อบรมนักสื่อสารสร้างสรรค์สังคมสุขภาวะ ชุมพร-ระนอง-สุราษฎร์ธานี รุ่นที่ 2

อบรมนักสื่อสารสร้างสรรค์สังคมสุขภาวะ ชุมพร-ระนอง-สุราษฎร์ธานี รุ่นที่ 2

3 ตุลาคม 2565
silaporn_0707silaporn_0707
รายงานจากพื้นที่
Project owner
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

08.30-09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วม 09.00-09.15 น. แนะนำตัวผู้เข้าร่วม 09.15-09.30 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์และแนะนำเครือข่าย โดย....นายทวีวัตร  เครือสาย 09.30-11.00 น. ความรู้ความเข้าใจในการสื่อสารสู่สาธารณะ โดย.....นายนพดล  ไม้พลอง  สถาบันส่งเสริมภาคประชาสังคม (สสป)  นางสาวกรรณิการ์  แพแก้ว    สภาผู้ชมผู้ฟัง Thai pbs

11.00-12.00 น. เทคนิคการจับประเด็นเพื่อการสื่อสาร โดย.....นางสาวกรรณิการ์  แพแก้ว    สภาผู้ชมผู้ฟัง Thai pbs 12.00-13.00 น. -พักรับประทานอาหาร 13.00-15.30 น.       แบ่งกลุ่ม WS -กลุ่มที่ 1 เทคนิคการปรับใช้ Infographics และการฝึกใช้โปรแกรม Canva โดย..นางสาวดารัณ  เจริญวงศ์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยชุมพร -กลุ่มที่ 2 การผลิตสื่อภาพเคลื่อนไหว โดย..นายศาสนะ  กลับดี  สมาคมประชาสังคมชุมพร       นายวิทยา    แท่นรัตน์  คนกล้าคืนถิ่น -เทคนิคการพูดเพื่อการสื่อสาร โดย..นางสาวนฤมล  ตันดี  องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยชุมพร         ว่าที่ ร.ต.หญิง วิราวรรณ  เพชรแก้ว สถานีวิทยุกองทัพบกภาคที่ 4 15.30-18.00 น. - ลงพื้นที่จัดทำสื่อ 18.00 - 19.00 น. -รับประทานอาหารเย็น 19.00-20.00 น. -ผลิตสื่อผลงานแต่ละกลุ่ม(เตรียมนำเสนอ) วันที่ 3 ตุลาคม 2565 09.00 - 11.00 น. นำเสนอผลงานแต่ละกลุ่ม และ วิพากษ์เติมเต็ม โดย...ทีมวิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิ 11.00-12.30 การเผยแพร่งานสื่อด้วยช่องทาง C-Site โดย ชาญวิทูร  สุขสว่างไกร สภาผู้ชมและผู้ฟังรายการไทยพีบีเอส ภาคใต้ 12.30-13.30 น. รับประทานอาหารเที่ยง 13.30-14.30 น. การเชื่อมโยงและสร้างเครือข่ายนัก

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สถาบันส่งเสริมภาคประชาสังคม (สสป)
คุณสมบัติของนักสื่อสาร 1. รับผิดชอบเวลา(โดยเฉพาะเดดไลน์) เพราะงานที่ดีเริ่มจากงงานที่เสร็จ 2. หูไว ตาไว ช่างสังเกต ทั้งสิ่งรอบตัวและอารมณ์ความรู้สึกข้างใน 3. ทักษะทั้งการตั้งคำถามและการจับประเด็น   3.1 ข้อซักถาม: ข้อที่มีประโยชน์กับการสื่อสาร   3.2 สิ่งที่อยากเห็นงานสื่อสารในชุมชนไปในทิศทางไหน 4. เป้าหมาย: นำเสนอปัญหา: สู่การแก้ไข
5. เป็นสื่อที่ดี 6. นำสิ่งดีดีที่มีในชุมชนมานำเสนอ ปัจจัยสำหรับนักสื่อสารเพื่อการสื่อสารที่มีโอกาสประสบความสำเร็จ 1. เข้าใจช่องทาง
2. สื่อสารอย่างต่อเนื่อง 3. พัฒนาเทคนิคการสื่อสาร/ ช่องทางอยู่เสมอ เทคนิคการจับประเด็นเพื่อการสื่อสาร: นางสาวกรรณิการ์ แพแก้ว  สภาผู้ชมผู้ฟัง Thai pbs ทางโครงการคาดหวังว่าหลายๆคนจะเป็นนักสื่อสาร สร้างสรรค์ สังคมสุขภาวะได้อย่างไร? ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับโพสอิทคนละใบโดยโจทย์มีดังนี้ 1. ให้เขียนช่องทางการสื่อสารการลงงานหรือกิจกรรมที่ท่านทำอยู่ หรือหน่วยงานที่ท่านทำอยู่ใช้ช่องทางการสื่อสารชื่อว่าอะไร
Facebook Fan Page Facebook ส่วนตัว Line group NF หงษ์เจริญ Aeaw Keangrak สกก.การเกษตรในเขตปฏิรูป ลุงยูรเมล่อนฟาร์ม นู๋โบว์ จิ๋ดจัง keangrakka สวนสารพัด Jarut John NF. สสส.ชุมพร เรื่องเล่าNode สุราษฎร์ธานี สสส.
โครงการยกระดับ วสช. โรงเรียนบ้านท่าแซะ อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี
หมวดขาวชุมพร บูรณาการกลไกความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี กฟก. ชุมพร Chumphon city Bo-0612154104 บ้านไร่ดวงกมล ท่องเที่ยวเชิงเกษตร แปลงต้นแบบเกษตรอัจฉริยะด้านอารักษาพืช กสก. สวนนางฟ้า กลางป่าไผ่ เครือข่ายศจช.ชุมพร เที่ยวชุมชนอำเภอละแม จ.ชุมพร กลุ่ม ศจช.ต.เขาทะลุ สานพลังสร้างสุขชุมพร ชุมชนโพธิการาม อ.เมือง จ.ชุมพร MJU2T ตำบลบ้านควน
สายน้ำผึ้งมาร์เก็ตเพลส โรงพยาบาลบ้านนาสาร วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรงไทยและชันโรง
2. หลังจากที่จบการอบรมนักสื่อสารครั้งนี้แล้วท่านมีแนวคิดหรือแนวทางในการนำความรู้ไปพัฒนาตนเองหรือไปเผยแพร่ในช่องทางไหนที่ไม่ใช่Facebook. - เผยแพร่ใน Line OA: CD-SE และ เพจ วิสาหกิจเพื่อสังคมฅนธรรมธุรกิจ, Line, YouTube, Fan page และช่องอื่นๆ - หลังจากอบรมคาดหวังว่าจะสร้างเพจส่วนตัวและเพจกลุ่ม รวมไปถึงแนะนำสมาชิกสร้างเพจเป้นของตัวเอง
- คิดว่าจะเผยแพร่ความรู้ผ่านช่องทาง YouTube, TIKTOK
- นำการสร้างสื่อไปใช้ในการปรับปรุงเพจ ท่องเที่ยวชุมชน อำเภอละแม จ.ชุมพร - จะนำความรู้ไปพัฒนากลุ่มในจังหวัดชุมพร - พัฒนาตนเองในการเผยแพร่และนำเสนอข้อมูลให้กับผู้ป่วย NCD ที่เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลบ้านนาสาร และเผยแพร่ข้อมูลกับประชาชนในพื้นที่
หลักการการจับประเด็นและการเขียนข่าว เมื่อสักครู่เราได้ทดลองจับประเด็นในเรื่องของบุคคลอื่น เรื่องง่ายๆ ไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลเยอะ แต่การที่เราจะเป็นนักสื่อสาร สร้างสรรค์ สังคมสุขภาวะ เราคงไม่เอาข่าวข้างบ้านตีกันทะเลาะกัน ยกเว้นแต่ว่าเป็นเรื่องที่นำมาซึ่งการใช้ความรุนแรง ถ้าเราจะต้องทำงานสังคมที่ต้องสื่อสารในชุมชน เราควรมองให้ไกลออกไปจากตัวเองสักนิดหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่โครงการที่เราเป็นพี่เลี้ยงอยู่ หรือพื้นที่โครงการที่เราดำเนินงานอยู่ รวมไปถึงพื้นที่หมู่บ้านชุมชน มาดูกันว่าเราใช้หลักการที่จะกล่าวถึงอยู่หรือเปล่า อยากให้ทุกคนลองทบทวนกันดู เป็นหลักการง่ายๆ เมื่อมีผู้พูดต้องมีผู้ฟัง ซึ่งเราต้องฟังและดูอย่างตั้งใจ เวลาเราลงไปในชุมชน เขาอาจจะไม่ได้พูดสื่อสารออกมาตรงๆ แต่เขาปฏิบัติให้เราดู เราควรจะดูว่าเขาปฏิบัติอย่างไร เพื่อที่จะเขียนหรือเล่าออกมาให้คนอ่านเห็นภาพ เราจะเขียนอย่างเดียวไม่ได้ เราต้องดูอย่างตั้งใจด้วย เมื่อกี้เราอาจจะได้ฟังเพื่อน แต่เดี๋ยวเราจะมีกิจกรรมตอนบ่ายที่เราต้องไปลงพื้นที่ อาจจะมีเรื่องให้เราต้องไปดู แล้วสิ่งที่เราดูเราจะต้องสื่อสารออกมาเป็นตัวหนังสือได้ยังไง จำไม่หมดให้จดไว้ก่อน หลายๆคนจำได้เนื้อหาที่ต้องการจะถ่ายทอดได้ แต่เชื่อว่ายังมีหลายคนที่จำเนื้อหาไม่ได้ไม่หมดเช่นกัน เพราะฉะนั้นเราจึงต้องทำการจดบันทึกควบคู่ไปด้วย ปัจจุบันนี้หลายคนแก้ไขปัญหาด้วยการบันทึกภาพหรือถ่ายวีดีโอเก็บไว้แทนการจดบันทึกก็ได้เช่นกัน ไม่ทราบว่าทุกคนได้ทำเรื่องนี้หรือเปล่า การค้นหาว่าในเรื่องๆนั้นมีหลักการของ 5W1H อะไรบ้าง นี้คือหลักการสื่อสารทั่วไป ซึ่งเดี๋ยวค่อยมาเรียนรู้กันในลำดับต่อไป การค้นหาจุดสำคัญของเรื่อง เรื่องนี้มีความสำคัญยังไง เช่นเมื่อสักครู่นี้ มีการให้โจทย์ว่าเล่าความทุกข์ ถ้าเราไม่ได้เล่าแบบที่เพื่อนเล่า เราจะเล่าในอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนร่วมและสังคม เราจะต้องดึงความสำคัญของเรื่องนั้นออกมา ว่าทำไมเราจึงต้องสื่อสารเรื่องนี้ออกไป และสุดท้ายคือการลงมือเขียน อาจจะการพิมพ์หรือการเขียน แต่อย่างน้อยมันจะต้องมีการร่างดราฟแรกก่อน หลักการสื่อสาร 5W1H Who: ใคร กลุ่มองค์กรหรือกลุ่มอะไร? What: ทำอะไร Where: เกิดขึ้นที่ไหน When: เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร Why/How: ทำไมเขาต้องทำสิ่งนั้น, เขาทำสิ่งนั้นอย่างไร (อยู่ที่เราจะอธิบาย) ซึ่งในเรื่องหนึ่งเรื่องที่เราจะสื่อสารจะใช้หลักการนี้ แต่ไม่จำหมายต้องเรียงตามหัว Who What Where When สามารถเรียงแบบไหนก็ได้ แต่การสื่อสารเรื่องหนึ่งเรื่องพยายามให้มีหัวข้อให้ครบเท่าที่ได้ตามที่กล่าวมานี้ หลักการเขียนเพื่อสื่อสาร นอกจากมี 6 ส่วนที่กล่าวมาสักครู่แล้ว ในงานสื่อสารหนึ่งชิ้นงานจะประกอบด้วยอะไรบ้าง เราจะเน้นเรื่องงานเขียนเพจออนไลน์เป็นหลัก จะประกอบด้วย 5 ส่วน พาดหัวข่าว: หลักการของการพาดข่าวคือจะทำยังไงให้คนสนใจ ความสนใจของคนหนึ่งคนต่อหนึ่งเรื่องตอนนี้สั้นมากใช้เวลา 7-8 วินาทีเท่านั้น เราจะทำยังไงให้เวลาที่เราพาดหัวข่าวแล้วมีคนสนใจในทันที่ การพาดหัวข่าวต้องทำให้สั้นและกระชับ มีอยู่ 2 ส่วนที่จะนำมาใช้ คือ Who และ What ใครทำอะไร หรือส่วนใหญ่ที่เราจะเจอคือ เจอแบบที่2 Who What และ Why ใครทำอะไรและทำสิ่งนั้นไปทำไม Why ส่วนใหญ่จะอธิบายผลลัพธ์ที่เขาต้องการว่า เขาทำสิ่งนี้ไปเพื่ออะไร โดยเฉพาะงานข่าวที่เราจะเล่าว่าเราไปชุมชนนั้นกำลังทำเรื่องนี้ เขาทำไปทำไม ทำไมสังคมต้องรู้ว่าเขาทำเรื่องนี้ เพราะฉะนั้นส่วนนี้ Who What และWhy จึงถูกนำมาใช้ในการพาดหัวข่าวมากที่สุด ตอนนี้เราจะเห็นได้ว่า สื่อออนไลน์ในปัจจุบันจะเขียนการพาดหัวข่าวยาว จะไม่เหมือนกับการเขียนหนังสือพิมพ์ในสมัยก่อนการพาดหัวข่าวจะเขียนแค่ 5-7 คำเท่านั้น วรรคนำ: เป็นการอธิบายโดยใช้หลักการ 5W1H เข้าไป ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร โดยไม่ต้องเรียง แต่เราจะเรียบเรียงตามความสวยงามเอง จากนั้นก็มีข้อความขยาย เนื้อหา และส่วนทิ้งท้ายเพื่อให้มีความน่าสนใจ
แบ่งกลุ่มฝึกทดลองเขียนงานจากสารคดีสั้น “แลต๊ะแลใต้” โดยให้ทุกคนเขียนสรุปเนื้อเรื่องอย่างน้อย 3 ย่อหน้า รวมมากว่า 9 บรรทัด
กลุ่มที่ 1: ภาคใต้ตอนบน เมืองหลวงโรบัสต้า เมื่อปี 2447 ชาวมุสลิมนำกาแฟโรบัสต้ามาปลูกเป็นครั้งแรกที่อำเภอสะบ้ายย้อย เมื่อได้รับความนิยมจึงขยายพันธุ์ปลูกในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะในจังหวัดชุมพรที่ปลูกมากคือ อำเภอท่าแซะ อำเภอพะโต๊ะ และอำเภอเมืองชุมพร กาแฟโรบัสต้าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคใต้ เป็นพืชที่ราคาสูงให้ผลผลิตดี จึงเป็นที่นิยมปลูกมากขึ้น และทำให้ราคาตกต่ำ มีการดูแลที่ยาก ทำให้มีนโยบายหันมาปลูกทุเรียนกับยางพารามากขึ้น ในปัจจุบันเกษตรกรได้หันมาทำการเกษตรแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำตั้งแต่การปลูกกาแฟและแปรรูป และจัดจำหน่ายเอง เนื่องจากในปัจจุบันได้มีการดื่มกาแฟทุกครัวเรือน แต่ปัญหาในปัจจุบันมีปัญหาเรื่องสายพันธุ์ คุณภาพ ต้นทุนการผลิตสูง และตลาดที่รู้จักเฉพาะกลุ่ม การที่จะให้กาแฟโรบัสต้าเป็นที่นิยมควรให้หน่วยงานร่วมช่วยพัฒนา ทั้งงานวิจัยที่เป็นรูปธรรม พัฒนาการตลาด เพิ่มช่องทางการตลาดให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น กลุ่มที่ 2: 3 ท โอกาสทอง “กาแฟใต้” กาแฟใต้มีรสชาติดี กลิ่นหอม มีความเข้มข้นที่เป็นเอกลักษณ์ กาแฟโรบัสต้าปลูกที่จังหวัดชุมพร ซึ่งมีลักษณะเป็นภูเขาและมีภูมิอากาศชื้น ทำให้กาแฟมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีคุณภาพมากกว่าที่อื่น “ความสุขที่คุณดื่มได้”
กลุ่มที่ 3: สำนักโอ้โห! โรบัสต้า โอ้โห! โรบัสต้ากาแฟพันธุ์ดีของภาคใต้ การกำเนิดกาแฟโรบัสต้า จุดเด่นของกาแฟโรบัสต้า จุดเด่นของกาแฟโรบัสต้า คือรสชาติที่เข้มข้น ติดฝาดเล็กน้อย เริ่มปลูกครั้งแรกโดย นายตรีหมุน ชาวมุสลิม ที่อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ต่อมาได้นำมาปลูกที่จังหวัดชุมพร เนื่องจากเป็นพื้นที่หุบเขา มีอากาศร้อนชื้นเหมาะแก่การปลูกเป็นแหล่งผลิตรายใหญ่ในประเทศไทย ปัจจุบันมีการปลูกกาแฟแบบครบวงจร ส่วนใหญ่จะทำการเกษตรแบบผสม คือการปลูกกาแฟแซมตามสวนผลไม้ วิธีเก็ยเกี่ยวผลผลิตปีละ 2-3 เดือนเป้นระยะเก็บเกี่ยว โดยจะเก็บเกี่ยวเฉพาะผลเชอร์รี่สุกแดง ข้อท้ายทายของกาแฟโรบัสต้า คือ ราคาถูก ต้นทุนเก็บเกี่ยวสูง นโยบายการสนับสนุนจากรัฐยังเข้าไม่ถึงเกษตรแบบสมัยใหม่ ปัจจุบันกลุ่มเกษตรกรสมัยใหม่ เชื่อว่าจะสามารถยกระดับกาแฟโรบัสต้าของจังหวัดชุมพร ก้าวเข้าสู่กาแฟสากลได้ แต่ต้องอาศัยการสนับสนุนจากภาครัฐ “ส่งกาแฟชุมพร สู่กาแฟโลก” กลุ่มที่ 4: บ้านไร่ดวงกมลและทีมงาน โรบัสต้ากาแฟคุณภาพของชุมพร ชุมพรเป็นเมืองหลวงของกาแฟโรบัสต้า ด้วยสภาพภูมิประเทสและภูมิอากาศที่เหมาะสม ทำให้ชุมพรเป้นพื้นที่ปลูกกาแฟคุณภาพโรบัสต้ามากที่สุด ยุคแรก ราคากาแฟสูง พื้นที่ปลูกขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่เกษตรกรขาดความรู้เลยส่งขายอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ยุคกลาง เกษตรกรปลูกมาก ผลผลิตตกต่ำ รัฐบาลลดพื้นที่ปลูกกาแฟ เกษตรกรเลยหันไปปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ทุเรียน ยางพารา ปัจจุบัน เกษตรกรหาความรู้ ศึกษากระบวนการปลุกเพิ่มมูลค่ากาแฟ พัฒนารสชาติในคุณภาพ “วันนี้โรบัสต้าของคนรุ่นใหม่ในชุมพรจะเป็นอย่างไรนั้น คงไม่ดีเท่ามาสัมผัสด้วยตัวเอง”
กลุ่มที่ 5: เมืองกาแฟ(โรบัสต้า) กาแฟโรบัสต้าเกิดจากการนำเข้ามาปลูกที่อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา เมื่อพ.ศ.2447 และนำมาปลูกที่ จ.ชุมพร ที่ อำเภอท่าแซะ อำเภอสวี อำเภอเมือง โดยกาแฟโรบัสต้ามีรสชาติเข้มข้น ติดฝาดเล็กน้อย เนื่องจากสภาพพื้นที่ปลูกเหมาะสม จึงเป็นกาแฟที่มีรสชาติถูกปาก ถูกใจคอกาแฟ ปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในจังงหวัดชุมพร ได้มีการพัฒนาคุณภาพการผลิต ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น จึงขอเชิญชวน ผู้บริโภคทุกกลุ่ม ทุกวัย มาดื่มกาแฟโรบัสต้าชุมพรกัน กลุ่มที่ 6: สำนักข่าวฉลามดำเมืองชุมพร “อนาคตโรบัสต้าชุมพร” กว่าจะมาเป็นกาแฟโรบัสต้าชุมพร เริ่มต้นจากปี พ.ศ.2447 ที่มีการนำสายพันธุ์กาฟาโรบัสต้ามาปลูกที่ อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา และขยายตัวปลูกทั่วพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะชุมพร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสม ทำให้รสชาติเป็นเอกลักาณ์ไม่เหมือนใคร จนเป็นที่ยอมรับว่าเป็น “เมืองหลวงของโรบัสต้า” ต่อมามีการขยายพื้นที่ปลูกมากขึ้น ผลผลิตส่วนใหญ่ส่งโรงงานเพื่อออกมาเป็นกาแฟสำเร็จรูป ราคาผลผลิตตกต่ำลง ส่งผลให้เกษตรกรหันกลับมาปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นทดแทน ปัจจุบัน ตลาดกาแฟขยายตัวขึ้น ได้รับความนิยมมากขึ้น ทำให้มีการใช้องค์ความรู้มาพัฒนากระบวนการผลิตกาแฟโรบัสต้า ตั้งแต่การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว และการแปรรูปจำหน่าย ทำให้คุณภาพตามตลาดของผู้บริโภค และความยั่งยืนของโรบัสต้าชุมพร กลุ่มที่ 7: สร้างสรรค์นิวส์ ชุมพรเมืองหลวงโรบัสต้า เมื่อพูดถึงกาแฟคนเรามักจะพูดถึงแค่ชื่อลอย ๆเท่านั้นแต่รู้ไม่ว่ามีกาแฟสายพันธุ์หนึ่งที่ชื่อว่า กาแฟโรบัสต้า ที่เป็นอนาคตของเกษตรกรชาวชุมพร แต่ก่อนจะมาเป็นกาแฟขึ้นชื่อของชาวชุมพรนั้น กาแฟโรบัสต้าเริ่มต้นที่ อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา เมื่อปี พ.ศ.2447จ.ชุมพรเป็นแหล่งปลูกกาแฟโรบัสต้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทสไทย ปลูกมากที่สุด อ.ท่าแซะ อ.สวี อ.พะโต๊ะ และเมืองชุมพร ด้วยลักษระพื้นที่เป็นเมืองแฟ่งฟุบเขา มีอากาศร้อนชื้น ทำให้เมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพ ได้ผลผลิตมาก รสชาติดี กาแฟชุมพรช่วงเวลาที่สำคัญในยุคแรกราคากาแฟสูง พื้นที่ปลูกเยอะแต่เกษตรกรขาดความรู้ในการเก็บเกี่ยวและส่งขายอุตสาหกรรมกาแฟสำเร็จรูป ยุคกลาง เกาตรกรเพิ่มพื้นที่ปลูกมากขึ้นแต่ราคาตกต่ำ ผลผลิตต่อไร่ลดลง ราคไม่จูงใจ หน่วยงานสนับสนุนปลูกยางและปลูกทุเรียนได้รายได้ที่ดีกว่า ในปัจจุบันเกษตรกรร่วมหาความรู้ศึกษากระบวนการการปลูก การดูแล เก็บเกี่ยว และแปรรูป ทำแบบครบวงจร น่าเสียดายในปัจจุบันอัตราการบริโภคกาแฟโรบัสต้ามีอัตราสูงขึ้น แต่ราคาผลผลิตกลับตกต่ำลง พร้อมกันหรือยังที่จะพัฒนากาแฟโรบัสต้าให้สมกับชุมพร เมืองหลวงของโรบัสต้าที่ใหญ่ที่สุดให้เป้นของดีของพี่น้องชาวชุมพรต่อไป แบ่งกลุ่มตามหัวข้อที่สนใจ - กลุ่มที่ 1 เทคนิคการปรับใช้ Infographics และการฝึกใช้โปรแกรม Canva วิทยากร นางสาวดารัณ เจริญวงศ์ (สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยชุมพร) และทีมงาน
- กลุ่มที่ 2 การผลิตสื่อภาพเคลื่อนไหว วิทยากร นายศาสนะ กลับดี (สมาคมประชาสังคมชุมพร), นายวิทยา  แท่นรัตน์ (คนกล้าคืนถิ่น) และทีมงาน - กลุ่มที่ 3 เทคนิคการพูดเพื่อการสื่อสาร วิทยากร นางสาวนฤมล ตันดี (องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยชุมพร), ว่าที่ ร.ต.หญิง วิราวรรณ เพชรแก้ว (สถานีวิทยุกองทัพบกภาคที่ 4) และทีมงาน โดยแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา ช่วงที่1 แยกกลุ่มเรียนทฤษฎี และช่วงที่2 ลงพื้นที่ปฏิบัติจริง ช่วงที่ 1 การเรียนภาคทฤษฎี กลุ่มของเทคนิคการปรับใช้ Infographics และการฝึกใช้โปรแกรม Canva การทำ Infographics อาจจะต้องดูว่ากลุ่มเป้าหมายของเราเป้าใคร เพราะมันจะทำให้เราออกแบบได้อย่างเหมาะสม
วิธีการทำ Infographics - ต้องรวบรวมข้อมูลให้เพียงพอและต้องมาจากแหล่งที่อ้างอิงได้
- นำข้อมูลที่ได้มา สรุป วิเคราะห์ เรียบเรียง สกัดประเด็น ให้เหลือน้อยที่สุดแต่ยังคงไว้ด้วยความหมาย และสิ่งที่ต้องการจะสื่อสาร จากนั้นร่างออกมาเป็นรูปแบบที่ต้องการ - จัดการองค์ประกอบต่างๆให้สวยงาม เพิ่มเทคนิคต่างๆหรือความคิดสร้างสรรค์เข้าไป
สำคัญที่สุดคือการฝึกฝน ขยันหาความรู้และเทคนิคต่างมาปรับใช้กับผลงาน กลุ่มการผลิตสื่อภาพเคลื่อนไหว หลักสูตรการเรียนการสอนตัดต่อคลิปวิดีโอโดยใช้สมาร์ทโฟน แอพพลิเคชั่น Kinemaster ก่อนจะเริ่มการเรียนการสอนจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เข้าเรียนต้องมีการจัดการและความรู้พื้นฐานของอุปกรณ์สมาร์ทโฟนของตัวเอง โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเติมเต็มความเข้าใจ ศักยภาพของอุปกรณ์ ยกตัวอย่างเช่นระบบแอนดรอยด์ระบบ iOS รวมถึงเวอร์ชั่นการรองรับปฏิบัติการของแอพพลิเคชั่นตัดต่อวีดีโอและแอปที่เกี่ยวข้อง ความรู้พื้นฐานการ ใช้ อินเตอร์เน็ต   -การเรียนรู้ทักษะพื้นฐานของการบันทึกวีดีโอและถ่ายภาพนิ่ง รวมถึงอุปกรณ์เสริมและวิธีแก้ปัญหาโดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน   -เรียนรู้การ ร่างสคริปต์สำหรับ คลิปวิดีโอสั้น3 ถึง 5 นาที   -เรียนรู้การต่อภาพวิดีโอ ตัดภาพวิดีโอการ control แสงสีเสียงสั้นยาวความเหมาะสม   -เรียนลงรายละเอียดใน แอปพลิเคชั่น Kinemaster คำสั่งของแอพพลิเคชั่นการตกแต่ง effect ภาพ เสียง ตลอดจนการสั่งผลิตภาพยนตร์ที่ต้องการ   -เรียนรู้ปฏิบัติจริงลงในพื้นที่เพื่อถ่ายทำเก็บข้อมูลภาพเสียงเนื้อหาโดยมีพี่เลี้ยงเป็นที่ปรึกษาขณะถ่ายทำ
  -หลังจากเสร็จการถ่ายทำก็กลับมาที่พักเพื่อใช้เวลาในการประเมินวิเคราะห์ตัดต่อไฟล์งานให้ได้ดีที่สุดแล้วส่งออก มานำเสนอในกลุ่มของวันต่อไป กลุ่มเทคนิคการพูดเพื่อการสื่อสาร ​ฝึกทดสอบ ลมหายใจ, นวดลิ้น, การใช้โทนเสียงที่เหมาะสม, การใช้ไมค์, ทัศนคติที่ดี, บุคลิกภาพภายใน และภายนอก รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ก่อนพูด ฝึกพูดในโอกาสต่าง ๆ เช่น แนะนำตัว พรีเซ้นส์สินค้า ไล้ฟสดขายของ สมมุติพูดในรายการไล้ฟสด เป็นคู่ รวมถึง พูด เป็นคลิปตามแนวที่ตัวเองถนัด เป็นรายบุคคล
การพูด เป็นการสื่อสารที่ละเอียดอ่อนบางครั้งคำพูด 1 คำที่เป็นคำเดียวกันความหมายอาจไม่เหมือนกันจากน้ำเสียงที่กล่าวออกไป การพูดสื่อสารให้ตรงประเด็นนั้นควรมีการเรียงลำดับหรือวางสคลิปให้ดี ให้เราพูดอยู่ในกรอบที่ไม่เป็นการพูดไปเรื่อย ๆไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหรือสถาการณ์นั้นๆ ช่วงที่ 2 ลงพื้นที่ปฏิบัติจริงใน 3 พื้นที่ 1.เครื่องเขาน้ำทรัพย์ร่วมใจหนองไก่ปิ้ง ม.8 (มัณฑณา พรหมสงค์ 084 - 7453955) 2.บ้านน้ำลอด (ผู้ใหญ่สำรวย รวดเร็ว 084-8396758 + อดีตกำนันวิเชียร ปานคง 086-2722213) 3.ประเสริฐศรีโคกหนองนาโมเดล ม.13 (มยุรี ปานโชติ 084-8376827) 1. เครื่องแกงเขาน้ำทรัพย์ร่วมใจหนองไก่ปิ้ง หมู่ที่ 8 ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร
​กลุ่มเครื่องแกงเขาน้ำทรัพย์ร่วมใจหนองไก่ปิ้ง จัดตั้งขึ้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2561 แรกเริ่มมีสมาชิกเพียง 7 คน รวมตัวกัน ซึ่งเกิดจากความต้องของสมาชิกในชุมชน ที่ต้องการมีรายได้เสริม เพราะคนในชุมชนส่วนมากทำการเกษตรเป็นหลัก ที่สำคัญคือสมาชิกเกษตรกรในชุมชนสามารถขายขาดตะไคร้ ข่า และพริกสด ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องแกงที่ปลูกให้กับกลุ่ม ทำให้ในส่วนนี้ก็เป็นรายได้เสริมให้กับสมาชิกด้วยอีกทางหนึ่ง โดยสมาชิกทุกคนในกลุ่มส่วนใหญ่เป็นแม่ครัวรับจ้างทำอาหารตามงานเลี้ยง จึงช่วยกันคิดค้นสูตรเครื่องแกงขึ้นมา และได้มีการปรับปรุงพัฒนาเรื่อยๆ จนคงที่ ได้เป็นสูตรลับเฉพาะของกลุ่ม  สำหรับการผลิตเครื่องแกงของกลุ่มจะเน้นวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ปลอดภัย เก็บจากในท้องถิ่นแบบสดใหม่ไม่มีค้างคืน (สดใหม่ สะอาด อร่อย ไม่มีสารกันบูด) ปัจจุบันกลุ่มมีสมาชิก 88 คน  จะนัดรวมตัวเพื่อผลิตเครื่องแกงเดือนละ 2-3 ครั้ง ณ ที่ทำการกลุ่มเครื่องแกง หมู่ที่ 8 ต.บางน้ำจืด เครื่องแกงที่กลุ่มผลิต ได้แก่ เครื่องแกงส้ม เครื่องแกงเผ็ด เครื่องแกงคั่วกลิ้ง เครื่องแกงเขียวหวาน สำหรับเครื่องแกงส้ม เครื่องแกงเผ็ด และเครื่องแกงเขียวหวาน จำหน่ายราคากิโลกรัมละ 120 บาท  ส่วนเครื่องแกงคั่วกลิ้ง จำหน่ายราคากิโลกรัมละ 180 บาท มีจำหน่ายขนาด ½ กิโลกรัม และ 1 กิโลกรัม รายได้จากการจำหน่ายเครื่องแกงหลังหักค่าใช้จ่ายแล้วจะนำมาปันผลให้กับสมาชิกกลุ่ม ปีหนึ่งจ่ายปันผล 2 ครั้ง ( 6 เดือน ต่อ ครั้ง) 2. บ้านน้ำลอด  หมู่ที่ 12 ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร​ ​  บ้านน้ำลอด มีอาณาเขตติดต่อ หมู่ที่ 4 ต.ตะโก อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร ชื่อ “บ้านน้ำลอด” มีความเป็นมาจาก ลำห้วยธรรมชาติที่ระบายน้ำในหมู่บ้าน น้ำที่ไหลจากด้านบนลงสู่ท้องนาและออกคลองบางมุดลงสู่ทะเลที่ปากตะโก ลักษณะของน้ำจะไหลลอดข้างใต้โขดหิน จึงเป็นที่มาของ บ้านน้ำลอด นอกจากนี้ในอดีตคลองบางมุด ยังมีตำนานจระเข้ “ไอ้ด่างบางมุด” เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อต้นปี พ.ศ. 2507 ชาวบ้านหากินอยู่ในลำคลองแถบนั้นเริ่มเห็นความผิดปกติของจระเข้ตัวหนึ่ง มีลำตัวใหญ่มากกว่าจระเข้ทั่วไปที่เคยพบเห็นเป็นประจำ ชอบลอยคอให้ชาวบ้านเห็นและไม่ค่อยจมลงตอนเจอเรือของชาวบ้าน ชอบให้หางฟาดน้ำ ผิดกับจระเข้ตัวอื่นๆ เมื่อเห็นเรือของชาวบ้านจะต้องหนีไปทันที ต่อมาชาวบ้านพบศพแรกทีถูกจระเข้กิน นายอุดม บุญยก ที่หมู่ 5 และห่างอีกประมาณ 1 เดือน พบศพที่จระเข้กินอีก 1 ศพ ที่ม.12 จึงทำให้ชาวบ้านเริ่มไม่กล้าออกมาหากินในคลองบางมุดเหมือนอย่างเคย เพราะกลัวจระเข้ ปักใจเชื่อว่าจระเข้ตัวนี้ไม่ธรรมดา ปากต่อปากจึงทำให้ข่าวจระเข้ดุร้ายตัวนี้ดังไปทั่วประเทศ ชื่อว่า“ไอ้ด่างบางมุด” มาจากที่มีผู้พบเห็นว่า ข้างขาหน้าของมันมีสีขาวเป็นแผลเป็น 3. ประเสริฐศรี โคกหนองนา  หมู่ที่ 13 ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร ​ นางมยุรี ปานโชติ เจ้าของแปลง มีความชอบและสนใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ในปี พ.ศ. 2540 จึงได้เข้าอบรมหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียง และได้นำเอามาใช้ในสวนปาล์มน้ำมัน 10 ไร่ของตนเอง ต่อมาในปี พ.ศ.2562 – 2563 มีการเปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมโครงการโคก หนอง นา ทราบเรื่องเมื่อหมดเวลารับสมัครแล้ว จึงทำให้ไม่ได้ร่วมโครงการ ต่อมาเกิดการระบาดโรคโควิด-19 โครงการโคกหนองนาจึงถูกระงับ และ มาเปิดรับสมัครใหม่ในปี พ.ศ. 2564 จึงได้สมัครเข้าร่วม ขนาดพื้นที่ 1 ไร่ และทำตามแบบของโคก หนอง นา ซึ่งก่อนที่จะเข้าร่วมโครงการ ก็ได้ทำโคกหนองนาขุดเองในพื้นที่ 1 ไร่ เมื่อเข้าร่วมโครงการ ได้ขุดเพิ่มอีก 1 ไร่ โดยมี บ่อเลี้ยงปลาดุก 1 บ่อ บ่อเลี้ยงปลาจิตรดา 1 บ่อ นาผักบุ้งแก้ว 1 แปลง บนคันนาปลูกต้นไม้ ตามหลักการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ได้แก่ ไม้โตเร็ว ไม้ใช้สอย ผลไม้ พืชผักสวนครัว พืชล้มลุก เช่น ข้าวโพด พริก มะเขือ ตะไคร้ ข่า เป็นต้น เครื่องแกงเขาน้ำทรัพย์ร่วมใจหนองไก่ปิ้ง หมู่ที่ 8 ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร บ้านน้ำลอด  หมู่ที่ 12 ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร ​ประเสริฐศรี โคกหนองนา  หมู่ที่ 13 ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร การเผยแพร่งานสื่อด้วยช่องทาง C-Site: คุณชาญวิทูร สุขสว่างไกร (สภาผู้ชมและผู้ฟังรายการไทยพีบีเอส ภาคใต้) C-Site Reporter เปรียบเสมือนเครื่องมือการเชื่อมต่อที่มีลักษณะเรียกว่า ปัญญามหาชน แนวคิดหลักมาจากการทำนักข่าวพลเมือง ไม่ว่าใครก็สามารถเป็นนักข่าวได้ โดยใช้พื้นที่ของ ไทยพีบีเอสในการรายงานนำเสนอข้อมูลต่างๆ แอพพลิเคชั่น C-Site สามารถใช้ได้บนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ทั้ง สมาร์ทโฟนและแท็ปแลต เพื่อรองรับกิจกรรมและการสื่อสารแบบรวมหมู่ โดยเน้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบๆตัว และแสดงพิกัดของที่เกิดเหตุ สามารถนำเสนอข้อมูลได้ทั้งข้อความ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว ข้อมูลทั้งหมดจะถูกบันทึกในรูปแบบของพิกัดทางภูมิศาสตร์และแสดงผลบนแผนที่ เมื่อผู้ใช้เปิดแอพลิเคชันขึ้นมา ข้อมูลดั่งกล่าวจะแสดงผลทันทีเมื่ออยู่ในรัศมีที่กำหนด แอพพลิเคชัน C-Site จึงเป็นทั้งการสะสมปัญญาของคนในสังคมและยังเป็นพื้นที่ในการสื่อสารของภาคประชาชนอีกด้วย
วิธีดาวน์โหลดและสมัครใช้งาน แอพพลิเคชัน C-Site
วิธีการเขียนโพสต์รายงานข่าว การโพสรายงานข่าว คือการเล่าเรื่องราวในรูปแบบของเราเอง โดยการบอกว่า ใคร เมื่อไหร่ ทำอะไร หรือเกิดอะไรขึ้น ที่ไหน และอย่างไร สำหรับวิธีการโพสรายงานข่าว ลำดับแรกให้เปิด แอพพลิเคชั่น C-Site ขึ้นมา เลือกเมนู โพสต์ข่าวด้านล่าง สามารถเลือกรูปแบบการโพสต์ได้ ไม่ว่าจะเป็นโพสต์แบบสาธารณะ สาธารณะแบบไม่ระบุตัวตนและแบบส่วนตัว ระบุชื่อสถานการณ์คือการพาดหัวข่าวหรือชื่อเรื่องนั้นได้เลย สำหรับการพาดหัวข่าวยอดนิยม ตัวอย่างเช่น คุณต้องไม่เชื่อแน่ ๆ เมื่อ............ , น้ำตาตกเมื่อเห็นสิ่งนี้, 10 เหตุผลที่คุณควร/ต้อง/ห้ามพลาด หรืออาจขึ้นต้นด้วยคำว่า ช็อคมาก! อุทาหรณ์!, แล้วคุณจะรู้ว่า, ทำอย่างไรเมื่อ....., ระทึก! การลงท้ายด้วยคำว่า ไปดูกัน, นี่คือสิ่งที่คุณต้อง ถัดมาเป็นการระบุเนื้อหาข่าวและรายละเอียดต่างๆ บอกพิกัดโดยการระบุตำแหน่งของที่เกิดเหตุ เลือกหมวดหมู่ของข่าวที่นำเสนอ เช่น ข่าว/เหตุการณ์, วิถีชีวิต, ภัยพิบัติ, ร้องทุกข์ เป็นต้น เลือกติด #hastage เพื่อให้น่าสนใจและเพื่อค้นหาได้ง่ายขึ้น เพิ่มรูปภาพได้ถึง 7 ภาพ รวมถึงคลิปวีดีโอ โดยความยาวไม่ควรเกิน 1-2.30 นาที เมื่อกรอกรายละเอียดครบแล้วก็สามารถโพสต์ข่าวได้เลย หรือจะบันทึกเพื่อเป็นแบบร่างก่อนได้ ให้แต่ละกลุ่มนำเนื้อหาที่ได้ไปลงปฏิบัติในแต่ละพื้นที่มาเขียนข่าวลงใน C-Site อัยย่ะ! เคล็ดลับความหรอยแรงเครื่องแกงใต้ วิสาหกิจชุมชนเครื่องแกงเขาน้ำทรัพย์ ร่วมใจหนองไก่ปิ้ง เกิดขึ้นจากสาเหตุผลผลิตทางการเกษตรที่ชาวบ้านปลูกกินเองมีมากจนล้นตลาด ราคาถูก ไม่มีคนซื้อ คนในชุมชนเลยคิดหาทางแก้ปัญหาจนเกิดมาเป็น เครื่องแกงเขาน้ำทรัพย์ ร่วมใจหนองไก่ปิ้ง ผลิตภัณฑ์จากทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน สดจากไร่ ใหม่ทุกวัน คนในชุมชนปลูกกันกันเอง มีการส่งวัตถุดิบให้วิสาหกิจชุมชนผลิตเครื่องแกงแบบวันต่อวัน ไม่ใส่สารกันเสีย ผลิตภัณฑ์จึงมีความสด สะอาด และปลอดภัย เป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจภายในชุมชน และสร้างรายได้เสริมให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ชุมชนหนองไก่ปิ้ง FB: เครื่องแกงเขาน้ำทรัพย์ร่วมใจหนองไก่ปิ้ง
เพจหลัก Line : 0847453955 Tel: 0612509196 • เครื่องแกงเผ็ด เครื่องแกงส้ม เครื่องแกงคั่ว กระปุกละ 60 บาท กิโลกรัมละ 120 บาท สุดปลื้มผู้เข้าร่วมอบรม โคก หนอง นา ประเสริฐศรี จากการลงพื้นที่เรียนรู้ โคกหนองนา โมเดล ทำให้เข้าใจว่าการสร้างอาหารกินเอง มีความสัมพันธ์กับการมีสุขภาพ ดั่งคำที่ว่า สุขภาพดีสร้างได้ด้วยมือตัวเอง โดยกลุ่มนักพูดได้แบ่งการทำงานกัน 4 คู่ คู่แรกพูดเปิดงาน แนะนำเจ้าของสถานที่ คู่สอง สัมภาษณ์พูดคุยถึงเหตุผลที่พี่รีทำพื้นที่โคกหนองนา คู่สาม สอบถามถึงผลิตภัณฑ์ของงานโคกหนองนา คู่สี่ กล่าวสรุปงาน เปลี่ยนแปลงปาล์มเป็น โคก หนอง นา เมื่อ 2 ตุลาคม 2565 ผู้เข้าร่วมอบรมนักสื่อสาร สร้างสรรค์ สังคมสุขภาวะ รุ่นที่ 2 ได้ลงแปลงโคกหนอง นา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ร่วมเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงเกษตรจากสวนปาล์ม มาเป็นแปลงเกษตรผสมผสาน จากการมีปัญหาด้านสุขภาพ ของเจ้าของแปลง คุณมยุรี ปานโชติ นอกจากทำเกษตรแล้วยังมีอาชีพเสริม ค้าขายและรับจัดดอกไม้ตามงานต่างๆ เลยทำให้ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพ ที่เห็นได้ชัดคือ โรคภูมิแพ้ต่างๆ เลยตั้งใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หันมาทำแปลงปลูกผลไม้ ผัก พืช สมุนไพร แบบไม่ใช้สารเคมี ช่องทางการติดต่อสำหรับผู้ที่สนใจมาร่วมเรียนรู้ F.มยุรี ปานโชติ เบอโทร 0848376827 พัฒนาชุมชนอำเภอหลังสวน อบต.บางน้ำจืด
โคกหนองนาโมเดล ไขมันทำอะไรฉันไม่ได้หรอก…. พี่มยุรี ปานโชติ กล่าวว่า แนวคิดที่มาริเริ่มทำโคก หนอง นา เริ่มจากมีปัญหาสุขภาพ มีโรคประจำตัว เป็นโรคภูมิแพ้ แพ้ฝุ่น แพ้อากาศ และเป็นโรคไขมัน พอได้อยู่กับธรรมชาติ พี่มีสุขภาพที่ดีขึ้น หันมาปลูกผักกินเอง ลดการใช้สารเคมีในการปลูกพืชผักสวนครัว พืชสมุนไพร เพราะมีการหันมา ทำปุ๋ยหมักใช้ในการเกษตร ตำนานไอ้ด่างบางมุดสู่วิถีท่องเที่ยวชุมชน จากอดีตคลองบางมุดเมื่อใครได้ฟังก็จะสะพรึงกลัว เหตุจากไอ้ด่างซึ่งเป็นจระเข้ที่กลืนกินผู้คนในละแวกนั้น แต่กาลเวลาเป็นความหวาดกลัวเริ่มจางหาย คนรุ่นใหม่นำตำนานนั้นมาเป็นจุดนำทางให้ผู้คนสนใจเข้ามาดูไอ้ด่างบางมุดในพื้นที่ มีคนในชุมชนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ รวมถึง อาหาร ที่พักไว้รองรับ นักท่องเที่ยว
นำเสนอผลงานแต่ละกลุ่ม และ วิพากษ์เติมเต็ม: ทีมวิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิ กระบวนการทำงานของแต่ละกลุ่ม กลุ่มบ้านน้ำลอด สมาชิกกลุ่ม 1. ร้อยตรี ศุภชัย ร้อยขาว (วีดีโอ) 2. นายวิระ ปัจฉิมเพชร (วีดีโอ) 3. นายจารุต พรมเกศา (วีดีโอ) 4. นายเอกฤกษ์ ช่วยอุปการ (กราฟฟิก) 5. พีรณัฐ แก้วมณี (วีดีโอ) 6. นายปภังกร ราชวงค์ (กราฟฟิก) 7. นางพจมาน สุขอำไพจิตร (กราฟฟิก) 8. นายวิศุทธิ์ ติดคล้าย (กราฟฟิก) 9. นายจรัญ ไกรขาว (สัมภาษณ์เก็บข้อมูล) 10. นางสาวอรวรรณ มาอยู่ (กราฟฟิก) 11. นางสาวอังวิภา โสมขันเงิน (วีดีโอ) ทุกคนในทีมมีส่วนร่วมในการเดินทางไปพื้นที่ เพื่ออเก็บข้อมูล วีดีโอ, สัมภาษณ์, ภาพนิ่ง, รวมถึงสอบถามคนในพื้นที่และค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต หลังจากกลับจากพื้นที่ ได้รวมตัวกันปรึกษาหารือกันกับแนวทางการทำข่าว และให้น้อง ๆทำข้อมูลที่นำมารวบรวมไว้ในกลุ่มไลน์ไปตัดต่อ ตามรายละเอียดที่ได้ตกลงกันในกลุ่ม
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องแกงเขาน้ำทรัพย์ร่วมใจหนองไก่ปิ้ง สมาชิก ​1. นางสาวปทุมพร ทองสิน (เก็บภาพนิ่ง) ​2. นางสาวปวีณ์นุช มีเสน (เขียนสคลิป) ​3. นายไชยเชษฐ์ แป้นศรีนวล (ตัดต่อวีดีโอและภาพถ่ายวีดีโอ) ​4. นางณัฐศธร ช่วยแท่น (สื่อสารกับพื้นที่ในชุมชน สอบถามข้อมูล) ​5. นางปาณิสรา ชาญชัยศรี (เก็บภาพนิ่งและวีดีโอ) ​6. นางสาวศิริรัตน์ ส้มตั้น (กราฟฟิกและลงพื้นที่) ​7. นางลักขณา ชมภู (เก็บภาพและสอบถามข้อมูล) ​8. นางสุวณี พิทักษ์ภาวสุทธิ (กราฟฟิกและลงพื้นที่) ​9. นางนงนุช ตั้นตี่ (ลงพื้นที่และหาข้อมูลผลิตภัณฑ์) กลุ่มประเสริฐศรี โคก หนอง นา สมาชิก ​1. พี่เบ๊ตตี้ (เขียนสคลิปและจดข้อมูล) ​2. อาจารย์ไก่เถื่อน (บันทึกเสียง) ​3. น้องชุ (ถ่ายทำและตัดต่อวีดีโอ) ​4. พี่หนุ่ม (ถ่ายทำและตัดต่อวีดีโอ) ​5. พี่โบว์ (กราฟฟิก) ​6. พี่นัน (นักแสดง) ​7. พี่อ้อย (สัมภาษณ์) ​8. พี่แอ๋ว (ภาพนิ่ง)
ผลงานกราฟฟิก 1. กลุ่มบ้านน้ำลอด คุณกรรณิการ์ แพแก้ว: เป็นชิ้นงานที่เข้ากับหลักการความสนใจของคนใน 8 วินาที เราสนใจในการที่เขานำเสนอในแง่นำที่เป็นเชิงประวัติศาสตร์ มีความเกรงขาม น่ากลัว เมื่อเราเห็นปุ๊บ ต้องรีบวิ่งมาดูว่ามันคืออะไร

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 45 คน จากที่ตั้งไว้ 45 คน
ประกอบด้วย

• เครือข่ายสื่อ/แกนนำคนรุ่นใหม่จังหวัดชุมพร/ระนอง/สุราษฎร์ธานี • ผู้แทนจาก Thai pbs • ผู้แทนคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต 11 สุราษฎร์ธานี • ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร/มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วืทยาเขตสุราษฎร์ธานี • ผู้แทนจากสถาบันส่งเสริมภาคประชาสังคม (สสป) • ผู้แทนสื่อมวลชน จัดโดย สมาคมประชาสังคมชุมพรและสภาผู้ชมผู้ฟัง Thai pbs

รายงานการใช้เงิน
ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆรวมรายจ่ายสถานะ
0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 lock_open