โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

การประชุมเชิงปฏิบัติการบันทึกข้อตกลง (MOU) แผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายจังหวัดภูเก็ต และถอดบทเรียนการขับเคลื่อนจังหวัดภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย12 กันยายน 2566
12
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การประชุมเชิงปฏิบัติการบันทึกข้อตกลง (MOU) แผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายจังหวัดภูเก็ต และถอดบทเรียนการขับเคลื่อนจังหวัดภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย วันที่ 13-14 กันยายน 2566
ณ ห้องประชุมพาโก้ สกาย โรงแรม เดอะ พาโก้ ดีไซด์ ภูเก็ต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต


วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่มีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอ
1.2 เพื่อจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกายและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมพื้นถิ่นนำไปสู่การลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรั้ง (NCDs) 1.3 เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของนักท่องเที่ยว 1.4 เพื่อสนับสนุนให้เมืองภูเก็ตเป็นเมืองที่มีสภาพแวดล้อมที่กระฉับกระเฉง (Active Environment)


กำหนดการ
เวลา รายละเอียด วันพุธที่ 13 กันยายน 2566 09.00 - 09.30 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม 09.30 - 10.00 น. กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม และนำเสนอ แผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายจังหวัดภูเก็ต โดย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
      รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 10.00 - 10.30 น. กล่าววิสัยทัศน์ แผนพัฒนาจังหวัดภูเก็ต  และการส่งเสริมสุขภาพ/พื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายจังหวัดภูเก็ต โดย นายอำนวย พิณสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต 10.30 - 11.00 น. กล่าววิสัยทัศน์ แนวทางการดำเนินงานเพื่อพัฒนาพื้นที่สาธารณะและเพิ่มกิจกรรมทางกายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดย นายเรวัต อารีรอบ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต 11.00 - 11.20 น. นำเสนอตัวอย่างการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในจังหวัดภูเก็ต
- กิจกรรมทางกายกับการเชื่อมสัมพันธ์ชุมชนผ่านตลาดนัด ม.อ.บ่านซ้าน (PSU Banzaan Market) - กีฬาวู้ดบอลสัมพันธ์ผู้สูงอายุกับเยาวชนเทศบาลนครภูเก็ต โดย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต และเทศบาลนครภูเก็ต 11.20 - 12.00 น. การบันทึกข้อตกลง (MOU) แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายจังหวัดภูเก็ต โดย - จังหวัดภูเก็ต
      - องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต
      - สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต       - อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ ถลาง
      - ท้องถิ่นนำร่อง: เทศบาลนครภูเก็ต เทศบาลเมืองกะทู้ เทศบาลเมืองป่าตอง
      - สมาคมโรงแรมที่พักส่งเสริมสุขภาพอันดามันและอ่าวไทย       - สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)       - มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
      - ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum)       - มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ โดย สถาบันนโยบายสาธารณะ
13.00 – 16.30 น. ถอดบทเรียนและกำหนดแผนปฏิบัติการการขับเคลื่อนจังหวัดภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย โดย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
      รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน 2566 08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม 09.00 - 11.00 น. ถอดบทเรียนและกำหนดแผนปฏิบัติการการขับเคลื่อนจังหวัดภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย
โดย  ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ อาจารย์สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
11.00 - 12.00 น. สรุปแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนจังหวัดภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย โดย  ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ อาจารย์สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การประชุมเชิงปฏิบัติการบันทึกข้อตกลง (MOU) แผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายจังหวัดภูเก็ตและถอดบทเรียนการขับเคลื่อนจังหวัดภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย โดยได้รับเกียรติจากนายอำนวย พิณสุวรรณ รอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานในพิธีเปิด กล่าววิสัยทัศน์แผนพัฒนาจังหวัดภูเก็ตและการส่งเสริมสุขภาพ/พื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายจังหวัดภูเก็ต และได้รับเกียรติจาก นายเรวัต อารีรอบ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต กล่าววิสัยทัศน์แนวทางการดำเนินงานเพื่อพัฒนาพื้นที่สาธารณะและเพิ่มกิจกรรมทางกายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กล่าวรายงานโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และกล่าวต้อนรับโดยรองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ ทองชุมนุม รองอธิการบดีวิทยาเขตภูเก็ต
การลงนามความร่วมมือทางวิชาการการขับเคลื่อนแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายจังหวัดภูเก็ต ระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยสถาบันนโยบายสาธารณะและงานบริการวิชาการ วิจัย และประชาสัมพันธ์ วิทยาเขตภูเก็ต กับหน่วยงานของจังหวัดภูเก็ต จำนวน 11 หน่วยงาน คือ จังหวัดภูเก็ต อำเภอเมืองภูเก็ต อำเภอถลาง อำเภอกะทู้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ต เทศบาลเมืองป่าตอง เทศบาลเมืองกะทู้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง Healthy Space Forum และสมาคมโรงแรมที่พักส่งเสริมสุขภาพอันดามันและอ่าวไทย   กิจกรรมการขับเคลื่อนแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายจังหวัดภูเก็ต ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ซึ่งมีเป้าหมายในการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยมีจังหวัดต้นแบบในการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ที่จะทำให้ประชาชนมีวิถีชีวิตที่กระฉับกระเฉง ด้วยการมีกิจกรรมทางกายและจังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพในหลายด้าน มีการกำหนดแผนแม่บทการพัฒนาจังหวัดภูเก็ต 20 ปี (พ.ศ. 2566-2585) เรื่อง ศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Wellness Hub) การท่องเที่ยวทางกีฬา (Sports Tourism) และเมืองวัฒนธรรมสร้างสรรค์ด้านอาหาร (Gastronomy City) ซึ่งมีการเชื่อมโยงกับทิศทางการพัฒนาของประเทศและของโลก และทั้งสามเรื่องสามารถผสมผสานการดำเนินงานเข้ากับการส่งเสริมกิจกรรมทางกายได้โดยภาคีเครือข่ายในจังหวัดภูเก็ตซึ่งได้กำหนดวิสัยทัศน์การส่งเสริมกิจกรรมทางกายร่วมกัน คือ “เมืองภูเก็ตสุขภาพดี มีวิถีชีวิตกระฉับกระเฉง ภายใต้สภาพแวดล้อมเหมาะสม” จึงทำความร่วมมือโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนในจังหวัดภูเก็ตมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 75 และจังหวัดภูเก็ตมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายตลอดจนการปรับเปลี่ยนพฤติรรมการบริโภค โดยข้อตกลงร่วมกันจะมีประเด็นดังนี้
1. ร่วมกันพัฒนาศักยภาพบุคลากรภาคีเครือข่ายในจังหวัดภูเก็ตในการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพคนภูเก็ตด้วยการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการปรับพฤติกรรมการบริโภค ให้กับประชาชนทุกช่วงวัย 2. ร่วมกันพัฒนาให้ประชาชนในจังหวัดภูเก็ตมีความรอบรู้ทางสุขภาพ ที่จะนำไปสู่การใช้ชีวิตที่กระฉับกระเฉง (Active Living) ของประชาชนทุกกลุ่มวัย ทุกอาชีพ และทุกสถานที่ 3. สนับสนุนและส่งเสริมด้านวิชาการ เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของภูเก็ตให้เป็นเมืองน่าอยู่ และเป็น เมืองที่กระฉับกระเฉง (Healthy City is an Active City) ที่สอดคล้องกับแผนแม่บทจังหวัด ด้านศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Wellness Hub) การท่องเที่ยวทางกีฬา (Sports Tourism) และ เมืองวัฒนธรรมสร้างสรรค์ด้านอาหาร (Gastronomy City) 4. ร่วมกันพัฒนาเครือข่ายและกลไกในการขับเคลื่อนแผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายจังหวัดภูเก็ต 5. ร่วมสร้างสังคมภูเก็ตให้มีความกระฉับกระเฉง ที่จะนำไปสู่การเคลื่อนไหวทางสังคม (Social Movement) ให้คนภูเก็ตมีเป้าหมายเดียวกันในการมีสุขภาวะด้วยการมีกิจกรรมทางกายและการปรับพฤติกรรมการบริโภค 6. ร่วมกันพัฒนาระบบสนับสนุนการใช้ชีวิตที่กระฉับกระเฉงของจังหวัดภูเก็ต ให้เกิดการพัฒนาการวิจัย และนวัตกรรม ตลอดจนการพัฒนาฐานข้อมูล ที่สอดแทรกองค์ความรู้กิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่อง