งานสื่อสารสาธารณะ ความมั่นคงทางอาหาร
เพื่อได้รายงานความคืบหน้าของการดำเนินการงานสื่อ และกำหนดการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อในแต่ละพื้นที่
จัดประชุมผ่านระบบ online
นายอานนท์ มีศรี ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดการประชุมผ่านซูมในครั้งนี้เพื่อได้รายงานความคืบหน้าของการดำเนินการงานสื่อ และกำหนดการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อในแต่ละพื้นที่
หัวข้อที่ 1 หารือกำหนดการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อ และรายงานการดำเนินงานของแต่ละพื้นที่
จังหวัดนครศรีธรรมราช นายอานนท์ มีศรี แจ้งการดำเนินงานสื่อสร้างสุขภาคใต้ มีช่องทางการสื่อสาร 3 ช่องทาง ได้แก่ Page Facebook website และ YouTube โดยใช้ชื่อว่า สื่อสร้างสุขภาคใต้ โดยจะรวบรวมนำเสนอการขับเคลื่อนงานเครือข่ายงานสื่อสารภาคใต้และรวบรวมช่องทางการติดต่อของคณะทำงานในแต่ละพื้นที่ โดยเว็ปไซส์ของสื่อสร้างสุขจะทำการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นด้าน ความมั่นคงทางสุขภาพ ความมั่นทางสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงของมนุษย์ ความมั่นคงทางอาหาร จะมีตัวจัดเก็บข้อมูลงานประเมิน งานวิชาการ งานสื่อ รวมไปถึงการแจ้งข้อมูลข่าวสารการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ ส่วน YouTube จะนำเสนอด้านการไลฟ์สดและคลิปวิดีโอสั้นๆ ในแต่ละพื้นที่สามารถนำเสนอการขับเคลื่อนได้ในช่องทางการสื่อสารส่วนกลางของงานสื่อสร้างสุขได้ ซึ่งในส่วนนี้อยู่ในการรวบรวมข้อมูลและดำเนินงาน
จังหวัดกระบี่ นายธรรมดิวิชย์ ศรีรุ้ง ศาลาด่านโมเดล เป็นโมเดลต้นแบบ ขับเคลื่อนในเรื่องของภัยพิบัติ มีการไลฟ์สดผ่านเพจสื่อสร้างสุขภาคใต้เมื่อปลายเดือน ก.ค.65 ผ่านมา และคลิปสั้นๆในการนำเสนอของศาลาด่านโมเดล มีการทำ Application อยู่ในการรวบรวมข้อมูล พื้นที่ต่างๆที่เป็นจุดเสี่ยงในพื้นที่ของศาลาด่าน ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรในพื้นที่ ถนน หรือจุดเสี่ยงต่างๆ
คุณฐิติชาญาน์ บุญโสม เพิ่มเติม ในรูปแบบการทำสื่อทั้งสองพื้นที่ของประเด็นคือ ศาลาด่าน จังหวัดกระบี่และมะรุ่ย จังหวัดพังงา จะเน้นให้ความสำคัญกับสื่อท้องถิ่นด้วยการสื่อสารท้องถิ่นในพื้นที่ชุมชน การผลิตคลิปวิดีโอจากเนื้องานต่างๆ มีเครือข่ายที่มารวมทำงานด้วย คือ คุณฮาฤทธิ์ ที่จะมานำผลขยายผลการผลิตในพื้นที่ไปเพิ่มเติม มีการวางแผนอบรมการผลิตสื่อในพื้นที่ชุมชนและนำสื่อมาเผยแพร่ต่อ รวมไปถึงการนำผลงานต่างๆไปเผยแพร่ในแพลตฟอร์มต่างๆของงานสื่อสร้างสุข และทำยังไงให้ผลงานมีความน่าสนใจ และมีคนเข้ามาดูเป็นจำนวนมาก
จังหวัดชุมพร คุณศาสนะ กลับดี ชี้แจงสองประเด็นหลัก งานบุคลากรและแพลตฟอร์มหลักของสมาคมประชาสังคมชุมพร บุคลากรหลักของงานสื่อสมาคมประชาสังคมชุมพร ได้แก่ นายศาสนะ กลับดี นางสาวศิลาพร กลับดี นางวิรงค์รอง เอาไชย นางสาวสุชานันท์ โคนาหาญ นายทวีวัตร เครือสาย นายกสมาคมประชาสังคมชุมพร เป็นที่ปรึกษา คุณพัลลภา ระสุโส๊ะ ผู้ประสานร่วม คุณหนึ่งฤทัย พันกุ่ม ทีมวิชาการที่จะมาเสริมเรื่องเนื้อหาของการสื่อสาร แพลตฟอร์มของสื่อชุมพร จะใช้ Page Facebook เป็นหลัก โดยมี 2 เพจ 1. ชื่อเพจสมาคมประชาสังคมชุมพร จะเป็นเนื้อหาที่คลอบคลุมระดับประเทศ ระดับภาคและระดับจังหวัด 2. ชื่อเพจสานพลังสร้างสุขชุมพร จะเป็นเนื้อหาบริบทระดับจังหวัด อีกทั้งยังมี YouTube TikTok twitter นอกจากนี้ยังมีแพลตฟอร์มสำรองคือ ต้นน้ำ พลเมืองเปลี่ยนทิศ และเครือข่ายที่มีเพจเป็นของตัวเองก็ยังช่วยสนับสนุนในการเผยแพร่งานสื่อในจังหวัดชุมพร
คุณศิลาพร กลับดี รายงานความก้าวหน้าของการทำงานของจังหวัดชุมพร มีการดำเนินการจัดตั้ง/ปรับทีมคณะทำงานให้เป็นระบบ และมีบทบาทการทำงานอย่างชัดเจนมากขึ้น การกำหนดในเรื่องการอบรมเรียนการพัฒนาศักยภาพสื่อในเรื่องของขยับงานตามแผนโครงการ การพัฒนาศักยภาพสื่อของจังหวัดชุมพร มีการกำหนดวันไว้แล้วและมีการเปิดรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมไว้บ้างแล้ว ซึ่งจะจัดในวันที่ 20-21 สิงหาคม 2565 มีการอบรมเรื่อง การเขียนข่าว การทำกราฟฟิก การผลิตสื่อเคลื่อนไหว และนักจัดรายการวิทยุ ด้านวิทยากรยังไม่ได้กำหนด แต่ได้วางแผนการทำงานไว้แล้ว
นายอานนท์ มีศรี ชื่นชมทีมจังหวัดชุมพรที่มีทีมทำงานเข้มแข็ง การพัฒนางานสื่อที่หลากหลายแฟลตฟอร์ม เพื่อให้ทุกกลุ่มวัยเข้าถึงได้ และเสริมในการลงพื้นที่ถ้าพื้นที่นั้นมีช่องทางการติดต่อสื่อสาร ให้เอาแพลตฟอร์มของพื้นที่นั้นมาเพื่อที่จะนำมาไว้ในช่องทางการติดต่อของเว็บไซส์สื่อสร้างสุขโดยตรง
หัวข้อที่ 2 แผนการทำงานพื้นที่ และการร่วมประชุมวันที่ 17 - 18 สิงหาคม 2565 และเตรียมการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพ
นายอานนท์ มีศรี การเลือกพื้นที่ตามประเด็น ต้องตั้งนิยามของประเด็นให้ชัดเจน โดยต้องมาหารือกันในวันที่ 17-18 ส.ค.65 พืชร่วมยาง: ชุมพร นครฯ ระนอง นราธิวาส เกษตรกรรมยั่งยืน:ชุมพร และสุราษฎร์ธานี(ไชยา) โดยจะกำหนดการพูดคุย แยกแต่ละประเด็น และทีมงานสื่อทุกจังหวัดก่อน
อาจารย์ไพฑูรย์ ทองสม เสนอให้จัดพัฒนาศักยภาพฯของแต่ละจังหวัด แล้วค่อยกำหนดในเวทีส่วนกลาง(ยกระดับจากพื้นที่)
-กำหนดวันที่ 24-25 กันยายน 2565 ณ เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ กำหนดการลงทะเบียนเวลา 13.00 น. เป็นต้นไป
-กลุ่มเป้าหมาย เป็นคณะทำงานและตัวแทนแต่ละประเด็นละ 1 คน และคนพัฒนาศักยภาพมาแล้วในพื้นที่ 3-4 คน (ชุมพร:ผู้แทนประเด็น 1 คน และจากพื้นที่ที่ผ่านการพัฒนาศักยภาพมาแล้ว 3-4 คน) รวมแล้วตั้งเป้าหมายไว้ที่ 40 คน(+-5 คน)
-งบประมาณ มีงบ 50,000 บาท (งบกลาง 160,000 บาท) แยกไว้ 20,000 บาท ในการดูแลแฟลตฟอร์มส่วนกลางสื่อสร้างสุขภาคใต้
-เสนอให้แต่ละประเด็นรับผิดชอบค่าเดินทางของผู้แทนประเด็นแต่ละพื้นที่เอง ส่วนการพัฒนาศักยภาพมาแล้ว 3-4 คน นั้นใช้งบจาก Node สื่อของแต่ละจังหวัด
-สถานที่ให้จัดการเสนอราคาที่พัก ห้องประชุม ที่จังหวัดกระบี่(เกาะลันตา) ใช้จ่ายผ่านงบสนส.ให้ประมาณการ คชจ.แล้วจะโอนให้
-เสริมในเรื่องการขับเคลื่อนงานแต่ละประเด็นเพื่อให้คุณจุรีได้ออกแบบการสื่อสารสาธารณะอย่างไรให้โดนใจ
-การรายงานการขับเคลื่อนพัฒนาฯแต่ละพื้นที่ และทำกำหนดการเพื่อเตรียมการอบรมในวันที่ 24-25 ก.ย. 65
ในที่ประชุมครั้งนี้ได้ข้อสรุปตามข้างต้น และเลิกประชุมเวลา 15.00 น.
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
คณะทำงานสื่อภาคใต้
-
-
-