งานสื่อสารสาธารณะ ความมั่นคงทางอาหาร

ประชุมเชิงปฎิบัติการการจัดทำแผนความร่วมมือการส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน สวนยางยั่งยืนภาคใต้ (ถ่ายทอดสด)5 เมษายน 2566
5
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย silaporn_0707
circle
วัตถุประสงค์

-

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันอังคารที่ 5 เมษายน 2566 08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม ชมวิดีทัศน์ 09.00 – 09.10 น. กล่าวต้อนรับ โดย ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดพัทลุง 09.10 – 09.30 น.​ การขับเคลื่อนงานเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ สู่การสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดย ​นายทวีวัตร เครือสาย 09.30 – 10.00 น. กล่าวเปิดงานและบรรยาย เรื่อง นโยบายและแผนงานความร่วมมือส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน : สวนยางยั่งยืน โดย​ผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน 10.00 – 10.30 น. บรรยาย เรื่อง นโยบายและแผนงานความร่วมมือส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน : วนเกษตร โดย​เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือผู้แทน 10.30 – 12.30 น. นำเสนอบทเรียนการดำเนินงานส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน และรูปแบบการจัดการแปลง • การส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน (สวนยางยั่งยืน) ผ่านกลไกสถาบันเกษตรกร โดย - ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดพัทลุง - นายอรุณ ศรีสุวรรณ ป่าร่วมยางอำเภอเขาชัยสน พัทลุง • การส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน (สวนยางยั่งยืน) ผ่านกลไกศูนย์เรียนรู้สวนยางยั่งยืน โดย - นายเรืองวิทย์ ทัศการ ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดระนอง - นายพูนธวัช เล่าประวัติชัย ศูนย์เรียนรู้สวนยางยั่งยืนจังหวัดระนอง • การส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน (สวนยางยั่งยืน) ผ่านแปลงต้นแบบวนเกษตร - ผู้อำนวยการสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดพัทลุง - นายสหจร ชุมคช โรงเรียนใต้โคนยาง สาขาที่ 1 และนางสาวหนึ่งฤทัย พันกุ่ม ดำเนินเวที โดย ดร.อนิรุต หนูปลอด มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร 12.30 – 13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.30 – 14.00 น. บทเรียนจากเวทีเสวนาและข้อคิดเห็นจากการติดตามประเมินผลเกษตรกรรมยั่งยืน โดย ​ผศ.ดร.ว่าที่ ร.ต.ชุมพล อังคนานนท์
14.00 – 16.00 น. แบ่งกลุ่มย่อยเพื่อจัดแผนความร่วมมือส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน :วนเกษตร,สวนยางยั่งยืน • กลุ่มที่ 1 เขตภาคใต้ตอนบน (ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี ประจวบคีรีขันธ์) - กยท.เขตภาคใต้ตอนบน และจังหวัดตอนบน - มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร : ผศ.ดร.ว่าที่ ร.ต.ชุมพล อังคณานนท์ - เกษตรกรที่เข้าร่วมการปลูกยางแบบ ก3 และเครือข่ายสวนยางยั่งยืนภาคใต้ - ผู้บริหาร หรือผู้แทนสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเขตภาคใต้ตอนบน ดำเนินกระบวนการกลุ่ม โดย นส.หนึ่งฤทัย พันกุ่ม สมาคมประชาสังคมชุมพร
• กลุ่มที่ 2 เขตภาคใต้ตอนกลาง (นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ภูเก็ต ตรัง พัทลุง) - กยท.เขตภาคใต้ตอนกลาง และจังหวัดตอนกลาง - หน่วยจัดการพื้นที่สุขภาวะจังหวัดพัทลุง : นายเสณี จ่าวิสูตร - เกษตรกรที่เข้าร่วมการปลูกยางแบบ ก3 และเครือข่ายสวนยางยั่งยืนภาคใต้ - ผู้บริหาร หรือผู้แทนสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเขตภาคใต้ตอนกลาง ดำเนินกระบวนการกลุ่ม โดย ดร.เพ็ญ สุขมาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
• กลุ่มที่ 3 เขตภาคใต้ตอนล่าง (สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) - กยท.เขตภาคใต้ตอนล่าง และจังหวัดตอนล่าง - ม.นราธิวาสราชนครินทร์ : ผศ.ดร.วุฒิชัย ศรีช่วย - เกษตรกรที่เข้าร่วมการปลูกยางแบบ ก3 และเครือข่ายสวนยางยั่งยืนภาคใต้ - ผู้บริหาร หรือผู้แทนสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเขตภาคใต้ตอนล่าง ดำเนินกระบวนการกลุ่ม โดย นางสาววรรณา สุวรรณชาตรี 16.00 – 16.30 น. สรุปผลการประชุม และปรึกษาหารือ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

_ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำแผนความร่วมมือการส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน : วนเกษตร สวนยางยั่งยืน พื้นที่ภาคใต้ วันพุธที่ 5 เมษายน 2566 ข้อมูลเบื้องต้นของจังหวัดพัทลุง มีพื้นที่ปลูกยางประมาณ 800,000 ไร่ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับการยางจังหวัดพัทลุง ประเภทเจ้าของสวนยางประมาณ 80,000 ราย เป็นผู้กรีดยางประมาณ 11,853 ราย บริบทสวนยางในจังหวัดพัทลุงสวนใหญ่เป็นสวนยางผสมผสานอยู่เดิมแล้ว อยู่ที่การบริหารจัดการอย่างไรในการนำสวนยางที่ทำผสมผสานเดิมอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งในพัทลุงมีการปลูกพืชสมุนไพรในสวนยางเป็นพืชอาหาร ผมคิดว่านโยบายของ สสส. สนับสนุนงานของ กยท. ได้ในระดับหนึ่ง เพราะฉะนั้นชาว กยท. ยินดีที่จะร่วมมือในการหาอาชีพเสริมให้กับพี่น้องชาวสวนยาง ​ในวันนี้ประสบการณ์ของพวกเรา คิดว่าจะได้นำมาต่อยอดให้เกิดความชัดเจนและมองเห็นภาพมากยิ่งขึ้น ท้ายที่สุด ในนามของการยางแห่งประเทศไทย จังหวัดพัทลุง ขอต้นรับผู้มีเกรียติทุกท่าน ทั้งที่อยู่ในห้องประชุมแห่งนี้และที่รับฟังทางซูม ขอต้อนรับด้วยความยินดี
คุณทวีวัตร เครือสาย: สรุปภาพรวมในการขับเคลื่อนร่มกัน เพื่อที่จะได้เห็นภาพร่วมกันและนำไปสู่กระบวนการอภิปรายในช่วงต่อไป ในส่วนของฝ่ายประชาสังคมวิเคราะและสถาบันนโยบายสาธารณะร่วมกับกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ ได้เล็งเห็นเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 62 ที่ทำเรื่อง ระบบเกษตรและอาหารสุขภาพ ซึ่งมีกรอบการขับเคลื่อนอยู่ 6 เรื่องสำคัญ 1. เกษตรสุขภาพ 2. ฟื้นฟูระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม 3. พันธุกรรมท้องถิ่น-พืชอัตตลักษณ์ 4. สุขภาวะชาวประมง 5. สุขภาวะชาวสาวยาง-ปาล์มน้ำมัน 6. จัดการตลาด (ผู้ผลิต-ผู้บริโภค) มีหลักคิดสำคัญ 3 เรื่อง 1. หลักประกันในชีวิตรวมถึงเรื่องรายได้ 2. อธิปไตยทางอาหารหรือความมั่นคงทางอาหาร พอเพียง เข้าถึง ได้ประโยชน์และมีศักยภาพ 3. จัดความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค โดยเฉพาะเรื่องการประกอบการ ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นหัวใจหลัก ในภาคใต้โดยเฉพาะปัจจัยความไม่มั่นคงของคุณภาพชีวิตคนภาคใต้ 8 เรื่องสำคัญ 1. ปัจจัยการผลิต 2.เรื่องทรัพยากรที่เสื่อมโทรม 3. ขาดแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานภาคเกษตร 4. การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ 5. การผลิตและการตลาด 6. นโยบายของรัฐ 7. การค้าเสรี 8. การเข้าถึงอาหารปลอดภัย ภาคใต้มีพื้นที่ทำการเกษตร 44.2 ล้านไร่ ทำการเกษตร 21.7 ล้านไร่ ทำสวนยางพารา 14 ล้านไร่ โยค่าเฉลี่ยของเกษตรชาวสวนยางอยู่ที่ 11.2 ไร่ต่อครัวเรือน(ภาพรวมของประเทศ) จากเรื่องนี้สู่เวทีสร้างสุขภาคใต้ ปี 2564 เวทีสมัชชาสวนยางยั่งยืน ข้อเสนอเหล่านี้ได้ส่งไปหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานหลักคือ การยางแห่งประเทศไทย และสำนักงานปฏิรูปที่ดิน และสำนักงานปฏิรูปที่ดินได้นำแผนนี้ไปกำหนดเป็นแผนปฏิบัติราชการ, คู่มือในการส่งเสริมเรืองเกษตรผสมผสาน ทางสสส.และทางมอ. ได้ขับเคลื่อนงานภาคใต้แห่งความสุขผ่านเวทีสร้างสุขภาคใต้ 4 ความมั่นคง 1. ความมั่นคงทางอาหาร 2. ความมั่นคงของมนุษย์ 3. ความมั่นคงทางสุขภาพ 4. ความมั่นคงด้านทรัพยากร โดยเฉพาะประเด็นความมั่นคงทางอาหาร นอกจาก 7 เรื่องงหลักที่นำเรียนไปเมื่อสักครู่นี้ มี 3 เรื่องสำคัญที่จะเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อน 1. ขับเคลื่อนประเด็นสวนยางยั่งยืนตามมติ กทย./สปก. 2. ขับเคลื่อนและขยายผลรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืนในภาคใต้ 3. ขับเคลื่อนให้เกิดชุมชนสีเขียวตามมติสมัชชาเชิงประเด็น และ 3 ประเด็นหลักนี้จะสอดคล้องกับ พรบ.อาหารแห่งชาติปี 2555, พรบ.พันธุ์พืช 18, คณะกรรมการเกษตรกรรมยั่งยืนระดับชาติ, แผนพัฒนาฯฉบับที่13 แผนปฏิบัติราชการของ สปก. ร่วมถึงแผนกยท.ที่จากปี2564 ปรับวิธีการส่งเสริมเกษตรกร เช่น พืชร่วมยางปี 2555 เปลี่ยนเป็นขับเคลื่อน กยท.แบบ3 จากเกษตรผสมผสานเป็นสวนยางยั่งยืน, BCG, แปลงต้นแบบศูนย์เรียนรู้ เป็นต้น และสปก.มีการคัดเลือกแปลงต้นแบบวนเกษตร ซึ่งในภาพรวมทั้งหมด 3 ส่วน เครือข่ายภาคประชาสังคมและภาควิชาการร่วมกันขับเคลื่อนของกยท.และสปก. มีศูนย์เรียนรู้และแปลงต้นแบบ 170 ราย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเตรียมจัดส่งให้ทุกจังหวัด เพื่อเป็นฐานข้อมูลให้แต่ละจังหวัดรู้ว่ามีคนที่ทำเรื่องนี้อยู่ที่ไหนบ้าง ​จากที่จัดวงประชุมพูดคุย คิดว่าทางออกของเกษตรกรรายย่อยคือ เรื่องเกษตรกรรมยั่งยืน บทเรียนพบว่าถ้าเราจะทำเรื่องนี้ให้ขยายผลมากขึ้นและตอบตัวชี้วัดของกทย. ณ วันนี้ก็ยังไม่ได้บรรลุเป้าหมาย เพราะว่าคนใต้ยังอยู่ในวิถีการผลิตแบบเดิม(เกษตรเชิงเดี่ยว) การจะปรับเปลี่ยนให้เป็นสวนสมรม สวนพ่อเฒ่า สวนดูทรง ฯลฯ ต้องใช้เวลา มีปัจจัยเงื่อนไขสำคัญ 3 รูปแบบที่จะใช้ในการขับเคลื่อน โดยเฉพาะการไปลดช่องว่างของบุคคลากรเจ้าหน้าที่สปก.และกยท. บทเรียนของพัทลุง นครศรีฯ ระนอง น่าจะเป็นส่วนสำคัญ กลยุทธ์จุดเน้นการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน: 1.กยท.และสปก.ทำงานร่วมกับสถาบันเกษตรกร(กลไกสำคัญในการขยายผล), การกระตุ้น-ติดตาม, การสร้างแรงบันดาลใจ, แรงจูงใจที่ทำให้เกษตรกรหันกลับมาทำเรื่องนี้ โดยเฉพาะการตอบโจทย์เรื่องความมั่นคงทางอาหารและอาชีพ 2. การงานกับศูนย์การเรียนรู้หรือแปลงต้นแบบ เช่น โรงเรียนใต้โคลนยาง(พัทลุง), ศูนย์เรียนรู้สวนยางยั่งยืน(พี่เล็ก)(ระนอง)ฯลฯ เชื่อว่าจะเป็นจุดที่สร้างแรงบันดาลใจหรือแรงจูงใจให้กับเกษตรกรทั่วไปได้ 3. เกษตรกรรุ่นใหม่ โดยค่าเฉลี่ยแรงงานเกษตรอยู่ที่อายุวัย 57 ปีขึ้นไป การจะไปเปลี่ยนแปลงคนกลุ่มวัยนี้อาจจะค่อนข้างงยาก ฉะนั้นการไปเปลี่ยนแปลงกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่น่าจะเป็นทางเลือกที่สำคัญ และหัวใจสำคัญคือทำอย่างไรให้เขาได้เรียนรู้ถึงการประกอบการที่ครอบคลุมไปถึงการผลิต แปรรูป(มาตรฐาน) และการตลาด ซึ่งเป็นหนึ่งแรงจูงใจหนึ่งที่จะทำให้คนหันกลับมาทำในเรื่องของเกษตรกรรมยั่งยืนได้ ​โจทย์ของวันนี้คือ ชวนทั้ง 3 ภาคส่วน ท่านมีความร่วมมืออย่างไรในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ ซึ่งเรื่องนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งใน SDG ตัวที่ 17 คือ หุ้นส่วนการพัฒนาที่ยั่งยืน ​ผอ.ชำนาญ ธนะภพ: สำหรับในส่วนของแนวนโยบายของการยางแห่งประเทศไทย ซึ่งทุกท่านน่าจะทราบกันดีคือ EU จะออกกฎหมายว่าด้วยสวนยางที่ปลอดการตัดไม้ทำลายป่า คาดว่าจะมีการบังคับใช้กลางปีนี้ ในเรื่องนี้ทางการยางแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการที่จะป้องกันปัญหาในเรื่องของสินค้าและผลิตภัณฑ์ยางพาราที่ส่งออกให้กับกลุ่มEU ประเด็นสำคัญคือ กฎหมายฉบับดังกล่าวมีสินค้าจำนวน 7 ชนิดที่อยู่ภายใต้กฎหมายฉบับนี้คือ 1. ยางพารา 2. ปาล์มน้ำมัน 3. เนื้อวัว 4. ไม้ 5. กาแฟ 5. โกโก้ 6. ถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์ของสินค้า 7 ชนิดนี้ จากที่ EU ได้มีการประเมินปัญหาของการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศ(โลกร้อน) ได้มีมติร่วมกันว่าเห็นสมควรที่จะออกกฎหมายเพื่อควบคุมเรื่องของการค้าที่มีส่วนในการตัดไม้ทำลายป่าที่ผลิตและจะจัดส่งจำหน่ายให้กับEU สรุปคือ สินค้า/ผลิตภัณฑ์จาก 7 ชนิดที่กล่าวมานี้ ต้องระบุถึงแหล่งที่มาได้(ไม่มาจากแหล่งพื้นที่ที่มีการตัดไม้ทำลายป่า) หลังเดือนธันวาคม ปี2563 ทางการยางแห่งประเทศไทยได้มีการเตรียมการเป็นระยะเวลาพอสมควร คิดว่าน่าจะไม่มีปัญหา ​การดำเนินการเรื่องสวนยางยั่งยืนชอง กทย. ในปัจจุบัน ในแผนยุทธศาสตร์ยาง 20 ปี ทางกยท.ได้มีการจัดทำแผนวิสาหกิจ ปัจจุบันอยู่ภายใต้แผนวิสาหกิจ ฉบับที่ 5 (ปี2566-2570) ซึ่งแผนที่ใช้อยู่ ทางกยท.ได้ใช้เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราอย่างยั่งยืน วัตถุประสงค์คือ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรทำสวนยางอย่างยั่งยืน ปัจจุบัน กยท.เน้น ส่งเสริมการจัดการสวนยาง และการแปรรูปอย่างยั่งยืน 4 รูปแบบ(เรื่องการปลูกแทน): 1. ระบบยางร่วมเกษตรผสมผสาน 2. ระบบยางร่วมไม้เศรษฐกิจ 3. ระบบยางร่วมกับเกษตรหลากหลายแบบแยกแปลง 4. ระบบสวนยางวนเกษตร ทั้ง 4 รูปแบบจะเน้นหนักเพื่อเข้าสู่เกษตรกรรมยั่งยืน, สวนยางยั่งยืน หรือ วนเกษตรทั้งหมด ในอัตราการจ่ายสนับสนุนการทดแทนอยู่ในอัตราไร่ละ 11,000 บาท ​การส่งเสริมสนับสนุนชาวสวนยางต้นแบบด้วยเกษตรกรรมยั่งยืน: เพื่อสร้างแรงจูงใจโดยการคัดเลือกเป็นเกษตรกรต้นแบบ 120 ราย แยกเป็น เกษตรกรต้นแบบระดับกทย.จังหวัดจำนวน 45 ราย สนับสนุนรายละไม่เกิน 500,000 บาท, เกษตรกรต้นแบบระดับสาขาจำนวน 75 ราย สนับสนุนรายละไม่เกิน 100,000 บาท เป็นสร้างต้นแบบเกษตรกรชาวสวนยาง ในรูปแบบของเกษตรกรรมยั่งยืน, วนเกษตร, สวนยางยั่งยืน เพื่อที่จะให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่จริง ​โครงการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต ของกยท. ทางกยท.ได้เล็งเห็นว่าปัจจุบันมีการส่งเสริมการปลูกต้นไม้ ไม้ทุกชนิดสามารถที่จะตึงก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไชด์ได้ ซึ่งทางองค์กรสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศได้กำหนดข้อตกลงต่างๆ และได้มีการประชุมหลายครั้ง จนนำมาสู่เรื่องการขายคาร์บอนเครดิต ซึ่งมี 2 ส่วน คือ คาร์บอนเครดิตที่มีการดูดซับคาร์บอนไดร์ออกไซด์มาสร้างมวลชีวภาพมาสร้างมวลชีวภาพของต้นไม้, คาร์บอนเครดิตที่มีส่วนลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งโครงการในปีนี้ของการยางแห่งประเทศไทยได้มีการกำหนดเป้าหมายจำนวน 40,000 ไร่ ที่จะร่วมโครงการคาร์บอนเครดิตในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี 20,000 ไร่ จังหวัดจันทบุรี 10,000 ไร่ จังหวัดเลย 10,000 ไร่(โครงการคาร์บอนเครดิตแบบสมัครใจ ตามมาตรฐานประเทศไทย) ​ นายวิวรรธน์ สงประเสริฐ: ประเด็นที่จะนำเสนอวันนี้ในเรื่องเกษตรกรรมยั่งยืนมีอยู่ 3 ประเด็นด้วยกัน คือ 1. กรอบแนวคิดการส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนในเขตปฏิรูปที่ดิน 2. การส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนในเขตปฏิรูปที่ดิน 3. แนวทางสวนยางกับการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร กรอบแนวคิดการส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนในเขตปฏิรูปที่ดิน: หลักการการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน; การใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีประสิทธิภาพสูง ต้องมีกระบวนการที่มีการใช้ทรัพยากรในการผลิต หรือการให้บริการอย่างคุ้มค่า ​ประสิทธิภาพการผลิตในระบบการเกษตรยั่งยืน: พิจารณาจากทั้งประสิทธิภาพการผลิตที่เป็นมูลค่าการผลิต และพิจารณาในประเด็นอื่นๆ เช่น ความมั่นคงด้านอาหาร สุขภาพอนามัย การศึกษา ความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน ความผูกพันทางสังคม และความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ในเรื่องหลักการเกษตรยั่งยืน แบ่งเป็น 3 ระดับ: ระดับที่ 1 ระดับแปลง เกษตรยั่งยืนอิงหลักการของระบบนิเวศเกษตร เช่น การไหลเวียนของธาตุอาหาร (Nutrient Cycling) ความสัมพันธ์ระหว่างพืชปลูกและศัตรูพืช และการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพทางเกษตร (Agro-biodiversity) ระดับที่ 2 ระดับครัวเรือน เกษตรยั่งยืนคำนึงถึงการจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด บทบาทของภูมิปัญญาท้องถิ่น ความหลากหลายของระบบการผลิตที่นำไปสู่ความมั่นคงของอาหารและรายได้และกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ครัวเรือนมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความเข้มแข็งในระดับชุมชน ระดับที่ 3 ระดับชุมชน เกษตรยั่งยืนเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจชุมชน สิทธิการจัดการและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นธรรม พร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจเพื่อให้เกิดการร่วมทุนระหว่างชุมชนกับภาคเอกชน สรุปลักษณะสำคัญของระบบนิเวศเกษตรกรรมยั่งยืน ระดับแปลง: ต้องมีความหลากหลาย ปลอดภัย ดินต้องมีชีวิต มีการสร้างวงจรหมุนเวียนธาตุอาหาร และมีโครงสร้างหลายระดับเลียนแบบระบบนิเวศป่าธรรมชาติ ​การส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนในเขตปฏิรูปที่ดิน: กรอบแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาระบบวนเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดิน “วนเกษตร คือ รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืน ที่เน้นการจัดการเลียนแบบระบบนิเวศธรรมชาติของป่าไม้ ด้วยการผสมผสานระหว่างกิจกรรมการเกษตร (ทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ประมง) กับการป่าไม้ เพื่อสร้างความหลากหลายในแปลงเกษตรกรรมตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไปในพื้นที่เดียวกัน ช่วงเวลาเดียวกัน หรือสลับช่วงเวลากันอย่างเหมาะสมโดยจะต้องมีกิจกรรมป่าไม้อยู่ในระบบ” แนวทางสวนยางกับการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร: 1) การปลูกพืชแซมยาง ปลูกกลุ่มพืชล้มลุกหรือพืชไร่ในขณะที่ยางพาราอายุไม่เกิน 4ปี เช่น ข้าวไร่ ตระไคร้ พริก มะเขือ ถั่ว 2) การปลูกพืชร่วมยาง ปลูกพืชเพื่อให้ผลผลิตพร้อม ๆ กับยางพาราซึ่งสามารถเติบโตได้ดีในร่วมเงา เช่น พืชสมุนไพร ผักเหลียง 3) การเลี้ยงสัตว์ในสวนยาง เลี้ยงสัตว์หรือประมงในสวนยางพารา เช่น แพะ เป็ด ไก่ ปลา กบ 4) อาชีพเสริมรายได้อื่น ๆ เช่น การเพาะเห็ดฟาง ทะลายปาล์ม หรือการแบ่งพื้นที่บางส่วนปลูกพืชอื่นเช่น กล้วย กาแฟ ปาล์มน้ำมัน ตัวอย่าง ทางเลือกเพื่อการปรับตัวของเกษตรกรชาวสวนยาง ในประเด็นความมั่นคงทางอาหารจังหวัดพัทลุง ได้มีการขับเคลื่อนมายาวนาน แต่ยังไม่ได้โฟกัสอย่างจริงจังในเรื่อง ป่าร่วมยัง เพิ่งมาเริ่มขับเคลื่อนในเรื่องนี้ประมาณปีพศ. 2547 ในพื้นที่ตำบลร่มเมือง เป็นเรื่องการอนุรักษ์พันธุ์ข้าว และสร้างพื้นที่อาหารปลอดภัยในเบื้องต้น ปรากฏว่าตำบลร่มยางเป็นพื้นที่แหล่งอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองของจังหวัดพัทลุง โดยเฉพาะ ข้าวดอกพะยอม ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่หายาก เราได้ทำการฟื้นฟูกลับมา และเริ่มปลูกอย่างจริงจังในสวนยาง ปัจจุบันพื้นที่ตำบลร่มเมืองยังไม่พื้นที่ในการทำข้าวไร่และผสมผสานกับการทำข้าวเหนียวพันธุ์หอมดำ ซึ่งตลาดนิยมมาก หลังจากนั้นจากข้อมูลของจังหวัดพัทลุง มีสวนยาง 800,000 ไร่ เลยมีโจทย์ให้คณะทำงานประเด็นอาหารปลอดภัยที่ร่วมกันคิดว่า น่าจะเป็นพื้นที่อีกพื้นที่หนึ่ง ที่สามารถในการเพิ่มพื้นที่ในการผลิตอาหารเพื่อเพิ่มเรื่องความมั่นคงทางอาหารในจังหวัดพัทลุงได้ มีการเริ่มต้นชักชวนเกษตรกรที่มีความสนใจในการทำสวนผสมผสาน หรือปลูกพืชอาหารมานั่งคุยกัน สุดท้ายเราได้เจอคุณสหจร ชุมคช ซึ่งเป็นคนริเริ่มทำเรื่องป่าร่วมยางอย่างจริงจัง เราจึงไปหนุนเสริมเรื่องกระบวนการคิด การดำเนินงาน และกระบวนการต่างๆ วางแผนการขยายผล สุดท้ายโรงเรียนใต้โคนยางสาขาแรกก็เริ่มถือกำเนิดขึ้น บทเรียนหลังจากที่ดำเนินงานคือ ถ้าเรายากจะเปลี่ยนแปลงความคิดเกษตรกรชาวสวนยางให้หันมาปลูกพืชในแนวสวนสมรม การเปิดโอกาสให้เขามาเรียนรู้ว่าอะไรเหมาะสมกับสวนของเขาอย่างไร ในแปลงที่หลากหลายต้นแบบ ในการขยายผล มีการสร้างพื้นที่ต้นแบบ เกษตรกรต้นแบบ การทำยางแปลงใหญ่โดยร่วมกับกยท.

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

_

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่