แผนงานประเมินผล ความมั่นคงทางอาหาร

กิจกรรมประเมินพื้นฐานการทำการเกษตรกรรมยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดพัทลุง13 มกราคม 2566
13
มกราคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Ariya Mosu
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินพื้นฐานการทำการเกษตรกรรมยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดพัทลุง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.การสำรวจเกษตรกรที่มีความรู้พื้นฐานด้านการเกษตรผ่านศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านควนกุฏ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เกษตรกรมีความรู้พื้นฐานด้านการเกษตรเป็นอย่างดีมีการถ่ายทอดความรู้อย่างเป็นระบบผ่านศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านควนกุฏ เป็นรูปแบบเกษตรผสมผสาน ที่ได้รับการรับรองเกษตรอินทรีย์ มีการปลูกข้าวสังหยด ข้าวพื้นเมือง มีการปลูกพืชหลากหลายทำให้มีรายได้ทั้งปี เช่น มะพร้าวน้ำหอม มะนาว ส้มโอ มังคุด ลองกอง สะตอ ชาวบ้านในพื้นที่ 80% มีกระบวนการปลูกพืชผักรอบบ้าน มีมากเกินความต้องการทำให้มีผลิตภัณฑ์ส่งออกไปยังตลาด และนอกพื้นที่ได้ 2.เกษตรกรในพื้นที่มีการช่วยเหลือแลกเปลี่ยนทั้งความรู้ พันธุ์พืช วัสดุ และผลผลิต กลุ่มชาวบ้านมีการแลกเปลี่ยนความรู้ มีการรวมตัวที่เหนียวแน่น มีการแลกเปลี่ยนซื้อขายต้นพันธ์ผักที่เพาะตามความถนัด 3.มีการแข่งขันด้านผลงานส่งผลให้เกิดการพัฒนากระบวนการผลิต 4.ทุกครัวเรือนมีแปลงผักริมรั้ว หรือหลังบ้านที่มีการผลิตประสิทธิภาพสูง การผลิตเป็นกระบวนการผลิตแบบปลอดสารพิษ และเกษตรอินทรีย์ โดยผลิตตามความต้องการของชุมชน และตลาด ส่งผลให้สามารถขายได้ราคา 5.บางครัวเรือนมีการเพาะพันธุ์ไม้ประดับ 6.เกษตรกรในชุมชนควนกุฏมีการพัฒนา และหาความรู้เพิ่มเติม เป็นแนวทางที่ดีในการปรับตัวสู่การทำเกษตรกรรมยั่งยืน
7.มีการเพาะปลูกตามความต้องการของตลาด หรือมีการหาตลาดเพื่อกระจายผลผลิต 8.ชุมชนบ้านควนกุฏ เน้นการผลิตเพื่อบริโภค และส่งตลาด เป็นผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษ เพาะพันธุ์ ส้มซ่า มะนาวยักษ์ มะนาวแป้นเพชร เลมอน มะเขือ พริก มะขามยักษ์ มีการเผาถ่านในบางครัวเรือน ทำบ่อ ร่องคูในสวน เลี้ยงปลา ปลานิล ปลาทับทิม ปลาม้า ปลาตะเพียน ปลาดุก ปลาสลิด ได้รับการสนับสนุนพันธุ์จากประมงจังหวัดโดยได้รับ 2 ปี 9.ชุมชนบ้านขามเป็นแนวคิดป่าร่วมยาง และมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า ผลผลิตที่ได้มาจากสวนยางพารา รูปแบบการปลูกพืชร่วมที่หลากหลาย และมีความสามารถในการทำการตลาดของผู้นำกลุ่ม มีการสั่งของมาอย่างต่อเนื่อง และสั่งตามปฏิทินฤดูกาล ทำให้มีการผลิตที่หลากหลายโดยเฉพาะพืชผักทานใบ ดอก ที่เป็นพืชประจำถิ่น มีการนำความรู้นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์เข้ามาใช่ในการปรับปรุงพันธุ์ดาหลาให้มีความหลากหลาย กลายเป็นไม้ประดับที่มีมูลค่าสูง สามารถขายหน่อได้เป็นจำนวนมากให้แก่ผู้ที่นิยมปลูกดาหลาเป็นไม้ประดับ 10.ผู้นำมีความเข้มแข็ง มหาวอทยาลัยเข้ามาช่วยทำแปลงทดลองพันธุกรรม มีความรู้ด้านการปรับปรุงพันธุ์ทำให้สามารถขายผลผลิตได้ในราคาสูง ราคาตามความสวยงาน ประมาณ 300 - 500 บาท ต่อตุ่ม(หน่อ) 11.การรวมกลุ่มแปรรูปเครื่องแกง มีการใช้ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เหมาะสม ทำให้เครื่องแกงมีคุณภาพมีคำสั่งซื้อเข้ามาจนต้องเพิ่มการผลิต ผลิตเดือนละประมาณ 600 กิโลกรัม ส่งขายทั่วประเทศ โดยใช้ผลผลิตตะไคร้ ขมิ้น พริก ที่ปลูก ริมสวน หรือริมรั้ว ที่ไม่ได้มาตราฐานไม่สามารถขายได้ หรือขายไม่ได้ราคา การแปรรูปจึงเป็นการเพิ่มมูลค่า 12.สวนยางพารา มีความหลากหลายมีผลผลิตอื่นๆ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งรายได้จากน้ำยางเพียงอย่างเดียว กระบวนการการทำการเกษตรที่ทำอยู่ในรูปแบบเกษตรประณีต เนื่องจากขายผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ราคาสูง พืชที่ปลูกในสวนยางพาราที่สามารถ ขายผล ใบ ยอดได้ ได้แก่ ลูกชิง ทำมัง ชะมวง พุดช้าง ว่านสาวหลง พิลังกาสา ผักพื้นถิ่นอื่นๆ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

()

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่