โครงการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาหน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship) ในพื้นที่ภาคใต้ (สงขลาและนครศรีธรรมราช)

คืนข้อมูลหน่วยจัดการ นครศรีธรรมราช19 มีนาคม 2565
19
มีนาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย Nuchi
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คืนข้อมูลหน่วยจัดการ นครศรีธรรมราช

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 19 มีนาคม 2565 คืนข้อมูลหน่วยจัดการนครศรีธรรมราช แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อการคืนข้อมูลหน่วยจัดการนครศรีธรรมราช ประเด็นหน่วยจัดการ
1. การกำหนดบทบาทพี่เลี้ยงวิชาการที่ต้องไปใกล้ชิดพื้นที่ควรปรับอะไรบ้าง เพราะหาก core teamกับทีมพี่เลี้ยง เป็นคนเดียวกัน อาจมองเห็นตัวเองไม่ชัด น่าจะบางครั้งเราทำโครงสร้างให้คนเยอะขึ้นเพื่อปิดช่องว่าง เเต่พอทำงานจริง ก็เป็นปัญหาทำให้มองไม่เห็น 2. มีข้อมูลระดับจังหวัดอยู่ น่าจะ mapping ว่ามิติไหนเป็นปัญหาของพื้นที่ไหน เอาทีมวิชาการวิเคราะห์ข้อมูลจังหวัดที่มีอยู่เเละ map ไปที่พื้นที่ (อ.เพ็ญ) 3. จับประเด็นได้ว่า 1.ประเด็นเราไปเจาะลึก และการประชุมออนไลน์ ประเด็นเด็ก หรือ ผู้สูงอายุ ไม่เท่ากัน ในส่วนประเด็นเด็กคุ้นชินเรื่องประชุมออนไลน์ เเต่ ผู้สูงอายุ ทำยาก 2.ประเด็นการพัฒนาพี่เลี้ยง เป็นจุดต้องพัฒนา เนื่องจากเป็นพี่เลี้ยงใหม่และเป็น จนท รพ.สต. ตอนนี้ทุกทีม ไม่ค่อยมีเวลา เนื่องจากต้องไปจัดการโควิดอยู่ในขณะนี้ 3ในประเด็นผลลัพธ์ที่จะเชื่อมโยงกับนโยบายจังหวัด เด็กเยาวชน =ปรับเเละขยับได้ง่าย ผู้สูงอายุ ต้องปรับกิจกรรม (อ.กำไล สมรักษ์)
4. ส่วนหนึ่งจากที่ อ.ได้เสนอเเนะ สามารถย้อนกลับไปดูการปฏิบัติงานในพื้นที่ ในพื้นที่ถนัดเเค่ประเด็นใดประเด็นหนึ่ง เเต่ทางเรากังวล ว่าจะไม่ได้ผลลัพธ์ ที่จะมาตอบทาง โหนด ก็เลยต้องทำ เเต่พอได้ฟังก็อาจต้องปรับเป็นต้นไม้ปัญหาต้นเดียว เเละทำในเเต่ละพื้นที่ เเต่ก็น้ำเเต่ละต้นปัญหานั้นมารวมกัน ก็ได้เป็นผลลัพธ์ ของโหนดเเฟลชิปได้ (อ.อาทิตย์) 5. การเชื่อมต่องานกับ สนส. NF นครฯ ถ้าจะทำให้เห็นทิศทางในการทำงาน อ.เพ็ญ ตอบ ในภาคีภาคใต้ ให้ภาคีรวบรวมรูปธรรมความสำเร็จในพื้นที่ (ต้องมีพื้นที่รูปธรรม) มีปัจจัยใดที่ทำให้สำเสร็จ การเสริมสร้างความสำเร็จให้เเก่ภาคี มีอะไรเเละทำอย่างไรบ้าง ให้ไปถอดบทเรียน ก็จะทำให้เป็น ข้อนึง ที่สามารถนำำไปเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย (อ.กำไล)

ประเด็นโครงการย่อย
1. ปรับ ความล่าช้า โครงการย่อย = ต้องปรับขยายเวลา ..การสื่อสาร..การบริหารจัดการภาพรวมต้องปรับ 2. ในเเต่ละพื้นที่ควรเเสดงให้เห็นถึงจุดเน้นของเเต่ละพื้นที่ จริงๆ เพราะปัญหาเเต่ละพื้นที่มีปัญหาต่างกัน ต้องปรับ อ.วรรณา กุมารจันทร์ เสริม วางเเผนไว้ว่า จะจับเป็นโมเดลก่อน คือ โมเดลที่ว่า พัฒนาคุณภาพชีวิตโดยชุมชน โดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (สามตำบล) โดยชมรม 3. เห็นปัญหา เรื่องกิจกรรมในโครงการ ส่วนใหญ่ก็เกิดจากปัญหาในพื้นที่ เเต่ปัญหาไหนอันดับ ไหน ทีมพี่เลี้ยง และวิชาการจะรู้ เเต่ด้วยความที่คิดว่าต้องครอบคลุมทั้ง 4 มิติ ก็พยายามจะทำให้ครบทุกมิติ เเต่พอลงพื้นที่ไปสักระยะ และเจอโควิด ด้วยก็คงต้องปรับ ปัญหา: โควิด นัดยาก และลงไปช่วยเเล้วก็ไม่คืบหน้า รพ.สต.ก็ไม่มีเวลาตอบปัญหาหรือข้อมูลเราเลย ก็คงต้องเลือกกิจกรรมสำคัญ เท่านั้น เเต่เรื่อง NCDs นั้นมีทุกพื้นที่เเต่ที่ไหนมากน้อยไม่เท่ากัน (อ.จิราภรณ์)

ประเด็นเด็ก
1. ทำอย่างไรให้เห็นว่า การขับเคลื่อนประเด็นเด็ก เกิดจากโหนด ไม่ใช่งานประจำ 2. ประเด็นเด็กเเละเยาวชน ความยั่งยืนจะมีมากเเค่ไหนอย่างไร ต้องเริ่มทำความเข้าใจเริ่มคืนข้อมูลที่ได้ ระหว่างทางทำงาน เค้าจะได้เห็น เเละกับภาคยุทธ ก็ต้องนำผลที่ได้ระหว่างทางไป นำเสนอตลอด ไม่ต้องรอจบโครงการ (ดร.สันติ)

ประเด็นผู้สูงอายุ
ในส่วนผู้สูงอายุ ปัญหาหลักที่ล่าช้า เเละกลไกการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงกับ ชุมชน ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เพราะ 1. เป็นพี่เลี้ยงใหม่ 2 เจอกันเฉพาะออนไลน์ การอธิบายเรื่องความเข้าใจการทำงานโหนดเเฟลกชิปไม่ชัดเท่าที่ควร 3.พี่เลี้ยงของเราส่วนใหญ่เป็น จนท.ด้านสุขภาพ ปัญหาที่เจอก็คือ พอโดวิดระบาด ทำให้เค้าทำเเต่งานโควิด ทำให้การรวมตัวยากมาก เเละลงพื้นที่ดูโครงการย่อยก็ไม่ได้ เราต้องมาดูว่าต้องทำอย่างไร ต้องปรับการทำงานอย่างไร ปรับกลไกการพัฒนาพี่เลี้ยงอย่างไร