลูกอยู่ในที่ดินแปลงกรรมสิทธิ์ของงตนเอง, คุณสมบัติของแปลงที่ใช้ไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกค้าผู้กู้ หรือคู่สมรส และมีเอกสารสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน สามารถจดทะเบียนจำนองเป้นประกันหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, การประเมินมูลค่าหลักประกัน; การประมูลค่าที่ดิน, การประเมินมูลค่าไม้ยืนต้น ประเภทไม้ยืนต้น; ไม้ยืนต้นที่ใช้เป็นหลักประกัน โดยจำแนกต้นไม้ออกเป็น 4 กลุ่ม 1.ต้นไม้ที่มีอัตราการเจริญเติบโตเร็วถึงปานกลาง มูลค่าของเนื้อไม้ต่ำ 2.ต้นไม้ที่มีอัตราการเจริญเติบโตปานกลาง มูลค่าเนื้อไม้ค่อนข้างสูง 3.ต้นไม้ที่มีอัตราการเจริญเติบโตปานกลาง รอบฟันยาว มูลค่าต้นไม้ค่อนข้างสูง ​ ขั้นตอนการประเมินมูลค่าต้นไม้เพื่อใช้เป็นหลักประกัน 1. พิจารณาเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น เอกสารแสดงตน เอกสารสิทธิ์ที่ดิน 2. ไปพบกับต้นไม้ที่จะประเมินราคา (ประเมินเป็นรายต้นทุกต้นที่นำมาเป็นหลักปรพกัน) 3. ทำความรู้จักต้นไม้ว่าชื่อต้นอะไร ชื่อเล่นว่าอะไร ชื่อจริงว่าอะไร และเป็นไม้กลุ่มไหน 4. โอบกอดต้นไม้ เพื่อวัดความโตของต้นไม้ โดยวัดเส้นรอบวง 5. เปิดราคากลางต้นไม้ตามกล่มไม้ โดยดูจากเส้นรอบวงของต้นไม้ 6. จดบันทึกชื่อต้นไม้ ความโต(เส้นรอบวง) มูลค่าต้นไม้ เสนอกรรมการธนาคารต้นไม้รับรอง 7. พนักงาน ธกส. สุ่มตรวจสอบ เสนอผู้จัดการสาขาอนุมัติหลักประกัน 8. จดทะเบียนหลักประกันกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (Online) ​คาร์บอนเครดิต คือ ศักยภาพในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศของโลกและนำมาคำนวณเป็นค่าเครดิตให้สามารถซื้อ-ขายได้เหมือเป็นสินค้าประเภทหนึ่งและต้นไม้ที่จัดเป็น 5 อันดับของโลกที่ได้คาร์บอนเครดิตมากที่สุด คือ กฤษณา กระถินเทพา ตะเคียนทอง มะฮอกกานี ไม้ป่าชายเลน เช่น โกงกาง ซึ่งจะต้องมีการวัดความโตของต้นไม้ในระดับความสูงของต้นไม้ที่ 130 แล้ววัดเส้นรอบวงโดยคิดหน่วยเป็นเซนติเมตรแต่หากคิดปริมาณของคาร์บอนเครดิตจะมีปริมาตรเป็นกิโลตัน ไม้ปริมาตร 1 ลูกบาศก์เมตรจะดูดซับเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 300 กิโลตัน ในปัจจุบันบริษัทที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะเป็นผู้จ่ายเงินค่าคาร์บอนเครดิตโดยจ่ายปีละ 1 ครั้ง สูตรคำนวณก๊าซคาร์บอนเครดิตดังนี้ - คำนวนปริมาตรต้นไม้: โต x โต x สูง x 7.96 / 1,000,000 - คำนวณปริมาณคาร์บอนเครดิต: ปริมาตรต้นไม้ x 300 กิโลตัน - คำนวณค่าคาร์บอนเครดิตพื้นฐาน: ปริมาณคาร์บอนเครดิต x 400 ÷10

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย

-ผู้แทนองค์กรและสถาบันเกษตรกรจาก 3จังหวัด ชุมพร-ระนอง-สุราษฎร์ธานี สมาพันธ์เกษตรกรรมยังยืนชุมพร ผู้รับรองดอยแบงค์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้จังหวัดชุมพร ธกส.สาขาชุมพร เกษตรกรผู้ปลูกต้นไม้

รายงานการใช้เงิน
ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆรวมรายจ่ายสถานะ
0.00 0.00 2,500.00 0.00 0.00 0.00 2,500.00 lock_open